• **แมวป่าเซอลี่ สินสอดที่มอบให้เสี่ยวเฉียว**

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซี่รีส์เรื่อง <ปรปักษ์จำนน> คงจำได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมีการกล่าวถึงสินสอดที่หลิวเหยี่ยนนำมามอบให้นางเอกว่าใช้เพียงพอนมาแทนแมวป่า และเชื่อว่าหลายท่านอาจเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ว่าจริงๆ แล้วมันมีความหมายอย่างไร

    จริงๆ แล้วรายการสินสอดผันแปรไปตามยุคสมัย นอกจากจะปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ในบางยุคสมัยยังมีกฎหมายกำหนด เช่นในสมัยถังเริ่มมีบทกฎหมายระบุเกณฑ์ขั้นสูงสุดของสินสอดสำหรับชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้เพื่อจำกัดพฤติกรรมการซื้อสะใภ้หรือขายลูกสาว

    <ปรปักษ์จำนน> เป็นยุคสมัยในจินตนาการแต่ดูองค์ประกอบคล้ายคลึงตอนปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (แถวๆ ช่วงปีค.ศ. 180-220) ซึ่งพิธีการและธรรมเนียมส่วนใหญ่สืบทอดมาจากราชวงศ์ก่อนๆ

    หากเราดูตามบันทึกพิธีการหลี่จี้จะพบว่าสินสอดสำหรับขุนนางในสมัยก่อนราชวงศ์ฮั่นนั้น ประกอบด้วยผ้าสีดำแดงห้าพับและหนังกวางเต็มตัวสองผืน ฟังดูไม่มากแต่ล้วนสะท้อนความนัย โดยสีดำแดงสะท้อนหยินหยางและฟ้าดินคู่กัน ผ้าผืนห้าพับจับปลายชนกันแสดงถึงห้าธาตุห้าวง และหนังกวางเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาย ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติชาวบ้านทั่วไปอาจใช้ห่านป่ามาทดแทนหนังกวางที่หายากและแพง

    ต่อมาในสมัยฮั่น รายการสินสอดถูกเพิ่มขึ้นเป็นสามสิบรายการโดยให้ความสำคัญกับทองคำ ทั้งนี้ รายการอื่นประกอบด้วยสัตว์ (ซึ่งอาจแตกออกมาเป็นสัตว์สี่เท้าและสัตว์สองเท้า) ผ้าไหมหรือผ้าผืน สุรา และธัญพืชหลากชนิด ซึ่งอาจไม่ได้มีมูลค่าสูงนักแต่เน้นที่ความหมายมงคลและความตั้งใจในการคัดสรร

    แมวป่าที่พูดถึงใน ซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> นี้คือสัตว์สี่เท้าที่ถูกนำมาใช้เป็น ‘สัตว์หมั้นหมาย’ ((聘兽/พิ่นโซ่ว) ซึ่งในบริบทของสินสอดมันเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์หรือความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของฝ่ายชายนั่นเอง (อนึ่ง หากใช้สัตว์สี่เท้าชนิดอื่นก็อาจมีความหมายอื่น)

    แมวป่าดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ‘เซอลี่’ (หรือ Lynx ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าชนิดหนึ่งในตระกูลแมว มีขนาดเล็กกว่าเสือแต่ใหญ่กว่าแมว ลายจุดหางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 0.8-1.3 เมตรเมื่อโตเต็มที่ โดยมีเอกลักษณ์คือหูที่เรียวและมีขนสีดำยาวงอนขึ้น (ดูรูปประกอบ) ปัจจุบันมีอยู่สี่สายพันธ์ด้วยกันโดยที่พบเห็นในจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Eurasian Lynx และเป็นหนึ่งในสัตว์สงวน

    เท่าที่ Storyฯ ทำการบ้านมา ยังไม่เห็นความหมายเชิงมงคลเป็นพิเศษของแมวป่าเซอลี่ แต่มันถูกยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งภูเขาด้วยความว่องไวของมันทั้งบนพื้นและบนต้นไม้ มีอีกชื่อเรียกว่า ‘โบยบินเหนือหญ้า’ (草上飞/เฉ่าซ่างเฟย) และคนที่มีฐานะอันจะกินในสมัยโบราณนิยมใช้เซอลี่เป็นตัวช่วยในการล่าสัตว์ โดยเฉพาะในสมัยถัง จัดเป็นสัตว์ที่มีค่าหายากชนิดหนึ่ง

    และด้วยความที่แมวป่าเซอลี่เป็นสัตว์ที่ว่องไวล่าได้ยาก มันจึงถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> เป็นสัตว์หมั้นหมายที่แสดงถึงความตั้งใจอย่างยิ่งยวดของฝ่ายชาย โดยพระเอกตั้งใจออกไปล่ามาด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นสินสอด ในขณะที่หลิวเหยี่ยนใช้เพียงพอนมาเป็นตัวแทน นอกจากนี้ รายการสินสอดอื่นที่หลิวเหยี่ยนมอบให้นางเอกนั้นยังตกๆ หล่นๆ ไม่ว่าจะจำนวนรายการที่ไม่มากและผ้าผืนที่มีเพียงผ้าสีดำ (ไม่ใช่สีดำแดงตามพิธีการโบราณ) สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของหลิวเหยี่ยนซึ่งนางเอกก็รู้ดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=230176 https://www.sohu.com/a/571225018_121392910
    https://www.toutiao.com/article/7327926416916775465/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_10502786
    https://www.163.com/dy/article/HTQM9DMC0552XHZR.html
    https://culture.ycwb.com/2020-05/02/content_796281.htm
    https://www.napaidd.com/news/c6036/d93278

    #ปรปักษ์จำนน #สินสอดจีนโบราณ #แมวป่า #เซอลี่ #สาระจีน
    **แมวป่าเซอลี่ สินสอดที่มอบให้เสี่ยวเฉียว** สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซี่รีส์เรื่อง <ปรปักษ์จำนน> คงจำได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมีการกล่าวถึงสินสอดที่หลิวเหยี่ยนนำมามอบให้นางเอกว่าใช้เพียงพอนมาแทนแมวป่า และเชื่อว่าหลายท่านอาจเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ ว่าจริงๆ แล้วมันมีความหมายอย่างไร จริงๆ แล้วรายการสินสอดผันแปรไปตามยุคสมัย นอกจากจะปฏิบัติตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ในบางยุคสมัยยังมีกฎหมายกำหนด เช่นในสมัยถังเริ่มมีบทกฎหมายระบุเกณฑ์ขั้นสูงสุดของสินสอดสำหรับชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้เพื่อจำกัดพฤติกรรมการซื้อสะใภ้หรือขายลูกสาว <ปรปักษ์จำนน> เป็นยุคสมัยในจินตนาการแต่ดูองค์ประกอบคล้ายคลึงตอนปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (แถวๆ ช่วงปีค.ศ. 180-220) ซึ่งพิธีการและธรรมเนียมส่วนใหญ่สืบทอดมาจากราชวงศ์ก่อนๆ หากเราดูตามบันทึกพิธีการหลี่จี้จะพบว่าสินสอดสำหรับขุนนางในสมัยก่อนราชวงศ์ฮั่นนั้น ประกอบด้วยผ้าสีดำแดงห้าพับและหนังกวางเต็มตัวสองผืน ฟังดูไม่มากแต่ล้วนสะท้อนความนัย โดยสีดำแดงสะท้อนหยินหยางและฟ้าดินคู่กัน ผ้าผืนห้าพับจับปลายชนกันแสดงถึงห้าธาตุห้าวง และหนังกวางเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาย ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติชาวบ้านทั่วไปอาจใช้ห่านป่ามาทดแทนหนังกวางที่หายากและแพง ต่อมาในสมัยฮั่น รายการสินสอดถูกเพิ่มขึ้นเป็นสามสิบรายการโดยให้ความสำคัญกับทองคำ ทั้งนี้ รายการอื่นประกอบด้วยสัตว์ (ซึ่งอาจแตกออกมาเป็นสัตว์สี่เท้าและสัตว์สองเท้า) ผ้าไหมหรือผ้าผืน สุรา และธัญพืชหลากชนิด ซึ่งอาจไม่ได้มีมูลค่าสูงนักแต่เน้นที่ความหมายมงคลและความตั้งใจในการคัดสรร แมวป่าที่พูดถึงใน ซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> นี้คือสัตว์สี่เท้าที่ถูกนำมาใช้เป็น ‘สัตว์หมั้นหมาย’ ((聘兽/พิ่นโซ่ว) ซึ่งในบริบทของสินสอดมันเป็นสัญลักษณ์ของการล่าสัตว์หรือความสามารถในการทำมาหาเลี้ยงชีพของฝ่ายชายนั่นเอง (อนึ่ง หากใช้สัตว์สี่เท้าชนิดอื่นก็อาจมีความหมายอื่น) แมวป่าดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ‘เซอลี่’ (หรือ Lynx ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าชนิดหนึ่งในตระกูลแมว มีขนาดเล็กกว่าเสือแต่ใหญ่กว่าแมว ลายจุดหางสั้น ลำตัวยาวประมาณ 0.8-1.3 เมตรเมื่อโตเต็มที่ โดยมีเอกลักษณ์คือหูที่เรียวและมีขนสีดำยาวงอนขึ้น (ดูรูปประกอบ) ปัจจุบันมีอยู่สี่สายพันธ์ด้วยกันโดยที่พบเห็นในจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Eurasian Lynx และเป็นหนึ่งในสัตว์สงวน เท่าที่ Storyฯ ทำการบ้านมา ยังไม่เห็นความหมายเชิงมงคลเป็นพิเศษของแมวป่าเซอลี่ แต่มันถูกยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งภูเขาด้วยความว่องไวของมันทั้งบนพื้นและบนต้นไม้ มีอีกชื่อเรียกว่า ‘โบยบินเหนือหญ้า’ (草上飞/เฉ่าซ่างเฟย) และคนที่มีฐานะอันจะกินในสมัยโบราณนิยมใช้เซอลี่เป็นตัวช่วยในการล่าสัตว์ โดยเฉพาะในสมัยถัง จัดเป็นสัตว์ที่มีค่าหายากชนิดหนึ่ง และด้วยความที่แมวป่าเซอลี่เป็นสัตว์ที่ว่องไวล่าได้ยาก มันจึงถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> เป็นสัตว์หมั้นหมายที่แสดงถึงความตั้งใจอย่างยิ่งยวดของฝ่ายชาย โดยพระเอกตั้งใจออกไปล่ามาด้วยตนเองเพื่อใช้เป็นสินสอด ในขณะที่หลิวเหยี่ยนใช้เพียงพอนมาเป็นตัวแทน นอกจากนี้ รายการสินสอดอื่นที่หลิวเหยี่ยนมอบให้นางเอกนั้นยังตกๆ หล่นๆ ไม่ว่าจะจำนวนรายการที่ไม่มากและผ้าผืนที่มีเพียงผ้าสีดำ (ไม่ใช่สีดำแดงตามพิธีการโบราณ) สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของหลิวเหยี่ยนซึ่งนางเอกก็รู้ดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=230176 https://www.sohu.com/a/571225018_121392910 https://www.toutiao.com/article/7327926416916775465/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_10502786 https://www.163.com/dy/article/HTQM9DMC0552XHZR.html https://culture.ycwb.com/2020-05/02/content_796281.htm https://www.napaidd.com/news/c6036/d93278 #ปรปักษ์จำนน #สินสอดจีนโบราณ #แมวป่า #เซอลี่ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    劉宇寧、宋祖兒新劇《折腰》首播熱度奪冠 來自台灣的「他」與她上演祖孫訣別逼哭全網--上報
    (以下內容涉及劇透,請斟酌閱讀)陸劇女星宋祖兒因逃稅慘遭冷藏2年,近期順利解禁,她主演的多部新劇傳出......
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งดูละครเรื่อง <สตรีหาญ ฉางเกอ> ตอนที่หนึ่งเปิดตัวพระนางด้วยการแข่งขันอันเร้าใจของเกมกีฬาที่เรียกว่า ‘ชู่จวี’ (蹴鞠 หรือที่ BBC เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Kickball) เป็นศัพท์จีนที่จำตัวเขียนได้ยากมาก ไปทำการบ้านมาจึงพบว่าในเว็บจีนต่างพูดถึงเกมชู่จวีนี้ว่าเป็นต้นกำเนิดของฟุตบอล

