• Altitude Symphony : อัลติจูด ซิมโฟนี่ เจริญกรุง

    คอนโดน อัลติจูด ซิมโฟนี่ เจริญกรุง บนทำเลศักยภาพใจกลางเมือง เดินทางสะดวกสบาย เชื่อมต่อสาทร-สีลมได้เพียงไม่กี่นาที รายล้อมด้วยแหล่งช้อปปิ้ง, โรงเรียนเอกชน และ นานาชาติชื่อดัง, โรงพยาลชั้นนำ และ อาคารสำนักงานเกรดเอ

    **สิ่งอำนวยความสะดวก** {ระบบ access card}

    lobby
    co-working space
    sky lounge
    kid room
    music room
    สระว่ายน้ำรอบอาคาร
    jacuzzi
    library
    fitness centre
    24 hours security & CCTV
    สวนหย่อมรอบโครงการ
    **สถานที่ใกล้เคียง**

    ศูนย์การค้า

    Vanilla Moon : 950 ม.
    Asiatique The Riverfront : 1.3 กม.
    Robinson บางรัก : 1.3 กม.
    Tops สะพาน 3 : 1.5 กม.
    Sena Fest เจริญนคร : 3.7 กม.
    Makro สาทร : 3 กม.
    Central Plaza พระราม 3 : 3.4 กม.
    Tree On 3 : 3.5 กม.
    TTN Avenue นางลิ้นจี่ : 3.6 กม.
    Market Place นางลิ้นจี่ : 4 กม.
    Lotus พระราม 3 : 4 กม.
    The Up พระราม 3 : 4 กม.
    ICON SIAM : 4.4 กม.
    Home Pro พระราม 3 : 4.6 กม.
    สถานศึกษา

    รร.นานาชาติ Shrewsbury : 500 ม.
    รร.สตรีศรีสุริโยทัย : 700 ม.
    ม.ราชมงคลกรุงเทพฯ วิทยาเขตพระนครใต้ : 400 ม.
    รร.พระแม่มารีสาทร : 1.6 กม.
    รร.อัสสัมชัญบางรัก : 1.7 กม.
    รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์บางรัก : 1.7 กม.
    รร.กรุงเทพคริสเตียน : 2 กม.
    รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์สีลม : 2.3 กม.
    รร.สารสาสน์พิทยา : 2.8 กม.
    รร.นานาชาติสาทรใหม่ : 3 กม.
    รร.สารสาสน์เอกตรา : 3 กม.
    รร.เซนต์หลุยส์ : 3 กม.
    รร.นานาชาติ Raintree : 3.8 กม.
    รร.เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ : 3.8 กม.
    รร.นานาชาติ Raintree : 3.8 กม.
    ม.ราชมงคลกรุงเทพฯ (RMUTK) : 4 กม.
    รร.นานาชาติ Garden : 4 กม.
    รร.นานาชาติ Crescent : 5 กม.
    ศูนย์การแพทย์

    รพ.เลิดสิน : 1.9 กม.
    รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ : 2.9 กม.
    รพ.เซนต์หลุยส์ : 3 กม.
    รพ.BNH : 3.6 กม.

    -------------------------------------------
    สนใจสอบถามข้อมูลที่
    โทร.081-822-6553
    รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์
    ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้
    พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ
    จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    Altitude Symphony : อัลติจูด ซิมโฟนี่ เจริญกรุง คอนโดน อัลติจูด ซิมโฟนี่ เจริญกรุง บนทำเลศักยภาพใจกลางเมือง เดินทางสะดวกสบาย เชื่อมต่อสาทร-สีลมได้เพียงไม่กี่นาที รายล้อมด้วยแหล่งช้อปปิ้ง, โรงเรียนเอกชน และ นานาชาติชื่อดัง, โรงพยาลชั้นนำ และ อาคารสำนักงานเกรดเอ **สิ่งอำนวยความสะดวก** {ระบบ access card} lobby co-working space sky lounge kid room music room สระว่ายน้ำรอบอาคาร jacuzzi library fitness centre 24 hours security & CCTV สวนหย่อมรอบโครงการ **สถานที่ใกล้เคียง** ศูนย์การค้า Vanilla Moon : 950 ม. Asiatique The Riverfront : 1.3 กม. Robinson บางรัก : 1.3 กม. Tops สะพาน 3 : 1.5 กม. Sena Fest เจริญนคร : 3.7 กม. Makro สาทร : 3 กม. Central Plaza พระราม 3 : 3.4 กม. Tree On 3 : 3.5 กม. TTN Avenue นางลิ้นจี่ : 3.6 กม. Market Place นางลิ้นจี่ : 4 กม. Lotus พระราม 3 : 4 กม. The Up พระราม 3 : 4 กม. ICON SIAM : 4.4 กม. Home Pro พระราม 3 : 4.6 กม. สถานศึกษา รร.นานาชาติ Shrewsbury : 500 ม. รร.สตรีศรีสุริโยทัย : 700 ม. ม.ราชมงคลกรุงเทพฯ วิทยาเขตพระนครใต้ : 400 ม. รร.พระแม่มารีสาทร : 1.6 กม. รร.อัสสัมชัญบางรัก : 1.7 กม. รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์บางรัก : 1.7 กม. รร.กรุงเทพคริสเตียน : 2 กม. รร.อัสสัมชัญคอนแวนต์สีลม : 2.3 กม. รร.สารสาสน์พิทยา : 2.8 กม. รร.นานาชาติสาทรใหม่ : 3 กม. รร.สารสาสน์เอกตรา : 3 กม. รร.เซนต์หลุยส์ : 3 กม. รร.นานาชาติ Raintree : 3.8 กม. รร.เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ : 3.8 กม. รร.นานาชาติ Raintree : 3.8 กม. ม.ราชมงคลกรุงเทพฯ (RMUTK) : 4 กม. รร.นานาชาติ Garden : 4 กม. รร.นานาชาติ Crescent : 5 กม. ศูนย์การแพทย์ รพ.เลิดสิน : 1.9 กม. รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ : 2.9 กม. รพ.เซนต์หลุยส์ : 3 กม. รพ.BNH : 3.6 กม. ------------------------------------------- สนใจสอบถามข้อมูลที่ โทร.081-822-6553 รับซื้อ ฝากขายที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ ทุกชนิด “ฟรี” ค่าใช้จ่ายจนกว่าจะขายได้ พร้อมทั้งทำเรื่องยื่นกู้สินเชื่อ จนถึงโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน
    0 Comments 0 Shares 69 Views 0 Reviews
  • ประสบการณ์สายมู: พระตรีมูรติและวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)

    ผมได้มีโอกาสสักการะพระตรีมูรติที่ศาลพระตรีมูรติ หน้าตึก Empire Tower เป็นครั้งแรก บอกเลยว่าประทับใจมาก!

    เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณศาล รู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปในโลกที่ต่างจากความวุ่นวายของถนน #สาทร กลับกลายเป็นความสงบ มีกลิ่นธูปหอมๆ ลอยมาแตะจมูก ทำให้จิตใจผ่อนคลายอย่างมาก ได้กราบไหว้และ #ขอพร ทั้งพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ ซึ่งรวมอยู่ในร่างของพระตรีมูรติ ขอโชคลาภทั้งในเรื่องงาน เงิน และความรัก

    สิ่งที่ได้รับกลับมาคือความสบายใจและกำลังใจเพิ่มขึ้น เหมือนมีพลังบวกเติมเต็มหัวใจ

    หลังจากสักการะพระตรีมูรติที่ตึก Empire Tower เสร็จ ก็ไปเติม #พลังศรัทธา ต่อที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันในนาม "วัดแขก“ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาเยือน ที่นี่ได้กราบไหว้องค์เทพสำคัญในศาสนาฮินดูหลายองค์


    พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ เทพสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง รักษา และทำลายล้าง

    พระพิฆเนศ เทพแห่ง #การขจัดอุปสรรค
    พระนางลักษมี เทพีแห่ง #ความมั่งคั่งและ #โชคลาภ
    พระนางอุมาเทวี (มเหสีของพระศิวะ) เทพีแห่ง #พลังอำนาจ

    การขอพรครั้งนี้ครอบคลุมทั้งการเงิน การงาน และความรัก ขอให้ชีวิตราบรื่นและประสบความสำเร็จในทุกด้าน

    
รู้สึกอิ่มเอมใจ มีพลังบวกเต็มเปี่ยม พร้อมรับมือกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น! ใครที่มีเวลาว่าง แนะนำให้ลองแวะมากันนะ อาจจะได้พบกับความสงบและพลังศรัทธาที่จะช่วยเสริมพลังใจให้เราก้าวต่อไป

    ถ้าคุณชอบเนื้อหาแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามเพื่อไม่พลาดการอัปเดตประสบการณ์ดีๆ ที่จะช่วยเติมพลังใจให้คุณได้ทุกวัน!

    #ความศรัทธา #เสริมดวง
    ประสบการณ์สายมู: พระตรีมูรติและวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ผมได้มีโอกาสสักการะพระตรีมูรติที่ศาลพระตรีมูรติ หน้าตึก Empire Tower เป็นครั้งแรก บอกเลยว่าประทับใจมาก! 🙏✨
 เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณศาล รู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปในโลกที่ต่างจากความวุ่นวายของถนน #สาทร กลับกลายเป็นความสงบ มีกลิ่นธูปหอมๆ ลอยมาแตะจมูก ทำให้จิตใจผ่อนคลายอย่างมาก ได้กราบไหว้และ #ขอพร ทั้งพระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ ซึ่งรวมอยู่ในร่างของพระตรีมูรติ ขอโชคลาภทั้งในเรื่องงาน เงิน และความรัก 😆 
 สิ่งที่ได้รับกลับมาคือความสบายใจและกำลังใจเพิ่มขึ้น เหมือนมีพลังบวกเติมเต็มหัวใจ ❤️
 หลังจากสักการะพระตรีมูรติที่ตึก Empire Tower เสร็จ ก็ไปเติม #พลังศรัทธา ต่อที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือที่รู้จักกันในนาม "วัดแขก“ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มาเยือน 😁 ที่นี่ได้กราบไหว้องค์เทพสำคัญในศาสนาฮินดูหลายองค์
 🔹 พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ เทพสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง รักษา และทำลายล้าง
 🔹 พระพิฆเนศ เทพแห่ง #การขจัดอุปสรรค 🔹 พระนางลักษมี เทพีแห่ง #ความมั่งคั่งและ #โชคลาภ
 🔹 พระนางอุมาเทวี (มเหสีของพระศิวะ) เทพีแห่ง #พลังอำนาจ การขอพรครั้งนี้ครอบคลุมทั้งการเงิน การงาน และความรัก ขอให้ชีวิตราบรื่นและประสบความสำเร็จในทุกด้าน 💖💼💰 
รู้สึกอิ่มเอมใจ มีพลังบวกเต็มเปี่ยม พร้อมรับมือกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น! ใครที่มีเวลาว่าง แนะนำให้ลองแวะมากันนะ อาจจะได้พบกับความสงบและพลังศรัทธาที่จะช่วยเสริมพลังใจให้เราก้าวต่อไป 💪🌟
 ถ้าคุณชอบเนื้อหาแบบนี้ อย่าลืมกดติดตามเพื่อไม่พลาดการอัปเดตประสบการณ์ดีๆ ที่จะช่วยเติมพลังใจให้คุณได้ทุกวัน! 🌈✨ 
#ความศรัทธา #เสริมดวง

    0 Comments 0 Shares 221 Views 0 Reviews
  • งานบุญมนต์เสน่ห์แดนดิน...ถิ่นปักษ์ใต้ สืบสานประเพณีงานบุญสาทรเดือนสิบ วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 27 กันยายน ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567
    งานบุญมนต์เสน่ห์แดนดิน...ถิ่นปักษ์ใต้ สืบสานประเพณีงานบุญสาทรเดือนสิบ วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 27 กันยายน ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 54 Views 0 Reviews
  • BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV

    เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป

    รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code

    สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา

    สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ

    โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน

    อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป

    ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด

    #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    Like
    4
    0 Comments 2 Shares 475 Views 0 Reviews