• มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้

    เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา

    ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี

    สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน

    เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน

    เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน

    ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ

    #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 167 Views 0 Reviews
  • โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือน ส.ค.2567 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

    2 สิงหาคม 2567-นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งในเดือนส.ค.2567 จะได้รับสิทธิ ดังนี้

    วันที่ 1 ส.ค. 2567
    (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
    - วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน
    (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 ส.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)
    - วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 67)
    - วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน (ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ)

    วันที่ 20 ส.ค. 2567
    - เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน
    สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท)

    กรมบัญชีกลางขอรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ก.ค. 2567 ดังนี้
    1. สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงิน (บัตรประจำตัวประชาชน)
    1.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวนเงิน 3,950.87 ล้านบาท
    1.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 221.13 ล้านบาท
    1.3 วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวนเงิน137.45 ล้านบาท
    รวม จำนวนเงิน4,309.45 ล้านบาท
    2. สวัสดิการที่ให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (บัตรประจำตัวประชาชน)
    2.1 มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 จำนวนเงิน 262.30 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 262.30 ล้านบาท
    3. สวัสดิการที่จ่ายตรงผู้ให้บริการ
    3.1 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า จำนวนเงิน 183.99 ล้านบาท
    3.2 มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา จำนวนเงิน 23.80 ล้านบาท
    รวมจำนวนเงิน จำนวนเงิน 207.79 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 4,779.54 ล้านบาท

    #Thaitimes
    โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือน ส.ค.2567 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง 2 สิงหาคม 2567-นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งในเดือนส.ค.2567 จะได้รับสิทธิ ดังนี้ วันที่ 1 ส.ค. 2567 (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป) - วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 ส.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง) - วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 67) - วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน (ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ) วันที่ 20 ส.ค. 2567 - เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท) กรมบัญชีกลางขอรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ก.ค. 2567 ดังนี้ 1. สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงิน (บัตรประจำตัวประชาชน) 1.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวนเงิน 3,950.87 ล้านบาท 1.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 221.13 ล้านบาท 1.3 วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวนเงิน137.45 ล้านบาท รวม จำนวนเงิน4,309.45 ล้านบาท 2. สวัสดิการที่ให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (บัตรประจำตัวประชาชน) 2.1 มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 จำนวนเงิน 262.30 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 262.30 ล้านบาท 3. สวัสดิการที่จ่ายตรงผู้ให้บริการ 3.1 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า จำนวนเงิน 183.99 ล้านบาท 3.2 มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา จำนวนเงิน 23.80 ล้านบาท รวมจำนวนเงิน จำนวนเงิน 207.79 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 4,779.54 ล้านบาท #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 343 Views 0 Reviews
  • “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    17
    0 Comments 0 Shares 880 Views 0 Reviews
  • ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

    ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    🚌ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 📌ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    0 Comments 0 Shares 261 Views 0 Reviews
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 Comments 1 Shares 512 Views 0 Reviews
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 Comments 1 Shares 596 Views 0 Reviews
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 404 Views 0 Reviews
  • ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก.

    เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน

    นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก. เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    Like
    2
    1 Comments 1 Shares 337 Views 0 Reviews