• ผู้นำยุโรปต่างออกมาขานรับข้อตกลงหยุดยิง 30 วัน และมีโอกาสขยายเวลาออกไปได้อีก หากมีข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย

    เซเลนสกี แสดงความยินดีต่อข้อเสนอหยุดยิง 30 วัน ที่ตกลงกันในที่ประชุมยูเครนและสหรัฐฯเมื่อวานนี้ ที่กินเวลายาวนานกว่า 8 ชั่วโมง โดยจัดขึ้นที่เมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เซเลนสกีไม่ได้เข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประชุมมีข้อสรุปหยุดยิง 30 วัน เซเลนสกีได้กล่าวแสดงยอมรับข้อตกลงนั้น และร่วมแสดงความยินดีต่อการเจรจาที่เป็นไปอย่างราบรื่น

    "ระหว่างการเจรจาในวันนี้ เราสร้างการหยุดยิงเต็มรูปแบบเป็นเวลา 30 วัน ที่ไม่ใช่แค่การหยุดใช้ขีปนาวุธ โดรน และระเบิดทางอากาศ ไม่เพียงแต่ดําเนินการหยุดยิงอย่างสมบูรณ์ตามแนวหน้าทั้งหมด แต่ยังรับรองความปลอดภัยในทะเลดํา ยูเครนยินดีกับข้อเสนอนี้ เรามองว่าเป็นข้อเสนอใน "เชิงบวก" และพร้อมที่จะทําตามขั้นตอนนี้ ฝ่ายอเมริกันเข้าใจข้อโต้แย้งของเราและยอมรับข้อเสนอของเรา ผมอยากจะขอบคุณประธานาธิบดีทรัมป์ สําหรับการสนทนาที่ดีระหว่างทีมของเราทั้งสอง"
    -โวโลดิมีร์ เซเลนสกี-

    หลังการประชุมเสร็จสิ้น สหรัฐแถลงว่าจะยกเลิกการหยุดแบ่งปันข่าวกรองและกลับมาให้ความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ยูเครนอีกครั้งในทันที! นอกจากนี้ สหรัฐฯและยูเครนยังตกลงที่จะสรุปข้อตกลงแร่หายากโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อีกด้วย

    ทางด้าน Antonio Costa ประธานมนตรียุโรป และ เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมแสดงความยินดีต่อข้อตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 30 วันในครั้งนี้ด้วย

