• 35 ปี ตึกร้างผีสิง “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ร่องรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่… ไร้รอยฝุ่นฟุ้งแผ่นดินไหว 🏚️

    🏙️ เมื่อสถานที่กลายเป็น ร่องรอยของเหตุการณ์ในอดีต สถานที่บางแห่ง ถูกสร้างขึ้นเพื่อจดจำสิ่งยิ่งใหญ่ เช่น รูปปั้นเทพีเสรีภาพของอเมริกา หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของไทย แต่บางครั้งสถานที่กลับกลายเป็น "ร่องรอยที่ไม่มีใครอยากจดจำ" อย่างเช่น ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ (Sathorn Unique Tower) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์ แต่กลับกลายเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นเอกของ วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540 🕰️

    🌉 Sathorn Unique Tower:ความหวังระดับลักซ์ชัวรี่ใจกลางกรุง ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทย เฟื่องฟูแบบก้าวกระโดด โครงการอสังหาริมทรัพย์หรู ผุดขึ้นทั่วเมืองกรุง หนึ่งในนั้นคือ “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ที่ออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดัง ผู้อยู่เบื้องหลังดีไซน์ของ State Tower ที่โด่งดังเช่นกัน

    ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ เป็นคอนโดฯ สไตล์โรมันสูง 49 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น บนความสูง 185 เมตร 🏢 รวมทั้งหมด 600 ยูนิต มูลค่าลงทุนมากถึง 1,800 ล้านบาท เป้าหมายคือการเป็นแลนด์มาร์กสุดหรู ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

    🏗️ โครงการในฝัน กลายเป็นฝันร้าย? แม้จะมีเงินลงทุนจากพรีเซลล์ และบริษัทร่วมทุน แต่ก็ยังไม่พอ จึงต้องพึ่งพาเงินกู้จาก บริษัทหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะทันทีที่เจ้าของโครงการ ถูกกล่าวหาคดีอาญาเรื่องจ้างวานฆ่า ซึ่งภายหลังถูกยกฟ้อง ก็ส่งผลให้สถาบันการเงิน “เบรก” การปล่อยกู้ทันที 😨

    แม้จะฟื้นคืนการเงินได้ในภายหลัง แต่ “ความเชื่อมั่น” ก็ไม่กลับมาอีกเลย…

    📉 วิกฤตต้มยำกุ้ง จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจที่ทำให้ตึกหยุดสร้าง

    🔍 พื้นหลังเศรษฐกิจไทยยุคทอง ก่อนปี 2540 เศรษฐกิจไทยโตเฉลี่ย 9% ต่อปี เงินทุนไหลเข้ามหาศาล ดอกเบี้ยในประเทศสูง ต่างชาติแห่ลงทุน ธนาคารไทยเองก็ขยายเครดิตอย่างหนัก 🏦

    มีการตั้ง BIBF เพื่อปล่อยกู้เงินต่างประเทศ เข้ามาภายในประเทศ แต่บริษัทส่วนใหญ่กลับกู้ระยะสั้น ทั้งที่อสังหาฯ ต้องใช้เงินระยะยาว ระบบเศรษฐกิจ "เติบโตเกินจริง" หรือ Overextended

    เมื่อค่าเงินบาทถูก "ลอยตัว" จาก 25 บาท/ดอลลาร์ ไปแตะ 50 บาท/ดอลลาร์ ทำให้ภาคเอกชนต้องใช้หนี้เพิ่มขึ้น “เท่าตัว” โดยไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น

    🧨 เมื่อฟองสบู่แตก บริษัทเงินทุนล่มสลาย ปี 2540 รัฐบาลประกาศปิดบริษัทเงินทุนกว่า 50 แห่ง รวมถึง ไทยเม็กซ์
    โครงการสาธร ยูนีค ที่เดินหน้าไปแล้ว 80% ก็ต้องหยุดกะทันหัน ท่ามกลางวิกฤตความเชื่อมั่น และต้นทุนกู้ยืมที่สูงเกินรับไหว

    👻 จาก “สาธร ยูนีค” สู่ “Ghost Tower” ตำนานความหลอนใจกลางเมือง หลังจากการก่อสร้างถูกปล่อยทิ้งร้าง ตึกนี้ก็เริ่มเสื่อมโทรมตามกาลเวลา และเพราะเป็นตึกสูงใหญ่โดดเด่นที่ "ไม่เสร็จ" ผู้คนก็เริ่มแต่งเรื่องลี้ลับขึ้นมา…

