• Newsstory : สตง.จารึกไว้ ตรวจชาวบ้านได้ ทีตัวเองไม่ให้ใครตรวจ

    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    #นิวส์สตอรี่ #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล
    #สตง #จารึกไว้ #สตงตรวจสอบ
    Newsstory : สตง.จารึกไว้ ตรวจชาวบ้านได้ ทีตัวเองไม่ให้ใครตรวจ #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #สตง #จารึกไว้ #สตงตรวจสอบ
    Like
    Love
    4
    0 Comments 0 Shares 130 Views 7 0 Reviews
  • สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’

    เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง

    ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้

    มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า
    – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ
    – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า
    – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป

    เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’

    ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ

    เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272
    https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html
    http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm
    https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000
    http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/
    https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00

    #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจเคยขอให้เขียนเกี่ยวกับวลีจีนที่มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ วันนี้ Storyฯ จะมาคุยเกี่ยวกับคำพังเพยที่หลายท่านต้องร้อง “อ๋อ!” ซึ่งก็คือ ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ (หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ / 狸猫换太子) หรือที่แฟนคลับเปาบุ้นจิ้นต้องเคยได้ยินชื่อตอน ‘คดีสับเปลี่ยนพระโอรส’ เป็นคำพังเพยที่ไม่ได้มาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ แต่เป็นการอ้างอิงเรื่องเล่าที่มีตัวละครจากประวัติศาสตร์ แรกเริ่มเป็นละครงิ้วในสมัยราชวงศ์หยวน ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของนวนิยาย <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> (ซ้านเสียอู่อี้ / 三俠五義) ที่ประพันธ์ขึ้นโดยสืออวี้คุ้น ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอิงประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่งเดินเรื่องโดยเปาบุ้นจิ้น และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์หลายครั้ง ในเนื้อความเดิมจาก <สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม> นั้น กล่าวถึงพระนางหลิวเอ๋อ ซึ่งก็คือพระอัครมเหสีในองค์ซ่งเจินจง และต่อมาเป็นไทเฮาและผู้สำเร็จราชการแทนองค์ซ่งเหรินจงเป็นเวลาเก้าปี (ค.ศ. 1022–1031) โดยเล่าว่าพระนางหลิวเอ๋อริษยาพระชายาหลี่เฉินที่ได้ความรักจากองค์ซ่งเจินจง และต้องการรักษาราชอำนาจแต่แท้งลูก จึงเอาศพแมวป่าถลกหนังออกสลับไปเป็นลูกของพระชายาหลี่ที่เพิ่งคลอดออกมา แล้วสลับเอาลูกของพระชายาหลี่มาเป็นลูกของตนเพื่อว่าเด็กจะได้เป็นองค์ชายรัชทายาทและขึ้นครองราชย์ต่อไป ส่วนพระชายาหลี่เฉินนั้นก็ถูกจองจำในตำหนักเย็นเพราะคลอดลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาด ต่อมาเปาบุ้นจิ้นสืบสวนจนปรากฏข้อเท็จจริง (ขออภัยที่ไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ในละครเรื่อง <จอมนางแห่งวังหลัง> ได้มีการนำเสนออีกในแง่มุม ว่าเรื่องราวการสลับองค์ชายเป็นแผนขององค์ฮ่องเต้ซ่งเจินจงเพื่อไม่ให้ราชอำนาจในราชสำนักสั่นคลอน เรียกได้ว่าลบภาพลักษณ์ตัวร้ายของพระนางหลิวเอ๋อออกไปได้ รายละเอียดความเป็นมาเป็นอย่างไร ติดตามดูกันได้ในละครเรื่องนี้ มีคนเคยวิเคราะห์แล้วว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หลายประเด็น เช่นว่า – ตอนที่องค์ซ่งเหรินจงสืบหาความจริงเกี่ยวกับแม่แท้ๆ นั้น เปาบุ้นจิ้นยังไม่เข้ารับราชการ – พระนางหลิวเอ๋อไม่จำเป็นต้องสลับลูกเพราะนางเองในตอนนั้นมีฐานอำนาจที่มั่นคงมากแล้ว อีกทั้งนางพบรักกับองค์ซ่งเจินจงมานานก่อนหน้านั้น และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฮ่องเต้ทรงโปรดปรานพระชายาหลี่เฉินมากกว่า – พระนางหลิวเอ๋อจัดงานศพพระชายาหลี่เฉินให้ตามพิธีการของอัครมเหสี ไม่ใช่ชายาทั่วไป เรื่องราวที่แท้จริงตามประวัติศาสตร์เป็นอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่าพระนางหลิวเอ๋อใช้พระราชอำนาจในการบริหารบ้านเมืองได้ดี เป็นอีกหนึ่งสตรีเหล็กแห่งประวัติศาสตร์จีน และเรื่องสับเปลี่ยนพระโอรสนี้กลายเป็นนิทานปรำปราและเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ‘แมวป่าสับเปลี่ยนองค์ชายรัชทายาท’ หรือ ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ ในวลี ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ นี้ Storyฯ แปลคำว่า ‘หลีเม้า’ เป็นแมวป่า แต่จริงๆ แล้วมันหน้าตาเป็นอย่างไร Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ เพราะบ้างบรรยายว่ามันเป็นแมวลายดาว (Leopard Cat) และบ้างว่ามันเป็นแมวชะมด (Civet Cat) หน้าตาต่างกันค่อนข้างมาก เลยแปะรูปมาให้ดูเป็นการเปรียบเทียบ เล่ามาเสียยืดยาว สรุป ‘หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ’ หมายถึงอะไร? เป็นคำพังเพยที่หมายความว่า เอาของปลอมมาสลับเปลี่ยนแทนของจริง หรือที่บ้านเราอาจเรียกว่า ‘ย้อมแมวขาย’ นั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=efb5598dede9bd9a810a7272 https://www.163.com/dy/article/G72T9QTQ05179OJ2.html http://www.china.org.cn/english/scitech/67652.htm https://felids.wordpress.com/2011/12/14/cats-in-china-leopard-cat/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/8060072274706103379?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=4mgrmib6ruo000 http://k.sina.com.cn/article_5863047530_15d77016a00100jl1w.html?from=history#/ https://new.qq.com/rain/a/20211209A08QHG00 #จอมนางแห่งวังหลัง #หลิวเอ๋อ #สับเปลี่ยนพระโอรส #เปาบุ้นจิ้น #หลีเม้า #แมวป่าจีน #หลีเม้าฮ่วนไท่จื่อ
    《大宋宫词》评分下滑惨烈,古装剧只有唯美画风是不够的_百科TA说
    百度百科是一部内容开放、自由的网络百科全书,旨在创造一个涵盖所有领域知识,服务所有互联网用户的中文知识性百科全书。在这里你可以参与词条编辑,分享贡献你的知识。
    1 Comments 0 Shares 640 Views 0 Reviews
  • 48 ปี โศกนาฏกรรมกลางรันเวย์ “โบอิง 747” ชนกันที่เตเนริเฟ 🇪🇸✈️ สำเนียงสเปนพ่นพิษ นักบินสื่อสารผิดพลาด 583 ศพ บทเรียนราคาแพงจากท่าอากาศยาน ท่ามกลางหมอกหนา ความเครียด และสำเนียงที่ฟังยาก

    🌫️ โศกนาฏกรรมแห่งเตเนริเฟ 🔥 ย้อนไปเมื่อ 48 ปี ที่ผ่านมา ช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นวันที่โลกต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การบิน เมื่อเครื่องบินโดยสารขนาดยักษ์ โบอิง 747 ของสายการบิน KLM และ Pan Am ชนกันกลางรันเวย์ที่สนามบินโลสโรเดโอส ปัจจุบันคือท่าอากาศยานเตเนริเฟนอร์เต เกาะเตเนริเฟ ประเทศสเปน

    ผลที่ตามมาคือ ผู้เสียชีวิต 583 ราย และบาดเจ็บ 61 คน เป็นอุบัติเหตุทางอากาศ ที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยีขัดข้อง หากแต่เป็นผลพวงจากปัจจัยมนุษย์ (Human Error) และการสื่อสารที่ผิดพลาด ท่ามกลางความกดดัน

    ✈️💥 บริบทก่อนเกิดเหตุ ในช่วงบ่ายของวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2520 "สนามบินกรันกานาเรีย" ซึ่งเป็นสนามบินหลักของหมู่เกาะคานารี ถูกขู่วางระเบิด ทำให้ต้องปิดการใช้งานชั่วคราว ✋🔴

    เครื่องบินหลายลำ รวมถึงเที่ยวบิน KLM 4805 และ Pan Am 1736 จำเป็นต้องลงจอดที่สนามบินสำรองอย่าง “โลสโรเดโอส” ซึ่งเป็นสนามบินขนาดเล็ก ที่ไม่มีความพร้อมรองรับ เครื่องบินลำใหญ่จำนวนมาก

    🕰️ จุดเริ่มต้นของหายนะ 🧨
    - KLM 4805 เดินทางจากอัมสเตอร์ดัม พร้อมผู้โดยสาร 234 คน และลูกเรือ 14 คน
    - Pan Am 1736:เดินทางจากลอสแอนเจลิส แวะนิวยอร์ก มุ่งหน้ากรุงมาดริด พร้อมผู้โดยสาร 380 คน และลูกเรือ 16 คน

    หลังจากเครื่องบินหลายลำลงจอด และจอดเรียงรายกันในพื้นที่จำกัด เจ้าหน้าที่ต้องบริหารพื้นที่ อย่างเร่งด่วน ก่อให้เกิดความเครียด ทั้งในหอบังคับการบินและลูกเรือ

    🚧 จุดเปลี่ยนสำคัญคือ กัปตันของ KLM ตัดสินใจเติมน้ำมันให้เต็มถัง เพื่อเลี่ยงเติมที่สนามบินปลายทางเ พราะราคาถูกกว่า ทำให้ต้องจอดนานกว่าเดิม และขัดขวางการเคลื่อนตัวของ Pan Am

    ☁️ หมอกและความสับสน ภัยเงียบแห่งรันเวย์ 🗣️ เมื่อสนามบินกรันกานาเรียเปิดใช้งานอีกครั้ง การจราจรทางอากาศในโลสโรเดโอส วุ่นวายทันที

    📻 หอบังคับการบิน ต้องจัดการเครื่องบินหลายลำ แต่ขาดเรดาร์ภาคพื้นดิน ทำให้พวกเขามองไม่เห็นตำแหน่งเครื่องบิน ต้องอาศัยการสื่อสารวิทยุแทน

    ✋ จุดวิกฤตเกิดขึ้นเมื่อ KLM เข้าใจผิดว่า สามารถนำเครื่องขึ้นได้ทันที ขณะที่ Pan Am ยังอยู่บนรันเวย์เดียวกัน!

    สำเนียงสเปน กับความคลุมเครือของคำว่า “Takeoff” 😓📡

    📌 ขณะที่ KLM กำลังเตรียมนำเครื่องขึ้น นักบินผู้ช่วยพูดว่า

    “We are now at takeoff.”

    ซึ่งไม่ใช่ประโยคขออนุญาตขึ้นบินโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารที่ทำให้เข้าใจคลุมเครือ หอบังคับการบินตอบกลับว่า

    “OK, stand by for takeoff, I will call you.”

    แต่...❗เสียงตอบกลับนั้น ถูกกลืนหายไปกับคลื่นรบกวน ทำให้นักบิน KLM ไม่ได้ยินคำสั่งเต็ม ๆ

    🔥 การชนที่ไม่ควรเกิดขึ้น 💔 KLM เร่งนำเครื่องขึ้น โดยเข้าใจว่าได้รับอนุญาต ขณะที่ Pan Am กำลังเคลื่อนผ่านทางแยก วิ่งบนรันเวย์เดียวกัน หมอกหนาทำให้มองไม่เห็น

    ผลลัพธ์คือ ❌

    ✈️ เครื่องบิน KLM ชนเข้ากลางลำ Pan Am อย่างรุนแรง

    💥 ไฟลุกท่วมเครื่องบินทั้งสองลำในทันที

    - เสียชีวิตจาก KLM 248 ศพ (รอด = 0)
    - เสียชีวิตจาก Pan Am 335 ศพ (รอด = 61 คน)

    😢 บทวิเคราะห์: สาเหตุแห่งหายนะ 🔍
    ปัจจัยมนุษย์ (Human Error)
    - ความเครียดของกัปตัน KLM ที่ต้องรับแรงกดดัน จากบริษัทห้ามดีเลย์ 🕒
    - ขาดการสื่อสารชัดเจน ระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน 📻
    - สำเนียงสเปน ทำให้สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ชัดเจน 🗣️

    ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
    - สนามบินโลสโรเดโอส ไม่มีเรดาร์พื้นดิน ❌
    - หมอกลงจัด มองไม่เห็นปลายรันเวย์ 🌫️
    - พื้นที่สนามบิน ไม่พร้อมรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่หลายลำ 🚫

    📚🛫 หลังเหตุการณ์นี้ อุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ได้ปรับปรุงมาตรการอย่างจริงจัง
    ✅ การสื่อสารต้องใช้ภาษามาตรฐาน และชัดเจนมากขึ้น (Standard Phraseology)
    ✅ ห้ามนักบินตีความเอง โดยไม่มีการอนุญาตชัดเจน
    ✅ มีการพัฒนา Cockpit Resource Management (CRM) เพื่อเน้นการทำงานเป็นทีมระหว่างลูกเรือ
    ✅ ระบบเรดาร์พื้นดิน (Ground Radar) ถูกติดตั้งในสนามบินใหญ่ ๆ ทั่วโลก

    😨 เหตุการณ์ที่เกือบซ้ำรอยในปี 2542 🛬
    เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 ที่สนามบินโอแฮร์ สหรัฐอเมริกา ✈️
    - Korean Air เที่ยวบิน 36 Boeing 747 พร้อมผู้โดยสาร 340 คน
    - China Airlines เที่ยวบิน 9018 Boeing 747 เช่นกัน

    เกือบชนกันกลางรันเวย์ เนื่องจากความเข้าใจผิด ในการจราจรทางอากาศ แต่โชคดีที่หลีกเลี่ยงได้ทันโดยเครื่องบินอยู่ห่างกันเพียง 75 ฟุตเท่านั้น 😱

    🕯️ 583 ชีวิต กับบทเรียนที่ไม่มีวันลืม ✈️ “โศกนาฏกรรมเตเนริเฟ” เป็นบทเรียนราคาแพงที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ ที่สอนเราให้ระมัดระวังในการสื่อสาร การจัดการความเสี่ยง และให้ความสำคัญ กับมาตรฐานความปลอดภัยการบิน ✈️🧠

    แม้เวลาจะผ่านไป 48 ปี... แต่ความสูญเสีย และบทเรียนจากเหตุการณ์นี้ ยังคงส่องแสงเป็นคำเตือน ถึงทุกคนในวงการการบินเสมอ

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 271250 มี.ค. 2568

    📲 #TenerifeDisaster #Boeing747 #PlaneCrashHistory #AirlineSafety #KLM4805 #PanAm1736 #AirCrashInvestigation #อุบัติเหตุทางการบิน #โบอิง747ชนกัน #บทเรียนการบิน
    48 ปี โศกนาฏกรรมกลางรันเวย์ “โบอิง 747” ชนกันที่เตเนริเฟ 🇪🇸✈️ สำเนียงสเปนพ่นพิษ นักบินสื่อสารผิดพลาด 583 ศพ บทเรียนราคาแพงจากท่าอากาศยาน ท่ามกลางหมอกหนา ความเครียด และสำเนียงที่ฟังยาก 🌫️ โศกนาฏกรรมแห่งเตเนริเฟ 🔥 ย้อนไปเมื่อ 48 ปี ที่ผ่านมา ช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นวันที่โลกต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การบิน เมื่อเครื่องบินโดยสารขนาดยักษ์ โบอิง 747 ของสายการบิน KLM และ Pan Am ชนกันกลางรันเวย์ที่สนามบินโลสโรเดโอส ปัจจุบันคือท่าอากาศยานเตเนริเฟนอร์เต เกาะเตเนริเฟ ประเทศสเปน ผลที่ตามมาคือ ผู้เสียชีวิต 583 ราย และบาดเจ็บ 61 คน เป็นอุบัติเหตุทางอากาศ ที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยีขัดข้อง หากแต่เป็นผลพวงจากปัจจัยมนุษย์ (Human Error) และการสื่อสารที่ผิดพลาด ท่ามกลางความกดดัน ✈️💥 บริบทก่อนเกิดเหตุ ในช่วงบ่ายของวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2520 "สนามบินกรันกานาเรีย" ซึ่งเป็นสนามบินหลักของหมู่เกาะคานารี ถูกขู่วางระเบิด ทำให้ต้องปิดการใช้งานชั่วคราว ✋🔴 เครื่องบินหลายลำ รวมถึงเที่ยวบิน KLM 4805 และ Pan Am 1736 จำเป็นต้องลงจอดที่สนามบินสำรองอย่าง “โลสโรเดโอส” ซึ่งเป็นสนามบินขนาดเล็ก ที่ไม่มีความพร้อมรองรับ เครื่องบินลำใหญ่จำนวนมาก 🕰️ จุดเริ่มต้นของหายนะ 🧨 - KLM 4805 เดินทางจากอัมสเตอร์ดัม พร้อมผู้โดยสาร 234 คน และลูกเรือ 14 คน - Pan Am 1736:เดินทางจากลอสแอนเจลิส แวะนิวยอร์ก มุ่งหน้ากรุงมาดริด พร้อมผู้โดยสาร 380 คน และลูกเรือ 16 คน หลังจากเครื่องบินหลายลำลงจอด และจอดเรียงรายกันในพื้นที่จำกัด เจ้าหน้าที่ต้องบริหารพื้นที่ อย่างเร่งด่วน ก่อให้เกิดความเครียด ทั้งในหอบังคับการบินและลูกเรือ 🚧 จุดเปลี่ยนสำคัญคือ กัปตันของ KLM ตัดสินใจเติมน้ำมันให้เต็มถัง เพื่อเลี่ยงเติมที่สนามบินปลายทางเ พราะราคาถูกกว่า ทำให้ต้องจอดนานกว่าเดิม และขัดขวางการเคลื่อนตัวของ Pan Am ☁️ หมอกและความสับสน ภัยเงียบแห่งรันเวย์ 🗣️ เมื่อสนามบินกรันกานาเรียเปิดใช้งานอีกครั้ง การจราจรทางอากาศในโลสโรเดโอส วุ่นวายทันที 📻 หอบังคับการบิน ต้องจัดการเครื่องบินหลายลำ แต่ขาดเรดาร์ภาคพื้นดิน ทำให้พวกเขามองไม่เห็นตำแหน่งเครื่องบิน ต้องอาศัยการสื่อสารวิทยุแทน ✋ จุดวิกฤตเกิดขึ้นเมื่อ KLM เข้าใจผิดว่า สามารถนำเครื่องขึ้นได้ทันที ขณะที่ Pan Am ยังอยู่บนรันเวย์เดียวกัน! สำเนียงสเปน กับความคลุมเครือของคำว่า “Takeoff” 😓📡 📌 ขณะที่ KLM กำลังเตรียมนำเครื่องขึ้น นักบินผู้ช่วยพูดว่า “We are now at takeoff.” ซึ่งไม่ใช่ประโยคขออนุญาตขึ้นบินโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารที่ทำให้เข้าใจคลุมเครือ หอบังคับการบินตอบกลับว่า “OK, stand by for takeoff, I will call you.” แต่...❗เสียงตอบกลับนั้น ถูกกลืนหายไปกับคลื่นรบกวน ทำให้นักบิน KLM ไม่ได้ยินคำสั่งเต็ม ๆ 🔥 การชนที่ไม่ควรเกิดขึ้น 💔 KLM เร่งนำเครื่องขึ้น โดยเข้าใจว่าได้รับอนุญาต ขณะที่ Pan Am กำลังเคลื่อนผ่านทางแยก วิ่งบนรันเวย์เดียวกัน หมอกหนาทำให้มองไม่เห็น ผลลัพธ์คือ ❌ ✈️ เครื่องบิน KLM ชนเข้ากลางลำ Pan Am อย่างรุนแรง 💥 ไฟลุกท่วมเครื่องบินทั้งสองลำในทันที - เสียชีวิตจาก KLM 248 ศพ (รอด = 0) - เสียชีวิตจาก Pan Am 335 ศพ (รอด = 61 คน) 😢 บทวิเคราะห์: สาเหตุแห่งหายนะ 🔍 ปัจจัยมนุษย์ (Human Error) - ความเครียดของกัปตัน KLM ที่ต้องรับแรงกดดัน จากบริษัทห้ามดีเลย์ 🕒 - ขาดการสื่อสารชัดเจน ระหว่างนักบินกับหอบังคับการบิน 📻 - สำเนียงสเปน ทำให้สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ชัดเจน 🗣️ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม - สนามบินโลสโรเดโอส ไม่มีเรดาร์พื้นดิน ❌ - หมอกลงจัด มองไม่เห็นปลายรันเวย์ 🌫️ - พื้นที่สนามบิน ไม่พร้อมรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่หลายลำ 🚫 📚🛫 หลังเหตุการณ์นี้ อุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ได้ปรับปรุงมาตรการอย่างจริงจัง ✅ การสื่อสารต้องใช้ภาษามาตรฐาน และชัดเจนมากขึ้น (Standard Phraseology) ✅ ห้ามนักบินตีความเอง โดยไม่มีการอนุญาตชัดเจน ✅ มีการพัฒนา Cockpit Resource Management (CRM) เพื่อเน้นการทำงานเป็นทีมระหว่างลูกเรือ ✅ ระบบเรดาร์พื้นดิน (Ground Radar) ถูกติดตั้งในสนามบินใหญ่ ๆ ทั่วโลก 😨 เหตุการณ์ที่เกือบซ้ำรอยในปี 2542 🛬 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 ที่สนามบินโอแฮร์ สหรัฐอเมริกา ✈️ - Korean Air เที่ยวบิน 36 Boeing 747 พร้อมผู้โดยสาร 340 คน - China Airlines เที่ยวบิน 9018 Boeing 747 เช่นกัน เกือบชนกันกลางรันเวย์ เนื่องจากความเข้าใจผิด ในการจราจรทางอากาศ แต่โชคดีที่หลีกเลี่ยงได้ทันโดยเครื่องบินอยู่ห่างกันเพียง 75 ฟุตเท่านั้น 😱 🕯️ 583 ชีวิต กับบทเรียนที่ไม่มีวันลืม ✈️ “โศกนาฏกรรมเตเนริเฟ” เป็นบทเรียนราคาแพงที่สุดครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ ที่สอนเราให้ระมัดระวังในการสื่อสาร การจัดการความเสี่ยง และให้ความสำคัญ กับมาตรฐานความปลอดภัยการบิน ✈️🧠 แม้เวลาจะผ่านไป 48 ปี... แต่ความสูญเสีย และบทเรียนจากเหตุการณ์นี้ ยังคงส่องแสงเป็นคำเตือน ถึงทุกคนในวงการการบินเสมอ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 271250 มี.ค. 2568 📲 #TenerifeDisaster #Boeing747 #PlaneCrashHistory #AirlineSafety #KLM4805 #PanAm1736 #AirCrashInvestigation #อุบัติเหตุทางการบิน #โบอิง747ชนกัน #บทเรียนการบิน
    0 Comments 0 Shares 779 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 Comments 0 Shares 717 Views 0 Reviews
  • และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น

    เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง

    เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162)

    ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน

    จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ

    1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878)
    2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)
    3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)
    4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838)
    5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801)
    6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077)
    7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้
    8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973)
    9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778)
    10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169)
    11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245)
    12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553)

    สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
    (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00
    Metropolitan Museum of Arts
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162) ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ 1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878) 2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) 3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) 4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838) 5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801) 6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077) 7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้ 8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973) 9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778) 10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169) 11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245) 12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553) สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน) Credit รูปภาพจาก: https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00 Metropolitan Museum of Arts Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 1013 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี

    หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้

    ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี

    เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา

    เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง

    นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด

    หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

    นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ)

    ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996
    https://www.sohu.com/a/279050528_100018792
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800
    https://www.gugong.net/wenhua/40018.html
    http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/
    https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    วันนี้มาคุยต่อกับสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่สิบเอ็ดที่จะคุยกันวันนี้คือภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปที่ตำหนักจิ่งหยางกง ซึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงภายหลังจากการซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่โดยองค์คังซีแล้ว ถูกใช้เป็นที่เก็บงานศิลปะ ไม่เคยเป็นที่ประทับของพระสนมหรือมเหสี หม่าฮองเฮาที่กล่าวถึงนี้คือ ฮองเฮาหมิงเต๋อ พระมเหสีในองค์หมิงตี้ (ค.ศ. 26-75) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของพระนางคือแม่ทัพหม่าหยวน หนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ พระราชบิดาขององค์หมิงตี้ ไม่ปรากฏนามเดิมของหม่าฮองเฮาในบันทึกประวัติศาสตร์ มีเพียงกล่าวถึงว่า นางเสียบิดาและพี่ชายไปเมื่อยังเยาว์วัยในรัชสมัยของกวงอู่ตี้ มารดาตรอมใจจนป่วยหนัก นางดูแลเรือนตระกูลหม่าแทนแม่ตั้งแต่อายุได้เพียงสิบขวบ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) พ่อของหม่าฮองเฮาถูกใส่ร้ายป้ายสีหลังจากเสียชีวิตกลางสนามรบ ตระกูลของนางตกต่ำ แต่สุดท้ายพี่ชายของนาง (ลูกของน้าชายของนาง) อาศัยผลงานความดีความชอบและความสัมพันธ์ด้านฝ่ายในของตระกูลหม่าที่มีมาหลายชั่วอายุคน ขอให้กวงอู่ตี้รับหนึ่งในลูกสาวสามคนของแม่ทัพหม่าหยวนเข้าวัง สุดท้ายเป็นลูกสาวคนเล็กที่ได้รับเลือกเข้าไปรับใช้ในพระตำหนักขององค์ชายรัชทายาทโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งยศศักดิ์อะไร นางปรนนิบัติหลิวจวงอีกทั้งฮองเฮาและเหล่าพระภรรยาอย่างใกล้ชิดจนได้รับความเอ็นดูเป็นอย่างดี เมื่อองค์หลิวจวงขึ้นครองราชย์ นางได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหริน นางไม่มีบุตร แต่เพราะเป็นคนที่นิสัยอ่อนโยนมีการศึกษาดี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นางจึงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูลูกชายจากภรรยาอื่นของฮั่นหมิงตี้คือเด็กชายหลิวต๋า (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นจางตี้) จวบจนสามปีให้หลังจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาภายใต้การเสนอชื่อของไทเฮา เป็นที่กล่าวขานว่านางมีความรู้ความรอบคอบ หลายครั้งที่ฮั่นหมิงตี้ให้นางช่วยดูและให้ความเห็นต่อฎีกา นางก็ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ดี จึงเป็นที่ชื่นชมและโปรดปรานของฮั่นหมิงตี้ ต่อมาในรัชสมัยของฮั่นจางตี้ นางยังคงช่วยให้คำปรึกษาที่ดีต่อฮั่นจางตี้ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง นางขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในฮองเฮาที่วางตัวได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน และไม่เคยใช้อิทธิพลเกื้อหนุนตระกูลหม่า มีตัวอย่างว่า นางได้เสนอให้ลบชื่อพี่ชายของตนออกจากบันทึกคุณงามความดีของข้าราชสำนักเดิมตอนสมัยผัดเปลี่ยนรัชสมัยมาเป็นฮั่นจางตี้ อีกทั้งคัดค้านไม่ให้คนในตระกูลหม่ารับอิสริยยศ โดยให้เหตุผลต่อฮั่นจางตี้ว่า ไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังมองว่าเหล่าขุนนางสูงศักดิ์ที่ล้อมรอบฮั่นจางตี้ล้วนเป็นคนที่เกี่ยวดองกันในวังหลัง นางเตือนสติฮั่นจางตี้ว่า การให้อิสริยยศกับคนต่างสกุลต้องทำด้วยความรอบคอบ ผลงานของเหล่าข้าราชสำนักล้วนเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลให้มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เพราะนาง คนในตระกูลหม่าปฏิเสธที่จะรับยศโหว แม้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ปฏิเสธไม่รับพื้นที่การปกครอง และสุดท้ายก็ลาออกจากตำแหน่งในที่สุด หม่าฮองเฮาริเริ่มให้มีการจัดทำบันทึกที่เรียกว่า ‘ฉี่จวีจู้’ (起居注) ซึ่งจริงๆ ก็คือไดอารี่บันทึกกิจวัตรประจำวันของฮ่องเต้ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบหนึ่งของวิธีบันทึกประวัติศาสตร์ในวัง และเป็นเอกสารสำคัญให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา นางจึงถูกยกย่องให้เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน นอกจากนี้นางยังขึ้นชื่อว่าเป็นคนประหยัด ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นเขียนไว้ว่า เสื้อผ้าของนางล้วนตัดเย็บจากผ้าเนื้อหยาบต้มจนนิ่ม กระโปรงไม่เย็บแถบชาย เป็นการแต่งกายที่ไม่แตกต่างจากชาวบ้านธรรมดา เมื่อสนมนางในถาม นางให้เหตุผลว่าผ้าเนื้อหยาบที่หาได้ง่ายกว่าผ้าไหมและย้อมสีได้ดีกว่า ว่ากันว่า นางคือฮองเฮาคนแรกที่แต่งกายอย่างนี้ และนี่คือเรื่องราวหลังภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (หมายเหตุ ‘เลี่ยนอี’ คือการทำเสื้อผ้าจากผ้าเนื้อหยาบ) ภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึง มัธยัสถ์ และป้ายอักษรที่ถูกพระราชทานไปคู่กันเขียนว่า ‘โหรวเจียซู่จิ้ง’ (柔嘉肃静) แปลได้ประมาณว่า อ่อนโยนอ่อนหวาน สุขุมเงียบสงบ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/43223996 https://www.sohu.com/a/279050528_100018792 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/明德皇后/29800 https://www.gugong.net/wenhua/40018.html http://www.qulishi.com/renwu/mingdemahuanghou/ https://www.163.com/dy/article/G087N9E10541M2R8.html https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100loe0.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #หม่าโฮ่ว #ฮั่นหมิงตี้ #หมิงเต๋อหวงโฮ่ว #กงซวิ่นถู
    0 Comments 0 Shares 658 Views 0 Reviews
  • กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน

    Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น

    ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก)

    หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร?

    เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ

    เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น

    จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี”

    เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846
    https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/列女传/869659
    http://www.guoxue.com/?people=fanji
    https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406
    http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html
    https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343
    https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    กลับมาคุยกันต่อถึงภาพที่ 9 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่เราจะคุยกันในวันนี้มีชื่อว่า ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ถูกพระราชทานไปที่พระตำหนักหย่งเหอกง ภาพจริงหน้าตาอย่างไร Storyฯ หาไม่พบเพราะมันสูญหายไปแล้ว ภาพที่นำมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกว่า ‘ฝานจีก่านจวง’ (ฝานจีดลใจจวงหวาง) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาว ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอกที่มี 9 ตอนจากเดิม 12 ตอน Storyฯ เคยกล่าวถึงภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้มาบ้างแล้วในบทความก่อนๆ เกี่ยวกับกงซวิ่นถู แต่ไม่ได้เล่าว่า ภาพทั้ง 12 ตอนของ ‘หนีว์สื่อเจิน’ นี้วาดขึ้นตามเนื้อหาจากบันทึก ‘เลี่ยหนี่ว์จ้วน’ (列女传 / บันทึกเรื่องราวสตรีตัวอย่าง) ที่จัดทำขึ้นในสมัยฮั่นตะวันตกโดยหลี่เซี่ยง แบ่งเป็น 7 หมวดรวมเหตุการณ์ที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างของจรรยาที่สตรีพึงมี จัดเป็นงานวรรณกรรมจำพวก ‘เหวินเหยียนเหวิน’ หรืองานวรรณกรรมภาษาโบราณ ปัจจุบันเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชนรุ่นหลังเข้าใจมากขึ้นถึงมุมมองของสังคมในสมัยนั้น ‘ฝานจี’ ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ นี้ก็เป็นพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฝานและเป็นพระภรรยาของฉู่จวงหวาง (จวงอ๋อง) กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ในสมัยชุนชิว (ประมาณ 613-691 ปีก่อนคริสตกาล) จวงหวางแห่งแคว้นฉู่นี้ต่อมาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในห้าของผู้ครองแคว้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยชุนชิว หรือที่เรียกว่า ‘ชุนชิวอู่ป้า’ (霸 /ป้า แปลได้ประมาณว่า เจ้าผู้ครองโลก) หลี่เซี่ยงเคยเขียนถึงจวงหวางไว้ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” ฝานจีไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไรที่จะช่วยจวงหวางยึดครองอาณาจักร ที่นางได้รับการยกย่องอย่างนี้เป็นเพราะนางคอยเตือนสติให้จวงหวางใส่ใจการบริหารบ้านเมือง ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องใดหรือใครจนทำให้ละเลยการบริหารบ้านเมือง แม้แต่สนมนางในฝานจีก็เป็นคนคัดเลือกเอง เพราะต้องการให้คนใกล้ชิดจวงหวางล้วนเป็นคนที่มีจรรยาและวางตัวได้ดี ไม่ยั่วยวนฉู่จวงหวางให้ลุ่มหลงมัวเมา (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) มีหลายเหตุการณ์เกี่ยวกับการเตือนสติของฝานจีได้รับการบันทึกไว้และเล่ากันต่อมา แต่ ‘ผลงานสำคัญ’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดีอวี๋ชิวจื่อ เขาเป็นขุนนางที่มีฝีมือและจงรักภักดี เป็นที่เคารพยกย่องและมีอิทธิพลมากในราชสำนัก... ว่ากันว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งจวงหวางโปรดปรานอวี๋ชิวจื่อมากจนเสวนาด้วยจนดึกดื่นทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งฝานจีเห็นจวงหวางกลับดึกมากจึงถามไถ่สาเหตุ จวงหวางตอบว่าอวี๋ซิวจื่อคนนี้มิเพียงฉลาดปราดเปรื่อง หากยังจงรักภักดี จึงชอบเสวนาด้วย แต่ฝานจีกลับหัวเราะขบขันแล้วยกตัวอย่างว่า ตัวนางเองก็เป็นที่โปรดปรานของจวงหวาง แต่ยังไม่คิดจะเหนี่ยวรั้งจวงหวางไว้กับตนเพียงผู้เดียว หากแต่ยังช่วยสรรหาหญิงที่งามพร้อมจรรยามาช่วยดูแลปรนนิบัติ อวี๋ซิวจื่อผู้นี้แม้ฉลาดปราดเปรื่อง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่เปิดโอกาสให้คนดีมีฝีมือนอกแวดวงของเขาเข้ามารับราชการ เสนอชื่อแต่เพียงคนใกล้ชิดและลูกศิษย์ให้เจริญก้าวหน้าไม่ลงโทษหนักแม้ทำผิด จะเรียกว่าจงรักภักดีทำเพื่อคุณประโยชน์ของประเทศได้อย่างไร? เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกว่า วันรุ่งขึ้นจวงหวางเล่าให้อวี๋ซิวจื่อฟังถึงคำพูดของฝานจี อวี๋ซิวจื่อได้ยินก็ฉุกใจคิดคล้อยตาม รู้สึกละอายใจจนเก็บตัวเงียบหลายวัน หลังจากนั้นเขาสรรหาและคัดเลือกคนดีมีฝีมือใหม่ๆ เข้าราชสำนัก สุดท้ายค้นพบและเสนอชื่อซุนซูเอ้าให้มารับหน้าที่อัครมหาเสนาบดีแทนตน จากนั้นก็ขอเกษียณจากราชการ เหตุการณ์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนโฉมแคว้นฉู่ ซุนซูเอ้าผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองและอัครมหาเสนาบดีที่เก่งกาจที่สุดในยุคสมัยนั้น เขาวางตนสมถะ ชี้นำให้จวงหวางยึดถือความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แคว้นฉู่เจริญยิ่งใหญ่จนกลายเป็นหนึ่งในห้าแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “ความยิ่งใหญ่ของฉู่จวงหวาง คือผลงานของฝานจี” เหตุการณ์ที่เล่าถึงในภาพกงซวิ่นถูนี้ เป็นการกล่าวถึงสมัยที่ฉู่จวงหวางขึ้นครองราชย์แคว้นฉู่ใหม่ๆ หลงรักการล่าสัตว์จนละเลยกิจการบ้านเมือง ฝานจีทั้งเตือนทั้งหว่านล้อมให้รามือหันมาดูแลบ้านเมืองเท่าไหร่ก็ไม่ใส่ใจ สุดท้ายนางจึงงดกินเนื้อสัตว์เป็นการประท้วงจนจวงหวางได้คิด เลิกเห็นการล่าสัตว์เป็นเรื่องบันเทิงและหันกลับมาให้เวลากับการบริหารบ้านเมือง ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘อี๋เจาซูเจิ้น’ (仪昭淑慎) แปลได้ประมาณว่า โอบอ้อมอารีมีสติ รักษาไว้ซึ่งจรรยาและพิธีการอันดีงาม Storyฯ เหมือนผ่านตาว่าวรรคนี้มีการพูดถึงและอธิบายไว้ในละครเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/40578846 https://kknews.cc/zh-hk/news/m6lqj5g.html#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/列女传/869659 http://www.guoxue.com/?people=fanji https://baike.baidu.com/item/樊姬/10584406 http://dzrb.dzng.com/articleContent/17_1032125.html https://hk.epochtimes.com/news/2018-05-29/28583343 https://baike.baidu.com/item/孙叔敖/669927 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ฝานจี #ฉู่จวงหวาง #ชุนชิวอู่ป้า #ฝานจีเจี้ยนเลี่ย #หนีว์สื่อเจิน #เลี่ยหนี่ว์จ้วน #หลี่เซี่ยง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 910 Views 0 Reviews
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 1027 Views 0 Reviews
  • ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย)

    สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

    ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล

    ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ

    ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย

    ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง

    ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา

    สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น

    เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/
    https://www.sohu.com/a/137977813_674592
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996
    https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114
    https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265
    http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    ผ่านมาหกสัปดาห์แล้ว วันนี้คุยกันถึงภาพที่ 7 จาก 12 ภาพกงซวิ่นถู (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะคุยกันในวันนี้คือ ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้านถู’ หรือ ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ <许后奉案图> เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ซึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นที่ประทับของฉุนเฟย ภาพนี้เป็นฝีมือของช่างวาดหลวงร่วมกันจัดทำถึงหกคนนำโดยจินคุน (หมายเหตุ จินคุนเข้ารับราชการเป็นช่างวาดหลวงมาตั้งแต่สมัยองค์คังซี คือคนที่วาดภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ถวายองค์คังซีที่ Storyฯ กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นช่างวาดหลวงถึงสามรัชสมัย) สวี่ฮองเฮาที่กล่าวถึงในภาพนี้ก็คือ สวี่ผิงจวิน ฮองเฮาในองค์ฮั่นเซวียนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ครองราชย์ปี 74-48 ก่อนคริสตกาล เป็นพระราชบิดาของฮั่นหยวนตี้ที่กล่าวถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว) เรื่องราวของพระนางและองค์ฮั่นเซวียนตี้และเกมการเมืองในสมัยนั้นถูกจารึกไว้ค่อนข้างละเอียดใน ‘ฮั่นซู’ (汉书) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่เรียบเรียงและเขียนโดยปันกู้และปันเจาสองพี่น้องในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความรักของสวี่ผิงจวินและองค์ฮั่นเซวียนตี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เรียกได้ว่ามีจุดกำเนิดที่ ‘เยี่ยถิง’ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในวังหลัง มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเหล่าสนมและนางกำนัล ฮั่นเซวียนตี้นั้นตอนเด็กมีนามเดิมว่าหลิวปิ้งอี่เพราะเป็นคนขี้โรค (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหลิวสวิน) เขาเป็นหลานปู่ทวดของฮั่นอู่ตี้ก็จริง แต่เนื่องจากปู่ของเขาซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาทถูกกล่าวหาว่าใช้ไสยศาสตร์กับตุ๊กตาไม้สาปให้องค์ฮั่นอู่ตี้ล้มป่วยลง สุดท้ายทั้งตระกูลไม่ฆ่าตัวตายก็โดนประหารจนแทบไม่เหลือใคร หลิวปิ้งอี่เวลานั้นมีอายุไม่ถึงขวบถูกจับเข้าคุกพร้อมกับพ่อ โตขึ้นในคุก แต่ยังโชคดีมีคนคอยดูแล จวบจนอายุเจ็ดขวบจึงถูกได้รับการบันทึกชื่อเข้าในพระราชพงศาวลีเป็นลูกหลานในราชสกุลและถูกย้ายไปเลี้ยงในเยี่ยถิงภายใต้การดูแลของผู้กำกับเยี่ยถิงนามว่าจางเฮ่อ ส่วนพ่อของสวี่ผิงจวินนั้นเป็นขุนนาง แต่ด้วยมีความบกพร่องในหน้าที่ตอนสืบเรื่องกบฏโดยซ่างกวนเจี๋ยในสมัยฮั่นจาวตี้ (ประมาณปี 80 ก่อนคริสตกาล) จึงถูกลงโทษลดตำแหน่งและโยกไปรับหน้าที่ในเยี่ยถิง ครั้นสวี่ผิงจวินมีอายุได้สิบสี่ปีคู่หมั้นของนางเสียชีวิต จางเฮ่อได้โอกาสจึงไปสู่ขอนางให้กับหลิวปิ้งอี่ สวี่ผิงจวินและหลิวปิ้งอี่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือหลิวซึ (ซึ่งต่อมาก็คือฮั่นหยวนตี้) ชีวิตความเป็นอยู่มัธยัสถ์ แต่ก็มีความสุขไม่น้อย ต่อมาฮั่นจาวตี้สิ้นชีพอย่างกะทันหันโดยไร้การแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท ตอนนั้นตระกูลชุยเรืองอำนาจ มีชุยกวงเป็นต้าซือหม่า (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในสมัยนั้น) ชุยกวงผลักดันให้หลิวปิ้งอี่ซึ่งมีอายุสิบแปดปีได้เข้าเฝ้าซ่างกวนไทเฮาและได้รับการอวยยศเป็นหยางอู่โหว จุดมุ่งหมายคือให้เพื่อให้ซ่างกวนไทเฮาได้เห็นถึงนิสัยใจคอและการศึกษา จนซ่างกวนไทเฮายอมรับแล้วชุยกวงจึงนำคณะขุนนางเสนอชื่อหลิวปิ่งอี้ขึ้นครองราชย์เป็นองค์ฮั่นเซวียนตี้ แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่ไร้อำนาจ เป็นเพียงหุ่นเชิดให้กับชุยกวง ในตอนนั้น สวี่ผิงจวินได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมลำดับเจี๋ยอวี๋ และภรรยาของชุยกวงอยากให้ลูกสาวซึ่งก็คือชุยเฉิงจวินได้เป็นฮองเฮา ฮั่นเซวียนตี้ในตอนนั้นไม่รู้ว่าจะปฏิเสธอย่างไร จึงออกพระราชโองการมาฉบับหนึ่ง ใจความว่า เขาคิดถึงกระบี่ที่เคยพกติดกายยามยากจนตกอับ แม้ว่าไม่ใช่กระบี่ที่เลอเลิศมากมาย แต่เป็นกระบี่คู่ใจที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ฝากให้เหล่าขุนนางช่วยเสาะหากระบี่เล่มนั้นกลับมาให้ด้วย เหล่าขุนนางพอจะตีความนัยออกว่าฮั่นเซวียนตี้ไม่ต้องการทอดทิ้งคนที่เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก จึงเข้าชื่อกันเสนอให้แต่งตั้งสวี่ผิงจวินเป็นฮองเฮา เรื่องนี้ถูกเล่าขานกันต่อมากลายเป็นสุภาษิตที่เรียกว่า ‘กู้เจี้ยนฉิงเซิน’ (故剑情深) แปลตรงตัวว่า ‘กระบี่เก่ารักล้ำลึก’ หมายถึงภรรยาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา สามปีให้หลัง สวี่ฮองเฮาป่วยลงหลังเพิ่งคลอดบุตรสาว ฮูหยินชุยใช้หมอหลวงหญิงฉุนอวี๋เหยี่ยนลอบวางยาพิษสวี่ฮองเฮาจนสิ้นชีพด้วยอายุเพียงสิบเก้าปี ฮั่นเซวียนตี้แม้จะพอเดาเรื่องราวได้แต่ก็จนใจไร้อำนาจ หนึ่งปีให้หลังก็ยอมแต่งชุยเฉิงจวินเป็นฮองเฮา หลิวซึซึ่งเป็นลูกของเขาและสวี่ฮองเฮาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทและเกือบถูกวางยาพิษโดยแม่ลูกสกุลชุยคู่นี้อีกเช่นกัน ฮั่นเซวียนตี้อดทนมาอีกสามปีจนชุยกวงตายลง ฮั่นเซวียนตี้จึงได้โอกาสปลดฮองเฮาและยึดอำนาจคืน จากนั้นรวบรวมหลักฐานตั้งข้อหากบฏและสั่งประหารตระกูลชุย เหลือเพียงชุยเฉิงจวินที่ถูกจองจำในตำหนักเย็น เรื่องราวข้างต้นถูกบันทึกไว้ในบันทึกฮั่นซู และถูกนำมาสร้างเป็นละครหลายครั้ง โดยถูกตีความว่าฮั่นเซวียนตี้รักสวี่ผิงจวินไม่รู้ลืมและแก้แค้นให้นางในภายหลัง ส่วนเรื่องราวเหตุการณ์ภาพวาด ‘สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่สวี่ผิงจวินนำอาหารมาถวายและปรนนิบัติซ่างกวนไทเฮาในวันตรุษจีนด้วยตนเอง เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมและการเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘ซูซุ่นเวินเหอ’ (淑顺温和) แปลได้ประมาณว่า อ่อนน้อมและอ่อนโยน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sgss8.net/tpdq/6126379/ https://www.sohu.com/a/137977813_674592 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/故剑情深/3526996 https://baike.baidu.com/item/许平君/10603114 https://baike.baidu.com/item/刘询/1129265 http://www.renwujieshao.com/lishi/hanchao/xupingjun.html #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #สวี่ผิงจวิน #ฮั่นเซวียนตี้ #สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 813 Views 0 Reviews
  • วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ซึ่งก่อนหน้านี้ Storyฯ เคยคุยถึงภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ แห่งพระตำหนักหย่งโซ่วกงว่าเป็นภาพตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ)

    ภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอน มีความยาวเกือบ 3.5 เมตร มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) โดยภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นั้นกล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)

    วันนี้คุยกันถึงอีกภาพที่เกี่ยวข้องกัน คือภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) เป็นภาพที่แขวนไว้ที่พระตำหนักเสียนฝูกง ดูเหมือนในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะไม่ได้บอกไว้ว่าใครประทับอยู่ที่พระตำหนักนี้ แต่ในประวัติศาสตร์จริง สมัยองค์เฉียนหลงนั้น พระตำหนักเสียนฝูกงนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์เฉียนหลงก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปประทับที่พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน

    หน้าตาของภาพนี้เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่นำมาให้ดูในรูปประกอบ 1(กลาง) เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยองค์คังซีโดยช่างวาดหลวงจินคุน ส่วนภาพที่วาดขึ้นในสมัยขององค์เฉียนหลงนั้น คือรูปประกอบ 1(ขวา) ซึ่งทรงให้ช่างวาดหลวงวาดขึ้นใหม่เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเกิดเรื่องราวของฮองเฮาอูลาน่าลาตัดผม (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์)

    แต่ก่อนจะคุยเรื่องภาพวาด ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ สองภาพในสมัยเฉียนหลง คงต้องคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพเสียก่อน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมีต้นตอมาจากอีกตอนหนึ่งของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (ดูรูปประกอบ 2)

    เจี๋ยอวี๋เป็นตำแหน่งพระสนม แล้วเจี๋ยอวี๋ที่กล่าวถึงในภาพคือใคร?

    นางคือเฝิงเจี๋ยอวี๋ เป็นพระสนมในองค์ฮั่นหยวนตี้ (ครองราชย์ปี 48-33 ก่อนคริสตกาล คือพระบิดาขององค์ฮั่นเฉิงตี้ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’) นามเดิมว่าเฝิงเยวี่ยน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นจาวอี๋ บันทึกเกี่ยวกับฮั่นหยวนตี้มีไม่มากเพราะไม่ได้มีผลงานสร้างชื่ออะไรมาก ที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึงก็คือทรงส่งหวางเจาจวินไปแต่งงานเพื่อผูกมิตรกับเผ่าซวงหนู และชีวประวัติเกี่ยวกับเฝิงเจี๋ยอวี๋เองก็มีไม่มาก นอกจากกล่าวไว้ว่ามาจากตระกูลเฝิงซึ่งเป็นตระกูลขุนนางที่มากด้วยความสามารถและอำนาจ ตัวพระนางเองก็เป็นที่โปรดปรานนักขององค์ฮั่นหยวนตี้ ต่อมาบุตรชายเป็นอ๋องครองแคว้นจงซาน พระนางดำรงพระยศไทเฮาแห่งแคว้นจงซาน

    เรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพนั้น คือเหตุการณ์ที่ฮั่นหยวนตี้ไปดูสัตว์สู้กัน (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) จู่ๆ มีหมีดำโผล่มาและทำท่าว่าจะจู่โจมถึงที่ประทับของฮั่นหยวนตี้ นอกเหนือจากราชองครักษ์แล้ว ผู้ที่ตามเสด็จล้วนพยายามหนีตาย แต่เฝิงเจี๋ยอวี๋กลับถลันขึ้นหน้าเอาตัวเองไปขวางไว้ระหว่างองค์ฮั่นหยวนตี้กับหมีดำ สุดท้ายนางไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะว่าราชองครักษ์ฆ่าหมีได้สำเร็จ ครั้นฮั่นหยวนตี้ถามว่าทำไมนางถึงไม่กลัวหมี นางตอบว่า หมีเมื่อจับได้คนหนึ่งคนก็จะไม่จู่โจมคนอื่น นางกลัวว่าหมีจะจู่โจมถึงตัวฮั่นหยวนตี้ จึงคิดพลีชีพเป็นเหยื่อล่อหมีแทน เรื่องนี้ทำให้ฮั่นหยวนตี้รักนางมากขึ้นกว่าเดิมและยิ่งทำให้นางเป็นที่เกลียดชังของคู่แข่งในวังหลังยิ่งขึ้นไปอีก กลายเป็นเรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์

    ความนัยที่แฝงไว้ในภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขององค์เฉียนหลงนี้ก็คือความกล้าหาญ และป้ายอักษรที่คู่กันกับภาพนี้คือ ‘เน่ยจื๋อชินเฟิ่ง’ (内职钦奉) แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมยกย่องฝ่ายใน

    แต่... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเหตุการณ์ฮองเฮาสกุลอูลาน่าลาตัดผม องค์เฉียนหลงได้ให้ช่างวาดหลวงจินถิงเปียววาดภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขึ้นอีกภาพหนึ่ง มีการเล่าขานกันต่อมาว่า จากที่เดิมองค์เฉียนหลงยกย่องเฝิงเจี๋ยอวี๋ว่ากล้าหาญ กลับกลายเป็นดูถูกเสียดสีว่า เฝิงเจี๋ยอวี๋ไม่เจียมตัว ไม่มีความสามารถก็ยังจะรนหาที่ตาย เป็นการเสียสละแบบโง่ๆ เพื่อสร้างความเด่นความดีให้กับตนเอง ควรเป็นที่น่าละอายของราชสกุล โดยประพันธ์ขึ้นเป็นบทกวีและให้ช่างวาดวาดขึ้นใหม่ให้ได้อารมณ์ตามบทกวีนี้

    ว่ากันว่าภาพเดิมที่วาดขึ้นในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 พร้อมกับภาพกงซวิ่นถูอื่นนั้น สะท้อนความองอาจกล้าหาญของเฝิงเยวี่ยน (ให้อารมณ์คล้ายคลึงกับภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ที่เป็นผลงานเก่าในสมัยองค์คังซีที่ Storyฯ แปะมาให้ดู) แต่ภาพใหม่ให้ความรู้สึกว่าเฝิงเยวี่ยนดูบอบบางไร้ความน่าเกรงขาม สะท้อนถึงความรนหาที่ตายอย่างโง่ๆ ตามบทกวี ภาพใหม่นี้วาดเสร็จในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 31 ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม

    ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพที่วาดขึ้นใหม่เป็นเช่นนี้หรือไม่ Storyฯ ก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่เรื่องของเฝิงเยวี่ยนที่ใช้ตัวเองมาขวางหมีไว้ยังคงเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาในแง่ความกล้าหาญและความจงรักภักดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2018-08-10/doc-ihhnunsq6262060.shtml
    https://topimage.design/images/5f2ec355ccb56d496c4eeaa4.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://www.tongyangapp.com/standard/sdetail?id=7056912
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/冯媛/3311193
    https://new.qq.com/rain/a/20210618A034TY00
    https://www.youtube.com/watch?v=SsSfNW9c2mM

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ #เฝิงเยวี่ยน #ฮั่นหยวนตี้ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ขวางหมี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้ยังคงคุยกันเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ซึ่งก่อนหน้านี้ Storyฯ เคยคุยถึงภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ แห่งพระตำหนักหย่งโซ่วกงว่าเป็นภาพตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ) ภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอน มีความยาวเกือบ 3.5 เมตร มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) โดยภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นั้นกล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) วันนี้คุยกันถึงอีกภาพที่เกี่ยวข้องกัน คือภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) เป็นภาพที่แขวนไว้ที่พระตำหนักเสียนฝูกง ดูเหมือนในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะไม่ได้บอกไว้ว่าใครประทับอยู่ที่พระตำหนักนี้ แต่ในประวัติศาสตร์จริง สมัยองค์เฉียนหลงนั้น พระตำหนักเสียนฝูกงนี้เคยถูกใช้เป็นที่ประทับขององค์เฉียนหลงก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปประทับที่พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน หน้าตาของภาพนี้เป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ ภาพที่นำมาให้ดูในรูปประกอบ 1(กลาง) เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยองค์คังซีโดยช่างวาดหลวงจินคุน ส่วนภาพที่วาดขึ้นในสมัยขององค์เฉียนหลงนั้น คือรูปประกอบ 1(ขวา) ซึ่งทรงให้ช่างวาดหลวงวาดขึ้นใหม่เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเกิดเรื่องราวของฮองเฮาอูลาน่าลาตัดผม (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) แต่ก่อนจะคุยเรื่องภาพวาด ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ สองภาพในสมัยเฉียนหลง คงต้องคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพเสียก่อน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมีต้นตอมาจากอีกตอนหนึ่งของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (ดูรูปประกอบ 2) เจี๋ยอวี๋เป็นตำแหน่งพระสนม แล้วเจี๋ยอวี๋ที่กล่าวถึงในภาพคือใคร? นางคือเฝิงเจี๋ยอวี๋ เป็นพระสนมในองค์ฮั่นหยวนตี้ (ครองราชย์ปี 48-33 ก่อนคริสตกาล คือพระบิดาขององค์ฮั่นเฉิงตี้ที่กล่าวถึงในภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’) นามเดิมว่าเฝิงเยวี่ยน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นจาวอี๋ บันทึกเกี่ยวกับฮั่นหยวนตี้มีไม่มากเพราะไม่ได้มีผลงานสร้างชื่ออะไรมาก ที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึงก็คือทรงส่งหวางเจาจวินไปแต่งงานเพื่อผูกมิตรกับเผ่าซวงหนู และชีวประวัติเกี่ยวกับเฝิงเจี๋ยอวี๋เองก็มีไม่มาก นอกจากกล่าวไว้ว่ามาจากตระกูลเฝิงซึ่งเป็นตระกูลขุนนางที่มากด้วยความสามารถและอำนาจ ตัวพระนางเองก็เป็นที่โปรดปรานนักขององค์ฮั่นหยวนตี้ ต่อมาบุตรชายเป็นอ๋องครองแคว้นจงซาน พระนางดำรงพระยศไทเฮาแห่งแคว้นจงซาน เรื่องราวที่กล่าวถึงในภาพนั้น คือเหตุการณ์ที่ฮั่นหยวนตี้ไปดูสัตว์สู้กัน (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) จู่ๆ มีหมีดำโผล่มาและทำท่าว่าจะจู่โจมถึงที่ประทับของฮั่นหยวนตี้ นอกเหนือจากราชองครักษ์แล้ว ผู้ที่ตามเสด็จล้วนพยายามหนีตาย แต่เฝิงเจี๋ยอวี๋กลับถลันขึ้นหน้าเอาตัวเองไปขวางไว้ระหว่างองค์ฮั่นหยวนตี้กับหมีดำ สุดท้ายนางไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะว่าราชองครักษ์ฆ่าหมีได้สำเร็จ ครั้นฮั่นหยวนตี้ถามว่าทำไมนางถึงไม่กลัวหมี นางตอบว่า หมีเมื่อจับได้คนหนึ่งคนก็จะไม่จู่โจมคนอื่น นางกลัวว่าหมีจะจู่โจมถึงตัวฮั่นหยวนตี้ จึงคิดพลีชีพเป็นเหยื่อล่อหมีแทน เรื่องนี้ทำให้ฮั่นหยวนตี้รักนางมากขึ้นกว่าเดิมและยิ่งทำให้นางเป็นที่เกลียดชังของคู่แข่งในวังหลังยิ่งขึ้นไปอีก กลายเป็นเรื่องราวความกล้าหาญและความจงรักภักดีที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ความนัยที่แฝงไว้ในภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขององค์เฉียนหลงนี้ก็คือความกล้าหาญ และป้ายอักษรที่คู่กันกับภาพนี้คือ ‘เน่ยจื๋อชินเฟิ่ง’ (内职钦奉) แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมยกย่องฝ่ายใน แต่... อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 30 ภายหลังจากเหตุการณ์ฮองเฮาสกุลอูลาน่าลาตัดผม องค์เฉียนหลงได้ให้ช่างวาดหลวงจินถิงเปียววาดภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ ขึ้นอีกภาพหนึ่ง มีการเล่าขานกันต่อมาว่า จากที่เดิมองค์เฉียนหลงยกย่องเฝิงเจี๋ยอวี๋ว่ากล้าหาญ กลับกลายเป็นดูถูกเสียดสีว่า เฝิงเจี๋ยอวี๋ไม่เจียมตัว ไม่มีความสามารถก็ยังจะรนหาที่ตาย เป็นการเสียสละแบบโง่ๆ เพื่อสร้างความเด่นความดีให้กับตนเอง ควรเป็นที่น่าละอายของราชสกุล โดยประพันธ์ขึ้นเป็นบทกวีและให้ช่างวาดวาดขึ้นใหม่ให้ได้อารมณ์ตามบทกวีนี้ ว่ากันว่าภาพเดิมที่วาดขึ้นในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 พร้อมกับภาพกงซวิ่นถูอื่นนั้น สะท้อนความองอาจกล้าหาญของเฝิงเยวี่ยน (ให้อารมณ์คล้ายคลึงกับภาพ ‘เฝิงเยวี่ยนขวางหมี’ ที่เป็นผลงานเก่าในสมัยองค์คังซีที่ Storyฯ แปะมาให้ดู) แต่ภาพใหม่ให้ความรู้สึกว่าเฝิงเยวี่ยนดูบอบบางไร้ความน่าเกรงขาม สะท้อนถึงความรนหาที่ตายอย่างโง่ๆ ตามบทกวี ภาพใหม่นี้วาดเสร็จในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 31 ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพที่วาดขึ้นใหม่เป็นเช่นนี้หรือไม่ Storyฯ ก็ไม่ทราบแน่ชัด แต่เรื่องของเฝิงเยวี่ยนที่ใช้ตัวเองมาขวางหมีไว้ยังคงเป็นเรื่องเล่าขานกันต่อมาในแง่ความกล้าหาญและความจงรักภักดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2018-08-10/doc-ihhnunsq6262060.shtml https://topimage.design/images/5f2ec355ccb56d496c4eeaa4.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://www.tongyangapp.com/standard/sdetail?id=7056912 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/冯媛/3311193 https://new.qq.com/rain/a/20210618A034TY00 https://www.youtube.com/watch?v=SsSfNW9c2mM #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ #เฝิงเยวี่ยน #ฮั่นหยวนตี้ #เฝิงเจี๋ยอวี๋ขวางหมี #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 779 Views 0 Reviews
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 Comments 0 Shares 973 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl)

    แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก

    Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ

    วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร)

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา

    ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ

    ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร

    ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม

    ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม

    ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/242329927_100034915
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95
    http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl) แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/242329927_100034915 https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95 http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 Comments 0 Shares 970 Views 0 Reviews
  • คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 Comments 0 Shares 1366 Views 0 Reviews
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 Comments 0 Shares 919 Views 0 Reviews
  • ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน
    ความมีอยู่ว่า

    ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ...

    - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน
    (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร?

    ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม

    แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล

    ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇)

    และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน

    เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html
    http://www.bgushi.com/archives/2236
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html
    http://www.3yan.cn/question/982793

    #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน ความมีอยู่ว่า ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ... - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇) และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html http://www.bgushi.com/archives/2236 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html http://www.3yan.cn/question/982793 #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    The Story of Minglan wedding between Minglan and Gu Tingye - DramaPanda
    The latest developments in The Story of Minglan 知否知否应是绿肥红瘦 have been pure bliss and a stark contrast to the tragedy dealt in past episodes. With their separate storylines finally converging, Gu Tingye succeeds in pursuing Minglan and they get married (this happens on episode 40)! Truth be told, I started the show mainly for Zhao Liying, more so because it’s her drama with real-life hubby Feng Shaofeng though it didn’t take long before I was completely hooked to everything else about it. Despite complaints about the slow pace, I wouldn’t have it any other way because even as the characters go about dealing with the most
    0 Comments 0 Shares 634 Views 0 Reviews
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 Comments 0 Shares 854 Views 0 Reviews
  • "รุ่งอรุณแห่งเมจิ"

    ฟ้าสางในรุ่งอรุณใหม่ เสียงกลองรัวไกล นำทางให้ก้าวเดิน มุตสึฮิโตะ ครองบัลลังก์ศักดิ์ศรี ปลุกญี่ปุ่นนี้ ให้ยิ่งใหญ่เสมอ

    จากเงามืดแห่งวันเก่า ข้ามพ้นเงาโชกุนมา ปฏิรูปให้รุ่งเรืองกว่า โลกต้องจารึกไว้

    * รุ่งอรุณแห่งเมจิ ส่องแสงพลิกชะตา จากศักดินาสู่เสรี กล้าเปลี่ยนโลกา สองทศวรรษแห่งไฟ ศรัทธาไม่โรยรา ญี่ปุ่นก้าวไปข้างหน้า ดั่งตะวันทอแสงทอง

    ** รถไฟแล่นผ่านขุนเขา โรงงานก้องก้าว ช่างเหล็กทอฝัน เมืองเอโดะ เป็นโตเกียวอันยิ่งใหญ่ เปลี่ยนยุคสมัย ด้วยหัวใจนักรบ

    *** ดาบของซามูไร กลายเป็นปากกา ศรัทธาสู่ประชา สู่รุ่งอรุณแห่งเมจิ

    **** รุ่งอรุณแห่งเมจิ ส่องแสงตลอดไป จากวันนั้นถึงวันนี้ ชัยชนะยังคงอยู่

    ซ้ำ *, **, ***, ****

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 032339 ก.พ. 2568

    #รุ่งอรุณแห่งเมจิ #MeijiRestoration #จักรพรรดิเมจิ #ญี่ปุ่นยุคใหม่ #จากดินสู่ฟ้า #20ปีเปลี่ยนโลก #ซามูไรสู่ประชา #ปฏิรูปเมจิ #ศรัทธาไม่สิ้นสุด #โตเกียวศูนย์กลางโลก
    "รุ่งอรุณแห่งเมจิ" ฟ้าสางในรุ่งอรุณใหม่ เสียงกลองรัวไกล นำทางให้ก้าวเดิน มุตสึฮิโตะ ครองบัลลังก์ศักดิ์ศรี ปลุกญี่ปุ่นนี้ ให้ยิ่งใหญ่เสมอ จากเงามืดแห่งวันเก่า ข้ามพ้นเงาโชกุนมา ปฏิรูปให้รุ่งเรืองกว่า โลกต้องจารึกไว้ * รุ่งอรุณแห่งเมจิ ส่องแสงพลิกชะตา จากศักดินาสู่เสรี กล้าเปลี่ยนโลกา สองทศวรรษแห่งไฟ ศรัทธาไม่โรยรา ญี่ปุ่นก้าวไปข้างหน้า ดั่งตะวันทอแสงทอง ** รถไฟแล่นผ่านขุนเขา โรงงานก้องก้าว ช่างเหล็กทอฝัน เมืองเอโดะ เป็นโตเกียวอันยิ่งใหญ่ เปลี่ยนยุคสมัย ด้วยหัวใจนักรบ *** ดาบของซามูไร กลายเป็นปากกา ศรัทธาสู่ประชา สู่รุ่งอรุณแห่งเมจิ **** รุ่งอรุณแห่งเมจิ ส่องแสงตลอดไป จากวันนั้นถึงวันนี้ ชัยชนะยังคงอยู่ ซ้ำ *, **, ***, **** ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 032339 ก.พ. 2568 #รุ่งอรุณแห่งเมจิ #MeijiRestoration #จักรพรรดิเมจิ #ญี่ปุ่นยุคใหม่ #จากดินสู่ฟ้า #20ปีเปลี่ยนโลก #ซามูไรสู่ประชา #ปฏิรูปเมจิ #ศรัทธาไม่สิ้นสุด #โตเกียวศูนย์กลางโลก
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 642 Views 31 0 Reviews
  • “ตามรอยช้าง สร้างเชียงราย”

    ตามรอยเท้าช้าง ฝ่าป่าไพร พญามังราย ทรงเห็นความงาม ริมฝั่งน้ำแม่กก ทิวเขาสยาม สร้างเมืองเชียงราย ใต้ฟ้าล้านนา

    * โอ้เชียงราย เมืองแห่งใจศรัทธา เวียงล้อมดอยจอมทอง ฟ้าส่องจันทร์มา กษัตริย์ผู้กล้า ทรงนำปัญญา มรดกล้านนา อยู่คู่ฟ้าธารา

    จากหิรัญนคร สู่ฝันอันไกล สร้างศูนย์กลางใหม่ เชียงใหม่ยังคง แต่เชียงราย รากฐานมั่นคง พญามังราย ทรงจารึกไว้

    ซ้ำ *

    แผ่นดินล้านนา ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า พญามังราย ผู้สร้างตำนาน เมืองเชียงราย เปล่งแสงนิรันดร์ เล่าขานตำนาน สู่ชนรุ่นใหม่

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 261151 ม.ค. 2568

    #ตามรอยช้างสร้างเมืองเชียงราย #พญามังราย #ล้านนาคู่ฟ้า #เวียงรอบดอยจอมทอง #มรดกล้านนา #ศรัทธาเชียงราย
    “ตามรอยช้าง สร้างเชียงราย” ตามรอยเท้าช้าง ฝ่าป่าไพร พญามังราย ทรงเห็นความงาม ริมฝั่งน้ำแม่กก ทิวเขาสยาม สร้างเมืองเชียงราย ใต้ฟ้าล้านนา * โอ้เชียงราย เมืองแห่งใจศรัทธา เวียงล้อมดอยจอมทอง ฟ้าส่องจันทร์มา กษัตริย์ผู้กล้า ทรงนำปัญญา มรดกล้านนา อยู่คู่ฟ้าธารา จากหิรัญนคร สู่ฝันอันไกล สร้างศูนย์กลางใหม่ เชียงใหม่ยังคง แต่เชียงราย รากฐานมั่นคง พญามังราย ทรงจารึกไว้ ซ้ำ * แผ่นดินล้านนา ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า พญามังราย ผู้สร้างตำนาน เมืองเชียงราย เปล่งแสงนิรันดร์ เล่าขานตำนาน สู่ชนรุ่นใหม่ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 261151 ม.ค. 2568 #ตามรอยช้างสร้างเมืองเชียงราย #พญามังราย #ล้านนาคู่ฟ้า #เวียงรอบดอยจอมทอง #มรดกล้านนา #ศรัทธาเชียงราย
    0 Comments 0 Shares 636 Views 32 0 Reviews
  • “ยุทธหัตถีแห่งหนองสาหร่าย”

    ดินแดนแห่งศักดิ์ศรี กรุงศรีอยุธยา เสียงกลองศึกดังก้อง พม่ายกทัพเข้ามา สมเด็จพระนเรศ ทรงนำทัพกู้แผ่นดิน ด้วยพระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ชัยชนะเหนือศัตรู

    * ณ หนองสาหร่าย เสียงช้างร้องก้องไพร พระองค์ดำ พระองค์ขาว จารึกไว้ในหัวใจ ชนช้างฟาดฟัน บั่นคอมังสามเกียด เลือดหลั่งรินบนหลังช้าง เพื่อชาติไทยเรา

    พระองค์ขาวทรงพลายปราบไตรจักร ฟันมางจาชโร จบสิ้นศึกเหนือสายน้ำ ไพร่พลไทยลุกฮือ รวมพลังเกินขวางกั้น ประวัติศาสตร์ย้ำเตือนเรา ให้ยืนหยัดสู้เพื่อไทย

    ซ้ำ *

    พระองค์ขาวทรงพลายปราบไตรจักร

    ** ช้างศึกยิ่งใหญ่ ฟาดงวงฟาดงา วิญญาณนักรบสืบมา ด้วยเลือดนักสู้ไม่เสื่อมคลาย เกียรติยศของผืนแผ่นดิน ค่าควรเมืองแห่งชนไทย เพลงยุทธหัตถี ขับขานไปให้โลกรู้

    ซ้ำ *, **

    ดินแดนแห่งศักดิ์ศรี ไทยเรานี้ไม่มีวันลืม เสียงกลองศึกดังก้อง ในหัวใจเราตลอดไป ยุทธหัตถีแห่งหนองสาหร่าย คือความภาคภูมิของคนไทย

    ขอสดุดีแด่วีรชน ให้คงอยู่ในใจนิรันดร์

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180850 ม.ค. 2568
    “ยุทธหัตถีแห่งหนองสาหร่าย” ดินแดนแห่งศักดิ์ศรี กรุงศรีอยุธยา เสียงกลองศึกดังก้อง พม่ายกทัพเข้ามา สมเด็จพระนเรศ ทรงนำทัพกู้แผ่นดิน ด้วยพระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ชัยชนะเหนือศัตรู * ณ หนองสาหร่าย เสียงช้างร้องก้องไพร พระองค์ดำ พระองค์ขาว จารึกไว้ในหัวใจ ชนช้างฟาดฟัน บั่นคอมังสามเกียด เลือดหลั่งรินบนหลังช้าง เพื่อชาติไทยเรา พระองค์ขาวทรงพลายปราบไตรจักร ฟันมางจาชโร จบสิ้นศึกเหนือสายน้ำ ไพร่พลไทยลุกฮือ รวมพลังเกินขวางกั้น ประวัติศาสตร์ย้ำเตือนเรา ให้ยืนหยัดสู้เพื่อไทย ซ้ำ * พระองค์ขาวทรงพลายปราบไตรจักร ** ช้างศึกยิ่งใหญ่ ฟาดงวงฟาดงา วิญญาณนักรบสืบมา ด้วยเลือดนักสู้ไม่เสื่อมคลาย เกียรติยศของผืนแผ่นดิน ค่าควรเมืองแห่งชนไทย เพลงยุทธหัตถี ขับขานไปให้โลกรู้ ซ้ำ *, ** ดินแดนแห่งศักดิ์ศรี ไทยเรานี้ไม่มีวันลืม เสียงกลองศึกดังก้อง ในหัวใจเราตลอดไป ยุทธหัตถีแห่งหนองสาหร่าย คือความภาคภูมิของคนไทย ขอสดุดีแด่วีรชน ให้คงอยู่ในใจนิรันดร์ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180850 ม.ค. 2568
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 604 Views 58 0 Reviews
  • 433 ปี ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย ศึกแห่งเกียรติยศขององค์ดำ-องค์ขาว 🇹🇭🐘

    ย้อนไปเมื่อ 433 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ต้องจารึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจ นั่นคือเหตุการณ์ “ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย” ที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ในการต่อสู้กับทัพพม่า ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    สงครามครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ เพื่ออาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึง ศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ไทย ผู้ยอมเสี่ยงชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และประชาชนชาวไทย การยุทธหัตถีครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการเล่าขาน และรำลึกถึงจนถึงทุกวันนี้

    สงครามบนหลังช้างที่สะท้อนศักดิ์ศรี
    ยุทธหัตถี หมายถึง การทำสงครามบนหลังช้าง โดยผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพทั้งสองฝ่าย จะเผชิญหน้ากันบนหลังช้างศึก เป็นการต่อสู้ ที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถ การฝึกฝน ความกล้าหาญของกษัตริย์ และช้างศึก การชนช้างนี้ถือว่า เป็นการทำศึกที่มีเกียรติยศ และเป็นที่ยอมรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และกัมพูชา

    ในยุคโบราณ ช้างถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมี ของพระมหากษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ การทำยุทธหัตถี จึงไม่เพียงแต่เป็นการต่อสู้ เพื่อชัยชนะทางการทหารเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความกล้าหาญและความสามารถของผู้ปกครอง ที่นำทัพด้วยตัวเอง

    สงครามยุทธหัตถีในปี พ.ศ. 2135 มีต้นเหตุจากการที่กรุงหงสาวดี (พม่า) มีความต้องการ จะยึดครองกรุงศรีอยุธยา พระเจ้านันทบุเรง ผู้ปกครองหงสาวดีในเวลานั้น จึงส่งกองทัพใหญ่กว่า 240,000 นาย นำโดย พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) และมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร เข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา

    พระองค์ดำทรงทราบถึง การเคลื่อนทัพของพม่า จึงทรงระดมกำลังพลหนึ่งแสนนาย และเตรียมการป้องกันเมือง พร้อมกับทรงออกคำประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อต้านการปกครองของพม่า อย่างเต็มตัว

    เมื่อกองทัพของมังสามเกียด เคลื่อนมาถึงสุพรรณบุรี พระองค์ดำทรงนำทัพหลวงไปตั้งค่าย ที่ตำบลหนองสาหร่าย พร้อมกับพระองค์ขาว

    เช้าวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง องค์ดำและองค์ขาว ทรงเครื่องพิชัยยุทธเต็มยศ พร้อมด้วยช้างศึกทรง 2 เชือก คือ

    เจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) ช้างทรงของพระองค์ดำ
    เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) ช้างทรงของพระองค์ขาว

    ทั้งสองพระองค์ทรงนำช้างศึกเข้าสู่สนามรบ แต่ระหว่างที่เคลื่อนทัพเกิดความวุ่นวาย ทำให้ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ หลุดเข้าไปในวงล้อมของทัพพม่า และเผชิญหน้ากับมังสามเกียด และมางจาชโร โดยตรง

    เผชิญหน้าบนหลังช้าง
    พระองค์ดำทรงเรียกท้ามังสามเกียด ซึ่งสนิทสนมกันตั้งแต่วัยพระเยาว์ เมื่อครั้งองค์ดำ ทรงเป็นองค์ประกัน อยู่ที่กรุงหงสาวดี ให้มาทำยุทธหัตถี ด้วยพระดำรัส ที่แสดงถึงความองอาจว่า

    “พระเจ้าพี่เรา จะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด”

    มังสามเกียดจึงไสช้าง เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เกิดการต่อสู้ที่ดุเดือด เมื่อถึงจังหวะสำคัญ พระองค์ดำทรงใช้พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ฟันเข้าที่พระอังสะขวา ของมังสามเกียด จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง

    ในขณะเดียวกัน พระองค์ขาวทรงฟันมางจาชโร จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้างเช่นกัน เป็นการปิดฉาก ศึกยุทธหัตถีอันยิ่งใหญ่

    ชัยชนะของพระองค์ดำ ในยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ และสร้างความเกรงขามให้แก่กรุงหงสาวดี จนไม่มีการรุกรานอีก เป็นเวลาหลายปี

    หลังสงคราม พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยอย่างยิ่ง ที่ต้องสูญเสียพระราชโอรสไป ในศึกครั้งนี้ และกรุงศรีอยุธยาก็ได้สร้าง พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันสำคัญนี้

    ความสำคัญของยุทธหัตถี ในประวัติศาสตร์ไทย
    สัญลักษณ์ของเอกราช ยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง ความสามัคคีและการต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    พระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทย สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถในการนำทัพ

    มรดกทางวัฒนธรรม การยุทธหัตถีได้กลายเป็นตำนาน ที่มีการเล่าขาน และเป็นแรงบันดาลใจในงานศิลปะ วรรณกรรม และภาพยนตร์

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยุทธหัตถี
    1. ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหน?
    ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

    2. ช้างศึกคืออะไร?
    ช้างศึกคือช้างที่ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการทำสงคราม มีลักษณะเด่นตามตำราคชลักษณ์

    3. ทำไมยุทธหัตถีถึงมีเกียรติ?
    เพราะเป็นการต่อสู้ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย อย่างตรงไปตรงมา และแสดงถึงความกล้าหาญ

    ยุทธหัตถีหนองสาหร่ายในปี พ.ศ. 2135 เป็นสงครามที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราช และศักดิ์ศรีของชาติไว้ได้

    เหตุการณ์นี้ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนไทย ในการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง และรักษาเกียรติภูมิของตน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180833 ม.ค. 2568

    #สมเด็จพระนเรศวร #ยุทธหัตถี #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามชนช้าง #กรุงศรีอยุธยา #ดอนเจดีย์ #หงสาวดี #ชาติไทย #วีรกรรมไทย #สงครามไทย

    🎉
    433 ปี ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย ศึกแห่งเกียรติยศขององค์ดำ-องค์ขาว 🇹🇭🐘 ย้อนไปเมื่อ 433 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ต้องจารึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจ นั่นคือเหตุการณ์ “ยุทธหัตถีหนองสาหร่าย” ที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ) และสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ในการต่อสู้กับทัพพม่า ณ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ เพื่ออาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึง ศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ไทย ผู้ยอมเสี่ยงชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน และประชาชนชาวไทย การยุทธหัตถีครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ยังคงมีการเล่าขาน และรำลึกถึงจนถึงทุกวันนี้ สงครามบนหลังช้างที่สะท้อนศักดิ์ศรี ยุทธหัตถี หมายถึง การทำสงครามบนหลังช้าง โดยผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพทั้งสองฝ่าย จะเผชิญหน้ากันบนหลังช้างศึก เป็นการต่อสู้ ที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถ การฝึกฝน ความกล้าหาญของกษัตริย์ และช้างศึก การชนช้างนี้ถือว่า เป็นการทำศึกที่มีเกียรติยศ และเป็นที่ยอมรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และกัมพูชา ในยุคโบราณ ช้างถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมี ของพระมหากษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ การทำยุทธหัตถี จึงไม่เพียงแต่เป็นการต่อสู้ เพื่อชัยชนะทางการทหารเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความกล้าหาญและความสามารถของผู้ปกครอง ที่นำทัพด้วยตัวเอง สงครามยุทธหัตถีในปี พ.ศ. 2135 มีต้นเหตุจากการที่กรุงหงสาวดี (พม่า) มีความต้องการ จะยึดครองกรุงศรีอยุธยา พระเจ้านันทบุเรง ผู้ปกครองหงสาวดีในเวลานั้น จึงส่งกองทัพใหญ่กว่า 240,000 นาย นำโดย พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด) และมางจาชโร เจ้าเมืองจาปะโร เข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์ดำทรงทราบถึง การเคลื่อนทัพของพม่า จึงทรงระดมกำลังพลหนึ่งแสนนาย และเตรียมการป้องกันเมือง พร้อมกับทรงออกคำประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อต้านการปกครองของพม่า อย่างเต็มตัว เมื่อกองทัพของมังสามเกียด เคลื่อนมาถึงสุพรรณบุรี พระองค์ดำทรงนำทัพหลวงไปตั้งค่าย ที่ตำบลหนองสาหร่าย พร้อมกับพระองค์ขาว เช้าวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง องค์ดำและองค์ขาว ทรงเครื่องพิชัยยุทธเต็มยศ พร้อมด้วยช้างศึกทรง 2 เชือก คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) ช้างทรงของพระองค์ดำ เจ้าพระยาปราบไตรจักร (พลายบุญเรือง) ช้างทรงของพระองค์ขาว ทั้งสองพระองค์ทรงนำช้างศึกเข้าสู่สนามรบ แต่ระหว่างที่เคลื่อนทัพเกิดความวุ่นวาย ทำให้ช้างทรงของทั้งสองพระองค์ หลุดเข้าไปในวงล้อมของทัพพม่า และเผชิญหน้ากับมังสามเกียด และมางจาชโร โดยตรง เผชิญหน้าบนหลังช้าง พระองค์ดำทรงเรียกท้ามังสามเกียด ซึ่งสนิทสนมกันตั้งแต่วัยพระเยาว์ เมื่อครั้งองค์ดำ ทรงเป็นองค์ประกัน อยู่ที่กรุงหงสาวดี ให้มาทำยุทธหัตถี ด้วยพระดำรัส ที่แสดงถึงความองอาจว่า “พระเจ้าพี่เรา จะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด” มังสามเกียดจึงไสช้าง เข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพ เกิดการต่อสู้ที่ดุเดือด เมื่อถึงจังหวะสำคัญ พระองค์ดำทรงใช้พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ฟันเข้าที่พระอังสะขวา ของมังสามเกียด จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง ในขณะเดียวกัน พระองค์ขาวทรงฟันมางจาชโร จนสิ้นพระชนม์บนหลังช้างเช่นกัน เป็นการปิดฉาก ศึกยุทธหัตถีอันยิ่งใหญ่ ชัยชนะของพระองค์ดำ ในยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ และสร้างความเกรงขามให้แก่กรุงหงสาวดี จนไม่มีการรุกรานอีก เป็นเวลาหลายปี หลังสงคราม พระเจ้านันทบุเรงทรงเสียพระทัยอย่างยิ่ง ที่ต้องสูญเสียพระราชโอรสไป ในศึกครั้งนี้ และกรุงศรีอยุธยาก็ได้สร้าง พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์อันสำคัญนี้ ความสำคัญของยุทธหัตถี ในประวัติศาสตร์ไทย สัญลักษณ์ของเอกราช ยุทธหัตถีครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง ความสามัคคีและการต่อสู้ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ พระปรีชาสามารถของกษัตริย์ไทย สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถในการนำทัพ มรดกทางวัฒนธรรม การยุทธหัตถีได้กลายเป็นตำนาน ที่มีการเล่าขาน และเป็นแรงบันดาลใจในงานศิลปะ วรรณกรรม และภาพยนตร์ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยุทธหัตถี 1. ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ไหน? ยุทธหัตถีเกิดขึ้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. ช้างศึกคืออะไร? ช้างศึกคือช้างที่ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการทำสงคราม มีลักษณะเด่นตามตำราคชลักษณ์ 3. ทำไมยุทธหัตถีถึงมีเกียรติ? เพราะเป็นการต่อสู้ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองฝ่าย อย่างตรงไปตรงมา และแสดงถึงความกล้าหาญ ยุทธหัตถีหนองสาหร่ายในปี พ.ศ. 2135 เป็นสงครามที่แสดงถึงความกล้าหาญ และพระปรีชาสามารถ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งทำให้กรุงศรีอยุธยา สามารถรักษาเอกราช และศักดิ์ศรีของชาติไว้ได้ เหตุการณ์นี้ ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนไทย ในการต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง และรักษาเกียรติภูมิของตน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 180833 ม.ค. 2568 #สมเด็จพระนเรศวร #ยุทธหัตถี #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามชนช้าง #กรุงศรีอยุธยา #ดอนเจดีย์ #หงสาวดี #ชาติไทย #วีรกรรมไทย #สงครามไทย 🎉
    0 Comments 0 Shares 1227 Views 0 Reviews
  • วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน

    วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย)

    ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ

    ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน

    บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน

    ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด

    และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2)

    บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป

    สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/584621129_114988
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html
    https://mgronline.com/china/detail/9670000114488
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://m.shangshiwen.com/71990.html
    https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx
    https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058
    http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    วลีจีน วิญญาณผู้กล้าหวนคืนมาตุภูมิ สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนหลายบทความถึง ‘วลีเด็ด’ จากบทกวีจีนโบราณและวรรณกรรมจีนโบราณที่ถูกนำมาใช้ในหลายซีรีส์และนวนิยายจีน แต่จริงๆ แล้วก็มี ‘วลีเด็ด’ จากยุคปัจจุบันที่เคยถูกยกไปใช้ในซีรีส์หรือนิยายจีนโบราณด้วยเหมือนกัน วันนี้เรามาคุยกันถึงตัวอย่างหนึ่งจากซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> เพื่อนเพจที่ได้ดูอาจพอจำได้ว่าในระหว่างการเดินทางของคณะฑูตแคว้นอู๋ไปยังแคว้นอันเพื่อช่วยกษัตริย์แคว้นอู๋นั้น พวกเขาพบซากศพและป้ายห้อยคอประจำตัวของเหล่าทหารจากหน่วยหกวิถีที่พลีชีพก่อนหน้านี้ในศึกที่แคว้นอู๋พ่ายแพ้ และได้จัดพิธีเผาศพให้กับพวกเขา (รูปประกอบ1) ในฉากนี้ หลี่อ๋องเซ่นสุราและกล่าวออกมาประโยคหนึ่งว่า “ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์” (หมายเหตุ คำแปลตามซับไทย) ประโยคดังกล่าว ต้นฉบับภาษาจีนคือ ‘魂兮归来 维莫永伤 (หุนซีกุยหลาย เหวยม่อหย่งซัง)’ เป็นประโยคที่มาจากสุทรพจน์เมื่อปี 2021 เพื่อสดุดีทหารอาสาสมัครจีน โดยวรรคแรกถูกยกมาจากบทประพันธ์โบราณ ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ วรรคนี้มาจากบทประพันธ์ที่มีชื่อว่า ‘เรียกดวงวิญญาณ’ (招魂 /จาวหุน) บ้างว่าเป็นผลงานของชวีหยวน ขุนนางและกวีแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐที่เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อจากตำนานบ๊ะจ่าง บ้างว่าเป็นผลงานของซ่งอวี้ ขุนนางจากแคว้นฉู่เช่นกัน บทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ เป็นบทประพันธ์ที่ยาวมาก ลักษณะคล้ายเล่านิทาน ใจความของบทประพันธ์เป็นการเรียกและหว่านล้อมดวงวิญญาณให้กลับมาบ้าน อย่าได้ไปหยุดรั้งอยู่ในดินแดน ณ ทิศต่างๆ โดยบรรยายถึงภยันตรายและความยากลำบากในดินแดนนั้นๆ ที่อาจทำให้ดวงวิญญาณอาจดับสูญได้ และกล่าวถึงความคิดถึงของคนที่บ้านที่รอคอยให้ดวงวิญญาณนั้นหวนคืนมา ซึ่งสะท้อนถึงธรรมเนียมโบราณที่ต้องทำพิธีเรียกดวงวิญญาณของผู้ที่ตายในต่างแดนให้กลับบ้าน ว่ากันว่าบทประพันธ์ ‘เรียกดวงวิญญาณ’ นี้มีที่มาจากเรื่องราวของกษัตริย์ฉู่หวยหวางที่เสียท่าให้กับกุศโลบายของแคว้นฉิน ถูกจับเป็นตัวประกันหลังพ่ายศึกและพลีชีพที่นั่น ต่อมาสามปีให้หลังเมื่อสองแคว้นสงบศึกกันแล้วจึงมีการจัดพิธีศพให้แต่กษัตริย์ฉู่หวยหวาง และแม้ว่ากษัตริย์ฉู่หวยหวางจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด แต่ในช่วงที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้นได้แสดงถึงความกล้าหาญยอมหักไม่ยอมงอ บทกวีนี้จึงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงจิตวิญญาณอันหาญกล้าของผู้ที่พลีชีพในต่างแดนเพื่อแผ่นดินเกิด และวลี ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา’ ได้ถูกนำมาใช้ในสุนทรพจน์สดุดีทหารจีนในงานพิธีฝังศพทหารอาสาสมัครจีนชุดที่ 8 จำนวน 109 นายที่พลีชีพในสงครามเกาหลีเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้วและเพิ่งได้รับการส่งคืนจากเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน 2021 มันเป็นสุนทรพจน์ของนายซุนส้าวเฉิงในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการทหารผ่านศึก (Ministry of Veteran Affairs) ในสมัยนั้น โดยประโยคเต็ม ‘ดวงวิญญาณจงกลับมา อย่าได้โศกเศร้าไปชั่วนิรันดร์’ นี้คือประโยคจบของสุนทรพจน์ (รูปประกอบ2) บทสุนทรพจน์ดังกล่าวยาวและใช้ทักษะภาษาชั้นสูงถ้อยคำงดงาม ใจความโดยสรุปคือยกย่องเหล่าทหารอาสาสมัครที่ออกไปร่วบรบเพื่อเสถียรภาพของสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ สดุดีความกล้าหาญของพวกเขาที่ต้องเผชิญหน้าคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธสงครามที่ร้ายกาจ สุดท้ายพลีชีพอยู่ต่างแดนไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเกิดจวบจนวันนี้ ขอให้เหล่าดวงวิญญาณกลับมาสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของประชาชนที่รักเขาและยังไม่ลืมความเสียสละของพวกเขา ได้กลับมาเห็นความเจริญเข้มแข็งของประเทศที่เขาพลีกายปกปักษ์รักษา ขอเหล่าวิญญาณผู้กล้าจงกลับคืนสู่มาตุภูมิ กลับมาสู่ความสงบ ไม่ต้องเจ็บช้ำหรือโศกเศร้าอีกต่อไป สุนทรพจน์นี้ได้รับการยกย่องด้วยภาษาที่งดงามและความหมายลึกซึ้งกินใจ ไม่เพียงสดุดีความกล้าหาญ แต่ยังกระตุ้นอารมณ์รักและเคารพในผู้ฟังอีกด้วย และประโยคนี้เป็นคำพูดในยุคจีนปัจจุบันที่สะท้อนวัฒนธรรมที่สั่งสมผ่านกาลเวลาจากวลีจีนโบราณ กลายมาเป็นอีกประโยคหนึ่งที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/584621129_114988 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html https://mgronline.com/china/detail/9670000114488 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://m.shangshiwen.com/71990.html https://www.gushiwen.cn/mingju_991.aspx https://baike.baidu.com/item/招魂/8176058 http://www.81.cn/tp_207717/10086482.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #เรียกดวงวิญญาณ #ชวีหยวน #ทหารอาสาสมัครจีน #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 1056 Views 0 Reviews
  • จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี

    "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา

    มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย

    ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา

    มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย

    หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน”

    แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา

    ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้

    พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย

    แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า

    คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย

    แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ

    เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย

    เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย

    ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย"

    สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้

    พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย

    การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น

    ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน

    แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน

    ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง”

    หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว

    เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด”

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
    แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว”

    พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน

    เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว”

    หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส

    ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้

    มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง

    เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง

    เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว

    สวดคาถาว่า...

    เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา

    ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด

    ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้

    ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ

    หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่

    คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    หลวงปู่โง่น โสรโย
    จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน” แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้ พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย" สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้ พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง” หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด” พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว” พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว” หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้ มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว สวดคาถาว่า... เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้ ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่ คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ หลวงปู่โง่น โสรโย
    0 Comments 0 Shares 1457 Views 0 Reviews
  • จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี

    "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา

    มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย

    ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา

    มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย

    หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน”

    แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา

    ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้

    พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย

    แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า

    คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย

    แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ

    เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย

    เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย

    ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย"

    สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้

    พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

    เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย

    การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น

    ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน

    แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน

    ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง”

    หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว

    เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด”

    พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
    แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว”

    พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน

    เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว”

    หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส

    ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้

    มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง

    เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง

    เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว

    สวดคาถาว่า...

    เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา

    ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด

    ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้

    ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ

    หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่

    คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน"

    "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์"

    เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า

    โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491

    หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น.

    บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

    ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม

    ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ

    หลวงปู่โง่น โสรโย
    จากเพจ ประวัติศาสตร์ ราชวงค์จักรี "ข้าชื่อ #สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ #หลวงปู่โง่น_โสรโย ขณะเดินทางเข้าพม่าในปี พ.ศ. 2491 ได้ถูกจับติดคุกพม่า เมื่อท่านทำความเพียร จึงได้สัมผัสทางวิญญาณพระสุพรรณกัลยา พระสุพรรณกัลยา: “ฉันเองชื่อสุพรรณกัลยา เป็นธิดาคนโตของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือเจ้าองค์ดำ และเจ้าองค์ขาว เป็นชาวสยามไทย ได้ถูกกวาดต้อนมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก มาเป็นเชลยอยู่ที่เมืองหงสาวดีนี้ ท่านก็ถูกเขากวาดต้อนมาด้วย เขาเกณฑ์ท่านมาเป็นช่าง สร้างบ้านให้พวกเราอยู่กัน ฉันไว้ใจท่านเพราะท่านซื่อสัตย์และกตัญญู ท่านช่วยดูแลฉันและน้องๆ ตลอดพวกพ้องที่เป็นเชลย ตลอดเวลา มาวันนี้ท่านแต่งตัวเป็นนักบวช คงจะมีมนต์ขลังดี ช่วยแก้ด้ายสายสิญจน์ออกจากมือและขาให้ฉันด้วย หมอผีพม่ามันผูกเอาไว้ เพื่อกันฉันจะหนี ฉันจึงหนีไปไหนมาไหนไกลๆไม่ได้ มันจะเหนี่ยวกลับทันที ถ้าหนีได้ฉันจะไปกับท่าน” แล้วหลวงปู่โง่นจึงได้ถอดกายทิพย์ไปดึงด้ายสายสิญจน์ที่เขาทำด้วยแผ่นทองคำ ความยาวห้าคืบ กว้างหนึ่งนิ้ว ลงอักขระคาถา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 #พระสุพรรณกัลยา: “ท่านขาท่านเก่งมากที่ท่านช่วยแก้เครื่องผูกมัดออกให้ฉัน ฉันจะได้เป็นอิสระเสียที ฉันจะไปอยู่กับท่านตลอดไป ท่านต้องการอะไรบอกฉัน เมื่อท่านจะไปไหนมาไหน หรือทำอะไรบอกฉันด้วย ฉันจะช่วยแบ่งเบาเท่าที่ ความสามารถ ของฉันจะทำได้ และท่านก็จะพ้นภัยภายในเร็วๆ นี้ พวกเราถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย จนฉันโตเป็นสาว อายุราวๆ เบญจเพศ ไอ้เจ้าบุเรงนองมันก็ปองรักจะหักด้ามพร้าด้วยเข่าเอาฉันทำเมีย แต่พระอนุชาของฉันทั้งสองไม่ยินยอมและตัวท่านเองก็ไม่ยอมด้วย ดังนั้นจึงพร้อมกันออกอุบายว่า ขอให้ฉันได้รับอนุญาตจากท่านผู้บังเกิดเกล้า คือ บิดามารดาเสียก่อน เจ้าบุเรงนองมันตาฝาดด้วยอำนาจกิเลสตัณหาจึงจัดแจงโยธาไพร่พลพร้อมด้วยตัวเขาและน้องชายทั้งสองของฉันและตัวท่านเองก็ได้กลับไปด้วย แต่การไปของท่าน เขาให้ไปถึงแค่เขตแดนแล้วเขาสั่งให้สร้างบ้านเรือนอยู่ตรงเมืองมะริด และเจ้าบุเรงนองก็เกรงใจท่านมากเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ที่เขานับถือ เหตุที่ฉันจะต้องไปด้วยตอนถูกกวาดไปเป็นเชลย เพราะน้องของฉันทั้งสองพระองค์ เขาติดพันฉันมาก ฉันเป็นทั้งพี่จริงและพี่เลี้ยง ฉันเลี้ยงดูเขามาตั้งแต่เยาว์วัย ในคราวที่เราร่อนเร่มาอย่างเมื่อยล้า น้องคนเล็กไม่ยอมเดิน ฉันต้องอุ้มกระเตงคนเล็กไว้ที่เอวข้างขวา จูงคนโตด้วยมือซ้ายตอนข้ามน้ำ ท่านยังเห็นว่าขำแท้ๆท่านจึงทำจำแลง แกะสลักรูปของฉันอุ้มน้อง เพื่อล้อเลียนไว้ดูเล่น ขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ เอาไว้ไปดูเล่นเป็นขวัญตา รวมถึงอัฐิและกำไลแขนของฉันในสถานที่ที่ฉันเก็บไว้ ขอให้นำกลับไปด้วย และของที่เราสักการะบูชา คือ เทวรูปพระนารายณ์ และพระแม่อุมาที่เป็นทองคำก็ให้ท่านเอากลับไปด้วย" สิ่งของเหล่านั้นหลวงปู่โง่นได้นำเอากลับมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องเทวดา ศาลากลางน้ำ วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร เท่าทุกวันนี้ นี่แหละ คือ สักขีพยานในด้านรูปธรรมที่พอยืนยันได้ พระสุพรรณกัลยา: “กองทัพของไทยขึ้นไปประชิดที่เมืองอังวะไว้แล้ว ไอ้เจ้ามังไชยสิงหะราช (นันทบุเรง) จึงสั่งจับจำจองแม่เลี้ยงของมันคือฉันเองให้ลงโทษทัณฑ์อย่างหนัก มันสั่งให้คนจับฉัน มัดมือ มัดเท้า แล้วลงมือชกต่อย ตบ ตี เตะ ถีบ โบยด้วยแส้หวาย โบยแล้วโบยอีก แล้วปล่อยให้ฉันอดข้าวอดน้ำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เมื่อมันเห็นว่าฉันอ่อนเปลี้ยเพลียแรงแล้ว มันก็ฟันฉันด้วยดาบเล่มนี้ และขอให้ท่านเอากลับไปด้วยนะ แล้วฉันก็ตายไปพร้อมกับลูกอยู่ในท้องแปดเดือน แล้วมันก็ให้หมอผีมาทำพิธีทางไสยศาสตร์ด้วย การผูกรัดรึงตรึงฉัน ด้วยไม้กางเขนตรากระสัง ให้วิญญาณของฉันไปไหนมาไหนไม่ได้ ต้องวนเวียนอยู่ในละแวกนี้เท่านั้น ฉันขอขอบใจท่านมากที่ท่านได้มาช่วยแก้เครื่องพันธนาการออกให้ฉัน แต่นี่ฉันก็เป็นอิสระแล้ว เมื่อท่านกลับไปเมืองไทยฉันจะไปด้วย ฉันจะไปช่วยงานท่าน ท่านมีธุรกิจอะไรเพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ ศาสนกษัตริย์แล้วบอกฉัน ขอให้ท่านหวนจิตคิดย้อนกลับไปดูภาวะของฉันที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นธิดาองค์ใหญ่ในวงศ์สุดท้ายของวงศ์สุโขทัย พระราชบิดาได้ไปครองเมืองอยุธยาได้รับสมญาว่า เจ้าฟ้าหญิงพระสุพรรณกัลยา มีความสุขจากทรัพย์โภคาอย่างล้นเหลือ มีข้าทาสบริวารนับไม่ถ้วน มีความสุขสุดที่จะพรรณา จำเดิมแต่ได้พลัดพรากจากบ้านเมืองพ่อแม่มา ข้ามภูผาที่กันดาร ยังมาทุกข์ทรมานในการจำจากน้องทั้งสองอันเป็นที่รักที่สุด สุดท้ายก็มาถูกเจ้านันทบุเรง บุตรบุญธรรมของฉันนั้นเองเฆี่ยนตีทำโทษจนถึง แก่ความตายอย่างทรมานที่สุด ซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดๆจะเหมือนฉัน แต่ฉันก็กระทำไปเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติบ้านเมือง” หลวงปู่โง่น: “ตอนนี้ท่านหญิงสบายแล้ว เสวยสุขอยู่ในทิพย์วิมานอันแสนจะสำราญอยู่ที่นี้ ที่โลกทิพย์นี่ สองสามราตรีเท่านั้นในพิภพนี้ แต่โลกมนุษย์ปาเข้าไปห้าร้อยปีแล้ว ตัวอาตมาเองได้ดับชีวีจากเมืองผีไปเมืองคน วนเวียนอยู่หลายชาติแล้ว เราจะมาเพลิดเพลินในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดอยู่หรือไง เป็นเพราะไอ้ตัวกิเลสตัณหาบ้าบอแท้ๆ ที่ได้จองจำนำพาให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด” พระสุพรรณกัลยา: “ฉันจะไปอุบัติในสกุลสุขุมาลย์ชาติในวงศ์สกุลกษัตริย์ไทย ช่วยบ้านเมืองในร่างสตรีเพศ เมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน และจะไม่เยื่อใยในการมีคู่ครอง เพราะฉันเข็ดแล้วเรื่องผู้ชาย ฉันจะสร้างบารมีทำแต่ความดีให้นั่งอยู่บนหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ แล้วฉันก็จะเป็นคนหมดเวรภัยไปสู่สถานที่ที่ไม่มีการเกิดการตายอีกแล้ว” พระสุพรรณกัลยา: “พระคุณเจ้าอย่าลืมนะ เรื่องฉันร้องขอคือ ฝากให้ท่านเอารูปลักษณ์ของฉันที่อยู่ในห้วงแห่งความทรงจำของท่าน ออกเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ที่อยากรู้อยากเห็นฉันให้เป็นแบบรูปธรรมขึ้นมา ให้เขาได้เห็นฉันด้วย แต่ฉันเชื่อแน่ว่า คนไทยทั้งประเทศ เขาคงจำฉันได้ไม่กี่คน เพราะประวัติจริงๆ ที่พระน้องยาเธอของฉันจารึกไว้ก็คงจะสลายหายสูญไปกับกรุงแตกครั้งหลังสุดแล้ว” หลวงปู่โง่นจึงได้สร้างรูปของพระสุพรรณกัลยาโดยใช้วิธีการสองระบบ คือ ระบบทางนามธรรม หรือ ระบบทางจิตคือการสัมผัสทางจิตวิญญาณ และระบบทางรูปธรรม โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ปรากฏเป็นภาพแก่สายตาภายนอก โดยใช้กล้องถ่ายรูปชั้นดีสองตัว คือ กล้องโอลิมปัสของเยอรมัน และกล้องโพโตลองของฝรั่งเศส ในทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ก็มีหลักยืนยันว่า E=MC2 สสารย่อมไม่หายไปจากโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีขึ้นแล้วในโลก เมื่อถึงคราวแตกดับไปสลายตัวไปก็จะกลายเป็นสสาร ยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพราะอุณหภูมิคือความร้อนรักษาไว้ มีการจัดหาเครื่องพลีกรรมทางไสยศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องบูชามีอาหารหวานคาว ผลไม้ และเครื่องแต่งตัวของผู้หญิงมีแป้ง น้ำอบน้ำหอม ผ้าถุงเสื้อนุ่งสีทอง เสร็จแล้วก็ไปทำพิธีในสถานที่ได้นิมิตเห็นพระสุพรรณกัลยาและถ่ายรูปเอาดวงวิญญาณของพระนาง เมื่อได้จัดแจงอุปกรณ์ภายนอก ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว หันหน้ากล้องทั้งสองเข้า หาพานเครื่องเส้น ทำใจให้สงบ หันหน้าตัวเองไปแนวเดียวกับกล้องถ่ายรูป แล้ว สวดคาถาว่า... เอหิภูโต มหาภูโต สะมะนุสโส สะเทวะโก กะโรหิ เทวะทิ ตานังอาคัจเฉยะ อาคัจฉาหิ เอหิวิญญานะสุพรรณกัลละยา เทวะทิตา อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ มานิมามา ภาวนาได้เจ็ดครั้งแล้วก็หยุด ใช้ความรู้สึกอย่างแรงในขณะหายใจเข้า ดึงเอาภาพลักษณ์ของพระสุพรรณกัลยา ให้มาปรากฏ แล้วจิตมันก็ว่าง อันรูปภาพของพระนางก็ปรากฏขึ้นในมโนภาพเห็น ชัดเจน อันกล้องถ่ายทั้งสอง มันก็ทำงานตามที่กำหนดไว้ ใช้เวลาอยู่สามชั่วโมงก็หยุด เอาฟิล์มออกมาล้างดู ล้างด้วยมือเอง เพราะหลวงปู่โง่นเคยเป็นช่างถ่ายรูปมาก่อน ได้รูปออกมาเป็นที่น่าพอใจ หลวงปู่โง่นได้เผยแพร่รูปพระนางตามที่ได้ปรากฏในโพสต์นี้ และบันทึกว่า พระนางสุพรรณกัลยาได้ทำคุณประโยชน์ไว้ให้แก่คนไทยทั้งชาติ คือ ต้องยอมเสียสละความสุข ตลอดพระชนม์ชีพส่วนตัว เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมืองสยามไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็ไม่มีวีรสตรีหรือวีรบุรุษท่านใดในอดีตถึง ปัจจุบันที่จะได้เสียสละอย่างนั้น แล้วสมควรไหมที่ชาวไทยจะลืมท่านลง แต่ถ้าได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ท่านผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม คงไม่ลืมแน่ คัดลอกและเรียบเรียงจากหนังสือ “ย้อยรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา” โดยหลวงปู่โง่น โสรโย เมษายน 2529"ข้าชื่อ สุพรรณกัลยา ข้าเกิดวันเสาร์ ปีมะเส็ง 2098 เป็นลูกสาวของพระมหาธรรมราชา มีน้องชายสองคน คือ เจ้าดำ เจ้าขาว เมื่อแพ้ศึก ข้ากับน้องชาย พร้อมด้วยเจ้าเหนือหัวคือพระมหินทราธิราช แต่ท่านมาถึงเกตทูเบิน เมืองมนต์ (มอญ) ท่านเสียชีวิตลง เขาจึงสั่งให้พ่อของข้า เป็นมหาอุปราช เป็นผู้ครองราช กรุงอโยธยา ข้าพร้อมกับไพร่พลและน้อง เพราะน้องข้าไม่ยอม จึงให้ข้ามาด้วย เราช่วยเลี้ยงเขาจนโต ข้าจากบ้านเมืองมา เมื่อวันพุธ เดือนสี่ ปีมะเมีย พุทธศักราช 2112 ข้าคิดถึงบ้าน คิดถึงมัน คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่เหลือเกิน" "ข้าได้เป็นแม่เลี้ยงน้องตั้งแต่อายุ 14 ปี ข้ากลับมาลาพ่อแม่เมื่ออายุ 19 ปี เมื่อปี 2119 ข้าได้แต่งงาน ข้าได้เลี้ยงน้อง ก่อนแต่งงานข้าได้กลับอยุธยา แล้วกลับไป แล้วให้น้องทั้งสองกลับมาช่วยพ่อกู้บ้านกู้เมืองที่อยุธยา ข้าคิดถึงบ้าน ข้าถูกจองจำด้วยเวทมนต์" เป็นบทความที่แปลจากหนังสือที่พระสุพรรณกัลยาได้เขียนเป็นอักษรโบราณของพม่าในปี พ.ศ. 2229 พบที่หอสมุดของพม่า โดยหลวงปู่โง่น โสรโย อริยสงฆ์แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2491 หลวงปู่โง่น โสรโย เกิดบนแพกลางลำน้ำปิง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้อุปสมบทในพุทธศาสนาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม นครพนม ระหว่างที่เป็นสมณะได้ปฏิบัติกรรมฐานในถ้ำ และกลางหิมะนานถึง 8 ชั่วโมง ได้รับคำสอนจากหลวงปู่โลกเทพอุดร มีความชำนาญเรื่องยาสมุนไพร หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ หลวงปู่โง่น โสรโย
    0 Comments 0 Shares 1454 Views 0 Reviews
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 Comments 0 Shares 1106 Views 0 Reviews
  • หุบเขาเทวดาวั่งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณริมหน้าผา

    สถานที่ท่องเที่ยวระดับ 4A
    อยู่ในเมืองซ่างเหรา มณฑลเจียงซี ประเทศจีน

    ผสมผสานระหว่างธรรมชาติ และวัฒนธรรมสุดตระการตา
    ที่มีประวัติศาสตร์ถูกจารึกไว้นับพันปี

    มีลักษณะเป็นหุบเขาที่ทอดยาวไปตามแนวแม่น้ำซงจู๋
    มีภูเขาหินปูนที่สลับซับซ้อน
    สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร

    จุดเด่นก็คือหมู่บ้านโบราณที่ตั้งอยู่ริมหน้าผา
    ภายในหุบเขาจะมีจุดชมวิวให้หามุมถ่ายรูปมากมาย

    น้ำตกขนาดใหญ่ : ที่ไหลเย็นชื่นใจหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วบริเวณ
    สวยงามตระการตา เป็นสวรรค์สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ

    ภูเขาสูงตระหง่าน : วั่งเซียนกู่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงหลายลูก
    ได้บรรยากาศที่เงียบสงบ

    ป่าไม้เขียวชอุ่ม : ป่าไม้ในวังเซียนกู่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
    เต็มไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด

    อากาศบริสุทธิ์ : อากาศในวังเซียนกู่บริสุทธิ์และสดชื่น
    เหมาะสำหรับการพักผ่อนและหลีกหนีความวุ่นวายของเมือง

    แสงสีเสียงอลังการ : ในช่วงกลางคืน วังเซียนกู่จะถูกประดับประดาด้วยแสงสีสวยงาม
    ทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โรแมนติก และน่าประทับใจ

    รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a
    ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8
    LINE ID: @etravelway.fire
    https://78s.me/e58a3f
    Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663
    Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626
    Tiktok : https://78s.me/903597
    ☎️: 021166395

    #ทัวร์จีน #วั่งเซียนกู่ #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    หุบเขาเทวดาวั่งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณริมหน้าผา สถานที่ท่องเที่ยวระดับ 4A อยู่ในเมืองซ่างเหรา มณฑลเจียงซี ประเทศจีน ผสมผสานระหว่างธรรมชาติ และวัฒนธรรมสุดตระการตา ที่มีประวัติศาสตร์ถูกจารึกไว้นับพันปี มีลักษณะเป็นหุบเขาที่ทอดยาวไปตามแนวแม่น้ำซงจู๋ มีภูเขาหินปูนที่สลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร จุดเด่นก็คือหมู่บ้านโบราณที่ตั้งอยู่ริมหน้าผา ภายในหุบเขาจะมีจุดชมวิวให้หามุมถ่ายรูปมากมาย น้ำตกขนาดใหญ่ : ที่ไหลเย็นชื่นใจหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วบริเวณ สวยงามตระการตา เป็นสวรรค์สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ ภูเขาสูงตระหง่าน : วั่งเซียนกู่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงหลายลูก ได้บรรยากาศที่เงียบสงบ ป่าไม้เขียวชอุ่ม : ป่าไม้ในวังเซียนกู่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เต็มไปด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด อากาศบริสุทธิ์ : อากาศในวังเซียนกู่บริสุทธิ์และสดชื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนและหลีกหนีความวุ่นวายของเมือง แสงสีเสียงอลังการ : ในช่วงกลางคืน วังเซียนกู่จะถูกประดับประดาด้วยแสงสีสวยงาม ทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โรแมนติก และน่าประทับใจ รวมทัวร์ไฟไหม้ ทัวร์หลุดจอง โปรพักเดี่ยว ลดเยอะสุด by 21ปี https://eTravelWay.com🔥 ⭕️ เข้ากลุ่มลับ Facebook โปรเพียบบบบ : https://78s.me/e86e1a ⭕️ เข้ากลุ่มลับ LINE openchat ทัวร์ที่หลุด คลิก https://78s.me/501ad8 LINE ID: @etravelway.fire https://78s.me/e58a3f Facebook: etravelway.fire https://78s.me/317663 Instagram: etravelway.fire https://78s.me/d43626 Tiktok : https://78s.me/903597 ☎️: 021166395 #ทัวร์จีน #วั่งเซียนกู่ #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ราคาถูก #etravelwayfire #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 Comments 0 Shares 1200 Views 68 0 Reviews
More Results