• วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 Comments 0 Shares 308 Views 0 Reviews
  • **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร

    ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

    เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน

    และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี

    บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ

    การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

    ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า

    ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)

    Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
    http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
    https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
    https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html

    #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน) Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998 https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699 http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    GIRLSTYLE.COM
    张婧仪 & 胡一天《惜花芷》扑开高走.热度破万!开播前被全网嘲「必扑」,靠「过硬剧情」扳回一城狠狠打脸酸民~ | GirlStyle 马来西亚女生日常
    张婧仪、胡一天主演的古装剧《惜花芷》站内热度破万啦!这部剧在开播之前无人看好,预告释出后更是嘲声一片,被看衰「一定会扑」!但是,《惜花芷》却靠剧情逆转口碑,收获许多“自来水”(真心喜欢而自愿帮宣传的观众)的喜爱,让收视率一路上升,杀出重围成为黑马!
    1 Comments 0 Shares 453 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 Comments 0 Shares 412 Views 0 Reviews
  • สมเด็จหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ เนื้อผงพุทธคุณ วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ //พระดีพิธีใหญ๋ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองปากน้ำโพ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ศพก็ยังไม่เน่าเปื่อย จึงได้รับการบรรจุไว้ในโลงแก้ว // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณช่วยเสริมดวงเรา เสริมโชคลาภ การเงินการงานความสำเร็จ ปกปักรักษาเราให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้ง 10 ทิศ เมตตามหานิยม ค้าขายดีคล่อง พลิกโชคชะตาแก่ผู้บูชา >>

    ** พระสมเด็จหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้าง โดยผ่านพิธีปลุกเสกและถูกต้องตามพิธีกรรม มีรายนามพระเกจิคณาจารย์ ร่วมพิธีปลุกเสกในอุโบสถ วัดช่องแค อาทิ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหยอด วัดแก้งเจริญ, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง, หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์ เป็นต้น >>

    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    สมเด็จหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ เนื้อผงพุทธคุณ วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ //พระดีพิธีใหญ๋ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองปากน้ำโพ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ศพก็ยังไม่เน่าเปื่อย จึงได้รับการบรรจุไว้ในโลงแก้ว // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณช่วยเสริมดวงเรา เสริมโชคลาภ การเงินการงานความสำเร็จ ปกปักรักษาเราให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้ง 10 ทิศ เมตตามหานิยม ค้าขายดีคล่อง พลิกโชคชะตาแก่ผู้บูชา >> ** พระสมเด็จหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้าง โดยผ่านพิธีปลุกเสกและถูกต้องตามพิธีกรรม มีรายนามพระเกจิคณาจารย์ ร่วมพิธีปลุกเสกในอุโบสถ วัดช่องแค อาทิ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหยอด วัดแก้งเจริญ, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง, หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์ เป็นต้น >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 Comments 0 Shares 199 Views 0 Reviews
  • วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ>

    เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ)

    ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

    อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ

    การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน

    วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.goldposter.com/zh/13304223/
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697

    #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ) ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.goldposter.com/zh/13304223/ https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697 #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 397 Views 0 Reviews
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 553 Views 0 Reviews
  • ผู้อำนวยการโครงการชาวจีน ขี้แจงขนแฟ้มเอกสารเพื่อไปเคลมประกันตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ตำรวจยึดไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

    วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ สน.บางซื่อ ตำรวจ บก.สส.บช.น.และ สน.บางซื่อ ได้รับแจ้งเห็นกลุ่มบุคคลกำลังขนย้ายแฟ้มเอกสาร ออกจากที่ทำการสำนักงานตู้คอนเทนเนอร์ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารจอดรถ บริเวณด้านหลังอาคารก่อสร้าง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ถนนกำแพงเพชร 2 ด้วยวิธีขนข้ามกำแพง เมื่อเดินทางไปตรวจสอบทราบว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่ไปแล้ว

    ต่อมาพบ นายหลิว หยาง สัญชาติจีน แจ้งว่าเป็นผู้อำนวยการโครงการ ตำรวจจึงแจ้งให้นำแฟ้มเอกสารที่ขนออกไปทั้งหมดกลับมาตรวจสอบ เนื่องจากต้องสงสัยว่าได้นำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุอาคาร สตง.แห่งใหม่ถล่ม นายหลิว หยาง ได้ดำเนินการติดตามรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ ทะเบียน 2ขฬ 2225 กรุงเทพฯ ต่อมาชายชาวจีน 4 คน ได้เข้าพบตำรวจพร้อมรถนำกระบะ และแฟ้มเอกสารทั้งหมดมามอบให้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030238

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    ผู้อำนวยการโครงการชาวจีน ขี้แจงขนแฟ้มเอกสารเพื่อไปเคลมประกันตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ตำรวจยึดไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ • วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ สน.บางซื่อ ตำรวจ บก.สส.บช.น.และ สน.บางซื่อ ได้รับแจ้งเห็นกลุ่มบุคคลกำลังขนย้ายแฟ้มเอกสาร ออกจากที่ทำการสำนักงานตู้คอนเทนเนอร์ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารจอดรถ บริเวณด้านหลังอาคารก่อสร้าง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ถนนกำแพงเพชร 2 ด้วยวิธีขนข้ามกำแพง เมื่อเดินทางไปตรวจสอบทราบว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่ไปแล้ว • ต่อมาพบ นายหลิว หยาง สัญชาติจีน แจ้งว่าเป็นผู้อำนวยการโครงการ ตำรวจจึงแจ้งให้นำแฟ้มเอกสารที่ขนออกไปทั้งหมดกลับมาตรวจสอบ เนื่องจากต้องสงสัยว่าได้นำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุอาคาร สตง.แห่งใหม่ถล่ม นายหลิว หยาง ได้ดำเนินการติดตามรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ ทะเบียน 2ขฬ 2225 กรุงเทพฯ ต่อมาชายชาวจีน 4 คน ได้เข้าพบตำรวจพร้อมรถนำกระบะ และแฟ้มเอกสารทั้งหมดมามอบให้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030238 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    Angry
    1
    0 Comments 0 Shares 794 Views 0 Reviews
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 Comments 0 Shares 871 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 Comments 0 Shares 777 Views 0 Reviews
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 1285 Views 0 Reviews
  • Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full)
    - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ
    - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน”
    - โคตรส่วยแม่สอด
    - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช.
    - ยิวทำเละเทะในปาย
    - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล”
    - ยูเครน END GAME ?
    - สงครามชิงทรัพยากร

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full) - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน” - โคตรส่วยแม่สอด - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช. - ยิวทำเละเทะในปาย - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล” - ยูเครน END GAME ? - สงครามชิงทรัพยากร #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Like
    Love
    Yay
    Haha
    Angry
    94
    7 Comments 3 Shares 5262 Views 321 6 Reviews
  • ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย)

    สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล

    ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ

    ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย

    ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง

    ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา

    สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น

    เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/
    https://www.sohu.com/a/137977813_674592
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996
    https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114
    https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265
    http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย) สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/ https://www.sohu.com/a/137977813_674592 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996 https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114 https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265 http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 1028 Views 0 Reviews
  • หลิว จงอี้ ล้างบางจีนเทา! : Sondhitalk EP281 VDO
    “หลิว จงอี้” เดินสุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี”
    #sondhi #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง
    หลิว จงอี้ ล้างบางจีนเทา! : Sondhitalk EP281 VDO “หลิว จงอี้” เดินสุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี” #sondhi #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง�
    Like
    Love
    18
    1 Comments 1 Shares 4591 Views 101 2 Reviews
  • Newsstory : หลิว จงอี้ ลุยจีนเทา ทำ1 ได้ถึง2 ทั้งปราบปรามและกดดันรัฐบาลไทย
    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่
    #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #หลิวจงอี้
    Newsstory : หลิว จงอี้ ลุยจีนเทา ทำ1 ได้ถึง2 ทั้งปราบปรามและกดดันรัฐบาลไทย #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #หลิวจงอี้
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 832 Views 12 0 Reviews
  • Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full)

    - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี”
    - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว
    - ทรัมป์ ชน Deep State
    - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป
    - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full) - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี” - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว - ทรัมป์ ชน Deep State - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Like
    Love
    Haha
    108
    10 Comments 3 Shares 5292 Views 383 12 Reviews
  • ภูมิธรรม แถลง 4 ข้อเสนอ หลิว จง อี้ 20/02/68 #ภูมิธรรม #หลิว จง อี้ #แก๊งคอลเซนเตอร์ #จีนเทา
    ภูมิธรรม แถลง 4 ข้อเสนอ หลิว จง อี้ 20/02/68 #ภูมิธรรม #หลิว จง อี้ #แก๊งคอลเซนเตอร์ #จีนเทา
    Like
    Haha
    6
    0 Comments 0 Shares 1355 Views 32 0 Reviews
  • จีนขยับ ไทยถึงเริ่มเขยิบ ถึงเวลาจริงจัง ปราบจีนเทา 20/02/68 #หลิว จงอี #ภูมิธรรม #จีนเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์
    จีนขยับ ไทยถึงเริ่มเขยิบ ถึงเวลาจริงจัง ปราบจีนเทา 20/02/68 #หลิว จงอี #ภูมิธรรม #จีนเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์
    Like
    Love
    5
    0 Comments 0 Shares 1150 Views 27 0 Reviews
  • อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิวจงอี้

    บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ

    คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000016793
    อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิวจงอี้ บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000016793
    MGRONLINE.COM
    อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิว จงอี้
    หลายวันมานี้คนไทยจำนวนไม่น้อยพอใจกับบทบาทของคนจีนที่ชื่อหลิว จงอี้ ซึ่งทางการจีนส่งมาเพื่อทลายขบวนการสแกมเมอร์ที่หลอกลวงคนทั่วโลกในประเทศเมียนมาแนวชายแดนไทย แม้นักวิชาการไทยบางคนจะบอกว่าการปฏิบัติการของหลิว จงอี้ดูเหมือนจะก้าวข้าม
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 460 Views 0 Reviews
  • ‘ภูมิธรรม’ เผย ‘หลิว จงอี้’ ขอโทษคนไทย ทำรู้สึกถูกรุกล้ำอธิปไตย ยืนยันใช้ยาแรง ‘เมียนมา’
    https://www.thai-tai.tv/news/17250/
    ‘ภูมิธรรม’ เผย ‘หลิว จงอี้’ ขอโทษคนไทย ทำรู้สึกถูกรุกล้ำอธิปไตย ยืนยันใช้ยาแรง ‘เมียนมา’ https://www.thai-tai.tv/news/17250/
    0 Comments 0 Shares 279 Views 0 Reviews
  • ภารกิจข้ามชาติ มือปราบ “หลิว จงอี้” บุกแม่สอดและเมียวดี
    .
    หลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีความมั่นคงฯ แห่งจีน นำคณะบินลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ข้ามฝั่งไปเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา เพื่อพบกับ รมว.มหาดไทย เมียนมา พร้อมรับคนจีนกลับประเทศ
    .
    รายงานข่าวแจ้งว่า
    วันที่ 16 ก.พ.2567 หลังรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านกวางตุัง อ.แม่สอด หลิว จงอี้ เตรียมตัวข้ามแดน
    .
    14.00 น. ขบวนรถของหลิว จงอี้ ข้ามสะพานแห่งที่ 1 ไปฝั่งเมียวดี
    .
    ทหารเมียนมา จากกองพล 22 และกองกำลัง BGF มารอต้อนรับ
    พา หลิว จงอี้ ไปโรงแรมกรีนสตาร์ (โรงแรมของ พ.ต.ติ่น วิน ผบ.กรม 2 BGF)
    .
    หลิว จงอี้ เข้าร่วมประชุมกับ รมว.มหาดไทย และ ผบ.ตร.ของเมียนมา
    .
    หลังการประชุมเวลา 15.30 น. หลิวจงอี้ ข้ามกลับมาฝั่งไทย
    ไปดูสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2
    หลิว จงอี้ พักที่แม่สอด
    .
    วันที่ 17 ก.พ. หลิว จงอี้ จะเดินทางไปเมียวดี อีกครั้ง
    จะไปพล พ.อ.ซอ ชิตตู่ และเยี่ยมคนจีน เหยื่อแก๊งคอลฯ ที่เมืองใหม่ชเวก๊กโก่ง
    ............
    Sondhi X
    ภารกิจข้ามชาติ มือปราบ “หลิว จงอี้” บุกแม่สอดและเมียวดี . หลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีความมั่นคงฯ แห่งจีน นำคณะบินลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ข้ามฝั่งไปเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา เพื่อพบกับ รมว.มหาดไทย เมียนมา พร้อมรับคนจีนกลับประเทศ . รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 16 ก.พ.2567 หลังรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านกวางตุัง อ.แม่สอด หลิว จงอี้ เตรียมตัวข้ามแดน . 14.00 น. ขบวนรถของหลิว จงอี้ ข้ามสะพานแห่งที่ 1 ไปฝั่งเมียวดี . ทหารเมียนมา จากกองพล 22 และกองกำลัง BGF มารอต้อนรับ พา หลิว จงอี้ ไปโรงแรมกรีนสตาร์ (โรงแรมของ พ.ต.ติ่น วิน ผบ.กรม 2 BGF) . หลิว จงอี้ เข้าร่วมประชุมกับ รมว.มหาดไทย และ ผบ.ตร.ของเมียนมา . หลังการประชุมเวลา 15.30 น. หลิวจงอี้ ข้ามกลับมาฝั่งไทย ไปดูสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 หลิว จงอี้ พักที่แม่สอด . วันที่ 17 ก.พ. หลิว จงอี้ จะเดินทางไปเมียวดี อีกครั้ง จะไปพล พ.อ.ซอ ชิตตู่ และเยี่ยมคนจีน เหยื่อแก๊งคอลฯ ที่เมืองใหม่ชเวก๊กโก่ง ............ Sondhi X
    Like
    Love
    16
    0 Comments 0 Shares 1798 Views 0 Reviews
  • "หลิว จงอี" มาแม่สอด ไม่เปิดเผยภารกิจ คาดติดตามการส่งตัวชาวจีน
    https://www.thai-tai.tv/news/17155/
    "หลิว จงอี" มาแม่สอด ไม่เปิดเผยภารกิจ คาดติดตามการส่งตัวชาวจีน https://www.thai-tai.tv/news/17155/
    0 Comments 0 Shares 180 Views 0 Reviews
  • 憶江南
    คิดถึงเจียงหนัน
    白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲
    ป๋ายจวีอี้
    ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน
    ทำนอง : หลิวจั๋ว
    แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน

    江南好 風景舊曾諳
    เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ
    日出江花紅勝火 春來江水綠如藍
    จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล
    能不憶江南
    ไม่คิดถึงได้ไย
    最悠閒系舟古渡口
    สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า
    最灑脫騎鶴下揚州
    สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว
    人若問江南何所有
    หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม
    小橋流水船家櫓聲幽幽
    สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา
    江南憶 最憶是杭州
    คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว
    山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭
    วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม
    何日更重遊
    วันใดได้เยือนโฉม
    最得意是畫舫載酒
    สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา
    最傷懷是獨上層樓
    ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย
    你問我為何事勾留
    หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย
    湖光山色微雨一船菱藕
    ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย
    江南憶 其次憶吳宮
    คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋
    吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉
    หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่
    早晚復相逢
    เช้าค่ำพบโฉมตรู
    最流連是秉燭夜遊
    สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี
    最銷魂她眼波含秋
    หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม
    別夢中似風景依舊
    แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม
    花橋水閣月照半城煙柳
    เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย

    https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    憶江南 คิดถึงเจียงหนัน 白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲 ป๋ายจวีอี้ ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน ทำนอง : หลิวจั๋ว แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน 江南好 風景舊曾諳 เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ 日出江花紅勝火 春來江水綠如藍 จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล 能不憶江南 ไม่คิดถึงได้ไย 最悠閒系舟古渡口 สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า 最灑脫騎鶴下揚州 สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว 人若問江南何所有 หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม 小橋流水船家櫓聲幽幽 สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา 江南憶 最憶是杭州 คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว 山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭 วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม 何日更重遊 วันใดได้เยือนโฉม 最得意是畫舫載酒 สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา 最傷懷是獨上層樓 ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย 你問我為何事勾留 หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย 湖光山色微雨一船菱藕 ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย 江南憶 其次憶吳宮 คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋ 吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉 หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่ 早晚復相逢 เช้าค่ำพบโฉมตรู 最流連是秉燭夜遊 สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี 最銷魂她眼波含秋 หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม 別夢中似風景依舊 แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม 花橋水閣月照半城煙柳 เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    0 Comments 0 Shares 490 Views 0 Reviews
  • หลิว จงอี้ มือปราบจีนเทา : Sondhitalk EP279 VDO
    หลิว จงอี้ มือปราบเจ้าหน้าที่ไทย กับกลุ่มอาชญากรฝ่ายจีน
    #sondhi #sondhiapp #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง
    หลิว จงอี้ มือปราบจีนเทา : Sondhitalk EP279 VDO หลิว จงอี้ มือปราบเจ้าหน้าที่ไทย กับกลุ่มอาชญากรฝ่ายจีน #sondhi #sondhiapp #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง�
    Like
    Love
    Haha
    34
    1 Comments 1 Shares 4489 Views 146 1 Reviews
  • ไม่ธรรมดา! “หลิว จงอี้” ผู้เขย่ารัฐบาลไทยหักดิบตัดไฟแก๊งคอลฯ 08/02/68 #หลิว จงอี้ #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #รัฐบาลไทย
    ไม่ธรรมดา! “หลิว จงอี้” ผู้เขย่ารัฐบาลไทยหักดิบตัดไฟแก๊งคอลฯ 08/02/68 #หลิว จงอี้ #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #รัฐบาลไทย
    Like
    Love
    12
    0 Comments 0 Shares 1216 Views 36 0 Reviews
  • Sondhitalk EP 279 : บิ๊กโจ๊ก ขอพบ สนธิ? (Full)

    - บิ๊กโจ๊ก ขอพบ สนธิ?
    - ขุดรากปัญหา “จีนเทา” เจอ “ไทยเทา”
    - USAID “องค์กรอาชญากรรม”
    - DeepSeek เขย่าวงการ AI โลกไม่หยุด

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #บิ๊กโจ๊ก #ผบตร #จีนเทา #ไทยเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ตัดไฟพม่า #หลิวจงอี้ #USAID #องค์กรอาชญากรรม #DeepSeek #AI
    Sondhitalk EP 279 : บิ๊กโจ๊ก ขอพบ สนธิ? (Full) - บิ๊กโจ๊ก ขอพบ สนธิ? - ขุดรากปัญหา “จีนเทา” เจอ “ไทยเทา” - USAID “องค์กรอาชญากรรม” - DeepSeek เขย่าวงการ AI โลกไม่หยุด #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #บิ๊กโจ๊ก #ผบตร #จีนเทา #ไทยเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ตัดไฟพม่า #หลิวจงอี้ #USAID #องค์กรอาชญากรรม #DeepSeek #AI
    Like
    Love
    Yay
    Wow
    Sad
    58
    3 Comments 3 Shares 4695 Views 286 2 Reviews
More Results