‘นายกฯ’ มอบ ‘พีระพันธุ์’ นั่งหัวโต๊ะประชุม ‘บอร์ด กพช.’ ก่อนเคาะชะลอเซ็นสัญญาซื้อ ‘ไฟฟ้าสีเขียว’ 3.6 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ ‘สภาผู้บริโภค-เครือข่าย’ ออกแถลงการณ์จี้ ‘กกพ.’ ยุติโครงการฯ ชี้ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 25 ปี
......................................
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 14.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุม กพช. โดยมีวาระพิจารณาที่สนใจ คือ การพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2567-2573 (ไฟฟ้าสีเขียว) จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW)
นายพีระพันธุ์ เปิดเผยหลังการประชุม กพช. ว่าตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ นั้น
ที่ประชุม กพช. จึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ปริมาณรวม 3,668.5 MW ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน (25 ธ.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายด้านพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ที่ใช้วิธีคัดเลือกแทนการประมูล เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวจะสร้างภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสูงถึง 65,000 ล้านบาท นาน 25 ปี ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และลมลดลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับแถลงการณ์ฯดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็น ก) พลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งพื้นบนดิน จำนวน 1,580 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์หรือขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2569-2573 และ ข) กังหันลมจำนวน 565.4 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2571-2573 รวม 2,145.5 เมกะวัตต์ โดยไม่มีการประมูล
แต่ใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งใช้ราคารับซื้อที่กำหนดโดยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คือ 2.17 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และราคา 3.10 บาทต่อหน่วยสำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยที่ราคารับซื้อดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี นั้น
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มีความก้าวหน้าและราคาลดต่ำลง อย่างรวดเร็วมาก โดยลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม แต่อัตราการลดลงของราคาจะช้ากว่าเล็กน้อย
ดังนั้น การที่ กกพ. ใช้ราคาตามมติ กพช. ในปี 2565 ที่ไปกำหนดราคาที่ซื้อขายกันจริงของโซลาร์เซลล์ในปี 2569 หรืออีกประมาณ 4 ปีหลังจากนั้น จึงส่งผลให้ราคาสูงกว่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นถึง 20-30% ส่วนกรณีของพลังงานลมซึ่งจะมีการซื้อขายกันจริงในปี 2571 จะช้ากว่าวันกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ถึง 6 ปี
นอกจากการกำหนดราคาที่เรียกได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าวข้างต้นแล้ว การไม่เปิดให้มีการแข่งขันโดยวิธีการประมูลราคาเพื่อหาราคาที่เหมาะที่สุด ก็จะเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงไปนานถึง 25 ปี
ผลการศึกษาขององค์กร IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (เรื่อง Renewable Power Generation Costs in 2023) ชี้ให้เห็นว่า ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด โครงการ (LCOE) (ซึ่งเป็นการศึกษาจากทั่วโลก) จะมีราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโลกจากโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในปี 2566 เท่ากับ 1.53 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และหากมีการซื้อขายในปี 2569 ตามที่ กกพ. ประกาศ ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะน้อยกว่า 1.53 บาทต่อหน่วยอีก
เพื่อเป็นการยืนยันว่าผลการศึกษาของ IRENA มีแนวโน้มที่ถูกต้องและเป็นไปได้จริง พบว่ารัฐบาลอินเดีย โดย SECI (Solar Energy Corporation of India) ได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับการเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน) ในราคา 1.44 บาทต่อหน่วย ในขณะที่โครงการของประเทศไทยที่กำลังดำเนินการนี้ไม่มีแบตเตอรี่
เมื่อนำข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาคำนวณอย่างเป็นระบบ (ตามข้อมูลในภาพและตารางแนบท้าย) และสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นคิดเป็นมูลค่า ตลอดอายุสัญญา 25 ปี อย่างน้อยรวม 65,000 ล้านบาท (หกหมื่นห้าพันล้านบาท)
สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก กกพ. แต่ประการใด ดังนั้น ในวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายซึ่งได้ร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องให้ กกพ. และรัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อไป
พร้อมกันนี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP2024) ซึ่งได้ดำเนินการมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ในการจัดทำแผน PDP2024 หรือ PDP2025 ต้องเน้น การพึ่งตนเองของชาติ ภายใต้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และต้องเน้นให้ผู้บริโภค สามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายไฟฟ้า (Prosumer) เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่ว่า
“รัฐบาลจะยึดมั่นในหลักนิธิธรรม ความโปร่งใส สร้างความชอบธรรมในการบริหาร ราชการแผ่นดินโดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ...จะสนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ใช้ในครัวเรือนและมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินกว่าความต้องการคืนให้รัฐ...จะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค”
......................................
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 14.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุม กพช. โดยมีวาระพิจารณาที่สนใจ คือ การพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2567-2573 (ไฟฟ้าสีเขียว) จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW)
นายพีระพันธุ์ เปิดเผยหลังการประชุม กพช. ว่าตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ นั้น
ที่ประชุม กพช. จึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ปริมาณรวม 3,668.5 MW ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน (25 ธ.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายด้านพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ที่ใช้วิธีคัดเลือกแทนการประมูล เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวจะสร้างภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสูงถึง 65,000 ล้านบาท นาน 25 ปี ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และลมลดลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับแถลงการณ์ฯดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็น ก) พลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งพื้นบนดิน จำนวน 1,580 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์หรือขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2569-2573 และ ข) กังหันลมจำนวน 565.4 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2571-2573 รวม 2,145.5 เมกะวัตต์ โดยไม่มีการประมูล
แต่ใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งใช้ราคารับซื้อที่กำหนดโดยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คือ 2.17 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และราคา 3.10 บาทต่อหน่วยสำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยที่ราคารับซื้อดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี นั้น
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มีความก้าวหน้าและราคาลดต่ำลง อย่างรวดเร็วมาก โดยลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม แต่อัตราการลดลงของราคาจะช้ากว่าเล็กน้อย
ดังนั้น การที่ กกพ. ใช้ราคาตามมติ กพช. ในปี 2565 ที่ไปกำหนดราคาที่ซื้อขายกันจริงของโซลาร์เซลล์ในปี 2569 หรืออีกประมาณ 4 ปีหลังจากนั้น จึงส่งผลให้ราคาสูงกว่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นถึง 20-30% ส่วนกรณีของพลังงานลมซึ่งจะมีการซื้อขายกันจริงในปี 2571 จะช้ากว่าวันกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ถึง 6 ปี
นอกจากการกำหนดราคาที่เรียกได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าวข้างต้นแล้ว การไม่เปิดให้มีการแข่งขันโดยวิธีการประมูลราคาเพื่อหาราคาที่เหมาะที่สุด ก็จะเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงไปนานถึง 25 ปี
ผลการศึกษาขององค์กร IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (เรื่อง Renewable Power Generation Costs in 2023) ชี้ให้เห็นว่า ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด โครงการ (LCOE) (ซึ่งเป็นการศึกษาจากทั่วโลก) จะมีราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโลกจากโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในปี 2566 เท่ากับ 1.53 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และหากมีการซื้อขายในปี 2569 ตามที่ กกพ. ประกาศ ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะน้อยกว่า 1.53 บาทต่อหน่วยอีก
เพื่อเป็นการยืนยันว่าผลการศึกษาของ IRENA มีแนวโน้มที่ถูกต้องและเป็นไปได้จริง พบว่ารัฐบาลอินเดีย โดย SECI (Solar Energy Corporation of India) ได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับการเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน) ในราคา 1.44 บาทต่อหน่วย ในขณะที่โครงการของประเทศไทยที่กำลังดำเนินการนี้ไม่มีแบตเตอรี่
เมื่อนำข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาคำนวณอย่างเป็นระบบ (ตามข้อมูลในภาพและตารางแนบท้าย) และสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นคิดเป็นมูลค่า ตลอดอายุสัญญา 25 ปี อย่างน้อยรวม 65,000 ล้านบาท (หกหมื่นห้าพันล้านบาท)
สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก กกพ. แต่ประการใด ดังนั้น ในวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายซึ่งได้ร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องให้ กกพ. และรัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อไป
พร้อมกันนี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP2024) ซึ่งได้ดำเนินการมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ในการจัดทำแผน PDP2024 หรือ PDP2025 ต้องเน้น การพึ่งตนเองของชาติ ภายใต้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และต้องเน้นให้ผู้บริโภค สามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายไฟฟ้า (Prosumer) เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่ว่า
“รัฐบาลจะยึดมั่นในหลักนิธิธรรม ความโปร่งใส สร้างความชอบธรรมในการบริหาร ราชการแผ่นดินโดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ...จะสนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ใช้ในครัวเรือนและมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินกว่าความต้องการคืนให้รัฐ...จะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค”
‘นายกฯ’ มอบ ‘พีระพันธุ์’ นั่งหัวโต๊ะประชุม ‘บอร์ด กพช.’ ก่อนเคาะชะลอเซ็นสัญญาซื้อ ‘ไฟฟ้าสีเขียว’ 3.6 พันเมกะวัตต์ ขณะที่ ‘สภาผู้บริโภค-เครือข่าย’ ออกแถลงการณ์จี้ ‘กกพ.’ ยุติโครงการฯ ชี้ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 25 ปี
......................................
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. เวลา 14.00 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุม กพช. โดยมีวาระพิจารณาที่สนใจ คือ การพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ในการชะลอผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2567-2573 (ไฟฟ้าสีเขียว) จำนวน 3,600 เมกะวัตต์ (MW)
นายพีระพันธุ์ เปิดเผยหลังการประชุม กพช. ว่าตามที่ได้มีกระแสข่าว เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2567 ว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in-Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยกับประชาชนเรื่องความถูกต้องของกระบวนการ และวิธีการดำเนินงานรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและราชการ นั้น
ที่ประชุม กพช. จึงได้มีมติให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ปริมาณรวม 3,668.5 MW ที่ กพช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 โดยเป็นการชะลอการลงนามสัญญากับ 3 การไฟฟ้าไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน (25 ธ.ค.) สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายด้านพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาล และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ที่ใช้วิธีคัดเลือกแทนการประมูล เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวจะสร้างภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนสูงถึง 65,000 ล้านบาท นาน 25 ปี ในขณะที่ต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และลมลดลงอย่างรวดเร็ว
สำหรับแถลงการณ์ฯดังกล่าว ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็น ก) พลังงานแสงอาทิตย์แบบตั้งพื้นบนดิน จำนวน 1,580 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์หรือขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2569-2573 และ ข) กังหันลมจำนวน 565.4 เมกะวัตต์ ที่จะสามารถขายไฟฟ้าได้ในช่วงปี 2571-2573 รวม 2,145.5 เมกะวัตต์ โดยไม่มีการประมูล
แต่ใช้วิธีการคัดเลือก ซึ่งใช้ราคารับซื้อที่กำหนดโดยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 คือ 2.17 บาทต่อหน่วย สำหรับไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ และราคา 3.10 บาทต่อหน่วยสำหรับไฟฟ้าจากพลังงานลม โดยที่ราคารับซื้อดังกล่าวจะคงที่ตลอดอายุสัญญา 25 ปี นั้น
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้มีความก้าวหน้าและราคาลดต่ำลง อย่างรวดเร็วมาก โดยลดลงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม แต่อัตราการลดลงของราคาจะช้ากว่าเล็กน้อย
ดังนั้น การที่ กกพ. ใช้ราคาตามมติ กพช. ในปี 2565 ที่ไปกำหนดราคาที่ซื้อขายกันจริงของโซลาร์เซลล์ในปี 2569 หรืออีกประมาณ 4 ปีหลังจากนั้น จึงส่งผลให้ราคาสูงกว่ากว่าราคาที่ควรจะเป็นถึง 20-30% ส่วนกรณีของพลังงานลมซึ่งจะมีการซื้อขายกันจริงในปี 2571 จะช้ากว่าวันกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า ถึง 6 ปี
นอกจากการกำหนดราคาที่เรียกได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพดังกล่าวข้างต้นแล้ว การไม่เปิดให้มีการแข่งขันโดยวิธีการประมูลราคาเพื่อหาราคาที่เหมาะที่สุด ก็จะเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงไปนานถึง 25 ปี
ผลการศึกษาขององค์กร IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (เรื่อง Renewable Power Generation Costs in 2023) ชี้ให้เห็นว่า ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยตลอด โครงการ (LCOE) (ซึ่งเป็นการศึกษาจากทั่วโลก) จะมีราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโลกจากโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในปี 2566 เท่ากับ 1.53 บาทต่อหน่วยเท่านั้น และหากมีการซื้อขายในปี 2569 ตามที่ กกพ. ประกาศ ราคาไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ก็จะน้อยกว่า 1.53 บาทต่อหน่วยอีก
เพื่อเป็นการยืนยันว่าผลการศึกษาของ IRENA มีแนวโน้มที่ถูกต้องและเป็นไปได้จริง พบว่ารัฐบาลอินเดีย โดย SECI (Solar Energy Corporation of India) ได้ประกาศผลผู้ชนะการประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อขายไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับการเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ที่สามารถขายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน) ในราคา 1.44 บาทต่อหน่วย ในขณะที่โครงการของประเทศไทยที่กำลังดำเนินการนี้ไม่มีแบตเตอรี่
เมื่อนำข้อมูลจากผลการศึกษาดังกล่าวมาคำนวณอย่างเป็นระบบ (ตามข้อมูลในภาพและตารางแนบท้าย) และสมมุติว่ามีการขายไฟฟ้าจริงในปี 2568 จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจากโครงการนี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นคิดเป็นมูลค่า ตลอดอายุสัญญา 25 ปี อย่างน้อยรวม 65,000 ล้านบาท (หกหมื่นห้าพันล้านบาท)
สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ประกาศ กกพ. ในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (รอบเพิ่มเติม) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 พร้อมขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก กกพ. แต่ประการใด ดังนั้น ในวันนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคีเครือข่ายซึ่งได้ร่วมลงชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องให้ กกพ. และรัฐบาลทบทวนโครงการดังกล่าวทั้งหมด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อไป
พร้อมกันนี้ ขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP2024) ซึ่งได้ดำเนินการมานานกว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ในการจัดทำแผน PDP2024 หรือ PDP2025 ต้องเน้น การพึ่งตนเองของชาติ ภายใต้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และต้องเน้นให้ผู้บริโภค สามารถเป็นผู้ผลิตและผู้ขายไฟฟ้า (Prosumer) เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่ว่า
“รัฐบาลจะยึดมั่นในหลักนิธิธรรม ความโปร่งใส สร้างความชอบธรรมในการบริหาร ราชการแผ่นดินโดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ...จะสนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ใช้ในครัวเรือนและมีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตเกินกว่าความต้องการคืนให้รัฐ...จะเร่งออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค”