• โปรดเกล้าฯ สถาปนา "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระชินวรวิสุทธิเทวารยวงศ์" เชิดชูคุณูปการต่อศาสนาและราชอาณาจักร
    https://www.thai-tai.tv/news/20448/
    .
    #สถาปนา #สมเด็จพระมหาสมณเจ้า #กรมพระชินวรวิสุทธิเทวารยวงศ์ #พระสังฆราชเจ้า #พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว #วัดราชบพิธ #พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ #ราชวงศ์ #พระพุทธศาสนา #ประวัติศาสตร์ไทย
    โปรดเกล้าฯ สถาปนา "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระชินวรวิสุทธิเทวารยวงศ์" เชิดชูคุณูปการต่อศาสนาและราชอาณาจักร https://www.thai-tai.tv/news/20448/ . #สถาปนา #สมเด็จพระมหาสมณเจ้า #กรมพระชินวรวิสุทธิเทวารยวงศ์ #พระสังฆราชเจ้า #พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว #วัดราชบพิธ #พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ #ราชวงศ์ #พระพุทธศาสนา #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • “พระยาละแวก” นักตีท้ายครัวในประวัติศาสตร์! ถูกชำระแค้นจนเมืองละแวกหายไปทั้งเมือง!!

    “พระยาละแวก” เป็นคำที่พงศาวดารไทยเรียกกษัตริย์เขมรที่ครองราชย์เมืองละแวก ส่วนใหญ่แล้วเขมรจะตั้งเมืองหลวงอยู่ที่พนมเปญและอุดงมีชัย ในปี ๒๐๔๖ สมเด็จพระศรีสุคนธบท ครองราชย์อยู่เมืองพนมเปญ ถูกกบฏปลงพระชนม์ แต่ นักองค์จัน ผู้เป็นอนุชา หนีมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาและได้กองทัพไทยไปช่วยปราบปรามจนได้ราชสมบัติคืนใน พ.ศ.๒๐๕๙ สถาปนานักองค์จันขึ้นครองราชย์ เป็น พระบรมราชาที่ ๓ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่เมืองละแวก เหนือกรุงพนมเปญขึ้นไป

    ใน พ.ศ.๒๑๐๙ นักพระสัตถา พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ต่อ เป็น พระบรมราชา ที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๑๑๙ ทรงสถาปนา พระราชโองการ พระราชโอรสขึ้นเป็นพระบรมราชาที่ ๕

    จนถึง พ.ศ.๒๑๓๖ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงจัดการกับพม่าเรียบร้อยแล้ว ก็หันมาชำระแค้นกับพระยาละแวกที่แอบเข้ามาตีท้ายครัวมาตลอด เผาเมืองละแวกจนย่อยยับ กลายเป็นแค่อำเภอหนึ่งในจังหวัดกำปงชนังของกัมพูชาขณะนี้

    แม้ไทยจะช่วยกษัตริย์เขมรมาตลอด แต่ความไม่ไว้วางใจและความแค้นฝังใจที่ขอมเคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในย่านนี้มาก่อน แต่ถูกกรุงศรีอยุธยาทำลายจนย่อยยับมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามพระยา ซึ่งเขมรก็ไม่อาจแก้แค้นได้เพราะความเข้มแข็งต่างกันมาก จนเมื่อใดที่ไทยอ่อนแอลง เขมรจึงถือเป็นโอกาส อย่างสมัยที่เสียกรุงครั้งที่ ๑ ถูกพม่ายึดอาวุธไปหมด ผู้คนส่วนใหญ่หนีไปหลบซ่อนอยู่ในป่า ยังไม่ทันกลับเข้าเมือง จึงเป็นโอกาสดีของเขมร ในปี ๒๑๑๓ พระบรมราชาที่ ๔ ได้นำกำลัง ๓๐,๐๐๐ คนมุ่งมาตีกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยเห็นว่าไม่มีกำลังจะสู้เขมรได้ คิดจะถอยขึ้นไปเมืองพิษณุโลก แต่มาทราบว่าเจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนเก่าตั้งกองโจรดักปล้นอยู่กลางทาง จึงต้องตัดสินใจปักหลักสู้พระยาละแวกที่กรุงศรีอยุธยา แต่พอสู้กันจริงๆ กองทัพพระยาละแวกก็แหยงฝีมือไทย ถอยกลับไปโดยกวาดต้อนผู้คนรายทางกลับไปมาก

    ต่อมาอีก ๕ ปี พระบรมราชที่ ๔ เจ้าเก่า ได้ข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชายกกองทัพไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดีตีกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงวัดพนัญเชิง แต่เผอิญสมเด็จพระนเรศวรซึ่งติดตามพระราชบิดาไปทัพด้วย เกิดเป็นไข้ทรพิษกลางทาง พระเจ้าบุเรงนองเลยให้กองทัพไทยกลับมาก่อน มาเจอเอากองทัพของพระยาละแวกแอบเข้ามาตีท้ายครัวเข้าพอดี เลยตีเสียกระเจิง แต่ตอนถอยออกไปพระยาละแวกก็ถือโอกาสขนเอาเทวรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ที่เมืองพระประแดงและกวาดต้อนราษฎรไทยตามหัวเมืองชายทะเลกลับไปอีก

    รุ่งขึ้นอีกปี ใน พ.ศ.๒๑๑๔ พระบรมราชาธิราชที่ ๕ ขึ้นครองราชย์เมืองละแวก ได้ยกกองทัพเรือมีกำลังถึง ๗๐,๐๐๐ คนข้ามทะเลมาตีเมืองเพชรบุรี ล้อมถึง ๓ วันก็ไม่สามารถเข้าเมืองได้ เสียทหารไปเป็นจำนวนมาก พระยาละแวกต้องถอยไปตั้งหลักใหม่ และตัดสินใจเข้าตีอีกครั้ง หากไม่สำเร็จก็จะกลับ แต่การตั้งรับศึกครั้งใหม่แม่ทัพไทยเกิดแตกคอกัน ต่างคนต่างตั้งรับด้านของตัวไม่ยอมประสานกัน พระยาละแวกเลยเข้าเมืองได้ ๓ แม่ทัพไทยที่แตกคอกันเองตายในที่รบ พระยาละแวกกวาดต้อนผู้คนไปอีกมาก

    ต่อมาอีก ๒ ปี เขมรก็เอาอีก เพราะช่วงนั้นไทยยังไม่พ้นความอ่อนแอ พระยาละแวกก็ส่งกองทัพม้าทัพช้าง ๕,๐๐๐ คนมาลาดตระเวนด้านตะวันออกของไทย สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวขณะประทับอยู่เมืองพิษณุโลก รับสั่งให้กองทัพเมืองชัยบุรีและเมืองถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์) ป้องกันด้านในด่านไว้ ส่วนพระองค์นำทหาร ๓,๐๐๐ คนเข้าขับไล่กองทัพพระยาละแวกจนถอยกลับไป
    หลังการประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็ง เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงกรีฑาทัพมาปราบ ก็ต้องแตกพ่ายไป ในปี พ.ศ.๒๑๒๘ พระบรมราชาที่ ๕ ที่แอบเข้ามาตีท้ายครัวเป็นประจำ กลัวว่าจะถูกคิดบัญชีแค้น จึงแต่งราชทูตและถือศุภอักษรเข้ามาขอเป็นไมตรี สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่ากำลังเผชิญหน้าอยู่กับพม่า หากสงบศึกกับเขมรได้ ก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง จึงทรงรับเป็นไมตรี

    เมื่อไทยเกิดศึกกับกรุงหงสาวดีครั้งที่ ๒ พระบรมราชาที่ ๕ ได้ส่งพระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชา คุมกำลังเข้ามาช่วย แต่พระศรีสุพรรณมาธิราชกลับแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง ตอนพระนเรศวรทรงเรือพระที่นั่งกลับมาจากชนะศึกที่เชียงใหม่ ขณะที่ผ่านกองเรือเขมร พระศรีสุพรรณฯก็นั่งอยู่ในเรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ยอมแสดงความเคารพ ทำให้พระองค์ดำทรงพิโรธ รับสั่งให้ตัดศีรษะเชลยศึกที่จับมาไปเสียบไว้ที่กราบเรือพระศรีสุพรรณฯ

    ในปี พ.ศ.๒๑๓๐ ขณะพระเจ้ากรุงหงสาวดีส่งกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอีก พระบรมราชาที่ ๕ ซึ่งเคยส่งกำลังมาช่วย ได้ส่งฟ้าทะละหะนำกำลังเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงส่งพระยาศรีไสยณรงค์กับพระยาสีหราชเดโชชัยยกกองทัพไปป้องกัน พอถึงเมืองนครนายกก็ปะทะกับกองทัพเขมร จึงเข้าตีจนแตกพ่าย และตามตีจนพ้นเขตแดนไทย

    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์แล้ว ศึกทางพม่าว่างเว้น ทรงเห็นว่าจะต้องกำราบเขมรที่คอยตีท้ายครัวให้เข็ดหลาบเสียที ทรงร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถยกกองทัพไป ให้พระราชมนูเป็นกองทัพหน้า พระยาละแวกยกมาสกัดที่เมืองโพธิสัตว์และพระตะบอง พระราชมนูถลำเข้าไปไม่รู้ตัว เลยถูกตีถอยมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธจะให้ประหารชีวิตแม่ทัพเสีย แต่สมเด็จพระเอกาทศรถทูลขอชีวิตให้โอกาสแก้ตัว พระราชมนูจึงกลับไปตีเมืองโพธิสัตว์และพระตะบองได้ กองทัพหลวงเข้าล้อมเมืองละแวก แต่ก็ขาดเสบียงอาหาร จึงต้องยกกลับ

    ในปี พ.ศ.๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกองทัพไปตีเมืองละแวกเป็นครั้งที่ ๒ จับพระยาละแวกได้ แล้วทำพิธีกรรมให้ประหารชีวิตเอาโลหิตล้างพระบาท

    แต่มีบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวว่า พระบรมราชาที่ ๕ ไม่ได้ถูกสมเด็จพระนเรศวรประหาร แต่ได้หนีข้ามแดนไปอยู่ที่เมืองเชียงแตงในลาวพร้อมกับพระราชบุตร ๒ องค์ กองทัพไทยได้เผาเมืองละแวกวอดและกวาดต้อนผู้คนมา ต่อมาพระบรมราชาที่ ๕ พร้อมพระราชบุตรทั้ง ๒ ได้สิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงแตง

    การทำพิธีกรรมเอาโลหิตล้างพระบาท จึงอาจคลาดเคลื่อนมาจากพิธีกรรมอย่างอื่นก็เป็นได้ หรือเป็นรสชาติของประวัติศาสตร์ตามเจตนาของคนบันทึก

    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000124260
    “พระยาละแวก” นักตีท้ายครัวในประวัติศาสตร์! ถูกชำระแค้นจนเมืองละแวกหายไปทั้งเมือง!! “พระยาละแวก” เป็นคำที่พงศาวดารไทยเรียกกษัตริย์เขมรที่ครองราชย์เมืองละแวก ส่วนใหญ่แล้วเขมรจะตั้งเมืองหลวงอยู่ที่พนมเปญและอุดงมีชัย ในปี ๒๐๔๖ สมเด็จพระศรีสุคนธบท ครองราชย์อยู่เมืองพนมเปญ ถูกกบฏปลงพระชนม์ แต่ นักองค์จัน ผู้เป็นอนุชา หนีมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาและได้กองทัพไทยไปช่วยปราบปรามจนได้ราชสมบัติคืนใน พ.ศ.๒๐๕๙ สถาปนานักองค์จันขึ้นครองราชย์ เป็น พระบรมราชาที่ ๓ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่เมืองละแวก เหนือกรุงพนมเปญขึ้นไป ใน พ.ศ.๒๑๐๙ นักพระสัตถา พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ต่อ เป็น พระบรมราชา ที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๑๑๙ ทรงสถาปนา พระราชโองการ พระราชโอรสขึ้นเป็นพระบรมราชาที่ ๕ จนถึง พ.ศ.๒๑๓๖ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงจัดการกับพม่าเรียบร้อยแล้ว ก็หันมาชำระแค้นกับพระยาละแวกที่แอบเข้ามาตีท้ายครัวมาตลอด เผาเมืองละแวกจนย่อยยับ กลายเป็นแค่อำเภอหนึ่งในจังหวัดกำปงชนังของกัมพูชาขณะนี้ แม้ไทยจะช่วยกษัตริย์เขมรมาตลอด แต่ความไม่ไว้วางใจและความแค้นฝังใจที่ขอมเคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในย่านนี้มาก่อน แต่ถูกกรุงศรีอยุธยาทำลายจนย่อยยับมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามพระยา ซึ่งเขมรก็ไม่อาจแก้แค้นได้เพราะความเข้มแข็งต่างกันมาก จนเมื่อใดที่ไทยอ่อนแอลง เขมรจึงถือเป็นโอกาส อย่างสมัยที่เสียกรุงครั้งที่ ๑ ถูกพม่ายึดอาวุธไปหมด ผู้คนส่วนใหญ่หนีไปหลบซ่อนอยู่ในป่า ยังไม่ทันกลับเข้าเมือง จึงเป็นโอกาสดีของเขมร ในปี ๒๑๑๓ พระบรมราชาที่ ๔ ได้นำกำลัง ๓๐,๐๐๐ คนมุ่งมาตีกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยเห็นว่าไม่มีกำลังจะสู้เขมรได้ คิดจะถอยขึ้นไปเมืองพิษณุโลก แต่มาทราบว่าเจ้าเมืองเพชรบูรณ์คนเก่าตั้งกองโจรดักปล้นอยู่กลางทาง จึงต้องตัดสินใจปักหลักสู้พระยาละแวกที่กรุงศรีอยุธยา แต่พอสู้กันจริงๆ กองทัพพระยาละแวกก็แหยงฝีมือไทย ถอยกลับไปโดยกวาดต้อนผู้คนรายทางกลับไปมาก ต่อมาอีก ๕ ปี พระบรมราชที่ ๔ เจ้าเก่า ได้ข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชายกกองทัพไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดีตีกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงวัดพนัญเชิง แต่เผอิญสมเด็จพระนเรศวรซึ่งติดตามพระราชบิดาไปทัพด้วย เกิดเป็นไข้ทรพิษกลางทาง พระเจ้าบุเรงนองเลยให้กองทัพไทยกลับมาก่อน มาเจอเอากองทัพของพระยาละแวกแอบเข้ามาตีท้ายครัวเข้าพอดี เลยตีเสียกระเจิง แต่ตอนถอยออกไปพระยาละแวกก็ถือโอกาสขนเอาเทวรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ที่เมืองพระประแดงและกวาดต้อนราษฎรไทยตามหัวเมืองชายทะเลกลับไปอีก รุ่งขึ้นอีกปี ใน พ.ศ.๒๑๑๔ พระบรมราชาธิราชที่ ๕ ขึ้นครองราชย์เมืองละแวก ได้ยกกองทัพเรือมีกำลังถึง ๗๐,๐๐๐ คนข้ามทะเลมาตีเมืองเพชรบุรี ล้อมถึง ๓ วันก็ไม่สามารถเข้าเมืองได้ เสียทหารไปเป็นจำนวนมาก พระยาละแวกต้องถอยไปตั้งหลักใหม่ และตัดสินใจเข้าตีอีกครั้ง หากไม่สำเร็จก็จะกลับ แต่การตั้งรับศึกครั้งใหม่แม่ทัพไทยเกิดแตกคอกัน ต่างคนต่างตั้งรับด้านของตัวไม่ยอมประสานกัน พระยาละแวกเลยเข้าเมืองได้ ๓ แม่ทัพไทยที่แตกคอกันเองตายในที่รบ พระยาละแวกกวาดต้อนผู้คนไปอีกมาก ต่อมาอีก ๒ ปี เขมรก็เอาอีก เพราะช่วงนั้นไทยยังไม่พ้นความอ่อนแอ พระยาละแวกก็ส่งกองทัพม้าทัพช้าง ๕,๐๐๐ คนมาลาดตระเวนด้านตะวันออกของไทย สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวขณะประทับอยู่เมืองพิษณุโลก รับสั่งให้กองทัพเมืองชัยบุรีและเมืองถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์) ป้องกันด้านในด่านไว้ ส่วนพระองค์นำทหาร ๓,๐๐๐ คนเข้าขับไล่กองทัพพระยาละแวกจนถอยกลับไป หลังการประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับปรุงกองทัพไทยให้เข้มแข็ง เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงกรีฑาทัพมาปราบ ก็ต้องแตกพ่ายไป ในปี พ.ศ.๒๑๒๘ พระบรมราชาที่ ๕ ที่แอบเข้ามาตีท้ายครัวเป็นประจำ กลัวว่าจะถูกคิดบัญชีแค้น จึงแต่งราชทูตและถือศุภอักษรเข้ามาขอเป็นไมตรี สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่ากำลังเผชิญหน้าอยู่กับพม่า หากสงบศึกกับเขมรได้ ก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง จึงทรงรับเป็นไมตรี เมื่อไทยเกิดศึกกับกรุงหงสาวดีครั้งที่ ๒ พระบรมราชาที่ ๕ ได้ส่งพระศรีสุพรรณมาธิราช พระอนุชา คุมกำลังเข้ามาช่วย แต่พระศรีสุพรรณมาธิราชกลับแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง ตอนพระนเรศวรทรงเรือพระที่นั่งกลับมาจากชนะศึกที่เชียงใหม่ ขณะที่ผ่านกองเรือเขมร พระศรีสุพรรณฯก็นั่งอยู่ในเรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ยอมแสดงความเคารพ ทำให้พระองค์ดำทรงพิโรธ รับสั่งให้ตัดศีรษะเชลยศึกที่จับมาไปเสียบไว้ที่กราบเรือพระศรีสุพรรณฯ ในปี พ.ศ.๒๑๓๐ ขณะพระเจ้ากรุงหงสาวดีส่งกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอีก พระบรมราชาที่ ๕ ซึ่งเคยส่งกำลังมาช่วย ได้ส่งฟ้าทะละหะนำกำลังเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงส่งพระยาศรีไสยณรงค์กับพระยาสีหราชเดโชชัยยกกองทัพไปป้องกัน พอถึงเมืองนครนายกก็ปะทะกับกองทัพเขมร จึงเข้าตีจนแตกพ่าย และตามตีจนพ้นเขตแดนไทย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์แล้ว ศึกทางพม่าว่างเว้น ทรงเห็นว่าจะต้องกำราบเขมรที่คอยตีท้ายครัวให้เข็ดหลาบเสียที ทรงร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถยกกองทัพไป ให้พระราชมนูเป็นกองทัพหน้า พระยาละแวกยกมาสกัดที่เมืองโพธิสัตว์และพระตะบอง พระราชมนูถลำเข้าไปไม่รู้ตัว เลยถูกตีถอยมาถึงทัพหลวง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธจะให้ประหารชีวิตแม่ทัพเสีย แต่สมเด็จพระเอกาทศรถทูลขอชีวิตให้โอกาสแก้ตัว พระราชมนูจึงกลับไปตีเมืองโพธิสัตว์และพระตะบองได้ กองทัพหลวงเข้าล้อมเมืองละแวก แต่ก็ขาดเสบียงอาหาร จึงต้องยกกลับ ในปี พ.ศ.๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรทรงนำกองทัพไปตีเมืองละแวกเป็นครั้งที่ ๒ จับพระยาละแวกได้ แล้วทำพิธีกรรมให้ประหารชีวิตเอาโลหิตล้างพระบาท แต่มีบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวว่า พระบรมราชาที่ ๕ ไม่ได้ถูกสมเด็จพระนเรศวรประหาร แต่ได้หนีข้ามแดนไปอยู่ที่เมืองเชียงแตงในลาวพร้อมกับพระราชบุตร ๒ องค์ กองทัพไทยได้เผาเมืองละแวกวอดและกวาดต้อนผู้คนมา ต่อมาพระบรมราชาที่ ๕ พร้อมพระราชบุตรทั้ง ๒ ได้สิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงแตง การทำพิธีกรรมเอาโลหิตล้างพระบาท จึงอาจคลาดเคลื่อนมาจากพิธีกรรมอย่างอื่นก็เป็นได้ หรือเป็นรสชาติของประวัติศาสตร์ตามเจตนาของคนบันทึก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000124260
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ใครสถาปนาอำนาจนอกระบบ ให้ทักษิณเข้ามาสทร.ทางการเมือง

    บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ

    คลิก >> https://mgronline.com/daily/detail/9680000067528
    ใครสถาปนาอำนาจนอกระบบ ให้ทักษิณเข้ามาสทร.ทางการเมือง บทความโดย : สุรวิชช์ วีรวรรณ คลิก >> https://mgronline.com/daily/detail/9680000067528
    MGRONLINE.COM
    ใครสถาปนาอำนาจนอกระบบให้ทักษิณ เข้ามาสทร.ทางการเมือง
    ใครสถาปนาอำนาจนอกระบบให้ทักษิณ เข้ามาสทร.ทางการเมือง
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 92 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 81 รูป
    https://www.thai-tai.tv/news/20298/
    .
    #ราชกิจจานุเบกษา #สมณศักดิ์ #พระภิกษุ #พระราชโองการ #ศาสนาพุทธ #คณะสงฆ์ #ข่าวในพระราชสำนัก
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 81 รูป https://www.thai-tai.tv/news/20298/ . #ราชกิจจานุเบกษา #สมณศักดิ์ #พระภิกษุ #พระราชโองการ #ศาสนาพุทธ #คณะสงฆ์ #ข่าวในพระราชสำนัก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 135 มุมมอง 0 รีวิว
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระ 81 รูป เหตุปรากฏข่าวพระภิกษุประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป และพระราชาคณะกระทำผิดพระธรรมวินัย เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชนได้รับผลกระทบต่อจิตใจเป็นอย่างยิ่ง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000066622

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระ 81 รูป เหตุปรากฏข่าวพระภิกษุประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป และพระราชาคณะกระทำผิดพระธรรมวินัย เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชนได้รับผลกระทบต่อจิตใจเป็นอย่างยิ่ง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000066622 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 427 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 81 รูป ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 28 ก.ค. หลังพบข่าวพระภิกษุประพฤติตนไม่เหมาะสม พระราชาคณะทำผิดพระธรรมวินัย ทำพุทธศาสนิกชนได้รับผลกระทบต่อจิตใจ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000066606

    #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 81 รูป ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 28 ก.ค. หลังพบข่าวพระภิกษุประพฤติตนไม่เหมาะสม พระราชาคณะทำผิดพระธรรมวินัย ทำพุทธศาสนิกชนได้รับผลกระทบต่อจิตใจ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000066606 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 947 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้ยืนยันถึงจุดยืนและหลักการที่ชัดเจนของรัฐบาลกัมพูชาในการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนกับไทย

    ผู้นำกัมพูชาได้กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดศูนย์ฝึกกองราชอาวุธหัถต์ พนมชุม เซน ริกเรย จ.กำปงชนัง ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 32 ปี การสถาปนากองราชอาวุธหัถต์ โดยระบุว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโดยสันติบนพื้นฐานของกฎหมายและกลไกทวิภาคี

    “เรายังคงดำเนินการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนโดยใช้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคภายใต้กฎหมายระดับชาติและระหว่างประเทศ รวมถึงกลไกทวิภาคี ยกเว้นใน 4 พื้นที่อ่อนไหว ที่ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่มอมเบย (สามเหลี่ยมมรกต) เรามุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่กัมพูชาขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองและคุ้มครองอธิปไตยทุกวิถีทาง” ฮุน มาเนต กล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000066126

    #Thaitimes #MGROnline #ฮุนมาเนต #กัมพูชา
    นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา ได้ยืนยันถึงจุดยืนและหลักการที่ชัดเจนของรัฐบาลกัมพูชาในการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนกับไทย • ผู้นำกัมพูชาได้กล่าวปราศรัยในพิธีเปิดศูนย์ฝึกกองราชอาวุธหัถต์ พนมชุม เซน ริกเรย จ.กำปงชนัง ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 32 ปี การสถาปนากองราชอาวุธหัถต์ โดยระบุว่า กัมพูชายังคงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโดยสันติบนพื้นฐานของกฎหมายและกลไกทวิภาคี • “เรายังคงดำเนินการแก้ไขความตึงเครียดชายแดนโดยใช้พื้นฐานทางกฎหมายและเทคนิคภายใต้กฎหมายระดับชาติและระหว่างประเทศ รวมถึงกลไกทวิภาคี ยกเว้นใน 4 พื้นที่อ่อนไหว ที่ประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่มอมเบย (สามเหลี่ยมมรกต) เรามุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่กัมพูชาขอสงวนสิทธิในการป้องกันตนเองและคุ้มครองอธิปไตยทุกวิถีทาง” ฮุน มาเนต กล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/indochina/detail/9680000066126 • #Thaitimes #MGROnline #ฮุนมาเนต #กัมพูชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 257 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!!!
    กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ถอดกลุ่มก่อการร้าย "Nusra Front" ของกลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ฮายัต ตาห์รีร์ อัลชาม (HTS - Hayat Tahrir al-Sham) ออกจากรายชื่อ "องค์กรก่อการร้ายต่างชาติ" (FTO - Foreign Terrorist Organizations) อย่างเป็นทางการแล้ว

    สำหรับกลุ่มก่อการร้าย 'นุสรา ฟรอนต์' (Nusra Front) มี "โมฮัมหมัด อัล-โจลานี" เป็นผู้นำกลุ่ม (ถูกออกหมายจับจากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ และมีรางวัลนำจับสิบล้านดอลลาร์) เป็นหนึ่งในกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นเครือข่ายของ "อัลกออิดะห์" (Al-Qaeda) ในซีเรีย ซึ่งมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองซีเรียมาตลอด

    ช่วงปลายปี 2024 "โจลานี" ผู้นำกลุ่มก่อการร้าย "นุสรา ฟรอนต์" นำกองกำลังโค่นล้ม "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของซีเรียที่นำโดยอดีตประธานาธิบดีอัสซาด และสถาปนาเป็นรัฐอิสลามที่ปกครองโดยกฎหมายชารีอะห์ โดยที่ "โจลานี" แต่งตั้งตนเองเป็นผู้ปกครองซีเรียคนปัจจุบันในขณะนี้

    ที่ผ่านมา อิหร่าน ฮิซบอลเลาะห์ และรัสเซีย พยายามต่อสู้เพื่อปกป้อง "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาดมาโดยตลอด

    เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐและอิสราเอลมีส่วนเกี่ยวข้องในการโค่นล้ม "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาด ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของอิหร่าน สงคราม 12 วัน ระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเป็นข้อบ่งชี้อย่างดี เมื่ออิสราเอลสามารถใช้น่านฟ้าของซีเรียได้อย่างอิสระในการบินไปโจมตีอิหร่าน



    ด่วน!!! กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ถอดกลุ่มก่อการร้าย "Nusra Front" ของกลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ฮายัต ตาห์รีร์ อัลชาม (HTS - Hayat Tahrir al-Sham) ออกจากรายชื่อ "องค์กรก่อการร้ายต่างชาติ" (FTO - Foreign Terrorist Organizations) อย่างเป็นทางการแล้ว 👉สำหรับกลุ่มก่อการร้าย 'นุสรา ฟรอนต์' (Nusra Front) มี "โมฮัมหมัด อัล-โจลานี" เป็นผู้นำกลุ่ม (ถูกออกหมายจับจากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ และมีรางวัลนำจับสิบล้านดอลลาร์) เป็นหนึ่งในกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นเครือข่ายของ "อัลกออิดะห์" (Al-Qaeda) ในซีเรีย ซึ่งมีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองซีเรียมาตลอด 👉ช่วงปลายปี 2024 "โจลานี" ผู้นำกลุ่มก่อการร้าย "นุสรา ฟรอนต์" นำกองกำลังโค่นล้ม "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของซีเรียที่นำโดยอดีตประธานาธิบดีอัสซาด และสถาปนาเป็นรัฐอิสลามที่ปกครองโดยกฎหมายชารีอะห์ โดยที่ "โจลานี" แต่งตั้งตนเองเป็นผู้ปกครองซีเรียคนปัจจุบันในขณะนี้ 👉ที่ผ่านมา อิหร่าน ฮิซบอลเลาะห์ และรัสเซีย พยายามต่อสู้เพื่อปกป้อง "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาดมาโดยตลอด 👉เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐและอิสราเอลมีส่วนเกี่ยวข้องในการโค่นล้ม "รัฐบาลประชาธิปไตย" ของอดีตประธานาธิบดีอัสซาด ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของอิหร่าน สงคราม 12 วัน ระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเป็นข้อบ่งชี้อย่างดี เมื่ออิสราเอลสามารถใช้น่านฟ้าของซีเรียได้อย่างอิสระในการบินไปโจมตีอิหร่าน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โขน ละคร และนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า

    "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
    เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
    กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
    คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป
    อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
    ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
    เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
    สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
    ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
    คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน
    หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
    ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
    เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
    ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
    ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง
    เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
    ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
    ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป
    มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
    สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย…

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
    หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
    18 ตุลาคม 2502

    สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”

    ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือในหลวงรัชกาลที่ 10 (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน

    กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โขน ละคร และนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้ ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่ คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น? ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา? เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้ สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย… ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 18 ตุลาคม 2502 สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี” ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือในหลวงรัชกาลที่ 10 (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจ้าชาย เรซา ปาห์ลาวี โอรสของพระเจ้าชาห์ที่สองของอิหร่าน ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐกล่าวแสดงความยินดีและพึงพอใจเกี่ยวกับข้อความของทรัมป์ที่แสดงความเห็นว่าถึงเวลาที่อิหร่านต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่

    ที่ผ่านมาเจ้าชาย เรซา ปาห์ลาวี มักจะแสดงความเห็นโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของคาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านมาตลอด โดยต้องการให้อิหร่านเปลี่ยนเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยแห่งชาติแทน

    ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2496 อังกฤษและสหรัฐฯวางแผนรัฐประหารในอิหร่านจนสำเร็จ และช่วยผลักดันให้ราชวงศ์ปาห์ลาวีขึ้นปกครองประเทศอิหร่าน หลังจากนั้นอิหร่านจึงกลายเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกและปล่อยให้อิทธิพลของต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงหาผลประโยชน์จากน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดของชาติ

    ต่อมาในปีพ.ศ.2522 ซึ่งเป็นยุคการปกครองของในสมัยของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์ปาห์ลาวี และเป็นพระราชบิดาของเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี (ที่กำลังลี้ภัยอยู่ในสหรัฐขณะนี้) เกิดการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มการปกครอง และมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2522 โดยอยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี
    เจ้าชาย เรซา ปาห์ลาวี โอรสของพระเจ้าชาห์ที่สองของอิหร่าน ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐกล่าวแสดงความยินดีและพึงพอใจเกี่ยวกับข้อความของทรัมป์ที่แสดงความเห็นว่าถึงเวลาที่อิหร่านต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ ที่ผ่านมาเจ้าชาย เรซา ปาห์ลาวี มักจะแสดงความเห็นโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของคาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านมาตลอด โดยต้องการให้อิหร่านเปลี่ยนเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยแห่งชาติแทน ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2496 อังกฤษและสหรัฐฯวางแผนรัฐประหารในอิหร่านจนสำเร็จ และช่วยผลักดันให้ราชวงศ์ปาห์ลาวีขึ้นปกครองประเทศอิหร่าน หลังจากนั้นอิหร่านจึงกลายเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกและปล่อยให้อิทธิพลของต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงหาผลประโยชน์จากน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดของชาติ ต่อมาในปีพ.ศ.2522 ซึ่งเป็นยุคการปกครองของในสมัยของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์ปาห์ลาวี และเป็นพระราชบิดาของเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี (ที่กำลังลี้ภัยอยู่ในสหรัฐขณะนี้) เกิดการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มการปกครอง และมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2522 โดยอยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 290 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหร่านเป็นประเทศแรกที่ให้การยอมรับปากีสถานในปี 2490 (1947)

    อิหร่านและปากีสถานสถาปนาความสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 1947 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราชของปากีสถาน โดยอิหร่านเป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองปากีสถาน
    อิหร่านเป็นประเทศแรกที่ให้การยอมรับปากีสถานในปี 2490 (1947) อิหร่านและปากีสถานสถาปนาความสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 1947 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราชของปากีสถาน โดยอิหร่านเป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองปากีสถาน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟท. ร่วมยินดีวันสถาปนา 64 ปี สถาบันการบินพลเรือน มอบเงินสมทบทุนเพื่อสาธารณกุศล
    https://www.thai-tai.tv/news/19177/
    รฟท. ร่วมยินดีวันสถาปนา 64 ปี สถาบันการบินพลเรือน มอบเงินสมทบทุนเพื่อสาธารณกุศล https://www.thai-tai.tv/news/19177/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 71 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานพิธีวันสถาปนา กรมทหารราบที่ 3 ครบรอบปีที่ 131
    .
    พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพางค์พรรณ พาดกลาง ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 2 เดินทางไปเป็นประธานในพิธีวันสถาปนา กรมทหารราบที่ 3 ครบรอบปีที่ 131 ณ กรมทหารราบที่ 3 ค่ายกฤษณ์สีวะรา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมี คณะนายทหารสัญญาบัตรในพื้นที่ กำลังพล, แม่บ้าน และข้าราชการพลเรือน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี
    .
    โดยทางหน่วยได้จัดพิธีบวงสรวง พระบรมรูป รัชกาลที่ 5, พิธีพิธีเจริญพระพุทธมนต์, การทำบุญอุทิศให้แก่วีรชนอดีตผู้กล้าที่เสียสละชีวิตในการปฏิบัติภารกิจ อีกทั้งได้มอบสิ่งของเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้กับกำลังพล โดยมีอดีตผู้บังคับบัญชา อดีตข้าราชการในสังกัด พร้อมครอบครัว รวมถึงส่วนราชการภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน
    #กรมทหารราบที่3
    #กองทัพภาคที่2
    แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานพิธีวันสถาปนา กรมทหารราบที่ 3 ครบรอบปีที่ 131 . พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพางค์พรรณ พาดกลาง ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 2 เดินทางไปเป็นประธานในพิธีวันสถาปนา กรมทหารราบที่ 3 ครบรอบปีที่ 131 ณ กรมทหารราบที่ 3 ค่ายกฤษณ์สีวะรา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมี คณะนายทหารสัญญาบัตรในพื้นที่ กำลังพล, แม่บ้าน และข้าราชการพลเรือน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี . โดยทางหน่วยได้จัดพิธีบวงสรวง พระบรมรูป รัชกาลที่ 5, พิธีพิธีเจริญพระพุทธมนต์, การทำบุญอุทิศให้แก่วีรชนอดีตผู้กล้าที่เสียสละชีวิตในการปฏิบัติภารกิจ อีกทั้งได้มอบสิ่งของเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้กับกำลังพล โดยมีอดีตผู้บังคับบัญชา อดีตข้าราชการในสังกัด พร้อมครอบครัว รวมถึงส่วนราชการภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน #กรมทหารราบที่3 #กองทัพภาคที่2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ร่วมยินดีวันสถาปนากรมการขนส่งทางราง ครบรอบ 6 ปี
    https://www.thai-tai.tv/news/18833/
    แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ร่วมยินดีวันสถาปนากรมการขนส่งทางราง ครบรอบ 6 ปี https://www.thai-tai.tv/news/18833/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระนารายณ์คลึงจักร รุ่นธรรมะเศรษฐี มณฑลทหารบกที่41 จ.นครศรีธรรมราช
    พระนารายณ์คลึงจักร รุ่นธรรมะเศรษฐี ( ตอกโค้ดดอกจัน ) มณฑลทหารบกที่41 จ.นครศรีธรรมราช // พระดีพิธีใหญ๋ ที่ระลึกวันสถาปนาศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 //พระสถาพสวย พระสถาพเดิมๆ ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ เมตตา มหานิยม โชคลาภ โภคทรัพย์ มหาอำนาจ คลาดแคล้ว คงกระพัน คุ้มครองป้องกันภัย เป็นสิริมงคล >>

    ** พระสถาพสวย พระสถาพเดิมๆ ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    พระนารายณ์คลึงจักร รุ่นธรรมะเศรษฐี มณฑลทหารบกที่41 จ.นครศรีธรรมราช พระนารายณ์คลึงจักร รุ่นธรรมะเศรษฐี ( ตอกโค้ดดอกจัน ) มณฑลทหารบกที่41 จ.นครศรีธรรมราช // พระดีพิธีใหญ๋ ที่ระลึกวันสถาปนาศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 //พระสถาพสวย พระสถาพเดิมๆ ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ เมตตา มหานิยม โชคลาภ โภคทรัพย์ มหาอำนาจ คลาดแคล้ว คงกระพัน คุ้มครองป้องกันภัย เป็นสิริมงคล >> ** พระสถาพสวย พระสถาพเดิมๆ ผิวหิ้ง หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 230 มุมมอง 0 รีวิว
  • 258 ปี สิ้น “ขุนหลวงขี้เรื้อน” จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชบัลลังก์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และชะตากรรมที่โลกไม่ลืม

    เส้นทางชีวิตของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับบทสรุปแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้ที่ถูกเรียกขานว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน”

    ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก การสิ้นสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผ่านพระเจ้าเอกทัศ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม “ขุนหลวงขี้เรื้อน” กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับเรื่องราวชีวิตที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โรคร้าย และโศกนาฏกรรมแห่งชาติ

    ประวัติศาสตร์ไม่เคยหลับใหล 258 ปี ผ่านไป นับแต่วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่สอง ชาติไทยได้สูญเสียสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ นั่นคือเอกราชแห่งแผ่นดิน และราชวงศ์ที่ปกครองสืบเนื่อง มายาวนานกว่า 400 ปี

    หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในห้วงเวลานี้คือ “พระเจ้าเอกทัศ” หรือที่ราษฎรทั่วไปเรียกว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” ชื่อที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวด เย้ยหยัน และประวัติศาสตร์ที่แสนซับซ้อน ของกษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้สิ้นราชย์ ในห้วงยามแห่งความล่มสลายของชาติ

    กษัตริย์ที่ราชบัลลังก์ไม่เคยพร้อมให้ครอง "พระเจ้าเอกทัศ" หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงมีพระนามหลากหลาย ทั้ง "พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์" และ "ขุนหลวงขี้เรื้อน" ซึ่งเป็นคำเรียกขานโดยราษฎร เนื่องจากพระองค์มีอาการประชวร ด้วยโรคผิวหนัง ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคเรื้อน หรือกลากเกลื้อนเรื้อรัง

    จุดเริ่มต้นของการขึ้นครองราชย์ หลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชทายาทที่เหมาะสมตามสายพระโลหิตคือ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” แต่ด้วยแรงปรารถนาจะขึ้นครองราชย์อย่างแรงกล้า เจ้าฟ้าเอกทัศซึ่งเป็นเชษฐา ได้เสด็จกลับจากการผนวช และปรี่ขึ้นประทับบนพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ดั่งการตีตราจองราชบัลลังก์ ไว้ด้วยพระองค์เอง

    เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงสละราชสมบัติให้ หลังครองราชย์เพียง 10 วัน แล้วเสด็จออกผนวชเป็น “ขุนหลวงหาวัด” หวังหลีกเร้นจากวังวนอำนาจ

    สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของขุนหลวงขี้เรื้อน

    หลักฐานไทย บันทึกของฝ่ายไทยกล่าวว่า พระองค์หนีภัยสงครามไปหลบซ่อนที่บ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส และสิ้นพระชนม์เพราะอดพระกระยาหารนานเกิน 10 วัน

    พงศาวดารพม่า กล่าวว่าพระองค์ถูกยิงเสียชีวิต ขณะหลบหนีระหว่างกรุงแตก บริเวณประตูท้ายวัง

    คำให้การของฝรั่ง "แอนโทนี โกยาตัน" บันทึกว่า พระเจ้าเอกทัศถูกปลงพระชนม์โดยชาวสยาม หรืออาจทรงวางยาพิษพระองค์เอง

    พระศพและพิธีพระเพลิง นายทองสุกนำพระบรมศพ ไปฝังที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ก่อนจะถูกอัญเชิญถวายพระเพลิง ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

    ขุนหลวงหาวัด กับขุนหลวงขี้เรื้อน

    "พระเจ้าอุทุมพร" กษัตริย์ผู้สละบัลลังก์เพื่อความสงบ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท แต่เลือกสละราชสมบัติ เพื่อความสงบภายใน พระองค์จึงกลายเป็น "ขุนหลวงหาวัด" ผู้ปลีกวิเวกที่พระตำหนักคำหยาด จังหวัดอ่างทอง

    "พระเจ้าเอกทัศ" กษัตริย์ผู้ไม่ยอมเสียราชบัลลังก์ ตรงกันข้าม พระเจ้าเอกทัศมีความกระหายอำนาจ แม้จะมีข้อจำกัดจากพระวรกาย ทรงใช้บัลลังก์เป็นตราจองอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อบ้านเมือง

    "ขุนหลวงขี้เรื้อน" เป็นโรคเรื้อนจริงหรือแค่คำเล่าลือ?

    หลักฐานจากตะวันตก ฝรั่งเศส "สังฆราชปีแยร์ บรีโกต์" ระบุว่า พระองค์มีอาการของโรคเรื้อน และไม่ทรงปรากฏพระวรกายต่อผู้ใด ส่วนดัตช์รายงานของ "นิโกลาส บัง" ใช้คำว่า "ลาซารัส" อันเป็นคำเปรียบเทียบถึงโรคเรื้อน

    แต่...โรคเรื้อนห้ามบวช! พระวินัยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนห้ามบวช ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลที่ว่า พระเจ้าเอกทัศเคยออกผนวช จึงอาจหมายถึงโรคผิวหนังอื่น ที่คล้ายคลึงกัน เช่น กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง

    ความขัดแย้งในแผ่นดิน การแตกความสามัคคีในยุคปลายอยุธยา ขุนนางฉ้อฉล ข่มเหงประชาชน พระเจ้าเอกทัศไม่แสดงพระองค์แก่ประชาชน ฝ่ายในมีอำนาจครอบงำการเมือง ราษฎรถูกรีดไถ จนหมดศรัทธา

    ถึงแม้จะมีหลักฐาน ที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระองค์ ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แต่ภาพรวมกลับเป็นลบ ต่อสายตาประวัติศาสตร์

    คำให้การจากผู้ถูกกวาดต้อน มุมมองที่แตกต่าง ใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" พระเจ้าเอกทัศกลับถูกยกย่องว่า

    “...ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง”

    คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ยังเสริมว่า พระองค์มีศีลธรรม ทศพิธราชธรรม และทำนุบำรุงบ้านเมือง พัฒนามาตราฐานตวงวัด และยกเลิกภาษี 3 ปี

    จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง และบทเรียนจากความล่มสลาย พระเจ้าเอกทัศถูกมองว่า เป็นต้นเหตุการเสียกรุง ทั้งจากราษฎรไทยในสมัยธนบุรี ไปจนถึงกษัตริย์ยุคต่อมา เช่น รัชกาลที่ 5 ที่ทรงกลัวจะถูกกล่าวขานในแบบเดียวกัน

    ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่แค่การจดจำบุคคล แต่เป็นกระจกสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคที่ความมั่นคง พังทลายด้วยความทะยานอยากของอำนาจ

    กษัตริย์ผู้ถูกลืม หรือถูกจำในมุมผิด? “ขุนหลวงขี้เรื้อน” อาจเป็นเพียงนามที่ประชาชนผู้สิ้นศรัทธา ใช้เรียกผู้มีอำนาจที่ไร้ความสามารถ แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระเจ้าเอกทัศอาจเป็นเพียงเหยื่อของช่วงเวลา แรงกดดัน และความไม่พร้อมของแผ่นดิน

    เรื่องราวของพระองค์ จึงไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของความพ่ายแพ้ แต่คือบทเรียนของการเมืองไทย ที่วนเวียนไม่รู้จบ

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171927 เม.ย. 2568

    #ขุนหลวงขี้เรื้อน #กรุงศรีอยุธยา #ประวัติศาสตร์ไทย #พระเจ้าเอกทัศ #ราชวงศ์บ้านพลูหลวง #ขุนหลวงหาวัด #คำให้การชาวกรุงเก่า #กษัตริย์ไทย #โบราณสถาน #พระตำหนักคำหยาด
    258 ปี สิ้น “ขุนหลวงขี้เรื้อน” จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง 👑 ราชบัลลังก์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และชะตากรรมที่โลกไม่ลืม เส้นทางชีวิตของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับบทสรุปแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้ที่ถูกเรียกขานว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” 📜 ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก การสิ้นสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผ่านพระเจ้าเอกทัศ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม “ขุนหลวงขี้เรื้อน” กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา กับเรื่องราวชีวิตที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โรคร้าย และโศกนาฏกรรมแห่งชาติ 🇹🇭📖 🕰️ ประวัติศาสตร์ไม่เคยหลับใหล 🕰️ 258 ปี ผ่านไป นับแต่วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2310 เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่สอง ชาติไทยได้สูญเสียสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ นั่นคือเอกราชแห่งแผ่นดิน และราชวงศ์ที่ปกครองสืบเนื่อง มายาวนานกว่า 400 ปี หนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในห้วงเวลานี้คือ “พระเจ้าเอกทัศ” หรือที่ราษฎรทั่วไปเรียกว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน” ชื่อที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวด เย้ยหยัน และประวัติศาสตร์ที่แสนซับซ้อน ของกษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ผู้สิ้นราชย์ ในห้วงยามแห่งความล่มสลายของชาติ 💔 👑กษัตริย์ที่ราชบัลลังก์ไม่เคยพร้อมให้ครอง "พระเจ้าเอกทัศ" หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ทรงมีพระนามหลากหลาย ทั้ง "พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์" และ "ขุนหลวงขี้เรื้อน" ซึ่งเป็นคำเรียกขานโดยราษฎร เนื่องจากพระองค์มีอาการประชวร ด้วยโรคผิวหนัง ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคเรื้อน หรือกลากเกลื้อนเรื้อรัง 🩺 จุดเริ่มต้นของการขึ้นครองราชย์ หลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชทายาทที่เหมาะสมตามสายพระโลหิตคือ “เจ้าฟ้าอุทุมพร” แต่ด้วยแรงปรารถนาจะขึ้นครองราชย์อย่างแรงกล้า เจ้าฟ้าเอกทัศซึ่งเป็นเชษฐา ได้เสด็จกลับจากการผนวช และปรี่ขึ้นประทับบนพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ดั่งการตีตราจองราชบัลลังก์ ไว้ด้วยพระองค์เอง 🤴 เจ้าฟ้าอุทุมพรจึงสละราชสมบัติให้ หลังครองราชย์เพียง 10 วัน แล้วเสด็จออกผนวชเป็น “ขุนหลวงหาวัด” หวังหลีกเร้นจากวังวนอำนาจ 👣 สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของขุนหลวงขี้เรื้อน ☠️ หลักฐานไทย บันทึกของฝ่ายไทยกล่าวว่า พระองค์หนีภัยสงครามไปหลบซ่อนที่บ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส และสิ้นพระชนม์เพราะอดพระกระยาหารนานเกิน 10 วัน พงศาวดารพม่า 🐘 กล่าวว่าพระองค์ถูกยิงเสียชีวิต ขณะหลบหนีระหว่างกรุงแตก บริเวณประตูท้ายวัง คำให้การของฝรั่ง "แอนโทนี โกยาตัน" บันทึกว่า พระเจ้าเอกทัศถูกปลงพระชนม์โดยชาวสยาม หรืออาจทรงวางยาพิษพระองค์เอง 🧪 พระศพและพิธีพระเพลิง นายทองสุกนำพระบรมศพ ไปฝังที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ก่อนจะถูกอัญเชิญถวายพระเพลิง ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 😇 ขุนหลวงหาวัด กับขุนหลวงขี้เรื้อน 😈 "พระเจ้าอุทุมพร" กษัตริย์ผู้สละบัลลังก์เพื่อความสงบ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท แต่เลือกสละราชสมบัติ เพื่อความสงบภายใน พระองค์จึงกลายเป็น "ขุนหลวงหาวัด" ผู้ปลีกวิเวกที่พระตำหนักคำหยาด จังหวัดอ่างทอง 🏯 "พระเจ้าเอกทัศ" กษัตริย์ผู้ไม่ยอมเสียราชบัลลังก์ ตรงกันข้าม พระเจ้าเอกทัศมีความกระหายอำนาจ แม้จะมีข้อจำกัดจากพระวรกาย ทรงใช้บัลลังก์เป็นตราจองอำนาจ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อบ้านเมือง "ขุนหลวงขี้เรื้อน" เป็นโรคเรื้อนจริงหรือแค่คำเล่าลือ? 🧬 หลักฐานจากตะวันตก ฝรั่งเศส "สังฆราชปีแยร์ บรีโกต์" ระบุว่า พระองค์มีอาการของโรคเรื้อน และไม่ทรงปรากฏพระวรกายต่อผู้ใด ส่วนดัตช์รายงานของ "นิโกลาส บัง" ใช้คำว่า "ลาซารัส" อันเป็นคำเปรียบเทียบถึงโรคเรื้อน แต่...โรคเรื้อนห้ามบวช! พระวินัยระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคเรื้อนห้ามบวช ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลที่ว่า พระเจ้าเอกทัศเคยออกผนวช จึงอาจหมายถึงโรคผิวหนังอื่น ที่คล้ายคลึงกัน เช่น กลากเกลื้อน หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง 😕 ความขัดแย้งในแผ่นดิน การแตกความสามัคคีในยุคปลายอยุธยา ⚔️ ขุนนางฉ้อฉล ข่มเหงประชาชน พระเจ้าเอกทัศไม่แสดงพระองค์แก่ประชาชน ฝ่ายในมีอำนาจครอบงำการเมือง ราษฎรถูกรีดไถ จนหมดศรัทธา ถึงแม้จะมีหลักฐาน ที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระองค์ ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม แต่ภาพรวมกลับเป็นลบ ต่อสายตาประวัติศาสตร์ 📖 คำให้การจากผู้ถูกกวาดต้อน มุมมองที่แตกต่าง ใน "คำให้การของชาวกรุงเก่า" พระเจ้าเอกทัศกลับถูกยกย่องว่า “...ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง” คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ยังเสริมว่า พระองค์มีศีลธรรม ทศพิธราชธรรม และทำนุบำรุงบ้านเมือง พัฒนามาตราฐานตวงวัด และยกเลิกภาษี 3 ปี 🎯 🏚️ จุดจบราชวงศ์บ้านพลูหลวง และบทเรียนจากความล่มสลาย พระเจ้าเอกทัศถูกมองว่า เป็นต้นเหตุการเสียกรุง ทั้งจากราษฎรไทยในสมัยธนบุรี ไปจนถึงกษัตริย์ยุคต่อมา เช่น รัชกาลที่ 5 ที่ทรงกลัวจะถูกกล่าวขานในแบบเดียวกัน ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่แค่การจดจำบุคคล แต่เป็นกระจกสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และการเมืองในยุคที่ความมั่นคง พังทลายด้วยความทะยานอยากของอำนาจ ⚖️ 🕯️ กษัตริย์ผู้ถูกลืม หรือถูกจำในมุมผิด? “ขุนหลวงขี้เรื้อน” อาจเป็นเพียงนามที่ประชาชนผู้สิ้นศรัทธา ใช้เรียกผู้มีอำนาจที่ไร้ความสามารถ แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระเจ้าเอกทัศอาจเป็นเพียงเหยื่อของช่วงเวลา แรงกดดัน และความไม่พร้อมของแผ่นดิน เรื่องราวของพระองค์ จึงไม่ใช่แค่ประวัติศาสตร์ของความพ่ายแพ้ แต่คือบทเรียนของการเมืองไทย ที่วนเวียนไม่รู้จบ 🌪️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171927 เม.ย. 2568 📢 #ขุนหลวงขี้เรื้อน #กรุงศรีอยุธยา #ประวัติศาสตร์ไทย #พระเจ้าเอกทัศ #ราชวงศ์บ้านพลูหลวง #ขุนหลวงหาวัด #คำให้การชาวกรุงเก่า #กษัตริย์ไทย #โบราณสถาน #พระตำหนักคำหยาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 979 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญสมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณสิริ
    เหรียญสมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณสิริ หลังเรียบ เนื้อทองแดง // พระสถาพสวย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดปลอดภัย เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ ป้องกันภัยอันตรายจากศาสตราวุธทั้งหลาย อยู่ยงคงกระพัน เสริมลาภทรัพย์ให้เพิ่มพูน เจรจาธุรกิจก็จะสำเร็จ ป้องกันคุณไสย มีอำนาจ บารมี >>

    ** สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม ปุ่น สุขเจริญ ฉายา ปุณฺณสิริ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บริหารการคณะสงฆ์ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ วัดโสธรวราราม และในตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ตามประกาสสถาปนาสมณศักดิ์นั้นแล้ว นอกจากนี้ยังวิตกถึงวัดที่เป็นพระอารามหลวง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก ปรารภในที่ประชุมพระสังฆาธิการของกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์จะให้วัดเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น สร้างกำแพงหรือรั้วกั้นเขตวัด เมื่อทุเลาจากการประชวรคราวแรก ได้เสด็จไปตรวจเยี่ยมวัดราชโอรสาราม และวัดชัยพฤกษมาลา ที่ได้ตั้งพระเถระไปเป็นเจ้าอาวาส ในขณะประชวรก็ยังมีพระบัญชาให้พระเถระผู้ใหญ่ออกตรวจเยี่ยมวัดแทนพระองค์ >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เหรียญสมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณสิริ เหรียญสมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณสิริ หลังเรียบ เนื้อทองแดง // พระสถาพสวย พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดปลอดภัย เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การเงิน โชคลาภค้าขาย เรียกทรัพย์ ป้องกันภัยอันตรายจากศาสตราวุธทั้งหลาย อยู่ยงคงกระพัน เสริมลาภทรัพย์ให้เพิ่มพูน เจรจาธุรกิจก็จะสำเร็จ ป้องกันคุณไสย มีอำนาจ บารมี >> ** สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม ปุ่น สุขเจริญ ฉายา ปุณฺณสิริ เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บริหารการคณะสงฆ์ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ วัดโสธรวราราม และในตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ตามประกาสสถาปนาสมณศักดิ์นั้นแล้ว นอกจากนี้ยังวิตกถึงวัดที่เป็นพระอารามหลวง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก ปรารภในที่ประชุมพระสังฆาธิการของกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์จะให้วัดเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น สร้างกำแพงหรือรั้วกั้นเขตวัด เมื่อทุเลาจากการประชวรคราวแรก ได้เสด็จไปตรวจเยี่ยมวัดราชโอรสาราม และวัดชัยพฤกษมาลา ที่ได้ตั้งพระเถระไปเป็นเจ้าอาวาส ในขณะประชวรก็ยังมีพระบัญชาให้พระเถระผู้ใหญ่ออกตรวจเยี่ยมวัดแทนพระองค์ >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 389 มุมมอง 0 รีวิว
  • 243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา

    เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย

    "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่?

    243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง

    ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์

    "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี

    จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง

    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน

    หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี”

    พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม

    ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ

    ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก

    ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา

    รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

    จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด

    ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325

    พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี

    แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน...

    พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน

    1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ

    2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี

    3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย”

    4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย

    เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น”

    จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ

    ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

    พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ

    มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน

    วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน

    ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่?

    พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย”

    มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์

    จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก

    แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568

    #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    243 ปี สำเร็จโทษ “พระเจ้าตาก” กษัตริย์ผู้กอบกู้ นักรบผู้เดียวดาย สู่ตำนานมหาราช เบื้องหลังความจริงของวันประหาร ที่ยังเป็นปริศนา 📌 เรื่องราวสุดลึกซึ้งของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราช สู่ฉากอวสานที่ยังคลุมเครือ หลังผ่านมา 243 ปี ความจริงของวันสำเร็จโทษ ยังรอการค้นหา ข้อเท็จจริงและปริศนา ที่ยังรอการคลี่คลาย ✨ 🔥 "พระเจ้าตาก" ตำนานนักรบผู้เดียวดาย ที่ยังไม่ถูกลืม วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 วันนั้นไม่ใช่เพียงการเริ่มต้นราชวงศ์จักรีเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” หรือ “พระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จสวรรคตอย่างเป็นทางการ... หรืออาจจะไม่? 243 ปี ผ่านไป เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียง 😢 ทั้งในแวดวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ และสังคมไทยโดยรวม เพราะแม้จะได้รับการยกย่อง ให้เป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติ แต่จุดจบของพระองค์ กลับเต็มไปด้วยข้อสงสัย ความคลุมเครือ และคำถามที่ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างแท้จริง ย้อนเวลากลับไปสำรวจเรื่องราวของ "พระเจ้าตากสิน" ตั้งแต่วีรกรรมกู้ชาติ ไปจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิต เพื่อค้นหาความจริง และความหมายที่ซ่อนอยู่ในตำนานของพระองค์ 👑 "พระเจ้าตากสิน" กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี 🌊 จากนายทหาร สู่กษัตริย์ผู้กอบกู้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" เป็นบุตรของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยทรงเข้ารับราชการในสมัย "สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์" รัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 พระยาตากคือผู้นำที่ยืนหยัด และฝ่าทัพพม่าออกไปตั้งหลักที่จันทบุรี 🐎 พร้อมกับรวบรวมผู้คนและกำลังพล จนสามารถกลับมากู้ชาติ และยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ได้ภายในเวลาเพียง 7 เดือน ✨ หลังจากนั้น ทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนา “อาณาจักรธนบุรี” 🏰 🌟 พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ "พระเจ้าตากสิน" มิได้เป็นเพียงนักรบ แต่ทรงเป็นนักปกครอง ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พระองค์ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังสงคราม อย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรม 🎨📚 🔸 ส่งเสริมการค้ากับจีนและต่างประเทศ 🔸 ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยให้มีการอุปสมบทพระสงฆ์ใหม่จำนวนมาก 🔸 ส่งเสริมวรรณกรรม และการศึกษา 🔸 รวบรวมดินแดนที่แตกแยก กลับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์ยังได้รับ การถวายพระราชสมัญญานามว่า “มหาราช” โดยรัฐบาลไทยได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 💖 ⚔️ จุดจบที่เป็นปริศนา วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสิน แม้พระองค์จะทรงกู้ชาติ และสร้างบ้านแปงเมือง แต่พระเจ้าตากก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายใน และการทรยศจากผู้ใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อการกบฏ อ้างว่าพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ยกทัพกลับจากเขมรเข้ากรุงธนบุรี และสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินโดยการ “ตัดศีรษะ” ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2325 👑 🕯️ พระชนมพรรษา 48 ปี ครองราชย์รวม 15 ปี แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? หลักฐานและคำบอกเล่าต่างๆ กลับชี้ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน... 📚 พงศาวดาร หลากหลายข้อสันนิษฐาน 1️⃣ ฉบับพระราชหัตถเลขา ประหารโดยตัดศีรษะ เล่าว่า... พระเจ้าตากถูกตัดศีรษะโดยเพชฌฆาต ไม่มีการใช้คำว่า “สวรรคต” แต่ใช้คำว่า “ถึงแก่พิราลัย” แสดงว่าอาจถูกริดรอนพระยศ ก่อนที่สำเร็จโทษ 2️⃣ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ม็อบพาไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง ระบุว่า... “ทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้น นำเอาพระเจ้าแผ่นดินไปสำเร็จ ณ ป้อมท้ายเมือง” โดยไม่ระบุวิธี 3️⃣ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ชนหมู่มากฆ่าพระองค์ กล่าวว่า... “ชนทั้งหลายมีความโกรธ ชวนกันกำจัดเสียจากราชสมบัติ แล้วพิฆาฎฆ่าเสีย” 4️⃣ พระยาทัศดาจัตุรงค์ หัวใจวายเฉียบพลัน เขียนว่า... “เกิดวิกลดลจิตประจุบัน ท้าวดับชีวัน” ซึ่งแปลว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการหัวใจวาย 🕵️‍♂️ เรื่องเล่าหลัง 2475 สร้างตำนานใหม่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เรื่องราวของพระเจ้าตาก ถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบใหม่ โดยเน้นไปที่... การเป็นวีรกษัตริย์ของประชาชน อาทิ วรรณกรรมเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน” ของภิกษุณีโพธิสัตว์ "วรมัย กบิลสิงห์" ซึ่งอ้างว่า “พระองค์ไม่ถูกประหาร แต่สับเปลี่ยนตัวกับนายมั่น” 🔍 จุดมุ่งหมายคือ การสร้างความรู้สึกร่วมของคนไทย สร้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และเน้นความสามัคคีแห่งชาติ 🇹🇭 🧠 ข้อวิเคราะห์ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ❓ พระเจ้าตากเสียสติจริงหรือ? เอกสารหลายฉบับระบุว่า พระองค์มีพระสติวิปลาส แต่บทสนทนาก่อนประหารที่ว่า “ขอเข้าเฝ้าสนทนาอีกสักสองสามคำ” นั้นชัดเจน และเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ 🤔 ❓ มีการสับเปลี่ยนตัวจริงหรือ? ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนใด ๆ รองรับ แต่แนวคิดนี้ ปรากฏอย่างแพร่หลายในวรรณกรรม และความเชื่อของประชาชน 📜 วันที่พระองค์ถูกลืม? วันที่ 6 เมษายน ถูกกำหนดให้เป็น "วันจักรี" เพื่อระลึกถึงการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าตากเลย ทั้งที่วันเดียวกันนั้น คือวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์เช่นกัน ทำให้เกิดคำถามในใจใครหลายคนว่า พระเจ้าตากถูก “กลบ” จากประวัติศาสตร์หรือไม่? 😢 🛕 พระเจ้าตากในความทรงจำของประชาชน แม้ประวัติศาสตร์ทางการจะบอกว่า พระองค์ถูกประหารชีวิต แต่ในความเชื่อของประชาชนทั่วไป พระเจ้าตากยังคงเป็น “วีรกษัตริย์ผู้ไม่เคยพ่าย” 🙏 มีการสักการะพระบรมรูปที่วงเวียนใหญ่ คนไทยเชื้อสายจีนเรียกพระองค์ว่า “แต่อ่วงกง” มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์ 🧾 จากความจริง...สู่ตำนาน 243 ปีผ่านไป...วาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราช ยังคงเต็มไปด้วยคำถาม ปริศนา และความรู้สึกค้างคาใจ ของคนไทยจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ... พระเจ้าตากมิใช่เพียงนักรบผู้เดียวดาย แต่คือบุคคลผู้เปลี่ยนชะตากรรมของแผ่นดินนี้ ไว้ในช่วงเวลาที่ยากที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย 🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 060744 เม.ย. 2568 📱 #พระเจ้าตาก #สมเด็จพระเจ้าตากสิน #ประวัติศาสตร์ไทย #243ปีพระเจ้าตาก #ตำนานพระเจ้าตาก #วันประหารพระเจ้าตาก #วันจักรี #ราชวงศ์ธนบุรี #วีรกษัตริย์ไทย #กษัตริย์ผู้กอบกู้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1151 มุมมอง 0 รีวิว
  • 31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง

    วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์”

    เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง”

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี

    พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี

    ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ ขยายเส้นทางการค้า และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต

    จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ”

    รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก

    พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน

    “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่”

    พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม

    ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน

    เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ

    ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

    ตัวเลขที่มากมาย
    ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์
    เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์
    รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น

    แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน

    ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง

    หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส
    หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5”
    พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์

    ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ

    วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

    พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

    ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่
    - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍
    - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย
    - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย

    วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓

    รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด

    “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568

    #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    31 มีนา “วันเจษฎาบดินทร์” ระลึกพระนั่งเกล้าฯ ผู้ให้กำเนิด "เงินถุงแดง" ไถ่บ้านไถ่เมือง ✨ วันแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ควรลืม ✨ วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรีให้เป็น “วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือเรียกกันว่า “วันเจษฎาบดินทร์” 💛 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้วางรากฐานสำคัญให้กับการค้า การป้องกันประเทศ การทำนุบำรุงศาสนา และเป็นผู้นำแนวคิดการเก็บออม ไว้ให้ชาติบ้านเมืองในยามคับขัน ที่รู้จักกันในนาม “เงินถุงแดง” 💰 🏯 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ที่พระราชวังเดิม ธนบุรี 🏰 พระองค์มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าชายทับ” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” และขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทรงมีพระชนมพรรษา 37 ปี ตลอดรัชสมัยกว่า 27 ปี พระองค์ทรงใช้พระปรีชาญาณ ในการบริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ ทรงวางระบบเศรษฐกิจ 📈 ขยายเส้นทางการค้า 🌏 และจัดสรรรายได้แผ่นดินอย่างเป็นระบบ เพื่อความมั่นคงในอนาคต 🇹🇭 👑 จุดเริ่มต้นของคำว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามใหม่อย่างย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยคำว่า “เจษฎา” หมายถึง เลิศล้ำ ยอดเยี่ยม และ “บดินทร์” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” จึงหมายถึง “พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่และเป็นเลิศ” ✨ 🧭 รัชสมัยแห่งความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะกับจีน และประเทศทางตะวันตก อย่างอังกฤษและสหรัฐฯ มีการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และสนธิสัญญากับอเมริกาใน พ.ศ. 2375 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศในเอเชียตะวันออก 🌐 พระองค์ทรงวางรากฐานเศรษฐกิจการค้า เสริมสร้างรายได้แผ่นดิน โดยมีระบบภาษีใหม่ถึง 38 รายการ และทรงปกครองด้วยพระปรีชาญาณอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสร้างคลอง เพื่อใช้ในสงครามและการพาณิชย์ เช่น คลองบางขุนเทียน คลองหมาหอน 🚤 📚 “เงินถุงแดง” ตำนานที่กลายเป็นจริง หนึ่งในมรดกที่สำคัญที่สุ ดจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เงินถุงแดง หรือ “พระคลังข้างที่” 💼 📌 พระคลังข้างที่ คือ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่สะสมไว้ใช้ในยามจำเป็นของแผ่นดิน พระองค์ทรงประหยัดมัธยัสถ์ และตั้งพระราชดำริว่า “เก็บไว้เพื่อไถ่บ้านไถ่เมือง” ในยามเกิดภัยพิบัติหรือสงคราม ต่อมาในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 หรือ พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสบุกเรือรบ เข้ายึดดินแดนของไทย และเรียกร้องค่าปรับสงคราม 3,000,000 ฟรังก์ รัฐบาลสยามจึงได้นำเงินถุงแดง ออกมาใช้ในการไถ่แผ่นดิน 💸 📆 เหตุการณ์ ร.ศ.112 และการใช้ “เงินถุงแดง” ไถ่ชาติ 🔥 ความขัดแย้งไทย - ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสกล่าวหาไทย ว่าเป็นฝ่ายเริ่มต้นสงคราม โดยอ้างเหตุการณ์ที่แม่น้ำโขง ที่กองกำลังไทยสังหารทหารฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสส่งเรือรบ เข้าปิดล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันตึงเครียด ในระดับที่ชาติอาจล่มสลาย 💣 ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยจ่ายค่าปรับ และยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 🧾 ตัวเลขที่มากมาย ค่าเสียหายที่เรียกร้อง = 2,000,000 ฟรังก์ เงินมัดจำเพิ่มเติม = 1,000,000 ฟรังก์ รวมเป็น 3,000,000 ฟรังก์ ประมาณ 1.6 ล้านบาท ในขณะนั้น 📤 แหล่งเงินสำคัญ เงินที่นำมาใช้จ่ายครั้งนั้น มาจาก “พระคลังข้างที่” ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ที่ถูกเก็บไว้ในถุงแดงอย่างเงียบงัน 😌 🧠 ข้อเท็จจริงหรือแค่ตำนาน? เงินถุงแดงมีจริงหรือไม่ 🤔 มีบางความเห็นในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งข้อสังเกตว่า “เงินถุงแดง” อาจไม่มีอยู่จริง และเป็นแค่เรื่องเล่าขาน แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานจากหลายแหล่ง ทั้ง 📖 หนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré ของฝรั่งเศส 📚 หนังสือ “เหตุการณ์ ร.ศ.112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” 📜 พระราชนิพนธ์ และคำกราบบังคมทูล ของกรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ต่างยืนยันว่า มีการชำระเงินมัดจำด้วยเหรียญเม็กซิกัน จำนวนกว่า 800,000 เหรียญ หรือประมาณ 23 ตัน ที่ขนส่งออกไปจากกรุงเทพฯ 🚢 🔍 วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เงินถุงแดงสะท้อนอะไร? เงินถุงแดงไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ ของความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ ของรัชกาลที่ 3 แต่ยังสะท้อนถึงแนวคิด “เงินสำรองแผ่นดิน” ซึ่งในภายหลัง ก็กลายเป็นแนวคิดตั้งต้นของ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” ในรูปแบบที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ 🌎💹 📖 พระราชสมัญญา แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมาใน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานพระราชสมัญญา “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ตามมาด้วยใน พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2558 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาเพิ่มเติม ได้แก่ - พระบิดาแห่งการค้าไทย 🛍 - พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย 🚢 - พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย 🌿 🧡 วันเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเจษฎาบดินทร์” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งรัชกาลที่ 3 แม้ไม่ใช่วันหยุดราชการ แต่ถือเป็น วันสำคัญของชาติไทย 🗓🇹🇭 💬 รัชกาลที่ 3 กับมรดกที่คนไทยไม่ควรลืม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ “เตรียมพร้อม” รับสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด 💼💪 “เงินถุงแดง” คือสัญลักษณ์ของ วินัยทางการเงินระดับชาติ และความห่วงใยต่อแผ่นดิน ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 310848 มี.ค. 2568 📌 #วันเจษฎาบดินทร์ #พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว #เงินถุงแดง #ราชวงศ์จักรี #ประวัติศาสตร์ไทย #รัชกาลที่3 #รศ112 #บทเรียนจากอดีต #พระมหาเจษฎาราชเจ้า #อธิปไตยไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1177 มุมมอง 0 รีวิว
  • เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ “การทูตประเทศใหญ่” ทางไชน่ามีเดียกรุ๊ป (CMG)

    เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษทางโทรศัพท์ในรายการ “การทูตประเทศใหญ่” ของทางไชน่ามีเดียกรุ๊ป (CMG) โดยมีการพูดคุยในประเด็นความสัมพันธ์จีน-ไทยในวาระ 50 ปีทองแห่งมิตรภาพจีน-ไทย ความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การหลอกลวงทางโทรคมนาคม รวมถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟจีน-ไทยระยะที่ 2 โดยรายการสัมภาษณ์ดังกล่าวออกอากาศเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568

    ผู้สื่อข่าว CMG: ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวระหว่างการพบปะกับนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตรของไทยว่ามิตรภาพจีน-ไทยมีรากฐานลึกซึ้งนับพันปี และคำกล่าวที่ว่า “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ยังมั่นคงเหนียวแน่นตลอดมา ในฐานะเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ท่านมองแนวคิดนี้อย่างไร และปีนี้มีความหมายพิเศษต่อความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างไร

    เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” มีความหมาย 3 ประการ คือจีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นเครือญาติที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน จีนและไทยร่วมมือกันบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ความเท่าเทียม ความไว้วางใจระหว่างกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไทยเป็นแบบอย่างของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการพัฒนาร่วมกัน เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เดินทางเยือนประเทศไทยครั้งประวัติศาสตร์ และได้ร่วมกับผู้นำไทยในการกำหนดวิสัยทัศน์การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทย ซึ่งเป็นการเติมเต็มความหมายของคำว่า “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ให้มีความหมายที่ทันสมัยมากขึ้น และชี้นำทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในอนาคต

    ปีนี้เป็นปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความสัมพันธ์จีน-ไทย เราได้กำหนดให้เป็น “ปีทองแห่งมิตรภาพจีน-ไทย 50 ปี” รวมทั้งคำขวัญร่วมกันว่า “จีน - ไทยสานใจกัน ร่วมสร้างฝันประชาคม” สำหรับปีนี้ เราจะใช้โอกาสสำคัญนี้ในการสรุปประสบการณ์อันเป็นประโยชน์จากการร่วมมือกันตลอด 50 ปีที่ผ่านมา และเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์จีน-ไทยในอนาคต

    ผู้สื่อข่าว CMG: ปัจจุบัน จีนและไทยกำลังดำเนินความร่วมมือหลายโครงการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่น การหลอกลวงทางโทรศัพท์และออนไลน์ โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองเมียวดีของเมียนมา ความคืบหน้าของปฏิบัติการนี้เป็นอย่างไร

    เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: การหลอกลวงทางไซเบอร์เป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของแก๊งอาชญากรรมทางไซเบอร์ ช่วงที่ผ่านมา จีน-ไทย-เมียนมา ได้ร่วมมือกันเปิดปฏิบัติการกวาดล้างครั้งใหญ่ ทำให้สามารถทำลายเครือข่ายอาชญากรรมได้หลายจุด และจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสามประเทศในการปราบปรามการหลอกลวงทางไซเบอร์และปกป้องความมั่นคงในภูมิภาค

    ก้าวต่อไป จีน-ไทย-เมียนมาจะดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดนเช่นการหลอกลวงทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เราจะขยายความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกบังคับให้กระทำผิด จับกุมตัวการใหญ่ของกลุ่มอาชญากรและกวาดล้างศูนย์คอลเซ็นเตอร์ เพื่อปกป้องความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองจีนและประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

    ผู้สื่อข่าว CMG: คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย ระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2573 แม้ว่าระยะที่ 1 ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจเดินหน้าโครงการนี้

    เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: ในระหว่างการเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ผู้นำทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรถไฟจีน-ไทย และการส่งเสริมแนวคิดการเชื่อมโยงระหว่างจีน-ลาว-ไทยอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายไทยได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟจีน-ไทย ระยะที่ 1 และจะเริ่มต้นโครงการระยะที่ 2 ภายในปีนี้

    ฝ่ายไทยได้อนุมัติแผนการก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อโครงการรถไฟจีน-ไทย และมีความหมายสำคัญต่อการก่อสร้างรถไฟจีน-ไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เราชื่นชมในการตัดสินใจของฝ่ายไทย และท่าทีที่แสดงถึงความมุ่งมั่นนี้อย่างสูง ฝ่ายจีนก็จะให้การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น

    ในความเป็นจริงนั้น รถไฟจีน-ไทยเป็นเส้นทางการคมนาคมทางบกเส้นใหม่ระหว่างจีนและไทย และยังเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางการคมนาคมหลักในคาบสมุทรอินโดจีน ทุกคนทราบดีว่า รถไฟจีน-ลาว ได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว การที่รถไฟจีน-ไทยแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเชื่อมโยงระหว่างจีน-ลาว-ไทย และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั้งสามประเทศ ในอนาคต รถไฟจีน-ไทยจะขยายไปทางทิศใต้เชื่อมต่อกับเครือข่ายรถไฟของมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

    ผู้สื่อข่าว CMG: ไทยเพิ่งได้รับการรับรองให้เป็นหุ้นส่วนพันธมิตรของกลุ่มประเทศ BRICS อย่างเป็นทางการ อีกทั้งในกลไกต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือจีน-อาเซียน และความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ไทยก็มีบทบาทสำคัญ ในสถานการณ์ปัจจุบัน จีนและไทยจะร่วมกันเสริมสร้างบทบาทกลไกพหุภาคีของประเทศโลกใต้ (Global South) อย่างไร

    เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: ไทยเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือพันธมิตรที่สำคัญของจีนในกลไกพหุภาคี อีกทั้งเป็นสมาชิกสำคัญของอาเซียน และได้เข้าร่วมกลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นประธานร่วมของความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง และมีบทบาทสำคัญในหลายองค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค

    จากสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง กลุ่มประเทศโลกใต้ กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย ไทยได้แสดงการสนับสนุนอย่างชัดเจนต่อแนวคิดการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างมนุษยชาติ รวมถึงการสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาระดับโลก แนวคิดความมั่นคงระดับโลก และแนวคิดอารยธรรมระดับโลก ซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน จีนและไทยควรเสริมสร้างการสื่อสารและความร่วมมือให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งผลักดันและปฏิบัติตามหลักการพหุภาคีและการเปิดกว้างในระดับภูมิภาคให้เห็นเป็นรูปธรรมที่แท้จริง เพื่อร่วมส่งเสริมความหลากหลายและความเป็นระเบียบของโลก ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและเป็นธรรม เพื่อร่วมกันสร้างระบบการปกครองโลกตามหลักธรรมาภิบาลอย่างสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/18t7wHFRgk/?mibextid=wwXIfr
    เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ “การทูตประเทศใหญ่” ทางไชน่ามีเดียกรุ๊ป (CMG) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษทางโทรศัพท์ในรายการ “การทูตประเทศใหญ่” ของทางไชน่ามีเดียกรุ๊ป (CMG) โดยมีการพูดคุยในประเด็นความสัมพันธ์จีน-ไทยในวาระ 50 ปีทองแห่งมิตรภาพจีน-ไทย ความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การหลอกลวงทางโทรคมนาคม รวมถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟจีน-ไทยระยะที่ 2 โดยรายการสัมภาษณ์ดังกล่าวออกอากาศเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าว CMG: ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวระหว่างการพบปะกับนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตรของไทยว่ามิตรภาพจีน-ไทยมีรากฐานลึกซึ้งนับพันปี และคำกล่าวที่ว่า “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ยังมั่นคงเหนียวแน่นตลอดมา ในฐานะเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ท่านมองแนวคิดนี้อย่างไร และปีนี้มีความหมายพิเศษต่อความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างไร เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” มีความหมาย 3 ประการ คือจีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นเครือญาติที่ดีที่เชื่อมต่อกันด้วยสายเลือด และเป็นหุ้นส่วนที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน จีนและไทยร่วมมือกันบนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ความเท่าเทียม ความไว้วางใจระหว่างกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไทยเป็นแบบอย่างของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการพัฒนาร่วมกัน เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เดินทางเยือนประเทศไทยครั้งประวัติศาสตร์ และได้ร่วมกับผู้นำไทยในการกำหนดวิสัยทัศน์การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทย ซึ่งเป็นการเติมเต็มความหมายของคำว่า “จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” ให้มีความหมายที่ทันสมัยมากขึ้น และชี้นำทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในอนาคต ปีนี้เป็นปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับความสัมพันธ์จีน-ไทย เราได้กำหนดให้เป็น “ปีทองแห่งมิตรภาพจีน-ไทย 50 ปี” รวมทั้งคำขวัญร่วมกันว่า “จีน - ไทยสานใจกัน ร่วมสร้างฝันประชาคม” สำหรับปีนี้ เราจะใช้โอกาสสำคัญนี้ในการสรุปประสบการณ์อันเป็นประโยชน์จากการร่วมมือกันตลอด 50 ปีที่ผ่านมา และเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์จีน-ไทยในอนาคต ผู้สื่อข่าว CMG: ปัจจุบัน จีนและไทยกำลังดำเนินความร่วมมือหลายโครงการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่น การหลอกลวงทางโทรศัพท์และออนไลน์ โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองเมียวดีของเมียนมา ความคืบหน้าของปฏิบัติการนี้เป็นอย่างไร เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: การหลอกลวงทางไซเบอร์เป็นภัยคุกคามข้ามพรมแดนที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในเมืองเมียวดีของเมียนมา ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของแก๊งอาชญากรรมทางไซเบอร์ ช่วงที่ผ่านมา จีน-ไทย-เมียนมา ได้ร่วมมือกันเปิดปฏิบัติการกวาดล้างครั้งใหญ่ ทำให้สามารถทำลายเครือข่ายอาชญากรรมได้หลายจุด และจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสามประเทศในการปราบปรามการหลอกลวงทางไซเบอร์และปกป้องความมั่นคงในภูมิภาค ก้าวต่อไป จีน-ไทย-เมียนมาจะดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมข้ามพรมแดนเช่นการหลอกลวงทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เราจะขยายความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกบังคับให้กระทำผิด จับกุมตัวการใหญ่ของกลุ่มอาชญากรและกวาดล้างศูนย์คอลเซ็นเตอร์ เพื่อปกป้องความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองจีนและประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ผู้สื่อข่าว CMG: คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย ระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2573 แม้ว่าระยะที่ 1 ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจเดินหน้าโครงการนี้ เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: ในระหว่างการเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ผู้นำทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรถไฟจีน-ไทย และการส่งเสริมแนวคิดการเชื่อมโยงระหว่างจีน-ลาว-ไทยอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายไทยได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟจีน-ไทย ระยะที่ 1 และจะเริ่มต้นโครงการระยะที่ 2 ภายในปีนี้ ฝ่ายไทยได้อนุมัติแผนการก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อโครงการรถไฟจีน-ไทย และมีความหมายสำคัญต่อการก่อสร้างรถไฟจีน-ไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เราชื่นชมในการตัดสินใจของฝ่ายไทย และท่าทีที่แสดงถึงความมุ่งมั่นนี้อย่างสูง ฝ่ายจีนก็จะให้การสนับสนุนและความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น ในความเป็นจริงนั้น รถไฟจีน-ไทยเป็นเส้นทางการคมนาคมทางบกเส้นใหม่ระหว่างจีนและไทย และยังเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางการคมนาคมหลักในคาบสมุทรอินโดจีน ทุกคนทราบดีว่า รถไฟจีน-ลาว ได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีแล้ว การที่รถไฟจีน-ไทยแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเชื่อมโยงระหว่างจีน-ลาว-ไทย และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนทั้งสามประเทศ ในอนาคต รถไฟจีน-ไทยจะขยายไปทางทิศใต้เชื่อมต่อกับเครือข่ายรถไฟของมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเชื่อมโยงระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผู้สื่อข่าว CMG: ไทยเพิ่งได้รับการรับรองให้เป็นหุ้นส่วนพันธมิตรของกลุ่มประเทศ BRICS อย่างเป็นทางการ อีกทั้งในกลไกต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือจีน-อาเซียน และความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ไทยก็มีบทบาทสำคัญ ในสถานการณ์ปัจจุบัน จีนและไทยจะร่วมกันเสริมสร้างบทบาทกลไกพหุภาคีของประเทศโลกใต้ (Global South) อย่างไร เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง: ไทยเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือพันธมิตรที่สำคัญของจีนในกลไกพหุภาคี อีกทั้งเป็นสมาชิกสำคัญของอาเซียน และได้เข้าร่วมกลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นประธานร่วมของความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง และมีบทบาทสำคัญในหลายองค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค จากสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง กลุ่มประเทศโลกใต้ กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย ไทยได้แสดงการสนับสนุนอย่างชัดเจนต่อแนวคิดการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างมนุษยชาติ รวมถึงการสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาระดับโลก แนวคิดความมั่นคงระดับโลก และแนวคิดอารยธรรมระดับโลก ซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน จีนและไทยควรเสริมสร้างการสื่อสารและความร่วมมือให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งผลักดันและปฏิบัติตามหลักการพหุภาคีและการเปิดกว้างในระดับภูมิภาคให้เห็นเป็นรูปธรรมที่แท้จริง เพื่อร่วมส่งเสริมความหลากหลายและความเป็นระเบียบของโลก ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและเป็นธรรม เพื่อร่วมกันสร้างระบบการปกครองโลกตามหลักธรรมาภิบาลอย่างสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ที่มา https://www.facebook.com/share/p/18t7wHFRgk/?mibextid=wwXIfr
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1088 มุมมอง 0 รีวิว
  • [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ]
    .
    เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต”
    .
    ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต”
    .
    เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี
    .
    ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง
    .
    หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี
    .
    ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา
    .
    ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม
    .
    ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว”
    .
    ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น
    .
    การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น
    .
    ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย
    .
    อ้างอิง
    (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑.
    (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง
    (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘.
    (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓.
    (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    [ “พระแก้วมรกต” เป็นของใคร ? ] . เท้าความก่อนตามหลักฐาน “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต” . ขอเริ่มที่สมัย “พญากือนา” กษัตริย์ล้านนา พระองค์ที่ ๖ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๘๙๙–๑๙๒๙ พระอนุชาของพระเจ้ากือนา ชื่อ “เจ้ามหาพรหม” ครองนครเชียงราย เป็นเมืองลูกหลวง ได้ยกกองทัพมาเมืองกำแพงเพชรในสมัยพระเจ้าติปัญญา (พระยาญาณดิศ) ทูลขอ “พระพุทธสิหิงค์” และ “พระแก้วมรกต” ไปเมืองเชียงราย ต่อมาพญากือนาสวรรคต แล้ว “พญาแสนเมืองมา” กษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมา พระองค์ที่ ๗ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๒๘-๑๙๔๔ จึงยกทัพไปรบกับ “เจ้ามหาพรหม” ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ปรากฏว่า “พญาแสนเมืองมา” ชนะ จึงเชิญ “พระพุทธสิหิงค์” กลับไปเชียงใหม่ได้องค์เดียว ส่วน “พระแก้วมรกต” มีผู้นำไปซ่อนไว้ . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พญาสามฝั่งแกน” พระองค์ที่ ๘ ครองนครเชียงใหม่ ช่วงปี ๑๙๕๙-๑๙๙๐ ที่เชียงรายที่ประดิษฐานของ “พระแก้วมรกต” เกิดอสุนีบาต ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกะเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต พระภิกษุเจ้าอาวาสได้กะเทาะรักและทองออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์ นั่นคือ “พระแก้วมรกต” . เรื่องนี้ไปถึงพระกรรณ “พญาสามฝั่งแกน” ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ตามพระประสงค์ของพญาแสนเมือง (พระราชบิดา) แต่ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน “พญาสามฝั่งแกน” เห็นว่าเมืองลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปประดิษฐานไว้ที่ “วัดพระแก้วดอนเต้า” แทน ประดิษฐานไว้นาน ๓๒ ปี . ครั้นถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าติโลกราช” พระองค์ที่ ๙ ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๘๕–๒๐๓๑) พระองค์ทำการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจพญาสามฝั่งแกน (พระราชบิดา) ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปาง จากนั้นพระองค์ได้เชิญ “พระแก้วมรกต” มายังเชียงใหม่ ในปี ๒๐๒๒ พระองค์โปรดให้บูรณะ “พระเจดีย์หลวง” เพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง . หลังจากที่ “พระนางจิรประภาเทวี” พระองค์ที่ ๑๔ ครองนครเชียงใหม่ สละราชสมบัติ ตำแหน่งที่ล้านนาว่างลง “สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นพระญาติกับราชวงศ์ล้านนามา ก็ได้ครองนครเชียงใหม่ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ต่อมาล้านช้างได้เกิดความวุ่นวาย เจ้านายทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ขุนนางล้านช้างและเจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงเชิญ “พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช” แห่งล้านนา เสด็จกลับมานครหลวงพระบาง แห่งล้านช้าง เพื่อรับราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พระองค์ได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” รวมทั้ง “พระพุทธสิหิงค์” “พระแก้วขาว” และ “พระแซกคำ” ไปหลวงพระบางด้วย โดยอ้างว่าหนีศึกพระเจ้าบุเรงนอง แห่งหงสาวดี . ครั้งถึงรัชสมัย “พระเมกุฏิสุทธิวงศ์” พระองค์ที่ ๑๖ ครองนครเชียงใหม่ ก็ขอคือพระพุทธรูปที่เอาไปจากเชียงใหม่ แต่ได้คืนมาเพียง ๒ องค์ คือ “พระพุทธสิหิงค์” กับ “พระแก้วขาว” เมื่อปี ๒๑๐๓ ทรงย้ายราชธานีจาก “หลวงพระบาง” มา “เวียงจันทน์” ก็เชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง “พระแก้วมรกต” จึงประดิษฐานอยู่ที่ “อาณาจักรล้านช้าง” ตั้งแต่นั้นมา . ต่อมาในปี ๒๓๒๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ ในกาลต่อมา) ยกทัพไปปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้วได้ขนย้ายกวาดต้อนบรรดาเชื้อพระวงศ์ ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ แล้วให้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” และ “พระบาง ” ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย แล้วในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม . ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสนาดาขึ้น ในพระบรมมหาราชวัง และได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อปี ๒๓๒๗ ซึ่ง “พระแก้วมรกต” ก็มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ส่วน “พระบาง” ได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง ปัจจุบัน คือ “ลาว” . ดังนั้น โดยสรุปแล้วสถานที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พอจะเรียงตามช่วงเวลาได้ดังต่อไปนี้จาก เชียงราย (ล้านนา) > ลำปาง (ล้านนา) > เชียงใหม่ (ล้านนา) > หลวงพระบาง (ล้านช้าง) > เวียงจันทน์ (ล้านช้าง) > ธนบุรี > รัตนโกสินทร์ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาวตั้งแต่ต้น . การพูดว่า “พระแก้วมรกต” เป็นของลาว จึงเรื่องที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง ถ้าจะพูดให้ถูกตามข้อเท็จจริงต้องพูดว่า “พระแก้วมรกต” เคยประดิษฐานอยู่ที่ลาวในระยะหนึ่งเท่านั้น . ส่วนเรื่องการสาปแช่งของฝ่ายลาว ต่อเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงให้เจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๑) ทรงอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มากรุงเทพฯ อันนี้ไม่มีหลักฐานว่ารองรับหรือบันทึกไว้ เรื่องคำสาปแช่ง น่าจะเป็นเรื่องที่พูดไปพูดมากันภายหลังมากกว่า เพราะไม่มีเอกสารอะไรที่ยืนยันได้เลย . อ้างอิง (๑) สมบัติ พลายน้อย. (๒๕๖๓). ตำนานพระแก้วมรกต. วารสารวัฒนธรรม ค่าล้ำ...วัฒนธรรม ชาวภูเขา, (๑). ๓๔-๔๑. (๒) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “ตำนานพระแก้วมรกต (ฉบับหลวงพระบาง)” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า ๑๑๘. “ตำนานพระแก้วมรกต” ฉบับนี้น่าจะมาจากเวียงจัน มิใช่หลวงพระบาง แต่เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง (๓) โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์ลาว. หน้า ๙๘. (๔) ศักดิ์ชัย สายสิงห์, “พระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปล้านนาที่มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา” ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) พระแก้วมรกต. หน้า ๓๑๓-๓๒๓. (๕) พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, “คำนำเสนอ พระแก้วมรกตกับประวัติศาสตร์ตำนาน”, ในสุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), พระแก้วมรกต. หน้า (๑๙).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1017 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประชาชนชาวเนปาลหลายแสนคน (บางแหล่งข่าวระบุมากกว่าล้านคน) มารวมตัวกันเพื่อต้อนรับ "สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรา พีระ พิกรม ชาห์ เทวะ" กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเนปาล หลังจากสถาบันกษัตริย์ถูกยุบในปีพ.ศ. 2551 (2008) ขณะพระองค์เสด็จกลับกรุงกาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] เมืองหลวงของเนปาล ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพยายามเรียกร้องให้เนปาลฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์มานานหลายปี

    ผู้ชุมนุมที่มาต้อนรับฯรายหนึ่งบอกว่า เค้าเป็นผู้ที่เคยร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านพระองค์เมื่อปี 2006 แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจต้องการให้มีสถาบันฯ ต้องการให้พระองค์กลับมาครองราช เพราะนักการเมืองคอร์รัปชั่นกันอย่างเลวร้าย เหล่าผู้มีอำนาจไม่ทำอะไรให้ประเทศเลย

    ตอนนั้นที่เค้าออกมาชุมนุมประท้วงไม่เอาสถาบันกษัตริย์เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้ประเทศดีขึ้น แต่เค้าคิดผิด ประเทศย่ำแย่หนักกว่าเดิม ตอนนี้เลยเปลี่ยนใจอยากให้ฟื้นฟูสถาบันฯ

    ในปีพ.ศ. 2551 สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเนปาล ได้มีมติยกเลิกการปกครองระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นการสิ้นสุดระบอบการปกครองของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศกว่า 240 ปี และราชวงศ์ชาห์ซึ่งปกครองแผ่นดินนี้เกือบ 500 ปี
    .
    ก่อนการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์เนปาล:
    สรุปคร่าวๆมาจาก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
    https://www.posttoday.com/columnist/639757
    หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ของราชวงศ์เนปาลในปี 2001 ส่งผลให้พระมหากษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะและสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์

    ต่อมาเจ้าชายชญาเนนทร พระอนุชาของพระมหากษัตริย์พิเรนทราพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง โดยที่กษัตริย์ชญาเนนทรพยายามปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยอ้างสาเหตุจากการทุจริตคอรัปชั่น และการบริหารเทศที่ล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งหลาย

    ในปี 2002 กษัตริย์ชญาเนนทรทรงประกาศยุบสภา แต่การเมืองที่วุ่นวาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ จนที่สุดพระองค์ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจากพรรคการเมืองต่างๆ

    ในปี 2006 กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองรวมตัวกันต่อต้านการปกครองของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร จนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจสถาบันกษัตริย์

    ในที่สุดพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร ทรงยอมให้อำนาจบริหารแก่พรรคการเมืองเพื่อกลับคืนสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง และพรรคการเมืองต่างเรียกร้องให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อกำหนดบทบาทในการเมืองของพระมหากษัตริย์

    10 มิถุนายน ค.ศ. 2006 รัฐสภาเนปาลได้ยกเลิกอำนาจที่สำคัญๆของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ทำให้บทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทำงานร่วมกับรัฐสภาได้สิ้นสุดลง (King in Parliament) และลดทอนพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตรายาง แต่ให้พระองค์ยังทรงทำหน้าที่ประมุขของรัฐในการต้อนรับอาคันตุกะและทูตานุทูตต่อไปได้ และรัฐสภาได้โอนอำนาจที่พระมหากษัตริย์เคยมีไปที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาตลอด 239 ปีมีอันต้องสิ้นสุดลง

    23 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่านของเนปาลได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทรที่สืบจากพระเชษฐาของพระองค์ให้เป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งพระราชวัง (Narayanhiti Palace) แต่ไม่ได้ยึดทรัพย์สินที่กษัตริย์ชญาเนนทรครอบครองก่อนขึ้นครองราชย์

    24 ธันวาคม ค.ศ. 2007 รัฐสภารักษาการได้ลงมติว่า อาจจะมีการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยุติลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพกับพวกกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้คือร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนเนปาลให้เป็นสาธารณรัฐนั่นเอง

    28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศอย่างเป็นทางการว่าในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป และเนปาลจะเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐ การตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่มีการทำประชามติ กษัตริย์ชญาเนนทรยอมรับการตัดสินดังกล่าว และขอให้รัฐบาลจัดที่พักอาศัยให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลได้จัดให้พระองค์พำนักอยู่ที่วังแห่งหนึ่ง (Nirmal Niwas Palace)

    ประชาชนชาวเนปาลหลายแสนคน (บางแหล่งข่าวระบุมากกว่าล้านคน) มารวมตัวกันเพื่อต้อนรับ "สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรา พีระ พิกรม ชาห์ เทวะ" กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของเนปาล หลังจากสถาบันกษัตริย์ถูกยุบในปีพ.ศ. 2551 (2008) ขณะพระองค์เสด็จกลับกรุงกาฐมาณฑุ [กาด-มาน-ดุ] เมืองหลวงของเนปาล ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพยายามเรียกร้องให้เนปาลฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์มานานหลายปี ผู้ชุมนุมที่มาต้อนรับฯรายหนึ่งบอกว่า เค้าเป็นผู้ที่เคยร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านพระองค์เมื่อปี 2006 แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจต้องการให้มีสถาบันฯ ต้องการให้พระองค์กลับมาครองราช เพราะนักการเมืองคอร์รัปชั่นกันอย่างเลวร้าย เหล่าผู้มีอำนาจไม่ทำอะไรให้ประเทศเลย ตอนนั้นที่เค้าออกมาชุมนุมประท้วงไม่เอาสถาบันกษัตริย์เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้ประเทศดีขึ้น แต่เค้าคิดผิด ประเทศย่ำแย่หนักกว่าเดิม ตอนนี้เลยเปลี่ยนใจอยากให้ฟื้นฟูสถาบันฯ ในปีพ.ศ. 2551 สภานิติบัญญัติแห่งชาติของเนปาล ได้มีมติยกเลิกการปกครองระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นการสิ้นสุดระบอบการปกครองของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศกว่า 240 ปี และราชวงศ์ชาห์ซึ่งปกครองแผ่นดินนี้เกือบ 500 ปี . ก่อนการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์เนปาล: สรุปคร่าวๆมาจาก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร https://www.posttoday.com/columnist/639757 หลังเหตุการณ์สังหารหมู่ของราชวงศ์เนปาลในปี 2001 ส่งผลให้พระมหากษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะและสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์ ต่อมาเจ้าชายชญาเนนทร พระอนุชาของพระมหากษัตริย์พิเรนทราพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง โดยที่กษัตริย์ชญาเนนทรพยายามปกป้องสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ โดยอ้างสาเหตุจากการทุจริตคอรัปชั่น และการบริหารเทศที่ล้มเหลวของพรรคการเมืองทั้งหลาย ในปี 2002 กษัตริย์ชญาเนนทรทรงประกาศยุบสภา แต่การเมืองที่วุ่นวาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ จนที่สุดพระองค์ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจจากพรรคการเมืองต่างๆ ในปี 2006 กลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองรวมตัวกันต่อต้านการปกครองของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร จนเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจสถาบันกษัตริย์ ในที่สุดพระมหากษัตริย์ชญาเนนทร ทรงยอมให้อำนาจบริหารแก่พรรคการเมืองเพื่อกลับคืนสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง และพรรคการเมืองต่างเรียกร้องให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อกำหนดบทบาทในการเมืองของพระมหากษัตริย์ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2006 รัฐสภาเนปาลได้ยกเลิกอำนาจที่สำคัญๆของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ทำให้บทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทำงานร่วมกับรัฐสภาได้สิ้นสุดลง (King in Parliament) และลดทอนพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตรายาง แต่ให้พระองค์ยังทรงทำหน้าที่ประมุขของรัฐในการต้อนรับอาคันตุกะและทูตานุทูตต่อไปได้ และรัฐสภาได้โอนอำนาจที่พระมหากษัตริย์เคยมีไปที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีมาตลอด 239 ปีมีอันต้องสิ้นสุดลง 23 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่านของเนปาลได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ชญาเนนทรที่สืบจากพระเชษฐาของพระองค์ให้เป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งพระราชวัง (Narayanhiti Palace) แต่ไม่ได้ยึดทรัพย์สินที่กษัตริย์ชญาเนนทรครอบครองก่อนขึ้นครองราชย์ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2007 รัฐสภารักษาการได้ลงมติว่า อาจจะมีการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยุติลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพกับพวกกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้คือร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเปลี่ยนเนปาลให้เป็นสาธารณรัฐนั่นเอง 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศอย่างเป็นทางการว่าในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป และเนปาลจะเปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐ การตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่มีการทำประชามติ กษัตริย์ชญาเนนทรยอมรับการตัดสินดังกล่าว และขอให้รัฐบาลจัดที่พักอาศัยให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลได้จัดให้พระองค์พำนักอยู่ที่วังแห่งหนึ่ง (Nirmal Niwas Palace)
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 844 มุมมอง 0 รีวิว
  • อัลโจลานี (อาหมัด อัลชาราห์) ที่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีซีเรีย แถลงการณ์ถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา โดยระบุว่าซีเรียมีเพียงหนึ่งเดียว ไม่มีความแตกแยกทางเชื้อชาติ หากใครคิดทำร้ายซีเรีย พวกเขาได้ได้รับการตอบสนองอย่างรุนแรงจากชาวซีเรียทั้งหมด:

    “ผู้หลงเหลือจากระบอบการปกครองที่ล่มสลายบางส่วนพยายามทดสอบซีเรียใหม่ที่พวกเขาไม่เคยรู้จักมาก่อน และวันนี้พวกเขากำลังได้รู้จักมันอีกครั้ง พวกเขาจะได้รู่ว่ามันนี่คือซีเรียที่เป็นหนึ่งเดียวจากตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้ หากมีจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของซีเรียถูกหนามทิ่มแทงเกิดจากกลุ่มต่อต้าน พวกเราทั้งหมดจะรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนกองกำลังรัฐบาลซีเรีย

    วันนี้ในซีเรียไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้มีอำนาจและประชาชน ซีเรียเป็นของทุกคนทุกเชื้อชาติ และเป็นภารกิจของทุกคนที่จะรักษาและสนับสนุนซีเรีย ไม่มีอะไรต้องกลัวสำหรับประเทศที่มีประชาชนและจิตวิญญาณเช่นนี้”
    อัลโจลานี (อาหมัด อัลชาราห์) ที่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีซีเรีย แถลงการณ์ถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสองวันที่ผ่านมา โดยระบุว่าซีเรียมีเพียงหนึ่งเดียว ไม่มีความแตกแยกทางเชื้อชาติ หากใครคิดทำร้ายซีเรีย พวกเขาได้ได้รับการตอบสนองอย่างรุนแรงจากชาวซีเรียทั้งหมด: “ผู้หลงเหลือจากระบอบการปกครองที่ล่มสลายบางส่วนพยายามทดสอบซีเรียใหม่ที่พวกเขาไม่เคยรู้จักมาก่อน และวันนี้พวกเขากำลังได้รู้จักมันอีกครั้ง พวกเขาจะได้รู่ว่ามันนี่คือซีเรียที่เป็นหนึ่งเดียวจากตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้ หากมีจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของซีเรียถูกหนามทิ่มแทงเกิดจากกลุ่มต่อต้าน พวกเราทั้งหมดจะรวมตัวกันเพื่อสนับสนุนกองกำลังรัฐบาลซีเรีย วันนี้ในซีเรียไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้มีอำนาจและประชาชน ซีเรียเป็นของทุกคนทุกเชื้อชาติ และเป็นภารกิจของทุกคนที่จะรักษาและสนับสนุนซีเรีย ไม่มีอะไรต้องกลัวสำหรับประเทศที่มีประชาชนและจิตวิญญาณเช่นนี้”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • #หมายกำหนดการ
    [ ในหลวง - ราชินี จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๘ ปี กองทัพอากาศ ]
    .
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยัง กองบิน ๖ กองทัพอากาศ ดอนเมือง เพื่อทรงทอดพระเนตรการแสดงการบิน นิทรรศการด้านการบิน และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนากองทัพอากาศ ครบรอบ ๘๘ ปี ในวันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๑.๑๕ น.
    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    #หมายกำหนดการ [ ในหลวง - ราชินี จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงการบิน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๘ ปี กองทัพอากาศ ] . พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยัง กองบิน ๖ กองทัพอากาศ ดอนเมือง เพื่อทรงทอดพระเนตรการแสดงการบิน นิทรรศการด้านการบิน และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนากองทัพอากาศ ครบรอบ ๘๘ ปี ในวันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๑.๑๕ น. #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 608 มุมมอง 0 รีวิว
  • 5 มีนาคม “วันนักข่าว” กับบทบาทสื่อมวลชนในยุค AI เผยความจริง สิ่งลวงตา และการถ่วงดุลอำนาจ

    วันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น "วันนักข่าว" หรือ "วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ" ในประเทศไทย ซึ่งเป็นวันสำคัญของวงการสื่อสารมวลชน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากวันสถาปนา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498

    ปัจจุบัน บทบาทของนักข่าวและสื่อมวลชน กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในยุคดิจิทัล และเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ที่ไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งข้อเท็จจริงและข่าวลวง (Fake News) บทบาทของสื่อ จึงไม่ใช่เพียงรายงานข่าวเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่คัดกรอง ตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้สังคมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อ งและเป็นธรรม

    ความเป็นมาของวันนักข่าว จุดกำเนิดของวันนักข่าวในไทย 🎙
    สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ปัจจุบันคือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นโดยนักข่าวรุ่นบุกเบิก 15 คน ที่รวมตัวกันที่ศาลานเรศวร ในสวนลุมพินี โดยมี นายชาญ สินศุข จากสยามนิกร เป็นประธานการประชุม

    ในอดีต หนังสือพิมพ์ไทยยึดถือธรรมเนียมว่า วันที่ 6 มีนาคม ของทุกปี จะเป็นวันหยุดงานของนักข่าว และจะไม่มีหนังสือพิมพ์วางจำหน่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไป สังคมมีความต้องการบริโภคข่าวสารมากขึ้น ทำให้ต้องยุติธรรมเนียมนี้ไป

    ต่อมา ในปี พ.ศ. 2542 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้รวมตัวกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันนักข่าว อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน

    บทบาทสำคัญของนักข่าวในสังคมไทย นักข่าวไม่ได้เป็นเพียงผู้รายงานข่าว แต่ยังมีบทบาทสำคัญในหลายมิติของสังคม ตั้งแต่การเฝ้าระวังอำนาจ การเปิดโปงความจริง ไปจนถึงการสร้างความตระหนักรู้ และขับเคลื่อนสังคม

    🏛 เฝ้าระวังและตรวจสอบอำนาจ (Watchdog Journalism)
    นักข่าวทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ
    เปิดโปงการทุจริต คอร์รัปชัน และความไม่ชอบมาพากลในสังคม
    ปกป้องประชาชน จากการถูกเอารัดเอาเปรียบ

    ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของประชาชน
    รายงานข่าวสารด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
    ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล การเลือกตั้ง และภัยพิบัติ
    ช่วยให้ประชาชนตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง บนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

    สร้างกระแส และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
    นำเสนอปัญหาสำคัญ เช่น ความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม
    กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และการแก้ไขปัญหา
    เป็นช่องทางในการเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับประชาชน

    เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน
    นำเสนอเรื่องราวของผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่ถูกกดขี่
    ให้พื้นที่แก่ประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น
    ช่วยให้เสียงของประชาชน ถูกได้ยินในเวทีสาธารณะ

    สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
    สื่อมวลชนเป็นหัวใจของ ประชาธิปไตย
    หากปราศจากเสรีภาพทางสื่อ สังคมอาจถูกควบคุมโดยข้อมูลฝ่ายเดียว
    นักข่าวต้องกล้าหาญ และยืนหยัดในการรายงานความจริง

    ยุค AI กับความท้าทายของสื่อมวลชน
    AI และอัลกอริทึมเปลี่ยนโฉมวงการข่าว
    เทคโนโลยี AI ช่วยให้ ข่าวถูกสร้าง และกระจายได้รวดเร็วขึ้น
    แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ใช้อัลกอริทึมในการเลือกนำเสนอข่าว ที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้ แต่ อาจทำให้ข่าวสารถูกบิดเบือ นและเกิด Echo Chamber (ห้องเสียงสะท้อน)

    ข่าวปลอม (Fake News) และ Deepfake
    ข่าวปลอม และข้อมูลบิดเบือนแพร่กระจาย ในโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว
    เทคโนโลยี Deepfake ทำให้เกิดวิดีโอปลอม ที่เลียนแบบบุคคลจริงได้อย่างแนบเนียน
    นักข่าวต้องตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล อย่างเข้มงวด

    รายได้จากโฆษณาของสื่อดั้งเดิมลดลง
    หนังสือพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์สูญเสียรายได้ ให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น Facebook, Google
    นักข่าวต้องปรับตัวไปสู่การสร้างรายได้ ผ่านช่องทางออนไลน์ และการสมัครสมาชิก (Subscription-Based Media)

    🏛 แรงกดดันจากอำนาจรัฐและกลุ่มทุน
    นักข่าวบางคนอาจถูกคุกคาม หากรายงานข่าวที่กระทบต่อผู้มีอำนาจ
    สื่อบางสำนัก อาจถูกควบคุมโดยกลุ่มทุน ทำให้เสรีภาพทางข่าวสารถูกจำกัด

    แนวทางในการพัฒนาวงการสื่อมวลชนไทย
    ✔ สร้างมาตรฐานทางจริยธรรม นักข่าวต้องรักษาความเป็นกลาง และความถูกต้องของข้อมูล
    ✔ ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่กระจายของข่าวปลอม
    ✔ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เช่น AI ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร
    ✔ พัฒนาทักษะนักข่าวให้ทันสมัย ให้สามารถปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัล

    "นักข่าว" อาชีพที่ขับเคลื่อนความจริงและสังคมไทย
    นักข่าวเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม
    พวกเขาทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง คัดกรองข่าวสาร และตรวจสอบอำนาจ
    ในยุค AI สื่อมวลชนต้องเผชิญกับ Fake News การคุกคามจากอำนาจรัฐ และความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
    อย่างไรก็ตาม จริยธรรม ความกล้าหาญ และการยึดมั่นในความจริง จะทำให้สื่อมวลชน ยังคงเป็นเสาหลักของประชาธิปไตย

    "เพราะข่าวที่ดี ไม่ใช่แค่ข่าวที่เร็ว แต่ต้องเป็นข่าวที่ถูกต้อง"

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 051127 มี.ค. 2568

    #วันนักข่าว #นักข่าวไทย #สื่อมวลชน #FreedomOfPress #AIกับสื่อ #ข่าวปลอม #FakeNews #Deepfake #PressFreedom #MediaEthics
    5 มีนาคม “วันนักข่าว” กับบทบาทสื่อมวลชนในยุค AI เผยความจริง สิ่งลวงตา และการถ่วงดุลอำนาจ 📅 วันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น "วันนักข่าว" หรือ "วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ" ในประเทศไทย ซึ่งเป็นวันสำคัญของวงการสื่อสารมวลชน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากวันสถาปนา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 ปัจจุบัน บทบาทของนักข่าวและสื่อมวลชน กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในยุคดิจิทัล และเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ที่ไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งข้อเท็จจริงและข่าวลวง (Fake News) บทบาทของสื่อ จึงไม่ใช่เพียงรายงานข่าวเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่คัดกรอง ตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้สังคมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อ งและเป็นธรรม 📖 ความเป็นมาของวันนักข่าว จุดกำเนิดของวันนักข่าวในไทย 🎙 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ปัจจุบันคือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นโดยนักข่าวรุ่นบุกเบิก 15 คน ที่รวมตัวกันที่ศาลานเรศวร ในสวนลุมพินี โดยมี นายชาญ สินศุข จากสยามนิกร เป็นประธานการประชุม 🔹 ในอดีต หนังสือพิมพ์ไทยยึดถือธรรมเนียมว่า วันที่ 6 มีนาคม ของทุกปี จะเป็นวันหยุดงานของนักข่าว และจะไม่มีหนังสือพิมพ์วางจำหน่าย แต่เมื่อเวลาผ่านไป สังคมมีความต้องการบริโภคข่าวสารมากขึ้น ทำให้ต้องยุติธรรมเนียมนี้ไป 🔹 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2542 สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ได้รวมตัวกับ สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และกำหนดให้วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันนักข่าว อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน 🎥 บทบาทสำคัญของนักข่าวในสังคมไทย นักข่าวไม่ได้เป็นเพียงผู้รายงานข่าว แต่ยังมีบทบาทสำคัญในหลายมิติของสังคม ตั้งแต่การเฝ้าระวังอำนาจ การเปิดโปงความจริง ไปจนถึงการสร้างความตระหนักรู้ และขับเคลื่อนสังคม 🏛 เฝ้าระวังและตรวจสอบอำนาจ (Watchdog Journalism) ✅ นักข่าวทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ ✅ เปิดโปงการทุจริต คอร์รัปชัน และความไม่ชอบมาพากลในสังคม ✅ ปกป้องประชาชน จากการถูกเอารัดเอาเปรียบ 📰 ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของประชาชน ✅ รายงานข่าวสารด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ✅ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล การเลือกตั้ง และภัยพิบัติ ✅ ช่วยให้ประชาชนตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง บนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 🚨 สร้างกระแส และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ✅ นำเสนอปัญหาสำคัญ เช่น ความเหลื่อมล้ำ สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม ✅ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และการแก้ไขปัญหา ✅ เป็นช่องทางในการเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับประชาชน 🎤 เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน ✅ นำเสนอเรื่องราวของผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่ถูกกดขี่ ✅ ให้พื้นที่แก่ประชาชน ในการแสดงความคิดเห็น ✅ ช่วยให้เสียงของประชาชน ถูกได้ยินในเวทีสาธารณะ 🔓 สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ✅ สื่อมวลชนเป็นหัวใจของ ประชาธิปไตย ✅ หากปราศจากเสรีภาพทางสื่อ สังคมอาจถูกควบคุมโดยข้อมูลฝ่ายเดียว ✅ นักข่าวต้องกล้าหาญ และยืนหยัดในการรายงานความจริง 🌍 ยุค AI กับความท้าทายของสื่อมวลชน 🤖 AI และอัลกอริทึมเปลี่ยนโฉมวงการข่าว 🔹 เทคโนโลยี AI ช่วยให้ ข่าวถูกสร้าง และกระจายได้รวดเร็วขึ้น 🔹 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ใช้อัลกอริทึมในการเลือกนำเสนอข่าว ที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้ แต่ อาจทำให้ข่าวสารถูกบิดเบือ นและเกิด Echo Chamber (ห้องเสียงสะท้อน) 🚨 ข่าวปลอม (Fake News) และ Deepfake 🔹 ข่าวปลอม และข้อมูลบิดเบือนแพร่กระจาย ในโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว 🔹 เทคโนโลยี Deepfake ทำให้เกิดวิดีโอปลอม ที่เลียนแบบบุคคลจริงได้อย่างแนบเนียน 🔹 นักข่าวต้องตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล อย่างเข้มงวด 💰 รายได้จากโฆษณาของสื่อดั้งเดิมลดลง 🔹 หนังสือพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์สูญเสียรายได้ ให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น Facebook, Google 🔹 นักข่าวต้องปรับตัวไปสู่การสร้างรายได้ ผ่านช่องทางออนไลน์ และการสมัครสมาชิก (Subscription-Based Media) 🏛 แรงกดดันจากอำนาจรัฐและกลุ่มทุน 🔹 นักข่าวบางคนอาจถูกคุกคาม หากรายงานข่าวที่กระทบต่อผู้มีอำนาจ 🔹 สื่อบางสำนัก อาจถูกควบคุมโดยกลุ่มทุน ทำให้เสรีภาพทางข่าวสารถูกจำกัด ✅ แนวทางในการพัฒนาวงการสื่อมวลชนไทย ✔ สร้างมาตรฐานทางจริยธรรม นักข่าวต้องรักษาความเป็นกลาง และความถูกต้องของข้อมูล ✔ ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่กระจายของข่าวปลอม ✔ ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เช่น AI ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ✔ พัฒนาทักษะนักข่าวให้ทันสมัย ให้สามารถปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มดิจิทัล 🎯 "นักข่าว" อาชีพที่ขับเคลื่อนความจริงและสังคมไทย 👥 นักข่าวเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม 📢 พวกเขาทำหน้าที่รายงานข้อเท็จจริง คัดกรองข่าวสาร และตรวจสอบอำนาจ 🌍 ในยุค AI สื่อมวลชนต้องเผชิญกับ Fake News การคุกคามจากอำนาจรัฐ และความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 📌 อย่างไรก็ตาม จริยธรรม ความกล้าหาญ และการยึดมั่นในความจริง จะทำให้สื่อมวลชน ยังคงเป็นเสาหลักของประชาธิปไตย 💡 "เพราะข่าวที่ดี ไม่ใช่แค่ข่าวที่เร็ว แต่ต้องเป็นข่าวที่ถูกต้อง" ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 051127 มี.ค. 2568 🔖 #วันนักข่าว #นักข่าวไทย #สื่อมวลชน #FreedomOfPress #AIกับสื่อ #ข่าวปลอม #FakeNews #Deepfake #PressFreedom #MediaEthics
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1520 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts