💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ
อยู่ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ
ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า

ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME
ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน
ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย
และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด
การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน
ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ
ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม
การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
กับความท้าทายรอบด้าน
จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย
ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย

อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ
กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ
กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ
ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว
โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า
และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้
เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย
ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน
ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร
และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ
จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro)
ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ
และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา
ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ

🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
กับกระแส ESG
SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย
ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์
รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด
โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย
โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว
อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ
ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้
ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
และมีต้นทุนสูง

#หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC
#ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro) ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ 🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์ รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้ ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก และมีต้นทุนสูง #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 989 มุมมอง 0 รีวิว