• บทความนี้กล่าวถึงการที่ภาพของโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกฝังอยู่ในบล็อกเชนของบิตคอยน์ (Bitcoin) โดยบริษัท Marathon Digital Holdings (MARA) ซึ่งเป็นผู้ขุดบิตคอยน์รายใหญ่ที่สุดในวอลล์สตรีท ได้ฝังภาพของทรัมป์ในบล็อกที่ 879613 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ที่กำลังจะมาถึง

    การฝังภาพนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ชุมชนคริปโตเคอเรนซีอยู่ในบรรยากาศที่คึกคัก เนื่องจากทรัมป์เป็นผู้สนับสนุนคริปโตเคอเรนซีอย่างเปิดเผยคนแรกที่เข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว นอกจากนี้ ทรัมป์ยังมีแผนที่จะใช้บิตคอยน์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยึดมาได้เพื่อสร้างกองทุนสำรองยุทธศาสตร์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคาบิตคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก

    นอกจากนี้ ทีมงานของทรัมป์ยังพิจารณาการสร้างกองทุนสำรองยุทธศาสตร์แบบ "America-first" ที่จะให้ความสำคัญกับเหรียญคริปโตเคอเรนซีที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ เช่น Solana, USD Coin และ Ripple

    ในขณะเดียวกัน เดวิด แซคส์ ซึ่งจะเป็นหัวหน้าฝ่ายคริปโตและ AI ในรัฐบาลทรัมป์ จะจัดงาน Crypto Ball ครั้งแรกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยบัตร VIP สำหรับงานนี้มีราคาสูงถึง 100,000 ดอลลาร์ และผู้เข้าร่วมสามารถรับประทานอาหารค่ำส่วนตัวกับทรัมป์ได้ในราคา 1 ล้านดอลลาร์

    การฝังภาพของทรัมป์ในบล็อกเชนของบิตคอยน์เป็นการแสดงความเคารพและการสนับสนุนจากชุมชนคริปโตเคอเรนซี ซึ่งคาดหวังว่าทรัมป์จะสามารถทำให้ราคาบิตคอยน์เพิ่มขึ้นและสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการคริปโตเคอเรนซีได้

    https://wccftech.com/trump-immortalized-within-bitcoin-blockchain/
    บทความนี้กล่าวถึงการที่ภาพของโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกฝังอยู่ในบล็อกเชนของบิตคอยน์ (Bitcoin) โดยบริษัท Marathon Digital Holdings (MARA) ซึ่งเป็นผู้ขุดบิตคอยน์รายใหญ่ที่สุดในวอลล์สตรีท ได้ฝังภาพของทรัมป์ในบล็อกที่ 879613 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ที่กำลังจะมาถึง การฝังภาพนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ชุมชนคริปโตเคอเรนซีอยู่ในบรรยากาศที่คึกคัก เนื่องจากทรัมป์เป็นผู้สนับสนุนคริปโตเคอเรนซีอย่างเปิดเผยคนแรกที่เข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว นอกจากนี้ ทรัมป์ยังมีแผนที่จะใช้บิตคอยน์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยึดมาได้เพื่อสร้างกองทุนสำรองยุทธศาสตร์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคาบิตคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ทีมงานของทรัมป์ยังพิจารณาการสร้างกองทุนสำรองยุทธศาสตร์แบบ "America-first" ที่จะให้ความสำคัญกับเหรียญคริปโตเคอเรนซีที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ เช่น Solana, USD Coin และ Ripple ในขณะเดียวกัน เดวิด แซคส์ ซึ่งจะเป็นหัวหน้าฝ่ายคริปโตและ AI ในรัฐบาลทรัมป์ จะจัดงาน Crypto Ball ครั้งแรกในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยบัตร VIP สำหรับงานนี้มีราคาสูงถึง 100,000 ดอลลาร์ และผู้เข้าร่วมสามารถรับประทานอาหารค่ำส่วนตัวกับทรัมป์ได้ในราคา 1 ล้านดอลลาร์ การฝังภาพของทรัมป์ในบล็อกเชนของบิตคอยน์เป็นการแสดงความเคารพและการสนับสนุนจากชุมชนคริปโตเคอเรนซี ซึ่งคาดหวังว่าทรัมป์จะสามารถทำให้ราคาบิตคอยน์เพิ่มขึ้นและสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการคริปโตเคอเรนซีได้ https://wccftech.com/trump-immortalized-within-bitcoin-blockchain/
    WCCFTECH.COM
    Trump Immortalized Within Bitcoin Blockchain
    As a token of appreciation, a major Bitcoin miner has encoded Trump's portrait within the cryptocurrency's blockchain.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 70 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม้ว่ายังไม่มีการประกาศข้อตกลงหยุดยิงอย่างเป็นทางการ แต่เริ่มมีรถขุดของชาวปาเลสไตน์เข้าทำงานเพื่อเคลียร์ถนนที่มุ่งไปยังโรงพยาบาลอัลอาวดา (Al-Awda Hospital) ในฉนวนกาซาทางตอนเหนือ

    ทางด้านกลุ่มฮามาสออกมาระบุว่า หากไม่มีโดนัลด์ ทรัมป์ ข้อตกลงนี้คงยังไม่บรรลุผล บ่งบอกได้เป็นอย่างดีตามกระแสข่าวที่มีมาตลอดเวลาว่าคณะของโจ ไบเดน ไม่มีความจริงใจในการทำให้ข้อตกลงหยุดยิงเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
    แม้ว่ายังไม่มีการประกาศข้อตกลงหยุดยิงอย่างเป็นทางการ แต่เริ่มมีรถขุดของชาวปาเลสไตน์เข้าทำงานเพื่อเคลียร์ถนนที่มุ่งไปยังโรงพยาบาลอัลอาวดา (Al-Awda Hospital) ในฉนวนกาซาทางตอนเหนือ ทางด้านกลุ่มฮามาสออกมาระบุว่า หากไม่มีโดนัลด์ ทรัมป์ ข้อตกลงนี้คงยังไม่บรรลุผล บ่งบอกได้เป็นอย่างดีตามกระแสข่าวที่มีมาตลอดเวลาว่าคณะของโจ ไบเดน ไม่มีความจริงใจในการทำให้ข้อตกลงหยุดยิงเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนจะส่งรองประธานาธิบดีหาน เจิ้ง ไปร่วมในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 20 มกราคม 2568
    จีนจะส่งรองประธานาธิบดีหาน เจิ้ง ไปร่วมในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 20 มกราคม 2568
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 75 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพอย่างเป็นทางการของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา
    ภาพอย่างเป็นทางการของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแผนยกระดับการส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารของอเมริกาที่ป้อนแก่ไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดกับจีน ซึ่งกล่าวอ้างว่าเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน จากคำยืนยันของ ไมค์ วอลต์ซ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ
    .
    ระหว่างกล่าว ณ สถาบันสันติภาพในวอชิงตัน เมื่อวันอังคาร(14ม.ค.) วอลต์ซ สมาชิกสภาคองเกรสจากฟลอริดา เน้นย้ำว่า "เรามีสินค้าคงค้างกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่พวกเขาจ่ายเงินมา และเราจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้พวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขายอมควักเงินเพื่อสิ่งนี้ ที่เรียกว่ามาตรการป้องปราม"
    .
    วอลต์ซ ยังยืนยันด้วยว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ จะเดินหน้าแสวงหานโยบายครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับไต้หวัน ยุทธศาสตร์นี้รวมไปถึงการติดตั้งแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ อาทิระบบขีปนาวุธเคลื่อนที่ โดรนและเทคโนโลยีสอดแนมล้ำสมัย ที่จะทำให้จีนแผ่นดินใหญ่อาจต้องทุ่มทุนมากกว่าเดิม หากคิดใช้กำลังเข้าควบคุมไต้หวัน
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของไต้หวัน แถลงว่ามีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี โดยเผยว่าพวกเขาจะติดตั้งระบบอาวุธ NASAMS ที่ผลิตโดยนอร์เวย์ ในตำแหน่งต่างๆที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทางเหนือของเกาะ
    .
    ปักกิ่งมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" และยืนยันว่าท้ายที่สุดจะมีการรวมชาติ ในนั้นรวมถึงผ่านการใช้กำลังถ้าจำเป็น นอกจากนี้แล้ว จีน ยังส่งเสียงคัดค้านซ้ำๆต่อการแทรกแซงใดๆของต่างชาติในประเด็นนี้ ในนั้นรวมถึงการที่สหรัฐฯขายอาวุธแก่ไต้หวัน โดยปักกิ่งมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยของพวกเขาและคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาค
    .
    ไต้หวัน ปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี 1949 ครั้งกองกำลังชาตินิยมล่าถอยไปยังเกาะแห่งนี้ หลังจากพ่ายแพ้ในสงคามกลางเมืองของจีน ปัจจุบันเหลือไม่กี่ประเทศที่ให้การยอมรับอธิปไตยของเกาะ และเกือบทั่วโลก ยึดถือจุดยืนของจีน ที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน
    .
    อย่างไรก็ตามในส่วนของสหรัฐฯ แม้อย่างเป็นทางการแล้ว ยืดถือนโยบายจีนเดียว แต่ยังคงป้อนอาวุธให้แก่เกาะแห่งนี้ และประสานความร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลในไทเป
    .
    จีน ประณามซ้ำๆต่อกรณีสหรัฐฯขายอาวุธให้ไต้หวัน ว่าบั่นทอนเสถียรภาพและยั่วยุ และทำการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศถี่ๆรอบๆเกาะ เป็นการตอบโต้
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน จีนกำหนดมาตรการคว่ำบาตรบริษัทกลาโหม 7 แห่งของสหรัฐฯ และสั่งแบนส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ในทั้งทางพาณิยช์และด้านการทหาร ไปยังบรรดาบริษัทอเมริกา ในนั้นรวมถึงโบอิ้ง, เจเนรัล ไดนามิกส์, ล็อคฮีด มาร์ติน และ เรย์เธียน ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก โจ ไบเดน ประธานาธิบดีที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง อนุมัติจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมแก่ไต้หวัน อีก 571 ล้านดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004692
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแผนยกระดับการส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารของอเมริกาที่ป้อนแก่ไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดกับจีน ซึ่งกล่าวอ้างว่าเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน จากคำยืนยันของ ไมค์ วอลต์ซ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ . ระหว่างกล่าว ณ สถาบันสันติภาพในวอชิงตัน เมื่อวันอังคาร(14ม.ค.) วอลต์ซ สมาชิกสภาคองเกรสจากฟลอริดา เน้นย้ำว่า "เรามีสินค้าคงค้างกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่พวกเขาจ่ายเงินมา และเราจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้พวกเขาได้รับในสิ่งที่พวกเขายอมควักเงินเพื่อสิ่งนี้ ที่เรียกว่ามาตรการป้องปราม" . วอลต์ซ ยังยืนยันด้วยว่า รัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ จะเดินหน้าแสวงหานโยบายครอบคลุมในเรื่องเกี่ยวกับไต้หวัน ยุทธศาสตร์นี้รวมไปถึงการติดตั้งแสนยานุภาพด้านการป้องกันตนเองแก่เกาะแห่งนี้ อาทิระบบขีปนาวุธเคลื่อนที่ โดรนและเทคโนโลยีสอดแนมล้ำสมัย ที่จะทำให้จีนแผ่นดินใหญ่อาจต้องทุ่มทุนมากกว่าเดิม หากคิดใช้กำลังเข้าควบคุมไต้หวัน . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของไต้หวัน แถลงว่ามีแผนประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธใหม่ที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นปี โดยเผยว่าพวกเขาจะติดตั้งระบบอาวุธ NASAMS ที่ผลิตโดยนอร์เวย์ ในตำแหน่งต่างๆที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ทางเหนือของเกาะ . ปักกิ่งมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ภายใต้หลักการ "จีนเดียว" และยืนยันว่าท้ายที่สุดจะมีการรวมชาติ ในนั้นรวมถึงผ่านการใช้กำลังถ้าจำเป็น นอกจากนี้แล้ว จีน ยังส่งเสียงคัดค้านซ้ำๆต่อการแทรกแซงใดๆของต่างชาติในประเด็นนี้ ในนั้นรวมถึงการที่สหรัฐฯขายอาวุธแก่ไต้หวัน โดยปักกิ่งมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยของพวกเขาและคุกคามเสถียรภาพในภูมิภาค . ไต้หวัน ปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี 1949 ครั้งกองกำลังชาตินิยมล่าถอยไปยังเกาะแห่งนี้ หลังจากพ่ายแพ้ในสงคามกลางเมืองของจีน ปัจจุบันเหลือไม่กี่ประเทศที่ให้การยอมรับอธิปไตยของเกาะ และเกือบทั่วโลก ยึดถือจุดยืนของจีน ที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน . อย่างไรก็ตามในส่วนของสหรัฐฯ แม้อย่างเป็นทางการแล้ว ยืดถือนโยบายจีนเดียว แต่ยังคงป้อนอาวุธให้แก่เกาะแห่งนี้ และประสานความร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลในไทเป . จีน ประณามซ้ำๆต่อกรณีสหรัฐฯขายอาวุธให้ไต้หวัน ว่าบั่นทอนเสถียรภาพและยั่วยุ และทำการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศถี่ๆรอบๆเกาะ เป็นการตอบโต้ . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือน จีนกำหนดมาตรการคว่ำบาตรบริษัทกลาโหม 7 แห่งของสหรัฐฯ และสั่งแบนส่งออกสินค้าที่สามารถใช้ในทั้งทางพาณิยช์และด้านการทหาร ไปยังบรรดาบริษัทอเมริกา ในนั้นรวมถึงโบอิ้ง, เจเนรัล ไดนามิกส์, ล็อคฮีด มาร์ติน และ เรย์เธียน ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก โจ ไบเดน ประธานาธิบดีที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง อนุมัติจัดหาอาวุธและยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมแก่ไต้หวัน อีก 571 ล้านดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004692 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 933 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะผู้แทนเจรจา บรรลุข้อตกลงแบบเป็นขั้นเป็นตอน สำหรับหยุดสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในกาซา จากการเปิดเผยของสหรัฐฯ และกาตาร์ หลังฉนวนแห่งนี้ต้องเผชิญกับการนองเลือดที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน เข่นฆ่าชีวิตชาวปาเลสไตน์ไปหลายหมื่นคนและโหมกระพือไฟในตะวันออกกลาง
    .
    ข้อตกลงนี้วางกรอบสำหรับการหยุดยิงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปในเบื้องต้น 6 สัปดาห์ และในนั้นยังรวมถึงการที่กองกำลังอิสราเอลค่อยๆ ถอยทหารออกจากฉนวนกาซา และปล่อยตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวโดยฮามาส แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล
    .
    ระหว่างแถลงข่าวในกรุงโดฮา นายกรัฐมนตรี เชคโมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน บิน จัสซิม อัล ธานี ของกาตาร์ กล่าวว่า ข้อตลงหยุดยิงจะมีผลบังคับใช้ในวันอาทิตย์ (19 ม.ค.) และเวลานี้คณะผู้แทนเจรจากำลังทำงานร่วมกับอิสราเอลและฮามาส สำหรับก้าวย่างต่างๆ ในการนำข้อตกลงไปปฏิบัติ
    .
    "ข้อตกลงนี้จะหยุดการสู้รบในกาซา เพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นป้อนสู่พลเมืองชาวปาเลสไตน์ และนำพาตัวประกันกลับสู่ครอบครัว หลังถูกคุมขังนานกว่า 15 เดือน" ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กล่าวในวอชิงตัน
    .
    ชาวปาเลสไตน์พากันออกมาฉลองบนท้องถนนในกาซา ดินแดนที่พวกเขาต้องเผชิญกับวิกฤตด้านมนุษยธรรมร้ายแรง ขาดแคลนอาหาร น้ำและเชื้อเพลิงอย่างหนัก
    .
    ข้อตกลงนี้มีขึ้นตามหลังการเจรจานานหลายเดือน ที่เต็มไปด้วยอุปสรรค วกไปวนมา ชักเข้าชักออก ที่ดำเนินการโดยคนกลางอย่างอียิปต์และกาตาร์ ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ และมันมีขึ้นไม่นาน ก่อนที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ในวันที่ 20 มกราคม
    .
    อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ประธานาธิบดีอียิปต์ โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ แสดงความยินดีกับข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน
    .
    ถ้ามันประสบความสำเร็จ แผนข้อตกลงหยุดยิงอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ จะหยุดการสู้รบที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกาซาเหลือแต่ซากปรักหักพัง และประชาชนส่วนใหญ่จากทั้งหมด 2.3 ล้านคน ในฉนวนเล็กๆ แห่งนี้ต้องไร้ถิ่นฐาน ในขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นไม่หยุดในแต่ละวัน
    .
    ขั้นหนึ่งของข้อตกลงคือการนำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอล 33 คน ประกอบด้วยผู้หญิงทั้งหมด เด็กๆ และชายที่มีอายุเกิน 50 ปี
    .
    ซามี อาบู ซูห์รี เจ้าหน้าที่ฮามาส เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า คณะผู้แทนของพวกเขาได้อนุมัติผ่านคนกลาง สำหรับข้อตกลงหยุดยิงและแลกเปลี่ยนตัวประกัน
    .
    ในอิสราเอล ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเบนจามิน เนทันยาฮู ระบุว่า ฮามาส ถอนข้อเรียกร้องในนาทีสุดท้าย แต่ยังมีข้อแม้จำนวนหนึ่งที่ยังไม่คลี่คลายในข้อตกลงดังกล่าว "เราหวังว่าจะสามารถปิดรายละเอียดกันได้ในคืนนี้" ถ้อยแถลงระบุ
    .
    กองทัพอิสราเอลบุกเข้าไปยังฉนวนกาซา แก้แค้นกรณีที่กลุ่มมือปืนที่นำโดยฮามาส บุกจู่โจมข้ามชายแดน เล่นงานชุมชนต่างๆ ตามแนวชายแดนของอิสราเอล ในวันที่ 7 ตุลาคม 2023 สังหารทหารและพลเมืองไป 1,200 ราย และจับชาวต่างชาติและชาวอิสราเอล ไปเป็นตัวประกัน 250 คน
    .
    นับตั้งแต่นั้น สงครามทางอากาศและทางภาคพื้นของอิสราเอลในฉนวนกาซา ได้ปลิดชีพผู้คนไปกว่า 46,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน และอีกหลายแสนคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งเวลานี้กำลังดิ้นรนฟันผ่าอากาศหนาวเหน็บตามเต็นท์และที่พักพิงชั่วคราว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004672
    ..............
    Sondhi X
    คณะผู้แทนเจรจา บรรลุข้อตกลงแบบเป็นขั้นเป็นตอน สำหรับหยุดสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในกาซา จากการเปิดเผยของสหรัฐฯ และกาตาร์ หลังฉนวนแห่งนี้ต้องเผชิญกับการนองเลือดที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน เข่นฆ่าชีวิตชาวปาเลสไตน์ไปหลายหมื่นคนและโหมกระพือไฟในตะวันออกกลาง . ข้อตกลงนี้วางกรอบสำหรับการหยุดยิงอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปในเบื้องต้น 6 สัปดาห์ และในนั้นยังรวมถึงการที่กองกำลังอิสราเอลค่อยๆ ถอยทหารออกจากฉนวนกาซา และปล่อยตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวโดยฮามาส แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล . ระหว่างแถลงข่าวในกรุงโดฮา นายกรัฐมนตรี เชคโมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน บิน จัสซิม อัล ธานี ของกาตาร์ กล่าวว่า ข้อตลงหยุดยิงจะมีผลบังคับใช้ในวันอาทิตย์ (19 ม.ค.) และเวลานี้คณะผู้แทนเจรจากำลังทำงานร่วมกับอิสราเอลและฮามาส สำหรับก้าวย่างต่างๆ ในการนำข้อตกลงไปปฏิบัติ . "ข้อตกลงนี้จะหยุดการสู้รบในกาซา เพิ่มความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นป้อนสู่พลเมืองชาวปาเลสไตน์ และนำพาตัวประกันกลับสู่ครอบครัว หลังถูกคุมขังนานกว่า 15 เดือน" ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กล่าวในวอชิงตัน . ชาวปาเลสไตน์พากันออกมาฉลองบนท้องถนนในกาซา ดินแดนที่พวกเขาต้องเผชิญกับวิกฤตด้านมนุษยธรรมร้ายแรง ขาดแคลนอาหาร น้ำและเชื้อเพลิงอย่างหนัก . ข้อตกลงนี้มีขึ้นตามหลังการเจรจานานหลายเดือน ที่เต็มไปด้วยอุปสรรค วกไปวนมา ชักเข้าชักออก ที่ดำเนินการโดยคนกลางอย่างอียิปต์และกาตาร์ ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ และมันมีขึ้นไม่นาน ก่อนที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ในวันที่ 20 มกราคม . อับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี ประธานาธิบดีอียิปต์ โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ แสดงความยินดีกับข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน . ถ้ามันประสบความสำเร็จ แผนข้อตกลงหยุดยิงอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ จะหยุดการสู้รบที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกาซาเหลือแต่ซากปรักหักพัง และประชาชนส่วนใหญ่จากทั้งหมด 2.3 ล้านคน ในฉนวนเล็กๆ แห่งนี้ต้องไร้ถิ่นฐาน ในขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มขึ้นไม่หยุดในแต่ละวัน . ขั้นหนึ่งของข้อตกลงคือการนำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอล 33 คน ประกอบด้วยผู้หญิงทั้งหมด เด็กๆ และชายที่มีอายุเกิน 50 ปี . ซามี อาบู ซูห์รี เจ้าหน้าที่ฮามาส เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า คณะผู้แทนของพวกเขาได้อนุมัติผ่านคนกลาง สำหรับข้อตกลงหยุดยิงและแลกเปลี่ยนตัวประกัน . ในอิสราเอล ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเบนจามิน เนทันยาฮู ระบุว่า ฮามาส ถอนข้อเรียกร้องในนาทีสุดท้าย แต่ยังมีข้อแม้จำนวนหนึ่งที่ยังไม่คลี่คลายในข้อตกลงดังกล่าว "เราหวังว่าจะสามารถปิดรายละเอียดกันได้ในคืนนี้" ถ้อยแถลงระบุ . กองทัพอิสราเอลบุกเข้าไปยังฉนวนกาซา แก้แค้นกรณีที่กลุ่มมือปืนที่นำโดยฮามาส บุกจู่โจมข้ามชายแดน เล่นงานชุมชนต่างๆ ตามแนวชายแดนของอิสราเอล ในวันที่ 7 ตุลาคม 2023 สังหารทหารและพลเมืองไป 1,200 ราย และจับชาวต่างชาติและชาวอิสราเอล ไปเป็นตัวประกัน 250 คน . นับตั้งแต่นั้น สงครามทางอากาศและทางภาคพื้นของอิสราเอลในฉนวนกาซา ได้ปลิดชีพผู้คนไปกว่า 46,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน และอีกหลายแสนคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งเวลานี้กำลังดิ้นรนฟันผ่าอากาศหนาวเหน็บตามเต็นท์และที่พักพิงชั่วคราว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004672 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 953 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์
    .
    เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์
    .
    ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4%
    .
    เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009
    .
    ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง
    .
    ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673
    ..............
    Sondhi X
    ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ . เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว . อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค . ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์ . ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4% . เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009 . ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง . ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 934 มุมมอง 0 รีวิว
  • แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok ที่ให้บริการผู้ใช้ชาวอเมริกันมากกว่า 170 ล้านบัญชี อาจต้องยุติการดำเนินงานในสหรัฐตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 19 ม.ค. นี้ ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งห้ามของรัฐบาลกลางมีผลบังคับใช้

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทีมกฎหมายของ TikTok ได้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามเมื่อเดือนเมษายนนั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

    กฎหมายของไบเดนกำหนดให้ TikTok ต้องถอนการลงทุนจากบริษัทแม่ในจีนอย่าง ByteDance และขายให้กับนิติบุคคลในสหรัฐเท่านั้น และหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ TikTok จะต้องยุติให้บริการในวันที่ 19 มกราคม หนึ่งวันก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่ง

    หากการตัดสินของศาลเป็นผลดีต่อ TikTok จะทำให้แพลตฟอร์มนี้สามารถกลับมาให้บริการชาวอเมริกันต่อไปได้

    มีการคาดเดากันว่า การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของ TikTok ดีขึ้น เนื่องจากคำมั่นสัญญาของทรัมป์ที่จะใช้จุดยืนที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับปักกิ่งนั่นเอง

    ขณะเดียวกัน ในบันทึกภายในขององค์กร มีการแจ้งพนักงานกว่า 7,000 คนในสหรัฐว่าความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขาคือ "สิ่งสำคัญที่สุด" และจะยังคงจ่ายเงินให้พวกเขาต่อไป

    "เราขอย้ำว่า ความเป็นอยู่ของพนักงานคือสิ่งสำคัญที่สุด การจ้างงาน เงินเดือน และสวัสดิการของคุณยังมีความปลอดภัย และสำนักงานของเราจะยังคงเปิดทำการ แม้ว่าสถานการณ์นี้จะยังไม่ได้รับการแก้ไขก่อนกำหนดเส้นตายในวันที่ 19 มกราคมก็ตาม" บางส่วนของบันทึกที่ส่งถึงพนักงาน TikTok

    อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ TikTok ต้องปิดตัวลงทันที เมื่อมีผลบังคับใช้วันที่ 19 มกราคมนี้ เพียงแต่ห้ามการติดตั้ง TikTok ใหม่ และถอดแอปออกจาก App Store ของ Apple หรือ Google เท่านั้น

    ผู้ใช้ปัจจุบันยังคงใช้แอปได้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่การถอดออกจาก App Store จะทำให้แอปไม่ได้รับการอัปเดตเกี่ยวกับจุดบกพร่องหรือข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยอีกต่อไป

    TikTok ยังระบุถึงการรายงานข่าวเกี่ยวกับการขาย TikTok ให้กับ Elon Musk ว่าเป็น "เรื่องแต่งล้วนๆ"

    นอกจากนี้ ความโกรธแค้นของชาวอเมริกันที่มีต่อรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ ผู้ใช้ TikTok หันไปใช้แอปจีนอื่นๆ และขณะนี้มากกว่าครึ่งล้านคนหันมาใช้แอป RedNote ของจีน

    บน RedNote ซึ่งในจีนเรียกว่า Xiaohongshu มีผู้ใช้ชาวอเมริกันและจีนเข้าร่วมห้องที่ชื่อว่า "ผู้ลี้ภัย TikTok" (TikTok Refugees) เฉพาะห้องนี้ห้องเดียวมีมากกว่า 50,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

    Lemon8 แอปโซเชียลมีเดียอีกแอปหนึ่งที่ ByteDance เป็นเจ้าของ ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในรายชื่อ App Store ของ Apple เมื่อวันอังคาร โดยพบการเพิ่มขึ้นที่คล้ายคลึงกันในเดือนที่แล้ว โดยมียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 190% ในเดือนธันวาคม เป็นประมาณ 3.4 ล้านครั้ง
    แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok ที่ให้บริการผู้ใช้ชาวอเมริกันมากกว่า 170 ล้านบัญชี อาจต้องยุติการดำเนินงานในสหรัฐตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 19 ม.ค. นี้ ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งห้ามของรัฐบาลกลางมีผลบังคับใช้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทีมกฎหมายของ TikTok ได้ยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามเมื่อเดือนเมษายนนั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ กฎหมายของไบเดนกำหนดให้ TikTok ต้องถอนการลงทุนจากบริษัทแม่ในจีนอย่าง ByteDance และขายให้กับนิติบุคคลในสหรัฐเท่านั้น และหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ TikTok จะต้องยุติให้บริการในวันที่ 19 มกราคม หนึ่งวันก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่ง หากการตัดสินของศาลเป็นผลดีต่อ TikTok จะทำให้แพลตฟอร์มนี้สามารถกลับมาให้บริการชาวอเมริกันต่อไปได้ มีการคาดเดากันว่า การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของ TikTok ดีขึ้น เนื่องจากคำมั่นสัญญาของทรัมป์ที่จะใช้จุดยืนที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับปักกิ่งนั่นเอง ขณะเดียวกัน ในบันทึกภายในขององค์กร มีการแจ้งพนักงานกว่า 7,000 คนในสหรัฐว่าความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขาคือ "สิ่งสำคัญที่สุด" และจะยังคงจ่ายเงินให้พวกเขาต่อไป "เราขอย้ำว่า ความเป็นอยู่ของพนักงานคือสิ่งสำคัญที่สุด การจ้างงาน เงินเดือน และสวัสดิการของคุณยังมีความปลอดภัย และสำนักงานของเราจะยังคงเปิดทำการ แม้ว่าสถานการณ์นี้จะยังไม่ได้รับการแก้ไขก่อนกำหนดเส้นตายในวันที่ 19 มกราคมก็ตาม" บางส่วนของบันทึกที่ส่งถึงพนักงาน TikTok อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ TikTok ต้องปิดตัวลงทันที เมื่อมีผลบังคับใช้วันที่ 19 มกราคมนี้ เพียงแต่ห้ามการติดตั้ง TikTok ใหม่ และถอดแอปออกจาก App Store ของ Apple หรือ Google เท่านั้น ผู้ใช้ปัจจุบันยังคงใช้แอปได้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่การถอดออกจาก App Store จะทำให้แอปไม่ได้รับการอัปเดตเกี่ยวกับจุดบกพร่องหรือข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยอีกต่อไป TikTok ยังระบุถึงการรายงานข่าวเกี่ยวกับการขาย TikTok ให้กับ Elon Musk ว่าเป็น "เรื่องแต่งล้วนๆ" นอกจากนี้ ความโกรธแค้นของชาวอเมริกันที่มีต่อรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ ผู้ใช้ TikTok หันไปใช้แอปจีนอื่นๆ และขณะนี้มากกว่าครึ่งล้านคนหันมาใช้แอป RedNote ของจีน บน RedNote ซึ่งในจีนเรียกว่า Xiaohongshu มีผู้ใช้ชาวอเมริกันและจีนเข้าร่วมห้องที่ชื่อว่า "ผู้ลี้ภัย TikTok" (TikTok Refugees) เฉพาะห้องนี้ห้องเดียวมีมากกว่า 50,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Lemon8 แอปโซเชียลมีเดียอีกแอปหนึ่งที่ ByteDance เป็นเจ้าของ ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในรายชื่อ App Store ของ Apple เมื่อวันอังคาร โดยพบการเพิ่มขึ้นที่คล้ายคลึงกันในเดือนที่แล้ว โดยมียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 190% ในเดือนธันวาคม เป็นประมาณ 3.4 ล้านครั้ง
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • Andrej Danko เป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย ถ่ายทำวิดีโอที่สอง เพื่อบอกให้โลกรับรู้ว่า "การคว่ำบาตร" รัสเซียมันช่างไร้ค่าจริงๆ!

    “แม้จะมีการคว่ำบาตร แต่เรายังเห็นบริษัทของตะวันตกขายอาหารจานด่วนในรัสเซีย พวกคุณดูด้วยตาคุณเองแล้วกัน!”

    รองประธานรัฐสภาสโลวาเกียบันทึกวิดีโอร้านค้าที่มีคล้ายกับแมคโดนัลด์และไก่ทอดเคเอฟซีของรัสเซียในศูนย์การค้ามอสโก

    นอกจากนี้ยังมีร้านที่คล้ายเบอร์เกอร์คิงอีกด้วย

    พลเมืองชาวรัสเซียไม่เคยอดอยาก ไม่เคยเดือดร้อนกับการคว่ำบาตร พวกเขาจะรู้ไหมว่าตะวันตกกำลังดีใจที่สามารถคว่ำบาตรรัสเซียได้ ทั้งที่มันไร้ประโยชน์สิ้นดี!
    Andrej Danko เป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย ถ่ายทำวิดีโอที่สอง เพื่อบอกให้โลกรับรู้ว่า "การคว่ำบาตร" รัสเซียมันช่างไร้ค่าจริงๆ! “แม้จะมีการคว่ำบาตร แต่เรายังเห็นบริษัทของตะวันตกขายอาหารจานด่วนในรัสเซีย พวกคุณดูด้วยตาคุณเองแล้วกัน!” รองประธานรัฐสภาสโลวาเกียบันทึกวิดีโอร้านค้าที่มีคล้ายกับแมคโดนัลด์และไก่ทอดเคเอฟซีของรัสเซียในศูนย์การค้ามอสโก นอกจากนี้ยังมีร้านที่คล้ายเบอร์เกอร์คิงอีกด้วย พลเมืองชาวรัสเซียไม่เคยอดอยาก ไม่เคยเดือดร้อนกับการคว่ำบาตร พวกเขาจะรู้ไหมว่าตะวันตกกำลังดีใจที่สามารถคว่ำบาตรรัสเซียได้ ทั้งที่มันไร้ประโยชน์สิ้นดี!
    Like
    Yay
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 299 มุมมอง 27 0 รีวิว
  • ไทยกับ 3 ความเสี่ยงของนโยบายโดนัลด์ ทรัมป์ : คนเคาะข่าว 14-01-68
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์
    ไทยกับ 3 ความเสี่ยงของนโยบายโดนัลด์ ทรัมป์ : คนเคาะข่าว 14-01-68 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 14 1 รีวิว
  • พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด
    .
    ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ
    .
    ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ
    .
    เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ
    .
    ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284
    ..............
    Sondhi X
    พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด . ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ . ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง" . กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ . เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้" . กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ . ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 983 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทัพเกาหลีใต้แถลงว่า เปียงยางยิงมิสไซล์พิสัยใกล้ไม่กี่ลูกตกทะเลตะวันออก บังเอิญเกิดในช่วงเวลาที่รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ทาเคชิ อิวายะ (Takeshi Iwaya) อยู่ระหว่างเยือนโซลเป็นทางการ
    .
    เอเอฟพีรายงาน(14 ม.ค.) ว่า การยิงทดสอบมิสไซล์ของเกาหลีเหนือเช้าวันอังคาร (14) นี้ มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าเป็นเสมือนสัญญาณส่งไปให้รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะเข้าสู่พิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 ม.ค.ที่จะถึง
    .
    คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ (JCS) ออกแถลงการณ์มีใจความว่า "มิสไซล์เดินทางราว 250 กม.หลังถูกปล่อยจากฐานเมื่อเวลาราว 09.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นจาก Kanggye จังหวัดจากัง (Jagang) ติดพรมแดนจีน" อ้างอิงจากรอยเตอร์
    .
    เอเอฟพีชี้ว่า เป็นการยิงมิสไซล์พิสัยใกล้จำนวนไม่กี่ลูกลงทะเลตะวันออกในวันอังคาร (14)
    .
    เปียงยางยิงทดสอบเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ทาเคชิ อิวาระ (Takeshi Iwaya) อยู่ระหว่างการเยือนกรุงโซลอย่างเป็นทางการ และร่วมประชุมหลายคณะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกาหลีใต้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีก่อนที่ทรัมป์จะรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดี โจ ไบเดน สัปดาห์หน้า
    .
    สำนักงานข่าวกรองเกาหลีใต้และสำนักงานข่าวกรองสหรัฐฯ ได้เฝ้าจับตาการเตรียมพร้อมยิงของเปียงยาง กองทัพเกาหลีใต้แถลง พร้อมยืนยันว่า โซลยังคงอยู่ในการเตรียมความพร้อมสูงสุดและมีการแชร์ข้อมูลร่วมกับทั้งวอชิงตันและโตเกียว
    .
    การยิงทดสอบมิสไซล์เกาหลีเหนือเรียกเสียงประณามจากรักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ชเว ซังมก (Choi Sang-mok) ที่ชี้ว่าเป็นการละเมิดมติที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
    .
    “โซลจะตอบโต้อย่างรุนแรงมากกว่าในการยั่วยุของเกาหลีเหนือบนพื้นฐานของจุดยืนทางความมั่นคงที่แข็งแกร่งและความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ”
    .
    ขณะเดียวกัน กองบัญชาการอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้ประณามการทดสอบของเปียงยาง พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือหยุดจากการทดสอบที่ไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมายและการกระทำที่สร้างความไร้เสถียรภาพ
    .
    ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า การยิงทดสอบก่อนสัปดาห์พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่นี้ “มันอาจชี้ไปว่าถึงความตั้งใจในการกดดันก่อนหน้ารัฐบาลทรัมป์ สมัยที่ 2 ก็เป็นได้” ยาง มู-จิน (Yang Moo-jin) อธิการบดีมหาวิทยาลัยการศึกษาเกาหลีเหนือในกรุงโซลแสดงความเห็น
    .
    ขณะที่ อาห์น ชาน-อิล (Ahn Chan-il) อดีตเกาหลีเหนือแปรพักตร์ที่ผันตัวกลายเป็นนักวิจัยบริหารสถาบันโลกเพื่อการศึกษาเกาหลีเหนือ (World Institute for North Korea Studies) ให้ความเห็นกับเอเอฟพีว่า นอกจากจะเป็นการแสดงตนให้รู้ต่อรัฐบาลทรัมป์แล้ว อาจจะมีเป้าหมายไปที่สร้างความไร้เสถียรภาพให้โซลในช่วงที่เกาหลีใต้กำลังตกอยู่ในความอลหม่านทางการเมืองภายในจากปัญหาผู้นำ ยุน ซอกยอล ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำให้ต้องโดนถอดถอนออกจากตำแหน่ง
    .
    เอเอฟพีรายงานว่า พิกัดที่ตั้งจุดการทดสอบไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ทว่า ภาพที่เผยแพร่ออกมาจากสำนักข่าวทางการเกาหลีเหนือ KCNA แสดงให้เห็นประธานาธิบดี คิม จองอึน พร้อมบุตรสาว คิมจูแอ (Kim Ju Ae) กำลังเฝ้ากำกับการทดสอบสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    KCNA รายงานถึงการใช้วัสดุใหม่คาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fibre) ในเครื่องยนต์ของขีปนาวุธที่มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาเตือนว่า อาจช่วยให้เปียงยางสามารถส่งขีปนาวุธไปไกลมากขึ้นที่ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมิสไซล์นี้มีแต่แค่สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน เท่านั้นที่ครอบครอง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004282
    ..............
    Sondhi X
    กองทัพเกาหลีใต้แถลงว่า เปียงยางยิงมิสไซล์พิสัยใกล้ไม่กี่ลูกตกทะเลตะวันออก บังเอิญเกิดในช่วงเวลาที่รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ทาเคชิ อิวายะ (Takeshi Iwaya) อยู่ระหว่างเยือนโซลเป็นทางการ . เอเอฟพีรายงาน(14 ม.ค.) ว่า การยิงทดสอบมิสไซล์ของเกาหลีเหนือเช้าวันอังคาร (14) นี้ มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าเป็นเสมือนสัญญาณส่งไปให้รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะเข้าสู่พิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 ม.ค.ที่จะถึง . คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้ (JCS) ออกแถลงการณ์มีใจความว่า "มิสไซล์เดินทางราว 250 กม.หลังถูกปล่อยจากฐานเมื่อเวลาราว 09.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นจาก Kanggye จังหวัดจากัง (Jagang) ติดพรมแดนจีน" อ้างอิงจากรอยเตอร์ . เอเอฟพีชี้ว่า เป็นการยิงมิสไซล์พิสัยใกล้จำนวนไม่กี่ลูกลงทะเลตะวันออกในวันอังคาร (14) . เปียงยางยิงทดสอบเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ทาเคชิ อิวาระ (Takeshi Iwaya) อยู่ระหว่างการเยือนกรุงโซลอย่างเป็นทางการ และร่วมประชุมหลายคณะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกาหลีใต้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีก่อนที่ทรัมป์จะรับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดี โจ ไบเดน สัปดาห์หน้า . สำนักงานข่าวกรองเกาหลีใต้และสำนักงานข่าวกรองสหรัฐฯ ได้เฝ้าจับตาการเตรียมพร้อมยิงของเปียงยาง กองทัพเกาหลีใต้แถลง พร้อมยืนยันว่า โซลยังคงอยู่ในการเตรียมความพร้อมสูงสุดและมีการแชร์ข้อมูลร่วมกับทั้งวอชิงตันและโตเกียว . การยิงทดสอบมิสไซล์เกาหลีเหนือเรียกเสียงประณามจากรักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ชเว ซังมก (Choi Sang-mok) ที่ชี้ว่าเป็นการละเมิดมติที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ . “โซลจะตอบโต้อย่างรุนแรงมากกว่าในการยั่วยุของเกาหลีเหนือบนพื้นฐานของจุดยืนทางความมั่นคงที่แข็งแกร่งและความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ” . ขณะเดียวกัน กองบัญชาการอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้ประณามการทดสอบของเปียงยาง พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือหยุดจากการทดสอบที่ไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมายและการกระทำที่สร้างความไร้เสถียรภาพ . ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า การยิงทดสอบก่อนสัปดาห์พิธีสาบานตนของประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่นี้ “มันอาจชี้ไปว่าถึงความตั้งใจในการกดดันก่อนหน้ารัฐบาลทรัมป์ สมัยที่ 2 ก็เป็นได้” ยาง มู-จิน (Yang Moo-jin) อธิการบดีมหาวิทยาลัยการศึกษาเกาหลีเหนือในกรุงโซลแสดงความเห็น . ขณะที่ อาห์น ชาน-อิล (Ahn Chan-il) อดีตเกาหลีเหนือแปรพักตร์ที่ผันตัวกลายเป็นนักวิจัยบริหารสถาบันโลกเพื่อการศึกษาเกาหลีเหนือ (World Institute for North Korea Studies) ให้ความเห็นกับเอเอฟพีว่า นอกจากจะเป็นการแสดงตนให้รู้ต่อรัฐบาลทรัมป์แล้ว อาจจะมีเป้าหมายไปที่สร้างความไร้เสถียรภาพให้โซลในช่วงที่เกาหลีใต้กำลังตกอยู่ในความอลหม่านทางการเมืองภายในจากปัญหาผู้นำ ยุน ซอกยอล ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำให้ต้องโดนถอดถอนออกจากตำแหน่ง . เอเอฟพีรายงานว่า พิกัดที่ตั้งจุดการทดสอบไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ทว่า ภาพที่เผยแพร่ออกมาจากสำนักข่าวทางการเกาหลีเหนือ KCNA แสดงให้เห็นประธานาธิบดี คิม จองอึน พร้อมบุตรสาว คิมจูแอ (Kim Ju Ae) กำลังเฝ้ากำกับการทดสอบสัปดาห์ที่แล้ว . KCNA รายงานถึงการใช้วัสดุใหม่คาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fibre) ในเครื่องยนต์ของขีปนาวุธที่มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาเตือนว่า อาจช่วยให้เปียงยางสามารถส่งขีปนาวุธไปไกลมากขึ้นที่ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีมิสไซล์นี้มีแต่แค่สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน เท่านั้นที่ครอบครอง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004282 .............. Sondhi X
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1002 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู
    .
    ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา
    .
    เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
    .
    จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา
    .
    แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น
    .
    ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง
    .
    อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
    .
    ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร
    .
    จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง
    .
    เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด
    .
    กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย
    .
    กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ
    .
    อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง
    .
    ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280
    ..............
    Sondhi X
    คณะบริหารไบเดนเสนอกรอบโครงใหม่จำกัดการส่งออกชิปเอไอ หวังสกัดจีน คู่แข่งตัวกลั่นในสงครามไฮเทค แต่กลับกลายเป็นการสร้างความกังวลในหมู่ผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศ ตลอดจนถึงอียู . ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุชัดเจนว่า กฎใหม่หล่านี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน ดังนั้นจึงทำให้คณะบริหารของทรัมป์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะสานต่อหรือยกเลิกกรอบโครงเหล่านี้ที่จะส่งผลกระทบต่อ 120 ประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งเตือนว่า การระงับการใช้กฎนี้อาจเท่ากับเปิดโอกาสให้จีนมีเวลาสะสมมากขึ้นในการสะสมฮาร์ดแวร์ที่มาจากอเมริกา . เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว กล่าวอ้างเมื่อวันจันทร์ (13 ม.ค.) ว่า เดิมพันจะสูงมาก หากจีนกลายเป็นผู้กำหนดอนาคตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) . จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีพาณิชย์สหรัฐฯ ขานรับว่า สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นผู้นำของอเมริกาในด้านเอไอและการพัฒนาชิปเกี่ยวกับเอไอ และเสริมว่า กรอบโครงนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องเทคโนโลยีเอไอขั้นสูงสุด และให้ความมั่นใจว่า เทคโนโลยีนี้จะไม่ตกอยู่ในมือศัตรูต่างชาติ แต่ขณะเดียวกันจะสามารถเผยแพร่และแบ่งปันประโยชน์กับประเทศที่เป็นหุ้นส่วนของอเมริกา . แม้คณะบริหารชุดนี้ออกมาตรการจำกัดการส่งออกกับศัตรู เช่น จีนและรัสเซียไปแล้ว แต่พวกเขาอ้างว่าบางมาตรการยังมีช่องโหว่ และกฎล่าสุดมุ่งจะตั้งข้อจำกัดกับประเทศต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น . ด้าน เอ็ด มิลส์ นักวิเคราะห์ของ เรย์มอนด์ เจมส์ ชี้ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์ข้อมูลในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริษัทจีนใช้ศูนย์เหล่านั้นในการสร้างโมเดลเอไอด้วยเทคโนโลยีที่ตนเองไม่สามารถนำเข้าสู่จีนได้โดยตรง . อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่แล้ว สภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของอเมริกาเตือนไรมอนโดว่า การเร่งรีบใช้กฎใหม่ของคณะบริหารเดโมแครต อาจกลายเป็นการบ่อนทำลายห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้บริษัทอเมริกันเป็นฝ่ายเสียเปรียบ . ต่อมาในวันจันทร์ สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกา (เอสไอเอ) แสดงความเห็นว่า ผิดหวังที่มีการเร่งรัดผลักดันนโยบายก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่านคณะบริหาร . จอห์น นิวเฟอร์ ประธานและซีอีโอเอสไอเอ เตือนว่า กฎใหม่เสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายยาวนานโดยไม่ตั้งใจกับเศรษฐกิจและขีดความสามารถแข่งขันระดับโลกของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเอไอของอเมริกา เนื่องจากการทำเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการยกตลาดสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่พวกคู่แข่ง . เอ็นวิเดีย บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ โพสต์บนบล็อก สำทับว่า แม้มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านจีน แต่มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของอเมริกาแต่อย่างใด . กฎใหม่นี้เนื้อหาสำคัญคือยกระดับการควบคุมการส่งออกชิป ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตสำหรับการส่งออก รวมทั้งการส่งออกต่อ และการถ่ายโอนภายในประเทศ ขณะที่ศูนย์ข้อมูลเอไอต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมมากขึ้นหากต้องการนำเข้าชิป รวมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการแชร์โมเดลเอไอล้ำสมัย . กฎใหม่เหล่านี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับพันธมิตรและหุ้นส่วนสำคัญราว 20 ชาติ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอังกฤษ . อย่างไรก็ดี การตั้งข้อจำกัดกับบางประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้เจ้าหน้าที่บรัสเซลส์ออกมาคัดค้านโดยระบุว่า การขายชิปเอไอขั้นสูงให้สมาชิกอียูถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับอเมริกา ไม่ใช่ความเสี่ยงด้านความมั่นคง . ทางด้านกระทรวงพาณิชย์จีนโจมตีนโยบายใหม่ของไบเดนว่า ละเมิดกฎการค้าระหว่างประเทศ พร้อมประกาศปกป้องผลประโยชน์ของชาติเต็มที่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004280 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1000 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมาชิกระดับสูงของรีพับลิกันในสภาคองเกรส กำลังพิจารณากำหนดเงื่อนไขต่างๆสำหรับงบช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ ที่จะมอบแก่ชุมชนต่างๆของลอสแองเจลิสที่ถูกทำลายล้างจากไฟป่าหายนะ หลังว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาพวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น บริหารจัดการสถานการณ์ผิดพลาด
    .
    ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันจันทร์(13ม.ค.) ตำหนิพวกเจ้าหน้าระดับแกนนำในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นำโดยเดโมแครต บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและผืนป่าผิดพลาดในพื้นที่ลองแองเจลิส ก่อนเกิดไฟไหม้ในเวลาไล่เลี่ยกัน 6 จุด โหมกระพือทำลายล้าวทั่วเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 24 ราย
    .
    "สำหรับเราแล้ว มันดูเหมือนว่าพวกผู้นำในระดับรัฐและท้องถิ่น จะละทิ้งหน้าที่ในหลายๆเรื่อง ดังนั้นจึงมีบางอย่างจำเป็นต้องนับรวมเข้าไป" จอห์นสัน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่อาคารรัฐสภา "บางทีอาจต้องมีเงื่อนไขต่างๆสำหรับความช่วยเหลือ นั่นคือมุมมองส่วนตัวของผม เราจะได้เห็นกันว่าฉันทามติจะออกมาแบบไหน"
    .
    จอห์นสัน บอกต่อว่าสมาชิกรีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฏรยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับความช่วยเหลือภัยพิบัติที่จะมอบแก่ภาคส่วนต่างๆของแคลิฟอร์เนียที่ทุกข์ทรมานจากไฟป่า และบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมีกำหนดประชุมลับกันในช่วงเช้าวันอังคาร(14ม.ค.)
    .
    ด้วยที่ ทรัมป์ มีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในช่วงต้นสัปดาห์หน้า และรีพับลิกันครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา มันจึงเปิดทางให้พรรครีพับลิกันสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ ในนั้นรวมถึงทั้งรูปแบบและปริมาณความช่วยเหลือบรรเทาภัยหายนะ
    .
    ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โวยวายใส่พวกผู้นำเดโมแครตทั้งในแคลิฟอร์เนียและลอสแองเจลิส ว่าเป็นพวกหัวหลักหัวตอที่ไร้ความสามารถ โดยเขาโพสต์ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับไฟป่า อ้างว่าพวกผู้นำเดโมแครตในแคลิฟอร์เนียและลอสแองเจลิส "ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะดับไฟอย่างไร"
    .
    จอห์น บาร์รัสโซ แกนนำหมายเลข 2 ของรีพับลิกันในวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์กับรายงาน "เฟซออฟเนชัน" ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสเมื่อวันอาทิตย์(12ม.ค.) คาดหมายว่า "จะมีเงื่อนไขต่างๆที่แนบไปกับเงินช่วยเหลือ ที่ท้ายที่สุดแล้วจะได้รับการอนุมัติ และมันจำเป็นต้องทำพร้อมๆกับเตรียมพร้อมสำหรับคราวต่อไป เพราะว่าในครั้งนี้ มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง"
    .
    จอห์นสัน กล่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจากรีพับลิกัน กำลังหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะผูกโยงเงินช่วยเหลือแคลิฟอร์เนีย เข้ากับความพยายามเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ จากระดับปัจจุบัน 36 ล้านล้านดอลลาร์
    .
    หนึ่งในอุปสรรคขัดขวางงบประมาณบรรเทาภัยหายนะในสภาคองเกรส ก็คือกลุ่มก้อนพวกอนุรักษ์นิยมหัวแข็งกร้าวที่หาทางกัดเซาะการใช้จ่ายใหม่ๆใดๆ
    .
    เมื่อเดือนที่แล้ว สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯที่รีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และวุฒิสภาที่นำโดยเดโมแครต อนุมัติวงเงิน 100,000 ล้านดอลาร์ ในงบประมาณฉุกเฉินรอบใหม่ สำหรับช่วยฟื้นฟูรัฐต่างๆในนั้นรวมถึงนอร์ทแคโรไลนาแลฟลอริดา ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติเฮอร์ริเคน
    .
    แม้ผู้รับความช่วยเหลือจำนวนมากพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ของรีพับลิกัน แต่สมาชิกบางส่วนของพรรคในทั้ง 2 สภา ได้พยายามจำกัดงบประมาณความช่วยเหลือ ให้เหลือเพียงแค่ 40,000 ล้านดอลลาร์ ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003919
    ..............
    Sondhi X
    สมาชิกระดับสูงของรีพับลิกันในสภาคองเกรส กำลังพิจารณากำหนดเงื่อนไขต่างๆสำหรับงบช่วยเหลือด้านภัยพิบัติ ที่จะมอบแก่ชุมชนต่างๆของลอสแองเจลิสที่ถูกทำลายล้างจากไฟป่าหายนะ หลังว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาพวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น บริหารจัดการสถานการณ์ผิดพลาด . ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันจันทร์(13ม.ค.) ตำหนิพวกเจ้าหน้าระดับแกนนำในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นำโดยเดโมแครต บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและผืนป่าผิดพลาดในพื้นที่ลองแองเจลิส ก่อนเกิดไฟไหม้ในเวลาไล่เลี่ยกัน 6 จุด โหมกระพือทำลายล้าวทั่วเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 24 ราย . "สำหรับเราแล้ว มันดูเหมือนว่าพวกผู้นำในระดับรัฐและท้องถิ่น จะละทิ้งหน้าที่ในหลายๆเรื่อง ดังนั้นจึงมีบางอย่างจำเป็นต้องนับรวมเข้าไป" จอห์นสัน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่อาคารรัฐสภา "บางทีอาจต้องมีเงื่อนไขต่างๆสำหรับความช่วยเหลือ นั่นคือมุมมองส่วนตัวของผม เราจะได้เห็นกันว่าฉันทามติจะออกมาแบบไหน" . จอห์นสัน บอกต่อว่าสมาชิกรีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฏรยังไม่ได้หารือเกี่ยวกับความช่วยเหลือภัยพิบัติที่จะมอบแก่ภาคส่วนต่างๆของแคลิฟอร์เนียที่ทุกข์ทรมานจากไฟป่า และบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมีกำหนดประชุมลับกันในช่วงเช้าวันอังคาร(14ม.ค.) . ด้วยที่ ทรัมป์ มีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในช่วงต้นสัปดาห์หน้า และรีพับลิกันครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา มันจึงเปิดทางให้พรรครีพับลิกันสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ ในนั้นรวมถึงทั้งรูปแบบและปริมาณความช่วยเหลือบรรเทาภัยหายนะ . ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โวยวายใส่พวกผู้นำเดโมแครตทั้งในแคลิฟอร์เนียและลอสแองเจลิส ว่าเป็นพวกหัวหลักหัวตอที่ไร้ความสามารถ โดยเขาโพสต์ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับไฟป่า อ้างว่าพวกผู้นำเดโมแครตในแคลิฟอร์เนียและลอสแองเจลิส "ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะดับไฟอย่างไร" . จอห์น บาร์รัสโซ แกนนำหมายเลข 2 ของรีพับลิกันในวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์กับรายงาน "เฟซออฟเนชัน" ของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสเมื่อวันอาทิตย์(12ม.ค.) คาดหมายว่า "จะมีเงื่อนไขต่างๆที่แนบไปกับเงินช่วยเหลือ ที่ท้ายที่สุดแล้วจะได้รับการอนุมัติ และมันจำเป็นต้องทำพร้อมๆกับเตรียมพร้อมสำหรับคราวต่อไป เพราะว่าในครั้งนี้ มันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง" . จอห์นสัน กล่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจากรีพับลิกัน กำลังหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะผูกโยงเงินช่วยเหลือแคลิฟอร์เนีย เข้ากับความพยายามเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ จากระดับปัจจุบัน 36 ล้านล้านดอลลาร์ . หนึ่งในอุปสรรคขัดขวางงบประมาณบรรเทาภัยหายนะในสภาคองเกรส ก็คือกลุ่มก้อนพวกอนุรักษ์นิยมหัวแข็งกร้าวที่หาทางกัดเซาะการใช้จ่ายใหม่ๆใดๆ . เมื่อเดือนที่แล้ว สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯที่รีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และวุฒิสภาที่นำโดยเดโมแครต อนุมัติวงเงิน 100,000 ล้านดอลาร์ ในงบประมาณฉุกเฉินรอบใหม่ สำหรับช่วยฟื้นฟูรัฐต่างๆในนั้นรวมถึงนอร์ทแคโรไลนาแลฟลอริดา ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติเฮอร์ริเคน . แม้ผู้รับความช่วยเหลือจำนวนมากพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ของรีพับลิกัน แต่สมาชิกบางส่วนของพรรคในทั้ง 2 สภา ได้พยายามจำกัดงบประมาณความช่วยเหลือ ให้เหลือเพียงแค่ 40,000 ล้านดอลลาร์ ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003919 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1069 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง
    .
    หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021
    .
    “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ
    .
    ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?”
    .
    และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก
    .
    อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้
    .
    ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย”
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา”
    .
    ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง
    .
    ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก
    .
    ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้
    .
    มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้
    .
    ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด
    .
    รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง
    .
    แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง
    .
    เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง
    .
    และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้
    .
    ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน
    .
    ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni)
    .
    ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
    .
    เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน”
    .
    เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค.
    .
    สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน
    .
    เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916
    ..............
    Sondhi X
    เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง . หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021 . “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ . ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?” . และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก . อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้ . ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย” . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา” . ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง . ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก . ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้ . มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ . ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด . รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง . แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง . เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง . และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ . ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน . ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni) . ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ . เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน” . เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค. . สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน . เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916 .............. Sondhi X
    Like
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1139 มุมมอง 0 รีวิว
  • โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังพิจารณาประกาศนิรโทษกรรมล่วงหน้าให้บุคคลต่างๆ ที่อาจตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ทรัมป์ ซึ่งเอาชนะ กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จากพรรคเดโมแครต ในศึกเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 เตรียมหวนคืนสู่เก้าอี้ทำเนียบขาวในวันที่ 20 มกราคมนี้
    .
    "มันยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ยังไม่มีการตัดสินใจ" ไบเดน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (10 ม.ค.) ตอบคำถามหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะนิรโทษกรรมล่วงหน้า
    .
    ไบเดน ถอนตัวจากศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 ในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางความกังวลที่โผล่ขึ้นมาภายในพรรคเดโมแครต ตามหลังผลงานการดีเบตกับทรัมป์ ที่ก่อความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนพรรค ท้ายที่สุดแล้วเขาก็หันไปรับรองแฮร์ริส แต่ว่าเธอก็พ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งให้ทรัมป์
    .
    ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงถึงเจตนาจะเอาผิดกับทุกคนที่เขามองเป็นศัตรู "ในนั้นรวมถึงแฮร์ริส และโจ ไบเดน บุคคลที่เขามองว่าเป็นประธานาธิบดีคอร์รัปชันเลวร้ายสุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา รวมถึงครอบครัวอาชญากรของเขาด้วย"
    .
    นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังวิพากษ์วิจารณ์ไบเดน สำหรับกรณีนิรโทษกรรมให้ ฮันเตอร์ ไบเดน ลูกชายตนเองในเดือนธันวาคม กลับลำจากที่เคยประกาศไว้ว่าจะไม่ทำเช่นนนั้น ทั้งนี้ ไบเดน อภัยโทษให้ ฮันเตอร์ แม้ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีและความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน และศาลมีกำหนดตัดสินระวางโทษในเดือนธันวาคม
    .
    ทรัมป์ เรียกการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็น "การบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม" และหยิบยกเรื่องนี้พาดพิงถึงบรรดาผู้สนับสนุนของเขาที่ถูกจำคุกฐานก่อจลาจลบุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 "การนิรโทษกรรมที่ไบเดนมอบให้ฮันเตอร์ ได้นับรวมกลุ่ม J-6 Hostages ด้วยหรือเปล่า เวลานี้พวกเขาถูกคุมขังมานานหลายปีแล้ว มันเป็นการละเมิดและบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม!" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล
    .
    นอกจากนี้ ว่าที่ประธานาธิบดียังเรียกร้องให้สืบสวนอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา และลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรครีพับลิกัน ที่ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์มาตลอด
    .
    ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 ทรัมป์ขู่ดำเนินคดีอย่างที่ไม่มีมาก่อน กับบุคคลต่างๆ ที่เขากล่าวหาว่าโกงเลือกตั้ง "ขอให้ทราบว่าความเสี่ยงถูกดำเนินการทางกฎหมายนี้ ครอบคลุมถึงพวกทนายความ พวกผู้ใช้อุบายในทางการเมือง บรรดาผู้บริจาค ผู้ใช้สิทธิใช้เสียงแบบผิดกฎหมายและพวกเจ้าหน้าที่เลือกตั้งที่คอร์รัปชัน" ทรัมป์โพสต์บนทรัสต์โซเชียล หลังจากก่อนหน้านี้เขาเคยกล่าวอ้างว่ามีการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวางในปี 2020
    .
    ทรัมป์ ยังได้เน้นย้ำเมื่อปีที่แล้ว ว่าเขาจะไล่ออก แจ็ค สมิธ ที่ปรึกษาพิเศษของกระทรวงยุติธรรม ที่กำกับดูแลการสืบสวนว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากรีพับลิกันรายนี้ จนกระทั่ง สมิธ ตัดสินใจลาออกเมื่อวันศุกร์ (10 ม.ค.)
    .
    เมื่อถามว่าเขาจะนิรโทษกรรมให้ตนเองหรือไม่ ทาง ไบเดน ปฏิเสธความคิดนี้ โดยบอกว่า "ผมไม่ได้ทำอะไรผิด"
    .
    มีความเป็นไปได้ว่าประธานาธิบดีอาจมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะประกาศนิรโทษกรรมล่วงหน้าอย่างกว้างขวาง ต่อการกระทำผิดใดๆ ตามกฎหมายรัฐบาลกลางในอดีตที่ผ่านมา แม้กระทั่งยังไม่ถูกยื่นฟ้องดำเนินคดีก็ตาม อย่างไรก็ตาม อำนาจนี้ไม่สามารถใช้กับความผิดทางอาญาตามกฎหมายในแต่ละรัฐหรือความผิดใดๆ ในอนาคต
    .
    ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่ารูปแบบการนิรโทษกรรมที่ไบเดนกำลังพิจารณาอยู่นั้น น่าจะเป็นการนิรโทษกรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจพิเศษของประธานาธิบดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003513
    ..............
    Sondhi X
    โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังพิจารณาประกาศนิรโทษกรรมล่วงหน้าให้บุคคลต่างๆ ที่อาจตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ทรัมป์ ซึ่งเอาชนะ กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จากพรรคเดโมแครต ในศึกเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 เตรียมหวนคืนสู่เก้าอี้ทำเนียบขาวในวันที่ 20 มกราคมนี้ . "มันยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ยังไม่มีการตัดสินใจ" ไบเดน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (10 ม.ค.) ตอบคำถามหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะนิรโทษกรรมล่วงหน้า . ไบเดน ถอนตัวจากศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 ในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางความกังวลที่โผล่ขึ้นมาภายในพรรคเดโมแครต ตามหลังผลงานการดีเบตกับทรัมป์ ที่ก่อความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนพรรค ท้ายที่สุดแล้วเขาก็หันไปรับรองแฮร์ริส แต่ว่าเธอก็พ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งให้ทรัมป์ . ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงถึงเจตนาจะเอาผิดกับทุกคนที่เขามองเป็นศัตรู "ในนั้นรวมถึงแฮร์ริส และโจ ไบเดน บุคคลที่เขามองว่าเป็นประธานาธิบดีคอร์รัปชันเลวร้ายสุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา รวมถึงครอบครัวอาชญากรของเขาด้วย" . นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังวิพากษ์วิจารณ์ไบเดน สำหรับกรณีนิรโทษกรรมให้ ฮันเตอร์ ไบเดน ลูกชายตนเองในเดือนธันวาคม กลับลำจากที่เคยประกาศไว้ว่าจะไม่ทำเช่นนนั้น ทั้งนี้ ไบเดน อภัยโทษให้ ฮันเตอร์ แม้ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีและความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน และศาลมีกำหนดตัดสินระวางโทษในเดือนธันวาคม . ทรัมป์ เรียกการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็น "การบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม" และหยิบยกเรื่องนี้พาดพิงถึงบรรดาผู้สนับสนุนของเขาที่ถูกจำคุกฐานก่อจลาจลบุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 "การนิรโทษกรรมที่ไบเดนมอบให้ฮันเตอร์ ได้นับรวมกลุ่ม J-6 Hostages ด้วยหรือเปล่า เวลานี้พวกเขาถูกคุมขังมานานหลายปีแล้ว มันเป็นการละเมิดและบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม!" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล . นอกจากนี้ ว่าที่ประธานาธิบดียังเรียกร้องให้สืบสวนอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา และลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรครีพับลิกัน ที่ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์มาตลอด . ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 ทรัมป์ขู่ดำเนินคดีอย่างที่ไม่มีมาก่อน กับบุคคลต่างๆ ที่เขากล่าวหาว่าโกงเลือกตั้ง "ขอให้ทราบว่าความเสี่ยงถูกดำเนินการทางกฎหมายนี้ ครอบคลุมถึงพวกทนายความ พวกผู้ใช้อุบายในทางการเมือง บรรดาผู้บริจาค ผู้ใช้สิทธิใช้เสียงแบบผิดกฎหมายและพวกเจ้าหน้าที่เลือกตั้งที่คอร์รัปชัน" ทรัมป์โพสต์บนทรัสต์โซเชียล หลังจากก่อนหน้านี้เขาเคยกล่าวอ้างว่ามีการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวางในปี 2020 . ทรัมป์ ยังได้เน้นย้ำเมื่อปีที่แล้ว ว่าเขาจะไล่ออก แจ็ค สมิธ ที่ปรึกษาพิเศษของกระทรวงยุติธรรม ที่กำกับดูแลการสืบสวนว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากรีพับลิกันรายนี้ จนกระทั่ง สมิธ ตัดสินใจลาออกเมื่อวันศุกร์ (10 ม.ค.) . เมื่อถามว่าเขาจะนิรโทษกรรมให้ตนเองหรือไม่ ทาง ไบเดน ปฏิเสธความคิดนี้ โดยบอกว่า "ผมไม่ได้ทำอะไรผิด" . มีความเป็นไปได้ว่าประธานาธิบดีอาจมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะประกาศนิรโทษกรรมล่วงหน้าอย่างกว้างขวาง ต่อการกระทำผิดใดๆ ตามกฎหมายรัฐบาลกลางในอดีตที่ผ่านมา แม้กระทั่งยังไม่ถูกยื่นฟ้องดำเนินคดีก็ตาม อย่างไรก็ตาม อำนาจนี้ไม่สามารถใช้กับความผิดทางอาญาตามกฎหมายในแต่ละรัฐหรือความผิดใดๆ ในอนาคต . ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่ารูปแบบการนิรโทษกรรมที่ไบเดนกำลังพิจารณาอยู่นั้น น่าจะเป็นการนิรโทษกรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจพิเศษของประธานาธิบดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003513 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Angry
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 949 มุมมอง 0 รีวิว
  • เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน
    .
    วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน
    .
    "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ
    .
    วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว"
    .
    ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย
    .
    สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา
    .
    ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ
    .
    เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512
    ..............
    Sondhi X
    เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน . วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน . "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ . วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว" . ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย . สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา . ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ . เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 902 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์พวกผู้นำแคลิฟอร์เนียหนักหน่วงขึ้น ต่อกรณีจัดการกับไฟฟ้าที่กำลังเผาผลาญลอสแองเจลิส ทำให้ทางผู้ว่าการรัฐตอบโต้ ด้วยการกระตุ้นให้เขาลงพื้นที่มาดูสภาพความเสียหายด้วยตนเอง
    .
    "ไฟป่ายังคงโหมกระพือในแอลเอ พวกนักการเมืองที่ไร้ความสามารถ ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะดับไฟได้" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง "นี่คือหนึ่งในหายนะครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศของเรา พวกเขาไม่ใช่แค่ไม่สามารถดับไฟเท่านั้น มันเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา?"
    .
    กาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย จากพรรคเดโมแครต ซึ่งตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ของทรัมป์มาช้านาน ตอบโต้กลับระหว่างการสัมภาษณ์หนึ่งซึ่งออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) แต่ขณะเดียวกันก็ส่งเสียงประนีประนอม "การตอบโต้กลับคำดูหมิ่นด่าทอของทรัมป์ เราอาจต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน" เขากล่าวกับเอ็นบีซี "เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งทุกคนที่เขาทะเลาะด้วยคุ้นเคยกับสิ่งนี้ดี"
    .
    ผู้ว่าการรัฐกล่าวต่อว่า "แต่ผมเรียกร้องให้เขาเดินทางมาดูด้วยตาตนเอง เราต้องการทำมันด้วยสปิริตแห่งการเปิดกว้าง ไม่ใช่ใจที่ปิดกั้น เขาคือว่าที่ประธานาธิบดี" พร้อมเผยว่าจนถึงตอนนี้ ทรัมป์ ยังไม่ตอบสนองใดๆ ต่อคำเชิญของเขา
    .
    บ่อยครั้งที่ ทรัมป์ กระทบกระทั่งกับ นิวซัม บุคคลที่ถูกมองว่าอาจก้าวมาเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2028 และแม้วิพากษ์วิจารณ์แนวทางรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ของผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าในอดีตที่ผ่านมา ทรัมป์ เองก็เคยขู่ตัดงบบริหารจัดการไฟป่าของรัฐบาลที่ป้อนแก่แคลิฟอร์เนีย หากได้รับเลือกตั้ง ท่ามกลางข้อพิพาทกับ นิวซัม เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ
    .
    "ในจิตวิญญาณของประเทศที่ยิ่งใหญ่นี้ เราต้องไม่นำโศกนาฏกรรมของมนุษย์มาเป็นเรื่องทางการเมือง หรือแพร่กระจายข้อมูลบิดเบือน" นิวซัม เขียนตอบโต้ทรัมป์ แชร์บนสื่อสังคมออนไลน์ "ผมขอเชิญคุณมายังแคลิฟอร์เนียอีกครั้ง พบเจอกับอเมริกันชนที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้นี้ มาดูหายนะด้วยตาตนเอง เข้าร่วมกับผลและคนอื่นๆ ในการขอบคุณวีรบุรุษนักดับเพลิงและทีมตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เอาชีวิตเข้าไปเสี่ยง นี่คือสไตล์ของเขา เราจริงจังกับคำพูดของเขา" ผู้ว่าการรัฐอ้างถึงคำขู่ของทรัมป์ เกี่ยวกับการตัดงบช่วยเหลือ
    .
    พวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นในแคลิฟอร์เนีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ในขณะที่ทรัมป์และสมาชิกรีพับลิกันรายอื่นๆ เช่นเดียวกันประชาชนที่บ้านถูกไฟเผาไหม้หรือเสี่ยงถูกเพลิงทำลายล้าง ส่งเสียงเรียกร้องขอคำตอบเกี่ยวกับแผนและการเตรียมการรับมือวิกฤตของทางรัฐ
    .
    จนถึงตอนนี้ไฟป่าครั้งเลวร้ายได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 16 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยอีกกว่า 150,000 คน และสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 12,000 หลัง ถูกทำลาย จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐ "บ้านอันงดงามหลายพันหลังหายวับไป และอีกมากจะสูญเสียเร็วๆ นี้ มีคนเสียชีวิตอยู่ในทุกพื้นที่" ทรัมป์โพสต์
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003511
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์พวกผู้นำแคลิฟอร์เนียหนักหน่วงขึ้น ต่อกรณีจัดการกับไฟฟ้าที่กำลังเผาผลาญลอสแองเจลิส ทำให้ทางผู้ว่าการรัฐตอบโต้ ด้วยการกระตุ้นให้เขาลงพื้นที่มาดูสภาพความเสียหายด้วยตนเอง . "ไฟป่ายังคงโหมกระพือในแอลเอ พวกนักการเมืองที่ไร้ความสามารถ ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะดับไฟได้" ทรัมป์เขียนบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง "นี่คือหนึ่งในหายนะครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศของเรา พวกเขาไม่ใช่แค่ไม่สามารถดับไฟเท่านั้น มันเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา?" . กาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย จากพรรคเดโมแครต ซึ่งตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์ของทรัมป์มาช้านาน ตอบโต้กลับระหว่างการสัมภาษณ์หนึ่งซึ่งออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) แต่ขณะเดียวกันก็ส่งเสียงประนีประนอม "การตอบโต้กลับคำดูหมิ่นด่าทอของทรัมป์ เราอาจต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน" เขากล่าวกับเอ็นบีซี "เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งทุกคนที่เขาทะเลาะด้วยคุ้นเคยกับสิ่งนี้ดี" . ผู้ว่าการรัฐกล่าวต่อว่า "แต่ผมเรียกร้องให้เขาเดินทางมาดูด้วยตาตนเอง เราต้องการทำมันด้วยสปิริตแห่งการเปิดกว้าง ไม่ใช่ใจที่ปิดกั้น เขาคือว่าที่ประธานาธิบดี" พร้อมเผยว่าจนถึงตอนนี้ ทรัมป์ ยังไม่ตอบสนองใดๆ ต่อคำเชิญของเขา . บ่อยครั้งที่ ทรัมป์ กระทบกระทั่งกับ นิวซัม บุคคลที่ถูกมองว่าอาจก้าวมาเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2028 และแม้วิพากษ์วิจารณ์แนวทางรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ของผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าในอดีตที่ผ่านมา ทรัมป์ เองก็เคยขู่ตัดงบบริหารจัดการไฟป่าของรัฐบาลที่ป้อนแก่แคลิฟอร์เนีย หากได้รับเลือกตั้ง ท่ามกลางข้อพิพาทกับ นิวซัม เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ . "ในจิตวิญญาณของประเทศที่ยิ่งใหญ่นี้ เราต้องไม่นำโศกนาฏกรรมของมนุษย์มาเป็นเรื่องทางการเมือง หรือแพร่กระจายข้อมูลบิดเบือน" นิวซัม เขียนตอบโต้ทรัมป์ แชร์บนสื่อสังคมออนไลน์ "ผมขอเชิญคุณมายังแคลิฟอร์เนียอีกครั้ง พบเจอกับอเมริกันชนที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้นี้ มาดูหายนะด้วยตาตนเอง เข้าร่วมกับผลและคนอื่นๆ ในการขอบคุณวีรบุรุษนักดับเพลิงและทีมตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เอาชีวิตเข้าไปเสี่ยง นี่คือสไตล์ของเขา เราจริงจังกับคำพูดของเขา" ผู้ว่าการรัฐอ้างถึงคำขู่ของทรัมป์ เกี่ยวกับการตัดงบช่วยเหลือ . พวกเจ้าหน้าที่ระดับรัฐและระดับท้องถิ่นในแคลิฟอร์เนีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ในขณะที่ทรัมป์และสมาชิกรีพับลิกันรายอื่นๆ เช่นเดียวกันประชาชนที่บ้านถูกไฟเผาไหม้หรือเสี่ยงถูกเพลิงทำลายล้าง ส่งเสียงเรียกร้องขอคำตอบเกี่ยวกับแผนและการเตรียมการรับมือวิกฤตของทางรัฐ . จนถึงตอนนี้ไฟป่าครั้งเลวร้ายได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 16 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยอีกกว่า 150,000 คน และสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 12,000 หลัง ถูกทำลาย จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐ "บ้านอันงดงามหลายพันหลังหายวับไป และอีกมากจะสูญเสียเร็วๆ นี้ มีคนเสียชีวิตอยู่ในทุกพื้นที่" ทรัมป์โพสต์ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003511 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 904 มุมมอง 0 รีวิว
  • " ที่มาของคำว่าทรัมป์บ้า!!!!! "

    Foreign Policy : ทรัมป์เคยพ่ายแพ้ต่ออิหร่านมาแล้ว
    กลยุทธ์ "ทฤษฎีคนบ้า" (Madman Theory) ของทรัมป์ในเวทีการเผชิญหน้ากับอิหร่าน กลับกลายเป็นหมากที่ไม่ได้ผล เพราะอิหร่านมองทะลุถึงเจตนาและวิธีการของทรัมป์อย่างชัดเจน
    นิตยสาร ฟอเรน โพลิซี (Foreign Policy) ซึ่งเป็นสื่อวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นสำคัญ โดยระบุว่า อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีคนบ้า" ในการสร้างภาพลักษณ์ตนเองให้ดูเป็นผู้นำที่คาดเดาไม่ได้และเต็มไปด้วยความอันตราย แต่คำถามสำคัญคือ วิธีการนี้สามารถบีบให้อิหร่านเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือไม่ หรือกลับทำให้ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงขึ้น?
    ทรัมป์เป็นที่รู้จักจากแนวทางที่ผิดแผกไปจากผู้นำทั่วไปในด้านการทูต หนึ่งในกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้อย่างต่อเนื่องคือ "ทฤษฎีคนบ้า" ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคสงครามเย็นในสมัยริชาร์ด นิกสัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ผู้นำสามารถบีบให้คู่ต่อสู้ยอมอ่อนข้อได้โดยการแสดงออกถึงความไม่แน่นอนและการข่มขู่ที่ดูรุนแรง แต่สำหรับเวทีการปะทะกับอิหร่าน คำถามคือ ทฤษฎีนี้ช่วยทรัมป์ได้จริงหรือไม่ หรือกลับเป็นชนวนที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งดิ่งลึกสู่ความรุนแรง?

    ทรัมป์และกลยุทธ์การเจรจาที่อิหร่านไม่สะทกสะท้าน
    โดนัลด์ ทรัมป์เคยพูดถึงแนวทางการเจรจาของเขาอย่างภาคภูมิใจ โดยในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2018 เขากล่าวว่า "ผมเป็นนักเจรจาที่มักจะวางตัวเลือกที่หลากหลายไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาก้าวต่อไปของผมได้" หนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของแนวทางนี้คือการข่มขู่ "ทำลายล้างอย่างสมบูรณ์" เกาหลีเหนือ ในสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ แต่เมื่อใช้วิธีเดียวกันนี้กับอิหร่าน ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์หวังไว้

    นโยบาย “กดดันสูงสุด” และความล้มเหลวในการบีบอิหร่าน
    ในปี 2018 ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) และเริ่มดำเนินนโยบาย "กดดันสูงสุด" (Maximum Pressure) ด้วยความหวังว่าอิหร่านจะยอมรับข้อตกลงใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม จอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น เปิดเผยในหนังสือของเขาว่า ทรัมป์เชื่อมั่นว่า "อิหร่านจะไม่สามารถทนต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจได้ และในที่สุดจะกลับมาที่โต๊ะเจรจา"

    การตอบโต้ของอิหร่าน: ท้าทายทุกแรงกดดัน
    แต่ความเป็นจริงกลับแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง อิหร่านไม่ได้เพียงแค่ปฏิเสธการเจรจา แต่ยังขยายโครงการนิวเคลียร์และเพิ่มปฏิบัติการของกลุ่มตัวแทนในภูมิภาคเพื่อแสดงถึงความไม่ยอมจำนน มูฮัมหมัด ญาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านในขณะนั้น กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "ทรัมป์คิดว่าแรงกดดันจะทำให้เราอ่อนข้อ แต่ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าชาวอิหร่านยืนหยัดในหน้าความกดดันเสมอ" ความพยายามของทรัมป์ในการบีบอิหร่านด้วยนโยบายกดดันสูงสุดจึงกลายเป็นการเดินเกมที่ไม่ได้ผล อิหร่านตอบโต้ด้วยการยืนหยัดและแสดงศักยภาพของตนเองให้เห็นอย่างชัดเจนในเวทีระหว่างประเทศ

    ปมร้อน: การสังหารสุไลมานีและความล้มเหลวของ "ทฤษฎีคนบ้า"
    หนึ่งในการตัดสินใจที่สร้างความสั่นสะเทือนที่สุดของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คือการออกคำสั่งให้สังหาร นายพลกอเซ็ม สุไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ในเดือนมกราคม 2020 การโจมตีนี้เกิดขึ้นใกล้สนามบินกรุงแบกแดด และนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน อิหร่านตอบโต้การสังหารสุไลมานีด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีฐานทัพอเมริกันในอิรัก พร้อมประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดที่ระบุไว้ในข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) อีกต่อไป
    เมื่อ "ทฤษฎีคนบ้า" ไม่ได้ผล
    โรซานา แมคมานัส ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต อธิบายว่า "ทฤษฎีคนบ้า" จะได้ผลก็ต่อเมื่อคู่ต่อสู้เชื่อว่าผู้นำมีความไม่แน่นอนจริงในบางเรื่อง แต่หากผู้นำนั้นดูไม่สมเหตุสมผลจนเกินไป ความเชื่อถือในคำขู่จะลดลง และกลยุทธ์จะล้มเหลว ในกรณีของทรัมป์ นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า พฤติกรรมของเขาเริ่มคาดเดาได้มากเกินไป เช่น การตัดสินใจไม่ตอบโต้ทางทหารหลังจากอิหร่านยิงโดรนอเมริกันตกในเดือนมิถุนายน 2019 การกระทำดังกล่าวส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทรัมป์ไม่ต้องการทำสงคราม การส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันนี้ทำให้อิหร่านไม่ยอมรับคำขู่ของเขาอย่างจริงจัง นโยบาย "กดดันสูงสุด" ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งหวังให้อิหร่านอ่อนข้อและยอมทำตามข้อตกลงที่เข้มงวดกว่าเดิม กลับกลายเป็นหอกที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงตัวเอง อิหร่านไม่เพียงแต่ยืนหยัดต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่ยังใช้โอกาสนี้ขยายโครงการนิวเคลียร์และเสริมสร้างอิทธิพลในภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้น
    เรซานา แมคมานัส นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ออกโรงเตือนว่า "ผู้นำควรระวังไม่ให้ชื่อเสียงในความบ้าบิ่นกลายเป็นจุดอ่อนของตนเอง" เพราะเมื่อฝ่ายตรงข้ามเริ่มเข้าใจเกมและการกระทำที่ดูเหมือนเหนือความคาดหมาย กลยุทธ์ดังกล่าวอาจกลับกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพ

    ดังนั้น หากทรัมป์ตัดสินใจหวนกลับมาใช้ "ทฤษฎีคนบ้า" อีกครั้ง สิ่งสำคัญที่เขาต้องพิจารณาคือคู่แข่ง โดยเฉพาะอิหร่าน ต่างคุ้นเคยกับเกมนี้ดีและพร้อมรับมือด้วยกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดกว่าเดิม ทรัมป์ไม่สามารถพึ่งพาความคาดเดาไม่ได้แบบเดิมอีกต่อไป เพราะการเล่นเกมซ้ำที่ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจดี อาจกลายเป็นหายนะในทางการทูต

    (เรียบเรียงโดยสมาคมนักเรียนไทยในอีร่าน)
    " ที่มาของคำว่าทรัมป์บ้า!!!!! " Foreign Policy : ทรัมป์เคยพ่ายแพ้ต่ออิหร่านมาแล้ว กลยุทธ์ "ทฤษฎีคนบ้า" (Madman Theory) ของทรัมป์ในเวทีการเผชิญหน้ากับอิหร่าน กลับกลายเป็นหมากที่ไม่ได้ผล เพราะอิหร่านมองทะลุถึงเจตนาและวิธีการของทรัมป์อย่างชัดเจน นิตยสาร ฟอเรน โพลิซี (Foreign Policy) ซึ่งเป็นสื่อวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นสำคัญ โดยระบุว่า อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีคนบ้า" ในการสร้างภาพลักษณ์ตนเองให้ดูเป็นผู้นำที่คาดเดาไม่ได้และเต็มไปด้วยความอันตราย แต่คำถามสำคัญคือ วิธีการนี้สามารถบีบให้อิหร่านเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือไม่ หรือกลับทำให้ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงขึ้น? ทรัมป์เป็นที่รู้จักจากแนวทางที่ผิดแผกไปจากผู้นำทั่วไปในด้านการทูต หนึ่งในกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้อย่างต่อเนื่องคือ "ทฤษฎีคนบ้า" ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคสงครามเย็นในสมัยริชาร์ด นิกสัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ผู้นำสามารถบีบให้คู่ต่อสู้ยอมอ่อนข้อได้โดยการแสดงออกถึงความไม่แน่นอนและการข่มขู่ที่ดูรุนแรง แต่สำหรับเวทีการปะทะกับอิหร่าน คำถามคือ ทฤษฎีนี้ช่วยทรัมป์ได้จริงหรือไม่ หรือกลับเป็นชนวนที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งดิ่งลึกสู่ความรุนแรง? ทรัมป์และกลยุทธ์การเจรจาที่อิหร่านไม่สะทกสะท้าน โดนัลด์ ทรัมป์เคยพูดถึงแนวทางการเจรจาของเขาอย่างภาคภูมิใจ โดยในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2018 เขากล่าวว่า "ผมเป็นนักเจรจาที่มักจะวางตัวเลือกที่หลากหลายไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาก้าวต่อไปของผมได้" หนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของแนวทางนี้คือการข่มขู่ "ทำลายล้างอย่างสมบูรณ์" เกาหลีเหนือ ในสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ แต่เมื่อใช้วิธีเดียวกันนี้กับอิหร่าน ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์หวังไว้ นโยบาย “กดดันสูงสุด” และความล้มเหลวในการบีบอิหร่าน ในปี 2018 ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) และเริ่มดำเนินนโยบาย "กดดันสูงสุด" (Maximum Pressure) ด้วยความหวังว่าอิหร่านจะยอมรับข้อตกลงใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม จอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น เปิดเผยในหนังสือของเขาว่า ทรัมป์เชื่อมั่นว่า "อิหร่านจะไม่สามารถทนต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจได้ และในที่สุดจะกลับมาที่โต๊ะเจรจา" การตอบโต้ของอิหร่าน: ท้าทายทุกแรงกดดัน แต่ความเป็นจริงกลับแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง อิหร่านไม่ได้เพียงแค่ปฏิเสธการเจรจา แต่ยังขยายโครงการนิวเคลียร์และเพิ่มปฏิบัติการของกลุ่มตัวแทนในภูมิภาคเพื่อแสดงถึงความไม่ยอมจำนน มูฮัมหมัด ญาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านในขณะนั้น กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "ทรัมป์คิดว่าแรงกดดันจะทำให้เราอ่อนข้อ แต่ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าชาวอิหร่านยืนหยัดในหน้าความกดดันเสมอ" ความพยายามของทรัมป์ในการบีบอิหร่านด้วยนโยบายกดดันสูงสุดจึงกลายเป็นการเดินเกมที่ไม่ได้ผล อิหร่านตอบโต้ด้วยการยืนหยัดและแสดงศักยภาพของตนเองให้เห็นอย่างชัดเจนในเวทีระหว่างประเทศ ปมร้อน: การสังหารสุไลมานีและความล้มเหลวของ "ทฤษฎีคนบ้า" หนึ่งในการตัดสินใจที่สร้างความสั่นสะเทือนที่สุดของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คือการออกคำสั่งให้สังหาร นายพลกอเซ็ม สุไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ในเดือนมกราคม 2020 การโจมตีนี้เกิดขึ้นใกล้สนามบินกรุงแบกแดด และนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน อิหร่านตอบโต้การสังหารสุไลมานีด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีฐานทัพอเมริกันในอิรัก พร้อมประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดที่ระบุไว้ในข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) อีกต่อไป เมื่อ "ทฤษฎีคนบ้า" ไม่ได้ผล โรซานา แมคมานัส ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต อธิบายว่า "ทฤษฎีคนบ้า" จะได้ผลก็ต่อเมื่อคู่ต่อสู้เชื่อว่าผู้นำมีความไม่แน่นอนจริงในบางเรื่อง แต่หากผู้นำนั้นดูไม่สมเหตุสมผลจนเกินไป ความเชื่อถือในคำขู่จะลดลง และกลยุทธ์จะล้มเหลว ในกรณีของทรัมป์ นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า พฤติกรรมของเขาเริ่มคาดเดาได้มากเกินไป เช่น การตัดสินใจไม่ตอบโต้ทางทหารหลังจากอิหร่านยิงโดรนอเมริกันตกในเดือนมิถุนายน 2019 การกระทำดังกล่าวส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทรัมป์ไม่ต้องการทำสงคราม การส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันนี้ทำให้อิหร่านไม่ยอมรับคำขู่ของเขาอย่างจริงจัง นโยบาย "กดดันสูงสุด" ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งหวังให้อิหร่านอ่อนข้อและยอมทำตามข้อตกลงที่เข้มงวดกว่าเดิม กลับกลายเป็นหอกที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงตัวเอง อิหร่านไม่เพียงแต่ยืนหยัดต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่ยังใช้โอกาสนี้ขยายโครงการนิวเคลียร์และเสริมสร้างอิทธิพลในภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้น เรซานา แมคมานัส นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ออกโรงเตือนว่า "ผู้นำควรระวังไม่ให้ชื่อเสียงในความบ้าบิ่นกลายเป็นจุดอ่อนของตนเอง" เพราะเมื่อฝ่ายตรงข้ามเริ่มเข้าใจเกมและการกระทำที่ดูเหมือนเหนือความคาดหมาย กลยุทธ์ดังกล่าวอาจกลับกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น หากทรัมป์ตัดสินใจหวนกลับมาใช้ "ทฤษฎีคนบ้า" อีกครั้ง สิ่งสำคัญที่เขาต้องพิจารณาคือคู่แข่ง โดยเฉพาะอิหร่าน ต่างคุ้นเคยกับเกมนี้ดีและพร้อมรับมือด้วยกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดกว่าเดิม ทรัมป์ไม่สามารถพึ่งพาความคาดเดาไม่ได้แบบเดิมอีกต่อไป เพราะการเล่นเกมซ้ำที่ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจดี อาจกลายเป็นหายนะในทางการทูต (เรียบเรียงโดยสมาคมนักเรียนไทยในอีร่าน)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 196 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดนมาร์กส่งสารอย่างลับๆ ไปถึงคณะทำงานของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าพวกเขามีความตั้งใจพูดคุยหารือเกี่ยวกับการยกระดับความมั่นคงในกรีนแลนด์ หรือเพิ่มประจำการกำลังพลอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะแห่งนี้ ตามรายงานของ Axios เว็บไซต์ข่าวสหรัฐฯ โดยอ้างแหล่งข่าว 2 คน
    .
    ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พูดซ้ำๆ ว่าการเข้าควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก คือ "สิ่งจำเป็นอย่างที่สุด" เขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือวิถีทางทางเศรษฐกิจ ในนั้นรวมถึงมาตรการรีดภาษีกับเดนมาร์ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเกาะแห่งนี้
    .
    เว็บไซต์ข่าว Axios รายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ทรัมป์ ว่าความกังวลของเขาจะได้รับการจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์
    .
    อย่างไรก็ตาม โฆษกทีมเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวของ Axios
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เปิดเผยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เธอขอพบปะพูดคุยกับทรัมป์ แต่ไม่คาดหมายว่ามันจะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง ส่วน มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ระบุว่าเขาพร้อมพุดคุยกับทรัมป์ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้เคารพต่อความปรารถนาที่จะเป็นเอกราชของเกาะแห่งนี้
    .
    ก่อนหน้านี้ เดนมาร์กยืนกรานมาตลอดว่า กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003315
    ..............
    Sondhi X
    เดนมาร์กส่งสารอย่างลับๆ ไปถึงคณะทำงานของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าพวกเขามีความตั้งใจพูดคุยหารือเกี่ยวกับการยกระดับความมั่นคงในกรีนแลนด์ หรือเพิ่มประจำการกำลังพลอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะแห่งนี้ ตามรายงานของ Axios เว็บไซต์ข่าวสหรัฐฯ โดยอ้างแหล่งข่าว 2 คน . ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พูดซ้ำๆ ว่าการเข้าควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก คือ "สิ่งจำเป็นอย่างที่สุด" เขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือวิถีทางทางเศรษฐกิจ ในนั้นรวมถึงมาตรการรีดภาษีกับเดนมาร์ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเกาะแห่งนี้ . เว็บไซต์ข่าว Axios รายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ทรัมป์ ว่าความกังวลของเขาจะได้รับการจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์ . อย่างไรก็ตาม โฆษกทีมเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวของ Axios . เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เปิดเผยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เธอขอพบปะพูดคุยกับทรัมป์ แต่ไม่คาดหมายว่ามันจะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง ส่วน มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ระบุว่าเขาพร้อมพุดคุยกับทรัมป์ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้เคารพต่อความปรารถนาที่จะเป็นเอกราชของเกาะแห่งนี้ . ก่อนหน้านี้ เดนมาร์กยืนกรานมาตลอดว่า กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003315 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Angry
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 740 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยที่หลายคนอวยนักหนา"

    ที่รักษากฎหมายวันนี้โดนัลด์ ทรัมป์กลายเป็นอดีตประธานาธิบดีคนแรกและประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาอย่างเป็นทางการ

    โดยเขาถูกตัดสินในคดีอาญาที่ใช้เงินปิดปากอดีตดาราหนังผู้ใหญ่แต่ประธานาธิบดีคนใหม่ไม่ได้รับโทษใดๆ สำหรับความผิดที่ได้กระทำไป

    ผู้พิพากษา Juan Merchan มีคำวินิจฉัยให้ “Unconditional Discharge “ หรือ "การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข" แก่ทรัมป์
    "ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยที่หลายคนอวยนักหนา" ที่รักษากฎหมายวันนี้โดนัลด์ ทรัมป์กลายเป็นอดีตประธานาธิบดีคนแรกและประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาอย่างเป็นทางการ โดยเขาถูกตัดสินในคดีอาญาที่ใช้เงินปิดปากอดีตดาราหนังผู้ใหญ่แต่ประธานาธิบดีคนใหม่ไม่ได้รับโทษใดๆ สำหรับความผิดที่ได้กระทำไป ผู้พิพากษา Juan Merchan มีคำวินิจฉัยให้ “Unconditional Discharge “ หรือ "การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข" แก่ทรัมป์
    Like
    Haha
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 257 มุมมอง 0 รีวิว
  • โปแลนด์กลับลำ ประกาศจะไม่จับกุมเนทันยาฮู หากเขาเดินทางมาเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

    เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลโปแลนด์นำโดยนายกรัฐมนตรี โดนัลด์ ทัสก์ (Donald Tusk) ประกาศจะทำตามหมายจับจาก ICC หากเนทันยาฮูเดินทางมาโปแลนด์

    แต่ประธานาธิบดีอันเดรจ ดูดา (Andrzej Duda) ของโปแลนด์ พยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอให้โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีรับประกันความปลอดภัยของเนทันยาฮู

    "ทุกคนจากอิสราเอล เจ้าหน้าที่ทุกคนจากประเทศนั้น ควรสามารถมีส่วนร่วมในงานพิเศษนี้ได้ เนื่องจากเหตุการณ์งานครบรอบดังกล่าว ถือเป็นสถานการณ์ที่พิเศษและมีความหมายอย่างยิ่ง" ประธานาธิบดีดูดา กล่าว

    ล่าสุดวันนี้ นายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทัสก์ ตกลงทำตามคำขอจากประธานาธิบดี โดยยืนยันว่าโปแลนด์จะไม่ปฏิบัติตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อจับกุมเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล หากเขาเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายเอาชวิตซ์ในช่วงปลายเดือนนี้

    ทัสก์กล่าวในรัฐสภาว่ารัฐบาล "รัฐบาลทำงานมาหลายวัน เพื่อตัดสินใจว่าจะรับประกันความปลอดภัยให้กับแขกทุกคนที่สนใจเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายเอาชวิตซ์"


    ที่ผ่านมาประธานาธิบดีดูดามักมีความเห็นขัดแย้งกับทัสก์ ผู้นำรัฐบาลโปแลนด์บ่อยครั้ง
    โปแลนด์กลับลำ ประกาศจะไม่จับกุมเนทันยาฮู หากเขาเดินทางมาเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลโปแลนด์นำโดยนายกรัฐมนตรี โดนัลด์ ทัสก์ (Donald Tusk) ประกาศจะทำตามหมายจับจาก ICC หากเนทันยาฮูเดินทางมาโปแลนด์ แต่ประธานาธิบดีอันเดรจ ดูดา (Andrzej Duda) ของโปแลนด์ พยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอให้โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีรับประกันความปลอดภัยของเนทันยาฮู "ทุกคนจากอิสราเอล เจ้าหน้าที่ทุกคนจากประเทศนั้น ควรสามารถมีส่วนร่วมในงานพิเศษนี้ได้ เนื่องจากเหตุการณ์งานครบรอบดังกล่าว ถือเป็นสถานการณ์ที่พิเศษและมีความหมายอย่างยิ่ง" ประธานาธิบดีดูดา กล่าว ล่าสุดวันนี้ นายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทัสก์ ตกลงทำตามคำขอจากประธานาธิบดี โดยยืนยันว่าโปแลนด์จะไม่ปฏิบัติตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อจับกุมเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล หากเขาเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายเอาชวิตซ์ในช่วงปลายเดือนนี้ ทัสก์กล่าวในรัฐสภาว่ารัฐบาล "รัฐบาลทำงานมาหลายวัน เพื่อตัดสินใจว่าจะรับประกันความปลอดภัยให้กับแขกทุกคนที่สนใจเข้าร่วมพิธีรำลึก 80 ปีค่ายเอาชวิตซ์" ที่ผ่านมาประธานาธิบดีดูดามักมีความเห็นขัดแย้งกับทัสก์ ผู้นำรัฐบาลโปแลนด์บ่อยครั้ง
    Like
    Haha
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 406 มุมมอง 1 รีวิว
  • เริ่มนับหนึ่ง!
    "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ"
    ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก

    หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ
    "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ"
    (but it is unlikely to become a U.S. state)
    เริ่มนับหนึ่ง! "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ" ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ" (but it is unlikely to become a U.S. state)
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 586 มุมมอง 0 รีวิว
  • นอกจากไฟป่าที่ Palisades ในลอสแอนเจลิสจะลุกลามเผาบ้านเรือนประชาชนแล้ว ยังลุกลามกลายเป็นเรื่องการเมืองอีกด้วย!

    "โดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องให้แกวิน นิวซัม(Gavin Newsom) ผู้ว่าการแคลิฟอร์เนียจากพรรคเดโมแครต ลาออกจากตำแหน่ง" เนื่องจากไม่สามารถปกป้องเมืองจากเหตุไฟป่าไว้ได้ และยังสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกมากมาย

    ในขณะเดียวกัน มีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับตัวของผู้ว่าการแคลิฟอร์เนีย "นิวซัม" ถึงการเขาประกาศอย่างภาคภูมิใจในการรื้อถอนเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ การรื้อถอนเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 4 แห่งบนแม่น้ำคลาแมธ ซึ่งกำลังจะเสร็จสิ้นในปี 2567 กำลังถูกตำหนิว่าเป็นสาเหตุของการขาดแคลนน้ำที่ใช้ดับไฟป่าในลอสแองเจลิส

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ได้โพสต์ข้อความตำหนิรื่องการบริหารจัดการน้ำของผู้ว่าการฯ ที่ทำให้ขาดแคลนน้ำที่จำเป็นในการดับไฟป่าที่กำลังทำลายล้างในแอลเออยู่ขณะนี้

    แกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวตอบโต้ทรัมป์ทันทีว่า กำลังนำเอาชีวิตประชาชนมาเป็นเรื่องการเมือง

    ในปี 2014 ประชาชนชาวแคลิฟอร์เนียลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเพื่อต้องการให้สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและอ่างเก็บน้ำ แต่จนถึงปัจจุบัน โครงการนี้ยังไม่เกิดขึ้น
    นอกจากไฟป่าที่ Palisades ในลอสแอนเจลิสจะลุกลามเผาบ้านเรือนประชาชนแล้ว ยังลุกลามกลายเป็นเรื่องการเมืองอีกด้วย! "โดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องให้แกวิน นิวซัม(Gavin Newsom) ผู้ว่าการแคลิฟอร์เนียจากพรรคเดโมแครต ลาออกจากตำแหน่ง" เนื่องจากไม่สามารถปกป้องเมืองจากเหตุไฟป่าไว้ได้ และยังสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกมากมาย ในขณะเดียวกัน มีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับตัวของผู้ว่าการแคลิฟอร์เนีย "นิวซัม" ถึงการเขาประกาศอย่างภาคภูมิใจในการรื้อถอนเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ การรื้อถอนเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 4 แห่งบนแม่น้ำคลาแมธ ซึ่งกำลังจะเสร็จสิ้นในปี 2567 กำลังถูกตำหนิว่าเป็นสาเหตุของการขาดแคลนน้ำที่ใช้ดับไฟป่าในลอสแองเจลิส ขณะเดียวกัน ทรัมป์ได้โพสต์ข้อความตำหนิรื่องการบริหารจัดการน้ำของผู้ว่าการฯ ที่ทำให้ขาดแคลนน้ำที่จำเป็นในการดับไฟป่าที่กำลังทำลายล้างในแอลเออยู่ขณะนี้ แกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวตอบโต้ทรัมป์ทันทีว่า กำลังนำเอาชีวิตประชาชนมาเป็นเรื่องการเมือง ในปี 2014 ประชาชนชาวแคลิฟอร์เนียลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเพื่อต้องการให้สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและอ่างเก็บน้ำ แต่จนถึงปัจจุบัน โครงการนี้ยังไม่เกิดขึ้น
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 0 รีวิว
  • โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก
    .
    "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง
    .
    ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ
    .
    โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ"
    .
    เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก"
    .
    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล"
    .
    นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น
    .
    "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส
    .
    "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว
    .
    ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355
    ..............
    Sondhi X
    โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก . "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง . ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ . โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ" . เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก" . นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล" . นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น . "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส . "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว . ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1038 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts