• เปลี่ยนวิกฤตภาษีทรัมป์เป็นโอกาสกู้ 5 แสนล้าน ดันมรดกหนี้ทะลุ 70% : คนเคาะข่าว 28-04-68
    : ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #วิกฤตภาษีทรัมป์ #หนี้สาธารณะ #กู้เงิน5แสนล้าน #เศรษฐกิจไทย #ธีระชัยภูวนาถนรานุบาล #ข่าวเศรษฐกิจ #นโยบายการเงิน #นงวดีถนิมมาลย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย #หนี้เกินตัว #การเงินการคลัง #thaitimes #นโยบายเศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
    เปลี่ยนวิกฤตภาษีทรัมป์เป็นโอกาสกู้ 5 แสนล้าน ดันมรดกหนี้ทะลุ 70% : คนเคาะข่าว 28-04-68 : ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #วิกฤตภาษีทรัมป์ #หนี้สาธารณะ #กู้เงิน5แสนล้าน #เศรษฐกิจไทย #ธีระชัยภูวนาถนรานุบาล #ข่าวเศรษฐกิจ #นโยบายการเงิน #นงวดีถนิมมาลย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย #หนี้เกินตัว #การเงินการคลัง #thaitimes #นโยบายเศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 16-17 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลัง เตรียมเชิญนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการ เพื่อประเมินผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035704

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 16-17 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลัง เตรียมเชิญนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการ เพื่อประเมินผลกระทบจากนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035704 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 943 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจเน็ต เยลเลน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุวานนี้ (14 เม.ย.) ว่ารู้สึกกังวลอย่างยิ่งว่ามาตรการรีดภาษีคู่ค้าและนโยบายอื่นๆ ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังกัดเซาะความเชื่อถือศรัทธาที่ชาติพันธมิตรมีต่ออเมริกา และนักลงทุนบางส่วนเริ่มเทขายสินทรัพย์ของสหรัฐฯ

    เยลเลน ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะทำให้โลก “ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในสินทรัพย์ของสิ่งซึ่งเคยเป็นรากฐานของระบบการเงินโลก ซึ่งก็คือกระทรวงการคลังสหรัฐฯ”

    “ดิฉันไม่ได้มองว่า เรากำลังเห็นความผิดปกติในแง่ของการสูญเสียสภาพคล่องในตลาดไปอย่างสิ้นเชิง แต่สัญญาณที่เตือนว่าทั่วโลกกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความปลอดภัยของสินทรัพย์อันเป็นรากฐาน คือสิ่งที่น่ากังวลมากกว่า”

    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวลดลงในวันจันทร์ (14) หลังจากที่รัฐบาล ทรัมป์ ประกาศระงับการรีดภาษีสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และเซมิคอนดักเตอร์ที่นำเข้าจากจีนอย่างน้อยก็ชั่วคราว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีลดลง 8 จุดตั้งแต่วันศุกร์ (11) ลงมาอยู่ที่ 4.41% แต่ก็ยังสูงกว่าตัวเลข 3.99% ณ วันที่ 4 เม.ย.

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000035641

    #MGROnline #เจเน็ตเยลเลน
    เจเน็ต เยลเลน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุวานนี้ (14 เม.ย.) ว่ารู้สึกกังวลอย่างยิ่งว่ามาตรการรีดภาษีคู่ค้าและนโยบายอื่นๆ ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังกัดเซาะความเชื่อถือศรัทธาที่ชาติพันธมิตรมีต่ออเมริกา และนักลงทุนบางส่วนเริ่มเทขายสินทรัพย์ของสหรัฐฯ • เยลเลน ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะทำให้โลก “ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในสินทรัพย์ของสิ่งซึ่งเคยเป็นรากฐานของระบบการเงินโลก ซึ่งก็คือกระทรวงการคลังสหรัฐฯ” • “ดิฉันไม่ได้มองว่า เรากำลังเห็นความผิดปกติในแง่ของการสูญเสียสภาพคล่องในตลาดไปอย่างสิ้นเชิง แต่สัญญาณที่เตือนว่าทั่วโลกกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความปลอดภัยของสินทรัพย์อันเป็นรากฐาน คือสิ่งที่น่ากังวลมากกว่า” • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวลดลงในวันจันทร์ (14) หลังจากที่รัฐบาล ทรัมป์ ประกาศระงับการรีดภาษีสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และเซมิคอนดักเตอร์ที่นำเข้าจากจีนอย่างน้อยก็ชั่วคราว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปีลดลง 8 จุดตั้งแต่วันศุกร์ (11) ลงมาอยู่ที่ 4.41% แต่ก็ยังสูงกว่าตัวเลข 3.99% ณ วันที่ 4 เม.ย. • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/around/detail/9680000035641 • #MGROnline #เจเน็ตเยลเลน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 375 มุมมอง 0 รีวิว
  • รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ มองการประกาศขึ้นภาษีโต้กลับนานาประเทศ/ดินแดน ว่า นี่เป็นเกมการทูตอย่างหนึ่งที่เขาใช้คำว่า “การทูตต้นทุนต่ำ”

    “การใช้ภาษีขาเข้า เป็นเครื่องมือต้นทุนต่ำที่สุดของอเมริกา เป็น Low Cost Diplomacy ที่ใช้เพียงลมปาก วาทะ และการเซ็นลงนามคำสั่งพิเศษเพียงไม่กี่แผ่น” รศ.ดร.สมภพ กล่าว

    แต่มันก็มีพลานุภาพแรงสูง สะเทือนไปทั่วโลก เมื่อผู้ใช้คืออเมริกา เพราะทำให้ “ทั้งโลกต้องวิ่งไปหาสหรัฐฯ เพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับที่อเมริกาต้องการ” ไม่ว่าจะนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การเมืองความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน

    “มันเป็นต้นทุนต่ำสำหรับคนดำเนินนโยบาย แต่มันต้นทุนต่ำสำหรับสหรัฐอเมริกา และระดับโลกหรือเปล่า นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” รังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ตั้งข้อสังเกต เพราะต้นทุนที่สูงมันจะมาตกกับตัวสหรัฐฯ และชาวอเมริกันเอง

    อ่านบทวิเคราะห์ ทางนี้ https://www.tnnthailand.com/tnnexclusive/194852/
    รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ มองการประกาศขึ้นภาษีโต้กลับนานาประเทศ/ดินแดน ว่า นี่เป็นเกมการทูตอย่างหนึ่งที่เขาใช้คำว่า “การทูตต้นทุนต่ำ” “การใช้ภาษีขาเข้า เป็นเครื่องมือต้นทุนต่ำที่สุดของอเมริกา เป็น Low Cost Diplomacy ที่ใช้เพียงลมปาก วาทะ และการเซ็นลงนามคำสั่งพิเศษเพียงไม่กี่แผ่น” รศ.ดร.สมภพ กล่าว แต่มันก็มีพลานุภาพแรงสูง สะเทือนไปทั่วโลก เมื่อผู้ใช้คืออเมริกา เพราะทำให้ “ทั้งโลกต้องวิ่งไปหาสหรัฐฯ เพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับที่อเมริกาต้องการ” ไม่ว่าจะนโยบายเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การเมืองความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน “มันเป็นต้นทุนต่ำสำหรับคนดำเนินนโยบาย แต่มันต้นทุนต่ำสำหรับสหรัฐอเมริกา และระดับโลกหรือเปล่า นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” รังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ตั้งข้อสังเกต เพราะต้นทุนที่สูงมันจะมาตกกับตัวสหรัฐฯ และชาวอเมริกันเอง อ่านบทวิเคราะห์ ทางนี้ https://www.tnnthailand.com/tnnexclusive/194852/
    WWW.TNNTHAILAND.COM
    ทรัมป์ขึ้นภาษี ไทย-โลก เจาะลึกอาวุธต้นทุนต่ำของผู้นำสหรัฐฯ ที่ใช้เพียงคำพูด-ปากกา บีบโลกสยบยอม
    การขึ้นภาษีต่างตอบแทน ตอบโต้หลายสิบประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยของโดนัลด์ ทรัมป์ คือการเดิมพันครั้งใหญ่ที่ใช้ต้นทุนแสนต่ำ เพียงคำพูด วาทะ และปลายปากกาเซ็นเอกสารไม่กี่ฉบับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 274 มุมมอง 0 รีวิว
  • พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นครั้งแรก โดยใช้เวลา 10 นาที โดยอภิปรายน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีพฤติการณ์อันไม่อาจไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดินในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป โดยประเด็นแรก ชี้ให้เห็นความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน ปัญหาปากท้องไม่ได้รับการแก้ไขตามที่รัฐบาลเคยให้คำมั่น หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงถึง 104% การตัดงบประมาณนับแสนล้านบาทที่ควรอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่กลับนำไปแจกเงินหมื่น เรื่อง MOU 44 ที่พาประเทศชาติสู่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน การผลักดันเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ มีช่องให้เกิดทุจริตเชิงนโยบาย เอื้อประโยชน์ส่วนตน ปล่อยให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค เป็นการครอบงำ ขณะที่นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจง ระบุว่า สิ่งที่สมาชิกอาวุโสพูดไม่เป็นความจริง


    พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นครั้งแรก โดยใช้เวลา 10 นาที โดยอภิปรายน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีพฤติการณ์อันไม่อาจไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดินในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป โดยประเด็นแรก ชี้ให้เห็นความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน ปัญหาปากท้องไม่ได้รับการแก้ไขตามที่รัฐบาลเคยให้คำมั่น หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงถึง 104% การตัดงบประมาณนับแสนล้านบาทที่ควรอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่กลับนำไปแจกเงินหมื่น เรื่อง MOU 44 ที่พาประเทศชาติสู่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน การผลักดันเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ มีช่องให้เกิดทุจริตเชิงนโยบาย เอื้อประโยชน์ส่วนตน ปล่อยให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือพรรค เป็นการครอบงำ ขณะที่นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นชี้แจง ระบุว่า สิ่งที่สมาชิกอาวุโสพูดไม่เป็นความจริง
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 973 มุมมอง 41 0 รีวิว
  • รัฐบาลไทย ยังเฉย!? สงครามการค้า จ่อถล่มไทย : [Biz Talk]

    หอการค้าไทย แถลงการณ์ วอนรัฐบาล เร่งตั้ง ‘ทีมพิเศษ’ รัฐ+เอกชน วางแผนรับมือเชิงรุก กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของนโยบายเศรษฐกิจการค้าของสหรัฐฯ กับทั่วโลก ถอดบทเรียนจากเม็กซิโก,แคนาดา ที่ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีแล้ว ทั้ง 2 ประเทศ ก็ใช้ทีมพิเศษตอบโต้และต่อรองได้คล่องตัว ย้ำอีกครั้ง ‘รัฐบาลเฉย เอกชนเหนื่อย!’
    รัฐบาลไทย ยังเฉย!? สงครามการค้า จ่อถล่มไทย : [Biz Talk] หอการค้าไทย แถลงการณ์ วอนรัฐบาล เร่งตั้ง ‘ทีมพิเศษ’ รัฐ+เอกชน วางแผนรับมือเชิงรุก กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของนโยบายเศรษฐกิจการค้าของสหรัฐฯ กับทั่วโลก ถอดบทเรียนจากเม็กซิโก,แคนาดา ที่ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีแล้ว ทั้ง 2 ประเทศ ก็ใช้ทีมพิเศษตอบโต้และต่อรองได้คล่องตัว ย้ำอีกครั้ง ‘รัฐบาลเฉย เอกชนเหนื่อย!’
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1072 มุมมอง 42 0 รีวิว
  • โอษฐภัยเผ่าภูมิ ถูกมอง'ดูถูกนักลงทุน'

    ความมั่นใจเป็นภัยย้อนเข้าตัว ประโยค "คนฉลาดมองเห็นโอกาส คนไม่ฉลาดจะตื่นเต้น" ของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง หลังตลาดหุ้นไทยตกต่ำกว่า 1,200 จุด และไม่มีแผนกระตุ้นนักลงทุนอย่างชัดเจน เรียกเสียงวิจารณ์จากทั่วทุกสารทิศ ถูกมองว่าดูถูกนักลงทุน นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ถึงกับกล่าวว่า "ตลาดหุ้นตกไม่ใช่เรื่องโง่หรือฉลาด แต่คือการบริหารผิดพลาด และขาดการกำกับดูแล"

    โดยเห็นว่าคำพูดของนายเผ่าภูมิ นอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาสถานการณ์แล้ว กลับทำลายความเชื่อมั่นให้ตกต่ำลงไปอีก ทั้งที่รัฐบาลควรรับฟังข้อเสนอแนะและข้อวิจารณ์ต่อความผิดพลาด โดยเฉพาะการแจกเงิน 10,000 บาท ที่มีผู้ทักท้วงว่าอาจไม่คุ้มกับต้นทุนการคลัง ปรากฎว่าตัวเลข GDP ปี 2567 เติบโตเพียง 2.5% รั้งท้ายอาเซียน แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยแล้วเดินหน้าต่อด้วยงบประมาณมากขึ้น

    นอกจากไม่เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่แล้ว รัฐบาลยังละเลยกำกับตลาดหุ้นไทยให้เป็นธรรมกับนักลงทุน กรณีซีพีแอ็กซ์ตร้า (CPAXT) เอาบริษัทมหาชนไปร่วมลงทุนกับบริษัทในครอบครัวนอกธุรกิจหลัก จากช่องโหว่ทางกฎหมาย และล่าสุดท่าอากาศยานไทย (AOT) ช่วยเหลือผู้ประกอบการดิวตี้ฟรี เลื่อนเงื่อนไขการชำระเงินตามสัญญา แต่ประกาศข่าวสำคัญล่าช้า จึงอยากเห็นตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นความหวังในอนาคตให้กับนักลงทุนได้บ้าง ในยามที่เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยมีอนาคต ขอให้ประชาชนและนักลงทุนรายย่อยช่วยกันผลักดันรัฐบาลและ รมช.คลัง กำกับและเข้มงวดกับการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยให้มากขึ้น

    ภายหลังนายเผ่าภูมิได้ขออภัย ระบุว่าเจตนาไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์นักลงทุน แต่ต้องการสื่อสารเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ยอมรับว่ามีปัญหาการสื่อสารที่สั้นเกินไป และเนื้อหาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการสื่อ หากเกิดความคลาดเคลื่อนต้องขออภัย

    ทั้งนี้ ราคาหุ้นปัจจุบันไม่ได้สะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ทั้งความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ตลาดหุ้นจะผันผวนแต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง รัฐบาลไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นน่าซื้อหรือไม่ แต่เรามีหน้าที่ให้ข้อมูล เพื่อให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสจากการปรับฐานของตลาดหุ้น และใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในการตัดสินใจลงทุน

    ตลาดหุ้นไทย ณ วันที่ 5 มี.ค. 2568 ปิดตลาดอยู่ที่ 1,206.96 จุด เพิ่มขึ้น 29.32 จุด (+2.49%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 50,706.03 ล้านบาท โดยหุ้นที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ AOT ADVANC DELTA CPALL และ TOP

    #Newskit
    โอษฐภัยเผ่าภูมิ ถูกมอง'ดูถูกนักลงทุน' ความมั่นใจเป็นภัยย้อนเข้าตัว ประโยค "คนฉลาดมองเห็นโอกาส คนไม่ฉลาดจะตื่นเต้น" ของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง หลังตลาดหุ้นไทยตกต่ำกว่า 1,200 จุด และไม่มีแผนกระตุ้นนักลงทุนอย่างชัดเจน เรียกเสียงวิจารณ์จากทั่วทุกสารทิศ ถูกมองว่าดูถูกนักลงทุน นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ถึงกับกล่าวว่า "ตลาดหุ้นตกไม่ใช่เรื่องโง่หรือฉลาด แต่คือการบริหารผิดพลาด และขาดการกำกับดูแล" โดยเห็นว่าคำพูดของนายเผ่าภูมิ นอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาสถานการณ์แล้ว กลับทำลายความเชื่อมั่นให้ตกต่ำลงไปอีก ทั้งที่รัฐบาลควรรับฟังข้อเสนอแนะและข้อวิจารณ์ต่อความผิดพลาด โดยเฉพาะการแจกเงิน 10,000 บาท ที่มีผู้ทักท้วงว่าอาจไม่คุ้มกับต้นทุนการคลัง ปรากฎว่าตัวเลข GDP ปี 2567 เติบโตเพียง 2.5% รั้งท้ายอาเซียน แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยแล้วเดินหน้าต่อด้วยงบประมาณมากขึ้น นอกจากไม่เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่แล้ว รัฐบาลยังละเลยกำกับตลาดหุ้นไทยให้เป็นธรรมกับนักลงทุน กรณีซีพีแอ็กซ์ตร้า (CPAXT) เอาบริษัทมหาชนไปร่วมลงทุนกับบริษัทในครอบครัวนอกธุรกิจหลัก จากช่องโหว่ทางกฎหมาย และล่าสุดท่าอากาศยานไทย (AOT) ช่วยเหลือผู้ประกอบการดิวตี้ฟรี เลื่อนเงื่อนไขการชำระเงินตามสัญญา แต่ประกาศข่าวสำคัญล่าช้า จึงอยากเห็นตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นความหวังในอนาคตให้กับนักลงทุนได้บ้าง ในยามที่เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยมีอนาคต ขอให้ประชาชนและนักลงทุนรายย่อยช่วยกันผลักดันรัฐบาลและ รมช.คลัง กำกับและเข้มงวดกับการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยให้มากขึ้น ภายหลังนายเผ่าภูมิได้ขออภัย ระบุว่าเจตนาไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์นักลงทุน แต่ต้องการสื่อสารเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ยอมรับว่ามีปัญหาการสื่อสารที่สั้นเกินไป และเนื้อหาไม่ตรงกับเจตนารมณ์ที่ต้องการสื่อ หากเกิดความคลาดเคลื่อนต้องขออภัย ทั้งนี้ ราคาหุ้นปัจจุบันไม่ได้สะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ทั้งความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ตลาดหุ้นจะผันผวนแต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง รัฐบาลไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นน่าซื้อหรือไม่ แต่เรามีหน้าที่ให้ข้อมูล เพื่อให้นักลงทุนมองเห็นโอกาสจากการปรับฐานของตลาดหุ้น และใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในการตัดสินใจลงทุน ตลาดหุ้นไทย ณ วันที่ 5 มี.ค. 2568 ปิดตลาดอยู่ที่ 1,206.96 จุด เพิ่มขึ้น 29.32 จุด (+2.49%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 50,706.03 ล้านบาท โดยหุ้นที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด ได้แก่ AOT ADVANC DELTA CPALL และ TOP #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 725 มุมมอง 0 รีวิว
  • แน่นอน! นโยบายเศรษฐกิจที่ไทยยังบกพร่องและควรได้รับการปรับปรุงมีหลายด้าน เช่น

    1. นโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

    ปัญหา: ไทยมีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก กลุ่มคนมีรายได้สูงถือครองทรัพยากรส่วนใหญ่ ขณะที่ประชาชนทั่วไปมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ

    แนวทางแก้ไข: ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นธรรมขึ้น เช่น ภาษีที่ดินและทรัพย์สินที่มีอัตราก้าวหน้า ลดช่องโหว่ของกฎหมายภาษีเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีจากกลุ่มทุน


    2. นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ทอัพ

    ปัญหา: SMEs ไทยเผชิญข้อจำกัดด้านเงินทุน การแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ และการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ

    แนวทางแก้ไข: ปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ ลดขั้นตอนการขอสินเชื่อ เพิ่มการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการตลาด


    3. นโยบายแรงงานและทักษะในอนาคต

    ปัญหา: ระบบการศึกษาไทยยังผลิตแรงงานที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล

    แนวทางแก้ไข: ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็ว เช่น AI, Data Science และพลังงานสะอาด พร้อมสนับสนุนการพัฒนาทักษะตลอดชีวิต


    4. นโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI)

    ปัญหา: ไทยกำลังเสียเปรียบเวียดนามและอินโดนีเซียในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เนื่องจากกฎระเบียบที่ยุ่งยากและต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น

    แนวทางแก้ไข: ปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ลดขั้นตอนการอนุมัติและเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย


    5. นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและพลังงานสะอาด

    ปัญหา: ไทยยังพึ่งพาพลังงานฟอสซิลเป็นหลัก และมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ยังไม่ชัดเจน

    แนวทางแก้ไข: ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแรงจูงใจทางภาษีให้กับบริษัทที่ลงทุนในพลังงานสะอาด


    แน่นอน! นโยบายเศรษฐกิจที่ไทยยังบกพร่องและควรได้รับการปรับปรุงมีหลายด้าน เช่น 1. นโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปัญหา: ไทยมีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก กลุ่มคนมีรายได้สูงถือครองทรัพยากรส่วนใหญ่ ขณะที่ประชาชนทั่วไปมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ แนวทางแก้ไข: ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นธรรมขึ้น เช่น ภาษีที่ดินและทรัพย์สินที่มีอัตราก้าวหน้า ลดช่องโหว่ของกฎหมายภาษีเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีจากกลุ่มทุน 2. นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ทอัพ ปัญหา: SMEs ไทยเผชิญข้อจำกัดด้านเงินทุน การแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ และการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ แนวทางแก้ไข: ปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ ลดขั้นตอนการขอสินเชื่อ เพิ่มการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการตลาด 3. นโยบายแรงงานและทักษะในอนาคต ปัญหา: ระบบการศึกษาไทยยังผลิตแรงงานที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล แนวทางแก้ไข: ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็ว เช่น AI, Data Science และพลังงานสะอาด พร้อมสนับสนุนการพัฒนาทักษะตลอดชีวิต 4. นโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ปัญหา: ไทยกำลังเสียเปรียบเวียดนามและอินโดนีเซียในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เนื่องจากกฎระเบียบที่ยุ่งยากและต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น แนวทางแก้ไข: ปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ลดขั้นตอนการอนุมัติและเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5. นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและพลังงานสะอาด ปัญหา: ไทยยังพึ่งพาพลังงานฟอสซิลเป็นหลัก และมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ยังไม่ชัดเจน แนวทางแก้ไข: ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแรงจูงใจทางภาษีให้กับบริษัทที่ลงทุนในพลังงานสะอาด
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 699 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทัศนะนักวิเคราะห์ชาวจีนมองการเมืองอเมริกัน "ยุคของทรัมป์จะทำให้อเมริกาคล้ายจีนมากขึ้น"

    ก่อนอื่นเมื่อคืนนี้ อีลอน มัสก์ ทำเอาทั้งซ้ายและไม่ซ้ายสะดุ้งกันไปหมด เพราะขณะที่กำลังปราศรัยเขาก็ตบหน้าอกแล้วชูมือขึ้นทำท่าเหมือนการทักทาย (และแสดงพลัง) ของพวกฟาสซิสต์ 

    ผมเห็นท่านี้พร้อมกับคำที่เขาพูดว่า “My heart goes out to you,”  แล้วตบหน้าอกจากนั้นเหมือนเขวี้ยงหัวใจไปให้ผู้ฟัง ถ้าหยวนๆ หน่อยก็คิดว่าเขาแค่โยนหัวใจปันให้แฟนๆ บางคนก็บอกว่า "นี่มันแค่ Roman salute" 
    แต่ถ้าไม่หยวนกับมัสก์ก็อดคิดไม่ได้ว่า "นี่มันขวาจัดกันไปใหญ่แล้ว"

    ไม่ใช่เรื่องปกปิดอะไรที่มัสก์สนับสนุนฝ่ายขวาจัด ไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ แต่กำลังสนับสนุนในยุโรปด้วย เช่น มัสก์ประกาศจะหนุนทุนให้กับพรรค Reform UK ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของสหราชอาณาจักร ต่อต้านผู้อพยพ และสนับสนุนชาตินิยมอังกฤษ

    มัสก์ ยังสนับสนุนพรรคขวาจัดในเยอรมนีโดยเขียนไว้ใน X ว่า "Only AfD can save Germany" - AfD คือชื่อย่อของพรรค "ทางเลือกเพื่อเยอรมนี" (Alternative für Deutschland) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา ต่อต้านคนต่างด้าว ต่อต้านผู้อพยพ สนับสนุนค่านิยมคริสเตียนและไม่เอาชาวมุสลิม

    มัสก์และทีมทรัมป์กำลังฟอร์มแนวร่วมพลังขวาในโลกตะวันตก แน่นอนว่าคราวนี้ไม่ใช่แค่เล่นๆ เพราะทรัมป์มีอำนาจและมัสก์มีเงินและเครือข่าย

    แนวโน้มที่โลกตะวันตกกำลังจะขวาจัดๆ ฝ่ายจีนก็มองเห็นเรื่องนี้ หลังจากเลือกตั้งผมได้เขียนสรุปทัศนะของ "ทู่จู่ซี" (兔主席) ซึ่งเป็นนามปากกาของ "เริ่นอี้" (任意) นักเขียนคอลัมน์การเมืองชาวจีนที่ได้รับความนิยมในโซเชียลมีเดียจีน เขาถือเป็นกลุ่ม "หงซานไต้" (红三代) หรือลูกหลานรุ่นที่ 3 ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นหลานชายของ เริ่นจ้งอี๋ (任仲夷) อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตเลขาธิการคนแรกของคณะกรรมการมณฑลกวางตุ้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  

    ในด้านความรู้ทางการเมืองตะวันตก เขาได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ เอซรา ไฟเวล วอเกล (Ezra Feivel Vogel) นักจีนวิทยาชาวอเมริกัน และศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยเกี่ยวกับ "ยุคปฏิรูปของจีน" และช่วยเขาค้นคว้าเรื่อง "ยุคเติ้งเสี่ยวผิง" ต่อมาเขาได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยยการเมืองเคนเนดีของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและทำงานที่ศูนย์แฟร์แบงก์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาทำงานให้กับธนาคารเพื่อการลงทุนของจีนในปักกิ่ง

    เขาเขียนทัศนะด้านการเมืองเผยแพร่เป็นบทความในสื่อต่างๆ ของจีน รวมถึงในโซเชียลมีเดียของจีน ความคิดเห็นของเขามักถูกอ้างอิงโดยสื่อกระแสหลัก และ เขาอ้างว่าบทความบางบทความของเขาถูกใช้เป็น "ข้อมูลอ้างอิงภายใน" สำหรับเจ้าหน้าที่จีน โดยที่บทความของเขาในปี 2020 เรื่อง "ไม่ใช่รัฐบาลจีนที่ปลุกชาตินิยมจีน แต่เป็นนักการเมืองอเมริกัน" ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำโดย People's Daily Online  

    1. "ทู่จู่ซี" มองว่า ชัยชนะของทรัมป์เหนือพรรคเดโมแครต คือ "ชัยชนะของการปฏิวัติระดับรากหญ้า" เขาชี้ว่าการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายทรัมป์และฝ่ายแฮร์ริส โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนระดับรากหญ้าและประชาชนคนสามัญของสหรัฐฯ กับกลุ่มผู้ปกครองชั้นนำของสหรัฐฯ และมองว่านี่คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ซึ่งทัศนะนี้ของ "ทู่จู่ซี" คล้ายกับความเห็นของชาวอเมริกันบางคนที่ตำหนิว่าพรรคเดโมแครตทรยศฐานเสียงของตัวเองที่แต่เดิมเป็นพวกคนรากหญ้าและแรงงาน แต่หันมาเน้นเรื่องการเมืองชิงอัตลักษณ์ คือแนวคิดเรื่อง Woke และยังสนองวาระของกลุ่มชนชั้นนำด้วยการสนับสนุนสงครามในยูเครนและสงครามในตะวันออกกลาง ทำให้พรรครีพับลิกันหันมาจับกลุ่มรากหญ้าแทนจนประสบความสำเร็จ รวมถึงกลุ่มคนอเมริกันเชื้อสายตะวันออกกลาง

    2. "ทู่จู่ซี" มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ และกระบวนการนั้นได้เสร็จสิ้นงแล้ว ซึ่งพรรครีพับลิกันได้กลายเป็นพรรคที่มีชนชั้นกลางและชั้นล่างเป็นรากฐานหลัก และผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครีพับลิกันได้รวมเอาคนผิวสี ละติน และคนหนุ่มสาวเข้ามาด้วย ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรครีพับลิกันไม่ใช่ตัวแทนของนายทุนใหญ่ นักอุตสาหกรรมใหญ่ นักการเงินใหญ่ และชนชั้นกระฎุมพี" อีกต่อไป แต่กลายเป็นพรรคของคนอเมริกันคนเดินดิน 

    3. "ทู่จู่ซี" ชี้ว่าทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา เพราะไม่เพียงแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่พรรครีพับลิกันยังชนะการเลือกตั้งวุฒิสภา และคาดว่าจะรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ ในเวลาเดียวกัน "ในศาลฎีกา พรรครีพับลิกัน/อนุรักษ์นิยมมีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนถึง 6:3 (รวมถึงผู้พิพากษาสามคนที่ทรัมป์คัดเลือกด้วยตัวเอง) ทั้งสามอำนาจรวมกันเป็นหนึ่ง และควรเห็นว่าพรรครีพับลิกันในปัจจุบันไม่ใช่พรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือพรรครีพับลิกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว แต่เป็นพรรคของทรัมป์เท่านั้น ชื่อที่เหมาะสมกว่าคือ พรรคทรัมป์ การรวมอำนาจและอิทธิพลนี้คงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อเมริกา ทรัมป์อาจเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา" 

    4. แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากชาวอเมริกันกว่าครึ่งประเทศ แต่การเมืองของอเมริกาก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสังคมก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ยุคมืดแล้ว" ประชากรครึ่งหนึ่งเชื่อว่านักการเมืองอันธพาลที่มีนิสัยเลวร้ายอย่างยิ่ง เช่น ฮิตเลอร์ ฟาสซิสต์ และนาซี ได้ขึ้นมามีอำนาจ และจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายทุกสิ่งที่ประชาชนรู้เกี่ยวกับระบบของอเมริกาภายในสี่ปีข้างหน้า และนำประเทศไปในทิศทางอื่น พวกเขาสับสนและสิ้นหวังอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ

    สังคมการเมืองอเมริกันหลังการกลับเข้ามามีอำนาจของทรัมป์จะทำให้เกิดค่านิยมใหม่ "ทู่จู่ซี"  มองว่า

    1) ในแง่ของรัฐบาล ประการแรกคือการเสริมอำนาจของประธานาธิบดี/ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยประธานาธิบดีเป็นผู้นำศูนย์กลางทางการเมือง แผ่ขยายไปยังฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ เพิ่มความเผด็จการ เพิ่มความเข้มข้นของการตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐบาล และลบขั้นตอนราชการที่ไม่จำเป็นออกจากระบบเก่า

    2) ในแง่นโยบายเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ จะมุ่งที่ ระบบตลาดนิยม" นั่นคือการมีรัฐบาลขนาดเล็กเพื่อลดการแทรกแซงตลาด ลดภาษีให้ต่ำลง ลดกฎระเบียบในตลาดให้น้อยลง ใช้แรงผลักดันของตลาดเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลกลับ เรียกร้องให้บริษัทอเมริกันกลับมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อการลงทุนและการก่อสร้างเพิ่มเติม

    3) ในแง่วัฒนธรรมในประเทศ จะส่งเสริมและพัฒนาความเป็นชาตินิยม ความรักชาติ และชาตินิยมของอเมริกาอย่างเข้มแข็ง อยางที่ เจดี แวนซ์ (JD Vance) ว่าที่รองประธานาธิบดีบอกว่า สหรัฐอเมริกาเป็น "ชาติ" สร้างสถานะทางวัฒนธรรมที่คนผิวขาว และต่อต้านเสรีนิยม/พวกหัวก้าวหน้า/Woke รัฐบาลใหม่จะมีอิทธิพลและกำหนดรูปแบบสังคมอเมริกันผ่านคำสั่งของศาลฎีกา การตรากฎหมาย คำสั่งของรัฐบาล สุนทรพจน์ของผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางความคิด

    4) ในแง่เศรษฐกิจต่างประเทศ ระบอบทรัมป์จะต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านการค้าเสรี ต่อต้านกรอบแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ยกระดับการใช้เครื่องมือภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศอย่างครอบคลุม เพื่อกดดันและจูงใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ

    5) ในแง่การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐฯ ในยุคนี้จะ "ลัทธิโดดเดี่ยว" และ "ลัทธิไม่แทรกแซง" นั่นคือสหรัฐฯ จะหันมาสนใจเรื่องของตัวเองมากกขึ้นและไม่แทรกแซงกิจการต่างประเทศมากเท่าเดิม ลดการลงทุนในภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (เช่น อันฉีดงบประมาณด้านสงคราม) ลดการใช้เงินไปกับการรักษาระเบียบระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐฯ และประเมินความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรใหม่

    6) ในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐบาลทรัมป์จะได้รับการสนับสนุนจาก อีลอน มัสก์ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของเขาในการสร้างกลุ่มอำนาจ "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" ซึ่งต่างจากกลุ่มซิลิคอนวัลเลย์ที่สนับสนุนเสรีนิยม "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" จะเป็นการก่อตัวของพันธมิตรทางการเมืองใหม่ด้านเทคโนโลยี-อำนาจนิยม-อนุรักษ์นิยม

    แง่มุมสุดท้ายมีความน่าสนใจอยางยิ่ง เพราะจะเป็นการก่อตัวใหม่ของกลุ่มอำนาจใหม่ด้านการเมืองและธุรกิจเทค "ทู่จู่ซี" แสดงทัศนะว่า "ค่านิยมของชาวอเมริกันรุ่นใหม่ในประเด็นเศรษฐกิจนั้น “เอียงซ้าย” เชื่อในลัทธิก้าวหน้า เห็นอกเห็นใจลัทธิสังคมนิยม และไม่ต่อต้านลัทธิสังคมนิยม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในแง่ของค่านิยมทางเศรษฐกิจ พวกเขาจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) ในอนาคตมากขึ้น การที่ทรัมป์ขึ้นสู่อำนาจจะเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวในประเด็นเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะบอก" 

    "แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทรัมป์เป็นพรรคการเมืองระดับรากหญ้า เป็นพรรคการเมืองประชานิยม และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการอยู่รอดของคนธรรมดาสามัญ ดังนั้น พรรคทรัมป์จึงสามารถรวมนโยบายเศรษฐกิจฝ่ายซ้ายได้ ในทางกลับกัน พันธมิตรทางการเมืองแบบเทคโน-เผด็จการ-อนุรักษ์นิยมของทรัมป์ (และมัสก์) จะนำลัทธิเผด็จการ การปกครองแบบเผด็จการ และความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งมาสู่วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกา ซึ่งจะคล้ายคลึงกับแนวทางของเอเชียตะวันออกมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความเป็นไปได้ที่อเมริกาในอนาคตจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) มากขึ้น" 

    "ทู่จู่ซี" กล่าวไว้แบบนี้ และบทความนี้ได้รับความนิยมในจีนค่อนข้างมากในช่วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใหม่ๆ

    ส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ "ทู่จู่ซี" และตามแนวโน้มความเป็นขวาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองสหรัฐฯ และยุโรปมาระยะหนึ่งแล้ว

    ที่มา เฟซบุ๊ก Kornkit Disthan
    https://www.facebook.com/share/p/149JGAqSR9/?
    ทัศนะนักวิเคราะห์ชาวจีนมองการเมืองอเมริกัน "ยุคของทรัมป์จะทำให้อเมริกาคล้ายจีนมากขึ้น" ก่อนอื่นเมื่อคืนนี้ อีลอน มัสก์ ทำเอาทั้งซ้ายและไม่ซ้ายสะดุ้งกันไปหมด เพราะขณะที่กำลังปราศรัยเขาก็ตบหน้าอกแล้วชูมือขึ้นทำท่าเหมือนการทักทาย (และแสดงพลัง) ของพวกฟาสซิสต์  ผมเห็นท่านี้พร้อมกับคำที่เขาพูดว่า “My heart goes out to you,”  แล้วตบหน้าอกจากนั้นเหมือนเขวี้ยงหัวใจไปให้ผู้ฟัง ถ้าหยวนๆ หน่อยก็คิดว่าเขาแค่โยนหัวใจปันให้แฟนๆ บางคนก็บอกว่า "นี่มันแค่ Roman salute"  แต่ถ้าไม่หยวนกับมัสก์ก็อดคิดไม่ได้ว่า "นี่มันขวาจัดกันไปใหญ่แล้ว" ไม่ใช่เรื่องปกปิดอะไรที่มัสก์สนับสนุนฝ่ายขวาจัด ไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ แต่กำลังสนับสนุนในยุโรปด้วย เช่น มัสก์ประกาศจะหนุนทุนให้กับพรรค Reform UK ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดของสหราชอาณาจักร ต่อต้านผู้อพยพ และสนับสนุนชาตินิยมอังกฤษ มัสก์ ยังสนับสนุนพรรคขวาจัดในเยอรมนีโดยเขียนไว้ใน X ว่า "Only AfD can save Germany" - AfD คือชื่อย่อของพรรค "ทางเลือกเพื่อเยอรมนี" (Alternative für Deutschland) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา ต่อต้านคนต่างด้าว ต่อต้านผู้อพยพ สนับสนุนค่านิยมคริสเตียนและไม่เอาชาวมุสลิม มัสก์และทีมทรัมป์กำลังฟอร์มแนวร่วมพลังขวาในโลกตะวันตก แน่นอนว่าคราวนี้ไม่ใช่แค่เล่นๆ เพราะทรัมป์มีอำนาจและมัสก์มีเงินและเครือข่าย แนวโน้มที่โลกตะวันตกกำลังจะขวาจัดๆ ฝ่ายจีนก็มองเห็นเรื่องนี้ หลังจากเลือกตั้งผมได้เขียนสรุปทัศนะของ "ทู่จู่ซี" (兔主席) ซึ่งเป็นนามปากกาของ "เริ่นอี้" (任意) นักเขียนคอลัมน์การเมืองชาวจีนที่ได้รับความนิยมในโซเชียลมีเดียจีน เขาถือเป็นกลุ่ม "หงซานไต้" (红三代) หรือลูกหลานรุ่นที่ 3 ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นหลานชายของ เริ่นจ้งอี๋ (任仲夷) อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตเลขาธิการคนแรกของคณะกรรมการมณฑลกวางตุ้งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน   ในด้านความรู้ทางการเมืองตะวันตก เขาได้รับเชิญจากศาสตราจารย์ เอซรา ไฟเวล วอเกล (Ezra Feivel Vogel) นักจีนวิทยาชาวอเมริกัน และศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยเกี่ยวกับ "ยุคปฏิรูปของจีน" และช่วยเขาค้นคว้าเรื่อง "ยุคเติ้งเสี่ยวผิง" ต่อมาเขาได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยยการเมืองเคนเนดีของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและทำงานที่ศูนย์แฟร์แบงก์เพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออก หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาทำงานให้กับธนาคารเพื่อการลงทุนของจีนในปักกิ่ง เขาเขียนทัศนะด้านการเมืองเผยแพร่เป็นบทความในสื่อต่างๆ ของจีน รวมถึงในโซเชียลมีเดียของจีน ความคิดเห็นของเขามักถูกอ้างอิงโดยสื่อกระแสหลัก และ เขาอ้างว่าบทความบางบทความของเขาถูกใช้เป็น "ข้อมูลอ้างอิงภายใน" สำหรับเจ้าหน้าที่จีน โดยที่บทความของเขาในปี 2020 เรื่อง "ไม่ใช่รัฐบาลจีนที่ปลุกชาตินิยมจีน แต่เป็นนักการเมืองอเมริกัน" ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำโดย People's Daily Online   1. "ทู่จู่ซี" มองว่า ชัยชนะของทรัมป์เหนือพรรคเดโมแครต คือ "ชัยชนะของการปฏิวัติระดับรากหญ้า" เขาชี้ว่าการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายทรัมป์และฝ่ายแฮร์ริส โดยพื้นฐานแล้ว เป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนระดับรากหญ้าและประชาชนคนสามัญของสหรัฐฯ กับกลุ่มผู้ปกครองชั้นนำของสหรัฐฯ และมองว่านี่คือยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” ซึ่งทัศนะนี้ของ "ทู่จู่ซี" คล้ายกับความเห็นของชาวอเมริกันบางคนที่ตำหนิว่าพรรคเดโมแครตทรยศฐานเสียงของตัวเองที่แต่เดิมเป็นพวกคนรากหญ้าและแรงงาน แต่หันมาเน้นเรื่องการเมืองชิงอัตลักษณ์ คือแนวคิดเรื่อง Woke และยังสนองวาระของกลุ่มชนชั้นนำด้วยการสนับสนุนสงครามในยูเครนและสงครามในตะวันออกกลาง ทำให้พรรครีพับลิกันหันมาจับกลุ่มรากหญ้าแทนจนประสบความสำเร็จ รวมถึงกลุ่มคนอเมริกันเชื้อสายตะวันออกกลาง 2. "ทู่จู่ซี" มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ และกระบวนการนั้นได้เสร็จสิ้นงแล้ว ซึ่งพรรครีพับลิกันได้กลายเป็นพรรคที่มีชนชั้นกลางและชั้นล่างเป็นรากฐานหลัก และผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครีพับลิกันได้รวมเอาคนผิวสี ละติน และคนหนุ่มสาวเข้ามาด้วย ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรครีพับลิกันไม่ใช่ตัวแทนของนายทุนใหญ่ นักอุตสาหกรรมใหญ่ นักการเงินใหญ่ และชนชั้นกระฎุมพี" อีกต่อไป แต่กลายเป็นพรรคของคนอเมริกันคนเดินดิน  3. "ทู่จู่ซี" ชี้ว่าทรัมป์ได้กลายเป็นประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา เพราะไม่เพียงแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่พรรครีพับลิกันยังชนะการเลือกตั้งวุฒิสภา และคาดว่าจะรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ ในเวลาเดียวกัน "ในศาลฎีกา พรรครีพับลิกัน/อนุรักษ์นิยมมีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนถึง 6:3 (รวมถึงผู้พิพากษาสามคนที่ทรัมป์คัดเลือกด้วยตัวเอง) ทั้งสามอำนาจรวมกันเป็นหนึ่ง และควรเห็นว่าพรรครีพับลิกันในปัจจุบันไม่ใช่พรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือพรรครีพับลิกันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว แต่เป็นพรรคของทรัมป์เท่านั้น ชื่อที่เหมาะสมกว่าคือ พรรคทรัมป์ การรวมอำนาจและอิทธิพลนี้คงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อเมริกา ทรัมป์อาจเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา"  4. แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีประธานาธิบดีที่ทรงอำนาจที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากชาวอเมริกันกว่าครึ่งประเทศ แต่การเมืองของอเมริกาก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสังคมก็แตกแยกกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ยุคมืดแล้ว" ประชากรครึ่งหนึ่งเชื่อว่านักการเมืองอันธพาลที่มีนิสัยเลวร้ายอย่างยิ่ง เช่น ฮิตเลอร์ ฟาสซิสต์ และนาซี ได้ขึ้นมามีอำนาจ และจะทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายทุกสิ่งที่ประชาชนรู้เกี่ยวกับระบบของอเมริกาภายในสี่ปีข้างหน้า และนำประเทศไปในทิศทางอื่น พวกเขาสับสนและสิ้นหวังอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ สังคมการเมืองอเมริกันหลังการกลับเข้ามามีอำนาจของทรัมป์จะทำให้เกิดค่านิยมใหม่ "ทู่จู่ซี"  มองว่า 1) ในแง่ของรัฐบาล ประการแรกคือการเสริมอำนาจของประธานาธิบดี/ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยประธานาธิบดีเป็นผู้นำศูนย์กลางทางการเมือง แผ่ขยายไปยังฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ เพิ่มความเผด็จการ เพิ่มความเข้มข้นของการตัดสินใจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐบาล และลบขั้นตอนราชการที่ไม่จำเป็นออกจากระบบเก่า 2) ในแง่นโยบายเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ จะมุ่งที่ ระบบตลาดนิยม" นั่นคือการมีรัฐบาลขนาดเล็กเพื่อลดการแทรกแซงตลาด ลดภาษีให้ต่ำลง ลดกฎระเบียบในตลาดให้น้อยลง ใช้แรงผลักดันของตลาดเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลกลับ เรียกร้องให้บริษัทอเมริกันกลับมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อการลงทุนและการก่อสร้างเพิ่มเติม 3) ในแง่วัฒนธรรมในประเทศ จะส่งเสริมและพัฒนาความเป็นชาตินิยม ความรักชาติ และชาตินิยมของอเมริกาอย่างเข้มแข็ง อยางที่ เจดี แวนซ์ (JD Vance) ว่าที่รองประธานาธิบดีบอกว่า สหรัฐอเมริกาเป็น "ชาติ" สร้างสถานะทางวัฒนธรรมที่คนผิวขาว และต่อต้านเสรีนิยม/พวกหัวก้าวหน้า/Woke รัฐบาลใหม่จะมีอิทธิพลและกำหนดรูปแบบสังคมอเมริกันผ่านคำสั่งของศาลฎีกา การตรากฎหมาย คำสั่งของรัฐบาล สุนทรพจน์ของผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางความคิด 4) ในแง่เศรษฐกิจต่างประเทศ ระบอบทรัมป์จะต่อต้านโลกาภิวัตน์ ต่อต้านการค้าเสรี ต่อต้านกรอบแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ยกระดับการใช้เครื่องมือภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันสินค้าจากต่างประเทศอย่างครอบคลุม เพื่อกดดันและจูงใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศของสหรัฐฯ 5) ในแง่การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐฯ ในยุคนี้จะ "ลัทธิโดดเดี่ยว" และ "ลัทธิไม่แทรกแซง" นั่นคือสหรัฐฯ จะหันมาสนใจเรื่องของตัวเองมากกขึ้นและไม่แทรกแซงกิจการต่างประเทศมากเท่าเดิม ลดการลงทุนในภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (เช่น อันฉีดงบประมาณด้านสงคราม) ลดการใช้เงินไปกับการรักษาระเบียบระหว่างประเทศที่นำโดยสหรัฐฯ และประเมินความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรใหม่ 6) ในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐบาลทรัมป์จะได้รับการสนับสนุนจาก อีลอน มัสก์ ผู้สนับสนุนคนสำคัญของเขาในการสร้างกลุ่มอำนาจ "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" ซึ่งต่างจากกลุ่มซิลิคอนวัลเลย์ที่สนับสนุนเสรีนิยม "ซิลิคอนวัลเลย์ใหม่" จะเป็นการก่อตัวของพันธมิตรทางการเมืองใหม่ด้านเทคโนโลยี-อำนาจนิยม-อนุรักษ์นิยม แง่มุมสุดท้ายมีความน่าสนใจอยางยิ่ง เพราะจะเป็นการก่อตัวใหม่ของกลุ่มอำนาจใหม่ด้านการเมืองและธุรกิจเทค "ทู่จู่ซี" แสดงทัศนะว่า "ค่านิยมของชาวอเมริกันรุ่นใหม่ในประเด็นเศรษฐกิจนั้น “เอียงซ้าย” เชื่อในลัทธิก้าวหน้า เห็นอกเห็นใจลัทธิสังคมนิยม และไม่ต่อต้านลัทธิสังคมนิยม กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในแง่ของค่านิยมทางเศรษฐกิจ พวกเขาจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) ในอนาคตมากขึ้น การที่ทรัมป์ขึ้นสู่อำนาจจะเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวในประเด็นเศรษฐกิจหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะบอก"  "แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทรัมป์เป็นพรรคการเมืองระดับรากหญ้า เป็นพรรคการเมืองประชานิยม และให้ความสำคัญกับการจ้างงานและการอยู่รอดของคนธรรมดาสามัญ ดังนั้น พรรคทรัมป์จึงสามารถรวมนโยบายเศรษฐกิจฝ่ายซ้ายได้ ในทางกลับกัน พันธมิตรทางการเมืองแบบเทคโน-เผด็จการ-อนุรักษ์นิยมของทรัมป์ (และมัสก์) จะนำลัทธิเผด็จการ การปกครองแบบเผด็จการ และความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งมาสู่วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกา ซึ่งจะคล้ายคลึงกับแนวทางของเอเชียตะวันออกมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความเป็นไปได้ที่อเมริกาในอนาคตจะคล้ายคลึงกับเรา (จีน) มากขึ้น"  "ทู่จู่ซี" กล่าวไว้แบบนี้ และบทความนี้ได้รับความนิยมในจีนค่อนข้างมากในช่วงหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใหม่ๆ ส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ "ทู่จู่ซี" และตามแนวโน้มความเป็นขวาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการเมืองสหรัฐฯ และยุโรปมาระยะหนึ่งแล้ว ที่มา เฟซบุ๊ก Kornkit Disthan https://www.facebook.com/share/p/149JGAqSR9/?
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1104 มุมมอง 0 รีวิว
  • 10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก

    ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา

    การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร

    ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค

    วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน
    หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด

    การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ

    กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต
    อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524

    กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม

    ผลลัพธ์ของกบฏ
    การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

    บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

    ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง
    ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

    ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง

    หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง
    หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

    อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)

    การจากไปของ “บิ๊กซัน”
    พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง

    แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ

    🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568

    #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524 กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม ผลลัพธ์ของกบฏ การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) การจากไปของ “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ 🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568 #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1048 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9 ปัญหาฉุดอเมริกา "ยุคทรัมป์ 2.0" ตามหลังจีน
    .
    ปีหน้า วันที่ 20 มกราคม 2568 นายโดนัลด์ ทรัมป์ วัย 78 ปี จะเข้าปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 47 เป็นผู้นำสหรัฐฯ ที่มีอายุมากที่สุด ขึ้นครองอำนาจสมัยที่ 2 สื่ออเมริกาตั้งฉายา ว่า "รัฐบาลทรัมป์ 2.0"ที่ต้องเข้ามาบริหาร จะเจอปัญหารุมเร้าหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 9 ประการ ที่บีบรัดและฉุดรั้ง ทำให้อเมริกาต้องเดินตามหลังจีนไปอีกหลายทศวรรษ
    .
    ปัญหาข้อที่ 1. คือ ความเสื่อมถอยทางเทคโนโลยีของอเมริกา สหรัฐฯ กำลังสูญเสียความได้เปรียบและความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถจัดหาสินค้าและบริการที่จำเป็นให้โลกได้ ตั้งแต่เข็มหมุดเล็กจิ๋ว ไปจนถึงสถานีอวกาศ
    .
    2.ยุทธศาสตร์ของจีน ที่ชื่อว่า 'Made in China 2025' ปีหน้ากำหนดเป้าหมายเปลี่ยนจีนให้กลายเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูง ลดการพึ่งพาบริษัทอเมริกา และอัปเกรดศักยภาพส่งเสริมนวัตกรรมในภาคส่วนสำคัญ เช่น หุ่นยนต์อวกาศ พลังงานสะอาด ยานยนต์ วัสดุใหม่ และปัญญาประดิษฐ์ และยกระดับห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกผ่านความคิดริเริ่มทาง Made in China 2025 นี้
    .
    ข้อที่ 3. ปัญหาการลงทุนด้านวิจัยพัฒนานวัตกรรมของสหรัฐฯ นั้นยังมีไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทสหรัฐฯ ไม่สามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันได้ และประสบปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัย ระบบนิเวศเทคโนโลยีไม่สมบูรณ์
    .
    ปัญหาข้อที่ 4. ปัญหาสมองไหลจากอเมริกาที่สูญเสียนักวิจัยและพัฒนาเก่งๆ และขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ และข้อ 5 ระบบการศึกษาของสหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีได้เพียงพอ
    .
    ปัญหาข้อที่6 ปัญหาแนวทางและจุดมุ่งหมายขององค์กรเอกชนต่องานวิจัยและพัฒนาเพื่อกำไรเช่นApple ในขณะที่บริษัทของจีน เช่น Huawei ลงทุนอย่างหนักในนวัตกรรมและการวิจัยพื้นฐาน
    .
    ประเด็นต่อมาข้อที่ 7 นโยบายสหรัฐฯของรัฐบาลแต่ละชุดไม่สอดคล้องและขัดแย้งกัน ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจของบริษัทต่างๆ ที่จะลงทุน เพราะความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ การเมืองสหรัฐฯ
    .
    ข้อที่8. ลัทธิโดดเดี่ยวและอยู่แบบข้าใหญ่คนเดียวของอเมริกา บั่นทอนความก้าวหน้าของสหรัฐฯ ที่ขาดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ขับเคลื่อนนวัตกรรม ไม่เหมือนกับจีนและประเทศอื่นๆ ที่ส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก จัดตั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขึ้นมาและดำเนินยุทธศาสตร์การค้าที่ฉลาดเฉลียว
    .
    ข้อที่9. เรียกร้องเสนอให้สหรัฐฯ ต้องปฏิรูปทั้งด้านการศึกษา นโยบาย และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อหยุดความเสื่อมถอย
    .
    ผู้นำสหรัฐฯตกยุคอย่างทรัมป์ ไม่ควรหลอกตัวเองว่า เพียงแค่ใช้ปากกาลงนามประกาศอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็สามารถจะสู้กับจีน ทรัมป์ อายุ 78 ปี จำเป็นต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ อาจจะจนกระทั่งหลังจากตัวเองตายไปแล้ว ถึงจะสามารถก้าวตามจีนได้ทัน
    9 ปัญหาฉุดอเมริกา "ยุคทรัมป์ 2.0" ตามหลังจีน . ปีหน้า วันที่ 20 มกราคม 2568 นายโดนัลด์ ทรัมป์ วัย 78 ปี จะเข้าปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 47 เป็นผู้นำสหรัฐฯ ที่มีอายุมากที่สุด ขึ้นครองอำนาจสมัยที่ 2 สื่ออเมริกาตั้งฉายา ว่า "รัฐบาลทรัมป์ 2.0"ที่ต้องเข้ามาบริหาร จะเจอปัญหารุมเร้าหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 9 ประการ ที่บีบรัดและฉุดรั้ง ทำให้อเมริกาต้องเดินตามหลังจีนไปอีกหลายทศวรรษ . ปัญหาข้อที่ 1. คือ ความเสื่อมถอยทางเทคโนโลยีของอเมริกา สหรัฐฯ กำลังสูญเสียความได้เปรียบและความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถจัดหาสินค้าและบริการที่จำเป็นให้โลกได้ ตั้งแต่เข็มหมุดเล็กจิ๋ว ไปจนถึงสถานีอวกาศ . 2.ยุทธศาสตร์ของจีน ที่ชื่อว่า 'Made in China 2025' ปีหน้ากำหนดเป้าหมายเปลี่ยนจีนให้กลายเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูง ลดการพึ่งพาบริษัทอเมริกา และอัปเกรดศักยภาพส่งเสริมนวัตกรรมในภาคส่วนสำคัญ เช่น หุ่นยนต์อวกาศ พลังงานสะอาด ยานยนต์ วัสดุใหม่ และปัญญาประดิษฐ์ และยกระดับห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกผ่านความคิดริเริ่มทาง Made in China 2025 นี้ . ข้อที่ 3. ปัญหาการลงทุนด้านวิจัยพัฒนานวัตกรรมของสหรัฐฯ นั้นยังมีไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทสหรัฐฯ ไม่สามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันได้ และประสบปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าสมัย ระบบนิเวศเทคโนโลยีไม่สมบูรณ์ . ปัญหาข้อที่ 4. ปัญหาสมองไหลจากอเมริกาที่สูญเสียนักวิจัยและพัฒนาเก่งๆ และขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ และข้อ 5 ระบบการศึกษาของสหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีได้เพียงพอ . ปัญหาข้อที่6 ปัญหาแนวทางและจุดมุ่งหมายขององค์กรเอกชนต่องานวิจัยและพัฒนาเพื่อกำไรเช่นApple ในขณะที่บริษัทของจีน เช่น Huawei ลงทุนอย่างหนักในนวัตกรรมและการวิจัยพื้นฐาน . ประเด็นต่อมาข้อที่ 7 นโยบายสหรัฐฯของรัฐบาลแต่ละชุดไม่สอดคล้องและขัดแย้งกัน ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจของบริษัทต่างๆ ที่จะลงทุน เพราะความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ การเมืองสหรัฐฯ . ข้อที่8. ลัทธิโดดเดี่ยวและอยู่แบบข้าใหญ่คนเดียวของอเมริกา บั่นทอนความก้าวหน้าของสหรัฐฯ ที่ขาดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ขับเคลื่อนนวัตกรรม ไม่เหมือนกับจีนและประเทศอื่นๆ ที่ส่งเสริมความร่วมมือระดับโลก จัดตั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขึ้นมาและดำเนินยุทธศาสตร์การค้าที่ฉลาดเฉลียว . ข้อที่9. เรียกร้องเสนอให้สหรัฐฯ ต้องปฏิรูปทั้งด้านการศึกษา นโยบาย และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อหยุดความเสื่อมถอย . ผู้นำสหรัฐฯตกยุคอย่างทรัมป์ ไม่ควรหลอกตัวเองว่า เพียงแค่ใช้ปากกาลงนามประกาศอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็สามารถจะสู้กับจีน ทรัมป์ อายุ 78 ปี จำเป็นต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ อาจจะจนกระทั่งหลังจากตัวเองตายไปแล้ว ถึงจะสามารถก้าวตามจีนได้ทัน
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 567 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา Javier Milei เป็นผู้นำโลกคนแรกที่เข้าพบกับ ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

    การพบกันดังกล่าวเกิดขึ้นที่คฤหาสน์สุดหรูมาร์อาลาโกของทรัมป์ในรัฐฟลอริดา ซึ่งทั้งสองผู้นำได้หารือถึงผลประโยชน์ร่วมกันในนโยบายเศรษฐกิจและการปกครอง
    ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา Javier Milei เป็นผู้นำโลกคนแรกที่เข้าพบกับ ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง การพบกันดังกล่าวเกิดขึ้นที่คฤหาสน์สุดหรูมาร์อาลาโกของทรัมป์ในรัฐฟลอริดา ซึ่งทั้งสองผู้นำได้หารือถึงผลประโยชน์ร่วมกันในนโยบายเศรษฐกิจและการปกครอง
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 464 มุมมอง 0 รีวิว
  • จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง

    ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3
    .
    โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท.
    .
    ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ"
    .
    "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้"
    .
    ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา
    .
    "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 . โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท. . ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ" . "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้" . ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา . "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1706 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ
    อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย

    นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก
    เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน
    คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม
    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท
    และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา

    SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก
    จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย
    ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
    ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก
    ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

    ปัจจัยภายในประเทศ :

    1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก :
    ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
    เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด
    ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต
    กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD)
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี
    เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD
    ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ
    และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์
    และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
    จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า
    การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก
    ไทยทั้งหมดในปี 2566

    2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า :
    ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก
    ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า
    ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย
    ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ
    ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้
    อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก
    ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
    จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์
    สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก)

    ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก
    ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23%
    ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
    ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38%
    เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า
    ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
    มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้
    ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง
    และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า
    แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น
    ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน

    3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง :
    การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ
    ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น
    ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน
    ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย
    สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้

    จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก
    ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์
    สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
    ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้?

    SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน
    จากต่างชาติที่ลดลง :

    1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ
    22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม
    เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ
    ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
    และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ
    เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า
    เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง :
    FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย
    เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก
    รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง
    ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ
    อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3,
    และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank)

    สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก

    (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย
    ยังมีมากที่สุดในอาเซียน

    (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
    กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง
    เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป
    และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น

    (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง

    (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง
    นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน
    วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง
    และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ

    (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน
    ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
    และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า

    ปัจจัยภายนอก :

    การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ

    ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ
    ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
    กับสินค้าจีน

    2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี
    สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม

    3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว
    ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ
    ต่อการค้าโลก

    4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง
    สำคัญทั่วโลก

    (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย
    และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์


    ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย
    อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน
    ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้
    ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ
    ที่เปราะบาง

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว
    หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน
    โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน
    ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น
    และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว
    เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
    ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย
    แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย
    ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง
    การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ

    การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า
    ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์
    ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง
    แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า
    ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า
    ไปคันแล้วคันเล่า

    ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ปัจจัยภายในประเทศ : 1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก : ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์ และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก ไทยทั้งหมดในปี 2566 2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า : ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก) ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23% ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38% เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้ ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน 3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง : การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้ จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์ สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้? SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน จากต่างชาติที่ลดลง : 1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ 22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง : FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3, และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย ยังมีมากที่สุดในอาเซียน (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า ปัจจัยภายนอก : การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับสินค้าจีน 2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม 3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ ต่อการค้าโลก 4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง สำคัญทั่วโลก (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้ ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ ที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า ไปคันแล้วคันเล่า ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1556 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ นายชิเกรุ อิชิบะ วัย 67 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

    27 กันยายน 2567-รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า นายชิเกรุ อิชิบะ วัย 67 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สามารถเอาชนะ ทาคาอิจิ ซานาเอะ รัฐมนตรีหญิงกระทรวงความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ด้วยคะแนนเสียง 215 ต่อ 194 ทำให้นายชิเกรุ อิชิบะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค LDP ส่งผลให้เขาจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นแทน คิชิดะ ฟูมิโอะ ที่ประกาศลาออกเมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และในเดือนตุลาคมนี้ รัฐสภาญี่ปุ่นจะโหวตรับรองนายอิชิบะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเป็นทางการ

    ว่าที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ได้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นหลุดพ้นจากวิกฤตอัตราเงินเฟ้อให้ได้โดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งจะ “เพิ่มค่าจ้างที่แท้จริง” นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนกฎหมายที่จะอนุญาตให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ รวมถึงกล่าวว่าญี่ปุ่นควรลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทน และเรียกร้องให้มีกลุ่มความมั่นคงของนาโต (NATO) ในเอเชียเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนและเกาหลีเหนือ แต่เหนือกว่านั้นอิชิบะเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ Japan Status of Forces Agreement, SOFA (日米地位協定 ) โดยจะเอาค่ายฝึกกำลังญี่ปุ่นไปวางที่อเมริกา ไม่ใช่แค่ให้สหรัฐมาขายอาวุธยุทโธปกรณ์แล้วตั้งฐานทัพค่ายทหารในญี่ปุ่นเหมือนเคย

    และอิชิบะบอกว่าจะเดินหน้าสานความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ท่ามกลางความท้าทายด้านความมั่นคงที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย ท่ามกลางความเห็นของญี่ปุ่นส่วนหนึ่งที่มองว่าอิชิบะโปรจีน จากเหตุการณ์เมื่อปี2019 ที่อิชิบะเคยต้อนรับขับสู้จะร่วมมือทางทหารกับจีน

    เส้นทางการเมืองของนายชิเกรุ อิชิบะ เคยลงชิงชัยในตำแหน่งผู้นำญี่ปุ่นกับชินโซะ อาเบะ แต่พ่ายแพ้อาเบะไปถึง 3 ครั้ง เพราะเขาไม่ค่อยได้รับความสนับสนุนจากนักการเมืองในพรรค LDP มากนัก

    ด้านนโยบายเศรษฐกิจ อิชิบะถือว่าเป็นผู้ที่ชอบให้รัฐบาลออกมาตรการที่เน้นงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาส ทว่าไม่เห็นด้วยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

    #Thaitimes
    ว่าที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ นายชิเกรุ อิชิบะ วัย 67 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 27 กันยายน 2567-รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า นายชิเกรุ อิชิบะ วัย 67 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สามารถเอาชนะ ทาคาอิจิ ซานาเอะ รัฐมนตรีหญิงกระทรวงความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ด้วยคะแนนเสียง 215 ต่อ 194 ทำให้นายชิเกรุ อิชิบะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค LDP ส่งผลให้เขาจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นแทน คิชิดะ ฟูมิโอะ ที่ประกาศลาออกเมื่อช่วงกลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา และในเดือนตุลาคมนี้ รัฐสภาญี่ปุ่นจะโหวตรับรองนายอิชิบะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเป็นทางการ ว่าที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ได้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ญี่ปุ่นหลุดพ้นจากวิกฤตอัตราเงินเฟ้อให้ได้โดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งจะ “เพิ่มค่าจ้างที่แท้จริง” นอกจากนี้ เขายังสนับสนุนกฎหมายที่จะอนุญาตให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ รวมถึงกล่าวว่าญี่ปุ่นควรลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทน และเรียกร้องให้มีกลุ่มความมั่นคงของนาโต (NATO) ในเอเชียเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนและเกาหลีเหนือ แต่เหนือกว่านั้นอิชิบะเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ Japan Status of Forces Agreement, SOFA (日米地位協定 ) โดยจะเอาค่ายฝึกกำลังญี่ปุ่นไปวางที่อเมริกา ไม่ใช่แค่ให้สหรัฐมาขายอาวุธยุทโธปกรณ์แล้วตั้งฐานทัพค่ายทหารในญี่ปุ่นเหมือนเคย และอิชิบะบอกว่าจะเดินหน้าสานความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ท่ามกลางความท้าทายด้านความมั่นคงที่เพิ่มมากขึ้นในเอเชีย ท่ามกลางความเห็นของญี่ปุ่นส่วนหนึ่งที่มองว่าอิชิบะโปรจีน จากเหตุการณ์เมื่อปี2019 ที่อิชิบะเคยต้อนรับขับสู้จะร่วมมือทางทหารกับจีน เส้นทางการเมืองของนายชิเกรุ อิชิบะ เคยลงชิงชัยในตำแหน่งผู้นำญี่ปุ่นกับชินโซะ อาเบะ แต่พ่ายแพ้อาเบะไปถึง 3 ครั้ง เพราะเขาไม่ค่อยได้รับความสนับสนุนจากนักการเมืองในพรรค LDP มากนัก ด้านนโยบายเศรษฐกิจ อิชิบะถือว่าเป็นผู้ที่ชอบให้รัฐบาลออกมาตรการที่เน้นงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาส ทว่าไม่เห็นด้วยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำในการกระตุ้นเศรษฐกิจ #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1303 มุมมอง 0 รีวิว