เรียนรู้วิธีบริการจัดการเงิน
อัปเดตล่าสุด
- รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 14 เคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อย่างยั่งยืน
.
เคล็ดลับของความร่ำรวยมีเงินทองมากมายเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามค้นหากันมาช้านาน มีผู้เขียนไว้ในหนังสือต่างๆ หลากหลายเนื้อหา แต่ไม่มีฉันทามติว่าทำอย่างไรจึงจะร่ำรวยเช่นนั้นได้ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้แตกต่างไปจากเคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อีกลักษณะหนึ่งซึ่งผู้เขียนจำนวนหนึ่งดูจะเห็นพ้องต้องกัน
.
ความร่ำรวยที่กล่าวถึงนี้คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สม่ำเสมอตลอดชีวิต ทั้งในวัยทำงานและวัยพ้นทำงาน ซึ่งมิได้หมายถึงการมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ หากหมายถึงการมีอิสระทางการเงิน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงในด้านการเงิน มีชีวิตที่มีความสุขตามอัตภาพไปหตลอดชีวิต และเหนืออื่นใด มีความสุขและความสงบทางใจอันเกิดจากมีความมั่นคงทางการเงิน
.
เคล้ดลับดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
- จงทำงานหาเงินอย่างสุจริต ขยันหมั่นเพียร
- จงอยู่กินต่ำกว่าฐานะเสมอ กล่าวคือ มีความมัธยัสถ์ ไม่ใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไร้เหตุผล และกินอยู่อย่างพอเหมาะพอควรจนมีรายจ่าย ต่ำกว่ารายได้ ซึ่งหมายถึง การมีเงินเหลือจ่ายในครอบครัวหรือมีเงินออม
- จงออมเงินโดยกันส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาก่อนใช้จ่ายเสมอ ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ โดยถือว่าเป็นรางวัลสำหรับตนเอง และเริ่มกระทำตั้งแต่บัดนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างมีความมุ่งมั่นในเป้าหมายของการนำเงินเหลือเก็บเหล่านี้ไปลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตในอนาคต
.
ในความพยายามที่จะออม อย่ามุ่งสนใจด้านรายได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจเรื่องการใช้จ่ายด้วย สมดังคำกล่าวที่ว่า “รายได้สำคัญ แต่การใช้จ่ายนั้นสำคัญกว่า”
.
- ทำให้เงินออมอยู่ในสภาพ “เงินทำงานรับใช้” นั่นคือนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้จากการทำงานปกติ โดยมุ่งให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุนนี้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพทั้งตอนอยู่ในวัยทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
ในการนำเงินออมไปลงทุน จงไตร่ตรองและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และปรึกษาหารือผู้รู้ในเรื่องการลงทุน เพื่ออุดช่องโหว่ของความรู้เพื่อไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาด
.
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความ “ร่ำรวย” ขึ้นมาได้ในเบื้องแรกก็คือการออม และสิ่งที่จะทำให้เกิดการออมขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดก็คือความสามารถในการข่มใจตนเองที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อการบริโภค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้องมี “อำนาจเหนือเงิน”
.
ดำรงชีวิตตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ ดำเนินชีวิตด้วยความพอดีอย่างอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอควร ไม่เสี่ยงหรือประมาทอย่างขาดสติ
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 14 เคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อย่างยั่งยืน . เคล็ดลับของความร่ำรวยมีเงินทองมากมายเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามค้นหากันมาช้านาน มีผู้เขียนไว้ในหนังสือต่างๆ หลากหลายเนื้อหา แต่ไม่มีฉันทามติว่าทำอย่างไรจึงจะร่ำรวยเช่นนั้นได้ ซึ่งสูตรสำเร็จนี้แตกต่างไปจากเคล็ดลับของความ “ร่ำรวย” อีกลักษณะหนึ่งซึ่งผู้เขียนจำนวนหนึ่งดูจะเห็นพ้องต้องกัน . ความร่ำรวยที่กล่าวถึงนี้คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สม่ำเสมอตลอดชีวิต ทั้งในวัยทำงานและวัยพ้นทำงาน ซึ่งมิได้หมายถึงการมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ หากหมายถึงการมีอิสระทางการเงิน มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความมั่นคงในด้านการเงิน มีชีวิตที่มีความสุขตามอัตภาพไปหตลอดชีวิต และเหนืออื่นใด มีความสุขและความสงบทางใจอันเกิดจากมีความมั่นคงทางการเงิน . เคล้ดลับดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ - จงทำงานหาเงินอย่างสุจริต ขยันหมั่นเพียร - จงอยู่กินต่ำกว่าฐานะเสมอ กล่าวคือ มีความมัธยัสถ์ ไม่ใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายไร้เหตุผล และกินอยู่อย่างพอเหมาะพอควรจนมีรายจ่าย ต่ำกว่ารายได้ ซึ่งหมายถึง การมีเงินเหลือจ่ายในครอบครัวหรือมีเงินออม - จงออมเงินโดยกันส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาก่อนใช้จ่ายเสมอ ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ โดยถือว่าเป็นรางวัลสำหรับตนเอง และเริ่มกระทำตั้งแต่บัดนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างมีความมุ่งมั่นในเป้าหมายของการนำเงินเหลือเก็บเหล่านี้ไปลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงของชีวิตในอนาคต . ในความพยายามที่จะออม อย่ามุ่งสนใจด้านรายได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจเรื่องการใช้จ่ายด้วย สมดังคำกล่าวที่ว่า “รายได้สำคัญ แต่การใช้จ่ายนั้นสำคัญกว่า” . - ทำให้เงินออมอยู่ในสภาพ “เงินทำงานรับใช้” นั่นคือนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เสริมเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายได้จากการทำงานปกติ โดยมุ่งให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติมจากการลงทุนนี้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพทั้งตอนอยู่ในวัยทำงานและเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว ในการนำเงินออมไปลงทุน จงไตร่ตรองและศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และปรึกษาหารือผู้รู้ในเรื่องการลงทุน เพื่ออุดช่องโหว่ของความรู้เพื่อไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาด . สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความ “ร่ำรวย” ขึ้นมาได้ในเบื้องแรกก็คือการออม และสิ่งที่จะทำให้เกิดการออมขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดก็คือความสามารถในการข่มใจตนเองที่ต้องการจ่ายเงินเพื่อการบริโภค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้องมี “อำนาจเหนือเงิน” . ดำรงชีวิตตามหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ ดำเนินชีวิตด้วยความพอดีอย่างอยู่บนพื้นฐานของความพอเหมาะพอควร ไม่เสี่ยงหรือประมาทอย่างขาดสติ0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิวกรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น! - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 13 ความสำคัญของการมีเงินออม
.
การเปลี่ยนการออมเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาดและได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจจนอาจเรียกได้ว่า “เงินทำงานรับใช้” นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดังพูด มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้ที่ควรใคร่ครวญ
.
บ่อยครั้งที่เงินออมของเรามีไม่เพียงพอ จึงต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าดอกเบี้ยเงินกู้ บางครั้งการกู้ยืมและผ่อนชำระก็ถือได้ว่าเป็นเงินออมอย่างหนึ่งดังกรณีของบ้านและรถยนต์ บ้านเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าในการอยู่อาศัย การผ่อนชำระหนี้บ้านทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน และเกิดความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระเพราะไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น ส่วนรถยนต์เป็นสิ่งสร้างความสะดวกสะบายที่ช่วยลดโสหุ้ยในเรื่องเวลาและการเดินทาง
.
อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงอยุ่ไม่น้อยในการกู้และผ่อนชำระจนครบ หรือพูดอีกอย่างนึงว่า กว่าจะออมจนประสบผลสำเร็จสามารถมีบ้านเป็นของตนเอง ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญเมื่อกู้ยืมและผ่อนชำระบ้านหรือรถยนต์หรือโรงงานก็คือ แท้จริงแล้วทรัพย์สินเหล่านี้ยังไม่ใช่ของผู้กู้ตามกฏหมาย เนื่องจากโฉนดและเอกสารแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของยังมิได้ระบุตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้ผ่อนชำระครบแล้วเท่านั้น ข้อเท็จจริงนี้ผู้กู้จะต้องตระหนักอยู่เสมอ จะได้มีพฤติกรรมอันเหมาะสมในการใช้จ่ายเงินในระหว่างที่เป็นหนี้
.
ความไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างแท้จริงดังกล่าว เป็นความเสี่ยงที่ผู้กู้ควรตระหนัก เพราะ “อุบัติเหตุ” หลายประการดังต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาของการกู้ยืม โดยเฉพาะการกู้ยืมที่มีระยะเวลายาวนาน นั่นก็คือ (1) รายจ่ายของครอบครัวอาจสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดอ้นเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือมีภาระผูกพันทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก (2) รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นดังที่หวังไว้ แต่อาจลดลงเพราะตกงานหรือเปลี่ยนงาน หรือสภาวะเศรษฐกิจผันผวนจนทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งโรจน์ซบเซา หรือธุรกิจต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น (3) อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นในช่วงเวลาต่อมาจนต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้น
.
อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ก็คือ ก่อนการกู้ยืมควรใคร่ครวญให้รอบคอบและเลือกผ่อนซื้อสิ่งที่มีมูลค่าสอดคล้องกับฐานะของตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น มีข้อแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยจาก “อุบัติเหตุ” ดังกล่าว จึงไม่ควรกู้เงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าหนึ่งเท่าของรายได้ครัวเรือนในหนึ่งปี
.
เมื่อมีเงินออมและจะนำไปลงทุน มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ควรทราบ ดังนี้
(1) การลงทุนบางอย่างไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระหว่างที่ถือครองอยู่ แต่อาจมีมูลค่าสูงเมื่อเลิกการถือครองแล้วก็เป็นได้เช่น ทองคำ ที่ดิน เพชรนิลจินดา ของเก่ามีค่า เป็นต้น สิ่งที่ต้องยอมสละไประหว่างการถือครองก็คือดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนรูปอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเงินจำนวนเดียวกันนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือการลงทุนอย่างอื่น นอกจากนี้เจ้าของเองอาจไม่มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวดอกผลจากมูลค่าที่สูงขึ้นเพราะเสียชีวิตไปก่อนก็เป็นได้
(2) การลงทุนบางอย่างได้รับผลตอบแทนระหว่างที่ครอง แต่อาจมีมูลค่าไม่สูงดังคาดหวังเมื่อจบสิ้นช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นได้ เช่น หุ้น บ้านหรืออพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมให้เช่า อย่างไรก็ดีแม้ผลตอบแทนจากการถือครองอาจไม่สูงนัก แต่ก็สามารถนำไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดเงิน “ชั้นลูกชั้นหลาน” ขึ้นมาได้
(3) ความเสี่ยงในการลงทุนไม่เท่ากันระหว่างประเภทของการลงทุน เช่น หุ้นกับพันธบัตร หรือที่ดินกับกองทุนรวม ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดผลตอบแทนนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ความเสี่ยงจากการลงทุนในประเภทเดียวกันของการลงทุนแต่ละอย่างก็แตกต่างกันอีกด้วย เช่น การลงทุนซื้อหุ้นธนาคาร ก. อาจมีความเสี่ยงมากกว่าธนาคาร ข. อาจเนื่องมาจากธนาคาร ข. มีระบบการบริการงานที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีธรรมาภิบาลสูงกว่าก็เป็นได้
(4) ในการตัดสินใจว่าร่วมลงทุนในกิจการใด ไม่ว่าในรูปของการลงทุนร่วมประกอบการ SME’s หรือซื้อหุ้นโดยตรง พึงพิจารณาคุณภาพของการบริหารกิจการนั้นเป็นสำคัญระวังการหลงติดกับภาพลักษณ์และการโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมลงทุน การบริหารที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดี มีคุณธรรม มีประวัติของความสำเร็จ มีทีมงานที่แข็งขันสนับสนุนกิจการ มีนโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเป็นที่ประจักษ์
(5) คำพูดที่ว่า “เสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง” นั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูง ก็จำเป็นต้องลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเป็นธรรมดา มิได้หมายความว่าถ้ากิจการมีความเสี่ยงสูงแล้วจะได้รับผลตอบแทนสูงเสมอไป
.
เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องการลงทุนเป็นเช่นนี้ จึงสมควรใช้เงินออมไปลงทุนในหลากหลายประเภทและหลากหลายหน่วยธุรกิจ เพราะความผันผวนในทางลบจากการลงทุนหนึ่งอาจถูกคานไว้ด้วยความผันผวนในด้านบวกจากอีกการลงทุนหนึ่ง
.
