60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายเพื่อความปลอดภัย กับ ปรากฎการณ์ประชาชนถ่ายคลิปปรับไม่ออกใบเสร็จ
ไม่เถียงครับ ว่าขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง อุบัติเหตุถ้าจะเกิด จะเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ "ความเร็ว" คือต้นเหตุของอุบัติเหตุจริงๆ หรือ??
ตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 14,122 ราย บาดเจ็บ 808,705 ราย
เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 90.53% และจากรถยนต์ 9.47% และช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 17.00 - 18.00 น. คิดเป็นสัดส่วน 7.95% ของอุบัติเหตุทั้งหมด
เจาะลึกลงมาในกรุงเทพฯ ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 922 ราย บาดเจ็บ 143,182 ราย เป็นเหตุจากรถจักรยานยนต์ 92.15% และรถยนต์ 7.85%
ช่วงเวลาที่มีผู้ประสบภัยสุงสุด คือ
17.00 - 18.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.72% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
08.00 - 09.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.70% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
และ 07.00 - 08.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.65% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
ใช่ครับ มันคือช่วงเวลารถติด!! ไม่ใช่เวลาใช้ความเร็ว
ลงลึกอีกอย่าง แขวงที่มีเหตุสูงสุด 5 อันดับ
1. คลองตัน
2. แสมดำ
3. ลาดพร้าว
4. หัวหมาก
5. สวนหลวง
ล้วนแล้วแต่รถติดมหากาฬทั้งสิ้น
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย เมื่อกรกฎาคม 2564 ระบุว่า สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากบุคคล เหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีเพียง 19% แม้ว่าจะมากเป็นลำดับที่ 3 แต่หากเทียงกับ การเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุอื่นๆ ที่สูงถึง 58% เรียกว่า น้อยกว่าครึ่ง
แม้กระทั่ง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ยังระบุว่า 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า
มันเลยอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือตัวเลขที่เหมาะสมแล้วหรือ? กฎหมายกำลังเกาที่คัน หรือว่าใครที่อยากคัน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรถึงการจ่ายค่าปรับไม่มีใบเสร็จ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากขึ้นหรือไม่?
มีคำอ้างอิงว่า ในเมืองใหญ่หลายๆ ประเทศ จำกัดความเร็วที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ผิดครับ แต่ความเร็วถัดมาคือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 80 กิโลเมตร มันก็น้อยกว่าจำกัดความเร็วในถนนสายอื่นๆ ของเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะกำหนดที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน
ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการ จำกัดความเร็ว แต่สำหรับในเมือง เร่งเครื่องถึง 80 ก็ต้องแตะเบรกเพื่อเข้าไฟแดงถัดไปแล้ว การขับเร็วเกินกำหนด โอกาสมีไม่มาก แต่อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อถามหาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจทำมาหารับประทานมากกว่า
เพราะหากต้องการลดอุบัติเหตุจริงๆ เลื่อนขึ้นไปอ่านรายงานต่างๆ แล้วหาวิธีเพิ่มเติมจากต้นตอของปัญหา มันก็จะแก้ได้ตรงจุดขึ้น ดีกว่าแก้เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหา เพราะมันก็จะไม่สามารถลบปัญหาออกไปได้
กฎหมายเพื่อความปลอดภัย กับ ปรากฎการณ์ประชาชนถ่ายคลิปปรับไม่ออกใบเสร็จ
ไม่เถียงครับ ว่าขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง อุบัติเหตุถ้าจะเกิด จะเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ "ความเร็ว" คือต้นเหตุของอุบัติเหตุจริงๆ หรือ??
ตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 14,122 ราย บาดเจ็บ 808,705 ราย
เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 90.53% และจากรถยนต์ 9.47% และช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 17.00 - 18.00 น. คิดเป็นสัดส่วน 7.95% ของอุบัติเหตุทั้งหมด
เจาะลึกลงมาในกรุงเทพฯ ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 922 ราย บาดเจ็บ 143,182 ราย เป็นเหตุจากรถจักรยานยนต์ 92.15% และรถยนต์ 7.85%
ช่วงเวลาที่มีผู้ประสบภัยสุงสุด คือ
17.00 - 18.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.72% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
08.00 - 09.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.70% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
และ 07.00 - 08.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.65% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
ใช่ครับ มันคือช่วงเวลารถติด!! ไม่ใช่เวลาใช้ความเร็ว
ลงลึกอีกอย่าง แขวงที่มีเหตุสูงสุด 5 อันดับ
1. คลองตัน
2. แสมดำ
3. ลาดพร้าว
4. หัวหมาก
5. สวนหลวง
ล้วนแล้วแต่รถติดมหากาฬทั้งสิ้น
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย เมื่อกรกฎาคม 2564 ระบุว่า สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากบุคคล เหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีเพียง 19% แม้ว่าจะมากเป็นลำดับที่ 3 แต่หากเทียงกับ การเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุอื่นๆ ที่สูงถึง 58% เรียกว่า น้อยกว่าครึ่ง
แม้กระทั่ง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ยังระบุว่า 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า
มันเลยอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือตัวเลขที่เหมาะสมแล้วหรือ? กฎหมายกำลังเกาที่คัน หรือว่าใครที่อยากคัน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรถึงการจ่ายค่าปรับไม่มีใบเสร็จ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากขึ้นหรือไม่?
มีคำอ้างอิงว่า ในเมืองใหญ่หลายๆ ประเทศ จำกัดความเร็วที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ผิดครับ แต่ความเร็วถัดมาคือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 80 กิโลเมตร มันก็น้อยกว่าจำกัดความเร็วในถนนสายอื่นๆ ของเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะกำหนดที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน
ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการ จำกัดความเร็ว แต่สำหรับในเมือง เร่งเครื่องถึง 80 ก็ต้องแตะเบรกเพื่อเข้าไฟแดงถัดไปแล้ว การขับเร็วเกินกำหนด โอกาสมีไม่มาก แต่อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อถามหาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจทำมาหารับประทานมากกว่า
เพราะหากต้องการลดอุบัติเหตุจริงๆ เลื่อนขึ้นไปอ่านรายงานต่างๆ แล้วหาวิธีเพิ่มเติมจากต้นตอของปัญหา มันก็จะแก้ได้ตรงจุดขึ้น ดีกว่าแก้เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหา เพราะมันก็จะไม่สามารถลบปัญหาออกไปได้
60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กฎหมายเพื่อความปลอดภัย กับ ปรากฎการณ์ประชาชนถ่ายคลิปปรับไม่ออกใบเสร็จ
ไม่เถียงครับ ว่าขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง อุบัติเหตุถ้าจะเกิด จะเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ "ความเร็ว" คือต้นเหตุของอุบัติเหตุจริงๆ หรือ??
ตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 14,122 ราย บาดเจ็บ 808,705 ราย
เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 90.53% และจากรถยนต์ 9.47% และช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 17.00 - 18.00 น. คิดเป็นสัดส่วน 7.95% ของอุบัติเหตุทั้งหมด
เจาะลึกลงมาในกรุงเทพฯ ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 922 ราย บาดเจ็บ 143,182 ราย เป็นเหตุจากรถจักรยานยนต์ 92.15% และรถยนต์ 7.85%
ช่วงเวลาที่มีผู้ประสบภัยสุงสุด คือ
17.00 - 18.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.72% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
08.00 - 09.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.70% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
และ 07.00 - 08.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.65% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
ใช่ครับ มันคือช่วงเวลารถติด!! ไม่ใช่เวลาใช้ความเร็ว
ลงลึกอีกอย่าง แขวงที่มีเหตุสูงสุด 5 อันดับ
1. คลองตัน
2. แสมดำ
3. ลาดพร้าว
4. หัวหมาก
5. สวนหลวง
ล้วนแล้วแต่รถติดมหากาฬทั้งสิ้น
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย เมื่อกรกฎาคม 2564 ระบุว่า สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากบุคคล เหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีเพียง 19% แม้ว่าจะมากเป็นลำดับที่ 3 แต่หากเทียงกับ การเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุอื่นๆ ที่สูงถึง 58% เรียกว่า น้อยกว่าครึ่ง
แม้กระทั่ง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ยังระบุว่า 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า
มันเลยอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือตัวเลขที่เหมาะสมแล้วหรือ? กฎหมายกำลังเกาที่คัน หรือว่าใครที่อยากคัน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรถึงการจ่ายค่าปรับไม่มีใบเสร็จ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากขึ้นหรือไม่?
มีคำอ้างอิงว่า ในเมืองใหญ่หลายๆ ประเทศ จำกัดความเร็วที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ผิดครับ แต่ความเร็วถัดมาคือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 80 กิโลเมตร มันก็น้อยกว่าจำกัดความเร็วในถนนสายอื่นๆ ของเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะกำหนดที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน
ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการ จำกัดความเร็ว แต่สำหรับในเมือง เร่งเครื่องถึง 80 ก็ต้องแตะเบรกเพื่อเข้าไฟแดงถัดไปแล้ว การขับเร็วเกินกำหนด โอกาสมีไม่มาก แต่อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อถามหาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจทำมาหารับประทานมากกว่า
เพราะหากต้องการลดอุบัติเหตุจริงๆ เลื่อนขึ้นไปอ่านรายงานต่างๆ แล้วหาวิธีเพิ่มเติมจากต้นตอของปัญหา มันก็จะแก้ได้ตรงจุดขึ้น ดีกว่าแก้เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหา เพราะมันก็จะไม่สามารถลบปัญหาออกไปได้
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
27 มุมมอง
0 รีวิว