• รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 911 มุมมอง 0 รีวิว