• ทำไมเมียนมายื้อปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย? : คนเคาะข่าว 06-01-68
    : ทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์
    ทำไมเมียนมายื้อปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย? : คนเคาะข่าว 06-01-68 : ทูตสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 488 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • “บขส.” เผยปชช.แห่เดินทางปีใหม่ 2568 ศุกร์ ธ.ค. นิวไฮ 1.6 แสนคน สูงกว่าคาดการณ์ไว้ 4 หมื่นคน คาดวันนี้ ยังเดินทางต่อเนื่องแตะ 1.1 แสนคน ด้าน “สุรพงษ์” กำชับ รถโดยสารเข้ารับตรงเวลา - ห้ามขายตั๋วแพง – ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร

    นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. เพื่อตรวจการบริหารการจัดรถโดยสารและพนักงาน อำนวยความสะดวกประชาชน ในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างต่อเนื่อง เป็นวันที่ 3 หลังจากได้ลงพื้นที่แล้วเมื่อวันที่ 25 - 26 ธันวาคม 2567 โดยกำชับ บขส. จัดรถโดยสารรองรับการเดินทางให้เพียงพอ นำรถเข้ารับผู้โดยสารที่ชานชาลาขาออกให้ตรงเวลา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ป้องกันการรอคอยรถนาน ดูแลราคาค่าโดยสาร ไม่ขายตั๋วโดยสารเกินราคาที่กำหนด ไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร ในช่วงเทศกาล เพราะผู้โดยสารไว้วางใจเลือกใช้บริการ ดังนั้นควรจะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และเป็นธรรม

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9670000124682

    #MGROnline #สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ #หมอชิต2
    “บขส.” เผยปชช.แห่เดินทางปีใหม่ 2568 ศุกร์ ธ.ค. นิวไฮ 1.6 แสนคน สูงกว่าคาดการณ์ไว้ 4 หมื่นคน คาดวันนี้ ยังเดินทางต่อเนื่องแตะ 1.1 แสนคน ด้าน “สุรพงษ์” กำชับ รถโดยสารเข้ารับตรงเวลา - ห้ามขายตั๋วแพง – ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร • นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 23.00 น. เพื่อตรวจการบริหารการจัดรถโดยสารและพนักงาน อำนวยความสะดวกประชาชน ในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ อย่างต่อเนื่อง เป็นวันที่ 3 หลังจากได้ลงพื้นที่แล้วเมื่อวันที่ 25 - 26 ธันวาคม 2567 โดยกำชับ บขส. จัดรถโดยสารรองรับการเดินทางให้เพียงพอ นำรถเข้ารับผู้โดยสารที่ชานชาลาขาออกให้ตรงเวลา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ป้องกันการรอคอยรถนาน ดูแลราคาค่าโดยสาร ไม่ขายตั๋วโดยสารเกินราคาที่กำหนด ไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้โดยสาร ในช่วงเทศกาล เพราะผู้โดยสารไว้วางใจเลือกใช้บริการ ดังนั้นควรจะได้รับบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และเป็นธรรม • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9670000124682 • #MGROnline #สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ #หมอชิต2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 173 มุมมอง 0 รีวิว
  • คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป

    การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน

    นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน

    ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline

    โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี

    อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    Like
    Love
    Angry
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 919 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'เจ๊ไฝ‘ มิชลิน 1 ดาว เขย่า 'ซอฟต์พาวเวอร์' ถึงเวลารัฐบาลต้องตาสว่าง
    .
    แม้'ภิญญา จุนสุตะ' หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'เจ๊ไฝ' จะยืนยันว่ายังไม่คิดรีไทร์จากวงการอาหารในปี 2568 ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ แต่ในถ้อยคำหนึ่งของการสัมภาษณ์จากเจ๊ไฝนั้นก็ยอมรับส่วนหนึ่งว่ามีความคิดที่ว่านั้นเช่นกัน
    .
    "เรื่องราวเกิดจากไปช่วยยูเอ็นหาเงินช่วยผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นงานใหญ่และมีทูตมาเยอะ โดยสิ่งแรกที่เขามาถามว่าอายุ 80 ปี แล้วยังไม่เลิกอีกเหรอ ก็ตอบไปแค่ว่า มันก็มีโครงการอยู่ในใจ มันก็เลยกลายเป็นเรื่องบานปลาย ที่บอกว่าจะเลิกนี่เลิกไม่ได้หรอก ยังมีงานที่ต่างประเทศรออยู่อีกเยอะ อย่างที่ฝรั่งเศสก็ยังต้องไป แล้วจะเลิกได้ยังไง มันยังติดพันกันอยู่" คำยืนยันจากเจ๊ไฝ
    .
    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเจ๊ไฝจะยืนหน้าเตาทำอาหารต่อไป หรือหันหลังบอกลาวงการ ต้องยอมรับว่ามีผลต่อแวดวงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยพอสมควร ถึงขนาดที่แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพลังซอฟต์พาวเวอร์ที่แฝงอยู่ในตัวของเจ๊ไฝนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
    .
    กรณีของเจ๊ไฝนั้นถึงตอนนี้จะยังไม่รีไทร์ แต่ด้วยวัยเลยหลัก 80 ปีเข้าไปแล้ว หากจะประกาศวางมือก็คงไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด และอาจดูเป็นเรื่องตลกกับคำถามที่ว่ารัฐบาลมีแผนรองรับในอนาคตอย่างไรหากเจ๊ไฝเจ้าของรางวัลมิชลิน 1 ดาว 7 ปีติดต่อกันประกาศวางมือในอนาคต
    .
    ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ๊ไฝเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่เป็นแรงดึงดูดระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยที่ทำให้นักท่องเที่ยวและคนดังระดับโลกเดินทางมายังประเทศไทย ความนิยมในร้านเจ๊ไฝนั้นทำให้วงการอุตสาหกรรมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยได้รับอานิสงส์ไปด้วย แต่ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการร้านอาหารสูงขึ้น ส่งผลให้ร้านอาหารไทยหลายร้านที่ไม่ได้ยืนอยู่จุดเดียวกับเจ๊ไฝล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
    .
    โดยนอกเหนือไปจากต้นทุนการผลิตอาหารที่สูงขึ้นแล้ว พบว่าอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ คือ ทายาทที่จะมาสืบทอดกิจการต่อจากบรรพบุรุษ ซึ่งกรณีเจ๊ไฝก็เช่นเดียวกันที่ธุรกิจไม่ได้ส่งต่อไปยังทายาท ร้านอาหารชื่อดังระดับตำนานหลายร้านกำลังเผชิญกับปัญหานี้ หากคนรุ่นปัจจุบันที่ทำอยู่ไม่สามารถแบกภาระทั้งด้านต้นทุนและสังขารต่อไป ตำนานก็คงต้องปิดตัวลงเช่นกัน
    .
    'ร้านอาหาร' เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวแล้ว จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่สำหรับบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเสพงานศิลป์และเรื่องราวเบื้องหลังของจานอาหารเหล่านั้นด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องนามธรรมที่สร้างสามารถมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เหมือนกับที่ทุกวันนี้ได้เห็นนักท่องเที่ยวต่างศาสนาต่อแถวเข้าชมพุทธสถานหลายแห่งในประเทศไทยปีละหลายล้านคน ตรงนี้เองที่เรียกว่าซอฟต์พาวเวอร์ อันเป็นแรงดึงดูดให้หลายคนอยากเข้ามาประเทศไทย
    .
    อย่างที่ทราบกันดีว่าธุรกิจร้านอาหาร ถือเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่การรักษาธุรกิจให้ตลอดรอดฝั่งนั้นทำได้ยาก หลายกิจการที่ยืนหยัดอยู่บนเส้นทางนี้ได้ก็เลือดตาแทบกระเด็น ขณะที่ ภาครัฐเองก็ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนในจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจนี้ลดลง
    .
    หรือสติปัญญาของรัฐบาลต่อนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ จะมีแค่เพียงการตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดล่าสุด คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งมารับตำแหน่งเดิมที่นางสาวแพทองธารเคยทำงานในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน เท่านั้น
    ..............
    Sondhi X
    'เจ๊ไฝ‘ มิชลิน 1 ดาว เขย่า 'ซอฟต์พาวเวอร์' ถึงเวลารัฐบาลต้องตาสว่าง . แม้'ภิญญา จุนสุตะ' หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'เจ๊ไฝ' จะยืนยันว่ายังไม่คิดรีไทร์จากวงการอาหารในปี 2568 ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ แต่ในถ้อยคำหนึ่งของการสัมภาษณ์จากเจ๊ไฝนั้นก็ยอมรับส่วนหนึ่งว่ามีความคิดที่ว่านั้นเช่นกัน . "เรื่องราวเกิดจากไปช่วยยูเอ็นหาเงินช่วยผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นงานใหญ่และมีทูตมาเยอะ โดยสิ่งแรกที่เขามาถามว่าอายุ 80 ปี แล้วยังไม่เลิกอีกเหรอ ก็ตอบไปแค่ว่า มันก็มีโครงการอยู่ในใจ มันก็เลยกลายเป็นเรื่องบานปลาย ที่บอกว่าจะเลิกนี่เลิกไม่ได้หรอก ยังมีงานที่ต่างประเทศรออยู่อีกเยอะ อย่างที่ฝรั่งเศสก็ยังต้องไป แล้วจะเลิกได้ยังไง มันยังติดพันกันอยู่" คำยืนยันจากเจ๊ไฝ . อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเจ๊ไฝจะยืนหน้าเตาทำอาหารต่อไป หรือหันหลังบอกลาวงการ ต้องยอมรับว่ามีผลต่อแวดวงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยพอสมควร ถึงขนาดที่แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพลังซอฟต์พาวเวอร์ที่แฝงอยู่ในตัวของเจ๊ไฝนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน . กรณีของเจ๊ไฝนั้นถึงตอนนี้จะยังไม่รีไทร์ แต่ด้วยวัยเลยหลัก 80 ปีเข้าไปแล้ว หากจะประกาศวางมือก็คงไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด และอาจดูเป็นเรื่องตลกกับคำถามที่ว่ารัฐบาลมีแผนรองรับในอนาคตอย่างไรหากเจ๊ไฝเจ้าของรางวัลมิชลิน 1 ดาว 7 ปีติดต่อกันประกาศวางมือในอนาคต . ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ๊ไฝเป็นหนึ่งในร้านอาหารที่เป็นแรงดึงดูดระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยที่ทำให้นักท่องเที่ยวและคนดังระดับโลกเดินทางมายังประเทศไทย ความนิยมในร้านเจ๊ไฝนั้นทำให้วงการอุตสาหกรรมผู้ประกอบการร้านอาหารไทยได้รับอานิสงส์ไปด้วย แต่ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการร้านอาหารสูงขึ้น ส่งผลให้ร้านอาหารไทยหลายร้านที่ไม่ได้ยืนอยู่จุดเดียวกับเจ๊ไฝล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก . โดยนอกเหนือไปจากต้นทุนการผลิตอาหารที่สูงขึ้นแล้ว พบว่าอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ คือ ทายาทที่จะมาสืบทอดกิจการต่อจากบรรพบุรุษ ซึ่งกรณีเจ๊ไฝก็เช่นเดียวกันที่ธุรกิจไม่ได้ส่งต่อไปยังทายาท ร้านอาหารชื่อดังระดับตำนานหลายร้านกำลังเผชิญกับปัญหานี้ หากคนรุ่นปัจจุบันที่ทำอยู่ไม่สามารถแบกภาระทั้งด้านต้นทุนและสังขารต่อไป ตำนานก็คงต้องปิดตัวลงเช่นกัน . 'ร้านอาหาร' เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวแล้ว จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่สำหรับบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเสพงานศิลป์และเรื่องราวเบื้องหลังของจานอาหารเหล่านั้นด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องนามธรรมที่สร้างสามารถมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เหมือนกับที่ทุกวันนี้ได้เห็นนักท่องเที่ยวต่างศาสนาต่อแถวเข้าชมพุทธสถานหลายแห่งในประเทศไทยปีละหลายล้านคน ตรงนี้เองที่เรียกว่าซอฟต์พาวเวอร์ อันเป็นแรงดึงดูดให้หลายคนอยากเข้ามาประเทศไทย . อย่างที่ทราบกันดีว่าธุรกิจร้านอาหาร ถือเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่การรักษาธุรกิจให้ตลอดรอดฝั่งนั้นทำได้ยาก หลายกิจการที่ยืนหยัดอยู่บนเส้นทางนี้ได้ก็เลือดตาแทบกระเด็น ขณะที่ ภาครัฐเองก็ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนในจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจนี้ลดลง . หรือสติปัญญาของรัฐบาลต่อนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ จะมีแค่เพียงการตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดล่าสุด คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งมารับตำแหน่งเดิมที่นางสาวแพทองธารเคยทำงานในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน เท่านั้น .............. Sondhi X
    Like
    Yay
    11
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1287 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล้อมคอกเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ “สุรพงษ์” สั่งเรียกรถใช้ก๊าซ CNG กว่า 1.3 หมื่นคันทั่วประเทศ ตรวจสภาพใหม่ให้เสร็จใน 2 เดือน เผยอายุคัสซีใช้งานไม่เกิน 50 ปี พิรุธรถจดทะเบียน ปี 2513 นำไปเปลี่ยนจำนวนที่นั่ง ตัวถังใหม่ พบมีประวัติขอติดตั้ง 6 ถัง แต่ระบบบันทึกเพียง 3 ถัง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000093160

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ล้อมคอกเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ “สุรพงษ์” สั่งเรียกรถใช้ก๊าซ CNG กว่า 1.3 หมื่นคันทั่วประเทศ ตรวจสภาพใหม่ให้เสร็จใน 2 เดือน เผยอายุคัสซีใช้งานไม่เกิน 50 ปี พิรุธรถจดทะเบียน ปี 2513 นำไปเปลี่ยนจำนวนที่นั่ง ตัวถังใหม่ พบมีประวัติขอติดตั้ง 6 ถัง แต่ระบบบันทึกเพียง 3 ถัง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000093160 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Angry
    Sad
    15
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 3096 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปล่อยให้วิ่งได้ยังไง หรือผลประโยชน์จากส่วยธุรกิจเดิมรถมันบดบังความเป็นมนุษย์ รมช.คมนาคม สุรพงษ์ ผู้ดูแลกรมขนส่งฯ ต้องรับผิดชอบ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ปล่อยให้วิ่งได้ยังไง หรือผลประโยชน์จากส่วยธุรกิจเดิมรถมันบดบังความเป็นมนุษย์ รมช.คมนาคม สุรพงษ์ ผู้ดูแลกรมขนส่งฯ ต้องรับผิดชอบ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Angry
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 769 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี

    ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว

    ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่

    อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน

    ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่ อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 635 มุมมอง 0 รีวิว
  • Newsstory : เปิดสัมพันธ์ลึก คีรี-สุรพงษ์ รมช.คมนาคม ความเน่าเฟะของการเมืองไทย
    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่
    #สนธิลิ้มทองกุล #ความสัมพันธ์ #คีรี #สุรพงษ์
    Newsstory : เปิดสัมพันธ์ลึก คีรี-สุรพงษ์ รมช.คมนาคม ความเน่าเฟะของการเมืองไทย #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิลิ้มทองกุล #ความสัมพันธ์ #คีรี #สุรพงษ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 996 มุมมอง 45 0 รีวิว