• คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 163 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน

    Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี

    ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้

    หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)

    กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ?

    จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา

    ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก

    แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น

    ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344
    https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767
    https://www.sohu.com/a/365640681_100296378
    http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/

    #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    ว่าด้วยชื่อของป๋ออี้เข่าจากเรื่องเฟิงเสิน Storyฯ ไม่มีโอกาสได้ไปชมภาพยนต์ที่อัดแน่นด้วยนักแสดงคุณภาพอย่างเรื่อง <Creation of the Gods 1: Kingdom of Storms> (ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นใหม่ของ เฟิงเสิน / สงครามกำเนิดเทพเจ้า ที่เพิ่งออกฉายในปีนี้) แต่ขอคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อยก็ยังดี ก่อนอื่นขอเท้าความให้ฟังว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นอิงนิยายเรื่อง ‘เฟิงเสินเหยี่ยนอี้’ (封神演义หรือ ‘ฮ่องสิน’ ตามสำเนียงจีนแต้จิ๋ว แปลตรงตัวว่า ตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นบทประพันธ์จีนเรื่องยาวแนวแฟนตาซีที่ถูกแต่งขึ้นในสมัยหมิง เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโจ้วหวาง กษัตริย์ผู้โหดเหี้ยมแห่งราชวงศ์ซาง ซึ่งต่อมาถูกโค่นล้มโดยเจ้าผู้ครองแคว้นโจวตะวันออกภายใต้ความช่วยเหลือของเจียงจื่อหยา นักการเมืองและกุนซือทหารผู้ชำนาญกลยุทธ์ โดยในบทประพันธ์นี้มีเทพเซียนและปีศาจมาร่วมรบในอภิมหาสงครามนี้ด้วย ต่อมาเกิดการสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น (256 ปีก่อนคริสตศักราช) และบุคคลต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ได้ถูกเจียงจื่อหยานำชื่อเขียนขึ้นกระดานแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า จึงเป็นที่มาของชื่อวรรณกรรมชิ้นนี้ หนึ่งในกลุ่มตัวละครที่เดินเรื่องสำคัญคือครอบครัวตระกูลจี มีเจ้าผู้ครองแคว้นโจวคือจีชางที่ถูกโจ้วหวางจับตัวไปจองจำ (ต่อมาคือโจวเหวินหวางแห่งราชวงศ์โจว) บุตรชายคนโตคือป๋ออี้เข่า ที่ถูกโจ้วหวางฆ่าเอาเนื้อมาทำอาหารให้จีชางกิน และบุตรชายคนเล็กจีฟาที่แค้นจนลุกขึ้นสู้กับโจ้วหวางและสามารถโค่นราชวงศ์ซางได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นโจวอู่หวาง (หมายเหตุ เรื่องป๋ออี้เข่า Storyฯ ได้เคยเอ่ยถึงในเรื่องหนึ่งในสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถูขององค์เฉียนหลง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) กล่าวถึงครอบครัวตระกูลจีนี้ ก็เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ขึ้น ทำไมบุตรชายคนโตของจีชางมีชื่อว่า ‘ป๋ออี้เข่า’? ทำไมไม่ใช่ แซ่จี+ชื่อ? จริงๆ แล้วเขาก็แซ่จี และชื่อเข่า นั่นแล่ะค่ะ แต่ที่ถูกเรียกว่า ‘ป๋ออี้เข่า’ (伯邑考) นั้น เป็นไปตามลำดับความเป็นของบุตรและตำแหน่งของเขา ในบันทึกสมัยชุนชิวมีกล่าวถึงการเรียกบุตรชายที่มีมาแต่โบราณตามลำดับว่า ‘ป๋อจ้งซูจี้’ (伯仲叔季) โดยคำว่า ‘ป๋อ’ แปลว่า บุรุษที่ไม่มีพี่ชาย จึงหมายถึงบุตรชายคนโต ส่วนบุตรคนรองจะเรียกว่า ‘จ้ง’ เป็นต้น อนึ่ง ในสมัยโบราณนั้น บุตรชายคนโตอาจเรียกว่า ‘ป๋อ’ (伯)หรือ ‘เมิ่ง’ (孟) ก็ได้ แต่ ‘เมิ่ง’ นั้นใช้กับบุตรชายที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาเอก ดังนั้น ‘ป๋อ’ จึงบ่งบอกว่า จีเข่านี้เป็นบุตรชายคนโตที่เกิดจากภรรยาเอก แต่ ‘ป๋ออี้เข่า’ มีคำว่า ‘อี้’ เพิ่มมาด้วย ซึ่ง ‘อี้’ นี้ แปลว่าแคว้น/ประเทศ หรืออาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางระดับสูงที่ดูแลเรื่องต่างๆ ของแคว้น แต่ก็มีบางข้อมูลที่บอกว่าหมายถึงตำแหน่งทายาทของผู้ปกครองแคว้น ดังนั้น การเรียก ป๋ออี้เข่า จึงเป็นการเรียกอย่างยกย่องให้เกียรติตามศักดิ์และตำแหน่งของจีเข่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล.2 ถ้าไม่เห็น Storyฯ ตอบเม้นท์ โปรดทราบว่าเม้นท์ของ Storyฯ ถูกปิดกั้นนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.fapot.or.th/main/cinema/view/2328 https://www.sohu.com/a/713169120_121284943#google_vignette Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/封神演义/69344 https://baike.baidu.com/item/伯仲叔季/1416767 https://www.sohu.com/a/365640681_100296378 http://www.guoxuedashi.net/guanzhi/10648wj/ #เฟิงเสิน #ฮ่องสิน #สงครามเทพยดา #ป๋ออี้เข่า #จีชาง #จีฟา #ราชวงศ์โจว #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 443 มุมมอง 0 รีวิว