    💀 ข่าวลือที่สร้างชื่อเสียงแบบไม่ตั้งใจ บางคนเชื่อว่า ตึกสร้างไม่เสร็จเพราะอาถรรพ์ บ้างลือว่าตึกนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่สุสานเก่า มีข่าวลือถึงการเสียชีวิตปริศนาในตึก

    🎥 ในปี 2557 มีเหตุสลดจริง เมื่อพบศพชายชาวสวีเดน แขวนคอในตึกดังกล่าว ทำให้ทางเจ้าของตึกแจ้งความ และมีการ “ปิดทางเข้า” ไม่ให้คนภายนอกเข้าไปอีก

    อย่างไรก็ตาม ภาพจากตึกนี้ยังคงปรากฏในหนังหลายเรื่อง เช่น “เพื่อน…ที่ระลึก” ที่ตีแผ่ความหลอนจากวิกฤตเศรษฐกิจและการพลัดพราก 🕯️

    💡 ทำไมถึงขายไม่ได้? ราคาพุ่งจาก 3,000 ล้าน สู่ 4,000 ล้าน

    📌 ต้นทุนที่ยังค้างคา เจ้าของคนปัจจุบันคือ นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ บุตรชาย ผศ.รังสรรค์ ยืนยันว่า จะขายตึกในราคาที่สามารถคืนทุนทั้งหมด และคืนเงินให้กับผู้ที่ซื้อพรีเซลล์ไว้แล้วกว่า 90%

    ปัจจุบันราคาตึกตั้งไว้ที่ 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งสูงเกินกว่าที่นักลงทุนรายใหม่จะรับได้ โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างห้องในอดีตเน้น “ขนาดใหญ่” ซึ่งสวนทางกับเทรนด์ห้องยุคปัจจุบัน ที่ต้องการห้องขนาดกะทัดรัด 😕

    🧱 แต่… “Ghost Tower” แข็งแรงกว่าที่คิด! 🌍 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568 ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่ง ออกมาโพสต์ขายตึกนี้ในราคา 4,000 ล้านบาท พร้อมข้อมูลว่า…

    ❗ "แม้จะเกิดแผ่นดินไหว แต่โครงสร้างตึก ไม่กระทบเลยแม้แต่น้อย"

    ทำให้มีคนเริ่มสนใจตึกนี้ในฐานะ “อสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแรง และโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม” อีกครั้ง ตึกนี้ไม่เพียงรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ยัง "ยืนหยัดท่ามกลางแรงสั่นสะเทือนจากธรรมชาติ" ได้อีกด้วย 💪🌎

    🧠 “สาธร” หรือ “สาทร” สรุปใช้คำไหนกันแน่? แม้ตึกจะใช้ชื่อว่า “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ตามชื่อบริษัทที่จดทะเบียน แต่ในความเป็นจริง ชื่อเขตที่ตั้งควรสะกดว่า “สาทร” โดยมีที่มาทางประวัติศาสตร์ดังนี้

    “สาทร” มาจาก หลวงสาทรราชายุตก์ ผู้สร้างถนนและคลองในยุค ร.5 เอกสารราชการในยุค ร.6 ใช้คำว่า “สาทร” อย่างชัดเจน ปัจจุบันการสะกดผิดพลาด และใช้คำว่า “สาธร” แพร่หลาย

    ราชบัณฑิตยสถานจึงแนะนำให้ใช้คำว่า “สาทร” เพื่อความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ 📜

    🎬 "Sathorn Unique Tower" แลนด์มาร์กของ “อดีต” ที่ยังยืนอยู่ใน “ปัจจุบัน” แม้จะผ่านเวลามาแล้ว 35 ปี ตึกแห่งนี้ยังคงตั้งตระหง่าน อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ได้เพียงเป็นตึกร้าง แต่กลายเป็น สัญลักษณ์ของบทเรียนเศรษฐกิจ กลายเป็น แลนด์มาร์กแห่งความทรงจำ และอาจเป็น “โอกาสใหม่” ที่รอเพียงการตีความใหม่อีกครั้ง ในอนาคต…

    🔚 "ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์" อดีตที่ยัง “ยืนอยู่” ตึกนี้คือบทเรียนทางเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม
    ที่ยังไม่จบ… และอาจเป็น “จุดเริ่มต้นใหม่” หากมีใครกล้าคิด…ต่าง 💡

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 301305 มี.ค. 2568

    🏷️ #ตึกสาธรยูนีค #GhostTower #วิกฤตต้มยำกุ้ง #ตึกร้างกรุงเทพ #อสังหาริมทรัพย์ไทย #สถานที่หลอน #ตึกผีสิง #กรุงเทพมหานคร #SathornUniqueTower #ตำนานเมืองกรุง
    35 ปี ตึกร้างผีสิง “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ร่องรอยวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่… ไร้รอยฝุ่นฟุ้งแผ่นดินไหว 🏚️ 🏙️ เมื่อสถานที่กลายเป็น ร่องรอยของเหตุการณ์ในอดีต สถานที่บางแห่ง ถูกสร้างขึ้นเพื่อจดจำสิ่งยิ่งใหญ่ เช่น รูปปั้นเทพีเสรีภาพของอเมริกา หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของไทย แต่บางครั้งสถานที่กลับกลายเป็น "ร่องรอยที่ไม่มีใครอยากจดจำ" อย่างเช่น ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ (Sathorn Unique Tower) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์ แต่กลับกลายเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นเอกของ วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540 🕰️ 🌉 Sathorn Unique Tower:ความหวังระดับลักซ์ชัวรี่ใจกลางกรุง ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทย เฟื่องฟูแบบก้าวกระโดด โครงการอสังหาริมทรัพย์หรู ผุดขึ้นทั่วเมืองกรุง หนึ่งในนั้นคือ “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ที่ออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดัง ผู้อยู่เบื้องหลังดีไซน์ของ State Tower ที่โด่งดังเช่นกัน ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ เป็นคอนโดฯ สไตล์โรมันสูง 49 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น บนความสูง 185 เมตร 🏢 รวมทั้งหมด 600 ยูนิต มูลค่าลงทุนมากถึง 1,800 ล้านบาท เป้าหมายคือการเป็นแลนด์มาร์กสุดหรู ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 🏗️ โครงการในฝัน กลายเป็นฝันร้าย? แม้จะมีเงินลงทุนจากพรีเซลล์ และบริษัทร่วมทุน แต่ก็ยังไม่พอ จึงต้องพึ่งพาเงินกู้จาก บริษัทหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะทันทีที่เจ้าของโครงการ ถูกกล่าวหาคดีอาญาเรื่องจ้างวานฆ่า ซึ่งภายหลังถูกยกฟ้อง ก็ส่งผลให้สถาบันการเงิน “เบรก” การปล่อยกู้ทันที 😨 แม้จะฟื้นคืนการเงินได้ในภายหลัง แต่ “ความเชื่อมั่น” ก็ไม่กลับมาอีกเลย… 📉 วิกฤตต้มยำกุ้ง จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจที่ทำให้ตึกหยุดสร้าง 🔍 พื้นหลังเศรษฐกิจไทยยุคทอง ก่อนปี 2540 เศรษฐกิจไทยโตเฉลี่ย 9% ต่อปี เงินทุนไหลเข้ามหาศาล ดอกเบี้ยในประเทศสูง ต่างชาติแห่ลงทุน ธนาคารไทยเองก็ขยายเครดิตอย่างหนัก 🏦 มีการตั้ง BIBF เพื่อปล่อยกู้เงินต่างประเทศ เข้ามาภายในประเทศ แต่บริษัทส่วนใหญ่กลับกู้ระยะสั้น ทั้งที่อสังหาฯ ต้องใช้เงินระยะยาว ระบบเศรษฐกิจ "เติบโตเกินจริง" หรือ Overextended เมื่อค่าเงินบาทถูก "ลอยตัว" จาก 25 บาท/ดอลลาร์ ไปแตะ 50 บาท/ดอลลาร์ ทำให้ภาคเอกชนต้องใช้หนี้เพิ่มขึ้น “เท่าตัว” โดยไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น 🧨 เมื่อฟองสบู่แตก บริษัทเงินทุนล่มสลาย ปี 2540 รัฐบาลประกาศปิดบริษัทเงินทุนกว่า 50 แห่ง รวมถึง ไทยเม็กซ์ โครงการสาธร ยูนีค ที่เดินหน้าไปแล้ว 80% ก็ต้องหยุดกะทันหัน ท่ามกลางวิกฤตความเชื่อมั่น และต้นทุนกู้ยืมที่สูงเกินรับไหว 👻 จาก “สาธร ยูนีค” สู่ “Ghost Tower” ตำนานความหลอนใจกลางเมือง หลังจากการก่อสร้างถูกปล่อยทิ้งร้าง ตึกนี้ก็เริ่มเสื่อมโทรมตามกาลเวลา และเพราะเป็นตึกสูงใหญ่โดดเด่นที่ "ไม่เสร็จ" ผู้คนก็เริ่มแต่งเรื่องลี้ลับขึ้นมา… 💀 ข่าวลือที่สร้างชื่อเสียงแบบไม่ตั้งใจ บางคนเชื่อว่า ตึกสร้างไม่เสร็จเพราะอาถรรพ์ บ้างลือว่าตึกนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่สุสานเก่า มีข่าวลือถึงการเสียชีวิตปริศนาในตึก 🎥 ในปี 2557 มีเหตุสลดจริง เมื่อพบศพชายชาวสวีเดน แขวนคอในตึกดังกล่าว ทำให้ทางเจ้าของตึกแจ้งความ และมีการ “ปิดทางเข้า” ไม่ให้คนภายนอกเข้าไปอีก อย่างไรก็ตาม ภาพจากตึกนี้ยังคงปรากฏในหนังหลายเรื่อง เช่น “เพื่อน…ที่ระลึก” ที่ตีแผ่ความหลอนจากวิกฤตเศรษฐกิจและการพลัดพราก 🕯️ 💡 ทำไมถึงขายไม่ได้? ราคาพุ่งจาก 3,000 ล้าน สู่ 4,000 ล้าน 📌 ต้นทุนที่ยังค้างคา เจ้าของคนปัจจุบันคือ นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ บุตรชาย ผศ.รังสรรค์ ยืนยันว่า จะขายตึกในราคาที่สามารถคืนทุนทั้งหมด และคืนเงินให้กับผู้ที่ซื้อพรีเซลล์ไว้แล้วกว่า 90% ปัจจุบันราคาตึกตั้งไว้ที่ 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งสูงเกินกว่าที่นักลงทุนรายใหม่จะรับได้ โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างห้องในอดีตเน้น “ขนาดใหญ่” ซึ่งสวนทางกับเทรนด์ห้องยุคปัจจุบัน ที่ต้องการห้องขนาดกะทัดรัด 😕 🧱 แต่… “Ghost Tower” แข็งแรงกว่าที่คิด! 🌍 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568 ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่ง ออกมาโพสต์ขายตึกนี้ในราคา 4,000 ล้านบาท พร้อมข้อมูลว่า… ❗ "แม้จะเกิดแผ่นดินไหว แต่โครงสร้างตึก ไม่กระทบเลยแม้แต่น้อย" ทำให้มีคนเริ่มสนใจตึกนี้ในฐานะ “อสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแรง และโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม” อีกครั้ง ตึกนี้ไม่เพียงรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ยัง "ยืนหยัดท่ามกลางแรงสั่นสะเทือนจากธรรมชาติ" ได้อีกด้วย 💪🌎 🧠 “สาธร” หรือ “สาทร” สรุปใช้คำไหนกันแน่? แม้ตึกจะใช้ชื่อว่า “สาธร ยูนีค ทาวเวอร์” ตามชื่อบริษัทที่จดทะเบียน แต่ในความเป็นจริง ชื่อเขตที่ตั้งควรสะกดว่า “สาทร” โดยมีที่มาทางประวัติศาสตร์ดังนี้ “สาทร” มาจาก หลวงสาทรราชายุตก์ ผู้สร้างถนนและคลองในยุค ร.5 เอกสารราชการในยุค ร.6 ใช้คำว่า “สาทร” อย่างชัดเจน ปัจจุบันการสะกดผิดพลาด และใช้คำว่า “สาธร” แพร่หลาย ราชบัณฑิตยสถานจึงแนะนำให้ใช้คำว่า “สาทร” เพื่อความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ 📜 🎬 "Sathorn Unique Tower" แลนด์มาร์กของ “อดีต” ที่ยังยืนอยู่ใน “ปัจจุบัน” แม้จะผ่านเวลามาแล้ว 35 ปี ตึกแห่งนี้ยังคงตั้งตระหง่าน อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ได้เพียงเป็นตึกร้าง แต่กลายเป็น สัญลักษณ์ของบทเรียนเศรษฐกิจ กลายเป็น แลนด์มาร์กแห่งความทรงจำ และอาจเป็น “โอกาสใหม่” ที่รอเพียงการตีความใหม่อีกครั้ง ในอนาคต… 🔚 "ตึกสาธร ยูนีค ทาวเวอร์" อดีตที่ยัง “ยืนอยู่” ตึกนี้คือบทเรียนทางเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม ที่ยังไม่จบ… และอาจเป็น “จุดเริ่มต้นใหม่” หากมีใครกล้าคิด…ต่าง 💡 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 301305 มี.ค. 2568 🏷️ #ตึกสาธรยูนีค #GhostTower #วิกฤตต้มยำกุ้ง #ตึกร้างกรุงเทพ #อสังหาริมทรัพย์ไทย #สถานที่หลอน #ตึกผีสิง #กรุงเทพมหานคร #SathornUniqueTower #ตำนานเมืองกรุง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • Open Society Foundations ของ จอร์จ โซรอส "พ่อมดมืด" ผู้บันดาล "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ให้ประเทศไทย...!!!
    .
    เขาไปฝังตัวอยู่ทั่วโลกนั่นแหล่ะ...
    .
    และ ไอ้ปฏิวัติสี ที่ว่า...
    .
    ประเทศไทยบ้านเราก็มีนะ...!!!
    .
