• อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1054
    ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    --เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
    สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ
    อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ

    (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ
    : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว,
    ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง,
    ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ,
    ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
    เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
    ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
    ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ.
    และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
    --เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว
    เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก.
    กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่
    ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
    --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
    : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
    “พึงตอบได้ , พระองค์ !”
    --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล
    จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ
    *--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.

    (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต
    ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า
    ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้.
    . . . . ฯลฯ . . . .
    กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่
    ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
    --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
    : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
    “พึงตอบได้ , พระองค์ !”
    --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล
    จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ

    (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า
    “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ,
    จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ,
    จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่”
    ดังนี้.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ

    --เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก
    : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
    สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
    เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
    เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
    ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
    สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
    ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด,
    ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต
    : คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
    เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
    “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
    การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
    ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
    เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
    โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
    ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
    มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
    ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
    มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
    ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
    เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว
    มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ

    --(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย
    จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร –
    สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ –
    การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้
    ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน –
    ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต –
    เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ
    และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
    อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง
    #อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )​
    --เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น
    ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
    “นี้ทุกข์,
    นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์,
    นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”;
    และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า
    “เหล่านี้อาสวะ,
    นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
    นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
    ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”.
    เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
    ดังนี้.
    --เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
    คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
    เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
    เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า
    “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้
    หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”
    ดังนี้;
    ฉันใดก็ฉันนั้น.
    --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    --เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1054 ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054 เนื้อความทั้งหมด :- --การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ --เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. --เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ *--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ. (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . . กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), --เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” --เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ --เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต : คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ. --เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? --เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ --(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง #อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )​ --เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. --เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น. --เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. --เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.- http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242. http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒. http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
    -การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์. (๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์. (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . . กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่าน ๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ. จะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !” เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์. (๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้า กระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ. เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. (ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วยจุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน - จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึงอาสวักขยญาณซึ่งมีข้อความว่า :-) เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่น ไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์. เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 5 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
    สัทธรรมลำดับที่ : 687
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=687
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า
    ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว.
    บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่
    ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ
    อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน
    สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์.
    +--ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชาหรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า
    “ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด
    : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า
    ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว.
    ข้าพเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่
    ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว
    เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวนสมบูรณ์ ด้วยป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี
    มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์.
    ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !“
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้น
    จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร.
    สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชนมาก
    เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์,
    นี้ฉันใด ;
    +--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น
    : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่าที่เคยเป็นหนทางเก่า
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.
    --ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
    นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
    http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

    --ภิกษุ ท. ! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า
    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.
    เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น.
    เมื่อดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่ง
    ๑. ชรามรณะ,
    ๒. ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ,
    ๓. ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ,
    ๔. ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;
    http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=ชรามรณํ

    (ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึง
    ชาติ - ภพ - อุปาทาน - ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ -
    สุดลงเพียง - สังขาร (แต่ละอย่าง) โดยอาการทั้งสี่ (๔)
    ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร
    เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันธรรมนั้นๆ เท่านั้น).

    --ภิกษุ ท. ! เรานั้น,
    ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น,
    ได้บอกแล้วแก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย.
    --ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น
    ได้เป็น พรหมจรรย์ตั้งมั่น และรุ่งเรืองแล้ว
    เป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมากเป็นปึกแผ่นแน่นหนา
    จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์(เทวมนุสฺเสหิ)​ทั้งหลายสามารถประกาศได้ ด้วยดีแล้ว,
    http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=เทวมนุสฺเสหิ
    ดังนี้.-

    #อัฏฐังคิกมรรคคือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .16/103/253.
    http://etipitaka.com/read/thai/16/103/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%93
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .๑๖/๑๒๘/๒๕๓.
    http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%93
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=687
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=687
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่ สัทธรรมลำดับที่ : 687 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=687 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่ --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. +--ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชาหรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า “ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. ข้าพเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวนสมบูรณ์ ด้วยป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !“ ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร. สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์, นี้ฉันใด ; +--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่าที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. --ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. --ภิกษุ ท. ! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่ง ๑. ชรามรณะ, ๒. ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ๓. ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ๔. ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=ชรามรณํ (ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึง ชาติ - ภพ - อุปาทาน - ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ - สุดลงเพียง - สังขาร (แต่ละอย่าง) โดยอาการทั้งสี่ (๔) ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันธรรมนั้นๆ เท่านั้น). --ภิกษุ ท. ! เรานั้น, ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น, ได้บอกแล้วแก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย. --ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็น พรหมจรรย์ตั้งมั่น และรุ่งเรืองแล้ว เป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมากเป็นปึกแผ่นแน่นหนา จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์(เทวมนุสฺเสหิ)​ทั้งหลายสามารถประกาศได้ ด้วยดีแล้ว, http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=เทวมนุสฺเสหิ ดังนี้.- #อัฏฐังคิกมรรคคือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .16/103/253. http://etipitaka.com/read/thai/16/103/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%93 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ .๑๖/๑๒๘/๒๕๓. http://etipitaka.com/read/pali/16/128/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%93 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=687 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=687 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่
    -อัฏฐังคิกมรรค คือหนทางเก่าที่ทรงพบใหม่ ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตาม ทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชาหรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า “ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. ข้าพเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวนสมบูรณ์ ด้วยป่าไม้สมบูรณ์ ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า !“ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร. สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่าที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. ภิกษุ ท. ! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ; (ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึง ชาติ - ภพ - อุปาทาน - ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตนะ - นามรูป - วิญญาณ - สุดลงเพียง - สังขาร (แต่ละอย่าง) โดยอาการทั้งสี่ ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะ เหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันธรรมนั้นๆ เท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เรานั้น, ครั้นรู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งหนทางนั้น, ได้บอกแล้วแก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ ที่เรากล่าวบอกแล้วนั้น ได้เป็น พรหมจรรย์ตั้งมั่น และรุ่งเรืองแล้ว เป็นพรหมจรรย์แผ่ไพศาล เป็นที่รู้แห่งชนมากเป็นปึกแผ่นแน่นหนา จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสามารถประกาศได้ ด้วยดีแล้ว, ดังนี้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 6 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
    สัทธรรมลำดับที่ : 318
    ชื่อบทธรรม :- เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=318
    เนื้อความทั้งหมด :-
    [ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า
    ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ).
    คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต
    มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.
    --ในบาลีแห่งอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๕/๘๒๐)
    http://etipitaka.com/read/pali/14/515/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%90
    แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น
    แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวดคือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับตัวตน และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ
    อย่างเดียวกับสูตรที่กล่าวใน สัทธรรมลำดับที่ 317 ต่อไป
    ].
    --เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
    --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนก เหล่านี้ขึ้นมาในโลก
    ว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง
    ว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง
    ว่า ‘โลกมีที่สุด’ บ้าง
    ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง
    ว่า ‘ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น’ บ้าง
    ว่า ‘ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น’ บ้าง
    ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก’ บ้าง
    ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก’ บ้าง
    ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี’ บ้าง
    ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้’ บ้าง ?”
    --วัจฉะ !
    เพราะความไม่รู้ในรูป
    ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป
    ในความดับไม่เหลือแห่งรูป
    ในหนทางเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป
    http://etipitaka.com/read/pali/17/319/?keywords=รูป+ทิฏฺฐิคตานิ+โลเก
    ทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนกเหล่านี้
    จึงเกิดขึ้นมาในโลก
    ว่า “โลกเที่ยง” บ้าง ว่า “โลกไม่เที่ยง”บ้าง
    ....ฯลฯ....
    ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” บ้าง.

    (ในกรณีแห่ง ความไม่รู้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร และในวิญญาณ แล้วจึงเกิดทิฏฐิต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งความไม่รู้ในรูป.
    ---สำหรับคำว่า “เพราะความไม่รู้” ในสูตรดังกล่าวมานี้
    ในสูตรอื่น ๆ ได้ตรัสไว้ด้วยคำว่า
    เพราะไม่เห็น, เพราะไม่ถึงพร้อมเฉพาะ,
    เพราะไม่รู้โดยลำดับ, เพราะไม่แทงตลอด,
    เพราะไม่กำหนดทั่วถึง, เพราะไม่เข้าไปกำหนด,
    เพราะความไม่เพ่งพินิจอย่างสม่ำเสมอ,
    เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง,
    เพราะความไม่เข้าไปกำหนดโดยเฉพาะ
    และเพราะไม่ทำให้ประจักษ์, อีกถึง ๑๐ คำ ซึ่งก็มีใจความอย่างเดียวกัน
    ).-
    #เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/290-297/554-584.
    http://etipitaka.com/read/thai/17/290/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๑๙-๓๒๖/๕๕๔-๕๘๔.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/319/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%94
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=318
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ สัทธรรมลำดับที่ : 318 ชื่อบทธรรม :- เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=318 เนื้อความทั้งหมด :- [ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา. --ในบาลีแห่งอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๕/๘๒๐) http://etipitaka.com/read/pali/14/515/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%90 แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวดคือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับตัวตน และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรที่กล่าวใน สัทธรรมลำดับที่ 317 ต่อไป ]. --เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ --“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนก เหล่านี้ขึ้นมาในโลก ว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกมีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้’ บ้าง ?” --วัจฉะ ! เพราะความไม่รู้ในรูป ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ในความดับไม่เหลือแห่งรูป ในหนทางเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป http://etipitaka.com/read/pali/17/319/?keywords=รูป+ทิฏฺฐิคตานิ+โลเก ทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นมาในโลก ว่า “โลกเที่ยง” บ้าง ว่า “โลกไม่เที่ยง”บ้าง ....ฯลฯ.... ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” บ้าง. (ในกรณีแห่ง ความไม่รู้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร และในวิญญาณ แล้วจึงเกิดทิฏฐิต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งความไม่รู้ในรูป. ---สำหรับคำว่า “เพราะความไม่รู้” ในสูตรดังกล่าวมานี้ ในสูตรอื่น ๆ ได้ตรัสไว้ด้วยคำว่า เพราะไม่เห็น, เพราะไม่ถึงพร้อมเฉพาะ, เพราะไม่รู้โดยลำดับ, เพราะไม่แทงตลอด, เพราะไม่กำหนดทั่วถึง, เพราะไม่เข้าไปกำหนด, เพราะความไม่เพ่งพินิจอย่างสม่ำเสมอ, เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง, เพราะความไม่เข้าไปกำหนดโดยเฉพาะ และเพราะไม่ทำให้ประจักษ์, อีกถึง ๑๐ คำ ซึ่งก็มีใจความอย่างเดียวกัน ).- #เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/290-297/554-584. http://etipitaka.com/read/thai/17/290/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๑๙-๓๒๖/๕๕๔-๕๘๔. http://etipitaka.com/read/pali/17/319/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%94 ศึกษาเพิ่มเติม... http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=318 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - [ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.
    -[ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความเห็นผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา. ในบาลีแห่งอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๕/๘๒๐) แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวดคือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับตัวตน และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน]. เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนก เหล่านี้ ขึ้นมาในโลก ว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกมีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้’ บ้าง ?” วัจฉะ ! เพราะความไม่รู้ในรูป ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ในความดับไม่เหลือแห่งรูป ในหนทางเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นมาในโลก ว่า “โลกเที่ยง” บ้าง ว่า “โลกไม่เที่ยง”บ้าง ....ฯลฯ.... ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” บ้าง. (ในกรณีแห่ง ความไม่รู้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร และในวิญญาณ แล้วจึงเกิดทิฏฐิต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ตรัสไว้ โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งความไม่รู้ในรูป. สำหรับคำว่า “เพราะความไม่รู้” ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น ๆ ได้ตรัสไว้ด้วยคำว่า เพราะไม่เห็น, เพราะไม่ถึงพร้อมเฉพาะ, เพราะไม่รู้โดยลำดับ, เพราะไม่แทงตลอด, เพราะไม่กำหนดทั่วถึง, เพราะไม่เข้าไปกำหนด, เพราะความไม่เพ่งพินิจอย่างสม่ำเสมอ, เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง, เพราะความไม่เข้าไปกำหนดโดยเฉพาะ และเพราะไม่ทำให้ประจักษ์, อีกถึง ๑๐ คำ ซึ่งก็มีใจความอย่างเดียวกัน).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 6 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัฒนธรรมในภูมิภาคไม่ใช่ของใครคนเดียว นักวิชาการ มธ. แนะ ‘ไทย’ ยื่นหลักฐาน แสดงบทบาทร่วมขึ้นทะเบียนกับ ‘ยูเนสโก’
    https://www.thai-tai.tv/news/20319/
    .
    #ละครรำ #กัมพูชา #ยูเนสโก #มรดกวัฒนธรรม #ธรรมศาสตร์ #วัฒนธรรมไทย #รากวัฒนธรรมร่วม #FTA #โขน
    วัฒนธรรมในภูมิภาคไม่ใช่ของใครคนเดียว นักวิชาการ มธ. แนะ ‘ไทย’ ยื่นหลักฐาน แสดงบทบาทร่วมขึ้นทะเบียนกับ ‘ยูเนสโก’ https://www.thai-tai.tv/news/20319/ . #ละครรำ #กัมพูชา #ยูเนสโก #มรดกวัฒนธรรม #ธรรมศาสตร์ #วัฒนธรรมไทย #รากวัฒนธรรมร่วม #FTA #โขน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 21 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
    สัทธรรมลำดับที่ : 1053
    ชื่อบทธรรม :- เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน
    ก็ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน.
    และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว.
    จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.