การลงทุนขึ้นอยู่กับโชค แต่ภายในขอบเขตหนึ่ง หากเลือกลงทุนอย่างมีเหตุมีผลแล้ว ตัวแปรสร้างความผันผวนที่ชื่อว่า “โชค” อาจลดอิทธิฤทธิ์ลงไปได้มากทีเดียว
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 13 ความสำคัญของการมีเงินออม . การเปลี่ยนการออมเป็นการลงทุนที่ชาญฉลาดและได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจจนอาจเรียกได้ว่า “เงินทำงานรับใช้” นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดังพูด มีหลายประเด็นดังต่อไปนี้ที่ควรใคร่ครวญ . บ่อยครั้งที่เงินออมของเรามีไม่เพียงพอ จึงต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าดอกเบี้ยเงินกู้ บางครั้งการกู้ยืมและผ่อนชำระก็ถือได้ว่าเป็นเงินออมอย่างหนึ่งดังกรณีของบ้านและรถยนต์ บ้านเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าในการอยู่อาศัย การผ่อนชำระหนี้บ้านทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน และเกิดความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระเพราะไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น ส่วนรถยนต์เป็นสิ่งสร้างความสะดวกสะบายที่ช่วยลดโสหุ้ยในเรื่องเวลาและการเดินทาง . อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงอยุ่ไม่น้อยในการกู้และผ่อนชำระจนครบ หรือพูดอีกอย่างนึงว่า กว่าจะออมจนประสบผลสำเร็จสามารถมีบ้านเป็นของตนเอง ข้อเท็จจริงหนึ่งที่สำคัญเมื่อกู้ยืมและผ่อนชำระบ้านหรือรถยนต์หรือโรงงานก็คือ แท้จริงแล้วทรัพย์สินเหล่านี้ยังไม่ใช่ของผู้กู้ตามกฏหมาย เนื่องจากโฉนดและเอกสารแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของยังมิได้ระบุตนเองเป็นเจ้าของ ซึ่งความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้ผ่อนชำระครบแล้วเท่านั้น ข้อเท็จจริงนี้ผู้กู้จะต้องตระหนักอยู่เสมอ จะได้มีพฤติกรรมอันเหมาะสมในการใช้จ่ายเงินในระหว่างที่เป็นหนี้ . ความไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างแท้จริงดังกล่าว เป็นความเสี่ยงที่ผู้กู้ควรตระหนัก เพราะ “อุบัติเหตุ” หลายประการดังต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาของการกู้ยืม โดยเฉพาะการกู้ยืมที่มีระยะเวลายาวนาน นั่นก็คือ (1) รายจ่ายของครอบครัวอาจสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดอ้นเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือมีภาระผูกพันทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก (2) รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นดังที่หวังไว้ แต่อาจลดลงเพราะตกงานหรือเปลี่ยนงาน หรือสภาวะเศรษฐกิจผันผวนจนทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งโรจน์ซบเซา หรือธุรกิจต้องการเงินลงทุนเพิ่มขึ้น (3) อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นในช่วงเวลาต่อมาจนต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนด้วยเงินก้อนใหญ่ขึ้น . อุทาหรณ์ในเรื่องนี้ก็คือ ก่อนการกู้ยืมควรใคร่ครวญให้รอบคอบและเลือกผ่อนซื้อสิ่งที่มีมูลค่าสอดคล้องกับฐานะของตนเองอย่างแท้จริงเท่านั้น มีข้อแนะนำว่าเพื่อความปลอดภัยจาก “อุบัติเหตุ” ดังกล่าว จึงไม่ควรกู้เงินซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าหนึ่งเท่าของรายได้ครัวเรือนในหนึ่งปี . เมื่อมีเงินออมและจะนำไปลงทุน มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ควรทราบ ดังนี้ (1) การลงทุนบางอย่างไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระหว่างที่ถือครองอยู่ แต่อาจมีมูลค่าสูงเมื่อเลิกการถือครองแล้วก็เป็นได้เช่น ทองคำ ที่ดิน เพชรนิลจินดา ของเก่ามีค่า เป็นต้น สิ่งที่ต้องยอมสละไประหว่างการถือครองก็คือดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลตอบแทนรูปอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเงินจำนวนเดียวกันนี้ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือการลงทุนอย่างอื่น นอกจากนี้เจ้าของเองอาจไม่มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวดอกผลจากมูลค่าที่สูงขึ้นเพราะเสียชีวิตไปก่อนก็เป็นได้ (2) การลงทุนบางอย่างได้รับผลตอบแทนระหว่างที่ครอง แต่อาจมีมูลค่าไม่สูงดังคาดหวังเมื่อจบสิ้นช่วงเวลาหนึ่งก็เป็นได้ เช่น หุ้น บ้านหรืออพาร์ตเมนต์หรือคอนโดมิเนียมให้เช่า อย่างไรก็ดีแม้ผลตอบแทนจากการถือครองอาจไม่สูงนัก แต่ก็สามารถนำไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดเงิน “ชั้นลูกชั้นหลาน” ขึ้นมาได้ (3) ความเสี่ยงในการลงทุนไม่เท่ากันระหว่างประเภทของการลงทุน เช่น หุ้นกับพันธบัตร หรือที่ดินกับกองทุนรวม ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดผลตอบแทนนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ความเสี่ยงจากการลงทุนในประเภทเดียวกันของการลงทุนแต่ละอย่างก็แตกต่างกันอีกด้วย เช่น การลงทุนซื้อหุ้นธนาคาร ก. อาจมีความเสี่ยงมากกว่าธนาคาร ข. อาจเนื่องมาจากธนาคาร ข. มีระบบการบริการงานที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีธรรมาภิบาลสูงกว่าก็เป็นได้ (4) ในการตัดสินใจว่าร่วมลงทุนในกิจการใด ไม่ว่าในรูปของการลงทุนร่วมประกอบการ SME’s หรือซื้อหุ้นโดยตรง พึงพิจารณาคุณภาพของการบริหารกิจการนั้นเป็นสำคัญระวังการหลงติดกับภาพลักษณ์และการโฆษณาชวนเชื่อให้ร่วมลงทุน การบริหารที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดี มีคุณธรรม มีประวัติของความสำเร็จ มีทีมงานที่แข็งขันสนับสนุนกิจการ มีนโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังในเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเป็นที่ประจักษ์ (5) คำพูดที่ว่า “เสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง” นั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่สูง ก็จำเป็นต้องลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงสูงเป็นธรรมดา มิได้หมายความว่าถ้ากิจการมีความเสี่ยงสูงแล้วจะได้รับผลตอบแทนสูงเสมอไป . เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องการลงทุนเป็นเช่นนี้ จึงสมควรใช้เงินออมไปลงทุนในหลากหลายประเภทและหลากหลายหน่วยธุรกิจ เพราะความผันผวนในทางลบจากการลงทุนหนึ่งอาจถูกคานไว้ด้วยความผันผวนในด้านบวกจากอีกการลงทุนหนึ่ง . การลงทุนขึ้นอยู่กับโชค แต่ภายในขอบเขตหนึ่ง หากเลือกลงทุนอย่างมีเหตุมีผลแล้ว ตัวแปรสร้างความผันผวนที่ชื่อว่า “โชค” อาจลดอิทธิฤทธิ์ลงไปได้มากทีเดียว0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 131 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน
.
การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย
.
บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ
.
สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง
.
การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว
.
อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
.
สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน
.
สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย
.
ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน
.
ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว
.
กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน
(2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ
(3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม
(4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้
.
การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 12 อยู่กินอย่างไรไม่ให้เดือดร้อน . การจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ตนเองต้องการเป็นเรื่องสนุก หลายคนมีสติในเรื่องการใช้จ่าย แต่หลายคนก็ขาดสติ ใช้จ่ายจนเกิดความเดือดร้อนในเรื่องเงินทอง ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการดำเนินชีวิตด้วย . บ่อยครั้งคนที่เริ่มเดือดร้อนเรื่องเงิน ยังไม่ตระหนักถึงสภานะของตนเอง เพราะไม่มีไฟแดงกระพริบเตือนเป็นสัญญาณให้ทราบว่ากำลังใช้จ่ายเกินตัว กินอยู่เกินฐานะ และชีวิตในอนาคตกำลังจะลำบาก สิ่งที่อาจเป็นตัวแทนของไฟแดงกระพริบได้แก่ (1) รายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ชำระหนี้เพิ่มมากขึ้นทุกที (2) จ่ายเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้ด้วยจำนวนเงินต่ำที่สุดเท่าที่เจ้าหนี้จะยอมให้ได้ (3) ใช้เงินเต็มวงกู้ของบัตรเครดิต (4) ต้องเอาเงินส่วนที่ตั้งใจไว้ทำอย่างอื่น มาจ่ายชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงิน (5) ใช้บัตรเครดิตชำระเงินสำหรับหลายสิ่งทั้ง ๆ ที่แต่เดิมใช้เงินสด (6) ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเกินกำหนดเวลาอยู่เนืองๆ (7) ถูกเตือนให้จัดการกับบิลค้างชำระอยู่บ่อย ๆ (8) ทำงานล่วงเวลาหรือหาเงินพิเศษตัวเป็นเกลียวเพื่อหาเงินสดมาชำระบิลที่ส่งมาเรียกเก็บ (9) หากต้องออกจากงานที่ทำอยู่ก็จะเกิดปัญหาการเงินขึ้นมาทันที (10) นึกกังวลถึงเรื่องเงินอยู่เสมอ . สัญญาณข้างต้นไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างก็แสดงว่า กำลังกินอย่างเดือดร้อนแล้ว สาเหตุก็มาจากความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย หนทางแก้ไขแรกคือ ต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่ายที่กำลังเกิดขึ้น หรือพูดอีกอย่างว่า ยกฐานะการเงินขึ้นมาให้ทัดเทียมกับระดับการอยู่กิน หนทางที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ หรือลดการอยู่กินลงมาให้พอดีหรือต่ำกว่าฐานะ หรือทั้งสองหนทาง . การแก้ไขด้วยวิธีแรกนั้นยากมาก และไม่มีวันจบสิ้นได้เลย เพราะเคยชินกับการใช้จ่ายสูงจนเสมือนกับไล่จับเงาตัวเอง หามาได้เท่าใดก็ไม่มีวันเพียงพอ การใช้ทั้งสองวิธี หรือใช้วิธีที่สองคือ ลดรายจ่ายลงให้พอดีกับรายได้ มีเหตุมีผลมากกว่า เพราะถึงแม้จะเจ็บปวดแต่ก็กระทำได้ง่ายกว่าการหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และที่สำคัญที่สุด เกิดเป็นมรรคเป็นผลในระยะยาว . อย่างไรก็ดีในการหาทางแก้ไข จะจ้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการอยู่กินอย่างเดือดร้อนของคนไฟแดงกะพริบเหล่านี้ หากมองในภาพรวมก็จะเห็นว่า ปัญหาเริ่มจากความต้องการที่ไม่มีวันพอ เป็นสาเหตุแรก กล่าวคือ ความต้องการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มาสโลว์ กล่าวไว้ โดยเริ่มต้นจากต้องการบำบัดความหิว ต้องการอยู่รอดอย่างมั่นคงปลอดภัย ต้องการความรักและมีพรรคพวก ต้องการความสำเร็จและได้รับการชื่นชมยอมรับ ต้องการมีความรู้และความเข้าใจ ต้องการความงามและความเป็นระเบียบ สุดท้ายต้องการบรรลุศักยภาพของตนเอง ดังนั้นโดยพื้นฐาน มนุษย์ต้องการการบริโภคมากอยู่แล้ว ซึ่งย่อมทำให้ใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว . สาเหตุที่ 2 คือ ความเข้าใจโลกที่ไม่เหมาะสม หลายคนมักนึกว่าการดำเนินชีวิตของผู้คนและครอบครัวกังที่ปรากฏในสื่อ คือวิถีการดำเนินชีวิตจริงของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริโภค การใช้ชีวิต และค่านิยม ดังนั้นเมื่อผู้เสพสื่อเหล่านี้ต้องการเป็นเช่นเดียวกับคนอื่นๆ จึงจำเป็นต้องบริโภคในลักษณะนั้นๆ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิต และมีค่านิยมแบบเดียวกัน การเลียนแบบเหล่านี้ ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมากมายอีกเช่นกัน . สาเหตุที่ 3 คือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโทรศัพท์สื่อโซเชี่ยลมิเดียหลายแพลทฟอร์ม เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก มีหลายครั้งที่ผู้โฆษณาพยายามบอกผู้ชมว่า ถ้าใช้สินค้านั้น หรือไปสถานที่นี้ ทำอย่างนั้นแล้วจะเป็น “คนมีระดับ” จะทำให้เป็นคนที่สังคมยอมรับ และ “คนปกติ” เขาก็ปฎิบัติเช่นนั้น การสื่อเช่นนี้ทำให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย . ทั้งสามสาเหตุ นำไปสู่การใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการขาดความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายจึงเป็นเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากอยู่ในสภาวะอยู่กินอย่างเดือดร้อน . ผู้ที่ดื่มด่ำกับการบริโภคในปัจจุบันจนลึมนึกถึงอนาคต ลืมนึกถึงความมั่นคงในชีวิตตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า มักจะนึกเอาว่า เอาไว้อีกสักพักค่อยออมเงินเพื่อสร้างอนาคตก็ได้ แต่ “สักพัก” นั้นก็ไม่มาถึงซักที พร้อมกับจมดิ่งลงไปในหนี้สินที่พอกพูนขึ้นทุกวัน สำหรับคนเหล่านี้ อย่าว่าแต่จะออมได้เลย แค่มีเงินใช้จ่ายให้ตลอดเดือนได้ก็ยากเต็มทีแล้ว . กลุ่มคนเหล่านี้จะหลุดพ้นจากการอยู่กินอย่างเดือดร้อนได้ก็ด้วยหลัก 4 ประการ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมองโลกในแง่ใหม่ ว่าเงินเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรู การมีหนี้สินที่ไม่นำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น เท่ากับเปิดช่องให้เงินเป็นศัตรู โดยทำร้ายตนเองตลอดเวลาด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นจึงต้องพยายามแก้ไขให้เงินเป็นมิตรด้วยการมีเงินออมแทน (2) อยู่กินต่ำกว่าฐานะ (3) ทำให้เงินทำงานรับใช้ โดยเริ่มจากการมีเงินออม (4) ควบคุมความต้องการของตนเองโดยยึด “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือดำรงตนอย่างมีสติ ไม่ใช้เงินอย่างประมาท รู้จักความพอดี ความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีวุฒิภาวะควบคุมความต้องการของตนเองให้ได้ . การอยู่กินอย่างเดือดร้อน คือการอยู่กินอย่างขาดความหวังว่าชีวิตในอนาคตจะมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นการดำรงชีวิตอย่างทุกข์ใจ ต้องนึกถึงแต่เรื่องเงินอยู่ตลอดเวลาจนชีวิตเปราะบาง เอื้อต่อการกระทำที่ผิดจริยธรรม0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 11 การทำให้ “เงินทำงานรับใช้”
.
เมื่อพูดถึงเรื่องการหาเงินและการใช้เงิน คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ที่ไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ อย่างไรก็ดี “หญ้าปากคอก”นี้ ได้กลายเป็น “หนามยอกอก” ที่ทิ่มแทงคนหลายคน จนบางคนต้องล้มตายจากไปทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่ ดังที่ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ การมีฐานะมั่นคงจากการใช้แรงงานของตนเองตลอดชีวิต ถึงแม้จะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นศิลปะที่มีหลักการบางอย่างเป็นตัวกำกับ การเข้าใจหลักการดังกล่าวจะช่วยให้ไม่เกิดสภาวะที่ทุ่มเททำงานหารายได้อย่างหนัก แต่ในบั้นปลายชีวิตก็ยังหาความมั่นคงทางการเงินไม่ได้
.
มนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้จ่ายเงินที่หามาได้อย่างตามใจตนเอง เพราะถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย จนละเลยที่จะเก็บเงินบางส่วนไว้ เพื่อทำให้งอกเงยสำหรับอนาคตที่สุขสบายยิ่งขึ้น หลายคนลืมคิดไปว่าถ้าใช้เงินที่หามาได้ไปทั้งหมด ความสุขที่ได้รับก็จะจบอยู่เพียงแค่นั้น ไม่มีอนาคตที่ว่าทำงานเท่าเดิม แต่ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ไม่มีอนาคตของความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะอำนวยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตไปด้วย และไม่มีอนาคตที่จะมีชีวิตสุขสบายเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว
.
ถ้าใครเลือกเส้นทาง “สุขวันนี้และจบแค่นี้” ก็จำต้องยอมรับผลที่เกิดมา แต่ถ้าใครเลือกเส้นทาง “ไม่สุขวันนี้เต็มที่ แต่จะสุขยาวกว่านี้ไปในอนาคต” ก็จำเป็นต้องมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเก็บไว้เป็นเงินออม หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้แต่แรกก่อนใช้จ่าย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
เงินออมเป็น “ต้นน้ำ” สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการมีความมั่นคงในด้านการเงินต่อไปในอนาคต เงินออมเกิดขึ้นได้เพราะเจ้าของรายได้มีความมัธยัสถ์ กล่าวคือใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเงินอย่างเขลาในเรื่องต่างๆ ความมัธยัสถ์เป็นแผนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมิใช่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น การขาดความมัธยัสถ์ต่างหากที่จะทำให้ตนเองเดือดร้อน และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย เพราะอาจถูกรบกวนขอเงิน หรือขอยืมเงินเพราะตนเองมีเงินใช้ไม่พอ
.
ความมัธยัสถ์โยงใยกับการมีวินัยบังคับใจตนเอง และการมุ่งมั่นมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่สำคัญของชีวิต นั่นคือ “การอยู่กินต่ำกว่าฐานะ” ซึ่งนำไปสู่การมีเงินเหลือเพื่อเก็บออมนั่นเอง ผู้ที่อยู่กินตามฐานะของรายได้ หมายถึงการไม่มีเงินออม และผู้ที่อยู่กินเกินฐานะหมายถึง ใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่ตนเองมี นั่นก็คือต้องหยิบยืมส่วนที่ขาดไปจากผู้อื่น ซึ่งก็คือการเป็นหนี้นั่นเอง
.
เมื่ออยู่กินต่ำกว่าฐานะอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดเงินออมขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เงินออมจะสะสมเป็นเงินก้อน และเมื่อเอาไปลงทุนอย่างชาญฉลาดก็จะเกิดผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานอยู่แล้ว ถ้าหากผลตอบแทนลักษณะนี้พอกพูนกันมากขึ้น ถึงแม้จะทำงานน้อยลงหรือไม่ได้ทำงานเลย อันเนื่งมาจากความเจ็บป่วยหรือพ้นวัยทำงานแล้ว ก็จะยังคงมีรายได้อยู่เช่นเดิม
.
ความมั่งคั่งเป็นผลพวงของ “การออกลูกออกหลาน” ของเงินตอบแทนจากการออมขั้นแรก กล่าวคือ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งแรกก็นำไปลงทุนต่อ และเมื่อได้รับผลตอบแทนอีกก็ลงทุนต่อไปอีกขั้นหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนสมทบพอกพูนเป็นความมั่งคั่ง
.
การกระทำเช่นนี้ ซึ่งเริ่มจากการมีเงินออมเป็นเบื้องต้นจนถึงการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง คือ การให้ “เงินทำงานรับใช้” นั่นเอง
.
ในชีวิตของผู้คน ทุกคนมีทั้งวัยทำงานที่หารายได้คล่องมือจากการออกแรงทำงาน และมีวัยพ้นทำงานที่ไม่มีรายได้จากการออกแรงทำงาน ดังนั้นการวางแผนการเงินเพื่อให้ “เงินทำงานรับใช้” ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงานจนสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเผื่อไปถึงวัยที่ไม่อาจหารยได้ได้เต็มที่จากการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
.
ตลอดชีวิตการทำงานซึ่งมีเวลา 30 ปีเศษๆ ถ้าบุคคลในช่วงวัยทำงานใช้จ่ายเงินอย่างขาดการวางแผนให้ “เงินทำงานรับใช้” แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คุณภาพชีวิตที่ได้รับก็จะไม่เหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าจะไม่ร่ำรวยตลอดชีวิตอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “รวยในวันนี้ เพื่อจนในวันข้างหน้า”
.
ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนักดีถึงการร่ำรวยตลอดชีวิต จะวางแผนให้เงินทำงานรับใช้เป็นอย่างดี โดยมีการดำเนินชีวิตพื้นฐานแบบ “อยู่กินต่ำกว่าฐานะ” การกระทำเช่นนี้ก็คือ “ยอมจนวันนี้ เพื่อร่ำรวยตลอดชีวิต” นั่นเอง
.
การยอมสละการบริโภคในปัจจุบันไปบ้าง เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง และสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอไปจนตลอดชีวิต คือ การมีวิสัยทัศน์
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 11 การทำให้ “เงินทำงานรับใช้” . เมื่อพูดถึงเรื่องการหาเงินและการใช้เงิน คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่าเป็นเรื่อง “หญ้าปากคอก” ที่ไม่ต้องเรียนรู้ก็ได้ อย่างไรก็ดี “หญ้าปากคอก”นี้ ได้กลายเป็น “หนามยอกอก” ที่ทิ่มแทงคนหลายคน จนบางคนต้องล้มตายจากไปทั้งที่ยังมีลมหายใจอยู่ ดังที่ได้เห็นกันอยู่เนืองๆ การมีฐานะมั่นคงจากการใช้แรงงานของตนเองตลอดชีวิต ถึงแม้จะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นศิลปะที่มีหลักการบางอย่างเป็นตัวกำกับ การเข้าใจหลักการดังกล่าวจะช่วยให้ไม่เกิดสภาวะที่ทุ่มเททำงานหารายได้อย่างหนัก แต่ในบั้นปลายชีวิตก็ยังหาความมั่นคงทางการเงินไม่ได้ . มนุษย์มีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้จ่ายเงินที่หามาได้อย่างตามใจตนเอง เพราะถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย จนละเลยที่จะเก็บเงินบางส่วนไว้ เพื่อทำให้งอกเงยสำหรับอนาคตที่สุขสบายยิ่งขึ้น หลายคนลืมคิดไปว่าถ้าใช้เงินที่หามาได้ไปทั้งหมด ความสุขที่ได้รับก็จะจบอยู่เพียงแค่นั้น ไม่มีอนาคตที่ว่าทำงานเท่าเดิม แต่ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ไม่มีอนาคตของความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะอำนวยให้เกิดความมั่นคงในชีวิตไปด้วย และไม่มีอนาคตที่จะมีชีวิตสุขสบายเมื่อพ้นวัยทำงานไปแล้ว . ถ้าใครเลือกเส้นทาง “สุขวันนี้และจบแค่นี้” ก็จำต้องยอมรับผลที่เกิดมา แต่ถ้าใครเลือกเส้นทาง “ไม่สุขวันนี้เต็มที่ แต่จะสุขยาวกว่านี้ไปในอนาคต” ก็จำเป็นต้องมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเก็บไว้เป็นเงินออม หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้แต่แรกก่อนใช้จ่าย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี . เงินออมเป็น “ต้นน้ำ” สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการมีความมั่นคงในด้านการเงินต่อไปในอนาคต เงินออมเกิดขึ้นได้เพราะเจ้าของรายได้มีความมัธยัสถ์ กล่าวคือใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็น ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเงินอย่างเขลาในเรื่องต่างๆ ความมัธยัสถ์เป็นแผนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่มิได้ทำให้ใครเดือดร้อน และมิใช่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น การขาดความมัธยัสถ์ต่างหากที่จะทำให้ตนเองเดือดร้อน และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย เพราะอาจถูกรบกวนขอเงิน หรือขอยืมเงินเพราะตนเองมีเงินใช้ไม่พอ . ความมัธยัสถ์โยงใยกับการมีวินัยบังคับใจตนเอง และการมุ่งมั่นมีเป้าหมายในชีวิต ทำให้เกิดสภาวการณ์ที่สำคัญของชีวิต นั่นคือ “การอยู่กินต่ำกว่าฐานะ” ซึ่งนำไปสู่การมีเงินเหลือเพื่อเก็บออมนั่นเอง ผู้ที่อยู่กินตามฐานะของรายได้ หมายถึงการไม่มีเงินออม และผู้ที่อยู่กินเกินฐานะหมายถึง ใช้จ่ายเงินเกินรายได้ที่ตนเองมี นั่นก็คือต้องหยิบยืมส่วนที่ขาดไปจากผู้อื่น ซึ่งก็คือการเป็นหนี้นั่นเอง . เมื่ออยู่กินต่ำกว่าฐานะอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดเงินออมขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เงินออมจะสะสมเป็นเงินก้อน และเมื่อเอาไปลงทุนอย่างชาญฉลาดก็จะเกิดผลตอบแทนเป็นรายได้เพิ่มเติมจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานอยู่แล้ว ถ้าหากผลตอบแทนลักษณะนี้พอกพูนกันมากขึ้น ถึงแม้จะทำงานน้อยลงหรือไม่ได้ทำงานเลย อันเนื่งมาจากความเจ็บป่วยหรือพ้นวัยทำงานแล้ว ก็จะยังคงมีรายได้อยู่เช่นเดิม . ความมั่งคั่งเป็นผลพวงของ “การออกลูกออกหลาน” ของเงินตอบแทนจากการออมขั้นแรก กล่าวคือ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งแรกก็นำไปลงทุนต่อ และเมื่อได้รับผลตอบแทนอีกก็ลงทุนต่อไปอีกขั้นหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนสมทบพอกพูนเป็นความมั่งคั่ง . การกระทำเช่นนี้ ซึ่งเริ่มจากการมีเงินออมเป็นเบื้องต้นจนถึงการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง คือ การให้ “เงินทำงานรับใช้” นั่นเอง . ในชีวิตของผู้คน ทุกคนมีทั้งวัยทำงานที่หารายได้คล่องมือจากการออกแรงทำงาน และมีวัยพ้นทำงานที่ไม่มีรายได้จากการออกแรงทำงาน ดังนั้นการวางแผนการเงินเพื่อให้ “เงินทำงานรับใช้” ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงานจนสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเผื่อไปถึงวัยที่ไม่อาจหารยได้ได้เต็มที่จากการทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง . ตลอดชีวิตการทำงานซึ่งมีเวลา 30 ปีเศษๆ ถ้าบุคคลในช่วงวัยทำงานใช้จ่ายเงินอย่างขาดการวางแผนให้ “เงินทำงานรับใช้” แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ คุณภาพชีวิตที่ได้รับก็จะไม่เหมือนเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าจะไม่ร่ำรวยตลอดชีวิตอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “รวยในวันนี้ เพื่อจนในวันข้างหน้า” . ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนักดีถึงการร่ำรวยตลอดชีวิต จะวางแผนให้เงินทำงานรับใช้เป็นอย่างดี โดยมีการดำเนินชีวิตพื้นฐานแบบ “อยู่กินต่ำกว่าฐานะ” การกระทำเช่นนี้ก็คือ “ยอมจนวันนี้ เพื่อร่ำรวยตลอดชีวิต” นั่นเอง . การยอมสละการบริโภคในปัจจุบันไปบ้าง เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง และสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอไปจนตลอดชีวิต คือ การมีวิสัยทัศน์0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 187 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน
.
สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล
.
มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้
.
การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู
.
นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้
.
รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม
.
เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น
.
การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้
.
(1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ
(2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน
(3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท)
.
เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน . สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล . มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้ . การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู . นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้ . รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม . เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น . การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้ . (1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ (2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน (3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี . ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท) . เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 299 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2)
.
1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ
.
3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้
.
กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก
.
(2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป
.
4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี
.
อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้
.
LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย
.
6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด
.
7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2) . 1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด 2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ . 3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้ . กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก . (2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป . 4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี . 5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี . ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี . อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้ . LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย . 6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด . 7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 335 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 8 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (1)
.
ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง ไม่ว่าจะออมเงินมากเท่าใด หากไม่นำเงินก้อนนั้นไปลงทุนอย่างเหมาะสมแล้ว ความมั่นคงด้านการเงินของครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้ การลงทุนที่ชาญฉลาดจะก่อให้เกิดรายได้ขึ้นอีกทางหนึ่งโดยไม่ต้องออกแรงควบคู่ไปกับการทำงานตามปกติ และเมื่อมี “เงินลูก” เกิดขึ้นจากการลงทุนแล้ว ก็สามารถนำมันไปลงทุนต่ออีกให้งอกเงยต่อไปเป็น “เงินหลาน” “เงินเหลน” และต่อเนื่องได้อีกยาวนาน
.
ตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก (เงินลูก) ก็สามารถเอาดอกเบี้ยไปซื้อหุ้น ผ่อนซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้คนเช่า และได้รับผลตอบแทน (เงินหลาน) และเมื่องอกเงยขึ้นมาอีก ก็สามารถนำไปลงทุนต่อไปได้ไม่รู้จบ ผลตอบแทนทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ล้วนมีที่มาจาก “ต้นน้ำ” คือเงินออมแต่แรกทั้งสิ้น ถ้าปราศจากเสียซึ่งความสามารถในการสร้างเงินออมของครอบครัวแล้ว ผลตอบแทนทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
.
อย่างไรก็ดี การลงทุนอาจไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนได้สมหวัง เพราะมีสิ่งที่เรียกว่าความเสี่ยงเกี่ยวพันอยู่ด้วยเสมอในการลงทุน ความเสี่ยงแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาคหรือระดับประเทศ และความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยจุลภาคหรือระดับย่อย
.
ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับประเทศมีผลกระทบต่อทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนหรือไม่ใช่ ความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดจากอำนาจซื้อลดลงอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ (เมื่อของมีราคาสูงขึ้น เงินเท่าเดิมซื้อของได้จำนวนน้อยลง) ทำให้ดอกผลจากการลงทุนมีค่าแท้จริงน้อยลง และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือนโยบายของรัฐบาล จนอาจทำให้การลงทุนเท่านโยบายเก่า
.
ความเสี่ยงอันเกิดจากความผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจนทำให้เกิดความเสียหาย เช่น การลดค่าเงินบาท (เงินตราต่างประเทศมีราคาสูงชึ้น) ทำให้ภาระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศในรูปเงินบาทสูงขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน
.
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับประเทศอีกแบบหนึ่งคือ ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตัวผู้ลงทุนเองเท่านั้น ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอันเกิดจากการแปรผันของอัตราดอกเบี้ยจนทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นและอาจได้รับผลตอบแทนต่ำลง (2) ความเสี่ยงอันเกิดจากความรู้สึกของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ราคาหุ้นตก ถึงแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์มิได้เปลี่ยนแปลงเลยก็ตาม (3) ความเสี่ยงอันเกิดจากการปั่นหุ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้หุ้นตัวอื่นมีราคาลดลง ในขณะที่หุ้นตัวที่ปั่นราคาพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ จนอาจนำไปสู่การขาดศรัทธาต่อตลาดหุ้นโดยรวม และพากันล่มจมไปด้วยกันในที่สุด
.
สำหรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับย่อย เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายในหรือเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจนั้น โดยผู้ลงทุนอาจหลีกเลี่ยงได้ หากเลือกสรรการลงทุนที่ดี ความเสี่ยงชนิดนี้ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดจากบริษัทนั้นๆเอง เช่น ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ฐานะการเงินไม่เข้มแข็ง ผู้บริหารฉ้อโกง เป็นต้น และความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งอาจเปราะบางเพราะธรรมชาติของตัวมันเอง เช่น อุตสาหกรรมที่อาศัยทรัพยากรจำกัด เมื่อวัตถุดิบหมด โอกาสทางธุรกิจห็หายไป เช่น เหมืองแร่ ป่าไม้ หรืออุตสาหกรรมที่ราคาขึ้นลงตามวงจรราคาตลาดโลก เช่นน้ำตาล เป็นต้น.
.
ไม่มีการลงทุนใดที่ไม่มีความเสี่ยง การลงทุนทุกอย่างเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยต่างกัน อยู่ที่ว่าผู้ลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนแต่ละอย่างมากน้อยเพียงใด และยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด การลงทุนต่อไปนี้ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกัน ไว้บทหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 8 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (1) . ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง ไม่ว่าจะออมเงินมากเท่าใด หากไม่นำเงินก้อนนั้นไปลงทุนอย่างเหมาะสมแล้ว ความมั่นคงด้านการเงินของครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้ การลงทุนที่ชาญฉลาดจะก่อให้เกิดรายได้ขึ้นอีกทางหนึ่งโดยไม่ต้องออกแรงควบคู่ไปกับการทำงานตามปกติ และเมื่อมี “เงินลูก” เกิดขึ้นจากการลงทุนแล้ว ก็สามารถนำมันไปลงทุนต่ออีกให้งอกเงยต่อไปเป็น “เงินหลาน” “เงินเหลน” และต่อเนื่องได้อีกยาวนาน . ตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเงินฝาก (เงินลูก) ก็สามารถเอาดอกเบี้ยไปซื้อหุ้น ผ่อนซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้คนเช่า และได้รับผลตอบแทน (เงินหลาน) และเมื่องอกเงยขึ้นมาอีก ก็สามารถนำไปลงทุนต่อไปได้ไม่รู้จบ ผลตอบแทนทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ล้วนมีที่มาจาก “ต้นน้ำ” คือเงินออมแต่แรกทั้งสิ้น ถ้าปราศจากเสียซึ่งความสามารถในการสร้างเงินออมของครอบครัวแล้ว ผลตอบแทนทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย . อย่างไรก็ดี การลงทุนอาจไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนได้สมหวัง เพราะมีสิ่งที่เรียกว่าความเสี่ยงเกี่ยวพันอยู่ด้วยเสมอในการลงทุน ความเสี่ยงแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาคหรือระดับประเทศ และความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยจุลภาคหรือระดับย่อย . ความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับประเทศมีผลกระทบต่อทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนหรือไม่ใช่ ความเสี่ยงดังกล่าว ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดจากอำนาจซื้อลดลงอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ (เมื่อของมีราคาสูงขึ้น เงินเท่าเดิมซื้อของได้จำนวนน้อยลง) ทำให้ดอกผลจากการลงทุนมีค่าแท้จริงน้อยลง และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือนโยบายของรัฐบาล จนอาจทำให้การลงทุนเท่านโยบายเก่า . ความเสี่ยงอันเกิดจากความผันแปรของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจนทำให้เกิดความเสียหาย เช่น การลดค่าเงินบาท (เงินตราต่างประเทศมีราคาสูงชึ้น) ทำให้ภาระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศในรูปเงินบาทสูงขึ้น ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน . นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับประเทศอีกแบบหนึ่งคือ ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตัวผู้ลงทุนเองเท่านั้น ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอันเกิดจากการแปรผันของอัตราดอกเบี้ยจนทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นและอาจได้รับผลตอบแทนต่ำลง (2) ความเสี่ยงอันเกิดจากความรู้สึกของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ราคาหุ้นตก ถึงแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์มิได้เปลี่ยนแปลงเลยก็ตาม (3) ความเสี่ยงอันเกิดจากการปั่นหุ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้หุ้นตัวอื่นมีราคาลดลง ในขณะที่หุ้นตัวที่ปั่นราคาพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ จนอาจนำไปสู่การขาดศรัทธาต่อตลาดหุ้นโดยรวม และพากันล่มจมไปด้วยกันในที่สุด . สำหรับความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระดับย่อย เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภายในหรือเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจนั้น โดยผู้ลงทุนอาจหลีกเลี่ยงได้ หากเลือกสรรการลงทุนที่ดี ความเสี่ยงชนิดนี้ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดจากบริษัทนั้นๆเอง เช่น ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ฐานะการเงินไม่เข้มแข็ง ผู้บริหารฉ้อโกง เป็นต้น และความเสี่ยงที่เกิดจากลักษณะของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งอาจเปราะบางเพราะธรรมชาติของตัวมันเอง เช่น อุตสาหกรรมที่อาศัยทรัพยากรจำกัด เมื่อวัตถุดิบหมด โอกาสทางธุรกิจห็หายไป เช่น เหมืองแร่ ป่าไม้ หรืออุตสาหกรรมที่ราคาขึ้นลงตามวงจรราคาตลาดโลก เช่นน้ำตาล เป็นต้น. . ไม่มีการลงทุนใดที่ไม่มีความเสี่ยง การลงทุนทุกอย่างเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยต่างกัน อยู่ที่ว่าผู้ลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนแต่ละอย่างมากน้อยเพียงใด และยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด การลงทุนต่อไปนี้ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกัน ไว้บทหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 7 การสร้างความมั่นคงด้านการเงินแก่ครอบครัว
.
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และการเป็นครอบครัวที่อบอุ่นโยงใยกับการจัดการเรื่องการเงินอย่างไม่อ่จหลีกเลี่ยงได้ การที่คนสองคนมาร่วมชีวิตกันและมีลูก คือทางเลือกของชีวิตที่ทั้งสองได้ตัดสินใจแล้ว ดังนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบให้ครอบครัวมีความสุข มีความเป็นปึกแผ่นด้านการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของทุกๆคนในครอบครัว
.
ในเบื้องแรก สามีภรรยาต้องพูดจาตกลงกันให้ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเงินทองของครอบครัว เช่น จะรวมกระเป๋าและแยกกระเป๋ากันอย่างไร ค่าใช้จ่ายของครอบครัวจะรับผิดชอบกันอย่างไร ข้อพิจารณาในเรื่องนี้มีดังนี้
.
การตัดสินใจทางการเงินของพ่อแม่จะต้องเป็นหน่วยเดียวกัน การซื้อสิ่งของที่มีราคาสูงและผูกมัดทางการเงินของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ลงทุนธุรกิจ ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องมีการปรึกษาหารือ และตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายทราบถึงภาระผูกพันที่จะเกิดขึ้น
.
การใช้จ่ายที่ต่างคนต่างทำ เช่น การใช้บัตรเครดิต การเล่นหุ้น เล่นแชร์ การร่วมลงทุนกับผู้อื่น ควรให้แต่ละฝ่ายได้รับรู้ เพราะเป็นบุคคลเดียวกันตามกฏหมาย (ในกรณีจดทะเบียนสมรส) ทั้งพ่อและแม่ต้องรับรู้ข้อมูลและรับผิดชอบสถานะการเงินของครอบครัวร่วมกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งใช้เงินอย่างเดียวโดยไม่ยอมรับรู้เรื่องรายได้ ไม่ยอมหรือไม่ร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนการเงินของครอบครัว ความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้
.
การวางแผนการเงินของครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องจัดไว้ในลำดับสำคัญสูงสุด การจดบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละเดือนจะทำให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสามารถในการออมของครอบครัว ในการสร้างความมั้นคงด้านการเงินให้แก่ครอบครัว ประเด็นที่พึงพิจารณามีดังต่อไปนี้
.
1.ความมั่งคั่งและการมีรายได้ต่อช่วงเวลานั้นแตกต่างกัน ถ้าเปรียบเงินเหมือนน้ำที่อยู่ในถัง รายได้เสมือนน้ำที่ไหลออกจากก้นถังในช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าน้ำไหลเข้าถังมากกว่าน้ำที่ไหลออก ปริมาณน้ำในถังที่ได้สะสมมาก่อนหน้า ก็จะมากขึ้น แต่ถ้าน้ำไหลออกจากถังในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าน้ำไหลเข้า ดังนั้น ปริมาณน้ำในถังที่สะสมมาก่อนหน้าก็จะลดลง ความมั่งคั่งก็คือปริมาณน้ำที่อยู่ในถัง ส่วนรายได้ก็คือปริมาณน้ำที่ไหลเข้าถึงในช่วงเวลานั้น
.
ความมั่งคั่งวัด ณ จุดหนึ่งของเวลา ส่วนการมีรายได้เป็นการวัดต่อช่วงเวลา เช่น บ้านมีมูลค่า 3 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวามคม 2568 เป็นความมั่งคั่ง ส่วนรายได้ 5 หมื่นบาทต่อเดือนเป็นการมีรายได้
.
สองสิ่งนี้แตกต่างกัน ความมั่งคั่งมีนัยผูกพันกับอนาคตที่จะมีรายได้ให้ใช้ ส่วนการมีรายได้นั้นมีนัยผูกพันกับช่วงเวลาสั้นๆ บางครอบครัวอาจมีรายได้ต่อเดือนมาก แต่อาจไม่มีความมั่งคั่งก็เป็นได้ กล่าวคือ ถึงมีรายได้มากก็ใช้ไปจนหมด ไม่เหลือไว้สร้างความมั่งคั่งซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มเติมอีกเลยในอนาคต
.
การสร้างความมั่งคั่งของครอบครัวต้องเน้นไปที่การสะสมความมั่งคั่งในระยะยาว ในแต่ละเดือนจะต้องมีรายได้มากกว่าการใช้จ่าย ซึงหมายถึงมีเงินออมนั่นเอง จึงจะทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้นได้ และความมั่งคั่งนี้จะเป็นฐานของการหารายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งสำหรับครอบครัวนอกเหนือจากการออกแรงทำงาน
.
2.การใช้จ่ายเงินอย่างชาญฉลาด สอดคล้องกับเงินในกระเป๋าเป็นเรื่องสำคัญ สุภาษิต “การหาเงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่การรู้จักใช้เงินนั้นสำคัญกว่า” เป็นจริงทุกยุคสมัย..... พ่อแม่จำนวนมากทำงานหนักหาเงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวโดยมีต้นทุนที่ต้องจ่าย นั่นคือมีเวลาให้ลูกน้อยลง ทำให้ความเอาใจใส่และผูกพันกับลูกลดลงน้อยลงไปด้วย
.
พ่อแม่เหล่านี้ มักเน้นการหารายได้แต่เพียงอย่างเดียวจนละเลยความสำคัญของการใช้จ่าย รายได้ส่วนหนึ่งมักถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อชดเชยที่ใกล้ชิดลูกน้อยลง จนอาจทำให้เงินออมขนาดใหญ่ในแต่ละเดือนเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น การทุ่มเทหาเงินทองในกรณีนี้จึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัวมากดังที่เข้าใจ หรือคาดหวัง บางครอบครัวกว่าจะรู้ตัวว่าไม่คุ้มก็ต่อเมื่อได้สูญเสียความใกล้ชิดผูกพันในครอบครัวหรือสูญเสียลูกไปแล้ว
.
การทำงานหนักเพื่อหาเงินและใช้จ่ายเงินเพื่อดำรงชีพและหาความสุขไม่ใช่เรื่องเสียหาย เช่นเดียวกับการมีบัตรเครดิตและการกู้ยืม ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นบริการด้านการเงินที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและช่วยให้บรรลุความต้องการในชีวิต ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเหมาะสมระหว่างสถานะทางการเงินของครอบครัวกับหนี้ที่ก่อขึ้น
.
3.จะไม่กู้เงินเพื่อสิ่งอื่นใด นอกจากที่อยู่อาศัย การศึกษา หรือเหตุฉุกเฉินด้านปัญหาสุขภาพ นี่คือความเชื่ออย่างนึงของคนในโลกตะวันตก ที่เข้าใจเรื่องการใช้เงินมายาวนานกว่าคนเอเชีย
.
การมีที่อยู่อาศัยของตนเอง เป็นพื้นฐานของความมั่งคงในชีวิต นักจิตวิทยาบอกว่า ลึกเข้าไปในใจของมนุษย์ทุกคน บ้านคือตัวแทนของแม่ เพราะบ้านป้องกัน แสงแดด ลมฝน และความหนาวเย็น ก่อให้เกิดความสุขสบายปลอดภัย เฉกเช่นเดียวกับครรภ์มารดา
.
การที่ครอบครัวจะมีบ้านเป็นของตนเองนั้นควรเป็นเป้าหมายแรกของพ่อแม่ เพราะทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ซึ่งค่าเช่านี้อาจแปรเปลี่ยนเป็นเงินผ่อนซื้อบ้านในแต่ละเดือนได้ หากมีการกู้ยืมเพื่อผ่อนซื้อบ้านหลังเดียวกันนี้ ผู้จ่ายค่าเช่าทุกเดือนไม่มีความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านในวันข้างหน้า ซึ่งต่างจากผู้ซื้อบ้านที่มีโอกาสในวันข้างหน้าที่จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยอีก เนื่องจากเป็นเจ้าของบ้านเอง นอกจากนี้ภายใต้กฏหมายไทย ไม่อาจใช้ค่าเช่าบ้านเป็นค่าลดหย่อนสำหรับการเสียถาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อผ่อนซื้อบ้านสามารถหักเป็นค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท
.
อย่างไรก็ดี การผ่อนซื้อบ้านเป็นภาระการเงินที่หนักหน่วง เพราะไม่เพียงแต่ต้องจ่ายเงินผ่อนชำระทุกเดือนเท่านั้น ยังมีระยะเวลาผูกพันอันยาวนานเกี่ยวข้องอีกด้วย การผ่อนบ้านจึงเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของครอบครัว ซึ่งต้องคำนึงถึงราคาบ้าน ความสามารถในการผ่อนชำระแต่ละเดือน อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและอนาคต ความแน่นอนของรายได้ ระยะเวลาแห่งการผูกมัด ศักยภาพการเพิ่มขึ้นของมูลค่าบ้าน ตลอดจน “ความแพง” ของบ้านในภาพรวม
.
ยกตัวอย่าง “ความแพง” ของบ้านเพื่อประกอบการพิจารณา : ถ้ากู้เงินซื้อบ้านราคา 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ผ่อนชำระ 10 ปี ต้องชำระเดือนละ 1,322 บาท ดังนั้นต้องจ่ายเงินรวมทั้งสิ้น 158,640 บาท สำหรับบ้านราคา 100,000 บาท (ถ้าผ่อนส่ง 20 ปี ต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 316,080 บาท สำหรับบ้านราคา 100,000 บาท)
.
ถ้ากู้เงินซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ผ่อนส่ง 10 ปี ต้องชำระเดือนละ 66,100 บาท ดังนั้นต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 7.93 ล้านบาท และถ้าผ่อนส่ง 15 ปี ต้องชำระเดือนละ 53,750 บาท ดังนั้นต้องจ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 9.68 ล้านบาท หรืออีกเกือบหนึ่งเท่าของราคาบ้าน
.
ถึงแม้การกู้ยืมจะทำให้บ้าน “แพง” ขึ้นมาก แต่ก็ทำให้สามารถมีบ้านอยู่อาศัยที่เป็นของตนเองในอนาคต และมูลค่าบ้านก็อาจเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงควรใคร่ครวญทั้งในด้าน “ความแพง” อันเกิดจากดอกเบี้ย ความมีคุณค่าของบ้านในปัจจุบันและมูลค่าบ้านในอนาคตประกอบกัน
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 7 การสร้างความมั่นคงด้านการเงินแก่ครอบครัว . ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และการเป็นครอบครัวที่อบอุ่นโยงใยกับการจัดการเรื่องการเงินอย่างไม่อ่จหลีกเลี่ยงได้ การที่คนสองคนมาร่วมชีวิตกันและมีลูก คือทางเลือกของชีวิตที่ทั้งสองได้ตัดสินใจแล้ว ดังนั้นจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบให้ครอบครัวมีความสุข มีความเป็นปึกแผ่นด้านการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของทุกๆคนในครอบครัว . ในเบื้องแรก สามีภรรยาต้องพูดจาตกลงกันให้ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเงินทองของครอบครัว เช่น จะรวมกระเป๋าและแยกกระเป๋ากันอย่างไร ค่าใช้จ่ายของครอบครัวจะรับผิดชอบกันอย่างไร ข้อพิจารณาในเรื่องนี้มีดังนี้ . การตัดสินใจทางการเงินของพ่อแม่จะต้องเป็นหน่วยเดียวกัน การซื้อสิ่งของที่มีราคาสูงและผูกมัดทางการเงินของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ลงทุนธุรกิจ ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องมีการปรึกษาหารือ และตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายทราบถึงภาระผูกพันที่จะเกิดขึ้น . การใช้จ่ายที่ต่างคนต่างทำ เช่น การใช้บัตรเครดิต การเล่นหุ้น เล่นแชร์ การร่วมลงทุนกับผู้อื่น ควรให้แต่ละฝ่ายได้รับรู้ เพราะเป็นบุคคลเดียวกันตามกฏหมาย (ในกรณีจดทะเบียนสมรส) ทั้งพ่อและแม่ต้องรับรู้ข้อมูลและรับผิดชอบสถานะการเงินของครอบครัวร่วมกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งใช้เงินอย่างเดียวโดยไม่ยอมรับรู้เรื่องรายได้ ไม่ยอมหรือไม่ร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนการเงินของครอบครัว ความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้ . การวางแผนการเงินของครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องจัดไว้ในลำดับสำคัญสูงสุด การจดบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละเดือนจะทำให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสามารถในการออมของครอบครัว ในการสร้างความมั้นคงด้านการเงินให้แก่ครอบครัว ประเด็นที่พึงพิจารณามีดังต่อไปนี้ . 1.ความมั่งคั่งและการมีรายได้ต่อช่วงเวลานั้นแตกต่างกัน ถ้าเปรียบเงินเหมือนน้ำที่อยู่ในถัง รายได้เสมือนน้ำที่ไหลออกจากก้นถังในช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าน้ำไหลเข้าถังมากกว่าน้ำที่ไหลออก ปริมาณน้ำในถังที่ได้สะสมมาก่อนหน้า ก็จะมากขึ้น แต่ถ้าน้ำไหลออกจากถังในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าน้ำไหลเข้า ดังนั้น ปริมาณน้ำในถังที่สะสมมาก่อนหน้าก็จะลดลง ความมั่งคั่งก็คือปริมาณน้ำที่อยู่ในถัง ส่วนรายได้ก็คือปริมาณน้ำที่ไหลเข้าถึงในช่วงเวลานั้น . ความมั่งคั่งวัด ณ จุดหนึ่งของเวลา ส่วนการมีรายได้เป็นการวัดต่อช่วงเวลา เช่น บ้านมีมูลค่า 3 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวามคม 2568 เป็นความมั่งคั่ง ส่วนรายได้ 5 หมื่นบาทต่อเดือนเป็นการมีรายได้ . สองสิ่งนี้แตกต่างกัน ความมั่งคั่งมีนัยผูกพันกับอนาคตที่จะมีรายได้ให้ใช้ ส่วนการมีรายได้นั้นมีนัยผูกพันกับช่วงเวลาสั้นๆ บางครอบครัวอาจมีรายได้ต่อเดือนมาก แต่อาจไม่มีความมั่งคั่งก็เป็นได้ กล่าวคือ ถึงมีรายได้มากก็ใช้ไปจนหมด ไม่เหลือไว้สร้างความมั่งคั่งซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มเติมอีกเลยในอนาคต . การสร้างความมั่งคั่งของครอบครัวต้องเน้นไปที่การสะสมความมั่งคั่งในระยะยาว ในแต่ละเดือนจะต้องมีรายได้มากกว่าการใช้จ่าย ซึงหมายถึงมีเงินออมนั่นเอง จึงจะทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้นได้ และความมั่งคั่งนี้จะเป็นฐานของการหารายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งสำหรับครอบครัวนอกเหนือจากการออกแรงทำงาน . 2.การใช้จ่ายเงินอย่างชาญฉลาด สอดคล้องกับเงินในกระเป๋าเป็นเรื่องสำคัญ สุภาษิต “การหาเงินเป็นเรื่องสำคัญ แต่การรู้จักใช้เงินนั้นสำคัญกว่า” เป็นจริงทุกยุคสมัย..... พ่อแม่จำนวนมากทำงานหนักหาเงินเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวโดยมีต้นทุนที่ต้องจ่าย นั่นคือมีเวลาให้ลูกน้อยลง ทำให้ความเอาใจใส่และผูกพันกับลูกลดลงน้อยลงไปด้วย . พ่อแม่เหล่านี้ มักเน้นการหารายได้แต่เพียงอย่างเดียวจนละเลยความสำคัญของการใช้จ่าย รายได้ส่วนหนึ่งมักถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อชดเชยที่ใกล้ชิดลูกน้อยลง จนอาจทำให้เงินออมขนาดใหญ่ในแต่ละเดือนเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น การทุ่มเทหาเงินทองในกรณีนี้จึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัวมากดังที่เข้าใจ หรือคาดหวัง บางครอบครัวกว่าจะรู้ตัวว่าไม่คุ้มก็ต่อเมื่อได้สูญเสียความใกล้ชิดผูกพันในครอบครัวหรือสูญเสียลูกไปแล้ว . การทำงานหนักเพื่อหาเงินและใช้จ่ายเงินเพื่อดำรงชีพและหาความสุขไม่ใช่เรื่องเสียหาย เช่นเดียวกับการมีบัตรเครดิตและการกู้ยืม ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นบริการด้านการเงินที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและช่วยให้บรรลุความต้องการในชีวิต ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเหมาะสมระหว่างสถานะทางการเงินของครอบครัวกับหนี้ที่ก่อขึ้น . 3.จะไม่กู้เงินเพื่อสิ่งอื่นใด นอกจากที่อยู่อาศัย การศึกษา หรือเหตุฉุกเฉินด้านปัญหาสุขภาพ นี่คือความเชื่ออย่างนึงของคนในโลกตะวันตก ที่เข้าใจเรื่องการใช้เงินมายาวนานกว่าคนเอเชีย . การมีที่อยู่อาศัยของตนเอง เป็นพื้นฐานของความมั่งคงในชีวิต นักจิตวิทยาบอกว่า ลึกเข้าไปในใจของมนุษย์ทุกคน บ้านคือตัวแทนของแม่ เพราะบ้านป้องกัน แสงแดด ลมฝน และความหนาวเย็น ก่อให้เกิดความสุขสบายปลอดภัย เฉกเช่นเดียวกับครรภ์มารดา . การที่ครอบครัวจะมีบ้านเป็นของตนเองนั้นควรเป็นเป้าหมายแรกของพ่อแม่ เพราะทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ซึ่งค่าเช่านี้อาจแปรเปลี่ยนเป็นเงินผ่อนซื้อบ้านในแต่ละเดือนได้ หากมีการกู้ยืมเพื่อผ่อนซื้อบ้านหลังเดียวกันนี้ ผู้จ่ายค่าเช่าทุกเดือนไม่มีความหวังว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านในวันข้างหน้า ซึ่งต่างจากผู้ซื้อบ้านที่มีโอกาสในวันข้างหน้าที่จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยอีก เนื่องจากเป็นเจ้าของบ้านเอง นอกจากนี้ภายใต้กฏหมายไทย ไม่อาจใช้ค่าเช่าบ้านเป็นค่าลดหย่อนสำหรับการเสียถาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อผ่อนซื้อบ้านสามารถหักเป็นค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท . อย่างไรก็ดี การผ่อนซื้อบ้านเป็นภาระการเงินที่หนักหน่วง เพราะไม่เพียงแต่ต้องจ่ายเงินผ่อนชำระทุกเดือนเท่านั้น ยังมีระยะเวลาผูกพันอันยาวนานเกี่ยวข้องอีกด้วย การผ่อนบ้านจึงเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของครอบครัว ซึ่งต้องคำนึงถึงราคาบ้าน ความสามารถในการผ่อนชำระแต่ละเดือน อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและอนาคต ความแน่นอนของรายได้ ระยะเวลาแห่งการผูกมัด ศักยภาพการเพิ่มขึ้นของมูลค่าบ้าน ตลอดจน “ความแพง” ของบ้านในภาพรวม . ยกตัวอย่าง “ความแพง” ของบ้านเพื่อประกอบการพิจารณา : ถ้ากู้เงินซื้อบ้านราคา 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ผ่อนชำระ 10 ปี ต้องชำระเดือนละ 1,322 บาท ดังนั้นต้องจ่ายเงินรวมทั้งสิ้น 158,640 บาท สำหรับบ้านราคา 100,000 บาท (ถ้าผ่อนส่ง 20 ปี ต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 316,080 บาท สำหรับบ้านราคา 100,000 บาท) . ถ้ากู้เงินซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ผ่อนส่ง 10 ปี ต้องชำระเดือนละ 66,100 บาท ดังนั้นต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 7.93 ล้านบาท และถ้าผ่อนส่ง 15 ปี ต้องชำระเดือนละ 53,750 บาท ดังนั้นต้องจ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 9.68 ล้านบาท หรืออีกเกือบหนึ่งเท่าของราคาบ้าน . ถึงแม้การกู้ยืมจะทำให้บ้าน “แพง” ขึ้นมาก แต่ก็ทำให้สามารถมีบ้านอยู่อาศัยที่เป็นของตนเองในอนาคต และมูลค่าบ้านก็อาจเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงควรใคร่ครวญทั้งในด้าน “ความแพง” อันเกิดจากดอกเบี้ย ความมีคุณค่าของบ้านในปัจจุบันและมูลค่าบ้านในอนาคตประกอบกัน0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 408 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 6 การสอนเรื่องเงินแก่ลูกในเยาว์วัย
.
เรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกาว่า จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไปพักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่าทำไมเล่า เวลาลูกท่านมาพักที่นี่ยังขอห้องที่ดีที่สุดเลย เขาตอบว่า มันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา
.
เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อ และลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึงเรื่องนี้เข้าลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเงินในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่องของบริโภคนิยม และการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่
.
การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่เห็นในโทรทัศน์และโทรศัพท์ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบายและสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัดที่ต้องใช้จ่ายในสิ่งต่างๆมากมายด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางสื่อต่างๆถือว่าเป็นการให้ข้อมูลของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูลและมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้น
.
การทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมากนับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณค่าที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่ง บริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความสมถะ ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้
.
พ่อแม่ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่าง โดยแสดงพฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น ( Needs ) และสำหรับสิ่งที่ต้องการ ( Wants ) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆอย่างไร้สาระจนทำให้ลูกสับสน หรือมองเห็นว่าทุกสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญานว่าอะไรเป็น needs อะไรเป็น wants ดดยเริ่มสอนไปทีละน้อย
.
ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงินและรู้จักอยู่กิน ไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นั้น พ่อแม่จัดหาให้ การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น
.
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้ การสอนลูกในยามเป็นเด็ก ที่ใจเปิดรับจะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสินให้ 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม และอีกใบสำหรับการบริจาค การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่ชัดเจน และช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้สะดวกขึ้น
.
พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน กล่าวคือ ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาสของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหาเงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่งคงในด้านการเงินตลอดชีวิต การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมีอำนาจเหนือเงินเท่านั้น
.
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย ไม่ดูถูกเงิน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด ลูกต้องรู้ว่า เงินได้มาจากการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลก จึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือ การศึกษา
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 6 การสอนเรื่องเงินแก่ลูกในเยาว์วัย . เรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกาว่า จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไปพักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่าทำไมเล่า เวลาลูกท่านมาพักที่นี่ยังขอห้องที่ดีที่สุดเลย เขาตอบว่า มันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา . เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อ และลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึงเรื่องนี้เข้าลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเงินในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่องของบริโภคนิยม และการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่ . การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้ เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่เห็นในโทรทัศน์และโทรศัพท์ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบายและสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัดที่ต้องใช้จ่ายในสิ่งต่างๆมากมายด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางสื่อต่างๆถือว่าเป็นการให้ข้อมูลของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูลและมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้น . การทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมากนับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณค่าที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่ง บริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความสมถะ ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้ . พ่อแม่ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่าง โดยแสดงพฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น ( Needs ) และสำหรับสิ่งที่ต้องการ ( Wants ) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆอย่างไร้สาระจนทำให้ลูกสับสน หรือมองเห็นว่าทุกสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญานว่าอะไรเป็น needs อะไรเป็น wants ดดยเริ่มสอนไปทีละน้อย . ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงินและรู้จักอยู่กิน ไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นั้น พ่อแม่จัดหาให้ การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น . ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้ การสอนลูกในยามเป็นเด็ก ที่ใจเปิดรับจะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสินให้ 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม และอีกใบสำหรับการบริจาค การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่ชัดเจน และช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้สะดวกขึ้น . พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน กล่าวคือ ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาสของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหาเงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่งคงในด้านการเงินตลอดชีวิต การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมีอำนาจเหนือเงินเท่านั้น . พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย ไม่ดูถูกเงิน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด ลูกต้องรู้ว่า เงินได้มาจากการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลก จึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือ การศึกษา - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 5 วิธีการทำให้เงินออมงอกเงย
.
เมื่อได้เงินออมมาด้วยความยากเย็นแล้ว ถ้าต้องการให้เงินออมงอกเงยเพื่อประโยชน์ของผู้ออม ก็สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะดังต่อไปนี้
- ฝากเงินกับธนาคารในลักษณะบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งให้ความคล่องตัวในการถอนและฝาก แต่ได้ดอกเบี้ยต่ำ ถ้าฝากบัญชีเงินฝากประจำ จะมีเวลาให้เลือกได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน แต่ก็ยังสูงกว่าการฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์ (ยิ่งระยะยาวนานดอกเบี้ยยิ่งสูง)
- ซื้อกองทุนรวม หมายถึงบริษัทจัดการกองทุนรวมจะนำเงินออมที่ถูกนำมาซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นตราสารหนี้ (ภาครัฐและบริษัทเอกชนกู้ยืมเงินเพื่อเอาไปลงทุน) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน การลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ในเรื่องการเงินเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนแทน
.
กองทุนรวมในปัจจุบันมีหลายลักษณะ เช่น กองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนหุ้นระยะยาว เป็นต้น
- ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ให้เช่า เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม และบ้าน การใช้เงินออมร่วมกับค่าเช่าที่ได้รับจากอสังหาริมทรัพย์นั้น มาผ่อนชำระเพื่อจะได้เป็นเจ้าของในระยะยาว และหลังจากนั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวค่าเช่าได้เต็มที่ และอาจได้รับส่วนเพิ่มของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย อย่างไรก็ดี ถ้ามีเงินออมเป็นก้อนใหญ่จนสามารถใช้เป็นเงินดาวน์ และสามารถใช้ค่าเช่าเป็นเงินผ่อนชำระได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นกรณีที่เงินออมงอกเงยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- ซื้อหุ้นด้วยเงินออม การลงทุนซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยหวังผลในระยะยาว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
- ซื้อตราสารหนี้ ซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ยืมโดยออกเอกสารรับรอง) หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธุรกิจเอกชน ผลตอบแทนจากการประกอบการที่มีความไม่แน่นอนสูงกว่า
- ลงทุนประกอบธุรกิจเอง หรือเข้าหุ้นประกอบธุรกิจกับผู้อื่น การลงทุนลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากผลกำไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการ
.
ยังมีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เงินออมงอกเงย แต่ก็ไม่ใช่หนทางหลัก สิ่งที่ควรตระหนักเสมอในการลงทุนมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. จะมีเงินออมเพื่อนำไปลงทุนได้มากก็ต้องเริ่มจากการมีรายได้มากเป็นเบื้องแรก และสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดีจนทำให้สามารถออมได้ 2. การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยง ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเปรียบเทียบแล้วการลงทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน
.
การมีเงินออมอย่างสม่ำเสมอและอย่างมีจุดหมายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต การทำงานอันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จะก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ และเหลือเงินออมเพื่อนำไปลงทุนจนก่อให้เกิดทรัพย์สินและรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง นอกจากรายได้จากการทำงานที่ต้องออกแรง รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญของการดำรงชีพหลังวัยทำงาน
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 5 วิธีการทำให้เงินออมงอกเงย . เมื่อได้เงินออมมาด้วยความยากเย็นแล้ว ถ้าต้องการให้เงินออมงอกเงยเพื่อประโยชน์ของผู้ออม ก็สามารถดำเนินการได้หลายลักษณะดังต่อไปนี้ - ฝากเงินกับธนาคารในลักษณะบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งให้ความคล่องตัวในการถอนและฝาก แต่ได้ดอกเบี้ยต่ำ ถ้าฝากบัญชีเงินฝากประจำ จะมีเวลาให้เลือกได้แก่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน แต่ก็ยังสูงกว่าการฝากในรูปบัญชีออมทรัพย์ (ยิ่งระยะยาวนานดอกเบี้ยยิ่งสูง) - ซื้อกองทุนรวม หมายถึงบริษัทจัดการกองทุนรวมจะนำเงินออมที่ถูกนำมาซื้อหน่วยลงทุนไปลงทุนซื้อหุ้นตราสารหนี้ (ภาครัฐและบริษัทเอกชนกู้ยืมเงินเพื่อเอาไปลงทุน) เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน การลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นการมอบหมายให้ผู้มีความรู้ในเรื่องการเงินเป็นผู้ตัดสินใจลงทุนแทน . กองทุนรวมในปัจจุบันมีหลายลักษณะ เช่น กองทุนรวมเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนหุ้นระยะยาว เป็นต้น - ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ให้เช่า เช่น อพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม และบ้าน การใช้เงินออมร่วมกับค่าเช่าที่ได้รับจากอสังหาริมทรัพย์นั้น มาผ่อนชำระเพื่อจะได้เป็นเจ้าของในระยะยาว และหลังจากนั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวค่าเช่าได้เต็มที่ และอาจได้รับส่วนเพิ่มของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย อย่างไรก็ดี ถ้ามีเงินออมเป็นก้อนใหญ่จนสามารถใช้เป็นเงินดาวน์ และสามารถใช้ค่าเช่าเป็นเงินผ่อนชำระได้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นกรณีที่เงินออมงอกเงยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว - ซื้อหุ้นด้วยเงินออม การลงทุนซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีโอกาสสูงที่ราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยหวังผลในระยะยาว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ - ซื้อตราสารหนี้ ซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ยืมโดยออกเอกสารรับรอง) หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธุรกิจเอกชน ผลตอบแทนจากการประกอบการที่มีความไม่แน่นอนสูงกว่า - ลงทุนประกอบธุรกิจเอง หรือเข้าหุ้นประกอบธุรกิจกับผู้อื่น การลงทุนลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากผลกำไร ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการ . ยังมีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เงินออมงอกเงย แต่ก็ไม่ใช่หนทางหลัก สิ่งที่ควรตระหนักเสมอในการลงทุนมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. จะมีเงินออมเพื่อนำไปลงทุนได้มากก็ต้องเริ่มจากการมีรายได้มากเป็นเบื้องแรก และสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ดีจนทำให้สามารถออมได้ 2. การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีการลงทุนใดที่ปราศจากความเสี่ยง ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเปรียบเทียบแล้วการลงทุนใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน . การมีเงินออมอย่างสม่ำเสมอและอย่างมีจุดหมายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต การทำงานอันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน จะก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพ และเหลือเงินออมเพื่อนำไปลงทุนจนก่อให้เกิดทรัพย์สินและรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง นอกจากรายได้จากการทำงานที่ต้องออกแรง รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญของการดำรงชีพหลังวัยทำงาน - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 4 คนบริสุทธิ์ด้วยการงาน
.
งานไม่เคยทำร้ายหรือฆ่าใคร ยิ่งทำงานหลากหลายลักษณะที่ท้าทายความสามารถ รวมทั้งยิ่งทำงานหนัก ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพียงใด ก็ยิ่งทำให้บุคคลนั้นมีประสบการณ์และมีศักยภาพที่สูงขึ้นเพียงนั้น ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการมีความรู้ความสามารถในงานเป็นอย่างดี พร้อมทั้งใส่ใจหาความรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็คือ การมีเป้าหมายในชีวิต มีความบากบั่นมานะ พยายามให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ชัดเจนอย่างเด็ดเดี่ยวและมีคุณธรรม ซึ่งการมีวินัยบังคับตนเองเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งในการเดินทางสู่ความสำเร็จ
.
ชีวิตการทำงานของมนุษย์นั้นไม่ยาวนานนัก สูงสุดไม่เกิน 30ปีเศษ ก็ถึงวัยเกษียณ หากตลอดอายุการทำงานนั้นมิได้มีการวางแผนด้านรายได้และการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และรัดกุมแล้ว เงินทองที่หามาได้ก็จะหมดไปอย่างไม่มีความหมายนัก กล่าวคือ มีความสุขสบายในช่วงวัยทำงาน แต่เมื่อพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว ก็ขาดรายได้ที่จะทำให้สามารถรักษาระดับความสุขและสะดวกสบายไว้ดังเดิมได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกได้ว่า มีความสุขเพียงครึ่งเดียวของช่วงเวลา นั่นคือ สุขในวัยทำงานและทุกข์ในวัยพ้นทำงาน คำถามสำคัญก็คือ ทำอย่างไรบุคคลหนึ่งที่ทำงานมาตลอดชีวิต จะมีความสุขอันเกิดจากความมั่นคงทางการเงินไปตลอด มีมาตราฐานการครองชีพในระดับที่น่าพอใจอย่างคงที่ แม้จะพ้นจากวัยทำงานแล้วก็ตาม
.
การบรรลุคุณภาพชีวิตที่น่าพึงปรารถนาดังกล่าว เจ้าของรายได้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองในเบื้องแรก ไม่อาจหวังพึ่งภาครัฐ หรือนายจ้าง เพราะไม่อาจวางใจได้ว่าตนเองจะได้รับความมั่นคงในชีวิตสมดังใจหวังได้ เจ้าของรายได้จะต้องเป็นที่พึ่งของตนเองด้วยการวางแผน การหารายได้ การใช้จ่าย และการออม เพราะการออมจะนำไปสู่การลงทุน และการเกิดของรายได้ทั้งในวัยทำงานและวันพ้นทำงานโดยไม่ต้องออกแรงทำงาน
.
เงินออม เป็นฐานสำคัญของการเป็นมิตรของเงิน และเงินออมของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า ความมัธยัสถ์ ซึ่งหมายถึง การใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ใช้จ่ายอย่างโง่เขลาเบาปัญญา ในสิ่งที่ไม่ควรจ่าย เช่น เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ ตามแฟชั่น ทั้งๆที่ไม่จำเป็น
.
เงินออมของบุคคลใดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรายจ่ายต่ำกว่ารายได้ และรายจ่ายจะต่ำกว่ารายได้ก็ต่อเมื่อมีความมัธยัสถ์เป็นอุปนิสัย การมัธยัสถ์มิใช่การเอาเปรียบหรือเห็นแก่ตัว หากเป็นแบบแผนหนึ่งของการดำรงชีวิตซึ่งใครก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ การที่บางคนชอบใช้เงินสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่าย ซื้อของต่างๆโดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ของการใช้สอย ก็เป็นแบบแผนหนึ่งของการดำรงชีพ คนมัธยัสถ์ที่ใจกว้างรู้จักการให้อย่างมีความหมาย อาจมีจำนวนมากกว่าคนสุรุ่ยสุร่ายที่ใจแคบและไม่รู้จักการให้ก็เป็นได้
.
พฤติกรรมโดยรวมของบุคคลที่จะทำให้เงินเป็นมิตร ก็คือ “กินอยู่ต่ำกว่าฐานะ” หรือดังคำโบราณที่ว่า “จงมีเกินใช้ แต่อย่าใช้เกินมี” กล่าวคือ ไม่ว่าจะสามารถอยู่กินในระดับที่คนมีรายได้ขนาดเดียวกันอยู่กินได้อย่างไร ก็จงอยู่กินต่ำกว่าระดับนั้นเสมอ พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้มีเงินออม และมีโอกาสให้ “เงินทำงานรับใช้”
.
สำหรับความเป็นศัตรูของเงินนั้น หมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าของเงิน อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้จ่าย ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีข้อสังเกตหลายประการดังต่อไปนี้
.
ประการแรก : คือความปรารถนาที่จะบริโภคอย่างทันด่วนของผู้บริโภคโดยทั่วไป เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ยินดีกู้ยืมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง เพียงเพื่อให้ได้สิ่งของที่ต้องใจ
ประการที่สอง : การกู้ยืมเกิดขึ้นเพราะ ไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะจับจ่าย ณ เวลานั้น จึงต้องกู้ยืม ซึ่งก็คือการนำรายได้ในอนาคตของตนมาใช้โดยต้องจ่ายต้นทุนสูง ต้นเหตุของการกู้ยืมส่วนใหญ่ก็มาจากรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และเมือนั้นเงินก็กลายเป็นศัตรูตัวร้าย เพราะดอกเบี้ยจะทำงานตลอดเวลา และคอยทิ่มแทงเจ้าของไม่ว่าในยามหลับหรือตื่น
.
ต้นทุนของการกู้ยืมนั้นสูง ตัวอย่างเช่น กู้เงิน 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 9 ต่อปี ถ้ากู้เงินโดยไม่ชำระอย่างใดทั้งสิ้น ภายในเวลา 8 ปี ยอดเงินต้นและดอกเบี้ยรวมกัน จะเพิ่มอีกประมาณหนึ่งเท่าตัวเป็น 200,000 บาท และหากยังไม่ชำระอีก ในเวลา 8 ปีต่อมา ยอดเงินนี้ก็จะสูงขึ้นอีกเป็น 400,000 บาท หรือประมาณ 4 เท่าตัว ของเงินต้นในเวลา 16 ปี
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 4 คนบริสุทธิ์ด้วยการงาน . งานไม่เคยทำร้ายหรือฆ่าใคร ยิ่งทำงานหลากหลายลักษณะที่ท้าทายความสามารถ รวมทั้งยิ่งทำงานหนัก ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพียงใด ก็ยิ่งทำให้บุคคลนั้นมีประสบการณ์และมีศักยภาพที่สูงขึ้นเพียงนั้น ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการมีความรู้ความสามารถในงานเป็นอย่างดี พร้อมทั้งใส่ใจหาความรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็คือ การมีเป้าหมายในชีวิต มีความบากบั่นมานะ พยายามให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ชัดเจนอย่างเด็ดเดี่ยวและมีคุณธรรม ซึ่งการมีวินัยบังคับตนเองเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งในการเดินทางสู่ความสำเร็จ . ชีวิตการทำงานของมนุษย์นั้นไม่ยาวนานนัก สูงสุดไม่เกิน 30ปีเศษ ก็ถึงวัยเกษียณ หากตลอดอายุการทำงานนั้นมิได้มีการวางแผนด้านรายได้และการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และรัดกุมแล้ว เงินทองที่หามาได้ก็จะหมดไปอย่างไม่มีความหมายนัก กล่าวคือ มีความสุขสบายในช่วงวัยทำงาน แต่เมื่อพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว ก็ขาดรายได้ที่จะทำให้สามารถรักษาระดับความสุขและสะดวกสบายไว้ดังเดิมได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกได้ว่า มีความสุขเพียงครึ่งเดียวของช่วงเวลา นั่นคือ สุขในวัยทำงานและทุกข์ในวัยพ้นทำงาน คำถามสำคัญก็คือ ทำอย่างไรบุคคลหนึ่งที่ทำงานมาตลอดชีวิต จะมีความสุขอันเกิดจากความมั่นคงทางการเงินไปตลอด มีมาตราฐานการครองชีพในระดับที่น่าพอใจอย่างคงที่ แม้จะพ้นจากวัยทำงานแล้วก็ตาม . การบรรลุคุณภาพชีวิตที่น่าพึงปรารถนาดังกล่าว เจ้าของรายได้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองในเบื้องแรก ไม่อาจหวังพึ่งภาครัฐ หรือนายจ้าง เพราะไม่อาจวางใจได้ว่าตนเองจะได้รับความมั่นคงในชีวิตสมดังใจหวังได้ เจ้าของรายได้จะต้องเป็นที่พึ่งของตนเองด้วยการวางแผน การหารายได้ การใช้จ่าย และการออม เพราะการออมจะนำไปสู่การลงทุน และการเกิดของรายได้ทั้งในวัยทำงานและวันพ้นทำงานโดยไม่ต้องออกแรงทำงาน . เงินออม เป็นฐานสำคัญของการเป็นมิตรของเงิน และเงินออมของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า ความมัธยัสถ์ ซึ่งหมายถึง การใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่ใช้จ่ายอย่างโง่เขลาเบาปัญญา ในสิ่งที่ไม่ควรจ่าย เช่น เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ ตามแฟชั่น ทั้งๆที่ไม่จำเป็น . เงินออมของบุคคลใดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรายจ่ายต่ำกว่ารายได้ และรายจ่ายจะต่ำกว่ารายได้ก็ต่อเมื่อมีความมัธยัสถ์เป็นอุปนิสัย การมัธยัสถ์มิใช่การเอาเปรียบหรือเห็นแก่ตัว หากเป็นแบบแผนหนึ่งของการดำรงชีวิตซึ่งใครก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ การที่บางคนชอบใช้เงินสิ้นเปลืองสุรุ่ยสุร่าย ซื้อของต่างๆโดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ของการใช้สอย ก็เป็นแบบแผนหนึ่งของการดำรงชีพ คนมัธยัสถ์ที่ใจกว้างรู้จักการให้อย่างมีความหมาย อาจมีจำนวนมากกว่าคนสุรุ่ยสุร่ายที่ใจแคบและไม่รู้จักการให้ก็เป็นได้ . พฤติกรรมโดยรวมของบุคคลที่จะทำให้เงินเป็นมิตร ก็คือ “กินอยู่ต่ำกว่าฐานะ” หรือดังคำโบราณที่ว่า “จงมีเกินใช้ แต่อย่าใช้เกินมี” กล่าวคือ ไม่ว่าจะสามารถอยู่กินในระดับที่คนมีรายได้ขนาดเดียวกันอยู่กินได้อย่างไร ก็จงอยู่กินต่ำกว่าระดับนั้นเสมอ พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้มีเงินออม และมีโอกาสให้ “เงินทำงานรับใช้” . สำหรับความเป็นศัตรูของเงินนั้น หมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าของเงิน อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้จ่าย ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีข้อสังเกตหลายประการดังต่อไปนี้ . ประการแรก : คือความปรารถนาที่จะบริโภคอย่างทันด่วนของผู้บริโภคโดยทั่วไป เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ยินดีกู้ยืมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง เพียงเพื่อให้ได้สิ่งของที่ต้องใจ ประการที่สอง : การกู้ยืมเกิดขึ้นเพราะ ไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะจับจ่าย ณ เวลานั้น จึงต้องกู้ยืม ซึ่งก็คือการนำรายได้ในอนาคตของตนมาใช้โดยต้องจ่ายต้นทุนสูง ต้นเหตุของการกู้ยืมส่วนใหญ่ก็มาจากรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และเมือนั้นเงินก็กลายเป็นศัตรูตัวร้าย เพราะดอกเบี้ยจะทำงานตลอดเวลา และคอยทิ่มแทงเจ้าของไม่ว่าในยามหลับหรือตื่น . ต้นทุนของการกู้ยืมนั้นสูง ตัวอย่างเช่น กู้เงิน 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 9 ต่อปี ถ้ากู้เงินโดยไม่ชำระอย่างใดทั้งสิ้น ภายในเวลา 8 ปี ยอดเงินต้นและดอกเบี้ยรวมกัน จะเพิ่มอีกประมาณหนึ่งเท่าตัวเป็น 200,000 บาท และหากยังไม่ชำระอีก ในเวลา 8 ปีต่อมา ยอดเงินนี้ก็จะสูงขึ้นอีกเป็น 400,000 บาท หรือประมาณ 4 เท่าตัว ของเงินต้นในเวลา 16 ปี0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 271 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 3 ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้น
.
เงิน 100 บาท เมื่อฝากในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ครบ 1 ปี เงินต้นนั้นก็จะโตเป็น 110 บาท (ดอกเบี้ย 10บาท ไปทบเงินต้นเดิม 100บาท จนกลายเป็นเงินใหม่ 110บาท)
เงิน 110 บาทนี้ จะกลายเป็นเงินต้นของการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาปีที่ 2 ต่อไป ดังนั้นเงินต้น 110 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 1 ปี ก็จะโตขึ้นเป็น 121 บาท (เงินต้น 110 บาท + ดอกเบี้ยระหว่างปีที่สอง 11 บาท)
สรุปได้ว่า เงินต้น 100 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยประเภททบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ภายในเวลา 2 ปี เงินต้น 100 บาทนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 121 บาท
.
ภายใต้ระบบดอกเบี้ยธรรมดา การฝากเงิน 100 บาท อัตรดอกเบี้ยร้อยละ 10 เป็นเวลา 2 ปี เงินต้นก็จะเติบโตเป็น 120 บาท (เงินต้น 100 บาท + ดอกเบี้ยปีที่หนึ่ง 10 บาท + ดอกเบี้ยปีที่สอง 10 บาท)
.
ในตัวอย่างข้างต้น วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้น ทำให้ ณ ปลายปีที่สอง เงินต้น 100 บาท เติบโตเป็น 121 บาท ในขณะที่วิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดา ทำใหเงินต้นเติบโตเป็น 120 บาท ข้อแตกต่างกัน 1 บาทมิใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าเงินต้นเป็น 1 ล้านบาท ก็หมายความว่าเงินแตกต่างกันถึง 10,000 บาท และเมื่อฝากนานปี เข้ากลไกการทบดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นก็จะแสดงอิทธิฤทธิ์ยิ่งขึ้นทุกปี
.
มีสูตรคณิตศาสตร์ง่ายๆที่แสดงให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยทบต้นทำให้เงินงอกเงยได้เร็วแค่ไหน ให้เอาตัวเลขคงที่ 70 ตั้ง (ตำราบางเล่มใช้เลข 72 ซึ่งมีผลไม่ต่างกันนัก) และหารด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นต่อปี ตัวเลขที่ได้คือ จำนวนปีที่ต้องใช้เพื่อให้เงินต้นเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัว
.
ตามตัวอย่างแรกข้างต้น อัตราดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ดังนั้นเงินต้น 100 บาท จะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวเป็น 200 บาทในเวลา 7 ปี (70 หารด้วย 10) อีก 7 ปีต่อมาจะกลายเป็น 400 บาท อีก 7 ปีต่อมาจะเพิ่มขึ่นเป็น 800 บาท และอีก 7 ปีต่อมาจะเพิ่มเป็น 1,600 หรือเพิ่มขึ้น 16 เท่าตัว (จาก 100 กลายเป็น 1,600) ในเวลา 28 ปี ให้ลองจินตนาการดูว่าถ้าฝากไว้ 10 ล้านบาท มันก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 160 ล้านบาท โดยไม่ต้องออกแรงแต่อย่างใด
.
ยิ่งอัตราดอกเบี้ยทบต้นสูงเท่าใด ช่วงเวลาที่เงินต้นนั้นจะเพิ่มอีกหนึ่งเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลงเท่านั้น และถ้าคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อช่วงเวลาที่สั้นลงเพียงใด อัตราดอกเบี้ยทบต้นก็ยิ่งมีความมหัศจรรย์มากขึ้นเพียงนั้น
.
ถ้าออมและฝากเงินเดือนละ 500 บาท ในอัตราดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ฝากเป็นเวลา 10 ปี จะได้เงินก้อน 103,276 บาท ทั้งหมดนี้เงินเติบโตโดยเจ้าของเงินไม่ต้องออกแรงแต่อย่างใด (ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ถ้าฝากเดือนละ 5,000 บาท ก็จะเพิ่มเป็น 10 เท่า เงินก้อนสุดท้ายเท่ากับ 1,032760 บาท และถ้าฝากเดือนละ 50,000 บาท ก็จะเพิ่มเป็น 100 เท่า เงินก้อนสุดท้ายเท่ากับ 10,327,600 บาท)
.
500 บาท มิใช่เงินมากมายนักต่อเดือน ลองคิดดูว่าถ้าใช้จ่ายเงินน้อยลงเดือนละ 500 บาท และนำเงินจำนวนนั้นในแต่ละเดือนไปฝากสถาบันการเงิน เงินก็จะงอกเงยขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ ณ อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดคือร้อยละ 5 ฝากเป็นระยะเวลา 5 ปี ยังได้เงินก้อน 34,145 บาท
.
การบ่นว่ามีเงินเดือนประจำน้อยในระดับพันบาทจนไม่สามารถผ่อนบ้านได้เลย จึงไม่เป็นความจริง โดยทั่วไปเรามักดูกันแต่ตัวเลขเงินที่ตนเองต้องออม ซึ่งเป็นก้อนใหญ่เพื่อซื้อบ้านจนรู้สึกท้อใจ บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามการทำให้เงินงอกเงยอย่างน่ามหัศจรรย์จากการทำงานของอัตราดอกเบี้ยทบต้น.
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 3 ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้น . เงิน 100 บาท เมื่อฝากในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ครบ 1 ปี เงินต้นนั้นก็จะโตเป็น 110 บาท (ดอกเบี้ย 10บาท ไปทบเงินต้นเดิม 100บาท จนกลายเป็นเงินใหม่ 110บาท) เงิน 110 บาทนี้ จะกลายเป็นเงินต้นของการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาปีที่ 2 ต่อไป ดังนั้นเงินต้น 110 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 1 ปี ก็จะโตขึ้นเป็น 121 บาท (เงินต้น 110 บาท + ดอกเบี้ยระหว่างปีที่สอง 11 บาท) สรุปได้ว่า เงินต้น 100 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยประเภททบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ภายในเวลา 2 ปี เงินต้น 100 บาทนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 121 บาท . ภายใต้ระบบดอกเบี้ยธรรมดา การฝากเงิน 100 บาท อัตรดอกเบี้ยร้อยละ 10 เป็นเวลา 2 ปี เงินต้นก็จะเติบโตเป็น 120 บาท (เงินต้น 100 บาท + ดอกเบี้ยปีที่หนึ่ง 10 บาท + ดอกเบี้ยปีที่สอง 10 บาท) . ในตัวอย่างข้างต้น วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้น ทำให้ ณ ปลายปีที่สอง เงินต้น 100 บาท เติบโตเป็น 121 บาท ในขณะที่วิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดา ทำใหเงินต้นเติบโตเป็น 120 บาท ข้อแตกต่างกัน 1 บาทมิใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าเงินต้นเป็น 1 ล้านบาท ก็หมายความว่าเงินแตกต่างกันถึง 10,000 บาท และเมื่อฝากนานปี เข้ากลไกการทบดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นก็จะแสดงอิทธิฤทธิ์ยิ่งขึ้นทุกปี . มีสูตรคณิตศาสตร์ง่ายๆที่แสดงให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยทบต้นทำให้เงินงอกเงยได้เร็วแค่ไหน ให้เอาตัวเลขคงที่ 70 ตั้ง (ตำราบางเล่มใช้เลข 72 ซึ่งมีผลไม่ต่างกันนัก) และหารด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้นต่อปี ตัวเลขที่ได้คือ จำนวนปีที่ต้องใช้เพื่อให้เงินต้นเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัว . ตามตัวอย่างแรกข้างต้น อัตราดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ดังนั้นเงินต้น 100 บาท จะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวเป็น 200 บาทในเวลา 7 ปี (70 หารด้วย 10) อีก 7 ปีต่อมาจะกลายเป็น 400 บาท อีก 7 ปีต่อมาจะเพิ่มขึ่นเป็น 800 บาท และอีก 7 ปีต่อมาจะเพิ่มเป็น 1,600 หรือเพิ่มขึ้น 16 เท่าตัว (จาก 100 กลายเป็น 1,600) ในเวลา 28 ปี ให้ลองจินตนาการดูว่าถ้าฝากไว้ 10 ล้านบาท มันก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 160 ล้านบาท โดยไม่ต้องออกแรงแต่อย่างใด . ยิ่งอัตราดอกเบี้ยทบต้นสูงเท่าใด ช่วงเวลาที่เงินต้นนั้นจะเพิ่มอีกหนึ่งเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลงเท่านั้น และถ้าคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อช่วงเวลาที่สั้นลงเพียงใด อัตราดอกเบี้ยทบต้นก็ยิ่งมีความมหัศจรรย์มากขึ้นเพียงนั้น . ถ้าออมและฝากเงินเดือนละ 500 บาท ในอัตราดอกเบี้ยทบต้นร้อยละ 10 ต่อปี ฝากเป็นเวลา 10 ปี จะได้เงินก้อน 103,276 บาท ทั้งหมดนี้เงินเติบโตโดยเจ้าของเงินไม่ต้องออกแรงแต่อย่างใด (ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ถ้าฝากเดือนละ 5,000 บาท ก็จะเพิ่มเป็น 10 เท่า เงินก้อนสุดท้ายเท่ากับ 1,032760 บาท และถ้าฝากเดือนละ 50,000 บาท ก็จะเพิ่มเป็น 100 เท่า เงินก้อนสุดท้ายเท่ากับ 10,327,600 บาท) . 500 บาท มิใช่เงินมากมายนักต่อเดือน ลองคิดดูว่าถ้าใช้จ่ายเงินน้อยลงเดือนละ 500 บาท และนำเงินจำนวนนั้นในแต่ละเดือนไปฝากสถาบันการเงิน เงินก็จะงอกเงยขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ ณ อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดคือร้อยละ 5 ฝากเป็นระยะเวลา 5 ปี ยังได้เงินก้อน 34,145 บาท . การบ่นว่ามีเงินเดือนประจำน้อยในระดับพันบาทจนไม่สามารถผ่อนบ้านได้เลย จึงไม่เป็นความจริง โดยทั่วไปเรามักดูกันแต่ตัวเลขเงินที่ตนเองต้องออม ซึ่งเป็นก้อนใหญ่เพื่อซื้อบ้านจนรู้สึกท้อใจ บ่อยครั้งที่เรามักมองข้ามการทำให้เงินงอกเงยอย่างน่ามหัศจรรย์จากการทำงานของอัตราดอกเบี้ยทบต้น.0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 2 ชีวิต ความสุข และเงิน
การครองชีวิตอย่างมีกิน มีใช้เสมอกันตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในวัยทำงานหาเงินหรือวัยพ้นทำงานที่พลังในการหารายได้ลดน้อยลง หากใช้เงินในวัยทำงานอย่างไม่มีการวางแผนเพื่ออนาคตอย่างดีแล้ว ชีวิตในวัยบั้นปลายก็จะลำบาก
.
แผนการอดออมในช่วงวัยทำงาน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ เพื่อความมั่นคงในอนาคต เปรียบเสทอนการ “ยอมจน (วันนี้) เพื่อรวย (วันข้างหน้า)” ในขณะที่หากไม่มีแผนอดออมเพื่ออนาคต มีเงินเท่าใดใช้ไปอย่างสนุกในวัยทำงาน จะเปรียบเสมือนกับการ ราย (วันนี้) เพื่อจน (วันข้างหน้า)
.
มนุษย์ทุกคนสามารถเลือกชีวิตของตนเองได้ว่าจะสนุกสนานในการใช้เงินในวันนี้แต่ไม่มีอนาคตที่มั่นคง หรือจะยอมทนลำบากด้านเงินทองในวันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงในวันข้างหน้า อย่าลืมว่าชีวิตเป็นเรื่องของการเลือก และการยอมรับผล จากการเลือกนั่น
.
อย่างไรที่เรียกว่า “รวย” รายได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของแหล่งที่มา อย่างแรกต้องออกแรงทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง อย่างที่ 2 ไม่ต้องออกแรงทำงาน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ เมื่อใดที่มาตราฐานการครองชีพอยู่ในระดับสุขสบาย มีปัจจัยสี่ และความสะดวกสบายอื่นๆ อย่างครบถ้วนในระดับหนึ่ง และมีรายได้จากการไม่ต้องทำงานสูงกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็เรียกได้ว่าเป็น “คนรวย” แล้ว
.
การทำงานก่อให้เกิดรายได้ และรายได้นั้นก็ต้องจ่ายออกไปเป็นค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่าบันเทิงหย่อนใจ ฯลฯ เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า หากไม่ระวัง รายได้ทั้งเดือนจะหมดสิ้นไป หรืออาจต้องขอจากพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เพิ่มเติม หรืออาจต้องกู้ยิมเพิ่มเติมจนเป็นหนี้เป็นสิน อย่างนี้เรียกว่าไม่มีเงินออม
.
The Richest Man in Babylon ซึ่งเขียนโดย G.S. Clason เมื่อ 100 ปีก่อน เป็นหนังสือที่มียอดขายรวมมากกว่า 1.5 ล้านเล่ม หนังสือเล่มนี้สอนเรื่องการสร้างความร่ำรวยด้วยการออม และการลงทุนที่ชาญฉลาดในรูปแบบของนิทาน สถานที่คือ เมืองบาบิโลนของอณาจักรเมโสโปเตเมีย แหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ของโลกเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว
.
เรื่องมีอยู่ว่า... 2 หนุ่มช่างซ่อมล้อรถ และนักดนตรีของเมืองนี้มีภรรยาและลูกที่ต้องเลี้ยงดู ทำให้เขาทั้ง 2 ต้องดิ้นรนทำงานหาเงินอย่างหนักเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด ทั้งสองหารือกันว่า ทำอย่างไรจึงจะรวย จึงพากันไปถามอาร์กอด คนรวยที่สุดในบาบิโลน ทั้งคู่ถามว่าเขามีโชคอย่างไรจึงร่ำรวยเช่นนี้ได้ อาร์กอดตอบว่า การคิดว่าโชคคือตัวการสำคัญที่ทำให้คนร่ำรวยนั้นผิดถนัด เหตุที่ทั้ง 2 ยากจนก็เพราะไม่รู้กฏเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่ง ตัวเขาได้เรียนรู้ความลับของการเป็นคนรวย จากคนให้กู้เงินที่ว่า “ส่วนหนึ่งของเงินที่หามาได้จะต้องเก็บไว้ให้มันเป็นของเราเสมอ
.
ทั้งสองจึงถามต่อว่า “ก็เงินที่เราหามาได้ มันไม่ใช่ของเราทั้งหมดหรอกหรือ” อาร์กอดตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเมื่อมีรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพและหาความสุขก็จะกินมันไปหมด ตัวเราจะกลายเป็นทาสของงาน มีชีวิตและความสุขบ้างไปวัน ๆ เท่านั้น ถ้าจะให้รายได้บางส่วนเป็นของเราเองอย่างแท้จริงแล้ว ต้องกันส่วนหนึ่งออกมาต่างหาก โดยไม่นำไปใช้จ่าย เงินที่กันออกไปนี้ ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
.
เงินที่กันไว้นี้ เมื่อสะสมหลายปีเข้า ก็จะเป็นก้อนใหญ่และสร้างรายได้ให้เราได้ ( เช่น เอาไปให้คนกู้ หรือปลูกบ้านเช่า) โดยเราไม่ต้องทำงาน เมื่อเริ่มต้นอาจมีไม่มาก แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญต้องยึดกฏที่ว่า “ต้องจ่ายเงินให้ตัวเราเองก่อนเสมอ” กล่าวคือ ทำให้ส่วนหนึ่งของรายได้มาเป็นของเรา ทั้งนี้ไม่ว่าจะหามาได้มากหรือน้อยเพียงใด
.
สิ่งที่ อาร์กอด พูดถึงนี้ก็คือ “เงินออม” นั่นเอง ถ้าคนทำงานปล่อยให้เงินที่หามาได้ ถูกใช้จ่ายไปตามยถากรรมแล้ว ก็ถือได้ว่าเขาไม่ได้เป็นเจ้าของเงินที่หามาได้เลย เพราะเขาไม่ได้จ่ายเงินเป็นรางวัลให้ตัวเอง และเก็บไว้เป็นของเขาเอง. เงินออมเป็นรางวัลที่ผู้ทำงานต้องกันไว้ให้ตนเองเสมอ ปัจจุบันอัตราที่ควรกันไว้นี้เข้มข้นกว่าสมัย บาบิโลน อาร์กอดสมัยใหม่แนะนำว่า ให้กันเงินไว้อย่างต่ำร้อยละ 15 ของรายได้
.
ความสำคัญของการออมสรุปได้ดังนี้
ประการแรก : การออมสม่ำเสมอเป็นการสะสมเงินรางวัลของผู้ทำงาน เพื่อให้เป็นเงินก้อนไปลงทุนในกิจกรรมซึ่งจะนำผลตอบแทนในรูปอื่นที่มิได้มาจากการตรากตรำออกแรงหาเงินมาให้เจ้าของ เช่น ดอกเบี้ยค่าเช่า
ประการที่สอง : การออมเงินทำให้เกิดกระบวนการ “เงินทำงานรับใช้” ขึ้น โดยเจ้าของไม่ต้องออกแรงก็ได้ผลตอบแทนดังกล่าวแล้วในข้อแรก
ประการที่สาม : การออมเป็นการสร้างนิสัยให้รู้จักประหยัด เพราะยิ่งใช้จ่ายน้อยเท่าใดก็สามารถออมได้มากเพียงนั้น
ประการสุดท้าย : ถ้าไม่มีการออม ก็ไม่มีการลงทุนในอนาคต เพราะการขยายกิจการเดิมหรือลงทุนใหม่ล้วนต้องการเงินลงทุนเพิ่มทั้งสิ้น และเงินลงทุนนั้นต้องมาจากที่ใดสักแห่ง ถ้าไม่มาจากเงินออมที่เกิดจากการกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้ ก็ต้องมาจากเงินกู้ยืม ซึ่งเงินกู้ยืมนั้น วันหนึ่งก็ต้องใช้คืนเจ้าของพร้อมด้วยดอกเบี้ย การออมจึงเป็นแหล่งเงินของการลงทุนที่ถูกกว่าการกู้ยืม
.
เศรษฐศาสตร์ให้คำจำกัดความว่า เงินออมคือส่วนของรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ในกรณีของรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ในกรณีของอาร์กอดที่ให้กันเงินออมไว้ร้อยละ 10 ของรายได้เลยนั้น มีความหมายว่าบังคับให้บริโภคเพียงร้อยละ 90 ของรายได้เท่านั้น
.
ตราบใดที่สามารถควบคุมการใช้จ่ายจนมีเงินเหลือออมแล้ว อานุภาพอันเกิดจากการมีวินัยบังคับใจตนเองนี้จะทำให้เงินออมเติบโตขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อด้วย “ดีเอ็นเอ” ที่ฝังตัวอยู่ในเงินออมที่มีชื่อว่า “ดอกเบี้ยทบต้น”
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 2 ชีวิต ความสุข และเงิน การครองชีวิตอย่างมีกิน มีใช้เสมอกันตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในวัยทำงานหาเงินหรือวัยพ้นทำงานที่พลังในการหารายได้ลดน้อยลง หากใช้เงินในวัยทำงานอย่างไม่มีการวางแผนเพื่ออนาคตอย่างดีแล้ว ชีวิตในวัยบั้นปลายก็จะลำบาก . แผนการอดออมในช่วงวัยทำงาน เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ เพื่อความมั่นคงในอนาคต เปรียบเสทอนการ “ยอมจน (วันนี้) เพื่อรวย (วันข้างหน้า)” ในขณะที่หากไม่มีแผนอดออมเพื่ออนาคต มีเงินเท่าใดใช้ไปอย่างสนุกในวัยทำงาน จะเปรียบเสมือนกับการ ราย (วันนี้) เพื่อจน (วันข้างหน้า) . มนุษย์ทุกคนสามารถเลือกชีวิตของตนเองได้ว่าจะสนุกสนานในการใช้เงินในวันนี้แต่ไม่มีอนาคตที่มั่นคง หรือจะยอมทนลำบากด้านเงินทองในวันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงในวันข้างหน้า อย่าลืมว่าชีวิตเป็นเรื่องของการเลือก และการยอมรับผล จากการเลือกนั่น . อย่างไรที่เรียกว่า “รวย” รายได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของแหล่งที่มา อย่างแรกต้องออกแรงทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง อย่างที่ 2 ไม่ต้องออกแรงทำงาน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ เมื่อใดที่มาตราฐานการครองชีพอยู่ในระดับสุขสบาย มีปัจจัยสี่ และความสะดวกสบายอื่นๆ อย่างครบถ้วนในระดับหนึ่ง และมีรายได้จากการไม่ต้องทำงานสูงกว่าค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็เรียกได้ว่าเป็น “คนรวย” แล้ว . การทำงานก่อให้เกิดรายได้ และรายได้นั้นก็ต้องจ่ายออกไปเป็นค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่าบันเทิงหย่อนใจ ฯลฯ เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า หากไม่ระวัง รายได้ทั้งเดือนจะหมดสิ้นไป หรืออาจต้องขอจากพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่เพิ่มเติม หรืออาจต้องกู้ยิมเพิ่มเติมจนเป็นหนี้เป็นสิน อย่างนี้เรียกว่าไม่มีเงินออม . The Richest Man in Babylon ซึ่งเขียนโดย G.S. Clason เมื่อ 100 ปีก่อน เป็นหนังสือที่มียอดขายรวมมากกว่า 1.5 ล้านเล่ม หนังสือเล่มนี้สอนเรื่องการสร้างความร่ำรวยด้วยการออม และการลงทุนที่ชาญฉลาดในรูปแบบของนิทาน สถานที่คือ เมืองบาบิโลนของอณาจักรเมโสโปเตเมีย แหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ของโลกเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว . เรื่องมีอยู่ว่า... 2 หนุ่มช่างซ่อมล้อรถ และนักดนตรีของเมืองนี้มีภรรยาและลูกที่ต้องเลี้ยงดู ทำให้เขาทั้ง 2 ต้องดิ้นรนทำงานหาเงินอย่างหนักเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด ทั้งสองหารือกันว่า ทำอย่างไรจึงจะรวย จึงพากันไปถามอาร์กอด คนรวยที่สุดในบาบิโลน ทั้งคู่ถามว่าเขามีโชคอย่างไรจึงร่ำรวยเช่นนี้ได้ อาร์กอดตอบว่า การคิดว่าโชคคือตัวการสำคัญที่ทำให้คนร่ำรวยนั้นผิดถนัด เหตุที่ทั้ง 2 ยากจนก็เพราะไม่รู้กฏเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่ง ตัวเขาได้เรียนรู้ความลับของการเป็นคนรวย จากคนให้กู้เงินที่ว่า “ส่วนหนึ่งของเงินที่หามาได้จะต้องเก็บไว้ให้มันเป็นของเราเสมอ . ทั้งสองจึงถามต่อว่า “ก็เงินที่เราหามาได้ มันไม่ใช่ของเราทั้งหมดหรอกหรือ” อาร์กอดตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเมื่อมีรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพและหาความสุขก็จะกินมันไปหมด ตัวเราจะกลายเป็นทาสของงาน มีชีวิตและความสุขบ้างไปวัน ๆ เท่านั้น ถ้าจะให้รายได้บางส่วนเป็นของเราเองอย่างแท้จริงแล้ว ต้องกันส่วนหนึ่งออกมาต่างหาก โดยไม่นำไปใช้จ่าย เงินที่กันออกไปนี้ ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ . เงินที่กันไว้นี้ เมื่อสะสมหลายปีเข้า ก็จะเป็นก้อนใหญ่และสร้างรายได้ให้เราได้ ( เช่น เอาไปให้คนกู้ หรือปลูกบ้านเช่า) โดยเราไม่ต้องทำงาน เมื่อเริ่มต้นอาจมีไม่มาก แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญต้องยึดกฏที่ว่า “ต้องจ่ายเงินให้ตัวเราเองก่อนเสมอ” กล่าวคือ ทำให้ส่วนหนึ่งของรายได้มาเป็นของเรา ทั้งนี้ไม่ว่าจะหามาได้มากหรือน้อยเพียงใด . สิ่งที่ อาร์กอด พูดถึงนี้ก็คือ “เงินออม” นั่นเอง ถ้าคนทำงานปล่อยให้เงินที่หามาได้ ถูกใช้จ่ายไปตามยถากรรมแล้ว ก็ถือได้ว่าเขาไม่ได้เป็นเจ้าของเงินที่หามาได้เลย เพราะเขาไม่ได้จ่ายเงินเป็นรางวัลให้ตัวเอง และเก็บไว้เป็นของเขาเอง. เงินออมเป็นรางวัลที่ผู้ทำงานต้องกันไว้ให้ตนเองเสมอ ปัจจุบันอัตราที่ควรกันไว้นี้เข้มข้นกว่าสมัย บาบิโลน อาร์กอดสมัยใหม่แนะนำว่า ให้กันเงินไว้อย่างต่ำร้อยละ 15 ของรายได้ . ความสำคัญของการออมสรุปได้ดังนี้ ประการแรก : การออมสม่ำเสมอเป็นการสะสมเงินรางวัลของผู้ทำงาน เพื่อให้เป็นเงินก้อนไปลงทุนในกิจกรรมซึ่งจะนำผลตอบแทนในรูปอื่นที่มิได้มาจากการตรากตรำออกแรงหาเงินมาให้เจ้าของ เช่น ดอกเบี้ยค่าเช่า ประการที่สอง : การออมเงินทำให้เกิดกระบวนการ “เงินทำงานรับใช้” ขึ้น โดยเจ้าของไม่ต้องออกแรงก็ได้ผลตอบแทนดังกล่าวแล้วในข้อแรก ประการที่สาม : การออมเป็นการสร้างนิสัยให้รู้จักประหยัด เพราะยิ่งใช้จ่ายน้อยเท่าใดก็สามารถออมได้มากเพียงนั้น ประการสุดท้าย : ถ้าไม่มีการออม ก็ไม่มีการลงทุนในอนาคต เพราะการขยายกิจการเดิมหรือลงทุนใหม่ล้วนต้องการเงินลงทุนเพิ่มทั้งสิ้น และเงินลงทุนนั้นต้องมาจากที่ใดสักแห่ง ถ้าไม่มาจากเงินออมที่เกิดจากการกันส่วนหนึ่งของรายได้ไว้ ก็ต้องมาจากเงินกู้ยืม ซึ่งเงินกู้ยืมนั้น วันหนึ่งก็ต้องใช้คืนเจ้าของพร้อมด้วยดอกเบี้ย การออมจึงเป็นแหล่งเงินของการลงทุนที่ถูกกว่าการกู้ยืม . เศรษฐศาสตร์ให้คำจำกัดความว่า เงินออมคือส่วนของรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ในกรณีของรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ในกรณีของอาร์กอดที่ให้กันเงินออมไว้ร้อยละ 10 ของรายได้เลยนั้น มีความหมายว่าบังคับให้บริโภคเพียงร้อยละ 90 ของรายได้เท่านั้น . ตราบใดที่สามารถควบคุมการใช้จ่ายจนมีเงินเหลือออมแล้ว อานุภาพอันเกิดจากการมีวินัยบังคับใจตนเองนี้จะทำให้เงินออมเติบโตขึ้นได้อย่างเหลือเชื่อด้วย “ดีเอ็นเอ” ที่ฝังตัวอยู่ในเงินออมที่มีชื่อว่า “ดอกเบี้ยทบต้น”0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 333 มุมมอง 0 รีวิว - รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 1 การทำงานหาเงิน
.
การทำงานคือหน้าที่ของทุกคนตามธรรมชาติ การดิ้นรนเก็บของป่า ล่าสัตว์ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ของครอบครัว และของสังคมมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ก็คือการทำงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วไม่ต่างไปจากการประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นลูกจ้างของรัฐหรือเอกชนในปัจจุบัน เพื่อหาเงินมาซื้ออาหารยังชีวิต และซื้อหาความสุขสบายต่างๆ
.
ถ้าบุคคลหนึ่งไม่ทำหน้าที่นี้ เพื่อเลี้ยงตนเอง บุคคลอื่นในครอบครัวและในสังคมก็ต้องแบกรับภาระแทน ดังนั้น การทำงานจึงเป็นสิ่งที่มีเกียรติเพราะเป็นการดูแลตนเอง และช่วยมิให้คนอื่นต้งเดือดร้อนแบกรับภาระอุ้มชูตนโดยไม่จำเป็น หรือพูดอีกอย่างว่า การทำงานช่วยให้ไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกด้วย
.
เมื่อทำงาน ก็มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอย สำหรับผู้ที่มีความรู้และพยายามเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความบากบั่นมานะ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ก็จะมีรายได้สูง และมีช่วงเวลาในการทำงานหารายได้ยาวนาน สร้างความสุขกายและใจ และความมั่นคงในชีวิตให้แก่ตนเอง และครอบครัวได้ยาวนานไปด้วย
.
อย่างไรก็ดี การทำงานหาเงินแต่ละบาทนั้น มิใช่เรื่องง่าย หากเป็นลูกจ้าง การที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้นั้น ลูกจ้างต้องทำงานให้ได้อย่างคุ้มค่ากับการจ้าง และหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การมีรายได้จากกำไรก็ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการที่มีผู้ต้องการซื้อ ยิ่งไปกว่านั้น รายรับจากการขายจะต้องสูงกว่าต้นทุนอีกด้วย
.
การทำให้ตนเองสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่า หรือขายสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในราคาอันเป็นที่ยอมรับได้ และมีกำไรอีกด้วยนั้น เป็นเรื่องที่ยากพอควร ดังนั้น การหาเงินจึงมิใช่เรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความรู้ ความสามารถ ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนจึงจำเป็นต้องไขว่คว้าหาความรู้ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อม
.
เงินนั้นมิได้ "งอกบนต้นไม้" ทุกคนต้องดิ้นรนต่อสู้หามาด้วยความเหนื่อยยากลำบากกายและใจ การหวังพึ่งความเมตตาของคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมานั้น คือการอาศัยจมูกคนอื่นหายใจโดยแท้ เป็นสิ่งที่ไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี และอยู่บนความประมาทอย่างยิ่ง เพราะหากผู้ให้เปลี่ยนใจ เงินจะขาดมีอย่างฉับพลัน
.
เมื่อเงินหามาได้ยากเย็นและด้วยต้นทุนที่สูงเช่นนี้ เงินจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า การใช้จ่ายทุกบาทจึงควรเป็นไปอย่างรอบคอบ และให้ได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับแรงงานที่เสียไป
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 1 การทำงานหาเงิน . การทำงานคือหน้าที่ของทุกคนตามธรรมชาติ การดิ้นรนเก็บของป่า ล่าสัตว์ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ของครอบครัว และของสังคมมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ก็คือการทำงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วไม่ต่างไปจากการประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือการเป็นลูกจ้างของรัฐหรือเอกชนในปัจจุบัน เพื่อหาเงินมาซื้ออาหารยังชีวิต และซื้อหาความสุขสบายต่างๆ . ถ้าบุคคลหนึ่งไม่ทำหน้าที่นี้ เพื่อเลี้ยงตนเอง บุคคลอื่นในครอบครัวและในสังคมก็ต้องแบกรับภาระแทน ดังนั้น การทำงานจึงเป็นสิ่งที่มีเกียรติเพราะเป็นการดูแลตนเอง และช่วยมิให้คนอื่นต้งเดือดร้อนแบกรับภาระอุ้มชูตนโดยไม่จำเป็น หรือพูดอีกอย่างว่า การทำงานช่วยให้ไม่เบียดเบียนผู้อื่นอีกด้วย . เมื่อทำงาน ก็มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอย สำหรับผู้ที่มีความรู้และพยายามเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีความบากบั่นมานะ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ก็จะมีรายได้สูง และมีช่วงเวลาในการทำงานหารายได้ยาวนาน สร้างความสุขกายและใจ และความมั่นคงในชีวิตให้แก่ตนเอง และครอบครัวได้ยาวนานไปด้วย . อย่างไรก็ดี การทำงานหาเงินแต่ละบาทนั้น มิใช่เรื่องง่าย หากเป็นลูกจ้าง การที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้นั้น ลูกจ้างต้องทำงานให้ได้อย่างคุ้มค่ากับการจ้าง และหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจ การมีรายได้จากกำไรก็ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการที่มีผู้ต้องการซื้อ ยิ่งไปกว่านั้น รายรับจากการขายจะต้องสูงกว่าต้นทุนอีกด้วย . การทำให้ตนเองสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่า หรือขายสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในราคาอันเป็นที่ยอมรับได้ และมีกำไรอีกด้วยนั้น เป็นเรื่องที่ยากพอควร ดังนั้น การหาเงินจึงมิใช่เรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความรู้ ความสามารถ ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนจึงจำเป็นต้องไขว่คว้าหาความรู้ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อม . เงินนั้นมิได้ "งอกบนต้นไม้" ทุกคนต้องดิ้นรนต่อสู้หามาด้วยความเหนื่อยยากลำบากกายและใจ การหวังพึ่งความเมตตาของคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมานั้น คือการอาศัยจมูกคนอื่นหายใจโดยแท้ เป็นสิ่งที่ไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี และอยู่บนความประมาทอย่างยิ่ง เพราะหากผู้ให้เปลี่ยนใจ เงินจะขาดมีอย่างฉับพลัน . เมื่อเงินหามาได้ยากเย็นและด้วยต้นทุนที่สูงเช่นนี้ เงินจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า การใช้จ่ายทุกบาทจึงควรเป็นไปอย่างรอบคอบ และให้ได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับแรงงานที่เสียไป0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 172 มุมมอง 0 รีวิว -
- 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม