• ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 483 Views 0 Reviews
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 Comments 1 Shares 594 Views 0 Reviews
  • XJ กลับดอนเมือง เหลือไฟล์ตกัวลาลัมเปอร์

    XJ คือรหัสเที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งทำการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สู่เส้นทางโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และโซล ประเทศเกาหลีใต้ มาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ล่าสุดประกาศว่า ย้ายทุกเที่ยวบินมาให้บริการที่สนามบินดอนเมือง 1 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้แล้วจะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินโดยอัตโนมัติ

    เส้นทางที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นรหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย XJ ทั้งหมด ได้แก่ เที่ยวบินตรงเข้าออกกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โตเกียว โอซาก้า นาโกย่า ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

    เหตุผลที่ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ย้ายกลับจากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองเพื่อลดต้นทุน เพราะรันเวย์และแท็กซี่เวย์ระยะสั้นกว่า และค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน กับค่าบริการที่เก็บอากาศยานถูกกว่า รวมทั้งเชื่อมต่อผู้โดยสารกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่มีเส้นทางบินรวมกว่า 93 เส้นทาง หรือ 1,250 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ช่วยให้มีผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเส้นทางสุวรรณภูมิ-กัวลาลัมเปอร์ ที่ดำเนินการโดย แอร์เอเชียเอ็กซ์ มาเลเซีย (รหัสเที่ยวบิน D7) ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิตามเดิม เช่นเดียวกับเที่ยวบิน FD เส้นทางจากสุวรรณภูมิ ไปเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่

    ปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งคนละส่วนกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีฝูงบินแอร์บัส เอ 330 รวม 8 ลำ และจะทยอยเพิ่มเป็น 11 ลำ ภายในสิ้นปี 2567 หลังจากนั้นวางแผนรับเครื่องบินเพิ่มปีละ 3-5 ลำ เพื่อเพิ่มความถี่เเละเปิดบินเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง

    #Newskit #AirasiaX #DMK
    XJ กลับดอนเมือง เหลือไฟล์ตกัวลาลัมเปอร์ XJ คือรหัสเที่ยวบินของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งทำการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สู่เส้นทางโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และโซล ประเทศเกาหลีใต้ มาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ล่าสุดประกาศว่า ย้ายทุกเที่ยวบินมาให้บริการที่สนามบินดอนเมือง 1 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้แล้วจะปรับเปลี่ยนเที่ยวบินโดยอัตโนมัติ เส้นทางที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นรหัสเที่ยวบินขึ้นต้นด้วย XJ ทั้งหมด ได้แก่ เที่ยวบินตรงเข้าออกกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โตเกียว โอซาก้า นาโกย่า ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เหตุผลที่ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ย้ายกลับจากสุวรรณภูมิมาดอนเมืองเพื่อลดต้นทุน เพราะรันเวย์และแท็กซี่เวย์ระยะสั้นกว่า และค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน กับค่าบริการที่เก็บอากาศยานถูกกว่า รวมทั้งเชื่อมต่อผู้โดยสารกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่มีเส้นทางบินรวมกว่า 93 เส้นทาง หรือ 1,250 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ช่วยให้มีผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเส้นทางสุวรรณภูมิ-กัวลาลัมเปอร์ ที่ดำเนินการโดย แอร์เอเชียเอ็กซ์ มาเลเซีย (รหัสเที่ยวบิน D7) ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิตามเดิม เช่นเดียวกับเที่ยวบิน FD เส้นทางจากสุวรรณภูมิ ไปเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ ปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ซึ่งคนละส่วนกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีฝูงบินแอร์บัส เอ 330 รวม 8 ลำ และจะทยอยเพิ่มเป็น 11 ลำ ภายในสิ้นปี 2567 หลังจากนั้นวางแผนรับเครื่องบินเพิ่มปีละ 3-5 ลำ เพื่อเพิ่มความถี่เเละเปิดบินเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง #Newskit #AirasiaX #DMK
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 520 Views 0 Reviews