    แต่เนื่องจากเพื่อนชาวอังกฤษของ Storyฯ พูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าฟุตบอลเป็นกีฬาของอังกฤษ Storyฯ จึงต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ปรากฏว่านาย Kevin Moore ผู้อำนวยการของ National Football Museum แห่งอังกฤษกล่าวไว้หลายปีแล้วดังนี้ค่ะ “While England is the birthplace of the modern game as we know it, we have always acknowledged that the origins of the game lie in China” ซึ่งหมายความว่า วิธีการเล่น/แข่งฟุตบอลในรูปแบบปัจจุบันนั้นถือกำเนิดจากอังกฤษก็จริง แต่ฟุตบอลมีรากฐานมาจากจีน

    กลับมาที่ชู่จวีกันดีกว่า

    ความ ‘เอ๊ะ’ เกิดขึ้นเมื่อเห็นในละครเรื่อง <สตรีหาญ ฉางเกอ> ที่รูปร่างหน้าตาของ ‘บอล’ มันเหมือนตะกร้อมากเลย คือดูจะเป็นหวายสาน (ตามรูปขวาบนจากในละคร) แต่ Storyฯ เคยเห็นในละครเรื่องอื่นดูวัสดุคล้ายผ้าก็มี ก็เลยต้องไปทำการบ้านอีก

    เลยมีรูปจากพิพิธภัณฑ์กีฬาส่านซีมาฝาก (รูปขวาล่าง) เป็นรูปของลูกบอลที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ปีค.ศ. 220, คือลูกซ้าย) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907, คือลูกขวา) สังเกตได้ว่าการตัดเย็บไม่เหมือนกัน แต่สรุปว่าทั้งคู่ทำมาจากหนังนะจ๊ะ ส่วนไส้ในนั้นจะเป็นขนเป็ดขนไก่

    ในสมัยราชวงศ์ฮั่น การเล่นชู่จวีสามารถเล่นแบบโชว์เดี่ยว เป็นการแสดงทักษะและลีลาของผู้เล่น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถังจึงมีการเล่นแข่งเป็นทีม ซึ่งวิธีเล่นโดยหลักคือแข่งกันเตะลูกเข้าโกล โกลเป็นห่วงทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งฟุต ตั้งอยู่ตรงกลางสนาม เรียกว่า เฟิงหลิวเหยี่ยน (Eye of the Flowing Wind) สูงเหนือพื้นประมาณสิบเมตร มีเอกสารทางประวัติศาสตร์จากสมัยราชวงศ์ซ่งไม่น้อยที่บรรยายถึงกฎกติกาการเล่นชู่จวีอย่างชัดเจน

    ชู่จวีเป็นกิจกรรมกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น แต่ว่ากันว่ายุคเฟื่องฟูของมันจริงๆ คือสมัยราชวงศ์ถัง-ซ่ง เพราะงานเลี้ยงในวังหรืองานเลี้ยงฉลองต้อนรับทูตสัมพันธไมตรีจากแคว้นต่างๆ มักจัดให้มีการเล่นชู่จวี นอกจากนี้ยังมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายในสังคมเมืองใหญ่อีกด้วย ผู้เล่นเดิมเป็นลูกหลานตระกูลผู้ดี เป็นผู้หญิงก็เล่นได้ (ในสมัยราชวงศ์ถัง) ต่อมาจึงมีนักเล่นมืออาชีพมาร่วมทีมด้วย แต่เมื่อผ่านยุคสมัยราชวงศ์ซ่งก็ค่อยๆ คลายความนิยมลง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eN5EY_3
    https://14th.xiancn.com/2021-04/22/content_6220692.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.bbc.com/news/magazine-35409594
    https://14th.xiancn.com/2021-04/22/content_6220692.html
    https://www.epochtimes.com/gb/16/6/18/n8010456.htm
    http://view.inews.qq.com/a/20200915A0HSBN00?tbkt=B3&uid=

    #สตรีหาญฉางเกอ #ชู่จวี #ราชวงศ์ถัง #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    Storyฯ เพิ่งดูละครเรื่อง <สตรีหาญ ฉางเกอ> ตอนที่หนึ่งเปิดตัวพระนางด้วยการแข่งขันอันเร้าใจของเกมกีฬาที่เรียกว่า ‘ชู่จวี’ (蹴鞠 หรือที่ BBC เขาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Kickball) เป็นศัพท์จีนที่จำตัวเขียนได้ยากมาก ไปทำการบ้านมาจึงพบว่าในเว็บจีนต่างพูดถึงเกมชู่จวีนี้ว่าเป็นต้นกำเนิดของฟุตบอล แต่เนื่องจากเพื่อนชาวอังกฤษของ Storyฯ พูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าฟุตบอลเป็นกีฬาของอังกฤษ Storyฯ จึงต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม ปรากฏว่านาย Kevin Moore ผู้อำนวยการของ National Football Museum แห่งอังกฤษกล่าวไว้หลายปีแล้วดังนี้ค่ะ “While England is the birthplace of the modern game as we know it, we have always acknowledged that the origins of the game lie in China” ซึ่งหมายความว่า วิธีการเล่น/แข่งฟุตบอลในรูปแบบปัจจุบันนั้นถือกำเนิดจากอังกฤษก็จริง แต่ฟุตบอลมีรากฐานมาจากจีน กลับมาที่ชู่จวีกันดีกว่า ความ ‘เอ๊ะ’ เกิดขึ้นเมื่อเห็นในละครเรื่อง <สตรีหาญ ฉางเกอ> ที่รูปร่างหน้าตาของ ‘บอล’ มันเหมือนตะกร้อมากเลย คือดูจะเป็นหวายสาน (ตามรูปขวาบนจากในละคร) แต่ Storyฯ เคยเห็นในละครเรื่องอื่นดูวัสดุคล้ายผ้าก็มี ก็เลยต้องไปทำการบ้านอีก เลยมีรูปจากพิพิธภัณฑ์กีฬาส่านซีมาฝาก (รูปขวาล่าง) เป็นรูปของลูกบอลที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ปีค.ศ. 220, คือลูกซ้าย) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907, คือลูกขวา) สังเกตได้ว่าการตัดเย็บไม่เหมือนกัน แต่สรุปว่าทั้งคู่ทำมาจากหนังนะจ๊ะ ส่วนไส้ในนั้นจะเป็นขนเป็ดขนไก่ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น การเล่นชู่จวีสามารถเล่นแบบโชว์เดี่ยว เป็นการแสดงทักษะและลีลาของผู้เล่น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถังจึงมีการเล่นแข่งเป็นทีม ซึ่งวิธีเล่นโดยหลักคือแข่งกันเตะลูกเข้าโกล โกลเป็นห่วงทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งฟุต ตั้งอยู่ตรงกลางสนาม เรียกว่า เฟิงหลิวเหยี่ยน (Eye of the Flowing Wind) สูงเหนือพื้นประมาณสิบเมตร มีเอกสารทางประวัติศาสตร์จากสมัยราชวงศ์ซ่งไม่น้อยที่บรรยายถึงกฎกติกาการเล่นชู่จวีอย่างชัดเจน ชู่จวีเป็นกิจกรรมกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น แต่ว่ากันว่ายุคเฟื่องฟูของมันจริงๆ คือสมัยราชวงศ์ถัง-ซ่ง เพราะงานเลี้ยงในวังหรืองานเลี้ยงฉลองต้อนรับทูตสัมพันธไมตรีจากแคว้นต่างๆ มักจัดให้มีการเล่นชู่จวี นอกจากนี้ยังมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายในสังคมเมืองใหญ่อีกด้วย ผู้เล่นเดิมเป็นลูกหลานตระกูลผู้ดี เป็นผู้หญิงก็เล่นได้ (ในสมัยราชวงศ์ถัง) ต่อมาจึงมีนักเล่นมืออาชีพมาร่วมทีมด้วย แต่เมื่อผ่านยุคสมัยราชวงศ์ซ่งก็ค่อยๆ คลายความนิยมลง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eN5EY_3 https://14th.xiancn.com/2021-04/22/content_6220692.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.bbc.com/news/magazine-35409594 https://14th.xiancn.com/2021-04/22/content_6220692.html https://www.epochtimes.com/gb/16/6/18/n8010456.htm http://view.inews.qq.com/a/20200915A0HSBN00?tbkt=B3&uid= #สตรีหาญฉางเกอ #ชู่จวี #ราชวงศ์ถัง #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 386 มุมมอง 0 รีวิว
  • **วลีจีน ‘นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย’**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่อง ‘วลีเด็ด’

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> คงจำได้ว่าตอนท้ายเรื่องพระเอกขอลาออกจากราชการ เหตุผลของเขานั้นหากอ่านจากซับไทยอาจไม่ค่อยเข้าใจความหมาย Storyฯ จึงขอแปลใหม่โดยมีความแตกต่างจากซับไทยเล็กน้อยว่า “จนเมื่อมาพบกับโต้วเจา นางทำให้กระหม่อมรู้ว่า นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” (หมายเหตุ ในซับไทยใช้คำว่า ‘นายพราน’ ซึ่งไม่ผิดแต่ทำให้บริบทที่มาของวลีนี้ขาดหายไป)

    ยังฟังดูงงๆ ใช่ไหม? จะเข้าใจความหมายของมันก็ต้องเข้าใจบริบทและที่มาของมันค่ะ สองประโยค “นักล่ากวาง.... ต้องมองให้กว้าง” นี้ไม่ใช่วลีจีนโบราณ แต่มันมีรากฐานมาจากวรรณกรรมโบราณที่ชื่อว่า ‘หวยหนานจื่อ’ (淮南子 / บุรุษเมืองหวยหนาน) ถูกยกมาจากบรรพที่มีชื่อว่า ‘ซัวหลินซุ่น’ (说林训/ คำสอนจากป่าไม้)

    หวยหนานจื่อเป็นผลงานในยุคสมัยฮั่นตะวันตกของอ๋องหวยหนาน (หลิวอัน) และบัณฑิตในสังกัด ต่อมาถูกนำถวายให้แก่องค์ฮั่นอู่ตี้ (ปี 138 ก่อนคริสตกาล) เดิมมีทั้งหมด 3 บทรวม 62 บรรพ: บทใน 21 บรรพยาวกว่าสองแสนอักษร (ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งแสนสามหมื่นอักษร); บทกลาง 8 บรรพ (สูญหายไปแล้ว); และบทนอก 33 บรรพ (สูญหายไปแล้ว) โดยเนื้อหาของหวยหนานจื่อครอบคลุมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตำนานเล่าขาน (เช่นเรื่องหนี่ว์วาซ่อมแซมฟ้า โฮ่วอี้ยิงตะวัน) ข้อมูลทางธรรมชาติ (เช่นฤดูกาล) หลักหยินหยาง คำสอนขงจื๊อ คำสอนลัทธิเต๋า กลยุทธ์การศึกการทหาร ฯลฯ เรียบเรียงเป็นคำกล่าวสอนชี้ชวนให้คิดและสะท้อนปรัชญาชีวิต จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากมากที่สุดของจีน ทั้งด้วยภาษาที่ใช้และเนื้อหาที่ลึกซึ้งแอบแฝง โดยมีหลายวรรคหลายประโยคที่ถูกยกย่องเป็น ‘วลีเด็ด’ ข้ามกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน

    ประโยค “นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ” แปลงมาจากหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย คนเจรจาสินค้าพันตำลึงทองไม่ถกเถียงเงินจำนวนเล็กน้อย” (逐鹿者不顾兔,决千金之货者不争铢两之价。) ความหมายก็คือว่า คนเราเมื่อมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ควรวอกแวกไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ผ่านเข้ามา เหมือนกับนักล่ากวางที่มีเป้าหมายคือกวาง ก็ไม่ควรเสียสมาธิและพลังงานไปกับการล่ากระต่ายที่ผ่านเข้ามา

    ส่วนประโยคหลัง “นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” แปลงมาจากอีกหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่าสัตว์มองไม่เห็นภูเขาไท่ซาน ความกระหายภายนอกบดบังความกระจ่างภายในใจ” (逐兽者目不见太山,嗜欲在外,则明所蔽矣。) ความหมายก็คือว่า เมื่อเราใจจดจ่ออยู่กับบางอย่างเราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่ เหมือนกับนายพรานที่มัวแต่มองเหยื่อจนไม่เห็นความสวยงามของภูเขา และความต้องการบางอย่างอาจรุนแรงจนบดบังสติความคิดที่ควรมี

    เมื่อเข้าใจบริบทที่มาของประโยคทั้งสองแล้ว เพื่อนเพจคงเข้าใจได้ไม่ยากถึงความนัยที่แท้จริง... พระเอกบอกว่า นางเอกสอนให้เขามองข้ามความสะใจชั่ววูบของการแก้แค้น แต่ให้มองการพลิกคดีของติ้งกั๋วกงและตระกูลเจี่ยงเป็นเป้าหมายใหญ่ และไม่ให้ความแค้นมาบดบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและภาระหน้าที่ในการผดุงธรรมเพื่อบ้านเมือง มองข้ามความรู้สึกส่วนตัวไปยังภาพที่ใหญ่กว่าซึ่งก็คือความเดือดร้อนหรือความสุขสงบของประชาชน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g63261255/blossom-ending/
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_27370559
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.ihchina.cn/details/7011.html
    https://paper.people.com.cn/fcyym/html/2024-08/02/content_26075300.htm
    https://ctext.org/huainanzi/shuo-lin-xun/zhs
    https://www.xinfajia.net/4835.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_2e11ccdf0840.aspx
    https://www.shidianguji.com/zh/mingju/7474306868938162226

    #จิ่วฉงจื่อ #วลีจีน #หวยหนานจื่อ #นายพรานกับกระต่าย #สาระจีน
    **วลีจีน ‘นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย’** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่อง ‘วลีเด็ด’ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> คงจำได้ว่าตอนท้ายเรื่องพระเอกขอลาออกจากราชการ เหตุผลของเขานั้นหากอ่านจากซับไทยอาจไม่ค่อยเข้าใจความหมาย Storyฯ จึงขอแปลใหม่โดยมีความแตกต่างจากซับไทยเล็กน้อยว่า “จนเมื่อมาพบกับโต้วเจา นางทำให้กระหม่อมรู้ว่า นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” (หมายเหตุ ในซับไทยใช้คำว่า ‘นายพราน’ ซึ่งไม่ผิดแต่ทำให้บริบทที่มาของวลีนี้ขาดหายไป) ยังฟังดูงงๆ ใช่ไหม? จะเข้าใจความหมายของมันก็ต้องเข้าใจบริบทและที่มาของมันค่ะ สองประโยค “นักล่ากวาง.... ต้องมองให้กว้าง” นี้ไม่ใช่วลีจีนโบราณ แต่มันมีรากฐานมาจากวรรณกรรมโบราณที่ชื่อว่า ‘หวยหนานจื่อ’ (淮南子 / บุรุษเมืองหวยหนาน) ถูกยกมาจากบรรพที่มีชื่อว่า ‘ซัวหลินซุ่น’ (说林训/ คำสอนจากป่าไม้) หวยหนานจื่อเป็นผลงานในยุคสมัยฮั่นตะวันตกของอ๋องหวยหนาน (หลิวอัน) และบัณฑิตในสังกัด ต่อมาถูกนำถวายให้แก่องค์ฮั่นอู่ตี้ (ปี 138 ก่อนคริสตกาล) เดิมมีทั้งหมด 3 บทรวม 62 บรรพ: บทใน 21 บรรพยาวกว่าสองแสนอักษร (ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งแสนสามหมื่นอักษร); บทกลาง 8 บรรพ (สูญหายไปแล้ว); และบทนอก 33 บรรพ (สูญหายไปแล้ว) โดยเนื้อหาของหวยหนานจื่อครอบคลุมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตำนานเล่าขาน (เช่นเรื่องหนี่ว์วาซ่อมแซมฟ้า โฮ่วอี้ยิงตะวัน) ข้อมูลทางธรรมชาติ (เช่นฤดูกาล) หลักหยินหยาง คำสอนขงจื๊อ คำสอนลัทธิเต๋า กลยุทธ์การศึกการทหาร ฯลฯ เรียบเรียงเป็นคำกล่าวสอนชี้ชวนให้คิดและสะท้อนปรัชญาชีวิต จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากมากที่สุดของจีน ทั้งด้วยภาษาที่ใช้และเนื้อหาที่ลึกซึ้งแอบแฝง โดยมีหลายวรรคหลายประโยคที่ถูกยกย่องเป็น ‘วลีเด็ด’ ข้ามกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ประโยค “นักล่ากวางเมื่อเจอกระต่ายต้องยับยั้งชั่งใจ” แปลงมาจากหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่ากวางไม่ยี่หระกระต่าย คนเจรจาสินค้าพันตำลึงทองไม่ถกเถียงเงินจำนวนเล็กน้อย” (逐鹿者不顾兔,决千金之货者不争铢两之价。) ความหมายก็คือว่า คนเราเมื่อมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ควรวอกแวกไปกับเรื่องเล็กน้อยที่ผ่านเข้ามา เหมือนกับนักล่ากวางที่มีเป้าหมายคือกวาง ก็ไม่ควรเสียสมาธิและพลังงานไปกับการล่ากระต่ายที่ผ่านเข้ามา ส่วนประโยคหลัง “นักล่าสัตว์เจอภูเขาต้องมองให้กว้าง” แปลงมาจากอีกหนึ่งในวรรคเด็ดของ ‘หวยหนานจื่อ-ซัวหลินซุ่น’ ที่อ่านเต็มๆ ว่า “นักล่าสัตว์มองไม่เห็นภูเขาไท่ซาน ความกระหายภายนอกบดบังความกระจ่างภายในใจ” (逐兽者目不见太山,嗜欲在外,则明所蔽矣。) ความหมายก็คือว่า เมื่อเราใจจดจ่ออยู่กับบางอย่างเราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่ เหมือนกับนายพรานที่มัวแต่มองเหยื่อจนไม่เห็นความสวยงามของภูเขา และความต้องการบางอย่างอาจรุนแรงจนบดบังสติความคิดที่ควรมี เมื่อเข้าใจบริบทที่มาของประโยคทั้งสองแล้ว เพื่อนเพจคงเข้าใจได้ไม่ยากถึงความนัยที่แท้จริง... พระเอกบอกว่า นางเอกสอนให้เขามองข้ามความสะใจชั่ววูบของการแก้แค้น แต่ให้มองการพลิกคดีของติ้งกั๋วกงและตระกูลเจี่ยงเป็นเป้าหมายใหญ่ และไม่ให้ความแค้นมาบดบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและภาระหน้าที่ในการผดุงธรรมเพื่อบ้านเมือง มองข้ามความรู้สึกส่วนตัวไปยังภาพที่ใหญ่กว่าซึ่งก็คือความเดือดร้อนหรือความสุขสงบของประชาชน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g63261255/blossom-ending/ https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_27370559 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.ihchina.cn/details/7011.html https://paper.people.com.cn/fcyym/html/2024-08/02/content_26075300.htm https://ctext.org/huainanzi/shuo-lin-xun/zhs https://www.xinfajia.net/4835.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_2e11ccdf0840.aspx https://www.shidianguji.com/zh/mingju/7474306868938162226 #จิ่วฉงจื่อ #วลีจีน #หวยหนานจื่อ #นายพรานกับกระต่าย #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 363 มุมมอง 0 รีวิว
  • **ภาพวาด 24 กตัญญู**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงฉากที่พระนางในเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> สวมหน้ากากร่วมทายปริศนากันในเทศกาลโคมไฟ วันนี้มาคุยกันต่ออีกนิดเกี่ยวกับฉากนี้ ในเนื้อเรื่องนางเอกชนะได้โคมไฟหนึ่งใบซึ่งนางมอบให้พระเอกและพระเอกให้คนส่งต่อไปให้พ่อของเขา โดยโคมไฟใบนี้เป็นลายภาพที่นางเอกเรียกว่า ‘ภาพวาด 24 กตัญญู’

    ‘24 กตัญญู’ (二十四孝/เอ้อร์สือซื่อเซี่ยว) เป็นเรื่องราวความกตัญญูยี่สิบสี่เรื่องที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในสมัยหยวนโดยกัวจวีจิ้ง บัณฑิตชนบทธรรดาจากหมู่บ้านเล็กแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน โดยเป็นการรวบรวมเรื่องเล่าความกตัญญูในประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งมาเรียบเรียงเป็นประโยคกลอนสั้นประมาณสี่วรรค ทำให้ง่ายต่อการเล่าต่อและจดจำ จึงกลายเป็นหนึ่งในนิทานสอนเด็กที่ชาวบ้านนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาถูกหยิบยกมาเป็นเนื้อหาของภาพวาดหรืองานแกะสลักโดยหลากหลายศิลปินหลายยุคสมัย

    เนื้อหาส่วนใหญ่ของบทกวี 24 กตัญญูมีที่มาจาก ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ (孝子传/เซี่ยวจื่อจ้วน) ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดยหลิวเซี่ยง ราชนิกุลและนักประวัติศาสตร์อักษรศาสตร์สมัยฮั่นตะวันตก เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่สะท้อนแนวคำสอนและปรัชญาของขงจื๊อ และต่อมา ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ ถูกนำไปรวมอยู่ในอีกหลากหลายบทประพันธ์ในอีกหลายยุคสมัย หนึ่งในนั้นคือบันทึกเรื่องเล่าความกตัญญูยาวกว่าห้าม้วนที่ถูกค้นพบในห้องศิลาที่ตุนหวง

    24 กตัญญูกล่าวถึงอะไรบ้าง บทความยาวหน่อยนะคะ สรุปโดยสั้นได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบ):

    1. กตัญญูสะเทือนสวรรค์: เป็นเรื่องราวของจักรพรรดิซุ่นกว่าสี่พันปีที่แล้ว (เป็นหนึ่งในสามราชันห้าจักรพรรดิในตำนาน) เมื่อครั้งเขายังเป็นชาวบ้านธรรมดาก็ถูกพ่อ แม่เลี้ยงและน้องต่างมารดาให้ร้ายสารพัดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่เขาไม่คิดแค้นเคืองและยังคงดูแลพวกเขาอย่างดี จนสวรรค์เห็นใจจึงบันดาลให้มีช้างมาช่วยปรับผิวดินและมีนกมาช่วยหว่านเมล็ดพืชจนทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ต่อมาจักรพรรดิ์เหยาได้ยินกิตติศัพท์ความกตัญญูของเขาก็รับเป็นราชบุตรเขยและสุดท้ายให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป

    2. แบกข้าวให้บุพการี: กล่าวถึงจงโหยว (นามรองจื่อลู่) หนึ่งในศิษย์เอกของขงจื๊อ ขุนนางชื่อดังแห่งแคว้นเว่ยในยุคสมัยชุนชิว เขามีพื้นเพยากจน ทุกวันจะกินแต่ผักผลไม้ป่าเพื่อประหยัดเงิน แต่ยอมเดินทางไกลกว่าร้อยหลี่เพื่อไปหาซื้อข้าวแบกกลับมาให้พ่อแม่กิน ต่อมาเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีมีอันจะกินก็มักจะพร่ำเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีชีวิตอยู่ดีกินดีกับเขา

    3. ฮ่องเต้ชิมยา: เป็นเรื่องราวของฮั่นเหวินตี้หลิวเหิง บุตรของป๋อไทเฮา ที่คอยดูแลป๋อไทเฮาในยามป่วยตลอดสามปีด้วยตนเองแม้จะเป็นถึงฮ่องเต้มีข้าราชบริพารมากมาย โดยจะชิมยาของแม่ก่อนป้อนให้แม่ทุกครั้งเพื่อทดสอบว่ายานั้นอุ่นกำลังดีไม่ร้อนเกินไป

    4. ขายตัวฝังศพพ่อ: เป็นเรื่องราวของบุรุษนามว่าตงหย่งในสมัยฮั่นที่กำพร้าแม่แต่เด็ก ต่อมาเมื่อพ่อเสียชีวิตก็ไม่มีเงินทำศพพ่อจึงยอมขายตัวเองไปเป็นทาส วันหนึ่งพบเข้ากับสตรีกำพร้าไร้ที่ไป นางขอให้เขาช่วยแต่งงานอยู่กินกันโดยนางยินดีเข้าไปช่วยทำงานที่เรือนเศรษฐีด้วย เศรษฐีตกลงว่าเมื่อนางทอผ้าได้ครบสามร้อยพับก็จะอนุญาตให้ทั้งคู่ไถ่ตัวได้ นางใช้เวลาเพียงเดือนเดียวก็ทำสำเร็จ ต่อมานางบอกความจริงว่านางเป็นเทพธิดาและสวรรค์ซาบซึ้งกับความกตัญญูของเขาจึงมอบหมายให้มาช่วยเขา จากนั้นก็อำลาจากไป

    5. สีสันบันเทิงเพื่อบุพการี: กล่าวถึงเหล่าช่ายจื่อ หนึ่งในบัณฑิตมากความรู้ที่เร้นกายอยู่ในป่าในสมัยชุนชิว เขารักพ่อแม่มากอยากให้พ่อแม่เบิกบานใจทุกวัน ถึงขนาดว่าตัวเองอยู่ในวัย 70 ปีแล้วแต่ก็ยังแต่งตัวสีสันฉูดฉาดเล่นเป็นเด็ก หกล้มลงก็แกล้งทำเป็นกลิ้งเล่นอยู่บนพื้นเพื่อให้พ่อแม่วัยเฒ่าหัวเราะแทนที่จะตกใจเสียใจ

    6. นิ้วแม่เชื่อมใจลูก: เป็นเรื่องราวของเจิงจื่อ นักปรัชญาแห่งราชสำนักโจวและลูกศิษย์ของขงจื๊อ ที่วันหนึ่งออกไปเก็บฟืน แต่มีแขกมาเยือน แม่ของเขาอยู่บ้านคนเดียวก็กระวนกระวายไม่รู้ว่าจะต้อนรับขับสู้อย่างไรดี จนถึงขนาดกัดนิ้วตนเองด้วยความเครียด เจิงจื่อที่อยู่ในป่ากลับรู้สึกได้ถึงความเจ็บนั้น จึงรีบรุดกลับบ้านมาดูแม่และรับรองแขกด้วยตนเอง บ่งบอกถึงสายใยเหนียวแน่นของแม่ลูก

    7. คัดผลไม้ให้แม่กิน: เป็นเรื่องราวของไช่ซุ่นในสมัยฮั่น เขาอาศัยเก็บผลหม่อนกินประทังชีวิตเพราะยากจนมากและข้าวของราคาแพงเพราะสงคราม อยู่มาวันหนึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่นำขบวนทหารผ่านมาเห็นเขาแยกผลหม่อน ถามได้ความว่าเขาแยกผลสุกสีเข้มให้แม่กิน ส่วนตัวเองกินที่สีแดงที่ยังเปรี้ยวเฝื่อน นายทหารเห็นแก่ความกตัญญูของเขาจึงแบ่งปันเสบียงทหารให้ชายหนุ่ม

    8. กราบไหว้รูปสลักบุพการี: กล่าวถึงบุรุษสมัยฮั่นตะวันออกนามว่าหลันติงที่กำพร้าพ่อแม่แต่เด็ก เขาแกะสลักรูปปั้นพ่อแม่ตั้งไว้ในบ้านกราบไหว้ทุกวันเพราะละอายใจที่ไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณ ไม่เพียงกราบไหว้สามมื้อก่อนจะกินข้าว แต่มีเรื่องอะไรก็จะไปนั่งคุยให้รูปปั้นฟัง หนักเข้าภรรยาก็รำคาญ เลยลองเอาเข็มไปจิ้มรูปปั้น เมื่อเขากลับมาบ้านพบว่ารูปปั้นน้ำตาไหล เมื่อสืบสาวราวเรื่องได้แล้วเขาก็เลิกกับภรรยา

    9. น้ำนมกวางเพื่อบุพการี: กล่าวถึงถานจื่อ ประมุขแคว้นถานซึ่งเป็นแคว้นเล็กในสมัยราชวงศ์โจว ในสมัยเด็กเขายากจนและต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วและตาไม่ดี ต้องกินนมกวางช่วยบำรุงรักษา เขามักจะใช้หนังกวางคลุมตัวแล้วย่องเข้าไปปะปนอยู่ในฝูงกวางเพื่อเอานมกวางมาให้พ่อแม่กิน มีอยู่ครั้งหนึ่งเกือบโดนนายพรานยิง แต่เมื่อนายพรานได้ยินเรื่องราวความจำเป็นของเขาก็ยกนมกวางให้และยังส่งเขากลับบ้านด้วยตนเอง

    10. สวมเสื้อไส้ใยกก: เป็นเรื่องของหมินสุ่น (นามรองจื่อเชียน) หนึ่งในลูกศิษย์ของขงจื๊อ เขากำพร้าแม่ตั้งแต่เด็ก พ่อแต่งภรรยาใหม่มีลูกชายอีกสองคน เขาถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง ต้องสวมเสื้อใยกกในขณะที่น้องๆ ได้สวมเสื้อบุฝ้ายในยามหนาว วันหนึ่งเขาช่วยจูงรถให้พ่อแต่หนาวจนทำให้เชือกหลุดมือ พ่อบันดาลโทสะเฆี่ยนจนเสื้อขาดจึงพบว่าลูกชายคนนี้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ช่วยกันหนาว พ่อโกรธแม่เลี้ยงมากถึงกับเอ่ยปากบอกเลิกทันทีที่กลับถึงบ้าน แต่หมินสุ่นอ้อนวอนขออภัยแทนแม่เลี้ยง โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้มีลูกเพียงคนเดียวที่ลำบาก แต่ถ้าแม่เลี้ยงไม่อยู่จะมีลูกถึงสามคนที่ลำบาก สุดท้ายแม่เลี้ยงได้รับการให้อภัย นางจึงกลับตัวกลับใจดูแลหมินสุ่นอย่างดีนับแต่นั้นมา

    11. ฝังลูกเพื่อแม่: กล่าวถึงบุรุษนามว่ากัวจวี้ในสมัยฮั่น เขามีฐานะยากจน เมื่อพ่อเสียก็แลแม่เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อภรรยาคลอดบุตร เขาก็รู้สึกว่าเลี้ยงดูไม่ไหวและไม่อยากให้แม่ต้องมาอดมื้อกินมื้อไปกับเขา จึงตัดสินใจจะฝังลูกเพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยา แต่เมื่อขุดดินลงไปกลับพบทองคำหนึ่งไห เรื่องราวจบลงด้วยดีโดยเขาไม่ต้องฆ่าลูกตัวเองและมีฐานะดีขึ้น

    12. ปลากระโดดจากบ่อน้ำ: กล่าวถึงบุรุษนามว่าเจียงซือในสมัยฮั่น เขามีภรรยาแซ่ผางที่กตัญญูกับแม่สามีมาก แม่สามีชอบกินปลาก็ออกไปจับปลามาให้กิน อยู่มาวันหนึ่งอากาศไม่ดีกว่านางแซ่ผางจะกลับถึงบ้านก็ดึกจึงถูกเจียงซือไล่ออกจากบ้านเพราะเข้าใจผิดว่านางตั้งใจละเลยแม่ของเขา เมื่อแม่ของเจียงซือรู้เรื่องให้เจียงซือไปรับนางกลับมา และตั้งแต่วันที่นางกลับเข้าบ้านมาก็ปรากฏปลาหลีฮื้อสองตัวกระโดดออกมาจากบ่อน้ำกลางบ้านทุกวัน ทำให้นางไม่ต้องไปจับปลาในแม่น้ำอีกต่อไป

    13. ซุกส้มให้แม่: เป็นเรื่องราวของลู่จี้ ขุนนางในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย กล่าวถึงเมื่อตอนเขาอายุหกขวบ ได้มีโอกาสติดตามพ่อไปพบแม่ทัพท่านหนึ่งที่จวน ครั้นพอเขาคารวะอำลากลับ ส้มสองลูกที่เขาซุกไว้อยู่ในแขนเสื้อกลิ้งหล่นออกมา สอบถามได้ใจความว่าเขาเห็นแม่ชอบกินส้มจึงตั้งใจเก็บเอาไปให้แม่กิน ทำให้แม่ทัพรู้สึกประหลาดใจและชมชอบในความกตัญญูของเด็กคนนี้

    14. ยินเสียงฟ้าร้องปลอบแม่ที่หลุมศพ: กล่าวถึงบัณฑิตหนุ่มจากแคว้นเว่ยนามว่าหวางโผว แม่ของเขาเป็นคนกลัวเสียงฟ้าร้องมาก แม้ว่าจะตายไปแล้วแต่ทุกครั้งที่ฝนตกหนักฟ้าร้อง หวางโผวจะไปกราบหลุมศพนางพร้อมกับปลอบให้นางไม่ต้องกลัว

    15. กอดเสือช่วยพ่อ: กล่าวถึงสตรีนางหนึ่งในสมัยราชวงศ์จิ้นนามว่าหยางเซียง เมื่อครั้งนางมีอายุสิบสี่ปีได้ออกไปทำนากับพ่อ แต่พลันปรากฏเสือตัวหนึ่งกระโจนใส่พ่อจนล้มไป นางไม่มีอาวุธใดแต่ก็กระโดดกอดคอเสือแน่นเพื่อไม่ให้เสือกัดพ่อ สุดท้ายเสือยอมแพ้ปล่อยพ่อของนางแล้วหนีไป

    16. ให้นมย่าทวด: เป็นเรื่องราวความกตัญญูของย่าของเจี๋ยตู้สื่อชุยซานหนานในสมัยถัง เล่าถึงเมื่อครั้งที่ย่าทวดของชุยซานหนานทั้งแก่ทั้งไม่สบายจนเคี้ยวอาหารหยาบไม่ได้เลย ย่าของเขาคอยดูแลโดยใช้น้ำนมของตนป้อนจนย่าทวดอิ่ม ต่อมาทั้งครอบครัวอยู่กันอย่างสงบสุขและรุ่นลูกรุ่นหลานล้วนแสดงความกตัญญูต่อย่าของเขาเช่นกัน

    17. พัดหมอนอุ่นผ้าห่ม: เป็นเรื่องราวของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮั่นนามว่าหวงเซียง เขากำพร้าแม่แต่เด็กและคอยดูแลพ่อ แม้ด้วยวัยเพียงเก้าขวบก็รู้จักพัดหมอนของพ่อให้คลายร้อนในหน้าร้อนและนอนอุ่นผ้าห่มของพ่อในหน้าหนาวเพื่อว่าพ่อของเขาจะได้นอนหลับสบาย

    18. ร่ำไห้จนเกิดหน่อไม้: กล่าวถึงขุนนางสมัยสามก๊กนามว่าเมิ่งจง เขากำพร้าพ่อแต่เด็ก เมื่อครั้งยังหนุ่มต้องดูแลแม่ที่ชราและป่วยหนัก หมอบอกว่าต้องให้แม่กินหน่อไม้สด แต่จนใจเป็นฤดูหนาว เขาหาจนทั่วก็ไม่มีจึงเสียใจคุกเข่าร้องไห้กลางป่า ปรากฏว่าอยู่ดีๆ พื้นดินก็แยกออกแล้วมีหน่อไม้ผุดขึ้นมาให้เขาเก็บกลับบ้านให้แม่กินจนหายป่วย

    19. ล่อยุงแทนพ่อ: กล่าวถึงอู๋เหมิ่ง นักพรตในสมัยสามก๊ก ที่ในสมัยเด็กครอบครัวยากจนไม่มีแม้แต่มุ้งจะกางนอน เขามักจะถอดเสื้อนอนล่อให้ยุงมากัด เพื่อว่าพ่อแม่จะได้นอนหลับสบาย

    20. ล้างกระโถนให้แม่: เป็นเรื่องราวของกวีและนักเขียนอักษรชื่อดังสมัยซ่งเหนือนามว่าหวงถิงเจียน เขาดูแลแม่อย่างเสมอต้นเสมอปลายแม้ว่าจะมีฐานะดี และจะเอากระโถนของแม่ไปเทล้างด้วยตนเองทุกวันไม่เคยขาด

    21. แบกแม่หลบภัย: กล่าวถึงเจียงเก๋อ ขุนนางตงฉินชื่อดังผู้ถูกยกย่องเป็นขุนนางยอดกตัญญูในรัชสมัยของกษัตริย์อู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียงในยุคราชวงศ์เหนือใต้ เจียงเก๋อกำพร้าพ่อแต่เด็กและกตัญญูต่อแม่มาก ครั้งหนึ่งเคยแบกแม่เดินทางหนีสงคราม พบเข้ากับโจรภูเขา เขาอ้อนวอนว่าถ้าเขาตายไป แม่ผู้ชราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สุดท้ายโจรภูเขาเลยย้อมไว้ชีวิตปล่อยตัวไปทั้งเขาและแม่

    22. ขอปลาบนน้ำแข็ง: เป็นเรื่องของหวางเสียง หนึ่งในขุนนางระดับสูงของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เขากำพร้าแม่แต่เด็ก มีแม่เลี้ยงก็ถูกแม่เลี้ยงใส่ไฟจนพ่อไม่รัก อยู่มาวันหนึ่งแม่เลี้ยงไม่สบายมากเขาก็ดูแลนางอย่างใกล้ชิด ครั้นเห็นนางอยากกินปลาจึงออกไปจับปลา แต่จนใจอากาศหนาวจัดจนผิวน้ำเป็นน้ำแข็ง ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงถอดเสื้อลงนอนทาบน้ำแข็งโดยหวังว่ามันจะทำให้น้ำแข็งละลาย แล้วปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้น น้ำแข็งละลายจริงและมีปลาโดดออกมาให้เขาจับกลับบ้าน เมื่อแม่เลี้ยงได้กินปลาก็หายป่วย

    23. ชิมอุจจาระดูอาการป่วยพ่อ: เป็นเรื่องของขุนนางสมัยฉีใต้นามว่าอวี่เฉียนโหลว อยู่มาวันหนึ่งเขารู้สึกใจคอว้าวุ่นคิดถึงพ่อที่อยู่บ้านนอก จึงตัดสินใจลาเกษียณกลับไปดูแลพ่อที่ชรามากแล้ว เมื่อถึงบ้านก็พบว่าพ่อของเขาไม่สบายมาก หมอบอกว่าอาการของพ่อเขาสาหัสมาก หากอุจจาระมีรสขมก็จะดีมีโอกาสหาย เขาจึงแอบชิมอุจจาระพ่อ พบว่ามันมีรสหวานก็ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจ กราบไหว้ฟ้าขอให้พ่อให้และยอมแลกด้วยชีวิตตัวเองแทน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันพ่อของเขาก็สิ้นใจ

    24. ออกจากราชการเพื่อตามหาแม่: กล่าวถึงขุนนางสมัยซ่งนามว่าจูโซ่วชาง เมื่อครั้งเขาอายุเพียงเจ็ดขวบ แม่ของเขาที่มีสถานะเป็นอนุภรรยาได้ถูกภรรยาเอกของพ่อบีบให้ต้องแต่งงานไปกับคนอื่นจนเขาต้องพลัดพรากจากแม่โดยไม่มีข่าวคราว แต่เขาไม่เคยหยุดที่จะสืบหาแม่ของเขา ต่อมาห้าสิบปีให้หลังเขาได้รับเบาะแสเกี่ยวกับแม่ จึงขอลาออกจากตำแหน่งขุนนางระดับสูงเพื่อออกตามหาแม่พร้อมประกาศกร้าวว่าถ้าไม่พบแม่จะไม่กลับเมืองหลวงอีก และเขาก็ทำสำเร็จพบแม่ที่มีอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้วและพานางกลับเมืองหลวงด้วยกัน

    อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เรื่องราว 24 กตัญญูถูกเรียบเรียงเป็นกลอนสั้น แต่ละเรื่องยาวเพียงสี่วรรค ง่ายต่อการจดจำ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกไม่อินกับบางเรื่อง และที่ประเทศจีนเองก็มีการถกกันในวงกว้างว่า การกระทำต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องราวเหล่านี้ยังเหมาะสมต่อบริบทสังคมปัจจุบันหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าเพื่อนเพจอ่านแล้วคงพอเห็นภาพว่า เหตุใดเรื่องราวเหล่านี้จึงถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนความดีงามของความกตัญญูต่อพ่อแม่และเป็นตัวอย่างของการทำดีแล้วได้ดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.qq.com/rain/a/20241216A05PWX00
    http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinakongzi.org/zt/3419/tp/201705/t20170510_135104.htm
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Historiography/xiaozizhuan.html
    http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1
    https://www.8bei8.com/book/24xiao_1.html

    #จิ่วฉงจื่อ #24กตัญญู #เรื่องเล่าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ภาพวาด 24 กตัญญู** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงฉากที่พระนางในเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> สวมหน้ากากร่วมทายปริศนากันในเทศกาลโคมไฟ วันนี้มาคุยกันต่ออีกนิดเกี่ยวกับฉากนี้ ในเนื้อเรื่องนางเอกชนะได้โคมไฟหนึ่งใบซึ่งนางมอบให้พระเอกและพระเอกให้คนส่งต่อไปให้พ่อของเขา โดยโคมไฟใบนี้เป็นลายภาพที่นางเอกเรียกว่า ‘ภาพวาด 24 กตัญญู’ ‘24 กตัญญู’ (二十四孝/เอ้อร์สือซื่อเซี่ยว) เป็นเรื่องราวความกตัญญูยี่สิบสี่เรื่องที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในสมัยหยวนโดยกัวจวีจิ้ง บัณฑิตชนบทธรรดาจากหมู่บ้านเล็กแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน โดยเป็นการรวบรวมเรื่องเล่าความกตัญญูในประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งมาเรียบเรียงเป็นประโยคกลอนสั้นประมาณสี่วรรค ทำให้ง่ายต่อการเล่าต่อและจดจำ จึงกลายเป็นหนึ่งในนิทานสอนเด็กที่ชาวบ้านนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาถูกหยิบยกมาเป็นเนื้อหาของภาพวาดหรืองานแกะสลักโดยหลากหลายศิลปินหลายยุคสมัย เนื้อหาส่วนใหญ่ของบทกวี 24 กตัญญูมีที่มาจาก ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ (孝子传/เซี่ยวจื่อจ้วน) ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดยหลิวเซี่ยง ราชนิกุลและนักประวัติศาสตร์อักษรศาสตร์สมัยฮั่นตะวันตก เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่สะท้อนแนวคำสอนและปรัชญาของขงจื๊อ และต่อมา ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ ถูกนำไปรวมอยู่ในอีกหลากหลายบทประพันธ์ในอีกหลายยุคสมัย หนึ่งในนั้นคือบันทึกเรื่องเล่าความกตัญญูยาวกว่าห้าม้วนที่ถูกค้นพบในห้องศิลาที่ตุนหวง 24 กตัญญูกล่าวถึงอะไรบ้าง บทความยาวหน่อยนะคะ สรุปโดยสั้นได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบ): 1. กตัญญูสะเทือนสวรรค์: เป็นเรื่องราวของจักรพรรดิซุ่นกว่าสี่พันปีที่แล้ว (เป็นหนึ่งในสามราชันห้าจักรพรรดิในตำนาน) เมื่อครั้งเขายังเป็นชาวบ้านธรรมดาก็ถูกพ่อ แม่เลี้ยงและน้องต่างมารดาให้ร้ายสารพัดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่เขาไม่คิดแค้นเคืองและยังคงดูแลพวกเขาอย่างดี จนสวรรค์เห็นใจจึงบันดาลให้มีช้างมาช่วยปรับผิวดินและมีนกมาช่วยหว่านเมล็ดพืชจนทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ต่อมาจักรพรรดิ์เหยาได้ยินกิตติศัพท์ความกตัญญูของเขาก็รับเป็นราชบุตรเขยและสุดท้ายให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป 2. แบกข้าวให้บุพการี: กล่าวถึงจงโหยว (นามรองจื่อลู่) หนึ่งในศิษย์เอกของขงจื๊อ ขุนนางชื่อดังแห่งแคว้นเว่ยในยุคสมัยชุนชิว เขามีพื้นเพยากจน ทุกวันจะกินแต่ผักผลไม้ป่าเพื่อประหยัดเงิน แต่ยอมเดินทางไกลกว่าร้อยหลี่เพื่อไปหาซื้อข้าวแบกกลับมาให้พ่อแม่กิน ต่อมาเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีมีอันจะกินก็มักจะพร่ำเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีชีวิตอยู่ดีกินดีกับเขา 3. ฮ่องเต้ชิมยา: เป็นเรื่องราวของฮั่นเหวินตี้หลิวเหิง บุตรของป๋อไทเฮา ที่คอยดูแลป๋อไทเฮาในยามป่วยตลอดสามปีด้วยตนเองแม้จะเป็นถึงฮ่องเต้มีข้าราชบริพารมากมาย โดยจะชิมยาของแม่ก่อนป้อนให้แม่ทุกครั้งเพื่อทดสอบว่ายานั้นอุ่นกำลังดีไม่ร้อนเกินไป 4. ขายตัวฝังศพพ่อ: เป็นเรื่องราวของบุรุษนามว่าตงหย่งในสมัยฮั่นที่กำพร้าแม่แต่เด็ก ต่อมาเมื่อพ่อเสียชีวิตก็ไม่มีเงินทำศพพ่อจึงยอมขายตัวเองไปเป็นทาส วันหนึ่งพบเข้ากับสตรีกำพร้าไร้ที่ไป นางขอให้เขาช่วยแต่งงานอยู่กินกันโดยนางยินดีเข้าไปช่วยทำงานที่เรือนเศรษฐีด้วย เศรษฐีตกลงว่าเมื่อนางทอผ้าได้ครบสามร้อยพับก็จะอนุญาตให้ทั้งคู่ไถ่ตัวได้ นางใช้เวลาเพียงเดือนเดียวก็ทำสำเร็จ ต่อมานางบอกความจริงว่านางเป็นเทพธิดาและสวรรค์ซาบซึ้งกับความกตัญญูของเขาจึงมอบหมายให้มาช่วยเขา จากนั้นก็อำลาจากไป 5. สีสันบันเทิงเพื่อบุพการี: กล่าวถึงเหล่าช่ายจื่อ หนึ่งในบัณฑิตมากความรู้ที่เร้นกายอยู่ในป่าในสมัยชุนชิว เขารักพ่อแม่มากอยากให้พ่อแม่เบิกบานใจทุกวัน ถึงขนาดว่าตัวเองอยู่ในวัย 70 ปีแล้วแต่ก็ยังแต่งตัวสีสันฉูดฉาดเล่นเป็นเด็ก หกล้มลงก็แกล้งทำเป็นกลิ้งเล่นอยู่บนพื้นเพื่อให้พ่อแม่วัยเฒ่าหัวเราะแทนที่จะตกใจเสียใจ 6. นิ้วแม่เชื่อมใจลูก: เป็นเรื่องราวของเจิงจื่อ นักปรัชญาแห่งราชสำนักโจวและลูกศิษย์ของขงจื๊อ ที่วันหนึ่งออกไปเก็บฟืน แต่มีแขกมาเยือน แม่ของเขาอยู่บ้านคนเดียวก็กระวนกระวายไม่รู้ว่าจะต้อนรับขับสู้อย่างไรดี จนถึงขนาดกัดนิ้วตนเองด้วยความเครียด เจิงจื่อที่อยู่ในป่ากลับรู้สึกได้ถึงความเจ็บนั้น จึงรีบรุดกลับบ้านมาดูแม่และรับรองแขกด้วยตนเอง บ่งบอกถึงสายใยเหนียวแน่นของแม่ลูก 7. คัดผลไม้ให้แม่กิน: เป็นเรื่องราวของไช่ซุ่นในสมัยฮั่น เขาอาศัยเก็บผลหม่อนกินประทังชีวิตเพราะยากจนมากและข้าวของราคาแพงเพราะสงคราม อยู่มาวันหนึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่นำขบวนทหารผ่านมาเห็นเขาแยกผลหม่อน ถามได้ความว่าเขาแยกผลสุกสีเข้มให้แม่กิน ส่วนตัวเองกินที่สีแดงที่ยังเปรี้ยวเฝื่อน นายทหารเห็นแก่ความกตัญญูของเขาจึงแบ่งปันเสบียงทหารให้ชายหนุ่ม 8. กราบไหว้รูปสลักบุพการี: กล่าวถึงบุรุษสมัยฮั่นตะวันออกนามว่าหลันติงที่กำพร้าพ่อแม่แต่เด็ก เขาแกะสลักรูปปั้นพ่อแม่ตั้งไว้ในบ้านกราบไหว้ทุกวันเพราะละอายใจที่ไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณ ไม่เพียงกราบไหว้สามมื้อก่อนจะกินข้าว แต่มีเรื่องอะไรก็จะไปนั่งคุยให้รูปปั้นฟัง หนักเข้าภรรยาก็รำคาญ เลยลองเอาเข็มไปจิ้มรูปปั้น เมื่อเขากลับมาบ้านพบว่ารูปปั้นน้ำตาไหล เมื่อสืบสาวราวเรื่องได้แล้วเขาก็เลิกกับภรรยา 9. น้ำนมกวางเพื่อบุพการี: กล่าวถึงถานจื่อ ประมุขแคว้นถานซึ่งเป็นแคว้นเล็กในสมัยราชวงศ์โจว ในสมัยเด็กเขายากจนและต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วและตาไม่ดี ต้องกินนมกวางช่วยบำรุงรักษา เขามักจะใช้หนังกวางคลุมตัวแล้วย่องเข้าไปปะปนอยู่ในฝูงกวางเพื่อเอานมกวางมาให้พ่อแม่กิน มีอยู่ครั้งหนึ่งเกือบโดนนายพรานยิง แต่เมื่อนายพรานได้ยินเรื่องราวความจำเป็นของเขาก็ยกนมกวางให้และยังส่งเขากลับบ้านด้วยตนเอง 10. สวมเสื้อไส้ใยกก: เป็นเรื่องของหมินสุ่น (นามรองจื่อเชียน) หนึ่งในลูกศิษย์ของขงจื๊อ เขากำพร้าแม่ตั้งแต่เด็ก พ่อแต่งภรรยาใหม่มีลูกชายอีกสองคน เขาถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง ต้องสวมเสื้อใยกกในขณะที่น้องๆ ได้สวมเสื้อบุฝ้ายในยามหนาว วันหนึ่งเขาช่วยจูงรถให้พ่อแต่หนาวจนทำให้เชือกหลุดมือ พ่อบันดาลโทสะเฆี่ยนจนเสื้อขาดจึงพบว่าลูกชายคนนี้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ช่วยกันหนาว พ่อโกรธแม่เลี้ยงมากถึงกับเอ่ยปากบอกเลิกทันทีที่กลับถึงบ้าน แต่หมินสุ่นอ้อนวอนขออภัยแทนแม่เลี้ยง โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้มีลูกเพียงคนเดียวที่ลำบาก แต่ถ้าแม่เลี้ยงไม่อยู่จะมีลูกถึงสามคนที่ลำบาก สุดท้ายแม่เลี้ยงได้รับการให้อภัย นางจึงกลับตัวกลับใจดูแลหมินสุ่นอย่างดีนับแต่นั้นมา 11. ฝังลูกเพื่อแม่: กล่าวถึงบุรุษนามว่ากัวจวี้ในสมัยฮั่น เขามีฐานะยากจน เมื่อพ่อเสียก็แลแม่เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อภรรยาคลอดบุตร เขาก็รู้สึกว่าเลี้ยงดูไม่ไหวและไม่อยากให้แม่ต้องมาอดมื้อกินมื้อไปกับเขา จึงตัดสินใจจะฝังลูกเพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยา แต่เมื่อขุดดินลงไปกลับพบทองคำหนึ่งไห เรื่องราวจบลงด้วยดีโดยเขาไม่ต้องฆ่าลูกตัวเองและมีฐานะดีขึ้น 12. ปลากระโดดจากบ่อน้ำ: กล่าวถึงบุรุษนามว่าเจียงซือในสมัยฮั่น เขามีภรรยาแซ่ผางที่กตัญญูกับแม่สามีมาก แม่สามีชอบกินปลาก็ออกไปจับปลามาให้กิน อยู่มาวันหนึ่งอากาศไม่ดีกว่านางแซ่ผางจะกลับถึงบ้านก็ดึกจึงถูกเจียงซือไล่ออกจากบ้านเพราะเข้าใจผิดว่านางตั้งใจละเลยแม่ของเขา เมื่อแม่ของเจียงซือรู้เรื่องให้เจียงซือไปรับนางกลับมา และตั้งแต่วันที่นางกลับเข้าบ้านมาก็ปรากฏปลาหลีฮื้อสองตัวกระโดดออกมาจากบ่อน้ำกลางบ้านทุกวัน ทำให้นางไม่ต้องไปจับปลาในแม่น้ำอีกต่อไป 13. ซุกส้มให้แม่: เป็นเรื่องราวของลู่จี้ ขุนนางในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย กล่าวถึงเมื่อตอนเขาอายุหกขวบ ได้มีโอกาสติดตามพ่อไปพบแม่ทัพท่านหนึ่งที่จวน ครั้นพอเขาคารวะอำลากลับ ส้มสองลูกที่เขาซุกไว้อยู่ในแขนเสื้อกลิ้งหล่นออกมา สอบถามได้ใจความว่าเขาเห็นแม่ชอบกินส้มจึงตั้งใจเก็บเอาไปให้แม่กิน ทำให้แม่ทัพรู้สึกประหลาดใจและชมชอบในความกตัญญูของเด็กคนนี้ 14. ยินเสียงฟ้าร้องปลอบแม่ที่หลุมศพ: กล่าวถึงบัณฑิตหนุ่มจากแคว้นเว่ยนามว่าหวางโผว แม่ของเขาเป็นคนกลัวเสียงฟ้าร้องมาก แม้ว่าจะตายไปแล้วแต่ทุกครั้งที่ฝนตกหนักฟ้าร้อง หวางโผวจะไปกราบหลุมศพนางพร้อมกับปลอบให้นางไม่ต้องกลัว 15. กอดเสือช่วยพ่อ: กล่าวถึงสตรีนางหนึ่งในสมัยราชวงศ์จิ้นนามว่าหยางเซียง เมื่อครั้งนางมีอายุสิบสี่ปีได้ออกไปทำนากับพ่อ แต่พลันปรากฏเสือตัวหนึ่งกระโจนใส่พ่อจนล้มไป นางไม่มีอาวุธใดแต่ก็กระโดดกอดคอเสือแน่นเพื่อไม่ให้เสือกัดพ่อ สุดท้ายเสือยอมแพ้ปล่อยพ่อของนางแล้วหนีไป 16. ให้นมย่าทวด: เป็นเรื่องราวความกตัญญูของย่าของเจี๋ยตู้สื่อชุยซานหนานในสมัยถัง เล่าถึงเมื่อครั้งที่ย่าทวดของชุยซานหนานทั้งแก่ทั้งไม่สบายจนเคี้ยวอาหารหยาบไม่ได้เลย ย่าของเขาคอยดูแลโดยใช้น้ำนมของตนป้อนจนย่าทวดอิ่ม ต่อมาทั้งครอบครัวอยู่กันอย่างสงบสุขและรุ่นลูกรุ่นหลานล้วนแสดงความกตัญญูต่อย่าของเขาเช่นกัน 17. พัดหมอนอุ่นผ้าห่ม: เป็นเรื่องราวของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮั่นนามว่าหวงเซียง เขากำพร้าแม่แต่เด็กและคอยดูแลพ่อ แม้ด้วยวัยเพียงเก้าขวบก็รู้จักพัดหมอนของพ่อให้คลายร้อนในหน้าร้อนและนอนอุ่นผ้าห่มของพ่อในหน้าหนาวเพื่อว่าพ่อของเขาจะได้นอนหลับสบาย 18. ร่ำไห้จนเกิดหน่อไม้: กล่าวถึงขุนนางสมัยสามก๊กนามว่าเมิ่งจง เขากำพร้าพ่อแต่เด็ก เมื่อครั้งยังหนุ่มต้องดูแลแม่ที่ชราและป่วยหนัก หมอบอกว่าต้องให้แม่กินหน่อไม้สด แต่จนใจเป็นฤดูหนาว เขาหาจนทั่วก็ไม่มีจึงเสียใจคุกเข่าร้องไห้กลางป่า ปรากฏว่าอยู่ดีๆ พื้นดินก็แยกออกแล้วมีหน่อไม้ผุดขึ้นมาให้เขาเก็บกลับบ้านให้แม่กินจนหายป่วย 19. ล่อยุงแทนพ่อ: กล่าวถึงอู๋เหมิ่ง นักพรตในสมัยสามก๊ก ที่ในสมัยเด็กครอบครัวยากจนไม่มีแม้แต่มุ้งจะกางนอน เขามักจะถอดเสื้อนอนล่อให้ยุงมากัด เพื่อว่าพ่อแม่จะได้นอนหลับสบาย 20. ล้างกระโถนให้แม่: เป็นเรื่องราวของกวีและนักเขียนอักษรชื่อดังสมัยซ่งเหนือนามว่าหวงถิงเจียน เขาดูแลแม่อย่างเสมอต้นเสมอปลายแม้ว่าจะมีฐานะดี และจะเอากระโถนของแม่ไปเทล้างด้วยตนเองทุกวันไม่เคยขาด 21. แบกแม่หลบภัย: กล่าวถึงเจียงเก๋อ ขุนนางตงฉินชื่อดังผู้ถูกยกย่องเป็นขุนนางยอดกตัญญูในรัชสมัยของกษัตริย์อู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียงในยุคราชวงศ์เหนือใต้ เจียงเก๋อกำพร้าพ่อแต่เด็กและกตัญญูต่อแม่มาก ครั้งหนึ่งเคยแบกแม่เดินทางหนีสงคราม พบเข้ากับโจรภูเขา เขาอ้อนวอนว่าถ้าเขาตายไป แม่ผู้ชราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สุดท้ายโจรภูเขาเลยย้อมไว้ชีวิตปล่อยตัวไปทั้งเขาและแม่ 22. ขอปลาบนน้ำแข็ง: เป็นเรื่องของหวางเสียง หนึ่งในขุนนางระดับสูงของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เขากำพร้าแม่แต่เด็ก มีแม่เลี้ยงก็ถูกแม่เลี้ยงใส่ไฟจนพ่อไม่รัก อยู่มาวันหนึ่งแม่เลี้ยงไม่สบายมากเขาก็ดูแลนางอย่างใกล้ชิด ครั้นเห็นนางอยากกินปลาจึงออกไปจับปลา แต่จนใจอากาศหนาวจัดจนผิวน้ำเป็นน้ำแข็ง ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงถอดเสื้อลงนอนทาบน้ำแข็งโดยหวังว่ามันจะทำให้น้ำแข็งละลาย แล้วปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้น น้ำแข็งละลายจริงและมีปลาโดดออกมาให้เขาจับกลับบ้าน เมื่อแม่เลี้ยงได้กินปลาก็หายป่วย 23. ชิมอุจจาระดูอาการป่วยพ่อ: เป็นเรื่องของขุนนางสมัยฉีใต้นามว่าอวี่เฉียนโหลว อยู่มาวันหนึ่งเขารู้สึกใจคอว้าวุ่นคิดถึงพ่อที่อยู่บ้านนอก จึงตัดสินใจลาเกษียณกลับไปดูแลพ่อที่ชรามากแล้ว เมื่อถึงบ้านก็พบว่าพ่อของเขาไม่สบายมาก หมอบอกว่าอาการของพ่อเขาสาหัสมาก หากอุจจาระมีรสขมก็จะดีมีโอกาสหาย เขาจึงแอบชิมอุจจาระพ่อ พบว่ามันมีรสหวานก็ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจ กราบไหว้ฟ้าขอให้พ่อให้และยอมแลกด้วยชีวิตตัวเองแทน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันพ่อของเขาก็สิ้นใจ 24. ออกจากราชการเพื่อตามหาแม่: กล่าวถึงขุนนางสมัยซ่งนามว่าจูโซ่วชาง เมื่อครั้งเขาอายุเพียงเจ็ดขวบ แม่ของเขาที่มีสถานะเป็นอนุภรรยาได้ถูกภรรยาเอกของพ่อบีบให้ต้องแต่งงานไปกับคนอื่นจนเขาต้องพลัดพรากจากแม่โดยไม่มีข่าวคราว แต่เขาไม่เคยหยุดที่จะสืบหาแม่ของเขา ต่อมาห้าสิบปีให้หลังเขาได้รับเบาะแสเกี่ยวกับแม่ จึงขอลาออกจากตำแหน่งขุนนางระดับสูงเพื่อออกตามหาแม่พร้อมประกาศกร้าวว่าถ้าไม่พบแม่จะไม่กลับเมืองหลวงอีก และเขาก็ทำสำเร็จพบแม่ที่มีอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้วและพานางกลับเมืองหลวงด้วยกัน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เรื่องราว 24 กตัญญูถูกเรียบเรียงเป็นกลอนสั้น แต่ละเรื่องยาวเพียงสี่วรรค ง่ายต่อการจดจำ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกไม่อินกับบางเรื่อง และที่ประเทศจีนเองก็มีการถกกันในวงกว้างว่า การกระทำต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องราวเหล่านี้ยังเหมาะสมต่อบริบทสังคมปัจจุบันหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าเพื่อนเพจอ่านแล้วคงพอเห็นภาพว่า เหตุใดเรื่องราวเหล่านี้จึงถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนความดีงามของความกตัญญูต่อพ่อแม่และเป็นตัวอย่างของการทำดีแล้วได้ดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20241216A05PWX00 http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinakongzi.org/zt/3419/tp/201705/t20170510_135104.htm http://www.chinaknowledge.de/Literature/Historiography/xiaozizhuan.html http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1 https://www.8bei8.com/book/24xiao_1.html #จิ่วฉงจื่อ #24กตัญญู #เรื่องเล่าจีนโบราณ #สาระจีน
    NEWS.QQ.COM
    《九重紫》暴露了他好身材,长相人畜无害,却脱衣有肉穿衣显瘦_腾讯新闻
    由孟子义、李昀锐主演的电视剧《九重紫》,自开播以来,热度迅速攀升,播到15集,站内热度破了29000,有望展望30000了。 这个成绩在今年古装剧中是相当牛了,要知道,腾讯今年的古装剧热度....
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 626 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭)

    ความมีอยู่ว่า
    ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
    - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
    (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้

    ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)

    คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง

    ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย

    ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
    https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk

    #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭) ความมีอยู่ว่า ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...” - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้ ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง) คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9 https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    係?如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?由周迅、霍建華領銜主演的古裝清宮劇《如懿傳》正在騰訊視頻熱播中,雖然目前該劇收視並不理想,但依然還是值得追的,畢竟都是實力派演員出演,如懿傳劇情中出現了很多的人物,雖然是後宮嬪妃都是爭寵,但是也有著關係非常好的人,那么海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?下面就來看看吧。如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 432 มุมมอง 0 รีวิว
  • **เพลงฉู่รอบด้าน**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย

    เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้

    ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน

    ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ?

    เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด

    ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด

    และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง

    หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น.

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml
    https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html
    https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782
    https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064
    https://www.sohu.com/a/620378890_121448078

    #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    **เพลงฉู่รอบด้าน** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้ ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’ แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ? เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น. (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782 https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064 https://www.sohu.com/a/620378890_121448078 #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 555 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 520 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร

    ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

    เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน

    และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี

    บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ

    การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

    ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า

    ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)

    Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
    http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
    https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
    https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html

    #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน) Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998 https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699 http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    GIRLSTYLE.COM
    张婧仪 & 胡一天《惜花芷》扑开高走.热度破万!开播前被全网嘲「必扑」,靠「过硬剧情」扳回一城狠狠打脸酸民~ | GirlStyle 马来西亚女生日常
    张婧仪、胡一天主演的古装剧《惜花芷》站内热度破万啦!这部剧在开播之前无人看好,预告释出后更是嘲声一片,被看衰「一定会扑」!但是,《惜花芷》却靠剧情逆转口碑,收获许多“自来水”(真心喜欢而自愿帮宣传的观众)的喜爱,让收视率一路上升,杀出重围成为黑马!
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 721 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 618 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมเด็จหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
    สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ เนื้อผงพุทธคุณ วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ //พระดีพิธีใหญ๋ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองปากน้ำโพ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ศพก็ยังไม่เน่าเปื่อย จึงได้รับการบรรจุไว้ในโลงแก้ว // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณช่วยเสริมดวงเรา เสริมโชคลาภ การเงินการงานความสำเร็จ ปกปักรักษาเราให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้ง 10 ทิศ เมตตามหานิยม ค้าขายดีคล่อง พลิกโชคชะตาแก่ผู้บูชา >>

    ** พระสมเด็จหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้าง โดยผ่านพิธีปลุกเสกและถูกต้องตามพิธีกรรม มีรายนามพระเกจิคณาจารย์ ร่วมพิธีปลุกเสกในอุโบสถ วัดช่องแค อาทิ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหยอด วัดแก้งเจริญ, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง, หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์ เป็นต้น >>

    ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    สมเด็จหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ สมเด็จหลวงพ่อพรหมหลังยันต์สิบ เนื้อผงพุทธคุณ วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ //พระดีพิธีใหญ๋ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองปากน้ำโพ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว ศพก็ยังไม่เน่าเปื่อย จึงได้รับการบรรจุไว้ในโลงแก้ว // พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณช่วยเสริมดวงเรา เสริมโชคลาภ การเงินการงานความสำเร็จ ปกปักรักษาเราให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้ง 10 ทิศ เมตตามหานิยม ค้าขายดีคล่อง พลิกโชคชะตาแก่ผู้บูชา >> ** พระสมเด็จหลังยันต์สิบ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค วัตถุมงคลที่ได้จัดสร้าง โดยผ่านพิธีปลุกเสกและถูกต้องตามพิธีกรรม มีรายนามพระเกจิคณาจารย์ ร่วมพิธีปลุกเสกในอุโบสถ วัดช่องแค อาทิ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหยอด วัดแก้งเจริญ, หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก, หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง, หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์ เป็นต้น >> ** พระสถาพสวย ผิวหิ้ง หายากกครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ>

    เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ)

    ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

    อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ

    การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน

    วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.goldposter.com/zh/13304223/
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697

    #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ) ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.goldposter.com/zh/13304223/ https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697 #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 479 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 810 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้อำนวยการโครงการชาวจีน ขี้แจงขนแฟ้มเอกสารเพื่อไปเคลมประกันตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ตำรวจยึดไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

    วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ สน.บางซื่อ ตำรวจ บก.สส.บช.น.และ สน.บางซื่อ ได้รับแจ้งเห็นกลุ่มบุคคลกำลังขนย้ายแฟ้มเอกสาร ออกจากที่ทำการสำนักงานตู้คอนเทนเนอร์ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารจอดรถ บริเวณด้านหลังอาคารก่อสร้าง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ถนนกำแพงเพชร 2 ด้วยวิธีขนข้ามกำแพง เมื่อเดินทางไปตรวจสอบทราบว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่ไปแล้ว

    ต่อมาพบ นายหลิว หยาง สัญชาติจีน แจ้งว่าเป็นผู้อำนวยการโครงการ ตำรวจจึงแจ้งให้นำแฟ้มเอกสารที่ขนออกไปทั้งหมดกลับมาตรวจสอบ เนื่องจากต้องสงสัยว่าได้นำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุอาคาร สตง.แห่งใหม่ถล่ม นายหลิว หยาง ได้ดำเนินการติดตามรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ ทะเบียน 2ขฬ 2225 กรุงเทพฯ ต่อมาชายชาวจีน 4 คน ได้เข้าพบตำรวจพร้อมรถนำกระบะ และแฟ้มเอกสารทั้งหมดมามอบให้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030238

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    ผู้อำนวยการโครงการชาวจีน ขี้แจงขนแฟ้มเอกสารเพื่อไปเคลมประกันตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม ตำรวจยึดไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ • วันนี้ (30 มี.ค.) ที่ สน.บางซื่อ ตำรวจ บก.สส.บช.น.และ สน.บางซื่อ ได้รับแจ้งเห็นกลุ่มบุคคลกำลังขนย้ายแฟ้มเอกสาร ออกจากที่ทำการสำนักงานตู้คอนเทนเนอร์ (ชั่วคราว) ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารจอดรถ บริเวณด้านหลังอาคารก่อสร้าง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ถนนกำแพงเพชร 2 ด้วยวิธีขนข้ามกำแพง เมื่อเดินทางไปตรวจสอบทราบว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่ไปแล้ว • ต่อมาพบ นายหลิว หยาง สัญชาติจีน แจ้งว่าเป็นผู้อำนวยการโครงการ ตำรวจจึงแจ้งให้นำแฟ้มเอกสารที่ขนออกไปทั้งหมดกลับมาตรวจสอบ เนื่องจากต้องสงสัยว่าได้นำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุอาคาร สตง.แห่งใหม่ถล่ม นายหลิว หยาง ได้ดำเนินการติดตามรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ ทะเบียน 2ขฬ 2225 กรุงเทพฯ ต่อมาชายชาวจีน 4 คน ได้เข้าพบตำรวจพร้อมรถนำกระบะ และแฟ้มเอกสารทั้งหมดมามอบให้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030238 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1034 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 931 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1454 มุมมอง 0 รีวิว
  • Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full)
    - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ
    - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน”
    - โคตรส่วยแม่สอด
    - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช.
    - ยิวทำเละเทะในปาย
    - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล”
    - ยูเครน END GAME ?
    - สงครามชิงทรัพยากร

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Sondhitalk EP 282 : เวรกรรรมมีจริง! เจอแหล่งกบดานมือยิง สนธิ - 280268(Full) - 16 ปียังไม่ลืม มือยิง สนธิ - “ฮั้วเลือก สว.สายสีน้ำเงิน” - โคตรส่วยแม่สอด - ขบวนการเดินเกมถล่ม ป.ป.ช. - ยิวทำเละเทะในปาย - รัฐบาลอย่ามั่วนิ่มผลงาน ล้างบาง “แก๊งคอล” - ยูเครน END GAME ? - สงครามชิงทรัพยากร #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #ส่วยแม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #มือยิงสนธิ #ฮั่วสว #ปปช #สงครามยูเครน #แร่หายาก
    Like
    Love
    Yay
    Haha
    Angry
    94
    7 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 5487 มุมมอง 326 6 รีวิว
  • ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย)

    สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล

    ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ

    ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย

    ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง

    ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา

    สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น

    เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/
    https://www.sohu.com/a/137977813_674592
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996
    https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114
    https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265
    http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย) สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/ https://www.sohu.com/a/137977813_674592 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996 https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114 https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265 http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1239 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลิว จงอี้ ล้างบางจีนเทา! : Sondhitalk EP281 VDO
    “หลิว จงอี้” เดินสุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี”
    #sondhi #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง
    หลิว จงอี้ ล้างบางจีนเทา! : Sondhitalk EP281 VDO “หลิว จงอี้” เดินสุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี” #sondhi #sondhitalk #สนธิ #สนธิทอล์ค #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #sondhiX #สนธิเล่าเรื่อง�
    Like
    Love
    18
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 4692 มุมมอง 101 2 รีวิว
  • Newsstory : หลิว จงอี้ ลุยจีนเทา ทำ1 ได้ถึง2 ทั้งปราบปรามและกดดันรัฐบาลไทย
    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่
    #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #หลิวจงอี้
    Newsstory : หลิว จงอี้ ลุยจีนเทา ทำ1 ได้ถึง2 ทั้งปราบปรามและกดดันรัฐบาลไทย #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #หลิวจงอี้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 875 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full)

    - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี”
    - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว
    - ทรัมป์ ชน Deep State
    - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป
    - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Sondhitalk EP 281 : ยิว จะยึดเมืองปาย? (Full) - “หลิว จงอี้”สุดซอย ล้างบาง “แม่สอด-เมียวดี” - ปัญหา เมืองปาย กับ ยิว - ทรัมป์ ชน Deep State - สหรัฐฯ ฉีกสัมพันธ์ยุโรป - “สี จิ้นผิง” ประชุมบิ๊กธุรกิจจีน #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitimes #ความจริงมีหนึ่งเดียว #แม่สอด #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #จีนเทา #ไทยเทา #หลิวจงอี้ #ยิวยึดปาย #deepstate #ทรัมป์ #อีลอนมัสก์ #สงครามเทคโนโลยี
    Like
    Love
    Haha
    108
    10 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 5499 มุมมอง 383 12 รีวิว
  • ภูมิธรรม แถลง 4 ข้อเสนอ หลิว จง อี้ 20/02/68 #ภูมิธรรม #หลิว จง อี้ #แก๊งคอลเซนเตอร์ #จีนเทา
    ภูมิธรรม แถลง 4 ข้อเสนอ หลิว จง อี้ 20/02/68 #ภูมิธรรม #หลิว จง อี้ #แก๊งคอลเซนเตอร์ #จีนเทา
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1397 มุมมอง 32 0 รีวิว
  • จีนขยับ ไทยถึงเริ่มเขยิบ ถึงเวลาจริงจัง ปราบจีนเทา 20/02/68 #หลิว จงอี #ภูมิธรรม #จีนเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์
    จีนขยับ ไทยถึงเริ่มเขยิบ ถึงเวลาจริงจัง ปราบจีนเทา 20/02/68 #หลิว จงอี #ภูมิธรรม #จีนเทา #แก๊งคอลเซ็นเตอร์
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1186 มุมมอง 27 0 รีวิว
  • อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิวจงอี้

    บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ

    คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000016793
    อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิวจงอี้ บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ คลิก>> https://mgronline.com/daily/detail/9680000016793
    MGRONLINE.COM
    อำนาจรัฐไทยใต้เงาหลิว จงอี้
    หลายวันมานี้คนไทยจำนวนไม่น้อยพอใจกับบทบาทของคนจีนที่ชื่อหลิว จงอี้ ซึ่งทางการจีนส่งมาเพื่อทลายขบวนการสแกมเมอร์ที่หลอกลวงคนทั่วโลกในประเทศเมียนมาแนวชายแดนไทย แม้นักวิชาการไทยบางคนจะบอกว่าการปฏิบัติการของหลิว จงอี้ดูเหมือนจะก้าวข้าม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 507 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts