• ๑๔ กันยายน วันบุรฉัตร

    "... มีพระนิสัยยิ่งด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตมั่นในพระกมลสันดาน ทรงวิจารณญาณประจักษ์แจ้งในชั้นเชิงคมนาคม เศรษฐกิจ พาณิชโยบาย..."

    พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

    วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พระบิดาแห่งกิจการรถไฟยุคใหม่ ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๗๑

    “....ข้าพเจ้ายังจำติดตาว่า เวลาเขาเอาเปลหามสำหรับคนป่วยมารับเสด็จพ่อที่แท่นพระบรรทม เสด็จพ่อไม่ได้รับสั่งอะไร นอกจากทอดพระเนตรไปรอบๆห้องเหมือนหนึ่งจะสั่งลาบ้านที่พำนักเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อทอดพระเนตรอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งลงพ้นบันไดไปขึ้นรถพยาบาล มีแม่เล็กกับข้าพเจ้านั่งไปด้วยกับประนอม ทุมมานนท์ อีกคนหนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในรถจากบ้านไปโรงพยาบาล เสด็จพ่อเพ้อไปตลอดทาง แต่จับถ้อยคำไม่ได้ว่ารับสั่งอย่างใด ถึงเพียงนั้นเราก็ยังไม่สงสัยว่าประชวรมาก โดยเข้าใจว่าเป็นพิษไข้ เมื่อไปถึงโรงพยาบาล นายแพทย์ก็จัดการนำเสด็จพ่อไปไว้ในห้องพิเศษ

    ข้าพเจ้าเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ เสด็จพ่อเพ้ออีกครั้ง รับสั่งว่าเห็นวอและขบวนแห่อย่างหรูหรามารับบนเพดานห้อง ระหว่างที่รับสั่งพระเนตรก็จ้องเป๋งบนเพดานนั้น พวกเรายืนอย่างตกตะลึงเพราะไม่แน่ใจว่าทอดพระเนตรเห็นอะไร สักครู่หมอมาบอกว่าให้พวกเรากลับบ้านได้ พรุ่งนี้จึงให้มารับใหม่ เราจึงเชื่อหมอและกลับบ้านกัน

    พอถึงบ้านยังไม่ทันจะได้ถอดเครื่องแต่งกาย ก็มีคนโทรศัพท์มาจากโรงพยาบาลว่าให้รีบกลับไปอีกครั้งหนึ่งโดยด่วน เราจึงรีบเรียกคนรถสั่งให้เขากลับไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่.... เมื่อเราไปพบแพทย์ เขาบอกว่าเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์เสียแล้ว...."

    พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร ทรงบันทึก เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙
    วันที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์

    จากหนังสือ “บุรฉัตรรำลึก”
    การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์
    ๑๔ กันยายน วันบุรฉัตร "... มีพระนิสัยยิ่งด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตมั่นในพระกมลสันดาน ทรงวิจารณญาณประจักษ์แจ้งในชั้นเชิงคมนาคม เศรษฐกิจ พาณิชโยบาย..." พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พระบิดาแห่งกิจการรถไฟยุคใหม่ ทรงดำรงตำแหน่ง ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๗๑ “....ข้าพเจ้ายังจำติดตาว่า เวลาเขาเอาเปลหามสำหรับคนป่วยมารับเสด็จพ่อที่แท่นพระบรรทม เสด็จพ่อไม่ได้รับสั่งอะไร นอกจากทอดพระเนตรไปรอบๆห้องเหมือนหนึ่งจะสั่งลาบ้านที่พำนักเป็นครั้งสุดท้าย เสด็จพ่อทอดพระเนตรอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งลงพ้นบันไดไปขึ้นรถพยาบาล มีแม่เล็กกับข้าพเจ้านั่งไปด้วยกับประนอม ทุมมานนท์ อีกคนหนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในรถจากบ้านไปโรงพยาบาล เสด็จพ่อเพ้อไปตลอดทาง แต่จับถ้อยคำไม่ได้ว่ารับสั่งอย่างใด ถึงเพียงนั้นเราก็ยังไม่สงสัยว่าประชวรมาก โดยเข้าใจว่าเป็นพิษไข้ เมื่อไปถึงโรงพยาบาล นายแพทย์ก็จัดการนำเสด็จพ่อไปไว้ในห้องพิเศษ ข้าพเจ้าเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ เสด็จพ่อเพ้ออีกครั้ง รับสั่งว่าเห็นวอและขบวนแห่อย่างหรูหรามารับบนเพดานห้อง ระหว่างที่รับสั่งพระเนตรก็จ้องเป๋งบนเพดานนั้น พวกเรายืนอย่างตกตะลึงเพราะไม่แน่ใจว่าทอดพระเนตรเห็นอะไร สักครู่หมอมาบอกว่าให้พวกเรากลับบ้านได้ พรุ่งนี้จึงให้มารับใหม่ เราจึงเชื่อหมอและกลับบ้านกัน พอถึงบ้านยังไม่ทันจะได้ถอดเครื่องแต่งกาย ก็มีคนโทรศัพท์มาจากโรงพยาบาลว่าให้รีบกลับไปอีกครั้งหนึ่งโดยด่วน เราจึงรีบเรียกคนรถสั่งให้เขากลับไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ แต่.... เมื่อเราไปพบแพทย์ เขาบอกว่าเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์เสียแล้ว...." พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร ทรงบันทึก เหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๙ วันที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สิ้นพระชนม์ จากหนังสือ “บุรฉัตรรำลึก” การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
    Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge
    .............................................
    หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
    ๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง
    ๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง
    ๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา
    ๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป
    ๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
    ๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป
    ................................................
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง
    .................................................
    รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด
    .................................................
    กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ
    ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
    สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge ............................................. หนึ่งในงานสำคัญที่ "กองแบบแผน" กรมรถไฟหลวง มีส่วนออกแบบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ทรงมีรับสั่งให้ "กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง" เป็นผู้ออกแบบโครงการแสดงทางขึ้น ๒ ข้างและตัวสะพานที่จะสร้าง พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเรียกประมูลราคาจากบริษัทต่างประเทศ และทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาแบบและราคาที่บริษัทต่างๆยื่นประมูลที่กรุงลอนดอนคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๑. นายเอช. กิตตินส์ (H. Gitting) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นที่ปรึกษาของกรมรถไฟหลวง ๒. นายยี, คาโนวา (G. Canova) ข้าราชการบำนาญ เคยเป็นหัวหน้ากองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ๓. นายซี.พี. แซนด์เบอร์ก (C.P. Sandberg) นายช่างชาวอังกฤษ มีหน้าที่ตรวจสิ่งของต่าง ๆ ที่กรมรถไฟหลวงสั่งจากยุโรปและอเมริกา ๔ พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) ผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้นกำลังดูงานอยู่ในยุโรป ๕. นายยี.ซี. สมัยท์ (G.C. Smythe) นายช่างอำนวยการ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ขณะนั้นลาไปพักอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ๖.อำมาตย์ตรี เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายช่างภาค กรมรถไฟหลวง ซึ่งกำลังศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในยุโรป ................................................ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงส่งโทรเลขรายการประมูลจากกรุงลอนดอน มากราบบังคมทูลในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ทรงส่งโทรเลขอีกฉบับหนึ่ง กราบบังคมทูลถวายความเห็นของคณะกรรมการประมูลราคาว่า บริษัทที่ดีที่สุดมี ๒ บริษัท คือ บริษัทดอร์แมน ลอง แห่งประเทศอังกฤษ และ บริษัทซาวิกลิอาโน แห่งประเทศอิตาลี บริษัทอังกฤษรับว่าจะสร้างสะพานเสร็จภายในเวลา ๒๗ เดือน บริษัทอิตาลีรับว่าจะสร้างเสร็จภายในเวลา ๓๐ เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำคำกราบบังคมทูลนี้เข้าปรึกษาในที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภา วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนครสวรรค์วรพินิต กราบบังคมทูลถวายความเห็นว่า การเลือกจ้างบริษัทใดควรเลือกเอาบริษัทที่มีหลักฐานมั่นคงและราคาถูก มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุให้บริษัทอื่นเกิดขัดข้องใจได้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ควรทำสัญญาจ้างบริษัทดอร์แมน ลอง โปรดเกล้าฯ ให้โทรเลขตอบไปยังกรุงลอนดอน ว่าตกลงทำสัญญากับบริษัทดอร์แมน ลอง ................................................. รัฐบาลได้มอบสถานที่การก่อสร้างให้แก่บริษัทดอร์แมน ลอง ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ บริษัทเริ่มลงมือทำงานที่ตอม่อฝั่งพระนคร วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (MINISTRY OF COMMERCE & COMMUNICATIONS) ผู้ทรงเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างทั้งหมด ................................................. กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง(ต่อมาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย)ได้ดำเนินงานมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงถูกยุบ ที่มาของภาพ Public Relations Department / Thailand Illustrated - Thailand Illustrated (April 1954 Issue) retrieved from National Library of Thailand
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • โปสการ์ด เป็นภาพหลังสถานีรถไฟขอนแก่น มีขอนไม้เป็นสัญลักษณ์
    กองบำรุงทางเขตขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศไทย นำมาตั้งไว้เมื่อวันที่
    ๒๖ มีนาคม ๒๕๐๔
    โปสการ์ด เป็นภาพหลังสถานีรถไฟขอนแก่น มีขอนไม้เป็นสัญลักษณ์ กองบำรุงทางเขตขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศไทย นำมาตั้งไว้เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๐๔
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 74 มุมมอง 0 รีวิว
  • การรถไฟฯ พร้อมรองรับผู้โดยสารเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง กำชับเข้มงวดความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน เผยภาพรวมวันที่ 1 ม.ค. ผู้ใช้บริการรถไฟเกือบ 1.1 แสนคน

    นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ช่วงเช้าของวันนี้ (2 มกราคม 2568) ยังคงมีผู้โดยสารทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของขบวนรถทางไกล และขบวนรถชานเมือง ซึ่งการรถไฟฯ ได้เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000000351

    #MGROnline #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    การรถไฟฯ พร้อมรองรับผู้โดยสารเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง กำชับเข้มงวดความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน เผยภาพรวมวันที่ 1 ม.ค. ผู้ใช้บริการรถไฟเกือบ 1.1 แสนคน • นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ช่วงเช้าของวันนี้ (2 มกราคม 2568) ยังคงมีผู้โดยสารทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของขบวนรถทางไกล และขบวนรถชานเมือง ซึ่งการรถไฟฯ ได้เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000000351 • #MGROnline #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 0 รีวิว
  • "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน
    ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน

    การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น

    ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง

    ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย

    ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด

    พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป

    โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุโมงค์ผาเสด็จ เปิดแบบไม่ได้ตั้งใจ

    แม้การเปิดใช้อุโมงค์ผาเสด็จและอุโมงค์หินลับ อ.แก่งคอย และ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จะต้องเลื่อนออกไป จากเดิมเปิดใช้เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2567 ก่อนที่จะยกเลิกเพราะปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย แล้วให้รถไฟทุกขบวนใช้ทางรถไฟเดิมทั้งหมด แต่เมื่อคืนวันที่ 15 ธ.ค. 2567 เวลา 21.25 น. เกิดอุบัติเหตุขบวนรถสินค้าที่ 512 หินลับ-เชียงรากน้อย ตกรางที่สถานีผาเสด็จ กีดขวางการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ปลายทางนครราชสีมา หนองคาย และอุบลราชธานีทั้งหมด เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้อ้อมไปใช้ทางรถไฟชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่-นครราชสีมา ทำให้ขบวนรถถึงปลายทางล่าช้าประมาณ 3 ชั่วโมง

    แต่ปรากฎว่าเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 16 ธ.ค. 2567 การรถไฟฯ ประกาศเปลี่ยนเส้นทางขบวนรถใช้อุโมงค์ผาเสด็จเป็นการชั่วคราว เหตุขบวนรถสินค้าตกรางขวางเส้นทางเดินรถ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ผลก็คือขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้าสายอีสานทุกขบวน ได้มีโอกาสใช้อุโมงค์ผาเสด็จ และอุโมงค์หินลับอย่างไม่ได้ตั้งใจ เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการรถไฟหลายคนระบุว่าไม่เห็นฝุ่น หากเปิดใช้งานเป็นประจำทุกวันฝุ่นก็จะจางลง ดีกว่าปิดอุโมงค์แล้วมีฝุ่นสะสม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งสองอุโมงค์อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบและทดสอบการแก้ปัญหาฝุ่นภายในอุโมงค์

    ก่อนหน้านี้การรถไฟฯ มีแผนจะเปิดใช้ทั้งสองอุโมงค์อีกครั้งในวันที่ 12 ส.ค. 2567 แต่ปรากฎว่ายังคงมีกลิ่นควันที่เกิดจากไอเสียของเครื่องยนต์ ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดใช้อุโมงค์ออกไปเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แม้จะมีแผนเปิดใช้ในวันที่ 3 ธ.ค. 2567 แต่ก็เลื่อนออกไปอีก อย่างไรก็ตาม การเปิดใช้อุโมงค์ผาเสด็จ และอุโมงค์หินลับเป็นการชั่วคราว หากเดินทางด้วยตู้โดยสารพัดลม ชั้น 2 และชั้น 3 แนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยที่กันฝุ่น PM 2.5 และปิดหน้าต่างเมื่อรถขาออกกรุงเทพฯ ผ่านสถานีมาบกะเบา หรือรถขาเข้ากรุงเทพฯ ผ่านสถานีมวกเหล็ก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ

    สำหรับอุโมงค์ผาเสด็จ เป็นอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบากับสถานีหินลับ มีระยะทาง 5.41 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยว กว้าง 7.50 เมตร สูง 7 เมตร ส่วนอุโมงค์หินลับ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีหินลับกับสถานีมวกเหล็ก เป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ ระยะทาง 265 เมตร กว้าง 11 เมตร สูง 7.30 เมตร อยู่ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561 ปัจจุบันโครงการยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากรอการเวนคืนที่ดิน บริเวณทางลงทางรถไฟยกระดับของสถานีมวกเหล็กใหม่

    #Newskit
    อุโมงค์ผาเสด็จ เปิดแบบไม่ได้ตั้งใจ แม้การเปิดใช้อุโมงค์ผาเสด็จและอุโมงค์หินลับ อ.แก่งคอย และ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จะต้องเลื่อนออกไป จากเดิมเปิดใช้เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2567 ก่อนที่จะยกเลิกเพราะปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย แล้วให้รถไฟทุกขบวนใช้ทางรถไฟเดิมทั้งหมด แต่เมื่อคืนวันที่ 15 ธ.ค. 2567 เวลา 21.25 น. เกิดอุบัติเหตุขบวนรถสินค้าที่ 512 หินลับ-เชียงรากน้อย ตกรางที่สถานีผาเสด็จ กีดขวางการเดินรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ปลายทางนครราชสีมา หนองคาย และอุบลราชธานีทั้งหมด เดิมการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้อ้อมไปใช้ทางรถไฟชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่-นครราชสีมา ทำให้ขบวนรถถึงปลายทางล่าช้าประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ปรากฎว่าเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 16 ธ.ค. 2567 การรถไฟฯ ประกาศเปลี่ยนเส้นทางขบวนรถใช้อุโมงค์ผาเสด็จเป็นการชั่วคราว เหตุขบวนรถสินค้าตกรางขวางเส้นทางเดินรถ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ผลก็คือขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้าสายอีสานทุกขบวน ได้มีโอกาสใช้อุโมงค์ผาเสด็จ และอุโมงค์หินลับอย่างไม่ได้ตั้งใจ เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการรถไฟหลายคนระบุว่าไม่เห็นฝุ่น หากเปิดใช้งานเป็นประจำทุกวันฝุ่นก็จะจางลง ดีกว่าปิดอุโมงค์แล้วมีฝุ่นสะสม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทั้งสองอุโมงค์อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบและทดสอบการแก้ปัญหาฝุ่นภายในอุโมงค์ ก่อนหน้านี้การรถไฟฯ มีแผนจะเปิดใช้ทั้งสองอุโมงค์อีกครั้งในวันที่ 12 ส.ค. 2567 แต่ปรากฎว่ายังคงมีกลิ่นควันที่เกิดจากไอเสียของเครื่องยนต์ ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดใช้อุโมงค์ออกไปเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แม้จะมีแผนเปิดใช้ในวันที่ 3 ธ.ค. 2567 แต่ก็เลื่อนออกไปอีก อย่างไรก็ตาม การเปิดใช้อุโมงค์ผาเสด็จ และอุโมงค์หินลับเป็นการชั่วคราว หากเดินทางด้วยตู้โดยสารพัดลม ชั้น 2 และชั้น 3 แนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยที่กันฝุ่น PM 2.5 และปิดหน้าต่างเมื่อรถขาออกกรุงเทพฯ ผ่านสถานีมาบกะเบา หรือรถขาเข้ากรุงเทพฯ ผ่านสถานีมวกเหล็ก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับอุโมงค์ผาเสด็จ เป็นอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบากับสถานีหินลับ มีระยะทาง 5.41 กิโลเมตร ลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ทางเดี่ยว กว้าง 7.50 เมตร สูง 7 เมตร ส่วนอุโมงค์หินลับ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีหินลับกับสถานีมวกเหล็ก เป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ ระยะทาง 265 เมตร กว้าง 11 เมตร สูง 7.30 เมตร อยู่ในโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561 ปัจจุบันโครงการยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากรอการเวนคืนที่ดิน บริเวณทางลงทางรถไฟยกระดับของสถานีมวกเหล็กใหม่ #Newskit
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 518 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘บ้านเพื่อคนไทย’บนที่ดินรถไฟ อสังหาฯจากพ่อสู่ลูก

    1 ใน 5 นโยบายที่รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ประกาศว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 คือ โครงการบ้านเพื่อคนไทย (Public Housing) คอนโดมิเนียมและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ ใกล้รถไฟฟ้า ให้สิทธิคนไทยที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อน ผ่อนเริ่มต้นที่ 4,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 30 ปี มีห้องน้ำ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย ถ้าจ่ายครบยอดได้สิทธิ์ถือครอง 99 ปี

    นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันการซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาทไม่มีแล้ว อยากให้นักศึกษาจบใหม่ (First Jobber) มีบ้านเป็นของตนเอง โดยจะใช้พื้นที่ของรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใกล้ตัวเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ปีหน้าจะมีห้องตัวอย่างให้ดู มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ทำงานร่วมกัน

    ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า จะใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการก่อสร้าง โดยจะเปิดตัวบ้านตัวอย่างในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน เริ่มต้น 4 แห่ง ได้แก่ ย่านบางนา ธนบุรี เชียงราก และ จ.เชียงใหม่ ประมาณ 1,000 ยูนิต แต่หากจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นอาศัยต่อ ผู้จับจองต้องอาศัยแล้วอย่างน้อย 5 ปี

    ปัจจุบันการรถไฟฯ มีที่ดินเชิงพาณิชย์ (Non Core) ทั้งหมด 38,469 ไร่ ทำสัญญาแล้ว 12,233 สัญญา

    อย่างไรก็ตาม บ้านเพื่อคนไทย แตกต่างจากโครงการบ้านเอื้ออาทร สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา เมื่อปี 2547 ซึ่งรับผิดชอบโดยการเคหะแห่งชาติ เพราะเป็นการจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแถว และบ้านแฝดสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่อนชำระกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยมีเป้าหมายสร้างบ้านทั่วประเทศ 1 ล้านหลัง

    แม้ระยะแรกมีผู้สนใจจองบ้านล้นหลามต้องจับสลาก แต่ต่อมาขายไม่ออก หลายทำเลไกลปืนเที่ยง การคมนาคมลำบาก ต้องใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ส่วนตัว บางโครงการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้างไปดื้อๆ เช่น บ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างกว่า 10 ปี ไม่นับรวมเปิดช่องให้ทุจริต หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา เมืองสุข รมว.พัฒนาสังคมฯ ถูกศาลสั่งจำคุก 99 ปี

    ถึงกระนั้น ลักษณะบ้านเพื่อคนไทยเป็นการเช่าระยะยาว สูงสุด 99 ปี บนที่ดินของรัฐซึ้งซื้อขายไม่ได้ ไม่มีโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทร ที่หากผ่อนกับ ธอส. มาแล้ว 5 ปี สามารถทำเรื่องโอนให้เป็นของผู้ซื้อได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ คุณภาพชีวิตที่ต้องวัดดวงในระยะยาว เหมือนกับโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ประสบปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ

    #Newskit
    ‘บ้านเพื่อคนไทย’บนที่ดินรถไฟ อสังหาฯจากพ่อสู่ลูก 1 ใน 5 นโยบายที่รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ประกาศว่าจะเกิดขึ้นในปี 2568 คือ โครงการบ้านเพื่อคนไทย (Public Housing) คอนโดมิเนียมและเฟอร์นิเจอร์พร้อมเข้าอยู่ ใกล้รถไฟฟ้า ให้สิทธิคนไทยที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อน ผ่อนเริ่มต้นที่ 4,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลา 30 ปี มีห้องน้ำ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย ถ้าจ่ายครบยอดได้สิทธิ์ถือครอง 99 ปี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันการซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาทไม่มีแล้ว อยากให้นักศึกษาจบใหม่ (First Jobber) มีบ้านเป็นของตนเอง โดยจะใช้พื้นที่ของรัฐบาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใกล้ตัวเมือง ใกล้รถไฟฟ้า ปีหน้าจะมีห้องตัวอย่างให้ดู มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม ทำงานร่วมกัน ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า จะใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการก่อสร้าง โดยจะเปิดตัวบ้านตัวอย่างในวันที่ 20 ม.ค. 2568 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน เริ่มต้น 4 แห่ง ได้แก่ ย่านบางนา ธนบุรี เชียงราก และ จ.เชียงใหม่ ประมาณ 1,000 ยูนิต แต่หากจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นอาศัยต่อ ผู้จับจองต้องอาศัยแล้วอย่างน้อย 5 ปี ปัจจุบันการรถไฟฯ มีที่ดินเชิงพาณิชย์ (Non Core) ทั้งหมด 38,469 ไร่ ทำสัญญาแล้ว 12,233 สัญญา อย่างไรก็ตาม บ้านเพื่อคนไทย แตกต่างจากโครงการบ้านเอื้ออาทร สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา เมื่อปี 2547 ซึ่งรับผิดชอบโดยการเคหะแห่งชาติ เพราะเป็นการจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแถว และบ้านแฝดสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่อนชำระกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยมีเป้าหมายสร้างบ้านทั่วประเทศ 1 ล้านหลัง แม้ระยะแรกมีผู้สนใจจองบ้านล้นหลามต้องจับสลาก แต่ต่อมาขายไม่ออก หลายทำเลไกลปืนเที่ยง การคมนาคมลำบาก ต้องใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ส่วนตัว บางโครงการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้างไปดื้อๆ เช่น บ้านเอื้ออาทรสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ถูกปล่อยทิ้งร้างกว่า 10 ปี ไม่นับรวมเปิดช่องให้ทุจริต หนึ่งในนั้นคือนายวัฒนา เมืองสุข รมว.พัฒนาสังคมฯ ถูกศาลสั่งจำคุก 99 ปี ถึงกระนั้น ลักษณะบ้านเพื่อคนไทยเป็นการเช่าระยะยาว สูงสุด 99 ปี บนที่ดินของรัฐซึ้งซื้อขายไม่ได้ ไม่มีโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด เมื่อเทียบกับบ้านเอื้ออาทร ที่หากผ่อนกับ ธอส. มาแล้ว 5 ปี สามารถทำเรื่องโอนให้เป็นของผู้ซื้อได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ คุณภาพชีวิตที่ต้องวัดดวงในระยะยาว เหมือนกับโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ประสบปัญหาที่จอดรถไม่เพียงพอ #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 602 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทวงคืนเขากระโดง หยุดขี้ข้านักการเมือง
    .
    เรื่องนี้ผมมีหลักฐานชัดเจน เรียกว่าเถียงไม่ออก บอกไม่ถูก ได้แต่ถอนหายใจแล้วนึกว่าประเทศไทยเราก้าวมาถึงขั้นนักการเมืองปฏิเสธคำพิพากษาศาลฎีกาได้อย่างไร เพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มนักการเมืองเอง
    .
    เรื่องนี้เป็นปัญหาคาราคาซังมาตั้ง 54 ปีที่แล้ว (2513) จนกระทั่งมีการนำคดีสู่ศาลยุติธรรมและต่อสู้ถึงศาลชั้นอุทธรณ์ และฎีกา พร้อมกับมีคำพิพากษาเป็นที่สุดถึง 3 ฉบับ
    .
    ท่านผู้ชมครับ ผมยุติเรื่องนี้ด้วยข้อมูลหลักฐานการยอมรับของนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ และขอเช่า ขออาศัยอยู่ เปิดเผยออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรก
    .
    สรุป คุณอนุทินครับ คุณเนวินครับ คุณศักดิ์สยามครับ อธิบดีกรมที่ดินครับ หลักฐานทั้งหมดนี้ได้ทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าที่ดินเขากระโดงเป็นสมบัติของชาติ ของการรถไฟประเทศไทย ไม่ใช่ของตระกูลชิดชอบ หรือของเอกชนหน้าไหนทั้งสิ้น
    .
    ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ท่านเลิกตะแบงเสียทีได้ไหม ผมนี่อับอายขายหน้าเพื่อนฝูงพี่น้องคุณ หรือตระกูลคุณ หรือชาวบ้านที่เขารู้ความจริง ว่าคุณเป็นถึงอธิบดีกรมที่ดิน คุณทำไมตะแบง จะยกสมบัติ หรือจะป้องกันสมบัตินี้ไม่ให้ตกเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังให้คงอยู่ในมือของเอกชนต่อไป ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ทุเรศสิ้นดี
    .
    เพราะฉะนั้นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ย่อมต้องทำหน้าที่ในการรักษาสมบัติดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและประชาชน กรณีที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเช่นนี้ ถ้าผู้มีอำนาจยังตะแบง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมืองมันต้องลุกเป็นไฟแน่นอน
    .
    ด้วยเหตุนี้ ทางออกที่ดีที่สุดเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ด้วยการเอาที่เขากระโดงคืนมาให้การรถไฟฯ สามารถทำได้ง่ายและถูกต้อง ชอบธรรมทางกฎหมาย และเหมาะสมด้วย คือกรมที่ดินต้องเอาที่ดินกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ก่อน ตามมาตรา 61 วรรคแปด ของกฎหมายที่ดิน
    .
    ผมขอเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า กรมที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอธิบดีกรมที่ดิน นายพรพจน์ เพ็ญพาส ต้องเลิกทำแบบกลับหัวกลับหาง หยุดการเล่นเล่ห์กล สร้างปัญหาให้ประเทศชาติเสียหาย กลับมายึดหลักการที่ถูกต้อง ถึงคุณจะเกษียณไปแล้ว ผมก็จะตามเรื่องนี้กับคุณ เพราะคุณช่วยเหลือนักการเมืองฮุบที่ดินที่เป็นของรัฐ ร้ายแรงไหม ? คุณจำเอาไว้นะ คุณจำคำพูดผมไว้นะ คุณโดนแน่ๆ ถึงคุณเกษียณไปแล้ว อย่างที่อัยการปรเมศวร์พูด อีก 5 ปี คุณต้องโดนแน่ คุณหนีไม่พ้นหรอก
    ทวงคืนเขากระโดง หยุดขี้ข้านักการเมือง . เรื่องนี้ผมมีหลักฐานชัดเจน เรียกว่าเถียงไม่ออก บอกไม่ถูก ได้แต่ถอนหายใจแล้วนึกว่าประเทศไทยเราก้าวมาถึงขั้นนักการเมืองปฏิเสธคำพิพากษาศาลฎีกาได้อย่างไร เพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มนักการเมืองเอง . เรื่องนี้เป็นปัญหาคาราคาซังมาตั้ง 54 ปีที่แล้ว (2513) จนกระทั่งมีการนำคดีสู่ศาลยุติธรรมและต่อสู้ถึงศาลชั้นอุทธรณ์ และฎีกา พร้อมกับมีคำพิพากษาเป็นที่สุดถึง 3 ฉบับ . ท่านผู้ชมครับ ผมยุติเรื่องนี้ด้วยข้อมูลหลักฐานการยอมรับของนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ และขอเช่า ขออาศัยอยู่ เปิดเผยออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรก . สรุป คุณอนุทินครับ คุณเนวินครับ คุณศักดิ์สยามครับ อธิบดีกรมที่ดินครับ หลักฐานทั้งหมดนี้ได้ทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าที่ดินเขากระโดงเป็นสมบัติของชาติ ของการรถไฟประเทศไทย ไม่ใช่ของตระกูลชิดชอบ หรือของเอกชนหน้าไหนทั้งสิ้น . ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ท่านเลิกตะแบงเสียทีได้ไหม ผมนี่อับอายขายหน้าเพื่อนฝูงพี่น้องคุณ หรือตระกูลคุณ หรือชาวบ้านที่เขารู้ความจริง ว่าคุณเป็นถึงอธิบดีกรมที่ดิน คุณทำไมตะแบง จะยกสมบัติ หรือจะป้องกันสมบัตินี้ไม่ให้ตกเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังให้คงอยู่ในมือของเอกชนต่อไป ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ทุเรศสิ้นดี . เพราะฉะนั้นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ย่อมต้องทำหน้าที่ในการรักษาสมบัติดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและประชาชน กรณีที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเช่นนี้ ถ้าผู้มีอำนาจยังตะแบง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมืองมันต้องลุกเป็นไฟแน่นอน . ด้วยเหตุนี้ ทางออกที่ดีที่สุดเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ด้วยการเอาที่เขากระโดงคืนมาให้การรถไฟฯ สามารถทำได้ง่ายและถูกต้อง ชอบธรรมทางกฎหมาย และเหมาะสมด้วย คือกรมที่ดินต้องเอาที่ดินกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ก่อน ตามมาตรา 61 วรรคแปด ของกฎหมายที่ดิน . ผมขอเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า กรมที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอธิบดีกรมที่ดิน นายพรพจน์ เพ็ญพาส ต้องเลิกทำแบบกลับหัวกลับหาง หยุดการเล่นเล่ห์กล สร้างปัญหาให้ประเทศชาติเสียหาย กลับมายึดหลักการที่ถูกต้อง ถึงคุณจะเกษียณไปแล้ว ผมก็จะตามเรื่องนี้กับคุณ เพราะคุณช่วยเหลือนักการเมืองฮุบที่ดินที่เป็นของรัฐ ร้ายแรงไหม ? คุณจำเอาไว้นะ คุณจำคำพูดผมไว้นะ คุณโดนแน่ๆ ถึงคุณเกษียณไปแล้ว อย่างที่อัยการปรเมศวร์พูด อีก 5 ปี คุณต้องโดนแน่ คุณหนีไม่พ้นหรอก
    Like
    Angry
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 841 มุมมอง 0 รีวิว
  • ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    ธรณีสงฆ์อัลไพน์ถึงเขากระโดงในเกมการเมือง.การออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของรัฐมนตรีหลายคนที่เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงในช่วงนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ .จู่ๆ หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล ไปลงนามข้อตกลงกับกัมพูชาหลายเรื่อง ในการนำผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไปประชุมกัมพูชานั้น ในข้อที่ 8 ของข้อตกลง มีข้อความชัดเจนว่ารัฐบาลของสองประเทศจะเร่งรัดคณะกรรมการปักปันเขตแดนเจรจาทำการปักปันเขตแดนกันต่อไปโดยเร็ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงกระเทือนแกนนำพรรคเพื่อไทยอย่างร้ายแรง .แผลลึกแผลนี้ยังไม่ทันสมาน ก็เกิดแผลสองขึ้น จู่ๆ กระทรวงมหาดไทยในอำนาจของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย มีคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินมรดก "ยายเนื่อม" เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองทางกฎหมาย เป็นผลทำให้บรรดาผู้ที่ซื้อที่ดินและบ้านหลายร้อยราย รวมทั้งบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ ซึ่งเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์ และนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เป็นกรรมการมาก่อน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายที่ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนคำสั่งนี้เสียภายใน 90 วัน มิฉะนั้นแล้วจะถือว่าเป็นอันยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะเป็นผลทำให้นายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ต้องตกเก้าอี้และยังถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต.แผลใจแผลนี้นับว่าเจ็บมาก ดังนั้น ไม่ถึง 3 วันต่อมา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าคำพิพากษาคดีเขากระโดงของศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุดแล้ว ผูกพันทุกส่วนราชการที่จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษานั้น เป็นการแถลงกระทบถึงใครที่กำลังสั่งการอธิบดีกรมที่ดินอย่างแน่นอน.พอ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงไม่ขาดคำ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทันที ว่าได้มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการตามคำพิพากษา เข้าครอบครองที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษา.เมื่อสองรัฐมนตรีแถลงไปในแนวทางเดียวกัน ย่อมกระเทือนกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ท่ามกลางเสียงเฮ และความทุเรศทุรังที่ประชาชนมีต่อกระทรวงมหาดไทย.วันถัดมา นายอนุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รีบออกมาแถลง แถว่าจะไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง หมายความว่าที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟ และรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชกฤษฎีกามอบที่ดินนี้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม .มีประเด็นหนึ่งที่น่าสงสัย คือ ท่าทีขึงขังและแข็งกร้าวของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการเล่นสงครามประสาททางการเมืองหรือเปล่า พุ่งเป้าไปที่พรรคภูมิใจไทยโดยตรง เนื่องจากเวลานี้พรรคภูมิใจไทยเอง อยู่ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ขี่คอพรรคเพื่อไทยอยู่ ยิ่งพรรคภูมิใจไทยใหญ่คับรัฐบาลมากเท่าไร พรรคเพื่อไทยก็ต้องตกที่นั่งลำบากเท่านั้น.ไม่ทราบว่าท่านรองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับทราบปัญหานี้หรือเปล่า เพราะคุณเองเป็นคนที่อยู่นอกวงการ แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า นี่คุณกำลังตบหน้าพระราชกฤษฎีกาที่รัชกาลที่ 6 ออกมาประกาศว่าที่ดินนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 874 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    Love
    Sad
    23
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1333 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด
    .
    ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้
    .
    คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ"
    .
    ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ
    .
    แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
    .
    แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้
    .
    ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้
    .
    สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    “เขากระโดง โกงแผ่นดิน”เรื่องใหญ่เทียบเทียมเกาะกูด . ปัญหาในกรรมสิทธิ์ที่ดินทางแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ท่านผู้ชมรู้ไหมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ อาจจะใหญ่ที่สุด ไม่ได้น้อยกว่าเกาะกูดเลย เพราะทุกอย่างควรจะจบที่ศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง ซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเป็นที่ดินการรถไฟ แต่ทำไมถึงหาข้อยุติไม่ได้ . คนที่ครอบครองที่ดินที่เขากระโดงจากชาวบ้านจำนวนหนึ่ง และยังมีนักการเมืองตระกูล "ชิดชอบ" เครือญาติในตระกูล "ชิดชอบ" ที่ดินบางแปลงดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่ก่อตั้งสนามกีฬาฟุตบอล และสนามแข่งรถของตระกูล "ชิดชอบ" . ที่ดินที่มีปัญหาและศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว จำนวน 850 แปลง เนื้อที่รวม 5,083 ไร่ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯที่มีพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5 พระราชทานให้แก่การรถไฟฯ เป็นเนื้อที่ 5,083 ไร่ ต่อมายุครัชกาลที่ 6 ก็มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซ้ำเข้าไปอีก เป็นอันว่าใช้บังคับไม่ได้ ท่านผู้ชมว่ามันทุเรศไหม และคำพิพากษาศาลสูงทั้งสองก็ไม่มีความหมายที่ต้องปฏิบัติตามอำนาจตุลาการ ซึ่งศาลก็ใช้ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ไม่มีผลบังคับ . แต่รู้ไหมครับ อิทธิพลทางการเมืองทำให้ทุกอย่างพลิกผัน เมื่อคณะกรรมการกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดงที่มีปัญหา 5 พันไร่ อ้างการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย . แต่เมื่อข้อสรุปกรมที่ดินออกมาเช่นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่านำมาสู่ความสงสัยอย่างมากมาย คนทั้งประเทศเขาสงสัยกันหมด นักกฎหมายก็สงสัย วิญญูชนที่รักชาติ รักแผ่นดิน ก็สงสัย มีแต่พวกนักการเมืองระยำๆ นี้ที่มันไม่สงสัย เพราะมันสั่งกรมที่ดินให้ทำตามแบบนี้ . ไม่มีเหตุผลใดที่คณะกรรมการของกรมที่ดินจะมีมติหักกับคำพิพากษาศาลเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงแล้ว ข้อกฎหมายได้ยุติในศาลไปแล้ว ผู้ทำผิดกฎหมายคือกรมที่ดินนั่นเอง เลยไม่แปลกใจที่ทัวร์จะลงไปที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน เข้าอย่างจังจากกรณีเขากระโดงนั้น อาจทำให้เส้นทางไปสู่ดวงดาวของนักปกครองรายนี้มีอุปสรรคพอสมควร หรือไม่แล้ว ชีวิตหลังเกษียณอาจต้องมาชี้แจงองค์กรอิสระ หรือขึ้นศาล ก็เป็นไปได้ . สำหรับนักการเมืองและข้าราชการที่ยังดื้อแพ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้น พวกนี้กำลังละเมิดพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา แม้แต่คำพิพากษาของศาลสูงสุด ใช่หรือเปล่า การที่นักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจบังอาจทำเช่นนี้ แสดงว่ามีโมหะ บ้าอำนาจ เหลิงอำนาจ หลงอำนาจ และโลภ เข้าครอบงำจิตใจจนไม่เป็นผู้เป็นคนแล้ว ความมีหิริโอตัปปะยังต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก จึงเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามทั้งหลาย จะต้องเร่งมือเพื่อไม่ให้บ้านเมืองบอบช้ำเสียหายไปมากกว่านี้
    Like
    Angry
    19
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1312 มุมมอง 1 รีวิว
  • ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย

    เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

    สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง

    ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย

    นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย

    เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้

    #Newskit
    ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้ #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1086 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1355 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก

    สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว

    ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

    ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง

    พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน

    การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน

    #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    กลุ่มพราวบูสต์เมืองหัวหิน ทำทางเชื่อมสถานีหนองแก สถานีรถไฟหนองแก ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายใต้ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ได้ก่อสร้างงานโยธาช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กิโลเมตรแล้วเสร็จ และเปิดใช้ทางไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา มีขบวนรถธรรมดาจอดรับ-ส่งผู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ ขบวน 255 ธนบุรี-หลังสวน และขบวน 251 ธนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ไป-กลับรวม 4 เที่ยว ด้วยที่ตั้งสถานีติดกับโครงการของกลุ่มบริษัทพราว ที่มี พราวพุธ ลิปตพัลลภ ลูกสาวของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นกรรมการบริหาร ประกอบด้วย โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโครงการคอนโดมิเนียมเวหา หัวหิน ที่คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2/2568 จึงขออนุญาตการรถไฟแห่งประเทศไทย เช่าพื้นที่ทำทางเชื่อมจากสถานีรถไฟหนองแก ถึงโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ฯ ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และเตรียมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ ทางเชื่อมสถานีรถไฟหนองแก สามารถเดินเท้าไปยังโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานา นาวา หัวหิน ด้วยระยะทาง 200 เมตร ที่มี วานานาวา สกาย รูฟท็อปบาร์ ซึ่งเป็นบาร์สูงที่สุดในหัวหิน โดยทางโรงแรมฯ เตรียมบริการรับ-ส่งผ่านรถบักกี้และดูแลจัดการกระเป๋าเดินทางให้แก่ผู้เข้าพัก ต่อด้วยสถานที่ท่องเที่ยวข้างเคียง สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล หัวหิน อีกด้านหนึ่ง สามารถเดินเท้าไปยังตลาดซิคาด้า ระยะทาง 700 เมตรในเวลา 15 นาที รวมทั้งชายหาดเขาตะเกียบ และหมู่บ้านประมง พร้อมกันนี้ ยังเตรียมจัดหาขบวนรถไฟ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีหนองแก สำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ วานานาวา หัวหิน, สวนน้ำวานานาวา วอเตอร์จังเกิ้ล และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล หัวหินรีสอร์ท รวมถึงประชาชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. 2568 โดยสำรองที่นั่งได้ผ่านทาง www.vananavahuahin.com ซึ่งจะมีพนักงานของพราวกรุ๊ปคอยให้บริการและอำนวยความสะดวกบนขบวน การจัดขบวนรถไฟไปยังสถานีหนองแก ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงที่ถนนพระรามที่ 2 มีการก่อสร้างและการจราจรติดขัด ให้สามารถเดินทางสู่เมืองหัวหินได้สะดวก ที่ผ่านมากลุ่มพราวพยายามผลักดันการท่องเที่ยวทั้งการสร้างสวนน้ำ ศูนย์การค้า และการจัดงานอีเวนต์ต่างๆ ตลอดทั้งปี โดยล่าสุดศูนย์การค้าบลูพอร์ต หัวหิน ได้เปิด Blúport Hall Hua Hin MICE สถานที่จัดงานประชุมสัมมนาที่ชั้น 1 พื้นที่รวม 3,295 ตารางเมตร รองรับผู้เข้าร่วมงานอีเวนต์ได้สูงสุด 2,000 คน #Newskit #VanaNava #สถานีหนองแก
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 756 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนาคตสถานีลพบุรี

    โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568

    สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม

    พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่

    แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น

    ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี

    #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    อนาคตสถานีลพบุรี โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะทาง 145 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 21,467 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 ในที่สุดสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2567 ส่วนสัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ คืบหน้า 98.26% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2567 และสัญญาที่ 3 งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม (ST8) คืบหน้า 49.59% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 สำหรับไฮไลต์ของโครงการอยู่ที่สัญญาที่ 1 เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ ระยะทาง 29 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างพระปรางค์สามยอด มีจุดเริ่มต้นทางทิศใต้ของสถานีบ้านกลับ เบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี และยกระดับบนแนวเกาะกลางถนนของทางหลวงหมายเลข 366 (ถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี) ระยะทาง 19 กิโลเมตร ก่อนลดระดับลง บรรจบแนวเส้นทางรถไฟเดิม ระหว่างสถานีท่าแค และสถานีโคกกะเทียม พร้อมปรับปรุงสถานีรถไฟบ้านกลับ โดยอนุรักษ์อาคารเดิมไว้ และก่อสร้างสถานีรถไฟลพบุรี 2 บริเวณถนนเลี่ยงเมืองลพบุรี ก่อนถึงแยกสนามไชย ต.โพลาดแก้ว อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้น 1 ที่จอดรถ ชั้น 2 พื้นที่จำหน่ายตั๋วและรองรับผู้โดยสาร ชั้น 3 ชานชาลา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ตั้งสถานีรถไฟลพบุรี 2 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟลพบุรี ต.ท่าหิน อ.เมืองฯ จ.ลพบุรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามแผนของกระทรวงคมนาคม จะให้รถไฟชานเมือง กรุงเทพ (หัวลำโพง)-ลพบุรี และรถไฟท้องถิ่น พิษณุโลก-ลพบุรี ทั้งไปและกลับ จอดที่สถานีเดิม นอกนั้นทั้งรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ย้ายไปให้บริการที่สถานีลพบุรี 2 แห่งใหม่ แน่นอนว่าย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยรถไฟธรรมดา สายพิษณุโลก สายตะพานหิน สายนครสวรรค์ และสายบ้านตาคลี มายังสถานีลพบุรี ไม่นับรวมกรณีรถไฟทางไกลสายเหนือ ต้องไปใช้บริการที่สถานีลพบุรี 2 มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ มีรถรับส่งผู้โดยสารไปยังตัวเมืองลพบุรีหรือไม่ บริการฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ภาระตกอยู่กับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ขณะนี้สถานีรถไฟลพบุรี ได้ทำทำแบบสำรวจเพื่อประกอบการจัดทำแผนในการเดินขบวนรถไฟโดยสาร ที่ให้บริการระหว่างสถานีลพบุรี (เดิม) และสถานีลพบุรี 2 เพื่อรับทราบถึงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อดีข้อเสีย และผลกระทบที่ได้รับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ Google Form https://forms.gle/8HG7zhG7gheZBaSW6 หรือที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีรถไฟลพบุรี #Newskit #สถานีลพบุรี #รถไฟทางคู่
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 665 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี

    ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง

    หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี

    ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง

    ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท

    แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน

    ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง

    การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้

    ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

    ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน

    ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย

    #Newskit #SRT #Butterworth
    ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย #Newskit #SRT #Butterworth
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1116 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์

    ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์

    ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท

    แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

    จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท

    นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้

    #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    เตรียมตัวนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ขบวนรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ กับสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ นอกเหนือจากรถโดยสาร กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ และอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ขบวนรถเร็วที่ 133 กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 21.25 น. เช่นเดียวกับขากลับ ขบวนรถเร็วที่ 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)-กรุงเทพอภิวัฒน์ ออกจากนครหลวงเวียงจันทน์ เวลา 18.25 น. ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 281 บาท มีรถนอนปรับอากาศชั้น 2 ให้บริการด้วย ราคาเตียงบน 784 บาท เตียงล่าง 874 บาท แม้ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ถูกจองเต็มหมดแล้ว แต่ถ้ามาทีหลัง สำรองที่นั่งได้สูงสุด 180 วัน ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ Call Center 1690 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน D-Ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งที่อยากจะฝากคือ เตรียมหนังสือเดินทางให้พร้อม มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน และหมั่นตรวจสอบตราประทับในหนังสือเดินทางขาเข้าทั้ง ตม.ไทย และ ตม.ลาว หากไม่พบตราประทับขาเข้า เมื่อออกจากประเทศลาว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราที่สูงมาก เท่าที่ทราบผ่านโซเชียลฯ ต้องจ่ายอย่างน้อย 5,000 บาท นอกจากนี้ ควรสมัครแพ็คเกจโรมมิ่งก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดบิลช็อกตามมา เริ่มต้น 2GB 99 บาท ใช้ได้ 7 วัน ส่วนการแลกเงิน แนะนำแลกผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารลาว แลกเพียงแค่พอใช้ หรือใช้แอปฯ ธนาคารไทย เช่น KMA ธนาคารกรุงศรีฯ สแกนจ่ายผ่าน LAO QR หรือหากร้านค้าใดมี QR Code ของ Unionpay ก็ใช้ K PLUS ธนาคารกสิกรไทยสแกนจ่ายได้ #Newskit #รถไฟไทย #เวียงจันทน์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 843 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี

    ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว

    ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่

    อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน

    ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    รถไฟชั้น 3 ติดแอร์ คุณภาพชีวิตที่ควรมี ข่าวคราวที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้นที่ 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตามที่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงนั้น ดูเป็นเรื่องเพ้อฝันและอาจทำไม่ได้จริง แต่อาจยังไม่รู้ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศมานานแล้ว ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2530-2535 การรถไฟฯ ปรับปรุงรถโบกี้ชั้นที่ 3 ธรรมดาให้กลายเป็นรถปรับอากาศ 5 คัน แล้วนำมาให้บริการในบางเส้นทาง โดยเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการปรับปรุงใหม่และใช้การได้ขณะนี้มี 2 ขบวน ได้แก่ บชส.ป.2 นำมาให้บริการเส้นทางกรุงเทพ-ปราจีนบุรี และ บชส.ป.10 ส่วนอีก 4 ขบวนกำลังทำวาระปรับปรุงสภาพใหม่ อีกด้านหนึ่งพบว่า การรถไฟฯ เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน แต่ต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาปรับปรุง โดยต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ การปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศ มีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถไฟชั้น3 #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 637 มุมมอง 0 รีวิว