• วลีรักจาก <จันทราอัสดง>

    สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก

    วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl)

    แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร?

    ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน

    “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น

    หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง

    เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี

    วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804
    https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502
    http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html
    https://www.621seo.cn/a/83.html

    #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    วลีรักจาก <จันทราอัสดง> สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl) แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร? ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้ เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804 https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502 http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html https://www.621seo.cn/a/83.html #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 227 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 304 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว

    ความมีอยู่ว่า
    ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน”
    นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน
    เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ

    ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心)

    บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส

    บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน)
    เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา
    เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา

    สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้

    มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html
    http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx
    https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml

    #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว ความมีอยู่ว่า ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心) บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน) เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้ มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694 https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    3G.163.COM
    任嘉伦白鹿新戏《周生如故》,朝堂线太过儿戏,剧情偏平淡_手机网易网
    任嘉伦,白鹿的新戏《周生如故》开播了。任嘉伦出演周生辰,坐拥数十万兵马的小南辰王,驻守西州的不败将军。白鹿出演漼时宜,世家大族漼家的嫡女,指腹为婚的未来太子妃。无论是周生辰还是漼时宜他们的事业线、感情线都和朝堂线有密切的联系,甚至是决定性作用。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 463 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

    จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง)

    ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง

    ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้

    ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์

    มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป)

    ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว

    บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี

    แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ

    หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ
    หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html
    http://www.exam58.com/gushi/4582.html
    https://www.sohu.com/a/402043209_99929216
    https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957

    #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า) วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้ ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์ มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป) ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม? สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html http://www.exam58.com/gushi/4582.html https://www.sohu.com/a/402043209_99929216 https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957 #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 759 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ

    วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน

    จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ

    ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง

    ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน

    ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์

    ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน

    เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349
    http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html
    https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451
    https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0
    https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400
    http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html
    https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html

    #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจหรือที่เรียกรวมว่า ‘สื้อเจีย’ (世家) มีเพื่อนเพจสนใจไม่น้อย ให้หาเรื่องราวตระกูลสื้อเจียอื่นมาเล่าให้ฟังอีก Storyฯ เล่าแบบคร่าวๆ นะคะ วันนี้เริ่มต้นที่สี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) สี่ตระกูลนี้คือ ชุยแห่งชิงเหอ (ที่ Storyฯ พูดถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว) หลูแห่งลั่วหยาง เจิ้งแห่งสิงหยาง และหวางแห่งไท่หยวน จะเห็นว่าคำกล่าวเรียกมีสององค์ประกอบคือ แซ่/สกุล และพื้นที่การปกครอง ดังนั้น ในบรรดาสายตระกูลที่จะเล่าถึงต่อไปนี้ อาจมีบางแซ่ที่ใช้กันแพร่หลาย แต่เขาจะมี ‘สายแข็ง’ ของเขาค่ะ ตระกูลหลูแห่งลั่วหยาง (范阳卢氏) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่แถบพื้นที่เหอเป่ยและเหอหนาน แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและชนกลุ่มอื่น มีผู้รับราชการตำแหน่งสูงหลายคน ต้นตระกูลที่โด่งดังมากคือประมุขรุ่นที่ 13 หลูอ๋าว ผู้ดำรงตำแหน่งอู่จิงป๋อซื่อ (五经博士 / ราชบัณฑิตห้าวิชา) ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) และรุ่นหลานของเขา หลูจื๋อ มีผลงานช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจนได้รับพระราชทานเขตการปกครองจัวโจวซึ่งครอบคลุมลั่วหยาง ตระกูลหลูสายลั่วหยางเป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) ในสมัยถังเช่นเดียวกับตระกูลชุยแห่งชิงเหอ สร้างฐานอำนาจมาจากสายบุ๋นต่อมาจึงขยายอิทธิพลไปยังด้านอื่น ในประวัติอันยาวนานหลายร้อยปีของตระกูลหลูแห่งลั่วหยางนี้ มีพระราชบุตรเขยในสมัยเว่ยเหนือถึงสามคน มีที่ดำรงตำแหน่งราชครูหลายคน เช่นในสมัยองค์โจวอู่ตี้ (ค.ศ. 543-578) ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) 8 คน ยังไม่รวมข้าราชการระดับอื่น อีกทั้งยังมีกวีเอกเลื่องชื่อและลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังอีกหลายคน ตระกูลเจิ้งแห่งสิงหยาง (荥阳郑氏) มีรากเหง้ามาจากแคว้นเจิ้งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) รับราชการมีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในตำแหน่งระดับสูงเช่นกัน ปักหลักอยู่บริเวณไคเฟิงในพื้นที่เหอหนาน ในสมัยถังมีเป็นอัครมหาเสนาบดี 10 คน และข้าราชการระดับราชเลขาธิการและระดับสูงอื่นๆ อีกหลายคนทั้งสายบุ๋นและสายบู๊ แน่นอนว่ายังไม่รวมฝ่ายหญิงก็มีการแต่งเข้าวังหลายคนในหลายราชวงศ์ ตระกูลหวางแห่งไท่หยวน (太原王氏) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตการปกครองไท่หยวนจวิ้นทางด้านเหนือของจีน ในสมัยสามก๊กรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก รับราชการในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นในการช่วยรวบรวมดินแดนในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ลูกหลานฝ่ายหญิงได้ดิบได้ดีเป็นถึงฮองเฮาด้วยกันสองคน ตระกูลหวางอยู่ยงคงกระพันรับราชการต่อเนื่องยาวนานกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี แต่มีการถกเถียงกันว่าเป็นตระกูลหวางสายไหน เพราะในบันทึกของสมัยเว่ยเหนือกล่าวถึงตระกูลหวางแห่งไท่หยวน แต่พอมาถึงราชวงศ์ถังนั้น หนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) มีตระกูลหวาง แต่บ้างว่าเป็นสายหลางหยา บ้างว่าเป็นสายไท่หยวน เรื่องห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) แปะไว้ก่อน คุยต่อคราวหน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.zhlsw.cn/readnews.asp?newsid=2349 http://www.wang-shi.com/html/80/n-980.html https://baike.baidu.com/item卢氏家谱/5980451 https://page.om.qq.com/page/O5ihK_EMn_MqZEggEVq1jLwA0 https://www.baike.com/wikiid/7851417530740071880?prd=mobile&view_id=1sf2g14c6sf400 http://www.qulishi.com/article/201910/371662.html https://m.samrugs.com/shijiezhizui/zhongguo/60003.html #ตระกูลหลู #สกุลหลู #ตระกูลเจิ้ง #สกุลเจิ้ง #ตระกูลหวาง #สกุลหวาง #สื้อเจีย
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 585 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่
    แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต.
    .
    ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส.
    .
    ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น
    .
    ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
    .
    สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า...
    ================================================
    .
    พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด
    จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง
    จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี
    เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ
    .
    Born : nineteen hundred and ten*
    That was the year when Kings died**
    The stars in heaven did laugh
    On earth people cried when I was born
    .
    [* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น]
    =================================================
    .
    พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด...
    "ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี"
    แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน
    แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน
    .
    =================================================
    อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์
    ท่านเขียนกวีว่า....
    .
    ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย
    ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ
    เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ
    ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ
    .
    วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย
    เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า
    อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด
    หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ
    .
    - พ ณ.ประมวญมารค (2531) ==============================================
    ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534
    แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ.
    .
    ด้วยจิตคารวะ
    พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2566
    วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่ แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต. . ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส. . ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น . ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง) . สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า... ================================================ . พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ . Born : nineteen hundred and ten* That was the year when Kings died** The stars in heaven did laugh On earth people cried when I was born . [* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น] ================================================= . พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด... "ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี" แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน . ================================================= อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์ ท่านเขียนกวีว่า.... . ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ . วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ . - พ ณ.ประมวญมารค (2531) ============================================== ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534 แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ. . ด้วยจิตคารวะ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 2566
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 632 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’

    เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม?

    Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155)

    บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词)

    ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร?

    ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์

    ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี)

    บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง

    เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html
    http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml
    http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html

    #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’ เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม? Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155) บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词) ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร? ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์ ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี) บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了,小赵也太能打了吧!这个成绩是真的亮眼 ​
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 612 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องชีวประวัติ วันนี้เลยมาคุยให้ฟังถึงเรื่องราวของคนในตำนานอีกคู่หนึ่ง

    เพื่อนเพจที่ได้ติดตามละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> คงจำได้ถึงหนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทเด่นคือเฟิ่งชีอู๋ ประมุขตระกูลเฟิ่งแห่งยงโจวผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ซ่างซู’ (ขุนนางระดับเสนาธิการ) ในฉากที่นางได้เข้าพบกับท่านชายสองเฟิงหลันซี (พระเอก) ได้แสดงการสวามิภักดิ์ผ่านการเปรียบเปรยถึงซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวิน

    ความมีอยู่ว่า...
    ท่านชายสอง: ซือหม่าเซียงหรูต้องกักตัวเพราะป่วย เช่นเดียวกับข้า ตัวอยู่ในที่มืดมิด
    เฟิ่งชีอู๋: แทนที่จะอยู่ในที่มืด มิสู้จุดโคมเดินทาง หากท่านคิดเป็นซือหม่าเซียงหรู ข้ายอมเป็นจั๋วเหวินจวิน (ภรรยาของซือหม่าเซียงหรู) จุดโคมให้ท่าน
    - ถอดบทสนทนาจะละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ตามซับไทย

    หากใครไม่ทราบเรื่องราวของซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวินคงจะไม่เข้าใจความนัยของบทสนทนาข้างต้นนี้ วันนี้เลยนำเรื่องราวของทั้งคู่มาเล่าให้ฟังอย่างย่อ

    ซือหม่าเซียงหรู (179-117 ปีก่อนคริสตกาล สมัยราชวงศ์ฮั่น) เป็นคนพื้นเพเสฉวน สันทัดด้านอักษรและดนตรีจนได้เป็นอาจารย์ ต่อมาเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อหาหนทางเข้ารับราชการ แต่ด้วยพื้นเพครอบครัวยากจนจึงไม่ได้รับความสนใจนัก สุดท้ายถอดใจอำลาเมืองหลวงไปอาศัยอยู่ที่เมืองหลิงฉยงตามคำชวนของสหายนามว่า ‘หวางจี๋’ เป็นผู้ว่าการเขตหลิงฉยง

    ที่หลิงฉยง ซือหม่าเซียงหรูแสร้งทำเป็นป่วย วันๆ ไม่ยอมพบใคร โดยมีหวางจี๋คอยไปเยี่ยมเยียนทุกวัน จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ว่าซือหม่าเซียงหรูเป็นแขกพิเศษของหวางจี๋ ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่น้อย

    หนึ่งในนั้นคือคหบดีพ่อค้านามว่า ‘จั๋วหวางซุน’ เขามีลูกสาวคือจั๋วเหวินจวิน นางออกเรือนไปได้ไม่นานก็เป็นหม้ายจึงกลับมาอยู่กับบิดา ยามนั้นนางอายุเพียงสิบเจ็ด เลื่องชื่อด้วยโฉมงามและความสามารถด้านการดนตรีและโคลงกลอน

    อยู่มาวันหนึ่งจั๋วหวางซุนได้จัดงานเลี้ยงขึ้นโดยตั้งใจเชิญหวางจี๋และซือหม่าเซียงหรูมาเป็นแขก หวางจี๋ถึงขนาดไปเชิญซือหม่าเซียงหรูด้วยตนเอง เขาจึงยอมมาร่วมงาน และเพื่อเป็นการสนองการต้อนรับอันอบอุ่น เขาบรรเลงเพลงพิณ ‘หงส์วอนหาคู่’

    การเล่นพิณครั้งนี้ ไม่ว่าเป็นแผนหรือไม่ แต่ผลก็คือจั๋วเหวินจวินที่มาแอบดูเขาที่หลังฉากและได้ยินเพลงพิณขอรักของเขาเข้าก็ตกหลุมรัก คืนนั้นนางหนีตามเขากลับไปเมืองหลวง ที่นั่นจั๋วเหวินจวินค้นพบความจริงแล้วว่าเขายากจนมาก บ้านของเขามีเพียงสี่ผนังที่ว่างเปล่า แต่นางก็ไม่ทิ้งเขา ใช้ชีวิตแบบกัดก้อนเกลือกินอยู่กับเขาโดยอาศัยเงินและเครื่องประดับที่นางพกติดตัวมา ส่วนจั๋วหวางซุนเมื่อได้ข่าวก็ทั้งอับอายทั้งเสียใจถึงกับตัดขาดไม่ยอมให้เงินช่วยเหลือลูกสาวแม้แต่แดงเดียว

    ต่อมาเงินหมด จั๋วเหวินจวินคิดแล้วว่าอยู่เมืองหลวงต่อไปก็ไม่มีหนทาง จึงชวนซือหม่าเซียงหรูกลับมาที่เมืองหลิงฉยง พวกเขาขายรถม้าซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายเพื่อเปิดร้านเหล้าเล็กๆ แห่งหนึ่งช่วยกันทำมาหากิน ทั้งสองทำงานหนักแต่ก็ใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข สุดท้ายจั๋วหวางซุนใจอ่อนจึงมอบเงินและบ่าวให้จำนวนไม่น้อยเป็นเงินรับขวัญเขยคนนี้ พอที่ทั้งสองจะกลับไปเมืองหลวงซื้อที่ดินและใช้ชีวิตได้อย่างคนมีอันจะกิน

    ในช่วงเวลานั้นเอง บทประพันธ์ ‘จื่อซวีฟู่’ ของซือหม่าเซียงหรูเป็นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นอู่ตี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ติดตามใกล้ชิด ต่อมาหน้าที่การงานยิ่งเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นคนเนื้อหอม จึงเกิดความคิดที่จะรับอนุ แต่ต่อมาจั๋วเหวินจวินแต่งกลอนทำให้เขารำลึกถึงความหลังและเปลี่ยนความคิด (Storyฯ เคยคุยถึงเรื่อง ‘ลำนำผมขาว’ นี้ไปแล้ว ไปหาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    ดังนั้น บทสนทนาละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ข้างต้น ไม่เพียงแต่แสดงเจตจำนงของเฟิ่งชีอู๋ที่จะยอมเป็นภรรยาของพระเอก หากแต่ยังสะท้อนถึงความนัยว่า นางยอมใช้ทุกสิ่งอย่างที่นางมีเพื่อช่วยสนับสนุนเขา ไม่ทิ้งไม่หนี จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปตลอดโดยไม่แคร์ว่าผู้อื่นจะมองอย่างไร

    Storyฯ คิดว่านี่เป็นคำสวามิภักดิ์ที่จริงใจที่สุดเท่าที่สตรีนางหนึ่งจะมอบให้ชายใดได้แล้ว เพื่อนเพจคิดเหมือนกันไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://auete.com/Tv/wangju/qieshitianxia/
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/6ggbbpm.html
    https://kknews.cc/history/y39v3qk.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/卓文君/823759
    http://history.sina.com.cn/his/zl/2014-09-29/1551102344_2.shtml
    http://www.renwugushi.com/qinhan/a1043.html
    https://www.gugong.net/wenhua/34904.html

    #เทียบท้าปฐพี #เฟิ่งชีอู๋ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู #กวีเอกราชวงศ์ฮั่น
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องชีวประวัติ วันนี้เลยมาคุยให้ฟังถึงเรื่องราวของคนในตำนานอีกคู่หนึ่ง เพื่อนเพจที่ได้ติดตามละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> คงจำได้ถึงหนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทเด่นคือเฟิ่งชีอู๋ ประมุขตระกูลเฟิ่งแห่งยงโจวผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ซ่างซู’ (ขุนนางระดับเสนาธิการ) ในฉากที่นางได้เข้าพบกับท่านชายสองเฟิงหลันซี (พระเอก) ได้แสดงการสวามิภักดิ์ผ่านการเปรียบเปรยถึงซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวิน ความมีอยู่ว่า... ท่านชายสอง: ซือหม่าเซียงหรูต้องกักตัวเพราะป่วย เช่นเดียวกับข้า ตัวอยู่ในที่มืดมิด เฟิ่งชีอู๋: แทนที่จะอยู่ในที่มืด มิสู้จุดโคมเดินทาง หากท่านคิดเป็นซือหม่าเซียงหรู ข้ายอมเป็นจั๋วเหวินจวิน (ภรรยาของซือหม่าเซียงหรู) จุดโคมให้ท่าน - ถอดบทสนทนาจะละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ตามซับไทย หากใครไม่ทราบเรื่องราวของซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวินคงจะไม่เข้าใจความนัยของบทสนทนาข้างต้นนี้ วันนี้เลยนำเรื่องราวของทั้งคู่มาเล่าให้ฟังอย่างย่อ ซือหม่าเซียงหรู (179-117 ปีก่อนคริสตกาล สมัยราชวงศ์ฮั่น) เป็นคนพื้นเพเสฉวน สันทัดด้านอักษรและดนตรีจนได้เป็นอาจารย์ ต่อมาเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อหาหนทางเข้ารับราชการ แต่ด้วยพื้นเพครอบครัวยากจนจึงไม่ได้รับความสนใจนัก สุดท้ายถอดใจอำลาเมืองหลวงไปอาศัยอยู่ที่เมืองหลิงฉยงตามคำชวนของสหายนามว่า ‘หวางจี๋’ เป็นผู้ว่าการเขตหลิงฉยง ที่หลิงฉยง ซือหม่าเซียงหรูแสร้งทำเป็นป่วย วันๆ ไม่ยอมพบใคร โดยมีหวางจี๋คอยไปเยี่ยมเยียนทุกวัน จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ว่าซือหม่าเซียงหรูเป็นแขกพิเศษของหวางจี๋ ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือคหบดีพ่อค้านามว่า ‘จั๋วหวางซุน’ เขามีลูกสาวคือจั๋วเหวินจวิน นางออกเรือนไปได้ไม่นานก็เป็นหม้ายจึงกลับมาอยู่กับบิดา ยามนั้นนางอายุเพียงสิบเจ็ด เลื่องชื่อด้วยโฉมงามและความสามารถด้านการดนตรีและโคลงกลอน อยู่มาวันหนึ่งจั๋วหวางซุนได้จัดงานเลี้ยงขึ้นโดยตั้งใจเชิญหวางจี๋และซือหม่าเซียงหรูมาเป็นแขก หวางจี๋ถึงขนาดไปเชิญซือหม่าเซียงหรูด้วยตนเอง เขาจึงยอมมาร่วมงาน และเพื่อเป็นการสนองการต้อนรับอันอบอุ่น เขาบรรเลงเพลงพิณ ‘หงส์วอนหาคู่’ การเล่นพิณครั้งนี้ ไม่ว่าเป็นแผนหรือไม่ แต่ผลก็คือจั๋วเหวินจวินที่มาแอบดูเขาที่หลังฉากและได้ยินเพลงพิณขอรักของเขาเข้าก็ตกหลุมรัก คืนนั้นนางหนีตามเขากลับไปเมืองหลวง ที่นั่นจั๋วเหวินจวินค้นพบความจริงแล้วว่าเขายากจนมาก บ้านของเขามีเพียงสี่ผนังที่ว่างเปล่า แต่นางก็ไม่ทิ้งเขา ใช้ชีวิตแบบกัดก้อนเกลือกินอยู่กับเขาโดยอาศัยเงินและเครื่องประดับที่นางพกติดตัวมา ส่วนจั๋วหวางซุนเมื่อได้ข่าวก็ทั้งอับอายทั้งเสียใจถึงกับตัดขาดไม่ยอมให้เงินช่วยเหลือลูกสาวแม้แต่แดงเดียว ต่อมาเงินหมด จั๋วเหวินจวินคิดแล้วว่าอยู่เมืองหลวงต่อไปก็ไม่มีหนทาง จึงชวนซือหม่าเซียงหรูกลับมาที่เมืองหลิงฉยง พวกเขาขายรถม้าซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายเพื่อเปิดร้านเหล้าเล็กๆ แห่งหนึ่งช่วยกันทำมาหากิน ทั้งสองทำงานหนักแต่ก็ใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข สุดท้ายจั๋วหวางซุนใจอ่อนจึงมอบเงินและบ่าวให้จำนวนไม่น้อยเป็นเงินรับขวัญเขยคนนี้ พอที่ทั้งสองจะกลับไปเมืองหลวงซื้อที่ดินและใช้ชีวิตได้อย่างคนมีอันจะกิน ในช่วงเวลานั้นเอง บทประพันธ์ ‘จื่อซวีฟู่’ ของซือหม่าเซียงหรูเป็นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นอู่ตี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ติดตามใกล้ชิด ต่อมาหน้าที่การงานยิ่งเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นคนเนื้อหอม จึงเกิดความคิดที่จะรับอนุ แต่ต่อมาจั๋วเหวินจวินแต่งกลอนทำให้เขารำลึกถึงความหลังและเปลี่ยนความคิด (Storyฯ เคยคุยถึงเรื่อง ‘ลำนำผมขาว’ นี้ไปแล้ว ไปหาอ่านย้อนหลังนะคะ) ดังนั้น บทสนทนาละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ข้างต้น ไม่เพียงแต่แสดงเจตจำนงของเฟิ่งชีอู๋ที่จะยอมเป็นภรรยาของพระเอก หากแต่ยังสะท้อนถึงความนัยว่า นางยอมใช้ทุกสิ่งอย่างที่นางมีเพื่อช่วยสนับสนุนเขา ไม่ทิ้งไม่หนี จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปตลอดโดยไม่แคร์ว่าผู้อื่นจะมองอย่างไร Storyฯ คิดว่านี่เป็นคำสวามิภักดิ์ที่จริงใจที่สุดเท่าที่สตรีนางหนึ่งจะมอบให้ชายใดได้แล้ว เพื่อนเพจคิดเหมือนกันไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://auete.com/Tv/wangju/qieshitianxia/ https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/6ggbbpm.html https://kknews.cc/history/y39v3qk.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/卓文君/823759 http://history.sina.com.cn/his/zl/2014-09-29/1551102344_2.shtml http://www.renwugushi.com/qinhan/a1043.html https://www.gugong.net/wenhua/34904.html #เทียบท้าปฐพี #เฟิ่งชีอู๋ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู #กวีเอกราชวงศ์ฮั่น
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 745 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น)

    เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲)

    ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้
    “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร)

    หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ

    บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี

    หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก)

    หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076

    บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1
    https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433
    https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/王安石/127359
    https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120
    https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from=
    https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html

    #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น) เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲) ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้ “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร) หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก) หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076 บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1 https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433 https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/王安石/127359 https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120 https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from= https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    ENT.IFENG.COM
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 708 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 839 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 830 มุมมอง 0 รีวิว
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1450 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1480 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1221 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง

    สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่?

    ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น

    ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้

    นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก

    ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น

    ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน

    ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย

    สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด

    จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿)

    เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648
    https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://gushiju.net/ju/279740
    https://www.sohu.com/a/199347205_527107
    https://www.sohu.com/a/199977205_653164
    https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283
    https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html
    http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    วันเวลาประชุมท้องพระโรงสมัยถัง สวัสดีค่ะ หยุดปีใหม่ไปแล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการทำงาน เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นตากับภาพที่เหล่าขุนนางระดับสูงต้องตื่นแต่เช้ามายืนเข้าแถวเพื่อร่วมประชุมท้องพระโรง ไม่ทราบว่ามีใคร ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ กันบ้างไหมว่า เขา ‘เข้างาน’ กันเมื่อไหร่? ความถี่และชั่วโมงการประชุมท้องพระโรงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยค่ะ วันนี้เราคุยกันเกี่ยวกับสมัยถัง ในบันทึกรวมบทกฎหมายถังลิ่วเตี่ยน (唐六典) มีระบุไว้ดังนี้: ขุนนางติดยศระดับห้าและสูงกว่าที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง และข้าราชสำนักที่ต้องถวายงานใกล้ชิด ให้เข้าร่วมประชุมท้องพระโรงทุกวัน ส่วนขุนนางติดยศระดับเก้าจนถึงระดับหกที่ประจำอยู่ในเมืองหลวง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุ๋นหรือบู๊ ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกวันที่หนึ่งและสิบห้าของเดือน และในวันสำคัญอื่นๆ ที่กำหนด เช่นวันแรกแห่งปี เป็นต้น ส่วนขุนนางในพื้นที่อื่นนั้น หากจะเข้าร่วมประชุมท้องพระโรงต้องเป็นขุนนางติดยศระดับห้าหรือสูงกว่า และต้องได้รับการเรียกตัวจากฮ่องเต้ ไม่อย่างนั้นก็เข้าร่วมไม่ได้ นักการเมืองและกวีเอกสมัยถัง ไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) เคยเขียนไว้ในบทกวี “กลับค่ำออกแต่เช้า” (晚归早出) บรรยายถึงกิจวัตรประจำวันการทำงานโดยมีวรรคหนึ่งเขียนไว้ว่า “ออกจากที่ทำการก็มืดแล้ว คำนับหัวจรดพื้นในยามรุ่งสาง” ซึ่งก็คือเริ่มไปประชุมท้องพระโรงก่อนฟ้าสว่าง กว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก ประชุมท้องพระโรงสมัยนั้นเริ่มตีห้า แต่เหล่าขุนนางต้องไปเตรียมตัวรอเข้าเฝ้าตั้งแต่ประมาณตีสี่ ระยะเวลาการประชุมนั้นไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเลิกประชุมระหว่างยามเฉินและยามซื่อ (คือ07.00-10.59น.) หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปเข้าออฟฟิศที่กรม/กระทรวงของตัวเอง กว่าจะเลิกงานก็ประมาณยามเซิน (คือ 15.00-17.00น.) มีปรับเวลาตามฤดู กล่าวคือถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็ประมาณ 15.00น. ฤดูร้อนก็ค่อนไปทาง 17.00น. ถ้าใครมีงานมากก็ต้องอยู่เย็นกว่านั้น ชั่วโมงทำงานไม่โหดร้าย แต่คงต้องคิดถึงเวลาเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ก่อนอื่นมาทวนความทรงจำเกี่ยวกับนครฉางอันและถนนจูเชวี่ยที่คุยกันไปก่อนปีใหม่ (ดูรูปประกอบ 2) จากในรูปจะเห็นว่าเหล่าสถานที่ราชการ (กรม กระทรวง ศาล ฯลฯ) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าเขตพระนครหรือหวงเฉิง (皇城 / Royal City) ขึ้นเหนือไปอีกคือเขตพระราชวังหรือกงเฉิง (宫城 / Palace City) และพื้นที่รอบๆ เขตพระนครและเขตพระราชวังนี้ถูกซอยแบ่งเป็นเขตฟางสำหรับอยู่อาศัย สถานที่ราชการทั้งหลายอยู่ในเขตพระนคร แต่ขุนนางติดยศทั้งหลายไม่ได้พำนักอยู่ในเขตพระนคร หากแต่กระจายอยู่ตามเขตฟางใกล้ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ขี่ม้าหรือนั่งรถม้ามาทำงานได้ ส่วนใหญ่จะนั่งเกี้ยว (ก็ยังพอได้งีบระหว่างเดินทางบ้าง) ซึ่งขนาดของเกี้ยวและจำนวนคนที่หามเกี้ยวก็จะลดหลั่นกันไปตามยศขุนนาง แต่เมื่อถึงประตูเขตพระราชวังก็ต้องเดินเท้าทั้งหมด จากประตูเขตพระราชวังทางทิศใต้ที่เหล่าขุนนางเดินเข้ามา ต้องเดินขึ้นไปเรื่อยจนเหนือสุดที่เป็นติ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉางอัน (กรุณาดูรูปประกอบ) ซึ่งก็คือบริเวณพระราชฐาน พระราชวังต้าหมิงกง (大明宫 / Daming Grand Palace) และสถานที่ประชุมท้องพระโรงก็คือพระที่นั่งจื่อเฉิน (紫宸殿) เพื่อนเพจลองดูระยะทางจากเขตฟางแถวๆ หน้าประตูจูเชวี่ยทางใต้ของเขตพระนคร ขึ้นไปยังพระที่นั่งจื่อเฉินในแผนที่ ก็จะเห็นได้ว่า ระยะทางนี้ไม่น้อยเลย (อย่าลืมว่าถนนจูเชวี่ยยาวกว่า 5 กิโลเมตร และเขตฟางหนึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 0.6-1 กิโลเมตร) ลองคิดเอาว่าถ้าต้องเดินเท้าระยะทางนี้จะใช้เวลานานเท่าใด ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เหล่าขุนนางต้องตื่นตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงพระที่นั่งจื่อเฉินตอนตีสี่เพื่อรอเข้าประชุม เพราะว่าถ้าไปสายจะโดนหักเงินเดือน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงบ้านก็มืดแล้วจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/657711648 https://baike.baidu.com/item/唐长安城/5845041 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://gushiju.net/ju/279740 https://www.sohu.com/a/199347205_527107 https://www.sohu.com/a/199977205_653164 https://baike.baidu.com/item/紫宸殿/3232283 https://kknews.cc/history/6kzmj8v.html http://www.shxdx.com:8080/dxb/newspaper/1206/4ban/02.html#:~:text=唐代的长安城,分隔成许多方块区域 #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ฉางอัน #ประชุมท้องพระโรง #พระที่นั่งจื่อเฉิน #พระราชวังต้าหมิงกง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1280 มุมมอง 0 รีวิว
  • เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ

    เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ)

    วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้

    เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน
    ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่
    พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง
    ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า

    ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’

    แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ

    ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่

    ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง

    แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’)

    ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว

    เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน

    และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน

    ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm
    https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml
    https://kknews.cc/culture/3am8x23.html
    http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx
    https://www.soundofhope.org/post/468983
    https://baike.baidu.com/item/桃符

    #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ) วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้ เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่ พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’ แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่ ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’) ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml https://kknews.cc/culture/3am8x23.html http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620 https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx https://www.soundofhope.org/post/468983 https://baike.baidu.com/item/桃符 #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1336 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน

    “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง
    หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่
    ไฟป่าเผาไม่มอด
    ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก”
    - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ>

    บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’

    บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า

    ปลายทางอันไกลโพ้น
    ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง
    ส่งลาราชนัดดาอีกครา
    ทุ่งขจีแฝงความอาดูร

    (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท)

    จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน

    เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ...

    บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป

    ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน

    ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละคร
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97
    https://www.sohu.com/a/708520507_389451
    https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html
    https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148
    https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316

    #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงฉากหนึ่งใน <พสุธารักเคียงใจ> ที่พระนางนั่งเรือชมดาวกัน ความตอนที่แล้วเราคุยกันเรื่องบทกวีที่นางเอกกล่าวในฉากนี้ ซึ่งหลังจากนั้นพระเอกบอกว่ามีอีกบทกวีที่เขาชอบมากกว่า โดยนางเอกชิงท่องบทกวีดังกล่าวออกมาก่อน เป็นนัยว่าบทกวีบทนี้บ่งบอกความเป็นตัวตนของพระเอก เชื่อว่ามีเพื่อนเพจหลายคนที่คงงงเหมือนกับ Storyฯ ว่าเขาคุยอะไรกัน “หญ้าเขียวชอุ่มบนทุ่ง หนึ่งปีเหี่ยวเฉาสลับขึ้นใหม่ ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก” - บทแปลจากซับไทย <พสุธารักเคียงใจ> บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘ฟู่เต๋อกู่หยวนเฉ่าซ่งเปี๋ย’ (赋得古原草送别) โดยคำว่า ‘ฟู่เต๋อ’ นั้น เป็นการเรียกนำหน้าบทกวีที่แต่งเติมจากวลีหรือวรรคจากบทประพันธ์โบราณ ต่อมาใช้เป็นกติกาในการสอบขุนนางว่า หากจะเขียนบทกวีที่มียกวรรคมาจากบทประพันธ์โบราณให้ใช้คำนำหน้าชื่อบทกวีนั้นว่า ‘ฟู่เต๋อ’ ส่วนคำว่า ‘กู่หยวนเฉ่า’ นั้นแปลตรงตัวว่าทุ่งหญ้าโบราณ แต่ในบทกวีโบราณมักถูกใช้แทนคำเรียก ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นอุทยานบนเขาในนครฉางอันที่เราคุยกันไปในสัปดาห์ที่แล้ว และคำว่า ‘ซ่งเปี๋ย’ คือการอำลาหรือส่งคนเดินทางจากไป ดังนั้น ชื่อของบทกวีนี้แปลได้ใจความว่า ‘บทอำลาบนเล่อโหยวหยวน’ บทกวีนี้เป็นผลงานของกวีเอกและนักการเมืองชื่อดังในยุคช่วงปลายของราชวงศ์ถังคือ ไป๋จวีอี (ปีค.ศ. 772-846) จริงแล้วมีทั้งหมดแปดวรรค แต่ในซีรีส์กล่าวถึงเพียงสี่วรรค ซึ่งสี่วรรคหลังที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงว่า ปลายทางอันไกลโพ้น ทุ่งเขียวจรดเมืองอ้างว้าง ส่งลาราชนัดดาอีกครา ทุ่งขจีแฝงความอาดูร (หมายเหตุ คำว่า ‘ราชนัดดา’ นั้นในบทกวีโบราณอาจแปลได้เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลอันสูงส่ง และในบริบทของบทกวีนี้มีการแปลไว้ว่าหมายถึงสหายสนิท) จะเห็นว่า บทกวีนี้แรกเริ่มสี่วรรคกล่าวถึงความงามของทุ่งหญ้าที่สะท้อนถึงความไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่ในสี่วรรคหลัง ความงามนี้แปรเปลี่ยนเป็นความอ้างว้างเมื่อต้องอำลาจากกัน เมื่อมีชื่อนำหน้าว่า ‘ฟู่เต๋อ’ บทกวีนี้ต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอบขุนนางและมีวลีที่อ้างอิงมาจากบทกวีโบราณ... บทกวีนี้ไป๋จวีอีประพันธ์ขึ้นเมื่อครั้งเขาเข้าร่วมสอบขุนนางหลวง และบทกวีโบราณที่อ้างอิงนั้นคือบทกวีสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกมีชื่อว่า ‘จาวอิ่นซื่อ’ (招隐士) มีใจความชักจูงให้เหล่าเชื้อสายตระกูลสูงส่ง (คือความหมายของ ‘ราชนัดดา’ ในที่นี้) ที่หลบซ่อนกันอยู่นอกเมืองพากันกลับมารับใช้ราชสำนัก โดยวรรคที่ไป๋จวีอีอ้างอิงนั้นมาจากวรรคที่ว่า ‘ราชนัดดาเดินทางไปไม่กลับ หญ้าวสันต์งอกเงยเขียวขจี’ ที่ใช้ความงามของทุ่งหญ้าบ่งบอกความอ้างว้างหากเหล่าผู้มีการศึกษามีความสามารถต่างพากันทิ้งราชสำนักไป ปัจจุบันสี่วรรคแรกของบทกวีนี้ถูกนำมาใช้รวมในการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา เนื่องจากภาษาไพเราะและมีใจความเป็นแรงบันดาลใจให้ฟันฝ่าอุปสรรค แต่สี่วรรคหลังถูกละไว้ เนื่องจากใจความหดหู่รันทดเกินไปสำหรับเด็ก และวรรคที่ว่า ‘ไฟป่าเผาไม่มอด ลมวสันต์โชยก็งอกงามอีก’ (野火烧不尽 春风吹又生) กลายเป็นอีกหนึ่งวลียอดนิยมจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า บทกวีที่นางเอกกล่าวว่าสะท้อนถึงอุปนิสัยของพระเอกนั้น คือบ่งบอกถึงความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ เพื่อนเพจคิดว่าตรงไหมคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละคร Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E8%B5%8B%E5%BE%97 https://www.sohu.com/a/708520507_389451 https://www.kekeshici.com/shicimingju/ticai/jingse/998.html https://baike.baidu.com/item/赋得古原草送别/2873148 https://baike.baidu.com/item/招隐士/1905316 #พสุธารักเคียงใจ #กวีถัง #ไป๋จวีอี #เล่อโหยวหยวน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1025 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1213 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1503 มุมมอง 0 รีวิว