• ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 778 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเก็บมุกในจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ

    การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ

    การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2)

    ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย

    ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป

    แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html
    https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312
    https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf

    #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    การเก็บมุกในจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2) ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/ https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312 https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 582 มุมมอง 0 รีวิว