    ขณะที่ โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ กล่าวว่ายุโรปพร้อมส่งเสริมให้ทั้งสองพร้อมบรรลุข้อตกลงสันติภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
    ผู้นำยุโรปต่างออกมาขานรับข้อตกลงหยุดยิง 30 วัน และมีโอกาสขยายเวลาออกไปได้อีก หากมีข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย เซเลนสกี แสดงความยินดีต่อข้อเสนอหยุดยิง 30 วัน ที่ตกลงกันในที่ประชุมยูเครนและสหรัฐฯเมื่อวานนี้ ที่กินเวลายาวนานกว่า 8 ชั่วโมง โดยจัดขึ้นที่เมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เซเลนสกีไม่ได้เข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประชุมมีข้อสรุปหยุดยิง 30 วัน เซเลนสกีได้กล่าวแสดงยอมรับข้อตกลงนั้น และร่วมแสดงความยินดีต่อการเจรจาที่เป็นไปอย่างราบรื่น "ระหว่างการเจรจาในวันนี้ เราสร้างการหยุดยิงเต็มรูปแบบเป็นเวลา 30 วัน ที่ไม่ใช่แค่การหยุดใช้ขีปนาวุธ โดรน และระเบิดทางอากาศ ไม่เพียงแต่ดําเนินการหยุดยิงอย่างสมบูรณ์ตามแนวหน้าทั้งหมด แต่ยังรับรองความปลอดภัยในทะเลดํา ยูเครนยินดีกับข้อเสนอนี้ เรามองว่าเป็นข้อเสนอใน "เชิงบวก" และพร้อมที่จะทําตามขั้นตอนนี้ ฝ่ายอเมริกันเข้าใจข้อโต้แย้งของเราและยอมรับข้อเสนอของเรา ผมอยากจะขอบคุณประธานาธิบดีทรัมป์ สําหรับการสนทนาที่ดีระหว่างทีมของเราทั้งสอง" -โวโลดิมีร์ เซเลนสกี- หลังการประชุมเสร็จสิ้น สหรัฐแถลงว่าจะยกเลิกการหยุดแบ่งปันข่าวกรองและกลับมาให้ความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ยูเครนอีกครั้งในทันที! นอกจากนี้ สหรัฐฯและยูเครนยังตกลงที่จะสรุปข้อตกลงแร่หายากโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อีกด้วย ทางด้าน Antonio Costa ประธานมนตรียุโรป และ เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมแสดงความยินดีต่อข้อตกลงหยุดยิงเป็นเวลา 30 วันในครั้งนี้ด้วย ขณะที่ โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ กล่าวว่ายุโรปพร้อมส่งเสริมให้ทั้งสองพร้อมบรรลุข้อตกลงสันติภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
    0 Comments 0 Shares 333 Views 0 Reviews
  • ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป
    .
    "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ
    .
    ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่
    .
    การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน
    .
    กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์
    .
    "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ
    .
    "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง
    .
    ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ
    .
    ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ
    .
    ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.)
    .
    ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ
    .
    สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้
    .
    บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
    .
    ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม
    .
    ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860
    ..............
    Sondhi X
    ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามกับรัสเซีย "ยังอยู่ห่างไกลมากๆ" ได้เรียกปฏิกิริยาตอบโตอย่างดุเดือดมาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมประนีประนอมใดๆ ทั้งที่เจ้าตัวยังคาดหวังได้รับแรงสนับสนุนจากอเมริกาต่อไป . "อเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ ก่อนกล่าวหา เซเลนสกี ว่าไม่ต้องการสันติภาพ . ที่ประชุมซัมมิตของบรรดาผู้นำยุโรปส่วนใหญ่ในกรุงลอนดอน เมื่อวันอาทิตย์ (2 มี.ค.) เห็นพ้องในแผน 4 ข้อ สำหรับรับประกันการป้องกันตนเองของยูเครน ในกรณีที่มีข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ บอกว่า "บางทีมันอาจไม่ใช่การป่าวประกาศที่ดีนัก ในแง่ของการพยายามโชว์ความเข้มแข็งให้รัสเซียเห็น พวกเขากำลังคิดอะไรกันอยู่?" ทรัมป์บอก ดูเหมือนเป็นการพาดพิงที่ประชุมซัมมิตที่จัดขึ้น 2 วันหลังจากเขาเปิดศึกวิวาทะกับเซเลนสกี ในห้องทำงานรูปไข่ . การประชุมนี้ ซึ่งมี เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพ มีเจตนาเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครน และพยายามลดความเห็นต่างในหมู่ประเทศตะวันตกเกี่ยวกับยูเครน ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บอกว่าพวกเขากำลังทำงานหาทางออกที่นำโดยยุโรปต่อวิกฤตความขัดแย้งในยูเครน . กระนั้นหลังการประชุม เซเลนสกี บอกว่าข้อตกลงยุติสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย "ยังคงห่างไกลมากๆ" แต่ระบุเขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนยูเครน แม้เขามีความสัมพันธ์มึนตึงกับทรัมป์ . "ผมเชื่อว่ายูเครนมีความเป็นมิตรที่เข้มแข็งเพียงพอกับสหรัฐอเมริกา" เซเลนสกี บอกในวันอาทิตย์ (2 ก.พ.) แต่ในจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำว่าจากมุมมองของเขา เซเลนสกีกำลังยืนขวางทางการเจรจาสันติภาพ . "มันเป็นถ้อยแถลงที่เลวร้ายที่สุดของเซเลนสกี และอเมริกาจะไม่ทนอีกต่อไป นั่นคือสิ่งที่ผมกำลังพูด ชายคนนี้ไม่ต้องการสันติภาพ ตราบใดที่เขามีสหรัฐฯ สนับสนุน" ทรัมป์เขียนบนทรัตช์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง . ระหว่างแถลงข่าวในเวลาต่อมาในวันจันทร์ (3 ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำมุมมองของเขาที่ว่า เซเลนสกี "ควรสำนึกบุญคุณมากกว่านี้" สำหรับความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ ในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบ . ระหว่างเผชิญหน้ากันต่อหน้ากล้องในห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ทั้ง ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่างขุ่นเคืองในสิ่งที่พวกเขามองว่า เซเลนสกี ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ . ศึกวิวาทะดังกล่าว นั่นหมายความว่าไม่มีการลงนามในข้อตกลงหนึ่งซึ่งจะเปิดทางให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรแร่หายากของยูเครน อย่างไรก็ตาม ระหว่างการแถลงข่าวในวันจันทร์ (3 มี.ค.) ทรัมป์ ไม่เชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวปิดตายแล้ว และบอกว่าเขาจะให้ข้อมูลอัปเดตอีกครั้ง เกี่ยวกับข้อตกลงนี้ในช่วงเย็นวันอังคาร (4 มี.ค.) . ตามหลังการประชุมซัมมิตในลอนดอน ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส บ่งชี้ว่า "พันธมิตรยุโรปมีความตั้งใจปกป้องยูเครน" แต่กลับไม่ให้รายละเอียดใดๆ . สตาร์เมอร์บอกว่าแนวคิดส่งกำลังพลเข้าไปยังยูเครน ซึ่งรวมถึงทหารราบในภาคพื้นและเครื่องบินบนอากาศ ได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่เขาพูดอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้แต่ละชาติไปพูดคุยหารือเป็นการภายในในประเด็นนี้ . บรรดาชาติแถบสแกนดิเนเวีย ส่งสัญญาณว่าเขาสนับสนุนความคิดนี้ แต่มีเงื่อนไขว่ามันต้องได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ . ความเคลื่อนไหวของยุโรป มีขึ้นตามหลังการกลับลำนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ เขาบอกว่าเขาต้องการยุติสงครามและได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์ยืดยาวกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และมีการเปิดโต๊ะเจรจากับมอสโก ที่กันไม่ให้ยูเครนเข้าร่วม . ทรัมป์ ก่อความกังวลแก่บรรดาพันธมิตรตะวันตก ด้วยการบอกว่าเขาไว้ใจปูติน และกล่าวหา เซเลนสกี เป็นเผด็จการและถึงขั้นชี้ว่ายูเครนเป็นคนเริ่มสงคราม ไม่ใช่รัสเซีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020860 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    4
    0 Comments 0 Shares 1483 Views 0 Reviews
  • เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในวันเสาร์(1มี.ค.) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี อย่างอบอุ่นในกรุงลอนดอน หนึ่งวันหลังจากผู้นำยูเครน กระทบกระทั่งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ สตาร์เมอร์ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆของยุโรป แสดงจุดยืนสนับสนุนเคียฟในประเด็นพิพาทดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ย้ำข้อเรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ปกป้องยุโรป หลังมีแนวโน้มว่าอเมริกากำลังตีตัวออกห่าง
    .
    ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในวันอาทิตย์(2 มี.ค.) ในกรุงลอนดอน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนยูเครน ในขณะที่เคียฟกำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของยูเครน ทาง สตาร์เมอร์ เน้นย้ำจุดยืนของเขาต่อการหนุนหลังเคียฟ "ในความเป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตรของเรา เราต้องเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นสำหรับองค์ประกอบของยุโรปสำหรับการรับประกันความมั่นคง เช่นเดียวกับเดินหน้าหารือกับสหรัฐฯ"
    .
    สตาร์เมอร์ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ในช่วงค่ำวันเสาร์(1มี.ค.) ต่อมา "ตอนนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน ปกป้องความมั่นคงยุโรป และรับประกันอนาคตร่วมของเรา"
    .
    ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ยูเครนและสหราชอาณาจักร เปิดตัวข้อตกลงกู้ยืม 2,260 ล้านปอนด์(ราว 2,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสนับสนุนแสนยานุภาพป้องกันตนเองของยูเครน ซึ่งจะเป็นการจ่ายคืนด้วยรายได้จากทรัพย์สินของรัสเซียที่อายัดไว้ "เงินทุนนี้จะมุ่งตรงเข้าสู่การผลิตอาวุธในยูเครน" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "นี่คือความยุติธรรมอย่างแท้จริง ใครที่เป็นคนเริ่มสงคราม ต้องเป็นคนจ่าย"
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนพากันตะโกนเชียร์ ตอนที่ขบวนรถของเซเลนสกีเคลื่อนมาถึงบ้านพักนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักบนถนนดาวนิง เขาได้รับโอบกอดจาก สตาร์เมอร์ และทั้งคู่โพสท่าถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเข้าไปยังทำเนียบของผู้นำสหราชอาณาจักร
    .
    "คุณเป็นที่ต้อนรับอย่างมาก ที่นี่ในทำเนียบฯ บนถนนดาวนิง" สตาร์เมอร์บอกกับเซเลนสกี ขณะที่ เซเลนสกี ตอบกลับว่า "ผมอยากขอบคุณ คุณ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร สำหรับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสงคราม"
    .
    สตาร์เมอร์ และ เซเลนสกี ใช้เวลาพูดคุยกับแบบเป็นส่วนตัว เป็นเวลาราวๆ 75 นาที ก่อนโอบกอดกันอีกรอบ ตอนที่ สตาร์เมอร์ เดินทางมาส่ง เซเลนสกี ขึ้นรถ ทั้งนี้ผู้นำยูเครนมีกำหนดเข้าเฝ้าฯกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันอาทิตย์(2มี.ค.)
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์(1มี.ค.) เซเลนสกี เน้นย้ำว่าแรงสนับสนุนของทรัมป์ ยังคง "มีความสำคัญยิ่ง" สำหรับยูเครน แม้โต้เถียงกันหนึ่งวันก่อนหน้า เหตุกระทบกระทั่งดังกล่าวได้ก่อคลื่นความช็อกแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปของเคียฟ และยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัวต่อท่าทีใหม่ของสหรัฐฯ ที่มีกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    สตาร์เมอร์, โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ และ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำหลายชาติ ที่เน้นย้ำจุดยืนสนับสนุนเคียฟ หลังเหตุเซเลนสกีทะเลาะทรัมป์ ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เผยว่าเขาได้บอกกับ เซเลนกี ว่าจำเป็นต้องหาทางคืนสัมพันธ์อันดีกับผู้นำสหรัฐฯ
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของพวกนักการเมืองรัสเซียพากันยินดีปรีดา ในนั้นรวมถึง ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดี ที่บอกว่ามันคือสิ่งที่ผู้นำยูเครน "สมควรได้รับ"
    .
    แม้ เซเลนสกี ออกจากทำเนียบขาวโดยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน แต่เขายืนยันว่าพร้อมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว หากมันเป็นก้าวย่างแรกที่มุ่งหน้าสู่การรับประกันความมั่นคง "มันสำคัญยิ่งสำหรับเรา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรัมป์ เขาต้องการยุติสงคราม แต่ไม่มีใครต้องการสันติภาพไปมากกว่าเรา" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์
    .
    ท่ามกลางความกังวลที่มีมากขึ้นกว่า สหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนนาโตต่อไปหรือไม่ บรรดาผู้นำยุโรปมีกำหนดพบปะหารือกันในสหราชอาณาจักรในวันอาทิตย์(2มี.ค.) ซึ่งจะมีการถกกันเกี่ยวกับความจำเป็นของยุโรป ในการยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันตนเอง
    .
    ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าเขาพร้อม "เปิดกว้างสำหรับการหารือ" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของยุโรป "เรามีโล่ แต่พวกเขาไม่มี" มาครง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น "และพวกเขาไม่อาจพึ่งพิงการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯได้อีกต่อไป"
    .
    ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นเพียง 2 ชาติยุโรปตะวันตก ที่มีคลังแสงนิวเคลียร์
    .
    ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า มีความจำเป็นที่ทวีปแห่งนี้ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในการบรรลุเป้าหมายเป็นเอกราชจากสหรัฐฯ ในด้านการป้องกันตนเอง
    .
    อย่างไรก็ตาม วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี สมาชิกสหภาพยุโรป พันธมิตรใกล้ชิดกับทรัมป์และวังเครมลิน ประกาศคัดค้านข้อตกลงอย่างกว้างๆใดๆของอียู เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ "ผมเชื่อว่าอียู ควรทำตามอย่างสหรัฐฯ ในการเข้าสู่การเจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในข้อตกลงหยุดยิงและสันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020226
    ..................
    Sondhi X
    เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ในวันเสาร์(1มี.ค.) ให้การต้อนรับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี อย่างอบอุ่นในกรุงลอนดอน หนึ่งวันหลังจากผู้นำยูเครน กระทบกระทั่งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ สตาร์เมอร์ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆของยุโรป แสดงจุดยืนสนับสนุนเคียฟในประเด็นพิพาทดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ย้ำข้อเรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ปกป้องยุโรป หลังมีแนวโน้มว่าอเมริกากำลังตีตัวออกห่าง . ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตในวันอาทิตย์(2 มี.ค.) ในกรุงลอนดอน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสนับสนุนยูเครน ในขณะที่เคียฟกำลังต่อสู้ป้องปรามการรุกรานของยูเครน ทาง สตาร์เมอร์ เน้นย้ำจุดยืนของเขาต่อการหนุนหลังเคียฟ "ในความเป็นหุ้นส่วนกับพันธมิตรของเรา เราต้องเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นสำหรับองค์ประกอบของยุโรปสำหรับการรับประกันความมั่นคง เช่นเดียวกับเดินหน้าหารือกับสหรัฐฯ" . สตาร์เมอร์ ระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ในช่วงค่ำวันเสาร์(1มี.ค.) ต่อมา "ตอนนี้มันเป็นเวลาที่เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน ปกป้องความมั่นคงยุโรป และรับประกันอนาคตร่วมของเรา" . ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ยูเครนและสหราชอาณาจักร เปิดตัวข้อตกลงกู้ยืม 2,260 ล้านปอนด์(ราว 2,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับสนับสนุนแสนยานุภาพป้องกันตนเองของยูเครน ซึ่งจะเป็นการจ่ายคืนด้วยรายได้จากทรัพย์สินของรัสเซียที่อายัดไว้ "เงินทุนนี้จะมุ่งตรงเข้าสู่การผลิตอาวุธในยูเครน" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ "นี่คือความยุติธรรมอย่างแท้จริง ใครที่เป็นคนเริ่มสงคราม ต้องเป็นคนจ่าย" . บรรดาผู้สนับสนุนพากันตะโกนเชียร์ ตอนที่ขบวนรถของเซเลนสกีเคลื่อนมาถึงบ้านพักนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักบนถนนดาวนิง เขาได้รับโอบกอดจาก สตาร์เมอร์ และทั้งคู่โพสท่าถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเข้าไปยังทำเนียบของผู้นำสหราชอาณาจักร . "คุณเป็นที่ต้อนรับอย่างมาก ที่นี่ในทำเนียบฯ บนถนนดาวนิง" สตาร์เมอร์บอกกับเซเลนสกี ขณะที่ เซเลนสกี ตอบกลับว่า "ผมอยากขอบคุณ คุณ ประชาชนชาวสหราชอาณาจักร สำหรับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสงคราม" . สตาร์เมอร์ และ เซเลนสกี ใช้เวลาพูดคุยกับแบบเป็นส่วนตัว เป็นเวลาราวๆ 75 นาที ก่อนโอบกอดกันอีกรอบ ตอนที่ สตาร์เมอร์ เดินทางมาส่ง เซเลนสกี ขึ้นรถ ทั้งนี้ผู้นำยูเครนมีกำหนดเข้าเฝ้าฯกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันอาทิตย์(2มี.ค.) . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์(1มี.ค.) เซเลนสกี เน้นย้ำว่าแรงสนับสนุนของทรัมป์ ยังคง "มีความสำคัญยิ่ง" สำหรับยูเครน แม้โต้เถียงกันหนึ่งวันก่อนหน้า เหตุกระทบกระทั่งดังกล่าวได้ก่อคลื่นความช็อกแก่บรรดาพันธมิตรยุโรปของเคียฟ และยังคงอยู่ระหว่างการปรับตัวต่อท่าทีใหม่ของสหรัฐฯ ที่มีกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน . สตาร์เมอร์, โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ และ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในผู้นำหลายชาติ ที่เน้นย้ำจุดยืนสนับสนุนเคียฟ หลังเหตุเซเลนสกีทะเลาะทรัมป์ ส่วน มาร์ค รุตต์ เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี เผยว่าเขาได้บอกกับ เซเลนกี ว่าจำเป็นต้องหาทางคืนสัมพันธ์อันดีกับผู้นำสหรัฐฯ . อย่างไรก็ตามในส่วนของพวกนักการเมืองรัสเซียพากันยินดีปรีดา ในนั้นรวมถึง ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดี ที่บอกว่ามันคือสิ่งที่ผู้นำยูเครน "สมควรได้รับ" . แม้ เซเลนสกี ออกจากทำเนียบขาวโดยไม่ได้ลงนามในข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับแร่หายากของยูเครน แต่เขายืนยันว่าพร้อมลงนามในข้อตกลงดังกล่าว หากมันเป็นก้าวย่างแรกที่มุ่งหน้าสู่การรับประกันความมั่นคง "มันสำคัญยิ่งสำหรับเรา ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีทรัมป์ เขาต้องการยุติสงคราม แต่ไม่มีใครต้องการสันติภาพไปมากกว่าเรา" เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ . ท่ามกลางความกังวลที่มีมากขึ้นกว่า สหรัฐฯ จะยังคงให้การสนับสนุนนาโตต่อไปหรือไม่ บรรดาผู้นำยุโรปมีกำหนดพบปะหารือกันในสหราชอาณาจักรในวันอาทิตย์(2มี.ค.) ซึ่งจะมีการถกกันเกี่ยวกับความจำเป็นของยุโรป ในการยกระดับความร่วมมือด้านการป้องกันตนเอง . ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส บอกว่าเขาพร้อม "เปิดกว้างสำหรับการหารือ" เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของยุโรป "เรามีโล่ แต่พวกเขาไม่มี" มาครง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่น "และพวกเขาไม่อาจพึ่งพิงการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของสหรัฐฯได้อีกต่อไป" . ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร เป็นเพียง 2 ชาติยุโรปตะวันตก ที่มีคลังแสงนิวเคลียร์ . ฟรีดริช แมร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนถัดไปของเยอรมนี ก็เน้นย้ำเช่นกันว่า มีความจำเป็นที่ทวีปแห่งนี้ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในการบรรลุเป้าหมายเป็นเอกราชจากสหรัฐฯ ในด้านการป้องกันตนเอง . อย่างไรก็ตาม วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี สมาชิกสหภาพยุโรป พันธมิตรใกล้ชิดกับทรัมป์และวังเครมลิน ประกาศคัดค้านข้อตกลงอย่างกว้างๆใดๆของอียู เกี่ยวกับความขัดแย้งนี้ "ผมเชื่อว่าอียู ควรทำตามอย่างสหรัฐฯ ในการเข้าสู่การเจรจาโดยตรงกับรัสเซีย ในข้อตกลงหยุดยิงและสันติภาพที่ยั่งยืนในยูเครน" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000020226 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    22
    1 Comments 1 Shares 1549 Views 0 Reviews
  • ความล้มเหลวข้อตกลงแร่ธาตุที่ทุกฝ่ายต่างต้องการ ยกเว้น "รูบิโอ" รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ

    - เซเลนสกี:
    การแสดงออกของเซเลนสกีด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวต่อหน้าสื่อมวลชน ในการเรียกร้องข้อเสนอเพิ่มเติมให้มีกองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐฯ เข้ามาในยูเครน ทั้งที่เซเลนสกี้รู้ดีว่าทรัมป์จะไม่เห็นด้วย บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเขาไม่มีความคิดจะลงนามข้อตกลงแร่ธาตุ นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวของสื่อในยูเครนถึงความไม่เป็นเอกภาพภายในรัฐบาลเซเลนสกี ที่หลายฝ่ายยังมีความเห็นไปคนละทาง สิ่งนี้บ่งบอกได้ว่า เซเลนสกีเดินทางมาสหรัฐด้วยตัวของเขาเอง โดยที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ชมีกัล

    จากวิดีโอ เซเลนสกีกล่าวไว้าชัดเจนว่า “ผมไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของเราที่มีต่อชาวรัสเซียได้ พวกเขาเป็นฆาตกร ปูตินและชาวรัสเซียคือศัตรูของเรา” คำพูดของเซเลนสกี บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า เขาไม่มีความคิดจะลงนามในข้อตกลงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อปี 2022 ช่วงเริ่มต้นสงคราม หรือแม้แต่ข้อตกลงมินสก์ ซึ่งภายหลังปูตินถึงกับบอกว่ารัสเซียถูกหลอกให้ลงนาม

    - "รูบิโอ" รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ:
    โดยปกติแล้ว ในการลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญระดับนี้ จะต้องได้รับการจัดการและตรวจสอบจนมั่นใจได้ว่ายินยอมพร้อมลงนามกันทั้งสองฝ่าย โดยที่ไม่มีอะไรผิดพลาด ก่อนที่จะมีการจัดการนัดประชุมของผู้นำประเทศเพื่อลงนามต่อไป

    แต่ครั้งนี้ นับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ "มาร์โก รูบิโอ" ที่ตกเป็นเครื่องมือของเซเลนสกี ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อสามวันก่อนมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับยูเครนใกล้จะตกลงเรื่องแร่ธาตุหายากได้แล้ว ขณะเดียวกันก็มีข่าวออกมาว่าเซเลนสกีจะมาเยือนทำเนียบขาว เพื่อเซ็นสัญญา ซึ่งรูบิโอ เป็นผู้ให้ข้อมูลนี้เอง

    จะเห็นว่าหลังจากการเจรจาล้มเหลว ไม่มีการลงนามใดๆเกิดขึ้น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เป็นหน่วยงานแรกที่มีประกาศยุติการสนับสนุนโครงการฟื้นฟูโครงข่ายพลังงานของยูเครน ที่ออกมาสนองตอบต่อการกระทำของเซเลนสกี

    - เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ:
    ขณะเดียวกัน ทางฝั่งเจดี แวนซ์ รองปธน.สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่ตอบโต้เซเลนสกี จนนำไปสู่วิวาทะเดือด โดยปกติแล้ว ในระหว่างการประชุมทางการทูตต่อหน้าสื่อมวลชนแบบนี้ รองประธานาธิบดีมักจะไม่บทบาทในการพูดมากมายนัก เว้นแต่ว่าจะมีการนัดแนะกันไว้ก่อนแล้ว ซึ่งในครั้งนี้มันช่างตรงกับข้อสังเกตนี้อย่างมาก เพราะในสถานการณ์ช่วงเวลานั้น แวนซ์ ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรก็ได้

    - โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ:
    แต่เรื่องมันมีอยู่ว่า แร่ธาตุหายากไม่ใช่ว่าใครจะขุดกันได้ง่ายๆ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมการขุดแร่ที่แข็งแกร่ง หรือมีประสบการณ์สูง

    เนื่องจากว่านี่คือแร่หายาก ไม่ใช่ทุกประเทศจะมี และถึงแม้ว่าจะมีแร่ แต่ก็มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เทคโนโลยีอยู่ในระดับที่สามารถขุดออกมาแปรรูปเป็นสินค้าและคุ้มค่าในการลงทุน

    สหรัฐทำไม่ได้แน่นอน ซึ่งรวมทั้งยูเครนด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจของยูเครนยังไม่พร้อมกับเทคโนโลยีในการขุดแร่เหล่านั้น

    ทรัมป์รู้ดีถึงข้อเสียเปรียบตรงนี้ และนี่เป็นที่มาของเจดี แวนซ์ ในการยั่วยุเซเลนสกี

    - เมื่อเซเลนสกีเองก็ไม่ได้อยากลงนามในข้อตกลง ทรัมป์ก็ไม่อยากลงนามเช่นกัน คนที่อยากจะสร้างผลงาน มีคนเดียวคือ "รูบิโอ" ต้องกลายเป็นหมากของทั้งสองฝ่ายไปอย่างไม่เต็มใจนัก
    ความล้มเหลวข้อตกลงแร่ธาตุที่ทุกฝ่ายต่างต้องการ ยกเว้น "รูบิโอ" รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ - เซเลนสกี: การแสดงออกของเซเลนสกีด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวต่อหน้าสื่อมวลชน ในการเรียกร้องข้อเสนอเพิ่มเติมให้มีกองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐฯ เข้ามาในยูเครน ทั้งที่เซเลนสกี้รู้ดีว่าทรัมป์จะไม่เห็นด้วย บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเขาไม่มีความคิดจะลงนามข้อตกลงแร่ธาตุ นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวของสื่อในยูเครนถึงความไม่เป็นเอกภาพภายในรัฐบาลเซเลนสกี ที่หลายฝ่ายยังมีความเห็นไปคนละทาง สิ่งนี้บ่งบอกได้ว่า เซเลนสกีเดินทางมาสหรัฐด้วยตัวของเขาเอง โดยที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ชมีกัล จากวิดีโอ เซเลนสกีกล่าวไว้าชัดเจนว่า “ผมไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของเราที่มีต่อชาวรัสเซียได้ พวกเขาเป็นฆาตกร ปูตินและชาวรัสเซียคือศัตรูของเรา” คำพูดของเซเลนสกี บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า เขาไม่มีความคิดจะลงนามในข้อตกลงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อปี 2022 ช่วงเริ่มต้นสงคราม หรือแม้แต่ข้อตกลงมินสก์ ซึ่งภายหลังปูตินถึงกับบอกว่ารัสเซียถูกหลอกให้ลงนาม - "รูบิโอ" รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ: โดยปกติแล้ว ในการลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญระดับนี้ จะต้องได้รับการจัดการและตรวจสอบจนมั่นใจได้ว่ายินยอมพร้อมลงนามกันทั้งสองฝ่าย โดยที่ไม่มีอะไรผิดพลาด ก่อนที่จะมีการจัดการนัดประชุมของผู้นำประเทศเพื่อลงนามต่อไป แต่ครั้งนี้ นับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ "มาร์โก รูบิโอ" ที่ตกเป็นเครื่องมือของเซเลนสกี ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อสามวันก่อนมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับยูเครนใกล้จะตกลงเรื่องแร่ธาตุหายากได้แล้ว ขณะเดียวกันก็มีข่าวออกมาว่าเซเลนสกีจะมาเยือนทำเนียบขาว เพื่อเซ็นสัญญา ซึ่งรูบิโอ เป็นผู้ให้ข้อมูลนี้เอง จะเห็นว่าหลังจากการเจรจาล้มเหลว ไม่มีการลงนามใดๆเกิดขึ้น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เป็นหน่วยงานแรกที่มีประกาศยุติการสนับสนุนโครงการฟื้นฟูโครงข่ายพลังงานของยูเครน ที่ออกมาสนองตอบต่อการกระทำของเซเลนสกี - เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ: ขณะเดียวกัน ทางฝั่งเจดี แวนซ์ รองปธน.สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่ตอบโต้เซเลนสกี จนนำไปสู่วิวาทะเดือด โดยปกติแล้ว ในระหว่างการประชุมทางการทูตต่อหน้าสื่อมวลชนแบบนี้ รองประธานาธิบดีมักจะไม่บทบาทในการพูดมากมายนัก เว้นแต่ว่าจะมีการนัดแนะกันไว้ก่อนแล้ว ซึ่งในครั้งนี้มันช่างตรงกับข้อสังเกตนี้อย่างมาก เพราะในสถานการณ์ช่วงเวลานั้น แวนซ์ ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรก็ได้ - โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ: แต่เรื่องมันมีอยู่ว่า แร่ธาตุหายากไม่ใช่ว่าใครจะขุดกันได้ง่ายๆ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมการขุดแร่ที่แข็งแกร่ง หรือมีประสบการณ์สูง เนื่องจากว่านี่คือแร่หายาก ไม่ใช่ทุกประเทศจะมี และถึงแม้ว่าจะมีแร่ แต่ก็มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เทคโนโลยีอยู่ในระดับที่สามารถขุดออกมาแปรรูปเป็นสินค้าและคุ้มค่าในการลงทุน สหรัฐทำไม่ได้แน่นอน ซึ่งรวมทั้งยูเครนด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจของยูเครนยังไม่พร้อมกับเทคโนโลยีในการขุดแร่เหล่านั้น ทรัมป์รู้ดีถึงข้อเสียเปรียบตรงนี้ และนี่เป็นที่มาของเจดี แวนซ์ ในการยั่วยุเซเลนสกี - เมื่อเซเลนสกีเองก็ไม่ได้อยากลงนามในข้อตกลง ทรัมป์ก็ไม่อยากลงนามเช่นกัน คนที่อยากจะสร้างผลงาน มีคนเดียวคือ "รูบิโอ" ต้องกลายเป็นหมากของทั้งสองฝ่ายไปอย่างไม่เต็มใจนัก
    0 Comments 0 Shares 359 Views 0 Reviews
  • 1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก

    ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

    ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน

    1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย

    2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ)

    4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้

    5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

    6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่

    1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว

    2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ

    3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

    4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ

    5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ

    6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง

    ที่มา ไทยโพสต์
    1 มี.ค.2568 - กรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ไล่ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ออกจากทำเนียบขาว หลังจากโต้เถียงกัน ส่อแววล้มข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งข้อตกลงการเข้าถึงแร่หายาก ล่าสุด รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถอดบทเรียนยูเครน: เมื่อผู้นำไม่ได้รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ภาพความอัปยศอดสูที่ผู้นำยูเครน Zelenskyy ถูกเชิญไปรุมกินโต๊ะโดย ประธานาธิบดี Trump และรองประธานาธิบดี Vance รวมทั้งการเจรจาที่ชะงักงันและไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต้องประชาชนยูเครนที่สูญเสียทั้งชีวิต ดินแดน ทรัพยากร และที่สำคัญที่สุดคือ อนาคต ทำให้เราต้องมาถอดบทเรียน 1. ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศยูเครนมิได้เป็นตัวของตัวเองเนื่องจากถูกแทรกแซงผ่านกระบวนการการสงครามผสมผสาน (Hybrid Warfare) มาอย่างต่อเนื่อง ปั่นหัวให้ประชาชนยูเครนลุกฮือขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง 1) Orange Revolution 2004/2005 2) Euro Maidan 2014 และ 3) การลงประชามติของประชาชนในคาบสมุทร Crimea เพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและในที่สุดขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทั้งหมดไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ หากแต่ทั้งหมดเป็นเกมส์ของมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็นฝ่ายยุโรป+สหรัฐ หรือฝ่ายรัสเซีย 2. ผู้นำของยูเครน ไม่ว่าจะเป็น Leonid Kuchma (1995-2005 โปรรัสเซีย), Viktor Yushchenko (2005-2010 โปร NATO), Viktor Yanukovych (2010-2014 โปรรัสเซีย), Petro Poroshenko (2014-2019) และ Volodymyr Zelenskyy (2019- ปัจจุบัน) แน่นอนว่า 2 คนสุดท้ายโปร NATO อย่างยิ่งยวด ล้วนทำให้เราเห็นว่าผู้นำที่เลือกข้าง ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ล้วนแล้วแต่ทำให้ตลอดมา แทนที่พวกเขาจะรักษาผลประโยชน์ของยูเครนเป็นหลัก พวกเขากลับต้องเอาอกเอาใจมหาอำนาจภายนอก และดึงยูเครนเข้าสู่ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 3. ผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) ความมั่นคงทางในมิติอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความมั่นคงแบบ Non-Traditional Security ที่เน้นความมั่นคงของมนุษย์ 2) ความมั่งคั่งที่หมายถึงเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ มีการเจริญเติบโต และมีการจัดสรรที่เป็นธรรม 3) การขยายพลังอำนาจของชาติในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การทหาร และ สุดท้ายที่อาจจะสำคัญที่สุด นั่นคือ 4) ความภาคภูมิใจของชาติ (บางพื้นที่ บางชนชาติ อาจจะไม่ได้รับรองเป็นประเทศ อาจจะไม่มีแผ่นดิน แต่พวกเขาก็ยังคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง ลองนึกถึง ชาวปาเลสไตน์ ชาวไต้หวัน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ) 4. แต่เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่ได้รับการรักษาผลประโยชน์ เพราะผู้นำต้องเลือกข้างรับใช้มหาอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือกว่า เมื่อประชาชนถูกปลุกปั่นแทรกแซงให้เลือกข้าง ให้แตกแยก ในที่สุด อย่างกรณีของยูเครน ความมั่นคงก็กำลังสูญเสียดินแดน ซึ่งคงไม่สามารถกลับไปมีดินแดนเหมือนก่อนปี 2014 ได้ ในเรื่องความมั่งคั่ง คงไม่ต้องพูดถึง เพราะมหาอำนาจที่เคยสนับสนุนนั่นเองที่ตอนนี้กำลังจะกลับมาของสูบเลือด สูบทรัพยากร มิพักต้องพูดถึงพลังอำนาจในมิติต่างๆ ที่วันนี้ประชาชนยูเครนก็อ่อนแรง หมดกำลังใจ และในที่สุดผู้นำก็ถูกเรียกมาโดนรุมแบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ 5. คำถามคือ สำหรับประเทศไทย เราต้องช่วยกันระวังอย่างยิ่งยวด อย่าให้มีใครมาแทรกแซง ปลุกปั่น ต้องคอยเฝ้าระวังให้ผู้นำรักษาผลประโยชน์ของชาติ อย่าให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง ผลประโยชน์ของชาติ กับผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์ของครอบครัว และผลประโยชน์ทางธุรกิจ 6. นาทีนี้เราต้องการทีมประเทศไทยที่ประกอบขึ้นจาก 6 เสาหลักที่ทำงานสอดประสานกัน อันได้แก่ 1. ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ ไม่สับสนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศกับผลประโยชน์ของครอบครัวหรือของธุรกิจครอบครัว 2. ผู้ตัดสินใจทางนโยบายในระดับสูงที่มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบการตัดสินใจ 3. เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ซื่อสัตย์ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 4. นักวิชาการที่ทำงานหนักแบบสหสาขาวิชา ให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้จริง และกล้าเปลืองตัวที่จะชี้นำสังคมผ่านการบริการวิชาการ 5. ภาคเอกชน (แน่นอนที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ) และภาคประชาสังคม (ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชน) ที่ต้องการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลสนับสนุนช่วยการตัดสินใจ 6. สื่อสารมวลชนที่เข้มแข็ง กล้าหาญที่จะตรวจสอบ และนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ถูกบิดเบือนแทรกแซง ที่มา ไทยโพสต์
    Like
    Love
    2
    1 Comments 0 Shares 658 Views 0 Reviews
  • สงครามที่อยู่บนผลประโยชน์

    สหรัฐและยุโรปภายใต้การนำของไบเดน ยุยงให้ยูเครนที่นำโดยเซเลนสกีเข้านาโต้ เพื่อยั่วยุรัสเซียก่อสงคราม เป้าหมายคือการฉุดรั้งระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทหารของรัสเซียที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วเกินไป

    แต่กลายเป็นว่า ทั้งสหรัฐและยุโรปต่างก็ติดหล่มสงครามจนถอนตัวไม่ขึ้น เศรษฐกิจเสียหาย ต้องส่งทั้งเงินและอาวุธเพื่อช่วยเหลือยูเครนตลอด ซึ่งเกิดจากความประมาท คิดว่ารัสเซียอ่อนแอ

    มาถึงยุคของทรัมป์ก้าวขึ้นสู่อำนาจ มองเห็นแล้วว่าขืนสหรัฐดำเนินนโยบายแบบนี้ต่อไป ฝ่ายที่พังคือสหรัฐเอง ทรัมป์เลยต้องการเจรจาสงบศึก ซึ่งคุยกับปูตินไปบ้างแล้ว ทางนั้นตอบรับพร้อมเจรจา ขณะเดียวกันทรัมป์เองก็ต้องการทวงเงินที่ช่วยเหลือยูเครนคืน ซึ่งทรัมป์ตีตัวเลขกลมๆที่ 350,000 ล้านดอลลาร์ โดยผ่านการแบ่งผลประโยชน์แร่หายาก 50\50 กับยูเครน

    "เหตุการณ์โต้เถียงในทำเนียบขาว อาจจะเป็นแผนของเซเลนสกีที่ไม่อยากลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐก็อาจเป็นได้"

    เนื่องจากที่ผ่านมาเซเลนสกี้ไม่มีท่าทียอมเงื่อนไขของตนเองที่ยื่นให้ทรัมป์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สหรัฐยอมรับไม่ได้ นั่นคือรับประกันความปลอดภัยให้ยูเครน และเปิดทางให้ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ จากแหล่งข่าว สาเหตุที่เซเลนสกีเรียกร้องมากมายขนาดนี้ เนื่องจากเขาแอบยกแร่ธาตุของยูเครนไปให้อังกฤษแล้ว ตั้งแต่ที่สตาร์มเมอร์เดินทางมายูเครน ก่อนจะมีพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์เพียง 4 วัน

    การมาครั้งนั้นของนายกอังกฤษเป็นการเซ็นต์สัญญาพันธมิตร 100 ปี ซึ่งรวมถึงทรัพยากรแร่ธาตุที่อยู่ในข้อตกลงด้วย อังกฤษก็ต้องการถอนทุนคืนเหมือนกัน หลังช่วยยูเครนไปแล้วหลายหมื่นล้านปอนด์จากการมีส่วนยุยงเซเลนสกีเข้าสู่สงครามกับรัสเซีย

    ทางด้านฝรั่งเศส ก็อยากจะถอนทุน เลยประกาศพร้อมส่งทหาร 30,000 นายร่วมกันกับอังกฤษไปยังยูเครน โดยอ้างว่าเพื่อรับรองความมั่นคงให้ยูเครนหลังข้อตกลงหยุดยิงระหว่างยูเครนกับรัสเซียสำเร็จลุล่วง

    ขณะที่สตาร์มเมอร์เยือนสหรัฐเมื่อวันก่อน เขายืนยันพร้อมส่งกองกำลังทั้งทางบกและอากาศเข้าสู่ยูเครน ความจริงแล้วทหารอังกฤษกับทหารฝรั่งเศสแค่จะไปดูแลรักษาผลประโยชน์แหล่งแร่ธาตุของพวกเขาต่างหาก เพื่อป้องกันไม่ให้ยูเครนเบี้ยวหนี้

    เมื่อปี 2024 สว.ลินด์เซย์ แกรม จากพรรครีพับรีกัน เคยกล่าวว่า การที่สหรัฐช่วยยูเครนรบเพราะก็อยากได้ทรัพยาการธรรมชาติของยูเครนมูลค่า 12-13 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ ซึ่งควรตกเป็นสมบัติของอเมริกา ไม่ใช่ให้มีแค่รัสเซียหรือจีนเท่านั้นที่ควรได้มันไป

    หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตามที คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ลึกๆแล้วมีผลประโยชน์เกี่ยวกับแร่หายากเข้ารมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน


    สงครามที่อยู่บนผลประโยชน์ สหรัฐและยุโรปภายใต้การนำของไบเดน ยุยงให้ยูเครนที่นำโดยเซเลนสกีเข้านาโต้ เพื่อยั่วยุรัสเซียก่อสงคราม เป้าหมายคือการฉุดรั้งระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทหารของรัสเซียที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วเกินไป แต่กลายเป็นว่า ทั้งสหรัฐและยุโรปต่างก็ติดหล่มสงครามจนถอนตัวไม่ขึ้น เศรษฐกิจเสียหาย ต้องส่งทั้งเงินและอาวุธเพื่อช่วยเหลือยูเครนตลอด ซึ่งเกิดจากความประมาท คิดว่ารัสเซียอ่อนแอ มาถึงยุคของทรัมป์ก้าวขึ้นสู่อำนาจ มองเห็นแล้วว่าขืนสหรัฐดำเนินนโยบายแบบนี้ต่อไป ฝ่ายที่พังคือสหรัฐเอง ทรัมป์เลยต้องการเจรจาสงบศึก ซึ่งคุยกับปูตินไปบ้างแล้ว ทางนั้นตอบรับพร้อมเจรจา ขณะเดียวกันทรัมป์เองก็ต้องการทวงเงินที่ช่วยเหลือยูเครนคืน ซึ่งทรัมป์ตีตัวเลขกลมๆที่ 350,000 ล้านดอลลาร์ โดยผ่านการแบ่งผลประโยชน์แร่หายาก 50\50 กับยูเครน "เหตุการณ์โต้เถียงในทำเนียบขาว อาจจะเป็นแผนของเซเลนสกีที่ไม่อยากลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐก็อาจเป็นได้" เนื่องจากที่ผ่านมาเซเลนสกี้ไม่มีท่าทียอมเงื่อนไขของตนเองที่ยื่นให้ทรัมป์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สหรัฐยอมรับไม่ได้ นั่นคือรับประกันความปลอดภัยให้ยูเครน และเปิดทางให้ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ จากแหล่งข่าว สาเหตุที่เซเลนสกีเรียกร้องมากมายขนาดนี้ เนื่องจากเขาแอบยกแร่ธาตุของยูเครนไปให้อังกฤษแล้ว ตั้งแต่ที่สตาร์มเมอร์เดินทางมายูเครน ก่อนจะมีพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์เพียง 4 วัน การมาครั้งนั้นของนายกอังกฤษเป็นการเซ็นต์สัญญาพันธมิตร 100 ปี ซึ่งรวมถึงทรัพยากรแร่ธาตุที่อยู่ในข้อตกลงด้วย อังกฤษก็ต้องการถอนทุนคืนเหมือนกัน หลังช่วยยูเครนไปแล้วหลายหมื่นล้านปอนด์จากการมีส่วนยุยงเซเลนสกีเข้าสู่สงครามกับรัสเซีย ทางด้านฝรั่งเศส ก็อยากจะถอนทุน เลยประกาศพร้อมส่งทหาร 30,000 นายร่วมกันกับอังกฤษไปยังยูเครน โดยอ้างว่าเพื่อรับรองความมั่นคงให้ยูเครนหลังข้อตกลงหยุดยิงระหว่างยูเครนกับรัสเซียสำเร็จลุล่วง ขณะที่สตาร์มเมอร์เยือนสหรัฐเมื่อวันก่อน เขายืนยันพร้อมส่งกองกำลังทั้งทางบกและอากาศเข้าสู่ยูเครน ความจริงแล้วทหารอังกฤษกับทหารฝรั่งเศสแค่จะไปดูแลรักษาผลประโยชน์แหล่งแร่ธาตุของพวกเขาต่างหาก เพื่อป้องกันไม่ให้ยูเครนเบี้ยวหนี้ เมื่อปี 2024 สว.ลินด์เซย์ แกรม จากพรรครีพับรีกัน เคยกล่าวว่า การที่สหรัฐช่วยยูเครนรบเพราะก็อยากได้ทรัพยาการธรรมชาติของยูเครนมูลค่า 12-13 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ ซึ่งควรตกเป็นสมบัติของอเมริกา ไม่ใช่ให้มีแค่รัสเซียหรือจีนเท่านั้นที่ควรได้มันไป หรือแม้แต่รัสเซียเองก็ตามที คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ลึกๆแล้วมีผลประโยชน์เกี่ยวกับแร่หายากเข้ารมาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 316 Views 0 Reviews
  • 2/
    อาการของเซเลนสกี เมื่อทรัมป์กำลังพูดถึงแร่หายากที่ยูเครนครอบครองอยู่

    ซึ่งทรัมป์กล่าวว่า แร่หายากที่ยูเครนมี มันคือเงินจำนวนมากมายมหาศาล แต่สหรัฐมีแค่น้ำมันและก๊าซมากมาย ไม่มีแร่หายากของโลก ยูเครนมีแร่ของโลก และยังอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย สหรัฐจะใช้มันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการทหาร
    2/ อาการของเซเลนสกี เมื่อทรัมป์กำลังพูดถึงแร่หายากที่ยูเครนครอบครองอยู่ ซึ่งทรัมป์กล่าวว่า แร่หายากที่ยูเครนมี มันคือเงินจำนวนมากมายมหาศาล แต่สหรัฐมีแค่น้ำมันและก๊าซมากมาย ไม่มีแร่หายากของโลก ยูเครนมีแร่ของโลก และยังอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย สหรัฐจะใช้มันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการทหาร
    0 Comments 0 Shares 249 Views 6 0 Reviews
  • 1/
    อาการของเซเลนสกี เมื่อทรัมป์กำลังพูดถึงแร่หายากที่ยูเครนครอบครองอยู่

    ซึ่งทรัมป์กล่าวว่า แร่หายากที่ยูเครนมี มันคือเงินจำนวนมากมายมหาศาล แต่สหรัฐมีแค่น้ำมันและก๊าซมากมาย ไม่มีแร่หายากของโลก ยูเครนมีแร่ของโลก และยังอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย สหรัฐจะใช้มันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการทหาร
    1/ อาการของเซเลนสกี เมื่อทรัมป์กำลังพูดถึงแร่หายากที่ยูเครนครอบครองอยู่ ซึ่งทรัมป์กล่าวว่า แร่หายากที่ยูเครนมี มันคือเงินจำนวนมากมายมหาศาล แต่สหรัฐมีแค่น้ำมันและก๊าซมากมาย ไม่มีแร่หายากของโลก ยูเครนมีแร่ของโลก และยังอยู่ในกลุ่มที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย สหรัฐจะใช้มันสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการทหาร
    0 Comments 0 Shares 246 Views 9 0 Reviews
  • เหมือนมอบประเทศให้อเมริกา!!! ปธน.โคลอมเบียชี้ข้อตกลงแร่หายาก 'US-ยูเครน' คือหลักฐานความ 'โง่' ของเซเลนสกี
    https://www.thai-tai.tv/news/17441/
    เหมือนมอบประเทศให้อเมริกา!!! ปธน.โคลอมเบียชี้ข้อตกลงแร่หายาก 'US-ยูเครน' คือหลักฐานความ 'โง่' ของเซเลนสกี https://www.thai-tai.tv/news/17441/
    0 Comments 0 Shares 127 Views 0 Reviews
  • ปูตินพร้อมแบ่งผลประโยชน์ US เปิดให้ลงทุนแร่หายากในดินแดนที่ยึดจากยูเครน
    https://www.thai-tai.tv/news/17438/
    ปูตินพร้อมแบ่งผลประโยชน์ US เปิดให้ลงทุนแร่หายากในดินแดนที่ยึดจากยูเครน https://www.thai-tai.tv/news/17438/
    0 Comments 0 Shares 100 Views 0 Reviews
  • เซเลนสกีเตรียมเยือน US ปิดดีลแร่หายาก ทรัมป์ย้ำไม่รับประกันความมั่นคงโยนชาติยุโรปจัดการ
    https://www.thai-tai.tv/news/17437/
    เซเลนสกีเตรียมเยือน US ปิดดีลแร่หายาก ทรัมป์ย้ำไม่รับประกันความมั่นคงโยนชาติยุโรปจัดการ https://www.thai-tai.tv/news/17437/
    0 Comments 0 Shares 106 Views 0 Reviews
  • ## มายา ภาพลวง โลกเสรี และ ประชาธิปไตย ที่ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง ##
    ..
    ..
    แรกๆผมพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ ว่า "ความช่วยเหลือ" ที่ว่านี้ "ไม่ฟรี"...!!!
    .
    วันนี้ Black Rock ได้ แร่หายาก และ แผ่นดิน ยูเครน ไปมหาศาลแล้วใช่มั้ย...???
    .
    อเมริกา ได้อะไรไปบ้าง ราวกับสัมปทาน ชั่วกัลปาวสาน...!!!
    .
    และ ตอนนี้ พวกคนดี ประเทศเสรีประชาธิปไตย ที่เคยบอกว่าจะช่วย ยูเครน รบกับ รัสเซีย จนทหารยูเครนคนสุดท้าย...!!!
    .
    เริ่มขอส่วนแบ่งเค้ก รุมทึ้งแผ่นดิน ยูเครน แล้ว...!!!
    .
    ใครซ้ายจัด เทิดทูน อเมริกา และ ยุโรป เป็นพ่อ เป็นพระเอก เป็นตำรวจโลก คอยเลียก้นให้เขา ไม่รู้วันนี้ กะลาแตก รึยัง...???
    .
    อ่อ ไอ้พวก พรรคการเมืองเสร่อๆนั่นก็ด้วย หรือ ท่านชายพระตะบอง นั่นก็ใช่...!!!
    .
    เอ้อ ศาสดานักวิทยาศาสตร์ ผู้รู้ทุกเรื่อง ที่ทุกวันนี่ยังเชิดชู เซเลนสกี้ ว่าเป็น ฮีโร่ ของ ยูเครน อยู่เลยนั่นผมก็ไม่ลืมนะ...!!!
    .
    ฮีโร่ ประสาอะไร ครับ...???
    .
    บริหารจนประเทศพังพินาศ หมดสภาพความเป็นประเทศไปแล้ว
    .
    ทหารตายไปราว 2 ล้านคน (รวมทหาร NATO ด้วย)
    .
    ประชาชน ต้องอพยพลี้ภัยออกจากประเทศพลัดที่นาคาที่อยู่มากกว่า 10 ล้านคน...
    .
    ถูกคนที่เรียกว่าเพื่อนรุมทึ้งแผ่นดิน
    .
    นั่นแหล่ะ ผลของการที่ มีผู้นำโง่
    .
    และ สิ่งนี้ เกิดขึ้น ในระบอบที่อ้างว่า คือ ประชาธิปไตย...
    .
    ลองถามตัวเองดู คุณเสพข่าวจากแหล่งไหน ฟังอินฟูลคนไหน ถึงได้หลงทาง คาดการณ์ผิดไปไกลขนาดนั้น...???
    .
    เคยคิดบ้างรึเปล่าครับว่า...
    .
    ตัวเอง ถูกล้างสมองด้วย Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) ไม่ว่าจะด้วย อินฟลูที่ตาม ข่าวที่ฟัง และ หนังฮอลลีวูดที่ดู...???
    .
    https://mgronline.com/around/detail/9680000018785?fbclid=IwY2xjawIt18lleHRuA2FlbQIxMQABHZL_RXNexVthVi27siJ4lA7LywLYfTLah4N5pQw0fjTvUXWndQ2nBUu7zQ_aem_Kq4d9cd5tT_7R1gGhAJPlw
    ## มายา ภาพลวง โลกเสรี และ ประชาธิปไตย ที่ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง ## .. .. แรกๆผมพูดไปก็ไม่มีใครเชื่อ ว่า "ความช่วยเหลือ" ที่ว่านี้ "ไม่ฟรี"...!!! . วันนี้ Black Rock ได้ แร่หายาก และ แผ่นดิน ยูเครน ไปมหาศาลแล้วใช่มั้ย...??? . อเมริกา ได้อะไรไปบ้าง ราวกับสัมปทาน ชั่วกัลปาวสาน...!!! . และ ตอนนี้ พวกคนดี ประเทศเสรีประชาธิปไตย ที่เคยบอกว่าจะช่วย ยูเครน รบกับ รัสเซีย จนทหารยูเครนคนสุดท้าย...!!! . เริ่มขอส่วนแบ่งเค้ก รุมทึ้งแผ่นดิน ยูเครน แล้ว...!!! . ใครซ้ายจัด เทิดทูน อเมริกา และ ยุโรป เป็นพ่อ เป็นพระเอก เป็นตำรวจโลก คอยเลียก้นให้เขา ไม่รู้วันนี้ กะลาแตก รึยัง...??? . อ่อ ไอ้พวก พรรคการเมืองเสร่อๆนั่นก็ด้วย หรือ ท่านชายพระตะบอง นั่นก็ใช่...!!! . เอ้อ ศาสดานักวิทยาศาสตร์ ผู้รู้ทุกเรื่อง ที่ทุกวันนี่ยังเชิดชู เซเลนสกี้ ว่าเป็น ฮีโร่ ของ ยูเครน อยู่เลยนั่นผมก็ไม่ลืมนะ...!!! . ฮีโร่ ประสาอะไร ครับ...??? . บริหารจนประเทศพังพินาศ หมดสภาพความเป็นประเทศไปแล้ว . ทหารตายไปราว 2 ล้านคน (รวมทหาร NATO ด้วย) . ประชาชน ต้องอพยพลี้ภัยออกจากประเทศพลัดที่นาคาที่อยู่มากกว่า 10 ล้านคน... . ถูกคนที่เรียกว่าเพื่อนรุมทึ้งแผ่นดิน . นั่นแหล่ะ ผลของการที่ มีผู้นำโง่ . และ สิ่งนี้ เกิดขึ้น ในระบอบที่อ้างว่า คือ ประชาธิปไตย... . ลองถามตัวเองดู คุณเสพข่าวจากแหล่งไหน ฟังอินฟูลคนไหน ถึงได้หลงทาง คาดการณ์ผิดไปไกลขนาดนั้น...??? . เคยคิดบ้างรึเปล่าครับว่า... . ตัวเอง ถูกล้างสมองด้วย Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) ไม่ว่าจะด้วย อินฟลูที่ตาม ข่าวที่ฟัง และ หนังฮอลลีวูดที่ดู...??? . https://mgronline.com/around/detail/9680000018785?fbclid=IwY2xjawIt18lleHRuA2FlbQIxMQABHZL_RXNexVthVi27siJ4lA7LywLYfTLah4N5pQw0fjTvUXWndQ2nBUu7zQ_aem_Kq4d9cd5tT_7R1gGhAJPlw
    MGRONLINE.COM
    ส่อสิ้นเนื้อประดาตัว! เจ้าหนี้รายอื่นเอาบ้าง เรียกร้องยูเครนใช้คืนเงินช่วยเหลือระหว่างทำศึกกับรัสเซีย
    สโลวาเกีย มีสิทธิ์เรียกร้องให้ยูเครนชำระคืน เงินช่วยเหลือที่พวกเขามอบให้เคียฟในระหว่างทำศึกสงครามกับมอสโก หากว่าบรรดาชาติตะวันตกอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนีและฝรั่งเศส ดำเนินการแบบเดียวกัน สมาชิกรัฐสภาระดับอาวุโสรายหนึ่งของสโลวาเกีย เน้นย
    0 Comments 0 Shares 311 Views 0 Reviews
  • Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full)
    - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ
    - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน”
    - โคตรส่วยแม่สอด
    - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช.
    - ยิวทำเละเทะในปาย
    - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล”
    - ยูเครน END GAME ?
    - สงครามชิงทรัพยากร

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full) - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน” - โคตรส่วยแม่สอด - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช. - ยิวทำเละเทะในปาย - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล” - ยูเครน END GAME ? - สงครามชิงทรัพยากร #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Like
    Love
    Yay
    Haha
    Angry
    94
    7 Comments 3 Shares 4707 Views 314 6 Reviews
  • เซเลนสกีกำลังออกเดินทางจากสนามบิน Rzeszów-Jasionka ประเทศโปแลนด์ และกำลังมุ่งหน้าไปยังวอชิงตันไปวอชิงตันเพื่อลงนามใน “ข้อตกลง” แร่ธาตุกับโดนัลด์ ทรัมป์

    - เซเลนสกีจะแวะที่ไอร์แลนด์ เพื่อพบกับนายกรัฐมนตรี ไมเคิล มาร์ติน หลังจากนั้นจะมุ่งหน้าสู่กรุงวอชิงตันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เพื่อลงนามในข้อตกลงแร่ธาตุกับสหรัฐฯต่อไป

    - ยูเครนแทบไม่เหลืออะไรนอกจากคนหนุ่มสาวและทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น เพื่อใช้ในการต่อรองกับอเมริกา ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะการตัดสินใจที่ "ผิดพลาด" ของเขา จนทำลายรัฐของตนเองจนสิ้นซาก

    - หากเซเลนสกีดำเนินแนวทางตามข้อตกลงมินสค์อย่างเคร่งครัด ยูเครนอาจกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจควบคุมทรัพยากร ก๊าซราคาถูก น้ำมัน และที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจำนวนมากยังคงมีชีวิตอยู่

    - การลงนามข้อตกลงแร่ธาตุของเซเลนสกีในครั้งนี้ เกือบล้มเหลว เมื่อสถานีโทรทัศน์บีเอฟเอ็มทีวี (BFMTV) ของฝรั่งเศส รายงานว่า ทรัมป์ตัดสินใจยกเลิกการเยือนสหรัฐฯ ของเซเลนสกีไปแล้ว แต่เมื่อเซเลนสกีทราบข่าว ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟอย่างมาก

    - หลังจากนั้น เซเลนสกี้ได้โทรศัพท์ไปหาประธานาธิบดีมาครง เพื่อขอให้โน้มน้าวให้ทรัมป์เปลี่ยนใจ ซึ่งต่อมา "มาครง" ได้ติดต่อผู้นำสหรัฐฯ และโน้มน้าวให้เขาเปลี่ยนใจในที่สุด

    - สื่อฝรั่งเศสยังรายงานว่า มาครงก็ให้ความสนใจในแร่หายากของยูเครนอยู่ด้วยเช่นกัน ตามที่มาครงกล่าวระหว่างการเยือนทรัมป์ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันก่อน ซึ่งฝรั่งเศสต้องการใช้ในการผลิตอาวุธที่ครอบคลุมระยะเวลาสำหรับ 30 หรือ 40 ปีข้างหน้า
    เซเลนสกีกำลังออกเดินทางจากสนามบิน Rzeszów-Jasionka ประเทศโปแลนด์ และกำลังมุ่งหน้าไปยังวอชิงตันไปวอชิงตันเพื่อลงนามใน “ข้อตกลง” แร่ธาตุกับโดนัลด์ ทรัมป์ - เซเลนสกีจะแวะที่ไอร์แลนด์ เพื่อพบกับนายกรัฐมนตรี ไมเคิล มาร์ติน หลังจากนั้นจะมุ่งหน้าสู่กรุงวอชิงตันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เพื่อลงนามในข้อตกลงแร่ธาตุกับสหรัฐฯต่อไป - ยูเครนแทบไม่เหลืออะไรนอกจากคนหนุ่มสาวและทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น เพื่อใช้ในการต่อรองกับอเมริกา ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะการตัดสินใจที่ "ผิดพลาด" ของเขา จนทำลายรัฐของตนเองจนสิ้นซาก - หากเซเลนสกีดำเนินแนวทางตามข้อตกลงมินสค์อย่างเคร่งครัด ยูเครนอาจกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจควบคุมทรัพยากร ก๊าซราคาถูก น้ำมัน และที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนจำนวนมากยังคงมีชีวิตอยู่ - การลงนามข้อตกลงแร่ธาตุของเซเลนสกีในครั้งนี้ เกือบล้มเหลว เมื่อสถานีโทรทัศน์บีเอฟเอ็มทีวี (BFMTV) ของฝรั่งเศส รายงานว่า ทรัมป์ตัดสินใจยกเลิกการเยือนสหรัฐฯ ของเซเลนสกีไปแล้ว แต่เมื่อเซเลนสกีทราบข่าว ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟอย่างมาก - หลังจากนั้น เซเลนสกี้ได้โทรศัพท์ไปหาประธานาธิบดีมาครง เพื่อขอให้โน้มน้าวให้ทรัมป์เปลี่ยนใจ ซึ่งต่อมา "มาครง" ได้ติดต่อผู้นำสหรัฐฯ และโน้มน้าวให้เขาเปลี่ยนใจในที่สุด - สื่อฝรั่งเศสยังรายงานว่า มาครงก็ให้ความสนใจในแร่หายากของยูเครนอยู่ด้วยเช่นกัน ตามที่มาครงกล่าวระหว่างการเยือนทรัมป์ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันก่อน ซึ่งฝรั่งเศสต้องการใช้ในการผลิตอาวุธที่ครอบคลุมระยะเวลาสำหรับ 30 หรือ 40 ปีข้างหน้า
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 428 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์-เซนเลนสกีจ่อลงนามข้อตกลง 'แรร์เอิร์ธ' พรุ่งนี้! : คนเคาะข่าว 27-02-68
    : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์

    #ทรัมป์ #เซเลนสกี #แรร์เอิร์ธ #ข้อตกลงแร่หายาก #คนเคาะข่าว #ข่าวต่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก #ความมั่นคง #วิเคราะห์การเมือง #Geopolitics #USA #ยูเครน #พลังงาน #ทรัพยากรธรรมชาติ #ไทยTimes
    ทรัมป์-เซนเลนสกีจ่อลงนามข้อตกลง 'แรร์เอิร์ธ' พรุ่งนี้! : คนเคาะข่าว 27-02-68 : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย อุษณีย์ เอกอุษณีย์ #ทรัมป์ #เซเลนสกี #แรร์เอิร์ธ #ข้อตกลงแร่หายาก #คนเคาะข่าว #ข่าวต่างประเทศ #เศรษฐกิจโลก #ความมั่นคง #วิเคราะห์การเมือง #Geopolitics #USA #ยูเครน #พลังงาน #ทรัพยากรธรรมชาติ #ไทยTimes
    Like
    Love
    3
    1 Comments 1 Shares 770 Views 10 0 Reviews
  • ชะตากรรมชาวยูเครน หลังได้ตัวตลกเป็นผู้นำ ประชาชนล้มตุย ชาติแทบล่มสลาย แถมถูกมะกันปล้นทรัพยากร จับทำข้อตกลงมอบแร่หายากให้สหรัฐแบบบุฟเฟ่ต์ขุดไม่อั้น มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยไอ้พวกนักวิชาการที่เคยสนับสนุนตัวตลก เงียบหายกันหมด มีแต่นักวิชาการในบ้านเรา ไอ้อาจารย์ผักตบชวา เจสสกี้ยังเชียร์อยู่
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    ชะตากรรมชาวยูเครน หลังได้ตัวตลกเป็นผู้นำ ประชาชนล้มตุย ชาติแทบล่มสลาย แถมถูกมะกันปล้นทรัพยากร จับทำข้อตกลงมอบแร่หายากให้สหรัฐแบบบุฟเฟ่ต์ขุดไม่อั้น มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยไอ้พวกนักวิชาการที่เคยสนับสนุนตัวตลก เงียบหายกันหมด มีแต่นักวิชาการในบ้านเรา ไอ้อาจารย์ผักตบชวา เจสสกี้ยังเชียร์อยู่ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 436 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/0VGWV3f6RPg?si=a2CYXVNzs1LiOSp9
    ผลเกิดจากเหตุหรือเหตุเกิดจากผล ?
    ถ้าอยากรู้เหตุแห่งการกระทำก็ให้ดูที่ผลที่เกิดจากการกระทำนั้น !
    วันนี้ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในผลที่ผู้อยู่เบื้องหลังต้องการคือการยึดครองทรัพยากรแร่หายากของยูเครนนั่นเอง !!
    ที่มาของสงครามยูเครนที่จริงๆไม่ควรจะเกิดนั้นมีกระบวนการจากองค์กรเบื้องหลังซึ่งหวังผลหลายอย่างแต่สุดท้ายไม่เป็นอย่างที่คิด สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารหรือวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองผลประโยชน์โลก ถ้าให้เขียนเล่าอธิบายคงหลายหน้ากระดาษ แนะนำว่าว่าค่อยๆต่อจิ๊กซอว์จากความเคลื่อนไหวของการเมืองโลกผ่านข่าวสารด้วยปัญญา สติและหลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล แล้วท่านจะเข้าใจในที่สุดครับ
    https://youtu.be/0VGWV3f6RPg?si=a2CYXVNzs1LiOSp9 ผลเกิดจากเหตุหรือเหตุเกิดจากผล ? ถ้าอยากรู้เหตุแห่งการกระทำก็ให้ดูที่ผลที่เกิดจากการกระทำนั้น ! วันนี้ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในผลที่ผู้อยู่เบื้องหลังต้องการคือการยึดครองทรัพยากรแร่หายากของยูเครนนั่นเอง !! ที่มาของสงครามยูเครนที่จริงๆไม่ควรจะเกิดนั้นมีกระบวนการจากองค์กรเบื้องหลังซึ่งหวังผลหลายอย่างแต่สุดท้ายไม่เป็นอย่างที่คิด สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารหรือวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองผลประโยชน์โลก ถ้าให้เขียนเล่าอธิบายคงหลายหน้ากระดาษ แนะนำว่าว่าค่อยๆต่อจิ๊กซอว์จากความเคลื่อนไหวของการเมืองโลกผ่านข่าวสารด้วยปัญญา สติและหลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล แล้วท่านจะเข้าใจในที่สุดครับ
    0 Comments 0 Shares 267 Views 0 Reviews
  • บางส่วนที่ปูตินตอบคำถามระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของรัสเซีย:

    - รัสเซียพร้อมที่จะมอบโอกาสให้สหรัฐฯ ได้ทำงานร่วมกันในด้านแร่ธาตุหายาก

    - เซเลนสกีไม่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งหากเขาลงแข่งขัน คะแนนนิยมของเซเลนสกีต่ำกว่า "ซาลูซนีย์" (อดีตผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพยูเครน) ถึงสองเท่า

    - รัสเซียไม่ได้ต่อต้านการรักษาสถานะความเป็นรัฐของยูเครน แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่ใช้ดินแดนยูเครนเป็นภัยคุกคามต่อมอสโก

    - รัสเซียพร้อมหารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดงบประมาณกลาโหม การลดงบประมาณลง 50% ถือเป็นความคิดที่ดี

    - รัสเซียพร้อมที่จะเสนอความร่วมมือด้านแร่หายากแก่หุ้นส่วนต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ โดยยกตัวอย่าง เช่น อาจเป็นความร่วมมือกันในโครงการขุดอะลูมิเนียม เช่น ในเขตครัสโนยาสก์ ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ราว 2 ล้านตันให้กับตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอาจสร้างเม็ดเงินได้ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่เศรษฐกิจของรัสเซีย หรือแม้แต่แร่หายากอื่นๆในภูมิภาคใหม่ทั้งสี่

    - โดยพื้นฐานแล้ว การแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนยังไม่ได้มีการหารือกับทรัมป์อย่างจริงจัง

    - ผู้นำสหภาพยุโรปชุดปัจจุบันมุ่งมั่นกับระบอบเคียฟมากเกินไป จนไม่อาจถอนตัวจากจุดยืนนี้ได้โดยไม่เสียหน้า

    - ปูตินไม่ขัดขวางหากยุโรปจะเข้าร่วมในกระบวนการเจรจา พวกเขาเพียงแค่ปฏิเสธไม่อยากเข้าร่วมเอง

    - เกี่ยวกับยุโรปและคำขาดของพวกเขา: “ปล่อยให้พวกเขาอยู่กับข้อเรียกร้องเหล่านั้น และให้พวกเขาได้คิดว่าพวกเขาลงเอยแบบนี้ได้อย่างไร”
    บางส่วนที่ปูตินตอบคำถามระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของรัสเซีย: - รัสเซียพร้อมที่จะมอบโอกาสให้สหรัฐฯ ได้ทำงานร่วมกันในด้านแร่ธาตุหายาก - เซเลนสกีไม่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งหากเขาลงแข่งขัน คะแนนนิยมของเซเลนสกีต่ำกว่า "ซาลูซนีย์" (อดีตผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพยูเครน) ถึงสองเท่า - รัสเซียไม่ได้ต่อต้านการรักษาสถานะความเป็นรัฐของยูเครน แต่สิ่งสำคัญคือต้องไม่ใช้ดินแดนยูเครนเป็นภัยคุกคามต่อมอสโก - รัสเซียพร้อมหารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดงบประมาณกลาโหม การลดงบประมาณลง 50% ถือเป็นความคิดที่ดี - รัสเซียพร้อมที่จะเสนอความร่วมมือด้านแร่หายากแก่หุ้นส่วนต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ โดยยกตัวอย่าง เช่น อาจเป็นความร่วมมือกันในโครงการขุดอะลูมิเนียม เช่น ในเขตครัสโนยาสก์ ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ราว 2 ล้านตันให้กับตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอาจสร้างเม็ดเงินได้ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่เศรษฐกิจของรัสเซีย หรือแม้แต่แร่หายากอื่นๆในภูมิภาคใหม่ทั้งสี่ - โดยพื้นฐานแล้ว การแก้ไขความขัดแย้งในยูเครนยังไม่ได้มีการหารือกับทรัมป์อย่างจริงจัง - ผู้นำสหภาพยุโรปชุดปัจจุบันมุ่งมั่นกับระบอบเคียฟมากเกินไป จนไม่อาจถอนตัวจากจุดยืนนี้ได้โดยไม่เสียหน้า - ปูตินไม่ขัดขวางหากยุโรปจะเข้าร่วมในกระบวนการเจรจา พวกเขาเพียงแค่ปฏิเสธไม่อยากเข้าร่วมเอง - เกี่ยวกับยุโรปและคำขาดของพวกเขา: “ปล่อยให้พวกเขาอยู่กับข้อเรียกร้องเหล่านั้น และให้พวกเขาได้คิดว่าพวกเขาลงเอยแบบนี้ได้อย่างไร”
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์โพสต์ข้อความหลังการพบปะกับมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยระบุว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามกับรัสเซีย และข้อตกลงแร่หายากของยูเครน "ดำเนินไปด้วยดี"

    บ่งชี้ว่า ฝรั่งเศสไม่ได้คัดค้าน หรือโต้แย้งใดๆต่อแนวทางของสหรัฐที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ฝรั่งเศสไม่มีอิทธิพลมากพอจะทำให้สหรัฐเปลี่ยนใจมาสนับสนุนยุโรปที่พยายามรักษาสงครามในยูเครนให้ดำเนินต่อไป
    ทรัมป์โพสต์ข้อความหลังการพบปะกับมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยระบุว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามกับรัสเซีย และข้อตกลงแร่หายากของยูเครน "ดำเนินไปด้วยดี" บ่งชี้ว่า ฝรั่งเศสไม่ได้คัดค้าน หรือโต้แย้งใดๆต่อแนวทางของสหรัฐที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ฝรั่งเศสไม่มีอิทธิพลมากพอจะทำให้สหรัฐเปลี่ยนใจมาสนับสนุนยุโรปที่พยายามรักษาสงครามในยูเครนให้ดำเนินต่อไป
    0 Comments 0 Shares 236 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันจันทร์(24ก.พ.) เปิดเผยว่าเขาพร้อมเปิดทางให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแร่ธาตุยุทธศาตร์ต่างๆ ในดินแดนยูเครน ที่อยู่ภายใต้การยึดครองของยูเครน ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการโน้มน้าวใจประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งอเมริกา ที่พยายามกดดันให้เคียฟลงนามในข้อตกลง ไฟเขียวให้วอชิงตันเข้าถึงทรัพยากรแร่อันมีค่า
    .
    ปูติน แสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ ว่ารัสเซียพร้อมทำงานร่วมกันคู่หูต่างชาติ ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในการพัฒนาแหล่งสำรองแร่ธาตุหายากและแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งรวมไปถึงใน "แคว้นใหม่ของเรา" อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้ ยูเครน ลงนามในข้อตกลงหนึ่ง ที่เปิดทางให้สิทธิพิเศษแก่อเมริกาเข้าถึงแหล่งสำรองแร่อันมีค่าของยูเครน
    .
    การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนครั้งนี้ของปูติน มีขึ้นหลังจากเขาเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพยกรแร่หายากและแร่แร์เฮิร์ธของรัสเซีย ที่มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ โดยเขาระบุว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในแง่ของแหล่งสำรอง มีมากกว่าในยูเครนอยู่มากมายมหาศาล และ "จำเป็นต้องดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่" กับทรัพยากรเหล่านั้น
    .
    "เราจะทำงานด้วยความยินดีกับคู่หูต่างชาติทุกราย ในนั้นรวมถึงอเมริกา" เขากล่าว พร้อมระบุถึงแคว้นต่างๆที่พบแร่ธาตุหายากเหล่านั้น ในนั้นรวมถึงไซบีเรียและทางตะวันออกไกลของรัสเซีย "เราพร้อมดึงดูดคู่หูต่างชาติเข้ามายังสิ่งที่เราเรียกว่า ดินแดนใหม่ ดินแดนประวัติศาสตร์ของเราที่กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย" ปูติน อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครน ที่ทางรัสเซียเข้ายึดครองผ่านการรุกรานทางทหาร
    .
    "แน่นอนว่ามีแหล่งสำรองอยู่ที่นั่นด้วย เราพร้อมทำงานร่วมกับคู่หูของเรา ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในแคว้นใหม่ทั้งหลายของเราเช่นกัน" ปูตินระบุ พร้อมยืนยันว่าเวลานี้บรรดาบริษัทสหรัฐฯและรัสเซียอยู่ระหว่างการติดต่อและหารือกันเกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจร่วมต่างๆนานา ที่เกี่ยวข้องกับการคลี่คลายความขัดแย้งในยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018395
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ในวันจันทร์(24ก.พ.) เปิดเผยว่าเขาพร้อมเปิดทางให้สหรัฐฯเข้าไปลงทุนในแร่ธาตุยุทธศาตร์ต่างๆ ในดินแดนยูเครน ที่อยู่ภายใต้การยึดครองของยูเครน ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการโน้มน้าวใจประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งอเมริกา ที่พยายามกดดันให้เคียฟลงนามในข้อตกลง ไฟเขียวให้วอชิงตันเข้าถึงทรัพยากรแร่อันมีค่า . ปูติน แสดงความคิดเห็นผ่านสถานีโทรทัศน์ ว่ารัสเซียพร้อมทำงานร่วมกันคู่หูต่างชาติ ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในการพัฒนาแหล่งสำรองแร่ธาตุหายากและแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งรวมไปถึงใน "แคว้นใหม่ของเรา" อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ กำลังผลักดันให้ ยูเครน ลงนามในข้อตกลงหนึ่ง ที่เปิดทางให้สิทธิพิเศษแก่อเมริกาเข้าถึงแหล่งสำรองแร่อันมีค่าของยูเครน . การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนครั้งนี้ของปูติน มีขึ้นหลังจากเขาเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพยกรแร่หายากและแร่แร์เฮิร์ธของรัสเซีย ที่มีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ โดยเขาระบุว่ารัสเซียเป็นผู้นำโลกในแง่ของแหล่งสำรอง มีมากกว่าในยูเครนอยู่มากมายมหาศาล และ "จำเป็นต้องดำเนินการมากกว่าที่เป็นอยู่" กับทรัพยากรเหล่านั้น . "เราจะทำงานด้วยความยินดีกับคู่หูต่างชาติทุกราย ในนั้นรวมถึงอเมริกา" เขากล่าว พร้อมระบุถึงแคว้นต่างๆที่พบแร่ธาตุหายากเหล่านั้น ในนั้นรวมถึงไซบีเรียและทางตะวันออกไกลของรัสเซีย "เราพร้อมดึงดูดคู่หูต่างชาติเข้ามายังสิ่งที่เราเรียกว่า ดินแดนใหม่ ดินแดนประวัติศาสตร์ของเราที่กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย" ปูติน อ้างถึงแคว้นต่างๆของยูเครน ที่ทางรัสเซียเข้ายึดครองผ่านการรุกรานทางทหาร . "แน่นอนว่ามีแหล่งสำรองอยู่ที่นั่นด้วย เราพร้อมทำงานร่วมกับคู่หูของเรา ในนั้นรวมถึงอเมริกา ในแคว้นใหม่ทั้งหลายของเราเช่นกัน" ปูตินระบุ พร้อมยืนยันว่าเวลานี้บรรดาบริษัทสหรัฐฯและรัสเซียอยู่ระหว่างการติดต่อและหารือกันเกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจร่วมต่างๆนานา ที่เกี่ยวข้องกับการคลี่คลายความขัดแย้งในยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000018395 .............. Sondhi X
    Like
    13
    0 Comments 0 Shares 2206 Views 0 Reviews
  • ประเทศไหนมีทรัพยากรธรรมชาติ สหรัฐพร้อมเข้าช่วยเสมอ

    "ยุให้แตก แล้วเข้าไปแดรกแร่หายาก"
    ประเทศไหนมีทรัพยากรธรรมชาติ สหรัฐพร้อมเข้าช่วยเสมอ "ยุให้แตก แล้วเข้าไปแดรกแร่หายาก"
    Like
    Haha
    Angry
    4
    1 Comments 0 Shares 230 Views 0 Reviews
  • หลังจากมีข่าวว่าสหรัฐกดดันยูเครนด้วยการยื่นเงื่อนไขจะยุติการเข้าถึงระบบ Starlink ของกองทัพยูเครน หากไม่ยอมลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐ

    ล่าสุด อีลอน มัสก์ รีโพสต์ข่าวจากสำนักข่าว Kyiv Independent ซึ่งนำเสนอข่าวนี้ ว่าเป็น "ข่าวปลอม"

    มัสก์ ยังโจมตีไปถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวต้นทางที่รายงานนี้ โดยกล่าวหาว่ารอยเตอร์เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อที่โกหกหลอกลวงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่สื่อ AP ซึ่งถูกมัสก์แซะว่า ย่อมาจาก "Associated Propaganda" (จริงๆแล้วย่อมาจาก Associated Press)

    ก่อนหน้านี้สำนักข่าว AP เพิ่งโดนคำสั่งของทรัมป์ไม่ให้ไปทำข่าวในทำเนียบขาวจากกรณีไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของทรัมป์ในการเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโก เป็นอ่าวอเมริกา
    หลังจากมีข่าวว่าสหรัฐกดดันยูเครนด้วยการยื่นเงื่อนไขจะยุติการเข้าถึงระบบ Starlink ของกองทัพยูเครน หากไม่ยอมลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐ ล่าสุด อีลอน มัสก์ รีโพสต์ข่าวจากสำนักข่าว Kyiv Independent ซึ่งนำเสนอข่าวนี้ ว่าเป็น "ข่าวปลอม" มัสก์ ยังโจมตีไปถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวต้นทางที่รายงานนี้ โดยกล่าวหาว่ารอยเตอร์เป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อที่โกหกหลอกลวงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่สื่อ AP ซึ่งถูกมัสก์แซะว่า ย่อมาจาก "Associated Propaganda" (จริงๆแล้วย่อมาจาก Associated Press) ก่อนหน้านี้สำนักข่าว AP เพิ่งโดนคำสั่งของทรัมป์ไม่ให้ไปทำข่าวในทำเนียบขาวจากกรณีไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของทรัมป์ในการเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโก เป็นอ่าวอเมริกา
    0 Comments 0 Shares 315 Views 0 Reviews
  • รายงานล่าสุดไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา เซเลนสกีปฏิเสธการลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐอีกครั้ง!

    สถานการณ์เปลี่ยนไปอีกครั้ง เมื่อเซเลนสกีกลับลำ ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงแร่ธาตุของทรัมป์ แม้ว่าก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวระบุระบุว่าเขาจอมรับมันแล้วก็ตาม

    “ยังมีปัญหาอีกหลายประการในร่างข้อตกลงปัจจุบัน ซึ่งเซเลนสกีเปลี่ยนใจ ไม่พร้อมยอมรับในตอนนี้”

    เมื่อวานนี้มีกระแสข่าวมาตลอดทั้งวันระบุว่า เซเลนสกียอมรับข้อตกลงกับสหรัฐและจะมีการลงนามกันเร็วๆนี้
    รายงานล่าสุดไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา เซเลนสกีปฏิเสธการลงนามข้อตกลงแร่หายากกับสหรัฐอีกครั้ง! สถานการณ์เปลี่ยนไปอีกครั้ง เมื่อเซเลนสกีกลับลำ ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงแร่ธาตุของทรัมป์ แม้ว่าก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวระบุระบุว่าเขาจอมรับมันแล้วก็ตาม “ยังมีปัญหาอีกหลายประการในร่างข้อตกลงปัจจุบัน ซึ่งเซเลนสกีเปลี่ยนใจ ไม่พร้อมยอมรับในตอนนี้” เมื่อวานนี้มีกระแสข่าวมาตลอดทั้งวันระบุว่า เซเลนสกียอมรับข้อตกลงกับสหรัฐและจะมีการลงนามกันเร็วๆนี้
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 285 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯ เตรียมเข้าควบคุมสิทธิของแหล่งแร่หายากบนดินแดนยูเครน

    หลังจากการเจรจาที่ตึงเครียดมาหลายสัปดาห์ เซเลนสกีเตรียมลงนามข้อตกลงที่ให้สหรัฐฯ เข้าถึงแหล่งสำรองแร่ธาตุสำคัญของยูเครน

    ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นอีกครั้ง เพียงไม่กี่วันหลังจากที่เขาปฏิเสธไปก่อนหน้า ซึ่งในครั้งแรก เซเลนสกีอ้างเหตุที่ไม่ยอมลงนามว่า "ไม่อยากขายประเทศ"

    หลังจากนั้น มีรายงานว่า ทรัมป์ข่มขู่เซเลนสกีมาตลอดว่าจะตัดเงินทุนสหรัฐทั้งหมด จนในที่สุด เซเลนสกีไม่อาจทนได้อีกต่อไป และกำลังสรุปข้อตกลงดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

    รายงานช่าวข้างต้น สอดคล้องกับสิ่งที่ทรัมป์เพิ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อเมื่อไม่กี่ชั่โมงนี้ว่า "ยูเครนต้องลงนามข้อตกลง ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะมีปัญหาใหญ่ตามมา"

    “เรากำลังลงนามข้อตกลง ซึ่งหวังว่าจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นนี้ และจะทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะได้เงิน 400,000 หรือ 500,000 ล้านดอลลาร์ กลับคืนมา
    สหรัฐฯ เตรียมเข้าควบคุมสิทธิของแหล่งแร่หายากบนดินแดนยูเครน หลังจากการเจรจาที่ตึงเครียดมาหลายสัปดาห์ เซเลนสกีเตรียมลงนามข้อตกลงที่ให้สหรัฐฯ เข้าถึงแหล่งสำรองแร่ธาตุสำคัญของยูเครน ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นอีกครั้ง เพียงไม่กี่วันหลังจากที่เขาปฏิเสธไปก่อนหน้า ซึ่งในครั้งแรก เซเลนสกีอ้างเหตุที่ไม่ยอมลงนามว่า "ไม่อยากขายประเทศ" หลังจากนั้น มีรายงานว่า ทรัมป์ข่มขู่เซเลนสกีมาตลอดว่าจะตัดเงินทุนสหรัฐทั้งหมด จนในที่สุด เซเลนสกีไม่อาจทนได้อีกต่อไป และกำลังสรุปข้อตกลงดังกล่าวโดยเร็วที่สุด รายงานช่าวข้างต้น สอดคล้องกับสิ่งที่ทรัมป์เพิ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อเมื่อไม่กี่ชั่โมงนี้ว่า "ยูเครนต้องลงนามข้อตกลง ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะมีปัญหาใหญ่ตามมา" “เรากำลังลงนามข้อตกลง ซึ่งหวังว่าจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นนี้ และจะทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะได้เงิน 400,000 หรือ 500,000 ล้านดอลลาร์ กลับคืนมา
    0 Comments 0 Shares 317 Views 0 Reviews
  • ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์ พึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม

    ### ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความสมดุลนี้ ได้แก่:
    1. **การใช้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม**
    - เทคโนโลยีสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์ ลม) การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า และการรีไซเคิลขยะ
    - เทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    2. **ผลกระทบเชิงลบของเทคโนโลยี**
    - การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากเพื่อผลิตเทคโนโลยี เช่น การขุดแร่หายากสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    - มลพิษจากกระบวนการผลิตและขยะอิเล็กทรอนิกส์
    - การรบกวนระบบนิเวศจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรม

    3. **การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต**
    - สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น มลพิษทางอากาศและน้ำ
    - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกทำลาย

    4. **บทบาทของมนุษย์ในการสร้างสมดุล**
    - มนุษย์ต้องรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    - การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
    - การสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อม

    ### สรุป:
    ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการจัดการอย่างรอบคอบ มนุษย์ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีต้องตระหนักถึงผลกระทบและพยายามลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งเทคโนโลยีและสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
    ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งมนุษย์ พึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต ในขณะที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต แต่ก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศได้หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม ### ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความสมดุลนี้ ได้แก่: 1. **การใช้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม** - เทคโนโลยีสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์ ลม) การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า และการรีไซเคิลขยะ - เทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบและจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. **ผลกระทบเชิงลบของเทคโนโลยี** - การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากเพื่อผลิตเทคโนโลยี เช่น การขุดแร่หายากสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ - มลพิษจากกระบวนการผลิตและขยะอิเล็กทรอนิกส์ - การรบกวนระบบนิเวศจากการขยายตัวของเมืองและอุตสาหกรรม 3. **การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต** - สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี เช่น มลพิษทางอากาศและน้ำ - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากที่อยู่อาศัยถูกทำลาย 4. **บทบาทของมนุษย์ในการสร้างสมดุล** - มนุษย์ต้องรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น - การสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อม ### สรุป: ความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการจัดการอย่างรอบคอบ มนุษย์ในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีต้องตระหนักถึงผลกระทบและพยายามลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งเทคโนโลยีและสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
    0 Comments 0 Shares 406 Views 0 Reviews
More Results