    ๑-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ?
    +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ
    ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
    มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ;
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
    มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ;
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
    มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ;
    ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
    มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ.
    (กิจในที่นี้คือ
    กิจเกี่ยวกับ(ปธาน​ ๔​ ประการ)​
    การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา
    ).
    +--ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้,
    เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #อายุสำหรับภิกษุ.

    ๒-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ?
    +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล
    สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
    ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร
    มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #วรรณะสำหรับภิกษุ.

    ๓-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ?
    +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
    ภิกษุ เข้าถึง
    ปฐมฌาน ....
    ทุติยฌาน ....
    ตติยฌาน ....
    จตุตถฌาน . . . .
    แล้วแลอยู่.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #สุขสำหรับภิกษุ.

    ๔-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ?
    +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
    ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
    แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง
    แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง
    ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
    ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #โภคะสำหรับภิกษุ.

    ๕-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ?
    +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ
    กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
    อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #พละสำหรับภิกษุ.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50.
    http://etipitaka.com/read/thai/11/58/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/11/85/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1053
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ สัทธรรมลำดับที่ : 1053 ชื่อบทธรรม :- เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053 เนื้อความทั้งหมด :- --เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน) --ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน ก็ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว. จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ. ๑-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ? +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ. (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ(ปธาน​ ๔​ ประการ)​ การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา ). +--ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้, เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์. +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #อายุสำหรับภิกษุ. ๒-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ? +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #วรรณะสำหรับภิกษุ. ๓-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ? +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เข้าถึง ปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #สุขสำหรับภิกษุ. ๔-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ? +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่. +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #โภคะสำหรับภิกษุ. ๕-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ? +--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #พละสำหรับภิกษุ.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50. http://etipitaka.com/read/thai/11/58/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐. http://etipitaka.com/read/pali/11/85/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1053 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง
    สัทธรรมลำดับที่ : 686
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=686
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง
    --ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด,
    อริยอัฏฐังคิกมรรค เรากล่าวว่า เป็นธรรมเลิศกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น.
    --ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด เลื่อมใสแล้ว ในอริยอัฏฐังคิกมรรค,
    ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ.
    วิบากที่เลิศ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ แล.-
    --ภิกษุ ท. ! หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
    +--พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
    http://etipitaka.com/read/pali/21/45/?keywords=ตถาคตสาวกสงฺโฆ
    เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
    เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี
    เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
    เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น
    ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ
    และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ
    --ภิกษุ ท. !
    ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศเลื่อมใส โดยความเป็นของเลิศ
    เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
    เลื่อมใสในพระธรรมอันซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข
    เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม
    ถวายทานใน ท่านผู้เลิศนั้น ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ
    ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ
    ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล
    บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละอันเลิศ ฯ
    จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
    ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ฯ
    http://etipitaka.com/read/pali/21/45/?keywords=อคฺคโต+ปุญฺญกฺเขตฺเต+ปโมทตีติ

    อคฺคโต เว ปสนฺนานํ อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ วิราคูปสเม สุเข
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ ฯ
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี อคฺคธมฺมสมาหิโต
    เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ฯ

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/129/34.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/129/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๔/๓๔.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/44/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%94
    ศึกษาเพิ่มเติม..
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=686
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=686
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง สัทธรรมลำดับที่ : 686 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=686 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรค เป็นยอดแห่งสังขตธรรมทั้งปวง --ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด, อริยอัฏฐังคิกมรรค เรากล่าวว่า เป็นธรรมเลิศกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น. --ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด เลื่อมใสแล้ว ในอริยอัฏฐังคิกมรรค, ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ. วิบากที่เลิศ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ แล.- --ภิกษุ ท. ! หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด +--พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค http://etipitaka.com/read/pali/21/45/?keywords=ตถาคตสาวกสงฺโฆ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ --ภิกษุ ท. ! ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศเลื่อมใส โดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมอันซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม ถวายทานใน ท่านผู้เลิศนั้น ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละอันเลิศ ฯ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ ฯ http://etipitaka.com/read/pali/21/45/?keywords=อคฺคโต+ปุญฺญกฺเขตฺเต+ปโมทตีติ อคฺคโต เว ปสนฺนานํ อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ วิราคูปสเม สุเข อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ ฯ อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี อคฺคธมฺมสมาหิโต เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ ฯ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/129/34. http://etipitaka.com/read/pali/21/129/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๔/๓๔. http://etipitaka.com/read/pali/21/44/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%94 ศึกษาเพิ่มเติม.. https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=686 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=686 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงศึกษาสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา
    สัทธรรมลำดับที่ : 317
    ชื่อบทธรรม :- สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=317
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา
    --ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึง ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ)
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้
    บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ
    ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
    ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
    +--ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่ง รูป โดยความเป็นตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีรูป
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ;
    +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง เวทนา โดยความเป็นตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีเวทนา
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง ;
    +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สัญญา โดยความเป็นตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง ;
    +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สังขาร โดยความเป็นตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสังขาร
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง ;
    +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง วิญญาณ โดยความเป็นตน
    หรือเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีวิญญาณ
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน
    หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.
    --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า #สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา ดังนี้.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/55/?keywords=สกฺกายสมุทยคามินี+ปฏิปทา
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น
    เรียกว่า #การตามเห็นอันเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    (ทุกฺขสมุทยคามินีสมนุปสฺสนา).-

    #ทุกขสมุท้ย #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/43/89.
    http://etipitaka.com/read/thai/17/43/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๕/๘๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/55/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=317
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=317
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง..
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงศึกษาสักกายสมุทยคามินีปฏิปทา สัทธรรมลำดับที่ : 317 ชื่อบทธรรม :- สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=317 เนื้อความทั้งหมด :- --สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา --ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึง ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ) เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ +--ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่ง รูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ; +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง เวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง ; +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง ; +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สังขาร โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง ; +--ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง. --ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า #สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา ดังนี้. http://etipitaka.com/read/pali/17/55/?keywords=สกฺกายสมุทยคามินี+ปฏิปทา --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น เรียกว่า #การตามเห็นอันเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทุกข์, (ทุกฺขสมุทยคามินีสมนุปสฺสนา).- #ทุกขสมุท้ย #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/43/89. http://etipitaka.com/read/thai/17/43/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๕/๘๙. http://etipitaka.com/read/pali/17/55/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%99 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=317 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=317 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง.. http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1052
    ชื่อบทธรรม :-ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1052
    เนื้อความทั้งหมด :-
    [ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-]

    --สารีบุตร ! อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า

    “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคล
    ไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งปลายผู้มี
    อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
    กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป.
    ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่;
    นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ
    เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง
    เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”

    --สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น #ย่อมเป็นปัญญินทรีย์*--๑ของเธอนั้น.-
    http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=นปฺปญฺญายติ

    *--๑. ในสูตรอื่น (๒๒/๑๒/๑๕)
    http://etipitaka.com/read/pali/22/12/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95
    แทนที่จะเรียกว่าปัญญินทรีย์ ตรัสเรียกว่า #ปัญญาพละ ก็มี ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน.
    http://etipitaka.com/read/pali/22/12/?keywords=ปญฺญาพลํ

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/247/1020.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/247/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๒๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1052
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1052
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1052 ชื่อบทธรรม :-ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1052 เนื้อความทั้งหมด :- [ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-] --สารีบุตร ! อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคล ไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งปลายผู้มี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” --สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น #ย่อมเป็นปัญญินทรีย์*--๑ของเธอนั้น.- http://etipitaka.com/read/pali/19/300/?keywords=นปฺปญฺญายติ *--๑. ในสูตรอื่น (๒๒/๑๒/๑๕) http://etipitaka.com/read/pali/22/12/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95 แทนที่จะเรียกว่าปัญญินทรีย์ ตรัสเรียกว่า #ปัญญาพละ ก็มี ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. http://etipitaka.com/read/pali/22/12/?keywords=ปญฺญาพลํ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/247/1020. http://etipitaka.com/read/thai/19/247/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๒๐. http://etipitaka.com/read/pali/19/299/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1052 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1052 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - [ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-]
    -[ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-] สารีบุตร ! . . . . อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งปลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ของเธอนั้น.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 82 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ
    สัทธรรมลำดับที่ : 685
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=685
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ
    --ภิกษุ ท. !
    หม้อ ที่ไม่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ง่าย,
    หม้อ ที่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ยาก,
    ข้อนี้ฉันใด ;
    +--ภิกษุ ท. ! จิตที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย,
    จิตที่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก, ฉันนั้นเหมือนกัน.
    --ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นเชิงรองรับของจิต ? อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้เอง กล่าวคือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    นี้คือ #เชิงรองรับของจิต.-
    http://etipitaka.com/read/pali/19/25/?keywords=จิตฺตสฺส+อาธา

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/19/78-79.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/19/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕/๗๘-๗๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/25/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=685
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=685
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ สัทธรรมลำดับที่ : 685 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=685 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ --ภิกษุ ท. ! หม้อ ที่ไม่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ง่าย, หม้อ ที่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ยาก, ข้อนี้ฉันใด ; +--ภิกษุ ท. ! จิตที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย, จิตที่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก, ฉันนั้นเหมือนกัน. --ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นเชิงรองรับของจิต ? อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้คือ #เชิงรองรับของจิต.- http://etipitaka.com/read/pali/19/25/?keywords=จิตฺตสฺส+อาธา #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/19/78-79. http://etipitaka.com/read/thai/19/19/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕/๗๘-๗๙. http://etipitaka.com/read/pali/19/25/?keywords=%E0%B9%97%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=685 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=685 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ
    -อัฏฐังคิกมรรคทำหน้าที่ เสมือนหนึ่งเสวียนรองก้นหม้อ ภิกษุ ท. ! หม้อ ที่ไม่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ง่าย, หม้อที่มีเสวียนรองรับ ย่อมหมุนกลิ้งไปได้ยาก, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! จิตที่ไม่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ง่าย, จิตที่มีเชิงรองรับ ย่อมหมุนไปได้ยาก, ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! อะไร เป็นเชิงรองรับของจิต ? อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้คือ เชิงรองรับของจิต.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 83 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าสักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    สัทธรรมลำดับที่ : 316
    ชื่อบทธรรม :- สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?”
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ
    --ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้
    ไม่มีการสดับ
    ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขา,
    ย่อมตามเห็นรูป
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
    ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
    ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นสัญญา
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง
    ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นสังขาร
    โดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
    ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ;
    ย่อมตามเห็นวิญญาณ
    โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
    ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง.
    --ภิกษุ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสื่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/99/188-189.
    http://etipitaka.com/read/thai/17/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๔/๑๘๘-๑๘๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=316
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าสักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร สัทธรรมลำดับที่ : 316 ชื่อบทธรรม :- สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316 เนื้อความทั้งหมด :- --สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?” http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ --ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขา, ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ; ย่อมตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ; ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง. --ภิกษุ ! #สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=สกฺกายทิฏฺฐิ #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสื่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/99/188-189. http://etipitaka.com/read/thai/17/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๔/๑๘๘-๑๘๙. http://etipitaka.com/read/pali/17/124/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=316 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=316 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
    -สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?” ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ เขาย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง ; ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญาบ้าง ; ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน บ้าง ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสังขารบ้าง ; ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง. ภิกษุ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. (ต่อไปนี้ ได้ตรัสอาการที่สักกายทิฏฐิไม่มี, โดยนัยตรงกันข้าม).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1051
    ชื่อบทธรรม :- อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1051
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์
    --ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า?
    ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา
    ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่ง #สัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ
    http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=อริย+ปญฺญวา
    เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
    อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
    “ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
    ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้”
    ดังนี้.
    ภิกษุ ท. ! การรู้นี้ เรากล่าวว่า #ปัญญินทรีย์.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=ปญฺญินฺทฺริยํ

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/216/869.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/216/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%96%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๘๖๙.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%96%E0%B9%99
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1051
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1051
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1051 ชื่อบทธรรม :- อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1051 เนื้อความทั้งหมด :- --อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์ --ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า? ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่ง #สัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=อริย+ปญฺญวา เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! การรู้นี้ เรากล่าวว่า #ปัญญินทรีย์. http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=ปญฺญินฺทฺริยํ #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/216/869. http://etipitaka.com/read/thai/19/216/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%96%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๘๖๙. http://etipitaka.com/read/pali/19/263/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%96%E0%B9%99 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1051 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1051 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์
    -อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์ ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า? ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่งสัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! การรู้นี้ เรากล่าวว่าปัญญินทรีย์.๑-
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 110 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคเพื่อสำรอกราคะในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย
    สัทธรรมลำดับที่ : 684
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=684
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย
    --ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า
    “อาวุโส ท.! ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม
    เพื่อประโยชน์อะไรกัน?” ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
    “อาวุโส ท.! เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์แก่การ
    สำรอกซึ่งราคะ (ราควิราคตฺถํ)”.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=ราควิราคตฺถํ

    [และยังตรัสต่อไปว่า :-
    -เพื่อประโยชน์แก่การ ละสังโยชน์ (สญฺโญชนปหานตฺถํ) ดังนี้ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่การ ถอนอนุสัย (อนุสยสมุคฺฆาตนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดรู้ความที่สัตว์ ต้องเดินทางไกลด้วยอวิชชา (อทฺธานปริญฺญตถํ) ดังนี้ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่ความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวานํ ขยตฺถํ) ดังนี้ ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่การ ทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ (วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยตฺถํ) ดังนี้ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่การ รู้การเห็น (ญาณทสฺสนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ;
    -เพื่อประโยชน์แก่การ #ดับเย็นในทิฏธรรมเพราะไม่ยึดมั่น (อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถํ) ดังนี้ก็มี
    http://etipitaka.com/read/pali/19/34/?keywords=อนุปาทาปรินิพฺพาน
    ].

    --ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
    “อาวุโส ท. ! มรรคมีหรือ ปฏิปทามีหรือ เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ?”
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว
    พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่เพื่อการ สำรอกซึ่งราคะ.
    --ภิกษุ ท. ! มรรคนั้นเป็นอย่างไร ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไร เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ?
    #อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่
    http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ,
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ,
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ :
    +--ภิกษุ ท. ! นี้แลมรรค นี้แลปฏิปทา เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ.

    (ขยายความตามท่านพุทธทาส :-
    ข้อความสองย่อหน้าข้างบนนี้ มีต่อท้ายหลักธรรมที่เป็นจุดหมายของ
    พรหมจรรย์ตามรายนามที่กล่าวไว้ข้างบนทุกๆข้อ
    เช่นข้อว่า “เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์“ เป็นต้น
    ผู้ศึกษาพึงกำหนดเอาเอง
    ).-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/27-29/117-128.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/27/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%97
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓-๓๕/๑๑๗-๑๒๘.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%97
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=684
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=684
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรคเพื่อสำรอกราคะในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย สัทธรรมลำดับที่ : 684 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=684 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย --ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า “อาวุโส ท.! ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไรกัน?” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า “อาวุโส ท.! เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์แก่การ สำรอกซึ่งราคะ (ราควิราคตฺถํ)”. http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=ราควิราคตฺถํ [และยังตรัสต่อไปว่า :- -เพื่อประโยชน์แก่การ ละสังโยชน์ (สญฺโญชนปหานตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่การ ถอนอนุสัย (อนุสยสมุคฺฆาตนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดรู้ความที่สัตว์ ต้องเดินทางไกลด้วยอวิชชา (อทฺธานปริญฺญตถํ) ดังนี้ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่ความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวานํ ขยตฺถํ) ดังนี้ ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่การ ทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ (วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่การ รู้การเห็น (ญาณทสฺสนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; -เพื่อประโยชน์แก่การ #ดับเย็นในทิฏธรรมเพราะไม่ยึดมั่น (อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถํ) ดังนี้ก็มี http://etipitaka.com/read/pali/19/34/?keywords=อนุปาทาปรินิพฺพาน ]. --ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “อาวุโส ท. ! มรรคมีหรือ ปฏิปทามีหรือ เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ?” --ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่เพื่อการ สำรอกซึ่งราคะ. --ภิกษุ ท. ! มรรคนั้นเป็นอย่างไร ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไร เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ? #อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่ http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ , สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ , สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : +--ภิกษุ ท. ! นี้แลมรรค นี้แลปฏิปทา เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ. (ขยายความตามท่านพุทธทาส :- ข้อความสองย่อหน้าข้างบนนี้ มีต่อท้ายหลักธรรมที่เป็นจุดหมายของ พรหมจรรย์ตามรายนามที่กล่าวไว้ข้างบนทุกๆข้อ เช่นข้อว่า “เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์“ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงกำหนดเอาเอง ).- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/27-29/117-128. http://etipitaka.com/read/thai/19/27/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%97 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๓-๓๕/๑๑๗-๑๒๘. http://etipitaka.com/read/pali/19/33/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%97 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=684 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=684 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย
    -(คำว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นดังที่กล่าวข้างบนนั้น ในบางสูตรตรัสว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ - โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๒/๒๐๕ ; ในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๕/๒๒๐ ; และในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ ลาดไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน เงื้อมไปสู่นิพพาน ดังนี้ก็มี - ๑๙/๕๘/๒๓๖. คำที่ว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปทางทิศปราจีนนั้น ในบางสูตรทรงใช้คำว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปสู่สมุทร ก็มี - ๑๙/๕๐,๕๔,๕๗,๖๐/๑๙๗,๒๑๒,๒๒๗,๒๔๓). อัฏฐังคิกมรรคในฐานะหนทางให้ถึงจุดหมาย ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า “อาวุโส ท.! ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไรกัน?” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า “อาวุโส ท.! เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์แก่การ สำรอกซึ่งราคะ (ราควิราคตฺถํ)”. [และยังมีในสูตรอื่นที่ตรัสว่า :- เพื่อประโยชน์แก่การ ละสังโยชน์ (สญฺโญชนปหานตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การ ถอนอนุสัย (อนุสยสมุคฺฆาตนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดรู้ความที่สัตว์ ต้องเดินทางไกลด้วยอวิชชา (อทฺธานปริญฺญตถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวานํ ขยตฺถํ) ดังนี้ ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ (วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การรู้การเห็น (ญาณทสฺสนตฺถํ) ดังนี้ก็มี ; เพื่อประโยชน์แก่การดับเย็นในทิฏธรรมเพราะไม่ยึดมั่น (อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถํ) ดังนี้ก็มี]. ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “อาวุโส ท. ! มรรคมีหรือ ปฏิปทามีหรือ เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ?” ภิกษุ ท. ! เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พวกเธอพึงพยากรณ์แก่เขาว่า มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่เพื่อการ สำรอกซึ่งราคะ. ภิกษุ ท. ! มรรคนั้นเป็นอย่างไร ปฏิปทานั้นเป็นอย่างไร เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง, ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้แลมรรค นี้แลปฏิปทา เพื่อการสำรอกซึ่งราคะ. (ข้อความสองย่อหน้าข้างบนนี้ มีต่อท้ายหลักธรรมที่เป็นจุดหมายของ พรหมจรรย์ตามรายนามที่กล่าวไว้ข้างบนทุกๆข้อ เช่นข้อว่า “เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์“ เป็นต้นผู้ศึกษาพึงกำหนดเอาเอง).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 122 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษาว่าเกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
    สัทธรรมลำดับที่ : 315
    ชื่อบทธรรม :- เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=315
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
    --ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างนี้มีอยู่ คือ
    ๑.ภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายบวก).
    http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=ภวทิฏฺฐิ
    ๒.วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายลบ).
    http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=วิภวทิฏฺฐิ

    --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ
    เข้าถึง ภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ;
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ วิภวทิฏฐิ.
    --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิง วิภวทิฏฐิ
    เข้าถึง วิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ;
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ ภวทิฏฐิ.
    --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
    ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
    ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษต่ำทราม
    และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิทั้งสองนี้ ;
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้
    มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน
    เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ประเดี๋ยวยอมรับ ประเดี๋ยวคัดค้าน มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
    มักยินดีในความเนิ่นช้า.
    เขาเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส,
    เรากล่าวว่า เขาเหล่านั้น #ไม่พ้นจากทุกข์.

    [ต่อจากนี้ได้ตรัสสมณพราหมณ์พวกตรงกันข้าม
    ไม่มีทิฏฐิบวก-ทิฏฐิลบ พ้นจากทุกข์ได้ โดยนัยตรงกันข้าม
    --
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ย่อมรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับคุณ โทษ
    และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้
    ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน
    เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย มีความยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
    พวกเขา ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
    และความคับแค้นทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า #ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
    ]​.-

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/91/155.
    http://etipitaka.com/read/thai/12/91/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%95
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๑/๑๕๕.
    http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%95
    ศึกษาเพ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=315
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=315
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษาว่าเกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ สัทธรรมลำดับที่ : 315 ชื่อบทธรรม :- เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=315 เนื้อความทั้งหมด :- --เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ --ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างนี้มีอยู่ คือ ๑.ภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายบวก). http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=ภวทิฏฺฐิ ๒.วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายลบ). http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=วิภวทิฏฺฐิ --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ เข้าถึง ภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ วิภวทิฏฐิ. --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิง วิภวทิฏฐิ เข้าถึง วิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ ภวทิฏฐิ. --ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิทั้งสองนี้ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ประเดี๋ยวยอมรับ ประเดี๋ยวคัดค้าน มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มักยินดีในความเนิ่นช้า. เขาเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส, เรากล่าวว่า เขาเหล่านั้น #ไม่พ้นจากทุกข์. [ต่อจากนี้ได้ตรัสสมณพราหมณ์พวกตรงกันข้าม ไม่มีทิฏฐิบวก-ทิฏฐิลบ พ้นจากทุกข์ได้ โดยนัยตรงกันข้าม -- สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับคุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย มีความยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวกเขา ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า #ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์. ]​.- #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/91/155. http://etipitaka.com/read/thai/12/91/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%95 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๓๑/๑๕๕. http://etipitaka.com/read/pali/12/131/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%95 ศึกษาเพ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=315 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=315 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
    -เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างนี้มีอยู่ คือ ภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายบวก). วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายลบ). ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ เข้าถึง ภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ วิภวทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงวิภวทิฏฐิ เข้าถึง วิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อ ภวทิฏฐิ. ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิทั้งสองนี้ ; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ประเดี๋ยวยอมรับประเดี๋ยวคัดค้าน มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มักยินดีในความเนิ่นช้า. เขาเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส, เรากล่าวว่า เขาเหล่านั้น ไม่พ้นจากทุกข์. (ต่อจากนี้ได้ตรัสสมณพราหมณ์พวกตรงกันข้าม ไม่มีทิฏฐิบวก-ทิฏฐิลบ พ้นจากทุกข์ได้ โดยนัยตรงกันข้าม).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์
    สัทธรรมลำดับที่ : 1050
    ชื่อบทธรรม :- อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1050
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์
    --ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
    ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ
    ๑.สัทธินทรีย์
    ๒.วิริยินทรีย์
    ๓.สตินทรีย์
    ๔.สมาธินทรีย์ และ
    ๕.ปัญญินทรีย์.
    --ภิกษุ ท. ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ?
    สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน #โสตาปัตติยังคะสี่.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=จตูสุ+โสตาปตฺติ
    --ภิกษุท ท. ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ?
    วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน #สัมมัปปธานสี่.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=จตูสุ+สมฺมปฺปธา
    --ภิกษุ ท. ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ?
    สตินทรีย์ เห็นได้ใน #สติปัฏฐานสี่.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+สติปฏฺฐา
    --ภิกษุ ท. ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ?
    สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน #ฌานสี่.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+ฌาน
    --ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ?
    ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน #อริยสัจสี่.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+อริยสจฺ
    --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง.
    . . . .
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/214/852-857.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/214/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%95%E0%B9%92
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%95%E0%B9%92
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1050
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1050
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์ สัทธรรมลำดับที่ : 1050 ชื่อบทธรรม :- อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1050 เนื้อความทั้งหมด :- --อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์ --ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ ๑.สัทธินทรีย์ ๒.วิริยินทรีย์ ๓.สตินทรีย์ ๔.สมาธินทรีย์ และ ๕.ปัญญินทรีย์. --ภิกษุ ท. ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน #โสตาปัตติยังคะสี่. http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=จตูสุ+โสตาปตฺติ --ภิกษุท ท. ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน #สัมมัปปธานสี่. http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=จตูสุ+สมฺมปฺปธา --ภิกษุ ท. ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ใน #สติปัฏฐานสี่. http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+สติปฏฺฐา --ภิกษุ ท. ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน #ฌานสี่. http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+ฌาน --ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน #อริยสัจสี่. http://etipitaka.com/read/pali/19/260/?keywords=จตูสุ+อริยสจฺ --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . . #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/214/852-857. http://etipitaka.com/read/thai/19/214/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%95%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗. http://etipitaka.com/read/pali/19/259/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%95%E0%B9%92 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1050 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1050 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์
    -(ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้เองว่า หลักการศึกษาตามแบบของอริยสัจสี่ซึ่งแยกออกไป ได้ว่า คืออะไร? จากอะไร ? เพื่ออะไร ? โดยวิธีใด ? ดังนี้นั้น ใช้เป็นหลักศึกษาธรรมะ อะไรก็ได้ ดังในตัวอย่างเหล่านี้). อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์ ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสตาปัตติยังคะสี่. ภิกษุท ท. ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่. ภิกษุ ท. ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ในสติปัฏฐานสี่. ภิกษุ ท. ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่. ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน อริยสัจสี่. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . .
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 187 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยมรรคมีองค์แปดมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน
    สัทธรรมลำดับที่ : 683
    ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=683
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อัฏฐังคิกมรรคมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน
    --ภิกษุ ท. ! มหานทีไร ๆ เหล่านี้ คือ
    แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ;
    แม่น้ำทั้งหมดนั้น ลาดไปทางปราจีนทิศ (ทิศตะวันออก)
    เอียงไปทางปราจีนทิศ เงื้อมไปทางปราจีนทิศ ฉันใด ;
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่
    ย่อมเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน
    ฉันนั้นเหมือนกัน.

    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างไรเล่า
    จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ?
    +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญ
    สัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ....
    สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ ....
    สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ ....
    ชนิดที่
    อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละลง.

    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างนี้แล
    จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน.-
    http://etipitaka.com/read/pali/19/49/?keywords=อฏฺฐงฺคิกํ+มคฺคํ+นิพฺพาน

    (คำว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค
    ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นดังที่กล่าวข้างบนนั้น
    ในบางสูตรตรัสว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค
    ชนิดที่
    มีการนำออกซึ่ง ราคะ - โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน
    ดังนี้ก็มี
    ---- ๑๙/๕๒/๒๐๕ ;
    http://etipitaka.com/read/pali/19/52/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95
    ในบางสูตรตรัสว่า
    ชนิดที่
    มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน
    ดังนี้ก็มี
    ---- ๑๙/๕๕/๒๒๐ ;
    http://etipitaka.com/read/pali/19/55/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90
    และในบางสูตรตรัสว่า
    ชนิดที่
    ลาดไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน เงื้อมไปสู่นิพพาน
    ดังนี้ก็มี
    ---- ๑๙/๕๘/๒๓๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/58/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%93%E0%B9%96
    +--คำที่ว่า
    ลาด เอียง เงื้อม ไปทางทิศปราจีนนั้น
    ในบางสูตรทรงใช้คำว่า
    ลาด เอียง เงื้อม ไปสู่สมุทร
    ก็มี
    --- ๑๙/๕๐/๑๙๗
    http://etipitaka.com/read/pali/19/50/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%97
    --- ๑๙/๕๔/๒๑๒
    http://etipitaka.com/read/pali/19/54/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%92
    --- ๑๙/๕๗/๒๒๗
    http://etipitaka.com/read/pali/19/57/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%97
    --- ๑๙/๖๐/๒๔๓
    http://etipitaka.com/read/pali/19/60/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/49/189-190.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/46/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%99
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙/๑๘๙-๑๙๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/49/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%99
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=683
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=683
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยมรรคมีองค์แปดมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน สัทธรรมลำดับที่ : 683 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=683 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรคมีกระแสไหลไปสู่นิพพาน --ภิกษุ ท. ! มหานทีไร ๆ เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ; แม่น้ำทั้งหมดนั้น ลาดไปทางปราจีนทิศ (ทิศตะวันออก) เอียงไปทางปราจีนทิศ เงื้อมไปทางปราจีนทิศ ฉันใด ; +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ ย่อมเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ? +--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญ สัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ .... ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละลง. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน.- http://etipitaka.com/read/pali/19/49/?keywords=อฏฺฐงฺคิกํ+มคฺคํ+นิพฺพาน (คำว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นดังที่กล่าวข้างบนนั้น ในบางสูตรตรัสว่า เจริญกระทำให้มากซึ่งองค์มรรค ชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ - โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี ---- ๑๙/๕๒/๒๐๕ ; http://etipitaka.com/read/pali/19/52/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95 ในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ก็มี ---- ๑๙/๕๕/๒๒๐ ; http://etipitaka.com/read/pali/19/55/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%90 และในบางสูตรตรัสว่า ชนิดที่ ลาดไปสู่นิพพาน เอียงไปสู่นิพพาน เงื้อมไปสู่นิพพาน ดังนี้ก็มี ---- ๑๙/๕๘/๒๓๖. http://etipitaka.com/read/pali/19/58/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%93%E0%B9%96 +--คำที่ว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปทางทิศปราจีนนั้น ในบางสูตรทรงใช้คำว่า ลาด เอียง เงื้อม ไปสู่สมุทร ก็มี --- ๑๙/๕๐/๑๙๗ http://etipitaka.com/read/pali/19/50/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%97 --- ๑๙/๕๔/๒๑๒ http://etipitaka.com/read/pali/19/54/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%92 --- ๑๙/๕๗/๒๒๗ http://etipitaka.com/read/pali/19/57/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%97 --- ๑๙/๖๐/๒๔๓ http://etipitaka.com/read/pali/19/60/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%93 ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/49/189-190. http://etipitaka.com/read/thai/19/46/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙/๑๘๙-๑๙๐. http://etipitaka.com/read/pali/19/49/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%99 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=683 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=683 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อัฏฐังคิกมรรค มีกระแสไหลไปสู่นิพพาน
    -อัฏฐังคิกมรรค มีกระแสไหลไปสู่นิพพาน ภิกษุ ท. ! มหานทีไร ๆ เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำ อจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ; แม่น้ำทั้งหมดนั้น ลาดไปทางปราจีนทิศ (ทิศตะวันออก) เอียงไปทางปราจีนทิศ เงื้อมไปทางปราจีนทิศ ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ ย่อมเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่าง ไรเล่า จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมา สังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ ชนิดที่ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละลง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดอยู่ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้มีความลาดไปทางนิพพาน เอียงไปทางนิพพาน เงื้อมไปทางนิพพาน.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าเพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน
    สัทธรรมลำดับที่ : 314
    ชื่อบทธรรม :- เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=314
    เนื้อความทั้งหมด :-
    นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
    นิทเทศ ๗ ว่าด้วยทิฏฐิที่เกี่ยวกับตัณหา
    --เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน
    --ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ที่บัญญัติทิฏฐิ
    ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง
    ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง
    ปรารภทั้งปุพพันตะและ อปรันตขันธ์บ้าง
    ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ
    ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ปุพพันตะและอปรันตะ
    ดังนี้แล้ว
    กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท
    (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ)
    มีอย่างต่าง ๆ กันเป็นอเนก ;
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด
    ถูกกระทำแล้วให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)
    ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง
    เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น
    เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น.

    --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชาวประมงและลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ
    ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อยไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้
    สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้
    สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน
    เมื่อผุดอยู่ที่เดียว ก็ผุดอยู่ ในอวนนั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป
    ก็ยังคงผุดอยู่ในอวนนั้นนั่นเอง, นี้ฉันใด ;
    --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่บัญญัติทิฏฐิ
    ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง
    ปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ
    ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ
    ดังนี้แล้ว
    กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท
    (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ)
    มีอย่างต่าง ๆ กัน เป็นอเนก ;
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้ว
    ให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)
    ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น
    เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้นนั่นเอง.-
    http://etipitaka.com/read/pali/9/58/?keywords=ฉนฺนํ+ผสฺสายตนานํ+สมุทยญฺจ

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/43/90.
    http://etipitaka.com/read/thai/9/43/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที.(๘/๕๘/๙๐). ๙/๕๘/๙๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/9/58/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=314
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=314
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าเพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน สัทธรรมลำดับที่ : 314 ชื่อบทธรรม :- เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=314 เนื้อความทั้งหมด :- นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์ นิทเทศ ๗ ว่าด้วยทิฏฐิที่เกี่ยวกับตัณหา --เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน --ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและ อปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กันเป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้วให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น. --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชาวประมงและลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อยไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน เมื่อผุดอยู่ที่เดียว ก็ผุดอยู่ ในอวนนั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็ยังคงผุดอยู่ในอวนนั้นนั่นเอง, นี้ฉันใด ; --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กัน เป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้ว ให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้นนั่นเอง.- http://etipitaka.com/read/pali/9/58/?keywords=ฉนฺนํ+ผสฺสายตนานํ+สมุทยญฺจ #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/43/90. http://etipitaka.com/read/thai/9/43/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที.(๘/๕๘/๙๐). ๙/๕๘/๙๐. http://etipitaka.com/read/pali/9/58/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%90 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=314 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=314 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - นิทเทศ ๖
    -นิทเทศ ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์ จบ นิทเทศ ๗ ว่าด้วยทิฏฐิที่เกี่ยวกับตัณหา (มี ๘ เรื่อง) เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิ ปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและ อปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กันเป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้วให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชาวประมงและลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อยไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน เมื่อผุดอยู่ที่เดียว ก็ผุดอยู่ ในอวนนั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็ยังคงผุดอยู่ในอวนนั้นนั่นเอง, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่าง ต่าง ๆ กัน เป็นอเนก ; สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้ว ให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้นนั่นเอง.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป
    สัทธรรมลำดับที่ : 1049
    ชื่อบทธรรม :- หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1049
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป

    ตัวอย่าง ก. เกี่ยวกับอกุศลศีล
    --ถปติ ! อกุศลศีลเหล่านี้
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! อกุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! อกุศลศีลดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลศีล
    : นั่น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

    ตัวอย่าง ข. เกี่ยวกับกุศลศีล
    --ถปติ ! กุศลศีลเหล่านี้
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! กุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! กุศลศีลดับไม่เหลือ ในที่นี้ ๆ
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลศีล
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

    ตัวอย่าง ค. เกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ
    --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ
    : นั่นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะ
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.

    ตัวอย่าง ง. เกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ
    --ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! กุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! กุศลสังกัปปะดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะ
    : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.-
    ...
    (ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้เองว่า
    หลักการศึกษาตามแบบของอริยสัจสี่ซึ่งแยกออกไป
    ได้ว่า คืออะไร? จากอะไร ? เพื่ออะไร ? โดยวิธีใด ?
    ดังนี้นั้น ใช้เป็นหลักศึกษาธรรมะ
    อะไรก็ได้ ดังในตัวอย่างเหล่านี้
    ).
    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/265/361.
    http://etipitaka.com/read/thai/13/265/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%91
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๔๖/๓๖๑.
    http://etipitaka.com/read/pali/13/346/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%91
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1049
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1049
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
    ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป สัทธรรมลำดับที่ : 1049 ชื่อบทธรรม :- หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1049 เนื้อความทั้งหมด :- --หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป ตัวอย่าง ก. เกี่ยวกับอกุศลศีล --ถปติ ! อกุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! อกุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! อกุศลศีลดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลศีล : นั่น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ข. เกี่ยวกับกุศลศีล --ถปติ ! กุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! กุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! กุศลศีลดับไม่เหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลศีล : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ค. เกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! อกุศลสังกัปปะดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ง. เกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ --ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! กุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! กุศลสังกัปปะดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. --ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.- ... (ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้เองว่า หลักการศึกษาตามแบบของอริยสัจสี่ซึ่งแยกออกไป ได้ว่า คืออะไร? จากอะไร ? เพื่ออะไร ? โดยวิธีใด ? ดังนี้นั้น ใช้เป็นหลักศึกษาธรรมะ อะไรก็ได้ ดังในตัวอย่างเหล่านี้ ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/265/361. http://etipitaka.com/read/thai/13/265/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%91 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๔๖/๓๖๑. http://etipitaka.com/read/pali/13/346/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%91 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1049 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1049 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92 ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป
    -หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป ตัวอย่าง ก. เกี่ยวกับอกุศลศีล ถปติ ! อกุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! อกุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! อกุศลศีลดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลศีล : นั่น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ข. เกี่ยวกับกุศลศีล ถปติ ! กุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! กุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! กุศลศีลดับไม่เหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลศีล : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ค. เกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! อกุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! อกุศลสังกัปปะดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ตัวอย่าง ง. เกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! กุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! กุศลสังกัปปะดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะ นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ลักษณะของมรรค-อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ
    สัทธรรมลำดับที่ : 682
    ชื่อบทธรรม :- ลักษณะของมรรค-อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=682
    เนื้อความทั้งหมด :-
    หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค
    --อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า .
    ‘อมตะ อมตะ (ความไม่ตาย ๆ)’ ดังนี้
    อมตะ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ?
    และหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ (อมตคามิมคฺค) คืออะไร พระเจ้าข้า ?”
    --ภิกษุ ท. ! ความสิ้นแห่งราคะ ความสิ้นแห่งโทสะ ความสิ้นแห่งโมหะ
    : นี้เรียกว่า อมตะ.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/10/?keywords=อมต
    #อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแหละ คือ​#หนทางให้ถึงซึ่งอมตะ ; ได้แก่
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ,
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ,
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/7/32.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/7/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%92
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐/๓๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/10/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%92
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=682
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=682
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ลักษณะของมรรค-อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ สัทธรรมลำดับที่ : 682 ชื่อบทธรรม :- ลักษณะของมรรค-อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=682 เนื้อความทั้งหมด :- หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค --อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า . ‘อมตะ อมตะ (ความไม่ตาย ๆ)’ ดังนี้ อมตะ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ? และหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ (อมตคามิมคฺค) คืออะไร พระเจ้าข้า ?” --ภิกษุ ท. ! ความสิ้นแห่งราคะ ความสิ้นแห่งโทสะ ความสิ้นแห่งโมหะ : นี้เรียกว่า อมตะ. http://etipitaka.com/read/pali/19/10/?keywords=อมต #อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแหละ คือ​#หนทางให้ถึงซึ่งอมตะ ; ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/7/32. http://etipitaka.com/read/thai/19/7/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐/๓๒. http://etipitaka.com/read/pali/19/10/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%92 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=682 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=682 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค
    -หมวด ค. ว่าด้วย ลักษณะของมรรค อัฎฐังคิกมรรคในฐานะเป็นทางแห่งอมตะ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า . ‘อมตะ อมตะ (ความไม่ตาย ๆ)’ ดังนี้ อมตะ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ? และหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ (อมตคามิมคฺค) คืออะไร พระเจ้าข้า ?” ภิกษุ ท. ! ความสิ้นแห่งราคะ ความสิ้นแห่งโทสะ ความสิ้นแห่งโมหะ : นี้เรียกว่า อมตะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ คือหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ ; ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 151 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
    สัทธรรมลำดับที่ : 313
    ชื่อบทธรรม :- ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=313
    เนื้อความทั้งหมด :-
    #ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อุปธิ เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อวิชชา เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @สังขาร เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @วิญญาณ เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @ผัสสะ เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @เวทนา เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @ตัณหา เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อุปาทาน เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว) เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อาหาร เป็นปัจจัย....--
    .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) เป็นปัจจัย....--
    นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ.
    ---
    (อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ
    อันเป็นฝ่ายนิโรธ
    ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขนิโรธอริยสัจ
    โดยหัวข้อว่า
    “เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย”.
    ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไป
    กระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้
    ).-
    ---

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/352-357/392-402.
    http://etipitaka.com/read/thai/25/352/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%92
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๔-๔๗๙/๓๙๒-๔๐๒.
    http://etipitaka.com/read/pali/25/474/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%92
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=313
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=313
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย สัทธรรมลำดับที่ : 313 ชื่อบทธรรม :- ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=313 เนื้อความทั้งหมด :- #ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อุปธิ เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อวิชชา เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @สังขาร เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @วิญญาณ เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @ผัสสะ เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @เวทนา เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @ตัณหา เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อุปาทาน เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว) เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อาหาร เป็นปัจจัย....-- .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี @อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) เป็นปัจจัย....-- นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ. --- (อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายนิโรธ ซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขนิโรธอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย”. ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไป กระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้ ).- --- #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/352-357/392-402. http://etipitaka.com/read/thai/25/352/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๔-๔๗๙/๓๙๒-๔๐๒. http://etipitaka.com/read/pali/25/474/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%92 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=313 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=313 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
    -ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปธิ เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อวิชชา เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี สังขาร เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี วิญญาณ เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ผัสสะ เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี เวทนา เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ตัณหา เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปาทาน เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว) เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อาหาร เป็นปัจจัย.... .... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) เป็นปัจจัย.... นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ. (อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายนิโรธซึ่งได้แยกไปใส่ไว้ในหมวดทุกขนิโรธอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย”. ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไป กระทำได้โดยลักษณะเช่นนี้).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 130 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก
    สัทธรรมลำดับที่ : 1048
    ชื่อบทธรรม :- เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1048
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก
    --ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด
    ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
    เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม มีอยู่.
    --ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
    “วิธีการเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ถึงที่สุด (อุปนิสาคือ “วิธีที่จะเข้าถึงประโยชน์”)
    http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=อุปนิสา
    ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล
    ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
    เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านั้น มีอยู่อย่างไรเล่า ?”
    ดังนี้ไซร์, พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า
    วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงซึ่ง ธรรมเหล่านั้น
    อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวดอย่างไรกันเล่า?
    สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า
    “นี้คือทุกข์
    นี้คือทุกขสมุทัย”
    ดังนี้ : นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง ;
    และ
    “นี้คือทุกขนิโรธ
    นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
    ดังนี้ : นี้เป็นอนุปัสสนา หมวดที่สอง.
    --ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม
    อันจะพึงแบ่งออกได้เป็นสองหมวดโดยชอบ อย่างนี้
    เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่;
    ผลที่เธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผลสองอย่าง
    คือการ บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว,
    http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=อญฺญตรํ+ผลํ
    หรือว่าถ้าอุปาทิ (เชื้อ) ยังเหลืออยู่ ก็ย่อม เป็นอนาคามี.-
    http://etipitaka.com/read/pali/25/474/?keywords=อนาคามี

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/351/390.
    http://etipitaka.com/read/thai/25/351/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓/๓๙๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1048
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1048
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91
    ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก สัทธรรมลำดับที่ : 1048 ชื่อบทธรรม :- เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1048 เนื้อความทั้งหมด :- --เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก --ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม มีอยู่. --ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “วิธีการเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ถึงที่สุด (อุปนิสาคือ “วิธีที่จะเข้าถึงประโยชน์”) http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=อุปนิสา ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านั้น มีอยู่อย่างไรเล่า ?” ดังนี้ไซร์, พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงซึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวดอย่างไรกันเล่า? สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย” ดังนี้ : นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง ; และ “นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ : นี้เป็นอนุปัสสนา หมวดที่สอง. --ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม อันจะพึงแบ่งออกได้เป็นสองหมวดโดยชอบ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่; ผลที่เธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผลสองอย่าง คือการ บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=อญฺญตรํ+ผลํ หรือว่าถ้าอุปาทิ (เชื้อ) ยังเหลืออยู่ ก็ย่อม เป็นอนาคามี.- http://etipitaka.com/read/pali/25/474/?keywords=อนาคามี #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/351/390. http://etipitaka.com/read/thai/25/351/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓/๓๙๐. http://etipitaka.com/read/pali/25/473/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%99%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1048 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1048 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91 ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก
    -เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม มีอยู่. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “วิธีการเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ถึงที่สุด (อุปนิสา๑) ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ๑. อุปนิสา คำนี้ ในที่บางแห่ง (ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๔๙ บรรทัดที่ ๗) ได้แปลว่า “ประโยชน์” นั้นไม่ถูก, ที่ถูกต้องแปลว่า “วิธีที่จะเข้าถึงประโยชน์” ; ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย. จากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านั้น มีอยู่อย่างไรเล่า ?” ดังนี้ไซร์, พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงซึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวดอย่างไรกันเล่า? สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย” ดังนี้ : นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง ; และ “นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาหมวด ที่สอง. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม อันจะพึงแบ่งออกได้เป็นสองหมวดโดยชอบ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่; ผลที่เธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผลสองอย่าง คือการ บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, หรือว่าถ้าอุปาทิ (เชื้อ) ยังเหลืออยู่ ก็ย่อม เป็นอนาคามี.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 131 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ตโปชิคุจฉิวัตร(การเกียจกันบาปด้วยตบะ)
    สัทธรรมลำดับที่ : 681
    ชื่อบทธรรม :- ตโปชิคุจฉิวัตร-เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=681
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ตโปชิคุจฉิวัตร
    --เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ
    ....
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการรื้อถอนซึ่งโอฆะ
    โดยข้อปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ
    ด้วยสีลวิสุทธิ์ และด้วยตโปชิคุจฉะ (การเกียจกันบาปด้วยตบะ).
    http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=ตโปชิคุจฺฉ
    +--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร?”
    --สาฬ๎หะเอ๋ย ! เรากล่าวสีลวิสุทธิ์ว่าเป็นองค์แห่งสามัญญปฏิบัติองค์ใดองค์หนึ่ง
    http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=สีลวิสุทฺธิ
    ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท (การสอนเกียจกันบาปด้วยตบะ)
    มีตโปชิคุจฉะเป็นสาระ เกลือกกลั้วพัวพันอยู่ในตโปชิคุจฉะ
    เป็นพวกที่ไม่สมควรที่จะรื้อถอนซึ่งโอฆะ ;
    ถึงแม้สมณพราหมณ์พวกที่
    มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์
    มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์
    มีมโนสมาจารไม่บริสุทธิ์
    มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
    พวกนั้นไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ
    และแก่ความรู้พร้อมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า (อนุตฺต สมฺโพธ).
    http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=อนุตฺต+สมฺโพธ
    --สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะข้ามแม่น้ำ ถือขวานกุฏฐารี
    เข้าไปสู่ป่า เห็นต้นสาละใหญ่ ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีส่วนน่ารังเกียจ
    เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน แล้วตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบออกหมดจด
    แล้วถากด้วยขวานกุฏฐารี แล้วถากด้วยมีด ขูดด้วยเครื่องขูด
    ขัดให้เกลี้ยงด้วยก้อนหินกลม แล้วปล่อยลงน้ำ.
    --สาฬ๎หะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
    : บุรุษนั้นอาจจะข้ามแม่น้ำไปได้หรือหนอ ?
    “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”
    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    “+--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะท่อนไม้สาละนั้น
    ทำบริกรรมถูกต้องแต่ภายนอก ภายในไม่ถูกต้อง (สำหรับความเป็นเรือ) เลย
    สิ่งที่บุรุษนั้นจะหวังได้คือ ท่อนไม้สาละนั้นจักจมลง
    บุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า ! ”
    --สาฬ๎หะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น
    : สมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท ก็ไม่อาจที่จะถอนซึ่งโอฆะ;
    แม้พวกที่มีสมาจารไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ
    และแก่อนุตตรสัมโพธะ ฉันนั้นเหมือนกัน.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=อนุตฺต+สมฺโพธ
    ...
    (ต่อไปได้ตรัสข้อความอันเป็นปฏิปักขนัย(ฝ่ายตรงข้าม)​
    ซึ่งผู้อ่านอาจจะเปรียบเทียบได้เองจนตลอดเรื่อง...)​.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/190-193/196.
    http://etipitaka.com/read/thai/21/190/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๑-๒๗๔/๑๙๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/21/271/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96
    ศึกษา​เพิ่มเติม..
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=681
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=681
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
    ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ตโปชิคุจฉิวัตร(การเกียจกันบาปด้วยตบะ) สัทธรรมลำดับที่ : 681 ชื่อบทธรรม :- ตโปชิคุจฉิวัตร-เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=681 เนื้อความทั้งหมด :- --ตโปชิคุจฉิวัตร --เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ .... --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการรื้อถอนซึ่งโอฆะ โดยข้อปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ ด้วยสีลวิสุทธิ์ และด้วยตโปชิคุจฉะ (การเกียจกันบาปด้วยตบะ). http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=ตโปชิคุจฺฉ +--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร?” --สาฬ๎หะเอ๋ย ! เรากล่าวสีลวิสุทธิ์ว่าเป็นองค์แห่งสามัญญปฏิบัติองค์ใดองค์หนึ่ง http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=สีลวิสุทฺธิ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท (การสอนเกียจกันบาปด้วยตบะ) มีตโปชิคุจฉะเป็นสาระ เกลือกกลั้วพัวพันอยู่ในตโปชิคุจฉะ เป็นพวกที่ไม่สมควรที่จะรื้อถอนซึ่งโอฆะ ; ถึงแม้สมณพราหมณ์พวกที่ มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีมโนสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ พวกนั้นไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่ความรู้พร้อมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า (อนุตฺต สมฺโพธ). http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=อนุตฺต+สมฺโพธ --สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะข้ามแม่น้ำ ถือขวานกุฏฐารี เข้าไปสู่ป่า เห็นต้นสาละใหญ่ ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีส่วนน่ารังเกียจ เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน แล้วตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบออกหมดจด แล้วถากด้วยขวานกุฏฐารี แล้วถากด้วยมีด ขูดด้วยเครื่องขูด ขัดให้เกลี้ยงด้วยก้อนหินกลม แล้วปล่อยลงน้ำ. --สาฬ๎หะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นอาจจะข้ามแม่น้ำไปได้หรือหนอ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “+--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะท่อนไม้สาละนั้น ทำบริกรรมถูกต้องแต่ภายนอก ภายในไม่ถูกต้อง (สำหรับความเป็นเรือ) เลย สิ่งที่บุรุษนั้นจะหวังได้คือ ท่อนไม้สาละนั้นจักจมลง บุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า ! ” --สาฬ๎หะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : สมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท ก็ไม่อาจที่จะถอนซึ่งโอฆะ; แม้พวกที่มีสมาจารไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่อนุตตรสัมโพธะ ฉันนั้นเหมือนกัน. http://etipitaka.com/read/pali/21/272/?keywords=อนุตฺต+สมฺโพธ ... (ต่อไปได้ตรัสข้อความอันเป็นปฏิปักขนัย(ฝ่ายตรงข้าม)​ ซึ่งผู้อ่านอาจจะเปรียบเทียบได้เองจนตลอดเรื่อง...)​.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/190-193/196. http://etipitaka.com/read/thai/21/190/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๑-๒๗๔/๑๙๖. http://etipitaka.com/read/pali/21/271/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%96 ศึกษา​เพิ่มเติม.. https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=681 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=681 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ตโปชิคุจฉิวัตร
    -(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า “กามสุขัลลิกานุโยค“ กับคำว่า “สุขัลลิกานุโยค“ มิใช่คำคำเดียวกัน และมีความหมายแคบกว่ากัน คือกามสุขัลลิกานุโยคนั้น มุ่งความสุขเกิดแต่กามอย่างเดียว ส่วนสุขัลลิกานุโยคนั้น รวมเอาความสุขของคนบาปก็ได้ ของคนบริโภคกามก็ได้ ของคนมีความสุขเกิดจากฌานหรือสมาธิก็ได้, กล่าวได้ว่า มีความหมายกว้างกว่ากามสุขัลลิกานุโยคสามเท่าตัวเป็นอย่างน้อย). ตโปชิคุจฉิวัตร เปรียบเสมือนการขี่ขอนสดท่อนกลมข้ามแม่น้ำ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการรื้อถอนซึ่งโอฆะ โดยข้อปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ ด้วยสีลวิสุทธิ์ และด้วยตโปชิคุจฉะ (การเกียจกันบาปด้วยตบะ). ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร?”. สาฬ๎หะเอ๋ย ! เรากล่าวสีลวิสุทธิ์ว่าเป็นองค์แห่งสามัญญปฏิบัติองค์ใดองค์หนึ่ง ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท (การสอนเกียจกันบาป ด้วยตบะ) มีตโปชิคุจฉะเป็นสาระ เกลือกกลั้วพัวพันอยู่ในตโปชิคุจฉะ เป็นพวกที่ไม่สมควรที่จะรื้อถอนซึ่งโอฆะ ; ถึงแม้สมณพราหมณ์พวกที่มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีมโนสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ พวกนั้นไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่ความรู้พร้อมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า (อนุตฺตรสมฺโพธ). สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะข้ามแม่น้ำ ถือขวานกุฏฐารี เข้าไปสู่ป่า เห็นต้นสาละใหญ่ ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีส่วนน่ารังเกียจ เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน แล้วตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบออกหมดจด แล้วถากด้วยขวานกุฏฐารี แล้วถากด้วยมีด ขูดด้วยเครื่องขูด ขัดให้เกลี้ยงด้วยก้อนหินกลม แล้วปล่อยลงน้ำ. สาฬ๎หะ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นอาจจะข้ามแม่น้ำไปได้หรือหนอ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะท่อนไม้สาละนั้น ทำบริกรรมถูกต้องแต่ภายนอก ภายในไม่ถูกต้อง (สำหรับความเป็นเรือ) เลย สิ่งที่บุรุษนั้นจะหวังได้คือ ท่อนไม้สาละนั้นจักจมลง บุรุษนั้น จักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า ! ” สาฬ๎หะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : สมณพราหมณ์พวกที่เป็นตโปชิคุจฉวาท ก็ไม่อาจที่จะถอนซึ่งโอฆะ; แม้พวกที่มีสมาจารไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่ควรแก่ญาณทัสสนะ และแก่อนุตตรสัมโพธะ ฉันนั้นเหมือนกัน. (ต่อไปได้ตรัสข้อความอันเป็นปฏิปักขนัย ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งผู้อ่านอาจจะเปรียบเทียบได้เองจนตลอดเรื่อง).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาปกิณณกทุกข์
    สัทธรรมลำดับที่ : 312
    ชื่อบทธรรม :- ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูลและตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=312
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล
    --ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
    เก้าอย่าง อย่างไรเล่า ?
    ๑--เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา (ปริเยสนา) ;
    ๒--เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ (ลาโภ) ;
    ๓--เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย) ;
    ๔--เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค) ;
    ๕--เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ;
    ๖--เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห) ;
    ๗--เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ (มจฺฉริยํ) ;
    ๘--เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น (อารกฺโข) ;
    ๙--เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมีเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ;
    http://etipitaka.com/read/pali/23/413/?keywords=อารกฺขาธิกร
    กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม
    การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
    การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด
    และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.

    --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
    *อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก -- นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗;
    http://etipitaka.com/read/pali/23/413/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%97
    (สอบทานด้วย - มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙).
    http://etipitaka.com/read/pali/10/69/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99

    --ตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก
    --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ สิ่งอันเป็นที่รัก,
    ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก ;
    เมื่อพ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก, ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
    --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความรัก,
    ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความรัก ;
    เมื่อพ้นแล้วจา ความรัก, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
    --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความยินดี,
    ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความยินดี ;
    เมื่อพ้นแล้วจากความยินดี, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
    --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความใคร่,
    ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความใคร่ ;
    เมื่อพ้นแล้วจากความใคร่, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
    --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ตัณหา,
    ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ตัณหา ;
    เมื่อพ้นแล้วตัณหา, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.-

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจ​สี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/43/26.
    http://etipitaka.com/read/thai/25/30/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๔๓/๒๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/25/43/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=312
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=312
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาปกิณณกทุกข์ สัทธรรมลำดับที่ : 312 ชื่อบทธรรม :- ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูลและตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=312 เนื้อความทั้งหมด :- --ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล --ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. เก้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ๑--เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา (ปริเยสนา) ; ๒--เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ (ลาโภ) ; ๓--เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย) ; ๔--เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค) ; ๕--เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ; ๖--เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห) ; ๗--เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ (มจฺฉริยํ) ; ๘--เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น (อารกฺโข) ; ๙--เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมีเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; http://etipitaka.com/read/pali/23/413/?keywords=อารกฺขาธิกร กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. *อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก -- นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗; http://etipitaka.com/read/pali/23/413/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%92%E0%B9%97 (สอบทานด้วย - มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙). http://etipitaka.com/read/pali/10/69/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99 --ตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ สิ่งอันเป็นที่รัก, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก ; เมื่อพ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก, ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความรัก, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความรัก ; เมื่อพ้นแล้วจา ความรัก, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความยินดี, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความยินดี ; เมื่อพ้นแล้วจากความยินดี, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ความใคร่, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ความใคร่ ; เมื่อพ้นแล้วจากความใคร่, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. --ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ ตัณหา, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ ตัณหา ; เมื่อพ้นแล้วตัณหา, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.- #ทุกขสมุทัย #อริยสัจ​สี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์​ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/43/26. http://etipitaka.com/read/thai/25/30/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๔๓/๒๖. http://etipitaka.com/read/pali/25/43/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=312 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=312 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล
    -ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. เก้าอย่าง อย่างไรเล่า ? เพราะอาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา (ปริเยสนา) ; เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีการได้ (ลาโภ) ; เพราะอาศัยการได้ จึงมีความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย) ; เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค) ; เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมีความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ) ; เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห) ; เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ (มจฺฉริยํ) ; เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น (อารกฺโข) ; เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมีเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ) ; กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. นวก. อํ. ๒๓/๔๑๓/๒๒๗; (สอบทานด้วย - มหา. ที. ๑๐/๖๙/๕๙). ตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก ความโศก ย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก, ความกลัวย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก ; เมื่อพ้นแล้วจากสิ่งเป็นที่รัก, ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความรัก, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความรัก ; เมื่อพ้นแล้วจา ความรัก, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี ; เมื่อพ้นแล้วจากความยินดี, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่ ; เมื่อพ้นแล้วจากความใคร่, ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า. ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา ; เมื่อพ้นแล้วตัณหา, ความโศก ย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
    สัทธรรมลำดับที่ : 1047
    ชื่อบทธรรม :- บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1047
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
    --ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่.
    สองจำพวก อย่างไรเล่า? สองจำพวกคือ
    ๑.บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย)
    http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=อนริย+ปริส
    ๒.บริษัทประเสริฐ (อริย).
    http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=อริย+ปริส
    --ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า
    “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย,
    นี้ ทุกขนิโรธ,
    นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ;
    บริษัทนี้ เรากล่าวว่า #บริษัทไม่ประเสริฐ.

    --ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า
    “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย,
    นี้ ทุกขนิโรธ,
    นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้;
    บริษัทนี้ เรากล่าวว่า #บริษัทประเสริฐ.
    --ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล.
    บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือ บริษัทประเสริฐ (อริย ปริส).-

    #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/67/290.
    http://etipitaka.com/read/thai/20/67/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๙๐/๒๙๐.
    http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1047
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1047
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91
    ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ สัทธรรมลำดับที่ : 1047 ชื่อบทธรรม :- บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1047 เนื้อความทั้งหมด :- --บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ --ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สองจำพวก อย่างไรเล่า? สองจำพวกคือ ๑.บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย) http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=อนริย+ปริส ๒.บริษัทประเสริฐ (อริย). http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=อริย+ปริส --ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า #บริษัทไม่ประเสริฐ. --ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า #บริษัทประเสริฐ. --ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล. บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือ บริษัทประเสริฐ (อริย ปริส).- #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/67/290. http://etipitaka.com/read/thai/20/67/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๙๐/๒๙๐. http://etipitaka.com/read/pali/20/90/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1047 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91&id=1047 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=91 ลำดับสาธยายธรรม : 91 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_91.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
    -(ผู้ศึกษาอาจจะสังเกตเห็นได้เองว่า การศึกษาและปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่ประการนั้น จะไม่เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักกาลามสูตรทั้งสิบประการแต่อย่างใด เพราะมีเหตุผลที่แสดงชัดอยู่ในตัวเองว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร มรรคอาจจะดับทุกข์ได้แท้จริงอย่างไร โดยไม่ต้อเชื่อคำบอกตามๆ กันมา ไม่ต้องดูการประพฤติตามๆ กันมา หรือเชื่อตามคำเล่าลือ หรืออ้างว่ามีอยู่ในตำรา หรือใช้เหตุผลตามทางตรรก หรือตามทางนัยะคือปรัชญา หรือตรึกตามสามัญสำนึก หรือเพราะเข้ากันได้กับเหตุผลของตน หรือผู้พูดอยู่ในฐานะน่าเชื่อ หรือผู้พูดเป็นครูของตน ซึ่งพระองค์เองก็ได้ตรัสย้ำในข้อนี้อยู่เสมอ. เป็นอัน กล่าวได้ว่า ความรู้และการปฏิบัติในอริยสัจทั้งสี่นี้ ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องงมงาย หรือสีลัพพัตตปรามาส อันขัดต่อหลักกาลามสูตร แต่อย่างใด). บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สองจำพวก อย่างไรเล่า? สองจำพวกคือ บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย) บริษัทประเสริฐ (อริย). ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทไม่ประเสริฐ. ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทประเสริฐ. ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล. บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือบริษัทประเสริฐ (อริยปริส).
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 125 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    สัทธรรมลำดับที่ : 680
    ชื่อบทธรรม :- สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ

    ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+อนริยา
    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย
    กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค
    (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)”
    ดังนี้.
    --จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ?
    ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ”
    ดังนี้.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้
    เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน
    เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
    ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ
    ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม
    ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
    +--จุนทะ !
    คนบางคน ในกรณีนี้
    เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในโลกนี้
    ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในกรณีนี้
    กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในกรณีนี้
    อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ :
    นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔.

    ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/144/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+สมฺมา
    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)”
    ดังนี้ ;
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่.
    ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ
    แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้
    เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด
    เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ
    เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.
    สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
    +--จุนทะ ! สี่อย่างคือ
    +--ภิกษุในกรณีนี้
    เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท.
    จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    +--ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้
    จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
    นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร
    มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    +--ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย
    บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า
    ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
    เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน
    จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข
    มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สี่.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล
    เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
    ....ฯลฯ....
    เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.
    --จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่
    คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้”
    ดังนี้.
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว.
    ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ;
    จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้.
    #ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/145/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+ผลานิ

    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ”
    เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า
    “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้
    หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง.
    สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ
    ๑--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม #เป็นโสดาบัน
    มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า
    : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๒--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม
    และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง #เป็นสกทาคามี
    มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๓--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง #เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๔--ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง $เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
    #เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่
    : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่.
    อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง
    เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้”
    ดังนี้.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/102-104/114-116
    http://etipitaka.com/read/thai/11/102/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖
    http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=680
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48
    ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ สัทธรรมลำดับที่ : 680 ชื่อบทธรรม :- สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680 เนื้อความทั้งหมด :- --สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+อนริยา --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. --จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ +--จุนทะ ! คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔. ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/144/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+สมฺมา --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? +--จุนทะ ! สี่อย่างคือ +--ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : +--ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : +--ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สี่. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. --จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้. #ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/145/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+ผลานิ --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ๑--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม #เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๒--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง #เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๓--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง #เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๔--ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง $เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ #เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/102-104/114-116 http://etipitaka.com/read/thai/11/102/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖ http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=680 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48 ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    -(ความชุ่มอยู่ในกามสุข เรียกว่ากามสุขัลลิกะ, การประกอบตนอยู่ในกามสุขัลลิกะ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ; จัดเป็นอันตะฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึกแก่มัชฌิมาปฏิปทา) . สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔. ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้. ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 211 มุมมอง 0 รีวิว
  • อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษาว่าทุกข์โทษที่เกิดจากกาม
    สัทธรรมลำดับที่ : 311
    ชื่อบทธรรม :- ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=311
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม
    --ภิกษุ ท. ! โทษของกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพศิลปะใด ๆ เช่น
    ศิลปะแห่งการใช้สัญญาด้วยมือ,
    ศิลปะแห่งการคำนวณ,
    ศิลปะแห่งการพยากรณ์,
    การทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และโครักขกรรม,
    ศิลปะแห่งศัสตราวุธ,
    และการทำราชการ และศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ;
    เพราะการประกอบอาชีพนั้น ๆ เขาต้องเผชิญหน้าต่อความหนาว ความร้อน
    เผชิญหน้าด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสด้วยสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
    ซูบผอมอยู่ หิวระหายอยู่ เพราะการไม่ได้บริโภคตามเวลา.
    --ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายามอยู่อย่างนี้,
    โภคทรัพย์ ก็ยังไม่สำเร็จแก่เขา,
    เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความมืดมัวอยู่ ว่า
    “ความขยันของเรา เป็นหมันหนอ,
    ความพยายามของเราไร้ผลหนอ”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายาม อยู่อย่างนี้,
    โภคทรัพย์ ก็สำเร็จแก่เขาด้วย เขา ก็จะต้องเสวยทุกข์ โทมนัส
    เพราะการอารักขาโภคทรัพย์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ด้วยหวังอยู่ ว่า
    “พระราชาจะไม่ริบทรัพย์เหล่านั้นไป,
    โจร จะไม่ปล้นทรัพย์เหล่านั้นไป,
    ไฟ จะไม่ไหม้ทรัพย์เหล่านั้น,
    น้ำ จะไม่ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้น ;
    ทายาทที่ไม่พอใจ จะไม่ยื้อแย่งทรัพย์เหล่านั้นไป”
    ดังนี้.
    เมื่อกุลบุตรนั้น ทำการอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้
    พระราชา ริบเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม,
    โจร ปล้นเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม,
    ไฟ ไหม้ทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม,
    น้ำ ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม,
    หรือทายาทที่ไม่พอใจ ยื้อแย่งเอาทรัพย์เหล่านั้นไปได้ก็ตาม,
    เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวรำพันอยู่ ว่า
    “ ทรัพย์ใดได้มีแล้วแก่เรา ทรัพย์นั้นไม่มีเสียแล้ว”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย
    เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก
    : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
    :พระราชา ย่อมวิวาทกับพระราชาบ้าง,
    กษัตริย์ย่อมวิวาทกับกษัตริย์บ้าง,
    พราหมณ์ย่อมวิวาทกับพราหมณ์บ้าง,
    คฤหบดีย่อมวิวาทกับคฤหบดีบ้าง,
    มารดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง,
    บุตรย่อมวิวาทกับมารดาบ้าง,
    บิดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง,
    บุตรย่อมวิวาทกับบิดาบ้าง,
    พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง,
    พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องหญิงบ้าง,
    พี่น้องหญิงย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง,
    สหายย่อมวิวาทกับสหายบ้าง ;
    คนเหล่านั้น ทำการทะเลาะ วิวาท บาดหมางกันแล้ว
    ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยมือบ้าง,
    ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยก้อนดินบ้าง,
    ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยท่อนไม้บ้าง,
    ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยศัสตราบ้าง, อยู่ในที่นั้นๆ.
    เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุ เพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก
    : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
    : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร แบ่งกันเป็นสองกองทัพ
    พุ่งเข้าทำสงครามกัน.
    เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่,
    คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง,
    ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษ ของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก
    : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
    : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร วิ่งขึ้นปีนเชิงเทิน (เพื่อปล้นเอาเมือง), เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่,
    คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง,
    ราดกันด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง.
    ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง,
    ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง
    มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
    --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก
    : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว

    : คนทั้งหลาย ย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดมในเรือนหลังเดียว
    คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วงภรรยาผู้อื่น.
    พระราชา จับคนเหล่านั้นมาแล้ว ให้ลงกรรมกรณ์หลายวิธีด้วยกัน
    เช่นเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง, หวดด้วยเชือกหนังบ้าง, ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง, ตัดมือเสียบ้าง,
    ตัดเท้าเสียบ้าง, ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง, ตัดหูบ้าง, ตัดจมูกบ้าง, ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง,
    ยอมทำโทษโดยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม-๑ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ขอดสังข์๒ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ปากราหู-๓ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี มาลัยไฟ-๔ บ้าง.
    ย่อมทำโทษ โดยวิธี คบมือ-๕ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ริ้วส่าย-๖ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี นุ่งเปลือกไม้-๗ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ยืนกวาง-๘ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด-๙ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี เหรียญกษปณ์-๑๐ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ทาเกลือบ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี แปรงแสบ-๑๑ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี กางเกวียน-๑๒ บ้าง,
    ย่อมทำโทษโดยวิธี ตั่งฟาง๑๓ บ้าง,
    ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้าง,
    ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้ง-๑๔ บ้าง,
    ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง,
    ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง.
    เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย
    เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.

    --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก
    : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ
    เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
    : คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ.
    ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว,
    เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย
    เพราะการแตกสลายแห่งกาย.
    --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย
    เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ
    +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว,.
    ดังนี้แล.-

    ! --
    ©หมายเหตุ ตามนัยอรรถกถาและพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต.
    -๑. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดงใส่ลงไปให้มันสมองเดือดพลุ่งขึ้น เหมือนน้ำส้มเดือดล้นหม้อ.-
    -๒. ขอดสังข์ คือตัดหนังควั่นไปให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมดขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุ ยกขึ้น ให้หนังหลุดติดขึ้นมาพร้อมกับผมแล้วใช้ทรายหยาบขัดกระโหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์.-
    -๓. ปากราหู คือใช้ขอเหล็กง้างปากให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะตั้งแต่จอนหูเข้าไปจนถึงปาก ให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู.-
    -๔. มาลัยไฟ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันจนทั่วตัวแล้วจุดไฟ-
    -๕. คบมือ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั่วสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ.-
    -๖. ริ้วส่าย คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกฉุดคร่าไป นักโทษเดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลุกคลุกคลานไปกว่าจะตาย-
    -๗. นุ่งเปลือกไม้ คือเชือดหนังเป็นริ้ว ๆ อย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึงเอวตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้-
    -๘. ยืนกวาง คือใช้ห่วงเหล็กรัดศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็กสี่หลักบนพื้นดิน ดูดั่ง กวางถูกตรึง แล้วก่อไฟล้อมลนไปกว่าจะตาย.-
    -๙. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด.-
    -๑๐. เหรียญกษาปณ์ คือใช้มีดคมเชือดเนื้อออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญจนกว่าจะตาย.-
    -๑๑. แปรงแสบ คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้หนังเนื้อเอ็น ขาดหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก.-
    -๑๒. กางเกวียน คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียน.-
    -๑๓. ตั่งฟาง คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผมรวบขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพันตะล่อมวางไว้ เหมือนดั่งที่ทำด้วยฟางสำหรับเช็ดเท้า.-
    -๑๔. ให้สุนัขทึ้ง คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียวเหลือแต่กระดูก.
    ---!

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/116/198.
    http://etipitaka.com/read/thai/12/116/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%98
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๖๙/๑๙๘.
    http://etipitaka.com/read/pali/12/169/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%98
    ศึกษาเพิ่มเติม..
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=311
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=311
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21
    ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษาว่าทุกข์โทษที่เกิดจากกาม สัทธรรมลำดับที่ : 311 ชื่อบทธรรม :- ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=311 เนื้อความทั้งหมด :- --ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม --ภิกษุ ท. ! โทษของกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพศิลปะใด ๆ เช่น ศิลปะแห่งการใช้สัญญาด้วยมือ, ศิลปะแห่งการคำนวณ, ศิลปะแห่งการพยากรณ์, การทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และโครักขกรรม, ศิลปะแห่งศัสตราวุธ, และการทำราชการ และศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ; เพราะการประกอบอาชีพนั้น ๆ เขาต้องเผชิญหน้าต่อความหนาว ความร้อน เผชิญหน้าด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสด้วยสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ซูบผอมอยู่ หิวระหายอยู่ เพราะการไม่ได้บริโภคตามเวลา. --ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายามอยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็ยังไม่สำเร็จแก่เขา, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความมืดมัวอยู่ ว่า “ความขยันของเรา เป็นหมันหนอ, ความพยายามของเราไร้ผลหนอ” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายาม อยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็สำเร็จแก่เขาด้วย เขา ก็จะต้องเสวยทุกข์ โทมนัส เพราะการอารักขาโภคทรัพย์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ด้วยหวังอยู่ ว่า “พระราชาจะไม่ริบทรัพย์เหล่านั้นไป, โจร จะไม่ปล้นทรัพย์เหล่านั้นไป, ไฟ จะไม่ไหม้ทรัพย์เหล่านั้น, น้ำ จะไม่ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้น ; ทายาทที่ไม่พอใจ จะไม่ยื้อแย่งทรัพย์เหล่านั้นไป” ดังนี้. เมื่อกุลบุตรนั้น ทำการอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา ริบเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, โจร ปล้นเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, ไฟ ไหม้ทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, น้ำ ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, หรือทายาทที่ไม่พอใจ ยื้อแย่งเอาทรัพย์เหล่านั้นไปได้ก็ตาม, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวรำพันอยู่ ว่า “ ทรัพย์ใดได้มีแล้วแก่เรา ทรัพย์นั้นไม่มีเสียแล้ว” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว :พระราชา ย่อมวิวาทกับพระราชาบ้าง, กษัตริย์ย่อมวิวาทกับกษัตริย์บ้าง, พราหมณ์ย่อมวิวาทกับพราหมณ์บ้าง, คฤหบดีย่อมวิวาทกับคฤหบดีบ้าง, มารดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง, บุตรย่อมวิวาทกับมารดาบ้าง, บิดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง, บุตรย่อมวิวาทกับบิดาบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องหญิงบ้าง, พี่น้องหญิงย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, สหายย่อมวิวาทกับสหายบ้าง ; คนเหล่านั้น ทำการทะเลาะ วิวาท บาดหมางกันแล้ว ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยมือบ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยก้อนดินบ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยท่อนไม้บ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยศัสตราบ้าง, อยู่ในที่นั้นๆ. เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุ เพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร แบ่งกันเป็นสองกองทัพ พุ่งเข้าทำสงครามกัน. เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษ ของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร วิ่งขึ้นปีนเชิงเทิน (เพื่อปล้นเอาเมือง), เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ราดกันด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง. ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดมในเรือนหลังเดียว คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วงภรรยาผู้อื่น. พระราชา จับคนเหล่านั้นมาแล้ว ให้ลงกรรมกรณ์หลายวิธีด้วยกัน เช่นเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง, หวดด้วยเชือกหนังบ้าง, ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง, ตัดมือเสียบ้าง, ตัดเท้าเสียบ้าง, ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง, ตัดหูบ้าง, ตัดจมูกบ้าง, ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง, ยอมทำโทษโดยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม-๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ขอดสังข์๒ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ปากราหู-๓ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี มาลัยไฟ-๔ บ้าง. ย่อมทำโทษ โดยวิธี คบมือ-๕ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ริ้วส่าย-๖ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี นุ่งเปลือกไม้-๗ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ยืนกวาง-๘ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี เกี่ยวเหยื่อเบ็ด-๙ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี เหรียญกษปณ์-๑๐ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ทาเกลือบ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี แปรงแสบ-๑๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี กางเกวียน-๑๒ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ตั่งฟาง๑๓ บ้าง, ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้าง, ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้ง-๑๔ บ้าง, ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง, ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง. เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. --ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ. ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว, เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการแตกสลายแห่งกาย. --ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ +--เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว,. ดังนี้แล.- ! -- ©หมายเหตุ ตามนัยอรรถกถาและพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต. -๑. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดงใส่ลงไปให้มันสมองเดือดพลุ่งขึ้น เหมือนน้ำส้มเดือดล้นหม้อ.- -๒. ขอดสังข์ คือตัดหนังควั่นไปให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมดขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุ ยกขึ้น ให้หนังหลุดติดขึ้นมาพร้อมกับผมแล้วใช้ทรายหยาบขัดกระโหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์.- -๓. ปากราหู คือใช้ขอเหล็กง้างปากให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะตั้งแต่จอนหูเข้าไปจนถึงปาก ให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู.- -๔. มาลัยไฟ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันจนทั่วตัวแล้วจุดไฟ- -๕. คบมือ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั่วสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ.- -๖. ริ้วส่าย คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกฉุดคร่าไป นักโทษเดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลุกคลุกคลานไปกว่าจะตาย- -๗. นุ่งเปลือกไม้ คือเชือดหนังเป็นริ้ว ๆ อย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึงเอวตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้- -๘. ยืนกวาง คือใช้ห่วงเหล็กรัดศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็กสี่หลักบนพื้นดิน ดูดั่ง กวางถูกตรึง แล้วก่อไฟล้อมลนไปกว่าจะตาย.- -๙. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด.- -๑๐. เหรียญกษาปณ์ คือใช้มีดคมเชือดเนื้อออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญจนกว่าจะตาย.- -๑๑. แปรงแสบ คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้หนังเนื้อเอ็น ขาดหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก.- -๑๒. กางเกวียน คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียน.- -๑๓. ตั่งฟาง คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผมรวบขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพันตะล่อมวางไว้ เหมือนดั่งที่ทำด้วยฟางสำหรับเช็ดเท้า.- -๑๔. ให้สุนัขทึ้ง คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียวเหลือแต่กระดูก. ---! #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/116/198. http://etipitaka.com/read/thai/12/116/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๖๙/๑๙๘. http://etipitaka.com/read/pali/12/169/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%99%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม.. https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=311 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21&id=311 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=21 ลำดับสาธยายธรรม : 21 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_21.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - (เรื่องนี้ควรจะอยู่ในหมวดนิโรธ แต่นำมาใส่ไว้ต่อท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นหมวดสมุทัยก็เพื่อความสะดวกแก่การศึกษา คือศึกษาพร้อมกัน อันจะเป็นการง่าย ได้ผลดีกว่าที่จะแยกกัน.
    -(เรื่องนี้ควรจะอยู่ในหมวดนิโรธ แต่นำมาใส่ไว้ต่อท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นหมวดสมุทัยก็เพื่อความสะดวกแก่การศึกษา คือศึกษาพร้อมกัน อันจะเป็นการง่าย ได้ผลดีกว่าที่จะแยกกัน. แต่ยังมีลักษณะแห่งจิตของผู้ที่เรียกว่าอยู่คนเดียวที่ลึกซึ้งกว่า ประณีตกว่าเรื่องนี้ในหมวดนิโรธ หรือภาค ๓ ขอให้ดูจากที่นั้น ที่หน้า ๖๙๕ โดยหัวข้อว่า “ผู้อยู่คนเดียวคือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง”). ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม ภิกษุ ท. ! โทษของกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพศิลปะใด ๆ เช่นศิลปะแห่งการใช้สัญญาด้วยมือ, ศิลปะแห่งการคำนวณ, ศิลปะแห่งการพยากรณ์, การทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และโครักขกรรม, ศิลปะแห่งศัสตราวุธ, และการทำราชการ และศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ; เพราะการประกอบอาชีพนั้น ๆ เขาต้องเผชิญหน้าต่อความหนาว ความร้อน เผชิญหน้าด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสด้วยสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ซูบผอมอยู่ หิวระหายอยู่ เพราะการไม่ได้บริโภคตามเวลา. ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายามอยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็ยังไม่สำเร็จแก่เขา, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความมืดมัวอยู่ ว่า “ความขยันของเรา เป็นหมันหนอ, ความพยายามของเราไร้ผลหนอ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายาม อยู่อย่างนี้, โภคทรัพย์ ก็สำเร็จแก่เขาด้วย เขา ก็จะต้องเสวยทุกข์ โทมนัสเพราะการอารักขาโภคทรัพย์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ด้วยหวังอยู่ ว่า “พระราชาจะไม่ริบทรัพย์เหล่านั้นไป, โจร จะไม่ปล้นทรัพย์เหล่านั้นไป, ไฟ จะไม่ไหม้ทรัพย์เหล่านั้น, น้ำ จะไม่ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้น ; ทายาทที่ไม่พอใจ จะไม่ยื้อแย่งทรัพย์เหล่านั้นไป” ดังนี้. เมื่อกุลบุตรนั้น ทำการอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา ริบเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, โจร ปล้นเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม, ไฟ ไหม้ทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, น้ำ ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม, หรือทายาทที่ไม่พอใจ ยื้อแย่งเอาทรัพย์เหล่านั้นไปได้ก็ตาม, เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวรำพันอยู่ ว่า “ ทรัพย์ใดได้มีแล้วแก่เรา ทรัพย์นั้นไม่มีเสียแล้ว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : พระราชา ย่อมวิวาทกับพระราชาบ้าง, กษัตริย์ย่อมวิวาทกับกษัตริย์บ้าง, พราหมณ์ย่อมวิวาทกับพราหมณ์บ้าง, คฤหบดีย่อมวิวาทกับคฤหบดีบ้าง, มารดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง, บุตรย่อมวิวาทกับมารดาบ้าง, บิดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง. บุตรย่อมวิวาทกับบิดาบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องหญิงบ้าง, พี่น้องหญิงย่อมวิวาทกับพี่น้องชายบ้าง, สหายย่อมวิวาทกับสหายบ้าง ; คนเหล่านั้น ทำการทะเลาะ วิวาท บาดหมางกันแล้ว ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยมือบ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยก้อนดินบ้าง ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยท่อนไม้บ้าง, ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยศัสตราบ้าง, อยู่ในที่นั้นๆ. เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุ เพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร แบ่งกันเป็นสองกองทัพ พุ่งเข้าทำสงครามกัน. เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษ ของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งศร วิ่งขึ้นปีนเชิงเทิน (เพื่อปล้นเอาเมือง), เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป, เมื่อหอกถูกซัดไป, เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง, แทงกันด้วยหอกบ้าง, ราดกันด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง. ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง, ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง, ในสงครามนั้น ๆ, เขาเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดมในเรือนหลังเดียว คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วงภรรยาผู้อื่น. พระราชา จับคนเหล่านั้นมาแล้ว ให้ลงกรรมกรณ์หลายวิธีด้วยกัน เช่นเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง, หวดด้วยเชือกหนังบ้าง, ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง, ตัดมือเสียบ้าง, ตัดเท้าเสียบ้าง, ตัดเสียทั้งมือและเท้าบ้าง, ตัดหูบ้าง, ตัดจมูกบ้าง, ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง, ยอมทำโทษโดยวิธี หม้อเคี่ยวน้ำส้ม๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ขอดสังข์๒ บ้าง. ย่อมทำโทษ ๑. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดงใส่ลงไปให้มันสมองเดือดพลุ่งขึ้น เหมือนน้ำส้มเดือดล้นหม้อ. ๒. ขอดสังข์ คือตัดหนังควั่นไปให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมดขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุ ยกขึ้น ให้หนังหลุดติดขึ้นมาพร้อมกับผมแล้วใช้ทรายหยาบขัดกระโหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์. โดยวิธี ปากราหู๓ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี มาลัยไฟ๔ บ้าง. ย่อมทำโทษ โดยวิธีคบมือ๕ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ริ้วส่าย๖ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี นุ่งเปลือกไม้๗ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ยืนกวาง๘ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธีเกี่ยวเหยื่อเบ็ด๙ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี เหรียญกษปณ์๑๐ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ทาเกลือบ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี แปรงแสบ๑๑ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี กางเกวียน๑๒ บ้าง, ย่อมทำโทษโดยวิธี ตั่งฟาง๑๓ บ้าง, ย่อมราดด้วยน้ำมันร้อนๆ บ้าง, ย่อมปล่อยให้สุนัขทึ้ง๑๔ บ้าง, ย่อมให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง, ย่อมตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง. เขาเหล่านั้น ย่อม ๓. ปากราหู คือใช้ขอเหล็กง้างปากให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะตั้งแต่จอนหูเข้าไปจนถึงปาก ให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู. ๔. มาลัยไฟ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันจนทั่วตัวแล้วจุดไฟ ๕. คบมือ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั่วสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ. ๖. ริ้วส่าย คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูกฉุดคร่าไป นักโทษเดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลุกคลุกคลานไปกว่าจะตาย ๗. นุ่งเปลือกไม้ คือเชือดหนังเป็นริ้ว ๆ อย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึงเอวตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้ ๘. ยืนกวาง คือใช้ห่วงเหล็กรัดศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็กสี่หลักบนพื้นดิน ดูดั่ง กวางถูกตรึง แล้วก่อไฟล้อมลนไปกว่าจะตาย. ๙. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด. ๑๐. เหรียญกษาปณ์ คือใช้มีดคมเชือดเนื้อออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญจนกว่าจะตาย. ๑๑. แปรงแสบ คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้หนังเนื้อเอ็น ขาดหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก. ๑๒. างเกวียน คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียน. ๑๓. ตั่งฟาง คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผมรวบขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพันตะล่อมวางไว้ เหมือนดั่งที่ทำด้วยฟางสำหรับเช็ดเท้า. ๑๔. ให้สุนัขทึ้ง คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียวเหลือแต่กระดูก, -นัยอรรถกถา และพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต. ถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว. ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว : คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ. ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว, เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการแตกสลายแห่งกาย. ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว, ดังนี้แล.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 206 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts