• **เพลงฉู่รอบด้าน**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย

    เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้

    ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน

    ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ?

    เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด

    ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด

    และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง

    หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น.

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml
    https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html
    https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782
    https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064
    https://www.sohu.com/a/620378890_121448078

    #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    **เพลงฉู่รอบด้าน** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้ ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’ แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ? เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น. (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782 https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064 https://www.sohu.com/a/620378890_121448078 #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 177 Views 0 Reviews
  • **คัมภีร์ชุนชิว**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน

    คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย

    ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ

    ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่

    แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย

    ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!

    แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)

    จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ

    ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ

    ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
    https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
    https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
    http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
    https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
    https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
    https://baike.baidu.com/item/左传/371757
    https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
    https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850

    #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    **คัมภีร์ชุนชิว** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่ แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร! แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว) จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889 https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html https://www.chinasage.info/ancient-states.htm http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html https://www.sohu.com/a/445253069_120791762 https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html https://baike.baidu.com/item/左传/371757 https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689 https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850 #จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 328 Views 0 Reviews
  • **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ

    จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น

    แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)

    ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้

    ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง

    นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง

    เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น

    แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
    https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
    https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
    https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
    http://www.fs7000.com/news/?12143.html
    https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
    https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html

    #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน) ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้ ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/ https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00 https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xinghuozhiku.com/76834.html https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html http://www.fs7000.com/news/?12143.html https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00 https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 402 Views 0 Reviews
  • **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์**

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล

    แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย

    เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง

    พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้

    การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
    https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
    https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
    https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932

    #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    **การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์** สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ? การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้ การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257 https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105 https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00# https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简 https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932 #จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 420 Views 0 Reviews
  • **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร

    ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

    เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน

    และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี

    บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ

    การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

    ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า

    ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)

    Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
    http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
    https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
    https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html

    #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน) Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998 https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699 http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    GIRLSTYLE.COM
    张婧仪 & 胡一天《惜花芷》扑开高走.热度破万!开播前被全网嘲「必扑」,靠「过硬剧情」扳回一城狠狠打脸酸民~ | GirlStyle 马来西亚女生日常
    张婧仪、胡一天主演的古装剧《惜花芷》站内热度破万啦!这部剧在开播之前无人看好,预告释出后更是嘲声一片,被看衰「一定会扑」!但是,《惜花芷》却靠剧情逆转口碑,收获许多“自来水”(真心喜欢而自愿帮宣传的观众)的喜爱,让收视率一路上升,杀出重围成为黑马!
    1 Comments 0 Shares 521 Views 0 Reviews
  • **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก**

    สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน
    เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่?

    การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ

    แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู

    การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง

    ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย

    วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ

    จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด

    ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.yicai.com/news/102418541.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174
    https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5
    https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก** สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่? การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.yicai.com/news/102418541.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174 https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5 https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    从《蜀锦人家》看非遗生意经,这些诀窍可借鉴|乐言商业
    《蜀锦人家》通过女主角季英英的故事,展示了核心技术、创新、产业链合作、资本运作和渠道拓展等商业策略,为现代消费企业提供了宝贵的启示。
    1 Comments 0 Shares 594 Views 0 Reviews
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 628 Views 0 Reviews
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 1240 Views 0 Reviews
  • **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2)

    นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น!

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู

    เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร

    แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s

    เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html
    https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424
    https://j.021east.com/p/1652758642049238
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html
    https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯
    https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725
    https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990
    https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s
    https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s
    https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html

    #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ผ้าไหมทอลายสูจิ่น เทคนิคการทออันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรม** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราตามรอย <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ไปยังแหล่งผลิตของผ้าไหมสูจิ่น (蜀锦) หรือเมืองอี้โจวในเรื่องซึ่งก็คือเมืองเฉิงตูนั่นเอง Storyฯ ได้กล่าวไว้ว่าผ้าไหมสูจิ่นเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดผ้าไหมทอลายของจีน และเทคนิคการทอผ้าสูจิ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจีนเมื่อปี 2006 วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ประวัติการทอผ้าไหมจีนมีมายาวนานหลายพันปี แต่เทคนิคการทอผ้าสูจิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) โดยมีหลักฐานจากการขุดพบเครื่องทอโบราณจากหลุมฝังศพสมัยราชวงศ์ฮั่น และใช้เวลานานมากในการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของมัน เนื่องจากเอกสารข้อมูลที่หลงเหลือเกี่ยวกับมันมีน้อยมากอันสืบเนื่องจากเมืองเฉิงตูและเขตพื้นที่ทอผ้าได้รับความเสียหายจากไฟสงครามเมื่อแมนจูเข้ายึด ปัจจุบันมีการจำลองขึ้นใหม่จนใช้การได้จริง จัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู (Chengdu Shu Brocade And Embroidery Museum) (ดูรูปประกอบ 2) นอกจากนี้ยังมีการขุดพบผ้าไหมทอลายสูจิ่นในพื้นที่แถบซินเกียงที่สะท้อนถึงความสามารถในการทอผ้าลายซับซ้อนในสมัยฮั่น โดยผลงานที่โด่งดังมากที่สุดคือผ้าหุ้มข้อมือที่มีชื่อเรียกว่า ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่จงกั๋ว’ (五星出东方利中国/ Five Stars Rising in the East) ผ้าผืนนี้มีสีสันสดใสโดยเน้นสีที่เป็นตัวแทนของห้าดาว (ห้าธาตุ) มีลายสัตว์มงคลและตัวอักษร ‘อู่ซิงชูตงฟางลี่ตงกั๋ว’ และเนื่องด้วยมีการค้นพบเศษผ้าอื่นที่มีลายต่อเนื่องกัน ผู้เชี่ยวชาญจึงวิเคราะห์ไว้ว่าผ้าผืนเต็มประกอบด้วยตัวอักษรยี่สิบอักษร เป็นผ้าทอเนื้อละเอียดมาก ภายในผ้าหนึ่งตารางเซ็นติเมตรมีด้ายยืนทับซ้อนกันทั้งสิ้นกว่า 200 เส้น! ต่อมาในสมัยถังและซ่ง เครื่องทอผ้าถูกพัฒนาให้ทอลายที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้นและมีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีการบรรยายลักษณะไว้ในบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 เพื่อบันทึกถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง (ดูรูปประกอบ 3) ปัจจุบันมีเครื่องโบราณจริงจากสมัยชิงแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าทอและงานปักสูจิ่นเมืองเฉิงตู เครื่องทอที่ว่านี้ต้องใช้ช่างทอสองคนพร้อมกัน คนหนึ่งนั่งข้างบนบังคับกลุ่มเส้นไหมเพื่อจัดลายทอ อีกคนหนึ่งนั่งข้างล่างทำหน้าที่ทอและดูแลเรื่องเฉดสี รวมแล้วมีเส้นไหมกว่าหมื่นเส้นที่ต้องบังคับ มีขนาดเล็กคือ ‘เสี่ยวฮวาโหลว’ และขนาดใหญ่คือ ‘ต้าฮวาโหลว’ โดยต้าฮวาโหลวมีความสูงถึงห้าเมตร แม้แต่อาจารย์ผู้มีประสบการณ์มาหลายสิบปียังสามารถทอได้เพียงไม่เกินสิบเซ็นติเมตรต่อวันด้วยมันต้องใช้แรงและโฟกัสมาก และความยากที่สุดของการทอผ้าไหมสูจิ่นด้วยเครื่องอย่างนี้คือการเอาลายที่ดีไซน์บนภาพวาดแปลงออกมาเป็นการเรียงเส้นไหมนั่งเอง เล่าอย่างนี้อาจนึกภาพไม่ออก เพื่อนเพจลองดูคลิปสั้นนี้ก็จะพอเห็นภาพค่ะ https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M และหากใครพอมีเวลาก็ลองดูสาระคดียาวประมาณ 15 นาทีมีซับภาษาอังกฤษ ก็จะเห็นความซับซ้อนของการทอผ้าสูจิ่นอย่างเต็มรูปแบบ... https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s เอกลักษณ์ของผ้าสูจิ่นคือลายทอพื้นเมือง เทคนิคการทอลายทับซ้อนได้หลายชั้นและมีสีสันที่สดใส โดยมีชื่อเรียกจำแนกชนิดย่อยไปได้อีกตามลายทอ อธิบายเช่นนี้ก็คงจะยังไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ในรูปประกอบ 1 ก็พอจะเห็นบางส่วนของลายทอต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในซีรีส์ <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1732938607168793.html https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1083381463798209&id=100063790956424 https://j.021east.com/p/1652758642049238 https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html https://www.ccmapp.cn/news/detail?id=bd8d36d9-2b59-4fa0-b8e9-7d8b65852db3&categoryid=&categoryname=最新资讯 https://www.chinasilkmuseum.com/cs/info_164.aspx?itemid=26725 https://www.researchgate.net/figure/Traditional-Chinese-drawbar-silk-loom-Roads-to-Zanadu_fig4_284551990 https://news.qq.com/rain/a/20241229A059DQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/shorts/fPzQzevjD2M https://www.youtube.com/watch?v=uYHbELbospQ&t=609s https://www.youtube.com/watch?v=1zNDpGNh_Z4&t=1197s https://sichuan.scol.com.cn/ggxw/202102/58058065.html #ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ #ผ้าไหมจีน #ผ้าไหมจิ่น #สูจิ่น #เฉิงตู #สามก๊ก #สี่สุดยอดผ้าไหมจีน #เครื่องทอผ้าจีนโบราณ #สาระจีน
    3 Comments 0 Shares 1143 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 1251 Views 0 Reviews
  • การเก็บมุกในจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ

    การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ

    การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2)

    ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย

    ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป

    แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html
    https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312
    https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf

    #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    การเก็บมุกในจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2) ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/ https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312 https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 904 Views 0 Reviews
  • 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1350 Views 0 Reviews
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 Comments 0 Shares 1082 Views 0 Reviews
  • กินเกี๊ยวรับตรุษจีน

    สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน

    วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ
    มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง

    แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว?

    จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

    นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่>

    ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่

    อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/
    https://www.shuge.org/meet/topic/19030/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/饺子/28977
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595
    https://www.sohu.com/a/449146748_401284
    https://www.sohu.com/a/367953600_120207616

    #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    กินเกี๊ยวรับตรุษจีน สวัสดีค่ะ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้! สัปดาห์นี้มาคุยกันเร็วหน่อยต้อนรับตรุษจีน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับธรรมเนียมโบราณในการฉลองตรุษจีน เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> คงจะจำได้ว่ามีฉากที่องค์หญิงหลี่หรงและเผยเหวินเซวียนร่วมสังสรรค์ฉลองตรุษจีนกับทุกคนในจวนองค์หญิง โดยพระเอกนางเอกห่อเกี๊ยวออกมาให้ทุกคนร่วมกิน ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนในประเทศจีนยังมีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาคพื้นที่ตอนเหนือของจีน และปัจจุบันมีเกี๊ยวหลากหลายชนิด บ้างเรียก ‘หุนถุน’ (馄饨) คือเกี๊ยวที่มีขนาดเล็กพอคำทรงกลม หรือบ้างเรียกว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子) ซึ่งเป็นเกี๊ยวขนาดใหญ่ทรงจันทร์เสี้ยวหน้าตาประมาณเกี๊ยวซ่าที่มีขายในบ้านเรา ซึ่งจำแนกออกจากกันด้วยรายละเอียดเช่น แป้งที่ใช้ห่อ รูปทรงของแผ่นแป้ง ฯลฯ แต่ในหลายยุคสมัยโบราณไม่ได้แบ่งประเภทอย่างนี้ เรียกรวมเป็นเกี๊ยวทั้งหมด เพียงแต่ชื่อเรียกเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ว่ากันว่าเกี๊ยวมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อคุณหมอชื่อดังจางจ้งจิ่งได้คิดค้นมันขึ้นเพื่อรวบรวมสารอาหารที่จำเป็น (เช่น เนื้อแกะและพริกไทย) เข้าด้วยกันในรูปแบบที่สะดวกต่อการกิน ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพร่างกายของชาวบ้านให้รับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ดีขึ้น แต่คำว่าเกี๊ยวปรากฎบนเอกสารโบราณครั้งแรกในสารานุกรม ‘ก๋วงหย่า’ (广雅) ของแคว้นเว่ยสมัยสามก๊ก (วุยก๊ก จัดทำขึ้นในช่วงปีค.ศ. 227-232) โดยกล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งรูปทรงเหมือนจันทร์เสี้ยวมีชื่อเรียกว่า ‘หุนถุน’ (แต่รูปลักษณ์เหมือนกับ ‘เจี่ยวจือ’ปัจจุบัน) และยังมีวัตถุโบราณที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนนิยมกินเกี๊ยวกันมาแต่โบราณ มีคนไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาว่าสมัยสามก๊กนั้นเขากินเป็นเกี๊ยวต้มพร้อมน้ำแกง ภายในเกี๊ยวสอดไส้เนื้อสับ และกรรมวิธีการกินเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจวบจนในสมัยถังจึงเปลี่ยนเป็นการนึ่งหรือต้มสุกแล้วกินแห้ง แล้วทำไมตรุษจีนต้องกินเกี๊ยว? จริงๆ มีหลายตำนาน แต่ที่นิยมกล่าวถึงคือเนื่องจากในสมัยซ่งเรียกเกี๊ยวว่า ‘เจี่ยวจือ’ (角子 ตัวเขียนแตกต่างแต่ออกเสียงเหมือนกัน) และชื่อนี้พ้องเสียงกับคำเรียกการผลัดเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ในยามจื่อ (子时คือช่วงเวลาระหว่างห้าทุ่มกับตีหนึ่ง) การกินเกี๊ยวจึงมีความหมายอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั่นเอง นอกจากนี้ เกี๊ยวยังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของทรัพย์เนื่องจากมีรูปทรงคล้ายเงินหยวนเป่าของจีน และการห่อเกี๊ยวถือเป็นเคล็ดของการห่อทรัพย์หรือสิ่งดีๆ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่เพียงกินเกี๊ยว หากแต่ยังนิยมห่อเกี๊ยวกินเองอีกด้วย และบางครั้งจะมีการยัดไส้สิ่งของอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดที่ดีเช่น ห่อเศษเงินอยู่ข้างในเกี๊ยวดังที่เราเห็นในซีรีส์ <องค์หญิงใหญ่> ธรรมเนียมการกินเกี๊ยวตอนตรุษจีนนี้กลายเป็นกิจกรรมร่วมของครอบครัวที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหมิงต่อเนื่องมายังสมัยชิง แต่มีความแตกต่างว่ากินกันวันไหน บ้างกินในวันสิ้นปี บ้างกินในวันแรกของปีใหม่ บ้างกินในวันที่ห้าของปีใหม่ (เพราะห้าวันแรกมีเคล็ดเยอะข้อห้ามเยอะ พอพ้นห้าวันเลยฉลองด้วยเกี๊ยว) ทั้งนี้แล้วแต่ธรรมเนียมท้องถิ่นซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ อนึ่ง เนื่องจากยังมีอีกหลายเคล็ดที่เกี่ยวกับเกี๊ยวอันสืบเนื่องมาจากชื่อมงคลของส่วนประกอบในไส้ของมัน มันจึงกลายเป็นอาหารมงคลสำหรับหลากหลายโอกาสอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61433159/the-princess-royal/ https://www.shuge.org/meet/topic/19030/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/饺子/28977 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1304595 https://www.sohu.com/a/449146748_401284 https://www.sohu.com/a/367953600_120207616 #องค์หญิงใหญ่ #ตรุษจีน #กินเกี๊ยว #ธรรมเนียมจีนโบราณ #สาระจีน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1026 Views 0 Reviews
  • หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย

    ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ

    ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ

    ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน

    นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด

    อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ:
    - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl
    - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012
    - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html
    http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    https://baike.baidu.com/item/户绝

    #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ: - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012 - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml https://baike.baidu.com/item/户绝 #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1132 Views 0 Reviews
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1226 Views 0 Reviews
  • ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้
    “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน
    รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน
    ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย
    ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย
    ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย”

    วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก

    ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้

    และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง

    คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด

    นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย

    โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย

    สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ:
    https://www.arsomsiam.com/guanzhong/
    https://mgronline.com/china/detail/9570000117129
    http://www.inewhorizon.net/8456123-2/

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html
    https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs
    https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172
    https://www.sohu.com/a/604599137_121124389
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย” วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้ และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ: https://www.arsomsiam.com/guanzhong/ https://mgronline.com/china/detail/9570000117129 http://www.inewhorizon.net/8456123-2/ Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172 https://www.sohu.com/a/604599137_121124389 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1017 Views 0 Reviews
  • สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 952 Views 0 Reviews
  • การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี

    วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย

    มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย

    และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง

    การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย

    และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ

    จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้

    อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
    https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
    http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
    http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้ อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560 http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml #ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 996 Views 0 Reviews
  • เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 648 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน สัปดาห์ที่แล้วคุยกันไปประโยคหนึ่ง วันนี้มาคุยต่อ ซึ่งคือบทพูดยาวที่เหยียนซิ่งกล่าวว่า “ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน”(贵者虽自贵,视之若埃尘。贱者虽自贱,重之若千钧。) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)ทั้งนี้ ‘จวิน’ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักในสมัยโบราณ เทียบเท่าประมาณสิบห้ากิโลกรัม และ ‘พันจวิน’ เป็นการอุปมาอุปมัยว่าน้ำหนักมากมีค่ามากยิ่งนักวลีสี่วรรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกวีบทที่หกจากชุดบทกวีแปดบท ‘หยงสื่อปาโส่ว’ (咏史八首) ของจั่วซือ (ค.ศ. 250-305) นักประพันธ์เลื่องชื่อในสมัยจิ้นตะวันตกจั่วซือมาจากครอบครัวขุนนางเก่าแก่แต่บิดาไม่ได้มีตำแหน่งสูงนัก เรียกได้ว่าเป็นคนจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งก็คือครอบครัวขุนนางเก่าหรือขุนนางชั้นล่างที่ไม่มีอิทธิพลหรืออำนาจทางการเมือง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนอธิบายถึงหานเหมินไปแล้ว ลองย้อนอ่านทำความเข้าใจได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02irzPP9WVBtk8DXM6MFwphMu3ngFyjoz511zYfX8rWt8zHjHrFvk2ZwRiPXWuVWUal)ในช่วงที่จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน ปฐมกษัตรย์แห่งราชวงศ์จิ้น) เกณฑ์สตรีจากครอบครัวขุนนางระดับกลางถึงระดับบนเข้าวังเป็นนางในเป็นจำนวนมากนั้น น้องสาวของจั่วซือก็ถูกเกณฑ์เข้าวังเป็นสนมเช่นกัน เขาเลยย้ายเข้าเมืองหลวงลั่วหยางพร้อมครอบครัวและพยายามหาหนทางเข้ารับราชการแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และเขาพบว่ามีความฟอนเฟะในระบบราชการไม่น้อย ต่อมาเขาใช้เวลาสิบปีประพันธ์บทความที่เรียกว่า ‘ซานตูฟู่’ (三都赋/บทประพันธ์สามนคร) โดยยกตัวอย่างของแต่ละเมืองในบทความเพื่อสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหารบ้านเมือง ต่อมาบทความนี้ได้รับการยอมรับอย่างมากมายจนในที่สุดจั่วซือได้เข้ารับราชการเป็นบรรณารักษ์แห่งหอพระสมุดว่ากันว่ากวีแปดบทนี้เป็นผลงานช่วงแรกที่เขาเข้ามาลั่วหยางและพบทางตันในการพยายามเป็นขุนนางจนรู้สึกท้อแท้และอัดอั้นตันใจ เป็นชุดบทกวีที่สะท้อนให้เห็นสภาวะทางสังคม อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่และความคับแค้นใจของผู้ที่มาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ในยุคสมัยที่ไม่มีการสอบราชบัณฑิต โดยบทกวีแต่ละบทเป็นการยืมเรื่องในประวัติศาสตร์มาเล่าในเชิงยกย่องสรรเสริญและบทกวีบทที่หกนี้ เป็นการสรรเสริญ ‘จิงเคอ’ ซึ่งก็คือหนึ่งในมือสังหารที่มีชื่อที่สุดของจีน ถูกส่งไปลอบสังหารจิ๋นซีฮ่องเต้ในช่วงก่อนรวบรวมแผ่นดินเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันสำเร็จ (คือต้นแบบของนักฆ่านิรนาม ‘อู๋หมิง’ ในภาพยนต์เรื่อง <Hero> ปี 2002 ของจางอี้โหมวที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ดู) ซึ่งการลอบสังหารนั้นอยู่บนความเชื่อที่ว่ากษัตริย์แคว้นฉิ๋นโหดเหี้ยมบ้าอำนาจคิดกวาดล้างทำลายแคว้นอื่น จะทำให้ผู้คนล้มตายบ้านแตกสาแหรกขาดอีกไม่น้อย บทกวีบทที่หกนี้สรุปใจความได้ประมาณว่า จิงเคอร่ำสุราสำราญใจอย่างไม่แคร์ผู้ใด อุปนิสัยใจกล้าองอาจ เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ไม่อาจมองข้าม แม้ไม่ใช่คนจากสังคมชั้นสูงแต่กลับมีคุณค่ามากมายเพราะสละชีพเพื่อผองชน และในสายตาของจิงเคอแล้วนั้น พวกตระกูลขุนนางชั้นสูงไม่มีคุณค่าใด บทกวีนี้จึงไม่เพียงสรรเสริญจิงเคอหากยังเสียดสีถึงคนจากสังคมชั้นสูงในสมัยนั้นอีกด้วย“ผู้สูงศักดิ์แม้มองตนสูงค่า กลับต่ำต้อยเยี่ยงธุลีดิน คนต่ำต้อยแม้ด้อยค่าตนเอง ทว่าน้ำหนักดุจพันจวิน” วลีสี่วรรคนี้ที่เหยียนซิ่งกล่าวในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉืออย่าได้ท้อใจในอุปสรรคที่ได้พบเจอ เพราะคุณค่าของคนอยู่ที่ตนเอง ไม่ใช่จากพื้นเพชาติตระกูล(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:http://zhld.com/zkwb/html/2017-04/21/content_7602721.htm https://m.guoxuedashi.net/shici/81367k.html https://www.gushiwen.cn/mingju/juv_d4a0651f3a21.aspxhttps://baike.baidu.com/item/左思/582418 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #จั่วซือ #บทกวีจีนโบราณ #จิงเคอ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1038 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1103 Views 0 Reviews
  • หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    หานเหมิน ตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงจำได้ว่ามีช่วงหนึ่งที่พระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่หรือที่เรียกว่า ‘หานเหมิน’ (寒门) จริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่นกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน ไว้ Storyฯ จะทยอยมาเล่าต่อ แต่ที่วันนี้จะคุยกันคือคำว่า ‘หานเหมิน’ นี้ปัจจุบันคำว่า ‘หานเหมิน’ หมายถึงคนที่มีฐานะยากจน (‘หาน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าหนาวมากแต่หมายถึงแร้นแค้นยากจน และ ‘เหมิน’ ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าประตูแต่หมายถึงครอบครัวหรือตระกูล) และในหลายซีรีส์ที่มีการสอบราชบัณฑิตก็ดูจะสะท้อนถึงเหล่าบัณฑิตยากไร้ที่พยายามมาสอบเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเอง Storyฯ ไม่ได้ดูว่าละครซับไทยหรือพากย์ไทยแปลมันไว้ว่าอย่างไร แต่จริงๆ แล้ว ‘หานเหมิน’ ในบริบทจีนโบราณแรกเริ่มเลยไม่ได้หมายถึงคนจน เพราะคำว่า ‘เหมิน’ จะใช้เรียกตระกูลที่มีกำลังทรัพย์และอิทธิพลเท่านั้น ไม่ได้เรียกครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เราลองมาดูกันสักสองตัวอย่างตัวอย่างแรกคือเผยเหวินเซวียน พระเอกจากเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> ที่ถูกองค์หญิงหลี่หรงเรียกว่ามาจากตระกูล ‘หานเหมิน’ ซึ่งพื้นเพของเขาคือ มาจากตระกูลที่ไม่เคยมีรับตำแหน่งสูงเกินขั้นที่ห้า แต่ก็จัดเป็นตระกูลอยู่ดีกินดี (อนึ่ง ตำแหน่งขุนนางในอดีตเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปตามยุคสมัยแต่โดยกรอบใหญ่การแบ่งขุนนางส่วนกลางเป็นเก้าขั้น หรือ ‘จิ๋วผิ่น’ (九品) มีมายาวนานร่วมสองพันปี) จวบจนบิดาได้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่นำพาให้คนในตระกูลมีโอกาสย้ายเข้ามารับราชการอยู่ในเมืองหลวงอีกตัวอย่างหนึ่งคือพานฉือจากเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีรายละเอียดในซีรีส์มากน้อยแค่ไหน แต่ในบทนิยายเดิมพื้นเพของเขาคือมาจากครอบครัวข้าราชการมีหน้ามีตาระดับท้องถิ่น บิดาเป็นผู้บัญชาการทหารระดับสูง จัดเป็นตระกูลที่อยู่ดีกินดี แต่เขาอยากเห็นคนที่ไม่ได้มีอิทธิพลหนุนหลังสามารถฝ่าฟันอุปสรรคเข้าไปสู่ตำแหน่งขุนนางขั้นสูงของส่วนกลางได้โดยผ่านการสอบราชบัณฑิต เขาถูกเรียกว่ามาจาก ‘หานเหมิน’ เช่นกันจากสองตัวอย่างนี้ เพื่อนเพจคงพอเดาได้แล้วว่าความหมายดั้งเดิมของ ‘หานเหมิน’ หมายถึงตระกูลขุนนางที่อิทธิพลเสื่อมถอย ไม่ได้มีอำนาจผงาดอยู่ในราชสำนัก แต่ก็จัดเป็นตระกูลที่มีหน้ามีตาพอประมาณและมีอันจะกินพอที่ลูกหลานจะมีการศึกษาที่ดี ไม่ใช่คนยากจนสิ้นไร้ไม้ตอก หลายครั้งถูกมองว่าเป็นตระกูลขุนนาง 'ชั้นสอง' หรือ Tier 2แล้วตระกูลขุนนาง 'ชั้นหนึ่ง' หรือ Tier 1 คืออะไร? คำตอบคือ ‘สื้อเจีย’ (世家) ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/373292221465743 และ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/378258494302449) ซึ่งโดยสรุปคือหมายถึงตระกูลขุนนางระดับสูงอันเก่าแก่ คนในตระกูลรับตำแหน่งขุนนางระดับสูงถึงสูงที่สุดต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ตระกูลเหล่านี้มีอิทธิพลทางการเมืองสูง (และอิทธิพลทางสังคมด้านอื่นๆ ด้วย) และในสมัยโบราณตระกูลเหล่านี้สามารถยื่นฎีกาเสนอชื่อคนในตระกูลเข้ารับตำแหน่งขุนนางได้เลย ดังนั้นในสายตาของชาวสื้อเจียที่มียศอำนาจสูงมาตลอดแล้วนั้น คนจากหานเหมินจึงต่ำต้อยกว่าเพราะมีเพียงครั้งคราวที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งใหญ่หรืออาจเป็นเพียงตระกูลที่ ‘เคยมี’ การสอบราชบัณฑิตจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้มาจากตระกูลสื้อเจียสามารถเข้ามาช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองได้ผ่านความรู้ความสามารถของตน แต่แน่นอนว่าหนทางนี้ไม่ได้ง่าย อย่างที่เราเห็นในหลายซีรีส์ถึงความพยายามของเหล่ากลุ่มอำนาจที่จะพยายามดำรงไว้ซึ่งอำนาจ และ Storyฯ คิดว่าเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> สะท้อนประเด็นความขัดแย้งนี้ออกมาได้ดีมาก และองค์หญิงหลี่หรงเองเคยถกถึงข้อดีข้อเสียของการรับคนจากสื้อเจียบรรจุเข้าเป็นขุนนางโดยไม่ผ่านการสอบแข่งขันด้วยการสอบราชบัณฑิตได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดในสมัยซ่งและในยุคสมัยนี้เองที่เหล่าสื้อเจียถูกริดรอนอำนาจจนเสื่อมหายไปในที่สุด เมื่อไม่มีสื้อเจียตระกูลขุนนางชั้นหนึ่งก็ไม่มีหานเหมินตระกูลขุนนางชั้นสอง และต่อมาคำว่า ‘หานเหมิน’ จึงถูกใช้เรียกคนยากจนสัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อถึงวลีจีนที่เหยียนซิ่นใช้ปลอบพานฉือที่กล่าวถึงในย่อหน้าแรกค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545https://business.china.com/ent/13004728/20240625/46749263.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/249182333_100121516 https://www.163.com/dy/article/HQT63VVA05561H1M.html https://www.sohu.com/a/576151365_121252035 https://www.lishirenwu.com/jiangxianggushi/58427.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #องค์หญิงใหญ่ #หานเหมิน #สื้อเจีย #ตระกูลขุนนางจีน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1024 Views 0 Reviews
  • ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    ลี่ เสมียนหลวงโบราณวันนี้เรามาคุยกันสั้นๆ ถึงอีกเกร็ดหนึ่งจากซีรีส์เรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ เพื่อนเพจที่ได้ดูแล้วคงจำได้ว่าในตอนปลายของเรื่องนั้น ไต้เท้าฟ่านเสียนได้เดินทางไปซูโจว และเอาเงินและของที่ได้รับกำนัลจากเหล่าขุนนางท้องถิ่นไปบริจาคให้ชาวบ้านที่หนีภัยธรรมชาติมายังซูโจว ในเหตุการณ์นี้ ฟ่านเสียนมอบหมายให้เสมียนหลวงเป็นคนเอาของไปแจกจ่าย คำกล่าวของเขาคือ เสมียนไม่ใช่ขุนนาง จึงมีสถานะห่างจากชาวบ้านธรรมดาน้อยหน่อยเสมียนหลวงหรือที่เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) นี้หากดูจากขอบเขตหน้าที่การทำงานแล้ว คงเปรียบได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญในระบบราชการไทย แต่ ‘ลี่’ นี้ ในระบบข้าราชการของจีนโบราณมีสถานะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย บางสมัยนับเป็นข้าราชการ บางสมัยไม่ใช่ ในเรื่อง <หาญท้าฯ> นี้ ขุนนางเรียกว่า ‘กวน’ (官) ในขณะที่ ‘ลี่’ คือเสมียน แต่จริงๆ แล้วในยุคแรกๆ ทั้งกวนและลี่ล้วนใช้กับข้าราชการเหมือนกันและมักเรียกรวมเป็นกวนลี่ และในเอกสารต่างๆ เรียกขุนนางว่าลี่ โดยหมายรวมถึงขุนนางระดับสูงด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารบันทึกสมัยชุนชิวที่เรียกว่าจั่วจ้วน (左传) มีการกล่าวถึงว่า ข้าหลวงตัวแทนพระองค์มีอำนาจและยศต่ำกว่า ‘ซานลี่’ (ลี่สามตำแหน่ง) ซึ่งหมายถึง ‘ซานกง’ (บางคนแปลว่าสามพระยา บางคนแปลว่าสามมหาเสนา) ซึ่งเป็นขุนนางสูงสุดสามตำแหน่งในสมัยนั้นต่อมาคำว่า ‘ลี่’ ถูกใช้เรียกข้าราชการท้องถิ่นเป็นหลัก ในสมัยฮั่นมีการวางระบบข้าราชการเพิ่มเติมและแยกข้าราชการท้องถิ่นออกเป็นสามระดับคือ กวน จ่างลี่ (长吏) และส้าวลี่ (少吏) และกำหนดเกณฑ์ว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าวสองร้อยต้านคือกวน ต่ำกว่านั้นคือลี่ เห็นได้ว่า แม้ว่าลี่ยังเป็นข้าราชการแต่จัดเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยต่อมาการแบ่งแยกระหว่างกวนและลี่มีมากขึ้นภายใต้ระบบขุนนางเก้าขั้นและเมื่อขุนนางท้องถิ่นถูกลดทอนอำนาจ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการยกเลิกการให้เงินเดือนหลวงกับลี่และจำนวนขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นมีน้อยลง จึงต้องว่าจ้างคนในพื้นที่ทำงาน กลายเป็นว่าลี่คือเสมียนรับจ้างจากข้าราชการอีกที ทำให้ในสมัยถังและซ่ง ลี่ถูกมองว่าเป็นคนชั้นล่าง การแบ่งแยกนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นในสมัยหมิง เมื่อมีการกำหนดว่าผู้ที่ทำหน้าที่เสมียนหลวงห้ามสอบขุนนาง นั่นแปลว่า ‘ลี่’ เข้ารับราชการไม่ได้เลย ดังนั้น จากเดิมที่ลี่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกับกวน ผ่านไปกว่าพันปีกลับกลายเป็นว่า ลี่แม้ทำงานในที่ว่าการท้องถิ่น แต่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มียศขั้น ไม่มีเงินเดือนหลวงประจำตำแหน่งหากแต่ได้รับค่าจ้างตามแต่ข้าราชการท้องถิ่นจะมีงบประมาณว่าจ้าง ในยุคสมัยที่ขุนนางได้รับการยกย่องว่าเป็นชนชั้นสูงมีหน้ามีตาในสังคม จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเช่นในเรื่อง <หาญท้าฯ> ที่มีการดูถูกเสมียนหลวงว่าเป็นคนที่ต่ำต้อย และไม่แปลกว่าทำไมฟ่านเสียนจึงบอกว่า เสมียนหลวงไม่ใช่ข้าราชการและนับว่ามีสถานะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าขุนนางในความเป็นจริง เสมียนหลวงมีความสำคัญไม่น้อยแม้ไม่ได้รับการยกย่องชูเกียรติเหมือนขุนนาง เนื่องเพราะพวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของที่ว่าการท้องถิ่น ดูแลงานต่างๆ ประจำวัน อาจกล่าวได้ว่างานหลายเรื่องจะถูกดองหรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา นอกจากนี้ ขุนนางที่ไปประจำการท้องถิ่นโดยปกติจะมีการโยกย้ายทุกสามปี แต่เสมียนหลวงเป็นชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ต้องถูกโยกย้ายไปประจำการในพื้นที่อื่นและรู้ตื้นลึกหนาบางในพื้นที่ของตนเป็นอย่างดี และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าฯ> จึงมีคนท้วงฟ่านเสียนว่าเหตุใดจึงไม่กลัวว่าเสมียนหลวงจะยักยอกเงิน(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n134541.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ctext.org/chun-qiu-zuo-zhuan/cheng-gong-er-nian/zhs https://web.stanford.edu/~xgzhou/zhou_16_GuanLi_EN.pdfhttps://www.sohu.com/a/574234_109477https://www.sohu.com/a/460112987_120129611 https://www.163.com/dy/article/DAJGGOVH0523F8UN.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ขุนนางจีน #เสมียนหลวง #ลี่ #กวน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 831 Views 0 Reviews
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 859 Views 0 Reviews
More Results