รถไฟความเร็วสูงไทย ไปให้สุดถึงหนองคาย

แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 251 กิโลเมตร ยังคงไปไม่ถึงไหน เพราะช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองยังไม่ก่อสร้าง และช่วงบ้านโพ-พระแก้ว กำลังปรับแบบก่อสร้างสถานีรถไฟอยุธยา ตามคำแนะนำของยูเนสโก แต่ล่าสุดรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร อนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ 1. สถานีบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 2. สถานีบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี และ 5. สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2578 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2575 พร้อมกันนี้ จะมีก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย สำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระหว่างขนาดทาง 1 เมตร ของรถไฟไทย กับขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) อีกด้วย

อีกด้านหนึ่ง ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 ห่างจากสะพานมิตรภาพเดิม 30 เมตร โดยจะมีทั้งทางรถไฟขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร เชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคาย ประเทศไทย กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ ของโครงการรถไฟลาว-จีน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย.2568 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการก่อสร้างสะพานระหว่างไทยและลาว คาดว่าจะก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 3/2569 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2572

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย กับกิจการร่วมค้า ช.ทวี-เอเอส ก่อสร้าง (บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท เค เอส ร่วมค้า จำกัด) ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินสัญญา 28,679 ล้านบาท ประกอบด้วยทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พร้อมก่อสร้างอาคารสถานี 14 สถานี ที่หยุดรถ 4 แห่ง ลานบรรทุกสินค้า 3 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเงินกู้จากกระทรวงการคลังงวดแรกก่อนออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ในเดือน เม.ย.2568 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2571

#Newskit
รถไฟความเร็วสูงไทย ไปให้สุดถึงหนองคาย แม้ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 251 กิโลเมตร ยังคงไปไม่ถึงไหน เพราะช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองยังไม่ก่อสร้าง และช่วงบ้านโพ-พระแก้ว กำลังปรับแบบก่อสร้างสถานีรถไฟอยุธยา ตามคำแนะนำของยูเนสโก แต่ล่าสุดรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร อนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา วงเงิน 341,351.42 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย มีระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ 1. สถานีบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 2. สถานีบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี และ 5. สถานีหนองคาย โดยจะเริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ 2578 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2575 พร้อมกันนี้ จะมีก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา จ.หนองคาย สำหรับเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระหว่างขนาดทาง 1 เมตร ของรถไฟไทย กับขนาดทางมาตรฐาน 1.45 เมตร ของโครงการรถไฟลาว-จีน ในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) อีกด้วย อีกด้านหนึ่ง ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว หนองคาย-เวียงจันทน์ แห่งที่ 2 ห่างจากสะพานมิตรภาพเดิม 30 เมตร โดยจะมีทั้งทางรถไฟขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร เชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคาย ประเทศไทย กับสถานีเวียงจันทน์ใต้ ของโครงการรถไฟลาว-จีน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ย.2568 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการก่อสร้างสะพานระหว่างไทยและลาว คาดว่าจะก่อสร้างได้ในไตรมาสที่ 3/2569 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2572 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย กับกิจการร่วมค้า ช.ทวี-เอเอส ก่อสร้าง (บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท เค เอส ร่วมค้า จำกัด) ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินสัญญา 28,679 ล้านบาท ประกอบด้วยทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พร้อมก่อสร้างอาคารสถานี 14 สถานี ที่หยุดรถ 4 แห่ง ลานบรรทุกสินค้า 3 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเงินกู้จากกระทรวงการคลังงวดแรกก่อนออกหนังสือแจ้งให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ในเดือน เม.ย.2568 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2571 #Newskit
Like
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 127 มุมมอง 0 รีวิว