วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
ความมีอยู่ว่า
... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
- ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.sohu.com/a/303274788_157925
https://www.sohu.com/a/371364660_118889
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
https://baike.baidu.com/item/上巳节
https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
2 Comments 0 Shares 54 Views 0 Reviews