หมายเหตุ Newskit : ไซเบอร์อรรถ ทำงานรับใช้ใคร?
กรณีที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนายตรวจค้นบ้าน น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ก่อนควบคุมตัวไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยาน พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ถือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่ปกติ เพราะโดยปกติแล้วคดีหมิ่นประมาท ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพียงแค่ตำรวจท้องที่นำหมายเรียกไปติดที่หน้าบ้านเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ถือว่ามากพอแล้ว
เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนำเสนอข่าวบางอย่างของสำนักข่าวแห่งนี้ และโดยหลักการแล้วการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วไปกระทบกระทั่งกับบุคคลในข่าวหรือใครก็ตาม ก็สามารถตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่การที่ตำรวจไซเบอร์ใช้ยุทธวิธี นำตำรวจนับสิบนายบุกบ้านแต่เช้าตรู่ ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ อยู่กันเพียงสามคนแม่ลูก และยังมีพ่อที่มีโรคประจำตัวพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพียงแค่มีหลักฐานทางและข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของสำนักข่าวแห่งนั้น ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบกับคนจำนวนมาก ถือเป็นวิธีการที่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่?
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจไซเบอร์นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ที่สื่อมวลชนอาชญากรรมตั้งฉายาว่า "ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม" กระทำการเล่นใหญ่ เพราะเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เคยนำกำลังจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ภาพตัดต่อนักการเมืองรายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควร แต่การบุกบ้านผู้ประกาศข่าวแต่เช้า ว่ากันว่าทนายความของนักการเมืองรายเดียวกันแจ้งความก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า พล.ต.ท.ไตรรงค์ ทำงานรับใช้ใคร นักการเมืองรายใดรายหนึ่งหรือไม่? ถือเป็นปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่?
เราคงไม่คาดหวังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแสดงท่าทีใดๆ เพราะหนึ่งในคู่กรณีเป็นนักข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ และเป็นความเคยชินที่ใครไม่ใช่พวกเดียวกันมักจะไม่นับรวมเป็นสื่อมวลชน แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าวันหนึ่งตำรวจใช้วิธีการดำเนินคดีที่ไม่ปกติต่อสื่อมวลชน เฉกเช่นครั้งนี้ใช้กำลังนับสิบนายบุกไปที่บ้าน ยึดมือถือ เพียงเพื่อเรียกตัวไปเป็นพยาน คำถามที่ตามมากับสื่อมวลชนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเสียงดังมากพอก็คือ เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ?
#Newskit
กรณีที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนายตรวจค้นบ้าน น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ก่อนควบคุมตัวไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยาน พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ถือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่ปกติ เพราะโดยปกติแล้วคดีหมิ่นประมาท ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพียงแค่ตำรวจท้องที่นำหมายเรียกไปติดที่หน้าบ้านเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ถือว่ามากพอแล้ว
เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนำเสนอข่าวบางอย่างของสำนักข่าวแห่งนี้ และโดยหลักการแล้วการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วไปกระทบกระทั่งกับบุคคลในข่าวหรือใครก็ตาม ก็สามารถตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่การที่ตำรวจไซเบอร์ใช้ยุทธวิธี นำตำรวจนับสิบนายบุกบ้านแต่เช้าตรู่ ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ อยู่กันเพียงสามคนแม่ลูก และยังมีพ่อที่มีโรคประจำตัวพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพียงแค่มีหลักฐานทางและข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของสำนักข่าวแห่งนั้น ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบกับคนจำนวนมาก ถือเป็นวิธีการที่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่?
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจไซเบอร์นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ที่สื่อมวลชนอาชญากรรมตั้งฉายาว่า "ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม" กระทำการเล่นใหญ่ เพราะเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เคยนำกำลังจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ภาพตัดต่อนักการเมืองรายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควร แต่การบุกบ้านผู้ประกาศข่าวแต่เช้า ว่ากันว่าทนายความของนักการเมืองรายเดียวกันแจ้งความก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า พล.ต.ท.ไตรรงค์ ทำงานรับใช้ใคร นักการเมืองรายใดรายหนึ่งหรือไม่? ถือเป็นปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่?
เราคงไม่คาดหวังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแสดงท่าทีใดๆ เพราะหนึ่งในคู่กรณีเป็นนักข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ และเป็นความเคยชินที่ใครไม่ใช่พวกเดียวกันมักจะไม่นับรวมเป็นสื่อมวลชน แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าวันหนึ่งตำรวจใช้วิธีการดำเนินคดีที่ไม่ปกติต่อสื่อมวลชน เฉกเช่นครั้งนี้ใช้กำลังนับสิบนายบุกไปที่บ้าน ยึดมือถือ เพียงเพื่อเรียกตัวไปเป็นพยาน คำถามที่ตามมากับสื่อมวลชนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเสียงดังมากพอก็คือ เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ?
#Newskit
หมายเหตุ Newskit : ไซเบอร์อรรถ ทำงานรับใช้ใคร?
กรณีที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนายตรวจค้นบ้าน น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ก่อนควบคุมตัวไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยาน พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ถือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่ปกติ เพราะโดยปกติแล้วคดีหมิ่นประมาท ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพียงแค่ตำรวจท้องที่นำหมายเรียกไปติดที่หน้าบ้านเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ถือว่ามากพอแล้ว
เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนำเสนอข่าวบางอย่างของสำนักข่าวแห่งนี้ และโดยหลักการแล้วการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วไปกระทบกระทั่งกับบุคคลในข่าวหรือใครก็ตาม ก็สามารถตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่การที่ตำรวจไซเบอร์ใช้ยุทธวิธี นำตำรวจนับสิบนายบุกบ้านแต่เช้าตรู่ ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ อยู่กันเพียงสามคนแม่ลูก และยังมีพ่อที่มีโรคประจำตัวพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพียงแค่มีหลักฐานทางและข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของสำนักข่าวแห่งนั้น ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบกับคนจำนวนมาก ถือเป็นวิธีการที่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่?
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจไซเบอร์นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ที่สื่อมวลชนอาชญากรรมตั้งฉายาว่า "ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม" กระทำการเล่นใหญ่ เพราะเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เคยนำกำลังจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ภาพตัดต่อนักการเมืองรายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควร แต่การบุกบ้านผู้ประกาศข่าวแต่เช้า ว่ากันว่าทนายความของนักการเมืองรายเดียวกันแจ้งความก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า พล.ต.ท.ไตรรงค์ ทำงานรับใช้ใคร นักการเมืองรายใดรายหนึ่งหรือไม่? ถือเป็นปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่?
เราคงไม่คาดหวังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแสดงท่าทีใดๆ เพราะหนึ่งในคู่กรณีเป็นนักข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ และเป็นความเคยชินที่ใครไม่ใช่พวกเดียวกันมักจะไม่นับรวมเป็นสื่อมวลชน แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าวันหนึ่งตำรวจใช้วิธีการดำเนินคดีที่ไม่ปกติต่อสื่อมวลชน เฉกเช่นครั้งนี้ใช้กำลังนับสิบนายบุกไปที่บ้าน ยึดมือถือ เพียงเพื่อเรียกตัวไปเป็นพยาน คำถามที่ตามมากับสื่อมวลชนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเสียงดังมากพอก็คือ เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ?
#Newskit