    ให้ลองไปดู สีสัญลักษณ์ ที่เกิดขึ้นใน ยูเครน และ สีของพรรคการเมืองหนึ่งในพม่าดู ชื่อก็คล้ายๆกัน...
    .
    😂😂😂😂😂😂
    Open Society Foundations ของ จอร์จ โซรอส "พ่อมดมืด" ผู้บันดาล "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ให้ประเทศไทย...!!! . เขาไปฝังตัวอยู่ทั่วโลกนั่นแหล่ะ... . และ ไอ้ปฏิวัติสี ที่ว่า... . ประเทศไทยบ้านเราก็มีนะ...!!! . ให้ลองไปดู สีสัญลักษณ์ ที่เกิดขึ้นใน ยูเครน และ สีของพรรคการเมืองหนึ่งในพม่าดู ชื่อก็คล้ายๆกัน... . 😂😂😂😂😂😂
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 178 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ##
    ..
    ..
    วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ
    .
    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    .
    จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
    .
    ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท
    .
    คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท
    .
    ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน
    .
    หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
    และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม
    .
    ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย
    .
    รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้
    นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ
    รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น
    .
    รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น
    เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้
    .
    ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543
    .
    ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544
    .
    นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด
    .
    ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น
    และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF
    .
    แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้
    โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ
    ....
    ....
    โดย เพจ ฤๅ - Lue History
    .
    https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ## .. .. วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ . ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด . จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 . ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท . คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท . ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน . หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม . ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย . รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้ นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น . รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้ . ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543 . ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544 . นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด . ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF . แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้ โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ .... .... โดย เพจ ฤๅ - Lue History . https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 593 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไดอารี่ "วันนวมินทรฯ"

    ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

    แต่ปรากฏว่า จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยจากปีนั้นมา แทบไม่ได้พัฒนาไปตามแนวทางนี้เลย

    จนเกิด "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 นี่แหละ

    คนไทยจำนวนไม่น้อยถึง "คิดได้" ขึ้นมา

    หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ "การจัดการความเสี่ยง"

    ผมบอกได้เต็มปากเลยว่า "การกระจายความเสี่ยง" (หรือนัยหนึ่งคือ "จัดพอร์ต") นี่แหละ ช่วยให้ผม "ไม่เจ็บตัว" จนเกินไป จากการขาดทุนเมื่อตอนเริ่มซื้อกองทุนรวมครั้งแรก

    ถ้าเทียบ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็น subset ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในสัดส่วน 3:3:3:1 กับการ "จัดพอร์ต" กองทุนรวม...

    ...จะว่าไปแล้ว แก่นแท้ของสองอย่างนี้ก็คือ Risk Management/Diversification นั่นเอง

    ในโอกาสของการรำลึกถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการนำ "คำสอน" ของพระองค์ไปสู่การปฏิบัติ

    "ประสบการณ์ตรง" ของผมบอกไว้อย่างนั้น!

    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

    วีรภัทร ตั๊งวิบูลย์ชัย
    13 ตุลาคม 2567

    ภาพ: พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ โดยคุณ "วินทร์ เลียววาริณ" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556
    ไดอารี่ "วันนวมินทรฯ" ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 มีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 แต่ปรากฏว่า จะด้วยเหตุอะไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยจากปีนั้นมา แทบไม่ได้พัฒนาไปตามแนวทางนี้เลย จนเกิด "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 นี่แหละ คนไทยจำนวนไม่น้อยถึง "คิดได้" ขึ้นมา หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ "การจัดการความเสี่ยง" ผมบอกได้เต็มปากเลยว่า "การกระจายความเสี่ยง" (หรือนัยหนึ่งคือ "จัดพอร์ต") นี่แหละ ช่วยให้ผม "ไม่เจ็บตัว" จนเกินไป จากการขาดทุนเมื่อตอนเริ่มซื้อกองทุนรวมครั้งแรก ถ้าเทียบ "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งเป็น subset ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินในสัดส่วน 3:3:3:1 กับการ "จัดพอร์ต" กองทุนรวม... ...จะว่าไปแล้ว แก่นแท้ของสองอย่างนี้ก็คือ Risk Management/Diversification นั่นเอง ในโอกาสของการรำลึกถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการนำ "คำสอน" ของพระองค์ไปสู่การปฏิบัติ "ประสบการณ์ตรง" ของผมบอกไว้อย่างนั้น! ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น วีรภัทร ตั๊งวิบูลย์ชัย 13 ตุลาคม 2567 ภาพ: พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ โดยคุณ "วินทร์ เลียววาริณ" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2556
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 318 มุมมอง 0 รีวิว
  • แจกฟรี!!! หนังสือ “เปลือยธารินทร์”
    กติกาง่ายๆ เพียงคอมเมนต์ใต้ภาพนี้ บอกเล่าหรือแชร์ประสบการณ์ของคุณในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง2540, หรือท่านที่เกิดไม่ทัน คอมเมนต์เหตุผลที่อยากได้หนังสือเล่มนี้ เพราะอะไร?
    แจกฟรี!!! หนังสือ “เปลือยธารินทร์” กติกาง่ายๆ เพียงคอมเมนต์ใต้ภาพนี้ บอกเล่าหรือแชร์ประสบการณ์ของคุณในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง2540, หรือท่านที่เกิดไม่ทัน คอมเมนต์เหตุผลที่อยากได้หนังสือเล่มนี้ เพราะอะไร?
    Like
    Love
    Haha
    Yay
    Wow
    Angry
    342
    402 ความคิดเห็น 15 การแบ่งปัน 28143 มุมมอง 16 รีวิว
  • #จิตสำนึกหล่อหลอมจากครอบครัว
    #ผู้นำที่สร้างจากคนดีคิดถึงส่วนรวม
    •ลีกวนยู เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
    ที่จะทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง
    ให้เจริญเติบโตอย่างไร | 17.08.2024

    ครั้งหนึ่งมีคนถามลีกวนยูว่า “ถ้าให้คุณเลือกคนมาทำงานด้วย จะเลือกคนที่ไอคิวสูงหรืออีคิวสูง”

    ลีกวนยูว่า “แล้วแต่ลักษณะงาน ถ้าหาคนมาคุมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คงเลือกคนไอคิวสูงก่อน”

    แต่ถ้าหาคนที่ต้องคุมคนอื่นอีกที ก็ต้องได้ทั้งไอคิวและอีคิว

    ลีกวนยูเข้าใจการเมืองอย่างลึกซึ้งและมองทะลุปรุโปร่ง เพราะเหตุนี้ ณ จุดสูงสุดของชีวิตผู้นำ เขาก็ก้าวลงจากอำนาจส่งไม้ต่อให้คนหนุ่มกว่า

    ลีกวนยูบอกเสมอว่าเขาคัดแต่คนเก่งระดับหัวกะทิมาทำงานการเมือง

    ผู้บริหารประเทศสิงคโปร์คัดเลือกคนที่จะมาเป็นนายกฯคนที่สองมาหลายปีก่อนโอนถ่ายอำนาจ นั่นคือโกช็อกตง ลีกวนยูก็ติวเข้มโกช็อกตงมาล่วงหน้าถึงเก้าปี

    โกช็อกตงไม่ใช่ตัวเลือกของลีกวนยู แต่เป็นตัวเลือกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอย่างรอบคอบ โกช็อกตงจบปริญญาโทจากอเมริกา ฉลาด มีวิสัยทัศน์ ไม่เช่นนั้นลีกวนยูคงไม่ยอมปล่อยให้บริหารประเทศต่อ

    ก่อนรับตำแหน่งนายกฯ โกช็อกตงมีประสบการณ์ในตำแหน่งรองนายกฯมาเจ็ดปี

    ลีกวนยูวิเคราะห์โกช็อกตงไว้ว่า “ตัวสูง เก้งก้าง งุ่มง่าม พูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน พูดไม่เก่ง แต่มีความสามารถ มีความมุ่งมั่น”

    เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ลีกวนยูส่งโกช็อกตงไปเรียนทักษะการพูด หาครูชาวอังกฤษมาสอนเขา รวมทั้งรัฐมนตรีใหม่ ๆ หลายคน

    การเป็นผู้นำประเทศต้องพูดเป็น พูดอย่างผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติ นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจะมาเป็นผู้นำ

    เก่งแค่ไหนก็ต้องสื่อสารเป็นด้วย สื่อสารเป็นคือทำให้คนฟังคล้อยตามได้

    ผ่านไประยะหนึ่ง โกช็อกตงก็พัฒนาการพูดดีขึ้น

    ลีกวนยูพูดกับบรรดารัฐมนตรีว่า “รัฐมนตรีที่ดีไม่ใช่พวกที่จูบทารกและยิ้ม รัฐมนตรีที่ดีคือพวกที่ต้องตัดสินใจเรื่องที่ประชาชนไม่ชอบ และยังยิ้มได้ แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่าทำงานได้ผล นั่นคือการเป็นรัฐบาล”

    คนเป็นรัฐมนตรีต้องทำงานหนัก ไม่ใช่โชว์ ไม่ใช่สร้างคะแนนนิยม

    เมื่อคนใหม่พร้อมแล้ว และหลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีมา 31 ปี ลีกวนยูก็ลงจากตำแหน่งโดยไม่อาลัยอาวรณ์

    โกช็อกตงรับไม้ต่อจากลีกวนยู เป็นนายกฯสิงคโปร์คนที่สอง ในปี 1990 เจอเหตุการณ์ทดสอบภาวะผู้นำหลายเรื่อง เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 โรคซาร์สระบาดในปี 2003 ก็สอบผ่านมาได้

    โกช็อกตงเป็นนายกฯ 14 ปี ก็ส่งไม้ต่อให้ลีเซียนหลง บุตรชายของลีกวนยู ในปี 2004 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สาม

    และในปี 2024 ก็ส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    การเลือกผู้นำของสิงคโปร์ไม่ใช่เกมการเมือง ไม่ใช่เกมเด็กเล่น ซีเรียสอย่างที่สุด มันจึงเป็นประเทศสิงคโปร์ที่เราเห็นในวันนี้

    จากหนังสือ
    สร้างชาติจากศูนย์
    / วินทร์ เลียววาริณ
    หนังสือเกี่ยวกับลีกวนยูและ
    การสร้างชาติสิงคโปร์จากศูนย์
    วางตลาดเดือนตุลาคม 2024 นี้
    #จิตสำนึกหล่อหลอมจากครอบครัว #ผู้นำที่สร้างจากคนดีคิดถึงส่วนรวม •ลีกวนยู เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่จะทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง ให้เจริญเติบโตอย่างไร | 17.08.2024 ครั้งหนึ่งมีคนถามลีกวนยูว่า “ถ้าให้คุณเลือกคนมาทำงานด้วย จะเลือกคนที่ไอคิวสูงหรืออีคิวสูง” ลีกวนยูว่า “แล้วแต่ลักษณะงาน ถ้าหาคนมาคุมงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คงเลือกคนไอคิวสูงก่อน” แต่ถ้าหาคนที่ต้องคุมคนอื่นอีกที ก็ต้องได้ทั้งไอคิวและอีคิว ลีกวนยูเข้าใจการเมืองอย่างลึกซึ้งและมองทะลุปรุโปร่ง เพราะเหตุนี้ ณ จุดสูงสุดของชีวิตผู้นำ เขาก็ก้าวลงจากอำนาจส่งไม้ต่อให้คนหนุ่มกว่า ลีกวนยูบอกเสมอว่าเขาคัดแต่คนเก่งระดับหัวกะทิมาทำงานการเมือง ผู้บริหารประเทศสิงคโปร์คัดเลือกคนที่จะมาเป็นนายกฯคนที่สองมาหลายปีก่อนโอนถ่ายอำนาจ นั่นคือโกช็อกตง ลีกวนยูก็ติวเข้มโกช็อกตงมาล่วงหน้าถึงเก้าปี โกช็อกตงไม่ใช่ตัวเลือกของลีกวนยู แต่เป็นตัวเลือกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอย่างรอบคอบ โกช็อกตงจบปริญญาโทจากอเมริกา ฉลาด มีวิสัยทัศน์ ไม่เช่นนั้นลีกวนยูคงไม่ยอมปล่อยให้บริหารประเทศต่อ ก่อนรับตำแหน่งนายกฯ โกช็อกตงมีประสบการณ์ในตำแหน่งรองนายกฯมาเจ็ดปี ลีกวนยูวิเคราะห์โกช็อกตงไว้ว่า “ตัวสูง เก้งก้าง งุ่มง่าม พูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน พูดไม่เก่ง แต่มีความสามารถ มีความมุ่งมั่น” เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ลีกวนยูส่งโกช็อกตงไปเรียนทักษะการพูด หาครูชาวอังกฤษมาสอนเขา รวมทั้งรัฐมนตรีใหม่ ๆ หลายคน การเป็นผู้นำประเทศต้องพูดเป็น พูดอย่างผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติ นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจะมาเป็นผู้นำ เก่งแค่ไหนก็ต้องสื่อสารเป็นด้วย สื่อสารเป็นคือทำให้คนฟังคล้อยตามได้ ผ่านไประยะหนึ่ง โกช็อกตงก็พัฒนาการพูดดีขึ้น ลีกวนยูพูดกับบรรดารัฐมนตรีว่า “รัฐมนตรีที่ดีไม่ใช่พวกที่จูบทารกและยิ้ม รัฐมนตรีที่ดีคือพวกที่ต้องตัดสินใจเรื่องที่ประชาชนไม่ชอบ และยังยิ้มได้ แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่าทำงานได้ผล นั่นคือการเป็นรัฐบาล” คนเป็นรัฐมนตรีต้องทำงานหนัก ไม่ใช่โชว์ ไม่ใช่สร้างคะแนนนิยม เมื่อคนใหม่พร้อมแล้ว และหลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีมา 31 ปี ลีกวนยูก็ลงจากตำแหน่งโดยไม่อาลัยอาวรณ์ โกช็อกตงรับไม้ต่อจากลีกวนยู เป็นนายกฯสิงคโปร์คนที่สอง ในปี 1990 เจอเหตุการณ์ทดสอบภาวะผู้นำหลายเรื่อง เช่น วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 โรคซาร์สระบาดในปี 2003 ก็สอบผ่านมาได้ โกช็อกตงเป็นนายกฯ 14 ปี ก็ส่งไม้ต่อให้ลีเซียนหลง บุตรชายของลีกวนยู ในปี 2004 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สาม และในปี 2024 ก็ส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การเลือกผู้นำของสิงคโปร์ไม่ใช่เกมการเมือง ไม่ใช่เกมเด็กเล่น ซีเรียสอย่างที่สุด มันจึงเป็นประเทศสิงคโปร์ที่เราเห็นในวันนี้ จากหนังสือ สร้างชาติจากศูนย์ / วินทร์ เลียววาริณ หนังสือเกี่ยวกับลีกวนยูและ การสร้างชาติสิงคโปร์จากศูนย์ วางตลาดเดือนตุลาคม 2024 นี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 548 มุมมอง 0 รีวิว