• มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทย เกิดจากนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 เม.ย. มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทยจากสถานะ “ทรงตัว” เป็น “โน้มลง” ถึงแม้ระดับเรตติ้งจะคงเดิมก็ตาม (Baa1)นักวิเคราะห์บางคนเข้าใจว่า เกิดจากปัจจัยภาษีทรัมป์ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของรัฐบาล โดยอาจดูจากคำบรรยาย[The already announced US tariffs are likely to weigh significantly on global trade and global economic growth, and which will affect Thailand's open economy. In addition, there remains significant uncertainty as to whether the US will implement additional tariffs on Thailand and other countries, after the 90-day pause elapse.][ภาษีทรัมป์จะกระทบเศรษฐกิจการค้าโลก และจะกระทบไทยเนื่องจากมีการส่งออกมาก รวมทั้งไม่ชัดเจนว่า เมื่อครบ 90 วัน สหรัฐจะยังเก็บภาษีตอบโต้เท่าใด]**แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ใช้พิจารณานั้น อยู่ที่นโยบายรัฐบาล ดังเห็นได้ว่า คำอธิบายเหตุผลเริ่มต้นว่า[The decision to change the outlook to negative from stable captures the risks that Thailand's economic and fiscal strength will weaken further.][เหตุผลที่เราลดอันดับ เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและฐานะการคลังมีแนวโน้มจะเลวลง][This shock exacerbates Thailand's already sluggish economic recovery post-pandemic, and risk aggravating the trend decline in the country's potential growth. Material downward pressures on Thailand's growth raises risks of further weakening in the government's fiscal position, which has already deteriorated since the pandemic.][เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดอย่างอืดอาด และศักยภาพการเติบโตมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่โควิด จะเลวลงไปอีก]**นี่เอง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ลดอันดับอนาคตไทย ก็เนื่องจากความเป็นห่วงในฐานะการคลัง **ซึ่งรัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ > ทำให้ขาดดุลงบประมาณทุกปี > ประกอบกับรัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนหน้ากู้เงินมาแจกหมื่น > เพื่อกินใช้รายวัน > โดยไม่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน > ถึงแม้ จีดีพีเพิ่มบ้างเล็กน้อยก็เป็นแบบไฟไหม้ฟาง วูบเดียวก็หมดไป**อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ ให้คะแนน 3 ปัจจัยบวกหนึ่ง แบงค์ชาติและระบบราชการน่าเชื่อถือ[The affirmation of the Baa1 ratings reflects the country's moderately strong institutions and governance which support sound monetary and macroeconomic policies.][เรายังคงอันดับเครดิตไว้ที่ Baa1 เพราะองค์กรด้านนโยบายการเงินและพัฒนาเศรษฐกิจยังพอจะสามารถประคองความน่าเชื่อถือ]**ผมเพิ่มเติมว่า คือสังคมไทยยังช่วยกันคัดค้านการแทรกแซงที่ไม่ถูกต้องสอง มีการพัฒนาตลาดพันธบัตรดี[The Baal ratings also take into account Thailand's moderately strong debt affordability - despite the sharp increase in government debt since the pandemic - supported by its deep domestic markets and the fact that its government debt is almost entirely denominated in local currency.][และถึงแม้รัฐบาลจะกู้เงินมากแล้วตั้งแต่วิกฤตโควิด ตลาดพันธบัตรไทยได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการกู้เพิ่มได้ การที่หนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดเป็นสกุลบาท (ทำให้รัฐบาลไม่มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)]**ผมเพิ่มเติมว่า บุคคลหลักที่สร้างรากฐานตลาดพันธบัตรไทยคือ 2 อดีตผู้ว่าฯ ม.ร.ว.จตุมงคล และ ม.ร.ว.ปรีดียาธร โดยผมรับลูกในตำแหน่งเลขา ก.ล.ต.สาม มีทุนสำรองมั่นคง[Moreover, Thailand has a strong external position, with ample foreign exchange reserves buffer.][และไทยมีทุนสำรองมากพอ ฐานะหนี้สกุลต่างประเทศต่ำ]ผมจึงขอแนะนำให้รัฐบาลนำข้อวิเคราะห์เหล่านี้ไปปรับปรุงนโยบายเป็นการด่วนวันที่ 30 เมษายน 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทย เกิดจากนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 เม.ย. มูดี้ส์ลดอันดับอนาคตของไทยจากสถานะ “ทรงตัว” เป็น “โน้มลง” ถึงแม้ระดับเรตติ้งจะคงเดิมก็ตาม (Baa1)นักวิเคราะห์บางคนเข้าใจว่า เกิดจากปัจจัยภาษีทรัมป์ ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของรัฐบาล โดยอาจดูจากคำบรรยาย[The already announced US tariffs are likely to weigh significantly on global trade and global economic growth, and which will affect Thailand's open economy. In addition, there remains significant uncertainty as to whether the US will implement additional tariffs on Thailand and other countries, after the 90-day pause elapse.][ภาษีทรัมป์จะกระทบเศรษฐกิจการค้าโลก และจะกระทบไทยเนื่องจากมีการส่งออกมาก รวมทั้งไม่ชัดเจนว่า เมื่อครบ 90 วัน สหรัฐจะยังเก็บภาษีตอบโต้เท่าใด]**แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ใช้พิจารณานั้น อยู่ที่นโยบายรัฐบาล ดังเห็นได้ว่า คำอธิบายเหตุผลเริ่มต้นว่า[The decision to change the outlook to negative from stable captures the risks that Thailand's economic and fiscal strength will weaken further.][เหตุผลที่เราลดอันดับ เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและฐานะการคลังมีแนวโน้มจะเลวลง][This shock exacerbates Thailand's already sluggish economic recovery post-pandemic, and risk aggravating the trend decline in the country's potential growth. Material downward pressures on Thailand's growth raises risks of further weakening in the government's fiscal position, which has already deteriorated since the pandemic.][เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิดอย่างอืดอาด และศักยภาพการเติบโตมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่แล้วตั้งแต่โควิด จะเลวลงไปอีก]**นี่เอง ปัจจัยหลักที่ มูดี้ส์ ลดอันดับอนาคตไทย ก็เนื่องจากความเป็นห่วงในฐานะการคลัง **ซึ่งรัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ > ทำให้ขาดดุลงบประมาณทุกปี > ประกอบกับรัฐบาลนี้และรัฐบาลก่อนหน้ากู้เงินมาแจกหมื่น > เพื่อกินใช้รายวัน > โดยไม่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน > ถึงแม้ จีดีพีเพิ่มบ้างเล็กน้อยก็เป็นแบบไฟไหม้ฟาง วูบเดียวก็หมดไป**อย่างไรก็ดี มูดี้ส์ ให้คะแนน 3 ปัจจัยบวกหนึ่ง แบงค์ชาติและระบบราชการน่าเชื่อถือ[The affirmation of the Baa1 ratings reflects the country's moderately strong institutions and governance which support sound monetary and macroeconomic policies.][เรายังคงอันดับเครดิตไว้ที่ Baa1 เพราะองค์กรด้านนโยบายการเงินและพัฒนาเศรษฐกิจยังพอจะสามารถประคองความน่าเชื่อถือ]**ผมเพิ่มเติมว่า คือสังคมไทยยังช่วยกันคัดค้านการแทรกแซงที่ไม่ถูกต้องสอง มีการพัฒนาตลาดพันธบัตรดี[The Baal ratings also take into account Thailand's moderately strong debt affordability - despite the sharp increase in government debt since the pandemic - supported by its deep domestic markets and the fact that its government debt is almost entirely denominated in local currency.][และถึงแม้รัฐบาลจะกู้เงินมากแล้วตั้งแต่วิกฤตโควิด ตลาดพันธบัตรไทยได้พัฒนาจนมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับการกู้เพิ่มได้ การที่หนี้สาธารณะเกือบทั้งหมดเป็นสกุลบาท (ทำให้รัฐบาลไม่มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)]**ผมเพิ่มเติมว่า บุคคลหลักที่สร้างรากฐานตลาดพันธบัตรไทยคือ 2 อดีตผู้ว่าฯ ม.ร.ว.จตุมงคล และ ม.ร.ว.ปรีดียาธร โดยผมรับลูกในตำแหน่งเลขา ก.ล.ต.สาม มีทุนสำรองมั่นคง[Moreover, Thailand has a strong external position, with ample foreign exchange reserves buffer.][และไทยมีทุนสำรองมากพอ ฐานะหนี้สกุลต่างประเทศต่ำ]ผมจึงขอแนะนำให้รัฐบาลนำข้อวิเคราะห์เหล่านี้ไปปรับปรุงนโยบายเป็นการด่วนวันที่ 30 เมษายน 2568นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปลี่ยนวิกฤตภาษีทรัมป์เป็นโอกาสกู้ 5 แสนล้าน ดันมรดกหนี้ทะลุ 70% : คนเคาะข่าว 28-04-68
    : ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #วิกฤตภาษีทรัมป์ #หนี้สาธารณะ #กู้เงิน5แสนล้าน #เศรษฐกิจไทย #ธีระชัยภูวนาถนรานุบาล #ข่าวเศรษฐกิจ #นโยบายการเงิน #นงวดีถนิมมาลย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย #หนี้เกินตัว #การเงินการคลัง #thaitimes #นโยบายเศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
    เปลี่ยนวิกฤตภาษีทรัมป์เป็นโอกาสกู้ 5 แสนล้าน ดันมรดกหนี้ทะลุ 70% : คนเคาะข่าว 28-04-68 : ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #วิกฤตภาษีทรัมป์ #หนี้สาธารณะ #กู้เงิน5แสนล้าน #เศรษฐกิจไทย #ธีระชัยภูวนาถนรานุบาล #ข่าวเศรษฐกิจ #นโยบายการเงิน #นงวดีถนิมมาลย์ #วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย #หนี้เกินตัว #การเงินการคลัง #thaitimes #นโยบายเศรษฐกิจ #เศรษฐกิจโลก
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 232 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • ฐานะการคลังของไทย แย่แล้ว!? : [Biz Talk]

    ‘ฐานะการคลังแน่นปึ้ก’คำยืนยันจาก ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ระบุแม้เศรษฐกิจชะลอตัว ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน แต่ฐานะการคลังของไทย ยังแข็งแกร่ง และยังไม่จำเป็นต้องขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะ /หากรัฐบาล มีแนวคิดกู้เงินเพิ่ม และทำให้หนี้สาธารณะเกินเพดาน 70% ต่อจีดีพี กฎหมายระบุชัด มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?
    ฐานะการคลังของไทย แย่แล้ว!? : [Biz Talk] ‘ฐานะการคลังแน่นปึ้ก’คำยืนยันจาก ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ระบุแม้เศรษฐกิจชะลอตัว ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน แต่ฐานะการคลังของไทย ยังแข็งแกร่ง และยังไม่จำเป็นต้องขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะ /หากรัฐบาล มีแนวคิดกู้เงินเพิ่ม และทำให้หนี้สาธารณะเกินเพดาน 70% ต่อจีดีพี กฎหมายระบุชัด มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง?
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 651 มุมมอง 46 0 รีวิว
  • บทวิเคราะห์ของ สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีคลัง “นโยบายปรับภาษี (Tariff) ของ Trump จะทำให้โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วพัฒนาการของการค้าโลกในช่วงประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา มีการตั้งองค์การด้านการค้าโลกขึ้น เริ่มด้วยการตั้ง GATTS แล้วต่อมาปรับเป็น WTO (World Trade Organization) เพื่อสร้างกฎเกณฑ์การค้าขายระหว่างประเทศและกำกับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแนวทางการค้าเสรี ช่วงนี้จะมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ประเทศใหญ่ๆในยุโรป และประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวให้ตนเองมั่งคั่งและสะสมความร่ำรวย เข้าไปควบคุมตลาดเงินและสกุลเงินตราสำคัญ รวมทั้งควบคุมตลาดการค้าหลักๆให้เป็นระเบียบและเอื้อต่อการขยายตัวของการค้าขายของแต่ละประเทศเพื่อประโยชน์ต่อตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ .แต่แล้วในช่วงดังกล่าวนี้ประเทศจีนเสือหลับแห่งเอเชีย ที่ได้ผู้นำประเทศที่ขึ้นมาพลิกผันประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ชื่อ เติ้ง เสี่ยวผิง เติ้งได้ทำการปฏิวัติและปฏิรูปประเทศในทุกด้านโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่แบบเก่าจนแบบที่ต้องใช้เทคนิคล้ำหน้า จนขณะนี้จีนภายใต้ผู้นำชื่อ สี จิ้น ผิง ที่เข้มแข็ง มือสะอาด มีฝีมือ มีคุณธรรม มีความตั้งใจจริง เข้ามาบริหารประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดให้ใหญ่โตจนทัดเทียมกับประเทศสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน จนผู้นำของสหรัฐอย่าง Trump รู้สึกเสียหน้ามาก. ที่มาของการใช้มาตรการทำสงครามการค้าของ Trump ความแข็งแกร่งของจีนในขณะนี้ Trump ได้เฝ้าดูแลมาร่วม 8 ปี เมื่อเขาสามารถเข้ามาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอีกครั้งก็ไม่รีรอที่จะลงมือนำนโยบายปรับภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก (Tariff) ชนิดสุดโต่งและจำเพาะเจาะจงมาใช้กับประเทศจีนโดยทันที ขณะเดียวกันก็ได้ประกาศใช้กับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ทั่วโลกด้วย แต่มาตรการจะเบากว่าที่ใช้กับจีน. สิ่งที่เห็นตามที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ก็คือ การเกิดแรงกระแทกอย่างมากต่อวิถีการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ทั่วโลก ไม่ต้องถามว่าทำไม Trump ต้องทำแบบนี้ เพราะเขาเองเห็นชัดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาของเขากำลังตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดดุลการค้าอย่างมากที่เกิดต่อเนื่องมานานและมีหนี้สาธารณะสูงมาก .Trump ยังได้เห็นชัดว่า ฝ่ายของจีนมีพวกพ้องมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดตั้งกลุ่ม BRICS ประกอบด้วย Brazil, Russia, India, China และ South Africa รวมหัวกันทำการค้าต่อกันอย่างใกล้ชิด คิดใช้สกุลเงินตราของตนเอง โดยหันหน้าหนีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ.เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่ม BRICS ยังค่อยๆลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐที่แต่ละประเทศถือไว้มากมายลงไปโดยการขายออก และหันไปซื้อทองคำหรือกระจายการลงทุนเป็นอย่างอื่น ขณะเดียวกันนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ในตลาดเงินก็ทำการทิ้งพันธบัตรสหรัฐตามกันไปด้วย มีผลทำให้พันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ในอนาคตจำนวนมากของสหรัฐด้อยค่าลงมากอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน.สรุปได้ว่า Trump ได้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาตอนนี้ได้ต่ำต้อยลงอย่างรวดเร็วมาก ตัวเองจึงจำเป็นต้องทำตัวเป็นอัศวินขี่ม้าขาวเข้ามากู้ประเทศให้พลิกผันให้สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งอย่างเต็มตัวต่อไป ที่ Trump ตั้งใจจะทำก่อนและให้แรงมากคือเล่นงานด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าของสินค้าจีนอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกัน แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน นี่เป็นแค่ยกแรกแค่นั้น.ประเทศน้อยใหญ่ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายต่างก็มองการกระทำของ Trump ในแง่ลบ แม้แต่ประธาน Federal Reserve ของสหรัฐเองอย่าง Jerome Powell เองก็มีอาการกึ่งช็อคกึ่งหัวหมุนกับนโยบายประเภทบ้าบิ่นที่ประธานาธิบดีของเขาจัดมาเป็นชุดๆ Powell ถึงกับกล่าวว่านโยบายของ Trump ที่นำออกมาใช้นี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำและการว่างงานจะมีมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นก็จะปั่นป่วนมาก ความตั้งใจที่ Fed จะลดดอกเบี้ยลงจึงทำได้ยากขึ้นซึ่งความเห็นของประธาน Fed ดังกล่าว Trump ไม่พอใจมากเพราะเขาอยากให้มีการลดดอกเบี้ยถึงกับเอ่ยออกมาว่าคงต้องคิดเรื่องการเด้งประธาน Fed ซะแล้ว ฟังคล้ายกำลังจะเอาอย่างประเทศไทย.แนวทางของไทยที่จะรับมือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประเทศทุกประเทศที่โดนผลกระทบในเรื่องการขึ้น Tariff ของ Trump ต่างก็กำลังระดมความคิดและเตรียมตัวที่จะส่งผู้แทนไปเจรจา ยกเว้นจีนประเทศเดียวที่ขึ้นป้ายจะสู้กับสหรัฐอย่างแน่วแน่.สำหรับประเทศไทย ยังฟังไม่ได้ศัพท์จากฝ่ายรัฐบาลว่าจะมีกลยุทธ์ในการรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ชี้ให้เห็นชัดว่าศักยภาพของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาใหญ่ต่ำมาก ฟังความได้อย่างเดียวจากท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะใช้นโยบายและแนวทางเหมือนกับประเทศอาเซียนอื่นๆเท่านั้นตอนนี้ก็เห็นภาพชัดขึ้นอีกจากคณะผู้แทนที่เตรียมการจะไปเจรจา โดยจะไปบอกทางสหรัฐว่าไทยเราจะซื้อสินค้าจากเขามากขึ้น เช่น LNG ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น ถ้าจะเดาก็จะขอให้ทางสหรัฐบันยะบันยังกับการเพิ่มภาษีสินค้าที่นำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าถึง 18 % ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด.ส่วนผลกระทบต่อไทย เท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามจะบอกพอสังเขป สรุปได้ว่าการส่งออกของไทยจะโดนกระทบมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป และจะทำให้การเติบโตของ GDP ในปีนี้ลดต่ำกว่าเป้าเหลือโตไม่ถึง 2.5 % และอัตราเงินเฟ้อของไทยก็จะชะลอลงด้วย นี่ยังไม่พูดถึงผลกระทบในปีหน้าและต่อๆไป ว่าจะรุนแรงสักแค่ไหน เชื่อได้เถอะครับมันแรงเกินคาด.ความเห็นผมนั้น เห็นว่าไทยเราจะโดนหนักกว่าที่รัฐบาลและหน่วยราชการไทยประเมินไว้มาก เกินศักยภาพของรัฐบาลไทยชุดนี้จะรับมือได้ วิกฤตที่จะเกิดขึ้นจากเรื่อง Tariff หนนี้ ไม่ใช่ Covid 19 นะครับ มันเป็นเรื่องประเทศใครประเทศมัน ใครมีผู้นำเก่งก็ทำให้เบาได้ สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้.แนวทางในการคิดแก้วิกฤตของประเทศขนาดเล็กผมอยากนำท่านผู้อ่านไปดูว่าผู้นำของสิงคโปร์อย่างอดีตนายกลี เซียนลุง ได้พูดเมื่อไม่กี่วันมานี้ซึ่งดีมาก เขาเริ่มบอกประชาชนรวมทั้งคณะรัฐมนตรีที่บริหารประเทศและนักธุรกิจ นักลงทุนของเขาว่าแม้จะมีความไม่แน่นอนในช่วง 90 วันที่ Trump จะให้ประเทศอื่นๆ นอกจากจีนไปคิดกันให้ดี แต่ก็ต้องมองให้ออกว่าทุกอย่างจะไม่กลับไปเหมือนก่อนหน้านี้อีกแล้ว ดังนั้น เราต้องกังวลและคิดให้ตกว่ามันจะส่งผลกับเรามากแค่ไหน ต้องตระหนักให้ได้ว่าวิกฤตที่จะเกิดทั่วโลกนี้ บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมันแตกต่างไปจากเดิมมาก .ลี เซียนลุง ชี้ให้เห็นชัดว่า การขึ้นภาษีหรือ Tariff ไปทั่วโลกครั้งนี้มันจะก่อกวนต่อการผลิตมากกว่าที่คิด เพราะ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่การผลิตทุกอย่างจะหยุดชะงัก แผนการผลิตเดิมทุกอย่างจะหายไป และจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) อย่างรวดเร็ว และขอให้คาดหวังไว้ได้เลยว่า ปัญหานี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน.หลังจากลี เซียนลุง พูดเรื่องนี้ได้ไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ที่มีเสียงสนับสนุนหนาแน่นอยู่ได้ประเทศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน นี้เอง เหตุผลเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้นำใหม่ขึ้นมา นี่คือสิงคโปร์ นี่คือสิ่งที่เขาเป็นชาติที่เจริญได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงจนเราไม่สามารถแหงนหน้าขึ้นไปมองเขาได้แล้ว.ทางรอดของไทยจะเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดนี้ เรามาดูว่าประเทศไทยเราจะมีทางรอดแค่ไหนก่อนเราต้องส่องกระจกดูตัวเอง และต้องฟังดูว่ามีใครมองเราอย่างไรบ้างให้ชัดก่อน เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองได้มีการชี้แนะจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งหนึ่งว่า “ประเทศไทยนั้นมีเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นตัวหลักที่ทำให้การบริหารประเทศในทุกด้านเดินหน้าไม่ได้” และเมื่อมีนาคม 2568 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยน่าห่วงเทียบได้เป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย”เป็นคนป่วยยังไงหรือ ทางด้านเศรษฐกิจก็เห็นกันชัดอยู่แล้วว่าไทยเรา กำลังเผชิญกับหนี้สาธารณะสูงมาก ภาษีเก็บได้น้อย ช่องทางในการหาเงินมาบริหารประเทศยังชักหน้าไม่ถึงหลัง อนาคตด้านการคลังริบหรี่ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเรื่องหนี้ครัวเรือนก็ไม่มีทางจะแก้ให้เบาบางลงได้ แม้ไม่มีเรื่องการปรับ Tariff ของ Trump ประเทศไทยเราก็มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากเกินอยู่แล้ว นี่คืออาการของคนป่วยเรื้อรังแห่งเอเชีย.ไม่ต้องสาธยายกันมาก อีกเรื่องทุกคนก็รู้ดีอยู่ว่า การเมืองของไทยยักแย่ยักยันอยู่ในปลักโคลนตมเดิมจนโงหัวไม่ขึ้นมานานแล้ว การเล่นการเมืองของนักการเมืองไทยเด็กๆก็รู้ว่าเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ใครจะเห็นต่างกี่คนก็บอกมา.เมื่อองคาพยพของการเมืองไทยซึ่งมีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลมาบริหารประเทศจากรากเหง้าเก่าๆที่รู้กันอยู่ เมื่อเจอกับปัญหาใหญ่ระดับโลกชนิดที่ว่าหันไปทางไหนก็มากระทบเราทั้งนั้น ท่านผู้ที่ได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ เชื่อและมั่นใจหรือไม่ว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมากระทบประเทศเราได้ .หันไปดูนโยบายของพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่า ตอนนี้นโยบายของพวกเขาเหล่านั้น มันเน่าบูดกันแทบหมดแล้วครับ ถ้าจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมีแรงกระแทกก่อให้เกิดวิกฤตที่ใหญ่เกินคาด ด้วยการปรับ ครม. แต่ยังดันทุรังคงสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ไว้ น่าจะไม่เป็นการกระทำของผู้นำที่รักชาติจริง”
    บทวิเคราะห์ของ สมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีคลัง “นโยบายปรับภาษี (Tariff) ของ Trump จะทำให้โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วพัฒนาการของการค้าโลกในช่วงประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา มีการตั้งองค์การด้านการค้าโลกขึ้น เริ่มด้วยการตั้ง GATTS แล้วต่อมาปรับเป็น WTO (World Trade Organization) เพื่อสร้างกฎเกณฑ์การค้าขายระหว่างประเทศและกำกับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแนวทางการค้าเสรี ช่วงนี้จะมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย ประเทศใหญ่ๆในยุโรป และประเทศญี่ปุ่นได้ปรับตัวให้ตนเองมั่งคั่งและสะสมความร่ำรวย เข้าไปควบคุมตลาดเงินและสกุลเงินตราสำคัญ รวมทั้งควบคุมตลาดการค้าหลักๆให้เป็นระเบียบและเอื้อต่อการขยายตัวของการค้าขายของแต่ละประเทศเพื่อประโยชน์ต่อตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ .แต่แล้วในช่วงดังกล่าวนี้ประเทศจีนเสือหลับแห่งเอเชีย ที่ได้ผู้นำประเทศที่ขึ้นมาพลิกผันประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วและต่อเนื่อง ชื่อ เติ้ง เสี่ยวผิง เติ้งได้ทำการปฏิวัติและปฏิรูปประเทศในทุกด้านโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมตั้งแต่แบบเก่าจนแบบที่ต้องใช้เทคนิคล้ำหน้า จนขณะนี้จีนภายใต้ผู้นำชื่อ สี จิ้น ผิง ที่เข้มแข็ง มือสะอาด มีฝีมือ มีคุณธรรม มีความตั้งใจจริง เข้ามาบริหารประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดให้ใหญ่โตจนทัดเทียมกับประเทศสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน จนผู้นำของสหรัฐอย่าง Trump รู้สึกเสียหน้ามาก. ที่มาของการใช้มาตรการทำสงครามการค้าของ Trump ความแข็งแกร่งของจีนในขณะนี้ Trump ได้เฝ้าดูแลมาร่วม 8 ปี เมื่อเขาสามารถเข้ามาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอีกครั้งก็ไม่รีรอที่จะลงมือนำนโยบายปรับภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก (Tariff) ชนิดสุดโต่งและจำเพาะเจาะจงมาใช้กับประเทศจีนโดยทันที ขณะเดียวกันก็ได้ประกาศใช้กับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ทั่วโลกด้วย แต่มาตรการจะเบากว่าที่ใช้กับจีน. สิ่งที่เห็นตามที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ก็คือ การเกิดแรงกระแทกอย่างมากต่อวิถีการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ทั่วโลก ไม่ต้องถามว่าทำไม Trump ต้องทำแบบนี้ เพราะเขาเองเห็นชัดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาของเขากำลังตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดดุลการค้าอย่างมากที่เกิดต่อเนื่องมานานและมีหนี้สาธารณะสูงมาก .Trump ยังได้เห็นชัดว่า ฝ่ายของจีนมีพวกพ้องมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดตั้งกลุ่ม BRICS ประกอบด้วย Brazil, Russia, India, China และ South Africa รวมหัวกันทำการค้าต่อกันอย่างใกล้ชิด คิดใช้สกุลเงินตราของตนเอง โดยหันหน้าหนีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ.เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่ม BRICS ยังค่อยๆลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐที่แต่ละประเทศถือไว้มากมายลงไปโดยการขายออก และหันไปซื้อทองคำหรือกระจายการลงทุนเป็นอย่างอื่น ขณะเดียวกันนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ในตลาดเงินก็ทำการทิ้งพันธบัตรสหรัฐตามกันไปด้วย มีผลทำให้พันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ในอนาคตจำนวนมากของสหรัฐด้อยค่าลงมากอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน.สรุปได้ว่า Trump ได้มองเห็นอย่างชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาตอนนี้ได้ต่ำต้อยลงอย่างรวดเร็วมาก ตัวเองจึงจำเป็นต้องทำตัวเป็นอัศวินขี่ม้าขาวเข้ามากู้ประเทศให้พลิกผันให้สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งอย่างเต็มตัวต่อไป ที่ Trump ตั้งใจจะทำก่อนและให้แรงมากคือเล่นงานด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าของสินค้าจีนอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทำนองเดียวกัน แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน นี่เป็นแค่ยกแรกแค่นั้น.ประเทศน้อยใหญ่ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศทั้งหลายต่างก็มองการกระทำของ Trump ในแง่ลบ แม้แต่ประธาน Federal Reserve ของสหรัฐเองอย่าง Jerome Powell เองก็มีอาการกึ่งช็อคกึ่งหัวหมุนกับนโยบายประเภทบ้าบิ่นที่ประธานาธิบดีของเขาจัดมาเป็นชุดๆ Powell ถึงกับกล่าวว่านโยบายของ Trump ที่นำออกมาใช้นี้จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำและการว่างงานจะมีมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นก็จะปั่นป่วนมาก ความตั้งใจที่ Fed จะลดดอกเบี้ยลงจึงทำได้ยากขึ้นซึ่งความเห็นของประธาน Fed ดังกล่าว Trump ไม่พอใจมากเพราะเขาอยากให้มีการลดดอกเบี้ยถึงกับเอ่ยออกมาว่าคงต้องคิดเรื่องการเด้งประธาน Fed ซะแล้ว ฟังคล้ายกำลังจะเอาอย่างประเทศไทย.แนวทางของไทยที่จะรับมือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประเทศทุกประเทศที่โดนผลกระทบในเรื่องการขึ้น Tariff ของ Trump ต่างก็กำลังระดมความคิดและเตรียมตัวที่จะส่งผู้แทนไปเจรจา ยกเว้นจีนประเทศเดียวที่ขึ้นป้ายจะสู้กับสหรัฐอย่างแน่วแน่.สำหรับประเทศไทย ยังฟังไม่ได้ศัพท์จากฝ่ายรัฐบาลว่าจะมีกลยุทธ์ในการรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ชี้ให้เห็นชัดว่าศักยภาพของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาใหญ่ต่ำมาก ฟังความได้อย่างเดียวจากท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะใช้นโยบายและแนวทางเหมือนกับประเทศอาเซียนอื่นๆเท่านั้นตอนนี้ก็เห็นภาพชัดขึ้นอีกจากคณะผู้แทนที่เตรียมการจะไปเจรจา โดยจะไปบอกทางสหรัฐว่าไทยเราจะซื้อสินค้าจากเขามากขึ้น เช่น LNG ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น ถ้าจะเดาก็จะขอให้ทางสหรัฐบันยะบันยังกับการเพิ่มภาษีสินค้าที่นำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าถึง 18 % ของมูลค่าการส่งออกของไทยทั้งหมด.ส่วนผลกระทบต่อไทย เท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามจะบอกพอสังเขป สรุปได้ว่าการส่งออกของไทยจะโดนกระทบมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป และจะทำให้การเติบโตของ GDP ในปีนี้ลดต่ำกว่าเป้าเหลือโตไม่ถึง 2.5 % และอัตราเงินเฟ้อของไทยก็จะชะลอลงด้วย นี่ยังไม่พูดถึงผลกระทบในปีหน้าและต่อๆไป ว่าจะรุนแรงสักแค่ไหน เชื่อได้เถอะครับมันแรงเกินคาด.ความเห็นผมนั้น เห็นว่าไทยเราจะโดนหนักกว่าที่รัฐบาลและหน่วยราชการไทยประเมินไว้มาก เกินศักยภาพของรัฐบาลไทยชุดนี้จะรับมือได้ วิกฤตที่จะเกิดขึ้นจากเรื่อง Tariff หนนี้ ไม่ใช่ Covid 19 นะครับ มันเป็นเรื่องประเทศใครประเทศมัน ใครมีผู้นำเก่งก็ทำให้เบาได้ สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้.แนวทางในการคิดแก้วิกฤตของประเทศขนาดเล็กผมอยากนำท่านผู้อ่านไปดูว่าผู้นำของสิงคโปร์อย่างอดีตนายกลี เซียนลุง ได้พูดเมื่อไม่กี่วันมานี้ซึ่งดีมาก เขาเริ่มบอกประชาชนรวมทั้งคณะรัฐมนตรีที่บริหารประเทศและนักธุรกิจ นักลงทุนของเขาว่าแม้จะมีความไม่แน่นอนในช่วง 90 วันที่ Trump จะให้ประเทศอื่นๆ นอกจากจีนไปคิดกันให้ดี แต่ก็ต้องมองให้ออกว่าทุกอย่างจะไม่กลับไปเหมือนก่อนหน้านี้อีกแล้ว ดังนั้น เราต้องกังวลและคิดให้ตกว่ามันจะส่งผลกับเรามากแค่ไหน ต้องตระหนักให้ได้ว่าวิกฤตที่จะเกิดทั่วโลกนี้ บางสิ่งบางอย่างที่สำคัญมันแตกต่างไปจากเดิมมาก .ลี เซียนลุง ชี้ให้เห็นชัดว่า การขึ้นภาษีหรือ Tariff ไปทั่วโลกครั้งนี้มันจะก่อกวนต่อการผลิตมากกว่าที่คิด เพราะ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่การผลิตทุกอย่างจะหยุดชะงัก แผนการผลิตเดิมทุกอย่างจะหายไป และจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) อย่างรวดเร็ว และขอให้คาดหวังไว้ได้เลยว่า ปัญหานี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน.หลังจากลี เซียนลุง พูดเรื่องนี้ได้ไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ที่มีเสียงสนับสนุนหนาแน่นอยู่ได้ประเทศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน นี้เอง เหตุผลเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้นำใหม่ขึ้นมา นี่คือสิงคโปร์ นี่คือสิ่งที่เขาเป็นชาติที่เจริญได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงจนเราไม่สามารถแหงนหน้าขึ้นไปมองเขาได้แล้ว.ทางรอดของไทยจะเป็นอย่างไร ท้ายที่สุดนี้ เรามาดูว่าประเทศไทยเราจะมีทางรอดแค่ไหนก่อนเราต้องส่องกระจกดูตัวเอง และต้องฟังดูว่ามีใครมองเราอย่างไรบ้างให้ชัดก่อน เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองได้มีการชี้แนะจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งหนึ่งว่า “ประเทศไทยนั้นมีเรื่องคอร์รัปชั่นเป็นตัวหลักที่ทำให้การบริหารประเทศในทุกด้านเดินหน้าไม่ได้” และเมื่อมีนาคม 2568 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยน่าห่วงเทียบได้เป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย”เป็นคนป่วยยังไงหรือ ทางด้านเศรษฐกิจก็เห็นกันชัดอยู่แล้วว่าไทยเรา กำลังเผชิญกับหนี้สาธารณะสูงมาก ภาษีเก็บได้น้อย ช่องทางในการหาเงินมาบริหารประเทศยังชักหน้าไม่ถึงหลัง อนาคตด้านการคลังริบหรี่ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเรื่องหนี้ครัวเรือนก็ไม่มีทางจะแก้ให้เบาบางลงได้ แม้ไม่มีเรื่องการปรับ Tariff ของ Trump ประเทศไทยเราก็มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากเกินอยู่แล้ว นี่คืออาการของคนป่วยเรื้อรังแห่งเอเชีย.ไม่ต้องสาธยายกันมาก อีกเรื่องทุกคนก็รู้ดีอยู่ว่า การเมืองของไทยยักแย่ยักยันอยู่ในปลักโคลนตมเดิมจนโงหัวไม่ขึ้นมานานแล้ว การเล่นการเมืองของนักการเมืองไทยเด็กๆก็รู้ว่าเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ใครจะเห็นต่างกี่คนก็บอกมา.เมื่อองคาพยพของการเมืองไทยซึ่งมีการแต่งตั้งคณะรัฐบาลมาบริหารประเทศจากรากเหง้าเก่าๆที่รู้กันอยู่ เมื่อเจอกับปัญหาใหญ่ระดับโลกชนิดที่ว่าหันไปทางไหนก็มากระทบเราทั้งนั้น ท่านผู้ที่ได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกพวกเขาเข้ามาบริหารประเทศ เชื่อและมั่นใจหรือไม่ว่าเขาจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมากระทบประเทศเราได้ .หันไปดูนโยบายของพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่า ตอนนี้นโยบายของพวกเขาเหล่านั้น มันเน่าบูดกันแทบหมดแล้วครับ ถ้าจะแก้ปัญหาใหญ่ที่จะมีแรงกระแทกก่อให้เกิดวิกฤตที่ใหญ่เกินคาด ด้วยการปรับ ครม. แต่ยังดันทุรังคงสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ไว้ น่าจะไม่เป็นการกระทำของผู้นำที่รักชาติจริง”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 488 มุมมอง 0 รีวิว
  • Mar-a-Lago Accord พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก!! : [Biz Talk]
    สัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจโลก ‘Mar-a-Lago Accord’ เป็นแนวทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรัง และหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้นของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯเสนอให้ประเทศที่ต้องการเก็บ ดอลลาร์ฯ เป็นทุนสำรอง และไม่ต้องการโดนภาษีการค้า ให้ถือดอลลาร์ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล 100 ปีแทน ทำให้ไม่ต้องถือดอลลาร์โดยตรง ช่วยให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง และยังช่วยลดมูลค่าหนี้ของสหรัฐด้วย
    Mar-a-Lago Accord พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก!! : [Biz Talk] สัญญาณเตือนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจโลก ‘Mar-a-Lago Accord’ เป็นแนวทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างเรื้อรัง และหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงขึ้นของสหรัฐฯ ภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐฯเสนอให้ประเทศที่ต้องการเก็บ ดอลลาร์ฯ เป็นทุนสำรอง และไม่ต้องการโดนภาษีการค้า ให้ถือดอลลาร์ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล 100 ปีแทน ทำให้ไม่ต้องถือดอลลาร์โดยตรง ช่วยให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง และยังช่วยลดมูลค่าหนี้ของสหรัฐด้วย
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 691 มุมมอง 30 0 รีวิว
  • รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
    ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป

    เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว

    จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้

    วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ?
    แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540

    สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ

    ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง

    โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

    เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน

    จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต
    ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล

    พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น

    - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6%

    - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี

    - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น

    แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้

    ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567

    แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ?

    สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย

    แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567

    ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น

    ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท
    ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท
    ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท

    เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น

    ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี

    นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท

    Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน
    ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ
    ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

    รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น
    - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ
    - PLN บริษัทไฟฟ้า
    - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม

    แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล

    เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73%

    เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย
    ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ

    จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย

    ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%)

    ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5%

    โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง

    ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)

    อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย

    แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว
    ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน

    สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้..

    ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

    รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara
    ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
    ╔═══════════╗
    ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    TikTok - tiktok.com/@longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com
    -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played
    -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators
    -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html
    -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ? แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6% - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้ ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567 แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ? สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567 ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ - PLN บริษัทไฟฟ้า - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73% เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%) ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5% โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้.. ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย ╔═══════════╗ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download ╚═══════════╝ ติดตามลงทุนแมนได้ที่ Website - longtunman.com Blockdit - blockdit.com/longtunman Facebook - facebook.com/longtunman Twitter - twitter.com/longtunman Instagram - instagram.com/longtunman YouTube - youtube.com/longtunman TikTok - tiktok.com/@longtunman Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829 Soundcloud - soundcloud.com/longtunman References -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 992 มุมมอง 0 รีวิว
  • TDRI เตือนรัฐหยุดแจกเงินดิจิทัล หลังไปไม่ช่วยกระตุ้น ศก. แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน

    (21 มี.ค. 68) ดร.สมชัย จิตสุชน เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน ขณะที่เฟส 3 หนุนทบทวนเงื่อนไขเปิดทางใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิลได้ หวังพัฒนาทักษะคน เตือน รัฐบาลรับมือเศรษฐกิจซบเซา จากปัจจัยภายนอก-ในประเทศ โดยเฉพาะความปั่นป่วนจากสงครามการค้า – หนี้ครัวเรือนสูง ห่วงภาระการคลัง ทำเรตติงประเทศตก

    ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงนโยบายเงินดิจิทัลเฟส 3 ที่ให้กับผู้มีอายุ 16-20 ปีว่า มีการคาดการณ์กันว่าในเฟสที่ 3 นี้อาจได้ผลบ้าง เพราะกลุ่มคนที่แจกยังไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ที่ไม่มากนัก เมื่อได้เงินมาอาจจะใช้เร็ว แต่เชื่อว่าไม่น่าจะได้ผลมากกว่าเฟส 1 ที่มอบให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตามหากอยากให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจริง ๆ รัฐบาลควรละทิ้งแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น และไม่ควรเปิดทางให้นำเงินจำนวนนี้ไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ควรกำหนดให้ใช้ไปกับการหาความรู้ อัปสกิล รีสกิล ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเยาวชนพอดี เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่กำลังแรงงานซึ่งอาจจะนำเงินจำนวนนี้ไปเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งแม้จะไม่เห็นผลในระยะสั้นมากนัก แต่ผลในระยะยาวจะดีกว่ากันมากเพราะเป็นการดึงศักยภาพของคนซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์

    สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรียืนยันว่าทุกคนที่เข้าเงื่อนไขจะได้รับสิทธิทั้งหมดนั้น ดร.สมชัย กล่าวว่า เป็นการทำให้ตรงกับที่หาเสียงไว้ แต่เห็นชัดแล้วว่าการดำเนินโครงการทั้งเฟส 1- 2 รวมทั้งเฟส 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีจริงอย่างที่หาเสียงไว้ จึงควรทบทวน

    “ตอนที่หาเสียงไว้ และตอนที่เป็นรัฐบาลใหม่ ๆ บอกว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู บางคนบอกจะทำให้ไทยหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ด้วยซ้ำ ซึ่งก็ไม่มีคนเชื่อ และวันนี้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ในเมื่อมันพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ก็ไม่ควรจะเดินหน้าต่อ เรามองว่าเงินนี้นำไปทําอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้มากกว่าเยอะ” ดร.สมชัยระบุ

    เตือนหยุดสุรุ่ยสุร่ายแจกเงินหมื่น แนะใช้งบพัฒนาดิจิทัล อินเทอร์เน็ตฟรี ดึงศักยภาพคน หนุนเศรษฐกิจ ดร.สมชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากงบประมาณหลายแสนล้านที่ต้องเสียไปจากการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังมีต้นทุนค่าเสียโอกาสด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียที่มากกว่าตัวเงินเสียอีก เพราะอย่าลืมว่าวันนี้ภาคการคลังของไทยอ่อนแอมาก ประเทศไทยมีเงินน้อยลง ประชาชนก็มีเงินน้อยลง เพราะฉะนั้นนำเงินงบประมาณไปใช้ต้องคิดอย่างระมัดระวัง ถ้านำไปใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้ จนทำให้เรื่องที่สมควรใช้จะถูกตัดทิ้งไปก็น่าเสียดาย เช่น เรื่องการพัฒนาทักษะของคน การปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งระบบสวัสดิการสังคมของไทยก็ยังมีปัญหาในบางจุด และเรื่องของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัล ซึ่งจะทําให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งกันดีขึ้น ทั้งหมดนี้จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณของรัฐบาลในการเดินหน้า แต่อาจถูกชะลอออกไปเพราะเอาเงินมาใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้แบบนี้ ดังนั้นไม่สนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าเงินดิจิทัลในเฟสต่อไปอีก

    “รัฐบาลควรนำงบประมาณไปลงทุนในเรื่องของดิจิทัล ทําอินเทอร์เน็ตฟรี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยได้มาก ในเรื่องของผลิตภาพของประชาชน เพราะเกิดการพัฒนาตัวเองและสร้างรายได้ ผมเชื่อว่ามีอัจฉริยะที่ซ่อนอยู่ตามซอกมุมต่าง ๆ ของประเทศอยู่มาก เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้รับโอกาส รัฐบาลก็ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่เขามีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าทํา แต่คงไม่ได้ทํา ถ้าเกิดว่าต้องมาจ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่ายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ” ดร.สมชัยระบุ

    สงครามการค้าจะทำเศรษฐกิจไทยซบเซา ห่วงภาคการคลังมีปัญหา หนี้รัฐ-ครัวเรือนสูงชนเพดาน ดร.สมชัย ในฐานะอดีตกนง.ยังมีข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า ต้องพยายามแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น อย่าเน้นระยะสั้น เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต กาสิโน พนันออนไลน์ แต่ควรเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มมาตรการระยะยาวมากขึ้น และจะต้องเตรียมรับมือกับความยากลําบากที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามการค้าที่คาดว่าจะมาแบบเต็มรูปแบบเมื่อเทียบกับยุคทรัมป์ 1.0 ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายปีที่ผ่านมาถูกมองว่าดีเกินไปจนน่าจะมาถึงอาจจะซบเซาลงตามวัฏจักร รวมทั้งเรื่องของสงครามยูเครนในยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อไทยในฐานประเทศที่พึ่งพาการส่งออก และท่องเที่ยวมาก ขณะที่ในประเทศเองหนี้ครัวเรือนสูง ความสามารถในการผลิตไม่ได้ดีมากนัก เพราะฉะนั้นจะมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเข้ามาพร้อมกัน

    “เศรษฐกิจคงซบเซาต่อไป และมองไป 4 ปีถัดไป ภาพก็จะคล้ายกันถ้าไม่ได้มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และถ้ามีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่ระมัดระวังแบบนี้ ภาคการคลังจะมีปัญหา หนี้สาธารณะก็คงจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีภายในไม่กี่ปีนี้ ในขณะที่ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ก็มีสิทธิ์ที่จะขึ้นไปใกล้ ๆ ชน 15 เปอร์เซ็นต์ที่กําหนดในกฎหมาย ทั้งหมดนี้จะทําให้เรตติ้งของภาครัฐไทยแย่ลงในสายตาของบริษัทประเมินเรตติง ซึ่งเป็นผลเสียระยะยาว เพราะว่าหมายถึง ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาล และจะลามไปถึงภาคเอกชนอาจจะสูงขึ้น ซึ่งก็จะซ้ำเติมเรื่องของเศรษฐกิจเข้าไปอีก” ดร.สมชัยกล่าว

    Cr. #TheStatesTimes
    TDRI เตือนรัฐหยุดแจกเงินดิจิทัล หลังไปไม่ช่วยกระตุ้น ศก. แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน (21 มี.ค. 68) ดร.สมชัย จิตสุชน เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน ขณะที่เฟส 3 หนุนทบทวนเงื่อนไขเปิดทางใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัปสกิล-รีสกิลได้ หวังพัฒนาทักษะคน เตือน รัฐบาลรับมือเศรษฐกิจซบเซา จากปัจจัยภายนอก-ในประเทศ โดยเฉพาะความปั่นป่วนจากสงครามการค้า – หนี้ครัวเรือนสูง ห่วงภาระการคลัง ทำเรตติงประเทศตก ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงนโยบายเงินดิจิทัลเฟส 3 ที่ให้กับผู้มีอายุ 16-20 ปีว่า มีการคาดการณ์กันว่าในเฟสที่ 3 นี้อาจได้ผลบ้าง เพราะกลุ่มคนที่แจกยังไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ที่ไม่มากนัก เมื่อได้เงินมาอาจจะใช้เร็ว แต่เชื่อว่าไม่น่าจะได้ผลมากกว่าเฟส 1 ที่มอบให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตามหากอยากให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจริง ๆ รัฐบาลควรละทิ้งแนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น และมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น และไม่ควรเปิดทางให้นำเงินจำนวนนี้ไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ควรกำหนดให้ใช้ไปกับการหาความรู้ อัปสกิล รีสกิล ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มเยาวชนพอดี เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่กำลังแรงงานซึ่งอาจจะนำเงินจำนวนนี้ไปเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งแม้จะไม่เห็นผลในระยะสั้นมากนัก แต่ผลในระยะยาวจะดีกว่ากันมากเพราะเป็นการดึงศักยภาพของคนซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์ สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรียืนยันว่าทุกคนที่เข้าเงื่อนไขจะได้รับสิทธิทั้งหมดนั้น ดร.สมชัย กล่าวว่า เป็นการทำให้ตรงกับที่หาเสียงไว้ แต่เห็นชัดแล้วว่าการดำเนินโครงการทั้งเฟส 1- 2 รวมทั้งเฟส 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีจริงอย่างที่หาเสียงไว้ จึงควรทบทวน “ตอนที่หาเสียงไว้ และตอนที่เป็นรัฐบาลใหม่ ๆ บอกว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู บางคนบอกจะทำให้ไทยหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ด้วยซ้ำ ซึ่งก็ไม่มีคนเชื่อ และวันนี้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ในเมื่อมันพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ก็ไม่ควรจะเดินหน้าต่อ เรามองว่าเงินนี้นำไปทําอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้มากกว่าเยอะ” ดร.สมชัยระบุ เตือนหยุดสุรุ่ยสุร่ายแจกเงินหมื่น แนะใช้งบพัฒนาดิจิทัล อินเทอร์เน็ตฟรี ดึงศักยภาพคน หนุนเศรษฐกิจ ดร.สมชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากงบประมาณหลายแสนล้านที่ต้องเสียไปจากการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังมีต้นทุนค่าเสียโอกาสด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียที่มากกว่าตัวเงินเสียอีก เพราะอย่าลืมว่าวันนี้ภาคการคลังของไทยอ่อนแอมาก ประเทศไทยมีเงินน้อยลง ประชาชนก็มีเงินน้อยลง เพราะฉะนั้นนำเงินงบประมาณไปใช้ต้องคิดอย่างระมัดระวัง ถ้านำไปใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้ จนทำให้เรื่องที่สมควรใช้จะถูกตัดทิ้งไปก็น่าเสียดาย เช่น เรื่องการพัฒนาทักษะของคน การปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งระบบสวัสดิการสังคมของไทยก็ยังมีปัญหาในบางจุด และเรื่องของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัล ซึ่งจะทําให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งกันดีขึ้น ทั้งหมดนี้จําเป็นต้องใช้เงินงบประมาณของรัฐบาลในการเดินหน้า แต่อาจถูกชะลอออกไปเพราะเอาเงินมาใช้ในเรื่องที่ไม่สมควรใช้แบบนี้ ดังนั้นไม่สนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าเงินดิจิทัลในเฟสต่อไปอีก “รัฐบาลควรนำงบประมาณไปลงทุนในเรื่องของดิจิทัล ทําอินเทอร์เน็ตฟรี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยได้มาก ในเรื่องของผลิตภาพของประชาชน เพราะเกิดการพัฒนาตัวเองและสร้างรายได้ ผมเชื่อว่ามีอัจฉริยะที่ซ่อนอยู่ตามซอกมุมต่าง ๆ ของประเทศอยู่มาก เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้รับโอกาส รัฐบาลก็ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่เขามีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าทํา แต่คงไม่ได้ทํา ถ้าเกิดว่าต้องมาจ่ายเงินแบบสุรุ่ยสุร่ายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ” ดร.สมชัยระบุ สงครามการค้าจะทำเศรษฐกิจไทยซบเซา ห่วงภาคการคลังมีปัญหา หนี้รัฐ-ครัวเรือนสูงชนเพดาน ดร.สมชัย ในฐานะอดีตกนง.ยังมีข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า ต้องพยายามแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น อย่าเน้นระยะสั้น เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต กาสิโน พนันออนไลน์ แต่ควรเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มมาตรการระยะยาวมากขึ้น และจะต้องเตรียมรับมือกับความยากลําบากที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามการค้าที่คาดว่าจะมาแบบเต็มรูปแบบเมื่อเทียบกับยุคทรัมป์ 1.0 ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในหลายปีที่ผ่านมาถูกมองว่าดีเกินไปจนน่าจะมาถึงอาจจะซบเซาลงตามวัฏจักร รวมทั้งเรื่องของสงครามยูเครนในยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อไทยในฐานประเทศที่พึ่งพาการส่งออก และท่องเที่ยวมาก ขณะที่ในประเทศเองหนี้ครัวเรือนสูง ความสามารถในการผลิตไม่ได้ดีมากนัก เพราะฉะนั้นจะมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเข้ามาพร้อมกัน “เศรษฐกิจคงซบเซาต่อไป และมองไป 4 ปีถัดไป ภาพก็จะคล้ายกันถ้าไม่ได้มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และถ้ามีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่ระมัดระวังแบบนี้ ภาคการคลังจะมีปัญหา หนี้สาธารณะก็คงจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีภายในไม่กี่ปีนี้ ในขณะที่ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ก็มีสิทธิ์ที่จะขึ้นไปใกล้ ๆ ชน 15 เปอร์เซ็นต์ที่กําหนดในกฎหมาย ทั้งหมดนี้จะทําให้เรตติ้งของภาครัฐไทยแย่ลงในสายตาของบริษัทประเมินเรตติง ซึ่งเป็นผลเสียระยะยาว เพราะว่าหมายถึง ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาล และจะลามไปถึงภาคเอกชนอาจจะสูงขึ้น ซึ่งก็จะซ้ำเติมเรื่องของเศรษฐกิจเข้าไปอีก” ดร.สมชัยกล่าว Cr. #TheStatesTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 781 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เศรษฐกิจคงซบเซาต่อไป และมองไป 4 ปีถัดไป ภาพก็จะคล้ายกันถ้าไม่ได้มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และถ้ามีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่ระมัดระวังแบบนี้ ภาคการคลังจะมีปัญหา หนี้สาธารณะก็คงจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีภายในไม่กี่ปีนี้ ในขณะที่ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ก็มีสิทธิ์ที่จะขึ้นไปใกล้ ๆ ชน 15 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้จะทําให้เรตติ้งของภาครัฐไทยแย่ลง”
    .
    เป็นข้อห่วงใยของดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ต่อการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเลต ที่ยังคงยืนยันว่าจะมอบเงินหมื่นให้กับทุกคนที่เข้าเงื่อนไขในเฟสต่อไป
    .
    ทีดีอาร์ไอ ชวนอ่าน “สมชัย จิตสุชน”เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน https://tdri.or.th/2025/03/somchai-digital-wallet-opinion/
    “เศรษฐกิจคงซบเซาต่อไป และมองไป 4 ปีถัดไป ภาพก็จะคล้ายกันถ้าไม่ได้มีการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และถ้ามีการใช้จ่ายเงินอย่างไม่ระมัดระวังแบบนี้ ภาคการคลังจะมีปัญหา หนี้สาธารณะก็คงจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีภายในไม่กี่ปีนี้ ในขณะที่ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐบาล ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ก็มีสิทธิ์ที่จะขึ้นไปใกล้ ๆ ชน 15 เปอร์เซ็นต์ ทั้งหมดนี้จะทําให้เรตติ้งของภาครัฐไทยแย่ลง” . เป็นข้อห่วงใยของดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ต่อการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเลต ที่ยังคงยืนยันว่าจะมอบเงินหมื่นให้กับทุกคนที่เข้าเงื่อนไขในเฟสต่อไป . ทีดีอาร์ไอ ชวนอ่าน “สมชัย จิตสุชน”เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน https://tdri.or.th/2025/03/somchai-digital-wallet-opinion/
    TDRI.OR.TH
    "สมชัย จิตสุชน"เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน - TDRI: Thailand Development Research Institute
    ดร.สมชัย จิตสุชน เตือนรัฐ หยุดเดินหน้าโครงการเงินดิจิทัลในเฟสต่อไป แนะใช้งบแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาวแทน ขณะที่เฟส 3 หนุนทบทวนเงื่อนไขเปิดทางใช้เงินหมื่นซื้อคอร์สอัพสกิล-รีสกิลได้ หวังพัฒนาทักษะคน เตือน รัฐบาลรับมือเศรษฐกิจซบเซา จากปัจจัยภายนอก-ในประเทศ โดยเฉพาะความปั่นป่วนจากสงครามการค้า – หนี้ครัวเรือนสูง ห่วงภาระการคลัง ทำเรตติ้งประเทศตก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 381 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีลอน มัสก์ แฉกระทรวงคลังสหรัฐมี "แท่นพิมพ์ดอลล่าร์วิเศษ" 14 เครื่อง : คนเคาะข่าว 18 มีนาคม 2568
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #อีลอนมัสก์ #กระทรวงคลังสหรัฐ #แท่นพิมพ์เงิน #ดอลลาร์สหรัฐ #เศรษฐกิจโลก #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้อสหรัฐ #หนี้สาธารณะ #ระบบการเงินโลก #เฟด #นโยบายการเงิน #Geopolitics #ทนงขันทอง #thaiTimes #ข่าวต่างประเทศ
    อีลอน มัสก์ แฉกระทรวงคลังสหรัฐมี "แท่นพิมพ์ดอลล่าร์วิเศษ" 14 เครื่อง : คนเคาะข่าว 18 มีนาคม 2568 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #อีลอนมัสก์ #กระทรวงคลังสหรัฐ #แท่นพิมพ์เงิน #ดอลลาร์สหรัฐ #เศรษฐกิจโลก #เงินเฟ้อ #เงินเฟ้อสหรัฐ #หนี้สาธารณะ #ระบบการเงินโลก #เฟด #นโยบายการเงิน #Geopolitics #ทนงขันทอง #thaiTimes #ข่าวต่างประเทศ
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 907 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • สัญญาณวิกฤต! "เรย์ ดาลิโอ" เตือนสหรัฐเสี่ยงหนี้ล้นภายใน 3 ปี 📌ขณะที่ทรัมป์เดินหน้าลดภาษี-ขาดดุลงบประมาณทะลุ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ชี้ต้องลดการขาดดุลจาก 7.5% เหลือ 3% ของจีดีพีก่อน "หัวใจวาย" ทางเศรษฐกิจ👉"เรย์ ดาลิโอ" ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates เผย ชี้สหรัฐฯ เสี่ยงเจอวิกฤตหนี้ภายใน 3 ปี หากไม่ลดการใช้จ่ายที่เกินตัว "มันเหมือนกับอาการหัวใจวาย" หลังพบการขาดดุลงบประมาณพุ่งสูงถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณล่าสุด ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์อเมริกาด้านหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ทะลุ 36.2 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่ทรัมป์เดินหน้านโยบายลดภาษีครั้งใหญ่ จากล่าสุดที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านกรอบงบประมาณให้: ตัดการใช้จ่าย 2 ล้านล้านดอลลาร์ อนุญาตลดภาษี 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ใน 10 ปีข้างหน้าเพิ่มเพดานหนี้อีก 4 ล้านล้านดอลลาร์ดาลิโอคาดการณ์ว่าการขาดดุลจะพุ่งถึง 7.5% ของจีดีพี แต่ควรลดให้เหลือ 3% เพื่อรักษาเสถียรภาพการเงิน #imctnews รายงาน
    สัญญาณวิกฤต! "เรย์ ดาลิโอ" เตือนสหรัฐเสี่ยงหนี้ล้นภายใน 3 ปี 📌ขณะที่ทรัมป์เดินหน้าลดภาษี-ขาดดุลงบประมาณทะลุ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ชี้ต้องลดการขาดดุลจาก 7.5% เหลือ 3% ของจีดีพีก่อน "หัวใจวาย" ทางเศรษฐกิจ👉"เรย์ ดาลิโอ" ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates เผย ชี้สหรัฐฯ เสี่ยงเจอวิกฤตหนี้ภายใน 3 ปี หากไม่ลดการใช้จ่ายที่เกินตัว "มันเหมือนกับอาการหัวใจวาย" หลังพบการขาดดุลงบประมาณพุ่งสูงถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณล่าสุด ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในประวัติศาสตร์อเมริกาด้านหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ทะลุ 36.2 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่ทรัมป์เดินหน้านโยบายลดภาษีครั้งใหญ่ จากล่าสุดที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านกรอบงบประมาณให้: ตัดการใช้จ่าย 2 ล้านล้านดอลลาร์ อนุญาตลดภาษี 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ใน 10 ปีข้างหน้าเพิ่มเพดานหนี้อีก 4 ล้านล้านดอลลาร์ดาลิโอคาดการณ์ว่าการขาดดุลจะพุ่งถึง 7.5% ของจีดีพี แต่ควรลดให้เหลือ 3% เพื่อรักษาเสถียรภาพการเงิน #imctnews รายงาน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้านายกชื่อ "ประยุทธ" เศรษฐาจะพูดแบบนี้มั้ย

    นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ บอกขออนุญาตให้คำว่า “รัฐบาลเพื่อไทยสร้างหนี้อีกแล้ว” เป็นวาทกรรม เพราะหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐฯ ซึ่งหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เกิน 100 % ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ขณะที่ไทยไม่เกิน 70 % เมื่อ

    เมื่อถูกถามว่า เดี๋ยวก็ยังมีคนมาบอกว่าลูกหลานต้องมาใช้หนี้ นายเศรษฐา เผยว่า ทุกคนก็ต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่มันสำคัญว่าเอาหนี้ไปทำอะไรมากกว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้มาเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองการดูแลพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ การกู้เงิน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้ เพื่อให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น แต่หากมีการกู้มากกว่า 70-80 % เป็นหน้าที่ที่ต้องอธิบายว่าเอาไปทำอะไร ส่งผลต่อ GDP อย่างไร และจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงมาเมื่อไหร่ ต้องมีรายละเอียดชัด
    ถ้านายกชื่อ "ประยุทธ" เศรษฐาจะพูดแบบนี้มั้ย นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ บอกขออนุญาตให้คำว่า “รัฐบาลเพื่อไทยสร้างหนี้อีกแล้ว” เป็นวาทกรรม เพราะหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐฯ ซึ่งหนี้สาธารณะต่อจีดีพี เกิน 100 % ก็ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ขณะที่ไทยไม่เกิน 70 % เมื่อ เมื่อถูกถามว่า เดี๋ยวก็ยังมีคนมาบอกว่าลูกหลานต้องมาใช้หนี้ นายเศรษฐา เผยว่า ทุกคนก็ต้องใช้หนี้อยู่ดี แต่มันสำคัญว่าเอาหนี้ไปทำอะไรมากกว่า มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้มาเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองการดูแลพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ การกู้เงิน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกู้ เพื่อให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น แต่หากมีการกู้มากกว่า 70-80 % เป็นหน้าที่ที่ต้องอธิบายว่าเอาไปทำอะไร ส่งผลต่อ GDP อย่างไร และจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงมาเมื่อไหร่ ต้องมีรายละเอียดชัด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 638 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ระบุอเมริกาอาจแบกหนี้น้อยกว่าที่คิด และที่เป็นเช่นนั้นก็เพรามีการโกงที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินของกระทรวงการคลัง ในความคิดเห็นที่บอกกับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ระหว่างบินไปร่วมชมเกมซูเปอร์โบว์ล ในนิวออร์ลีนส์
    .
    ปัจจุบันตัวเลขหนี้สาธารณะของอเมริกาอยู่ที่ 36.2 ล้านล้านดอลลาร์ อ้างอิงข้อมูลจากกระทรงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งรับบทบางกลางในระบบการเงินโลก
    .
    ทรัมป์ มอบหมายหน้าที่แก่มหาเศรษฐีอีลอน มัสก์ ภายใต้ความทะเยอทะยานยกเครื่องรัฐบาลกลาง ซึ่งโหมกระพือการประท้วงในวอชิงตัน และคำกล่าวหาต่างๆนานาว่ารัฐบาลของทรัมป์ กำลังละเมิดกฎหมาย
    .
    กระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาลของมัสก์ สร้างความวุ่นวายแก่ปฏิบัติการต่างๆของหน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่ง และก่อความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและความมั่นคง เนื่องจากกำลังเข้าถึงบันทึกที่อ่อนไหวเกี่ยวกับการชำระเงินและการใช้จ่ายต่างๆนานา
    .
    "เราทำแม้กระทั่ง กำลังตรวจสอบกระทรวงการคลัง" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวบนเที่ยวบินแอร์ฟอร์ซวันในวันอาทิตย์(9ก.พ.) "อาจมีปัญญา คุณได้อ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ในเรื่องของกระทรวงการคลัง อาจมีประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ"
    .
    ทรัมป์บอกต่อว่าในด้านกระทรวงการคลัง "อาจมีหลายๆอย่างที่ยังไม่ถูกพิจารณาตรวจสอบ หรือในอีกคำพูดหนึ่งก็คือ บางอย่างในนั้นที่เราค้นพบคือมีการฉ้อโกงกันมากมาย เพราะฉะนั้นเราอาจมีหนี้น้อยกว่าที่เราคิด"
    .
    ความคิดเห็นของทรัมป์ในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก่อความถามว่าคณะทำงานของมัสก์ จะดำเนินการในรูปแบบใดในด้านการคลัง
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อวันเสาร์(8ก.พ.) ผู้พิพากษากลางรายหนึ่งขัดขวางคณะทำงานของมัสก์ จากการเข้าถึงระบบของรัฐบาล ที่ใช้ในกระบวนการชำระหนี้ล้านล้านดอลลาร์ อ้างถึงความเสี่ยงข้อมูลที่อ่อนไหวอาจถูกเปิดเผยอย่างไม่เหมาะสม
    .
    หลังจากมีคำพิพากษา มัสก์เผยว่าทางกระทรวงการคลังและกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล เห็นพ้องกันกำหนดให้การชำระเงินของรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งหมด ต้องชี้แจงเหตุผลในรูปแบบของความเห็นรวมไว้ในนั้่นด้วย และจำเป็นต้องมีการจำแนกประเภท
    .
    "การฉ้อโกงและความสิ้นเปลืองทั้งหลายจะถูกขจัดออกไปแบบเรียลไทม์ รับประกันได้เลยว่าการคอร์รัปชันในปริมาณที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหน่วยงานของรัฐหลายแห่งจะถูกเปิดโปง" มัสก์โพสต์ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ บน X แพลตฟอร์มที่เขาเป็นเจ้าของ
    .
    การควบคุมระบบการชำระเงินของมัสก์ได้รับการอนุมัติจากสก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ และผู้ที่ไม่โอนอ่อนผ่อนตามจะถูกกำจัด เช่นเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งที่ถูกพักงานหลังจากปฏิเสธที่จะมอบสิทธิ์การเข้าถึงระบบให้กับมัสต์ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์
    .
    อย่างไรก็ตาม เบสเซนต์ บอกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าคณะทำงานของมัสก์ จะเข้าถึงระบบการชำระเงินเพียงเฉพาะการดูเท่านั้น และการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการหยุดชำระเงิน จะดำเนินการโดยหน่วยงานอื่นๆ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013149
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ระบุอเมริกาอาจแบกหนี้น้อยกว่าที่คิด และที่เป็นเช่นนั้นก็เพรามีการโกงที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินของกระทรวงการคลัง ในความคิดเห็นที่บอกกับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ระหว่างบินไปร่วมชมเกมซูเปอร์โบว์ล ในนิวออร์ลีนส์ . ปัจจุบันตัวเลขหนี้สาธารณะของอเมริกาอยู่ที่ 36.2 ล้านล้านดอลลาร์ อ้างอิงข้อมูลจากกระทรงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งรับบทบางกลางในระบบการเงินโลก . ทรัมป์ มอบหมายหน้าที่แก่มหาเศรษฐีอีลอน มัสก์ ภายใต้ความทะเยอทะยานยกเครื่องรัฐบาลกลาง ซึ่งโหมกระพือการประท้วงในวอชิงตัน และคำกล่าวหาต่างๆนานาว่ารัฐบาลของทรัมป์ กำลังละเมิดกฎหมาย . กระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาลของมัสก์ สร้างความวุ่นวายแก่ปฏิบัติการต่างๆของหน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่ง และก่อความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและความมั่นคง เนื่องจากกำลังเข้าถึงบันทึกที่อ่อนไหวเกี่ยวกับการชำระเงินและการใช้จ่ายต่างๆนานา . "เราทำแม้กระทั่ง กำลังตรวจสอบกระทรวงการคลัง" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวบนเที่ยวบินแอร์ฟอร์ซวันในวันอาทิตย์(9ก.พ.) "อาจมีปัญญา คุณได้อ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ในเรื่องของกระทรวงการคลัง อาจมีประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ" . ทรัมป์บอกต่อว่าในด้านกระทรวงการคลัง "อาจมีหลายๆอย่างที่ยังไม่ถูกพิจารณาตรวจสอบ หรือในอีกคำพูดหนึ่งก็คือ บางอย่างในนั้นที่เราค้นพบคือมีการฉ้อโกงกันมากมาย เพราะฉะนั้นเราอาจมีหนี้น้อยกว่าที่เราคิด" . ความคิดเห็นของทรัมป์ในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก่อความถามว่าคณะทำงานของมัสก์ จะดำเนินการในรูปแบบใดในด้านการคลัง . ก่อนหน้านี้เมื่อวันเสาร์(8ก.พ.) ผู้พิพากษากลางรายหนึ่งขัดขวางคณะทำงานของมัสก์ จากการเข้าถึงระบบของรัฐบาล ที่ใช้ในกระบวนการชำระหนี้ล้านล้านดอลลาร์ อ้างถึงความเสี่ยงข้อมูลที่อ่อนไหวอาจถูกเปิดเผยอย่างไม่เหมาะสม . หลังจากมีคำพิพากษา มัสก์เผยว่าทางกระทรวงการคลังและกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล เห็นพ้องกันกำหนดให้การชำระเงินของรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่ทั้งหมด ต้องชี้แจงเหตุผลในรูปแบบของความเห็นรวมไว้ในนั้่นด้วย และจำเป็นต้องมีการจำแนกประเภท . "การฉ้อโกงและความสิ้นเปลืองทั้งหลายจะถูกขจัดออกไปแบบเรียลไทม์ รับประกันได้เลยว่าการคอร์รัปชันในปริมาณที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหน่วยงานของรัฐหลายแห่งจะถูกเปิดโปง" มัสก์โพสต์ก่อนหน้านี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ บน X แพลตฟอร์มที่เขาเป็นเจ้าของ . การควบคุมระบบการชำระเงินของมัสก์ได้รับการอนุมัติจากสก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ และผู้ที่ไม่โอนอ่อนผ่อนตามจะถูกกำจัด เช่นเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งที่ถูกพักงานหลังจากปฏิเสธที่จะมอบสิทธิ์การเข้าถึงระบบให้กับมัสต์ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ . อย่างไรก็ตาม เบสเซนต์ บอกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าคณะทำงานของมัสก์ จะเข้าถึงระบบการชำระเงินเพียงเฉพาะการดูเท่านั้น และการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการหยุดชำระเงิน จะดำเนินการโดยหน่วยงานอื่นๆ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013149 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1779 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สั่งระงับอย่างครอบคลุมเงินช่วยเหลือที่มอบแก่ต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน"
    .
    "ผมระงับการจ้างงานรัฐบาลกลาง ระงับกฎเกณฑ์รัฐบาลกลาง และระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศ" ทรัมป์บอกกับฝูงชนผู้สนับสนุนลาสเวกัสเมื่อวันเสาร์(25ม.ค.) "และผมจัดตั้งกระทรวงฯใหม่ กระทรวงกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล และเรากำลังจะมีคนดีๆมากมาย"
    .
    ไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารระงับโครงการช่วยเหลือพัฒนาต่างประเทศทั้งหมดเป็นเวลา 90 วัน โดยระหว่างนี้จะดำเนินการทบทวนเพื่อสรุปว่าโครงการช่วยเหลือเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าหมายต่างๆในนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" หรือไม่
    .
    ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ประกาศว่าจะปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่ก่อประโยชน์ และปรับโฟกัสของรัฐบาลให้กันมาใส่ใจกับประเด็นภายในประเทศ อย่างเช่นตัวเลขหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และต่อสู้จัดการกับพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย
    .
    ในวันเสาร์(25ม.ค.) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกบันทึกฉบับหนึ่ง ระงับการเบิกจ่ายเงินผ่านกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ(USAID) แต่มีข้อยกเว้นให้บางส่วน ในนั้นรวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารที่ป้อนแก่อิสราเอลและอียิปต์
    .
    ก่อนหน้านี้ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ(22ม.ค.) รูบิโอ กล่าวว่า "ทุกๆดอลลาร์ที่เราใช้จ่าย ทุกๆโครงการที่เราให้เงินสนับสนุน และทุกๆนโยบายที่เราเสาะหา จำเป็นต้องมีความชอบธรรม ด้วยคำตอบใน 3 คำถามง่ายๆ นั่นคือ มันทำให้อเมริกาปลอดภัยขึ้นหรือไม่ มันทำให้อเมริกาเข้มแข็งขึ้นหรือเปล่า และมันทำให้อเมริกาเจริญรุ่งเรืองหรือไม่"
    .
    แม้รายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อ้างว่าการระงับเงินช่วยเหลือจะไม่ส่งผลกระทบต่อาวุธที่ส่งมอบแก่ยูเครน แต่สื่อมวลชนหลายแห่งรายงานว่าบันทึกของรูบิโอ ไม่ได้พาดพิงถึงข้อยกเว้นใดๆสำหรับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนและพันธมิตรหลักอื่นๆ อย่างเช่นไต้หวันและบรรดาชาติสมาชิกนาโต
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน บ่อยครั้ง สำหรับการส่งมอบความช่วยเหลือหลายหมื่้นล้านดอลลาร์แก่ยูเครน พร้อมสัญญาว่าจะผลักดันให้หาทางออกทางการทูตแทน ในวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เปิดเผยโดยไม่ขอระบุนามว่า คำสั่งของ ทรัมป์จะทำให้หลายองค์กรต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสุขภาพที่อาจช่วยชีวิตคน การรักษาเอชไอวี โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานด้านการเกษตร การสนับสนุนองค์กรประชาสังคม และด้านการศึกษา
    .
    ตัวเลขจากรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า อเมริกาคือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยพวกเขาบริจาคเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 โดยอิสราเอลได้รับเงินช่วยเหลือทางทหารปีละ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อียิปต์ได้รับ 1.3 พันล้านดอลลาร์
    .
    บรรดาประเทศและดินแดนที่จะได้รับเงินสนับสนุนในลักษณะเดียวกันในปี 2025 ได้แก่ ยูเครน จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม จิบูติ โคลอมเบียมปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน ตามคำขอของรัฐบาลไบเดนที่ยื่นต่อสภาคองเกรส
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008314
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สั่งระงับอย่างครอบคลุมเงินช่วยเหลือที่มอบแก่ต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" . "ผมระงับการจ้างงานรัฐบาลกลาง ระงับกฎเกณฑ์รัฐบาลกลาง และระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศ" ทรัมป์บอกกับฝูงชนผู้สนับสนุนลาสเวกัสเมื่อวันเสาร์(25ม.ค.) "และผมจัดตั้งกระทรวงฯใหม่ กระทรวงกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล และเรากำลังจะมีคนดีๆมากมาย" . ไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งบริหารระงับโครงการช่วยเหลือพัฒนาต่างประเทศทั้งหมดเป็นเวลา 90 วัน โดยระหว่างนี้จะดำเนินการทบทวนเพื่อสรุปว่าโครงการช่วยเหลือเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าหมายต่างๆในนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" หรือไม่ . ระหว่างการรณรงค์หาเสียง ทรัมป์ประกาศว่าจะปรับลดการใช้จ่ายที่ไม่ก่อประโยชน์ และปรับโฟกัสของรัฐบาลให้กันมาใส่ใจกับประเด็นภายในประเทศ อย่างเช่นตัวเลขหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และต่อสู้จัดการกับพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย . ในวันเสาร์(25ม.ค.) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกบันทึกฉบับหนึ่ง ระงับการเบิกจ่ายเงินผ่านกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ(USAID) แต่มีข้อยกเว้นให้บางส่วน ในนั้นรวมถึงความช่วยเหลือด้านการทหารที่ป้อนแก่อิสราเอลและอียิปต์ . ก่อนหน้านี้ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ(22ม.ค.) รูบิโอ กล่าวว่า "ทุกๆดอลลาร์ที่เราใช้จ่าย ทุกๆโครงการที่เราให้เงินสนับสนุน และทุกๆนโยบายที่เราเสาะหา จำเป็นต้องมีความชอบธรรม ด้วยคำตอบใน 3 คำถามง่ายๆ นั่นคือ มันทำให้อเมริกาปลอดภัยขึ้นหรือไม่ มันทำให้อเมริกาเข้มแข็งขึ้นหรือเปล่า และมันทำให้อเมริกาเจริญรุ่งเรืองหรือไม่" . แม้รายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ อ้างว่าการระงับเงินช่วยเหลือจะไม่ส่งผลกระทบต่อาวุธที่ส่งมอบแก่ยูเครน แต่สื่อมวลชนหลายแห่งรายงานว่าบันทึกของรูบิโอ ไม่ได้พาดพิงถึงข้อยกเว้นใดๆสำหรับเงินช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนและพันธมิตรหลักอื่นๆ อย่างเช่นไต้หวันและบรรดาชาติสมาชิกนาโต . ที่ผ่านมา ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน บ่อยครั้ง สำหรับการส่งมอบความช่วยเหลือหลายหมื่้นล้านดอลลาร์แก่ยูเครน พร้อมสัญญาว่าจะผลักดันให้หาทางออกทางการทูตแทน ในวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เปิดเผยโดยไม่ขอระบุนามว่า คำสั่งของ ทรัมป์จะทำให้หลายองค์กรต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสุขภาพที่อาจช่วยชีวิตคน การรักษาเอชไอวี โภชนาการ สุขภาพแม่และเด็ก งานด้านการเกษตร การสนับสนุนองค์กรประชาสังคม และด้านการศึกษา . ตัวเลขจากรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า อเมริกาคือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยพวกเขาบริจาคเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 โดยอิสราเอลได้รับเงินช่วยเหลือทางทหารปีละ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อียิปต์ได้รับ 1.3 พันล้านดอลลาร์ . บรรดาประเทศและดินแดนที่จะได้รับเงินสนับสนุนในลักษณะเดียวกันในปี 2025 ได้แก่ ยูเครน จอร์เจีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม จิบูติ โคลอมเบียมปานามา เอกวาดอร์ อิสราเอล อียิปต์ และจอร์แดน ตามคำขอของรัฐบาลไบเดนที่ยื่นต่อสภาคองเกรส . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008314 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1706 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'วุฒิสภา' เริ่มออกลาย โดดประชุมจนห้องโล่ง ไม่สนใจรายงานหนี้สาธารณะ
    .
    แม้ในยุคที่วุฒิสภากลายเป็นสีน้ำเงิน และถูกชี้นิ้วสั่งจากนายใหญ่แดนอีสานใต้ แต่ส.ว.หลายคนก็พยายามออกมาสื่อสารกับประชาชนว่าขอโอกาสทำงานเพื่อชาติ ทว่าล่าสุดส.ว.ชุดนี้เริ่มออกลายกันแล้ว ถึงขนาดที่คนที่เป็นระดับรองประธานวุฒิสภาต้องออกมาตำหนิการทำงานหน้าที่ของส.ว.ด้วยกันเองกลางที่ประชุมวุฒิสภา
    .
    เรื่องนี้เริ่มมาจากการที่การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 20 มกราคม มีวาระพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมี นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ และข้าราชการของกระทรวงการคลัง ชี้แจง
    .
    ทั้งนี้ จากภาพการประชุมวุฒิสภาที่ออกมานั้นปรากฎว่ามีส.ว.เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวน้อย โดยพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พูดกลางที่ประชุมว่า ระหว่างที่หน่วยงานมาชี้แจง ส่วนตัวนั่งนับ ส.ว.ในห้องประชุมมีเพียง 25 คน และมีผู้อภิปรายขั้นต้น 3 คน แต่เวลาผ่านพ้นไป 1 ชั่วโมง พอการอภิปรายจบ พบว่ามี ส.ว.นั่งในห้องเหลือ 16 คน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเวลาก้ำกึ่งที่ต้องผลัดกันออกไปรับประทานอาหาร แต่บางคนออกไปรับประทานอาหารแล้วยังไม่กลับ
    .
    “หน่วยงานที่เราเชิญมาชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้อง แต่พอเขาขอเลื่อนท่านบอกว่าหน่วยงานไม่ค่อยให้เกียรติเรา แต่หน่วยงานมาชี้แจงบนข้อจำกัด และขณะที่หน่วยงานชี้แจง ผมนั่งนับอยู่ตลอด มีผู้รับฟังเพียง 25 ท่าน หากอยากได้รอยยิ้มจากคนอื่น เราน่าจะยิ้มให้คนอื่นก่อน หากอยากได้รับเกียรติจากหน่วยงานที่มาชี้แจง ไม่ต้องเลื่อนไปเลื่อนมา ก็เช่นเดียวกัน"
    .
    "เรา 25 คน ผมนั่งอยู่ตรงนี้รู้สึกมันโหวงเหวงเหลือเกิน คนชี้แจงแทบจะไม่ค่อยอยากชี้แจง แต่ก็เข้าใจเวลามันก้ำกึ่ง ทุกคนเป็นผู้ทรงเกียรติ ออกไปแล้วพยายามกลับเข้ามาเพื่อให้คนชี้แจงได้ชื่นใจ ทราบว่ามีการถ่ายทอด แต่ไม่ได้อภิปรายหรือไม่สนใจ หากไปว่าเขาไม่ให้เกียรติเรา เราจะให้เกียรติเขาอย่างไร ในฐานะที่ผมนั่งทำหน้าที่ประธาน ก็อยากสะท้อนย้อนกลับไปให้สมาชิกผู้ทรงเกียรติได้รับทราบ แม้มองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ แต่หน่วยงานทำตามหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญกำหนด ส.ว.ก็น่าจะเป็นผู้ที่ต้องคอยรับฟังข้อมูลต่างๆ” พล.อ.เกรียงไกรกล่าว
    ..............
    Sondhi X
    'วุฒิสภา' เริ่มออกลาย โดดประชุมจนห้องโล่ง ไม่สนใจรายงานหนี้สาธารณะ . แม้ในยุคที่วุฒิสภากลายเป็นสีน้ำเงิน และถูกชี้นิ้วสั่งจากนายใหญ่แดนอีสานใต้ แต่ส.ว.หลายคนก็พยายามออกมาสื่อสารกับประชาชนว่าขอโอกาสทำงานเพื่อชาติ ทว่าล่าสุดส.ว.ชุดนี้เริ่มออกลายกันแล้ว ถึงขนาดที่คนที่เป็นระดับรองประธานวุฒิสภาต้องออกมาตำหนิการทำงานหน้าที่ของส.ว.ด้วยกันเองกลางที่ประชุมวุฒิสภา . เรื่องนี้เริ่มมาจากการที่การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 20 มกราคม มีวาระพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และแก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมี นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ และข้าราชการของกระทรวงการคลัง ชี้แจง . ทั้งนี้ จากภาพการประชุมวุฒิสภาที่ออกมานั้นปรากฎว่ามีส.ว.เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวน้อย โดยพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พูดกลางที่ประชุมว่า ระหว่างที่หน่วยงานมาชี้แจง ส่วนตัวนั่งนับ ส.ว.ในห้องประชุมมีเพียง 25 คน และมีผู้อภิปรายขั้นต้น 3 คน แต่เวลาผ่านพ้นไป 1 ชั่วโมง พอการอภิปรายจบ พบว่ามี ส.ว.นั่งในห้องเหลือ 16 คน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเวลาก้ำกึ่งที่ต้องผลัดกันออกไปรับประทานอาหาร แต่บางคนออกไปรับประทานอาหารแล้วยังไม่กลับ . “หน่วยงานที่เราเชิญมาชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้อง แต่พอเขาขอเลื่อนท่านบอกว่าหน่วยงานไม่ค่อยให้เกียรติเรา แต่หน่วยงานมาชี้แจงบนข้อจำกัด และขณะที่หน่วยงานชี้แจง ผมนั่งนับอยู่ตลอด มีผู้รับฟังเพียง 25 ท่าน หากอยากได้รอยยิ้มจากคนอื่น เราน่าจะยิ้มให้คนอื่นก่อน หากอยากได้รับเกียรติจากหน่วยงานที่มาชี้แจง ไม่ต้องเลื่อนไปเลื่อนมา ก็เช่นเดียวกัน" . "เรา 25 คน ผมนั่งอยู่ตรงนี้รู้สึกมันโหวงเหวงเหลือเกิน คนชี้แจงแทบจะไม่ค่อยอยากชี้แจง แต่ก็เข้าใจเวลามันก้ำกึ่ง ทุกคนเป็นผู้ทรงเกียรติ ออกไปแล้วพยายามกลับเข้ามาเพื่อให้คนชี้แจงได้ชื่นใจ ทราบว่ามีการถ่ายทอด แต่ไม่ได้อภิปรายหรือไม่สนใจ หากไปว่าเขาไม่ให้เกียรติเรา เราจะให้เกียรติเขาอย่างไร ในฐานะที่ผมนั่งทำหน้าที่ประธาน ก็อยากสะท้อนย้อนกลับไปให้สมาชิกผู้ทรงเกียรติได้รับทราบ แม้มองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ แต่หน่วยงานทำตามหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญกำหนด ส.ว.ก็น่าจะเป็นผู้ที่ต้องคอยรับฟังข้อมูลต่างๆ” พล.อ.เกรียงไกรกล่าว .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Angry
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1389 มุมมอง 0 รีวิว
  • 19/1/68

    ข่าวร้ายร้อนๆรับปีใหม่เรื่องต่อสัมปทานทางด่วนให้เอกชนมาแล้วจ้า

    เมื่อวานนี้ (14 มกราคม) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษ(กทพ.)ชุดใหม่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2567 พากันมา สวัสดีปีใหม่ดิฉัน และถือโอกาสพาคณะกรรมการชุดใหม่มาแนะนำตัว

    ดิฉันติดตามกรณีการล้วงใส้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้เอกชนรวย เรียกว่าปัจจุบันเป็นยุคสมัยแห่งการเซาะกร่อนบ่อนทำลายโครงสร้างเศรษกิจพื้นฐานของชาติและประชาชนโดยแท้

    การทางพิเศษ (กทพ.)ก็ไม่ต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆที่จะถูกจ้องล้วงไส้กอบโกยกำไรผ่องถ่ายไปให้เอกชนอย่างต่อเนื่อง กรณีของ กทพ.คือการหาเหตุต่อสัมปทานให้เอกชนอย่างไม่สิ้นสุด แทนที่หมดสัมปทานแล้วควรหยุดต่อสัมปทานให้เอกชนซึ่งได้กำไรร่ำรวยกันเกินสมควรแล้ว ให้โอกาสประชาชนได้ลดค่าทางด่วนลงไปบ้าง แต่ฝ่ายการเมืองร่วมมือกับฝ่ายบริหารจ้องต่อสัมปทานให้เอกชนหากินบนทางด่วนขูดเลือดประชาชนแบบชั่วกัลปวสาน โดยใช้อุบายแปะหน้าซองว่าต่อสัมปทานให้เอกชน แลกกับการได้ทางด่วนเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องมีหนี้สาธารณะ พร้อมลดค่าผ่านทางให้อีก มีใครเชื่อบ้างว่าเป็นเรื่องจริง โดยไม่มีข้อมูลเบื้องหลัง !?!

    มีข่าวว่า ผู้บริหารกทพ.เร่งร้อนจะต่อสัมปทานให้เอกชนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 บนทางพิเศษศรีรัช เรียกว่า double deck และจะลดค่าผ่านทางจาก 90 บาทให้เหลือแค่ 50 บาท นี่คือหน้าซองที่แปะป้ายไว้ให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม

    แต่เรื่องจริงที่อยู่เบื้องหลังที่ผู้บริโภคไม่ทราบ คือ การสร้างทางด่วนซ้อนขึ้นไปชั้นที่2 โดยบอกหน้าฉากว่าจะลดราคาให้ผู้บริโภคจาก 90 บาทเหลือ50 บาท แต่หลังฉากคือกทพ.ต้องแลกกับการแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก 10% ขยายเวลาต่อสัมปทานออกไปอีก 22 ปี ถึงพ.ศ.2601 ทั้งที่สัมปทานทางด่วนสายนี้จะหมดอายุในปี 2578 (อีก 10ปี ก็จะหมดสัมปทาน)

    ค่าก่อสร้างทางด่วนดับเบิ้ลเด็ค ลงทุนแค่ 30,000 กว่าล้าน

    แต่ถ้าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก็ต้องต่อสัมปทานให้เอกชนเพิ่มอีก 22ปี และ ให้ส่วนแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก10% คิดเป็นเงินที่ต้องแบ่งให้เอกชน เลขกลมๆก็ประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท

    ถ้า คูณ22 ปีก็ 150,000ล้านบาท !!!!

    ค่าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 มูลค่าแค่ 3 หมื่นล้านบาท แลกกับการเพิ่มค่าส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนอีก 1 แสนห้าหมื่นล้าน ตลอด 22ปี เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อกลุ่มทุนเจ้าของสัมปทานเดิมร่วมกับกลุ่มการเมืองที่หากินอันเดอร์เทเบิ้ลกันแน่ ?!

    ก็ต้องถามผู้บริหารกทพ. และรัฐมนตรีคมนาคมของพรรครัฐบาล ว่าจะรีบร้อนอ้างการสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก่อนสัมปทานหมดในอีก10ปี ทำเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ?!?

    รสนา โตสิตระกูล
    15 มกราคม 2568

    https://www.facebook.com/share/p/19hszQVEM7/?mibextid=wwXIfr
    19/1/68 ข่าวร้ายร้อนๆรับปีใหม่เรื่องต่อสัมปทานทางด่วนให้เอกชนมาแล้วจ้า เมื่อวานนี้ (14 มกราคม) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษ(กทพ.)ชุดใหม่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2567 พากันมา สวัสดีปีใหม่ดิฉัน และถือโอกาสพาคณะกรรมการชุดใหม่มาแนะนำตัว ดิฉันติดตามกรณีการล้วงใส้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้เอกชนรวย เรียกว่าปัจจุบันเป็นยุคสมัยแห่งการเซาะกร่อนบ่อนทำลายโครงสร้างเศรษกิจพื้นฐานของชาติและประชาชนโดยแท้ การทางพิเศษ (กทพ.)ก็ไม่ต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆที่จะถูกจ้องล้วงไส้กอบโกยกำไรผ่องถ่ายไปให้เอกชนอย่างต่อเนื่อง กรณีของ กทพ.คือการหาเหตุต่อสัมปทานให้เอกชนอย่างไม่สิ้นสุด แทนที่หมดสัมปทานแล้วควรหยุดต่อสัมปทานให้เอกชนซึ่งได้กำไรร่ำรวยกันเกินสมควรแล้ว ให้โอกาสประชาชนได้ลดค่าทางด่วนลงไปบ้าง แต่ฝ่ายการเมืองร่วมมือกับฝ่ายบริหารจ้องต่อสัมปทานให้เอกชนหากินบนทางด่วนขูดเลือดประชาชนแบบชั่วกัลปวสาน โดยใช้อุบายแปะหน้าซองว่าต่อสัมปทานให้เอกชน แลกกับการได้ทางด่วนเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องมีหนี้สาธารณะ พร้อมลดค่าผ่านทางให้อีก มีใครเชื่อบ้างว่าเป็นเรื่องจริง โดยไม่มีข้อมูลเบื้องหลัง !?! มีข่าวว่า ผู้บริหารกทพ.เร่งร้อนจะต่อสัมปทานให้เอกชนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 บนทางพิเศษศรีรัช เรียกว่า double deck และจะลดค่าผ่านทางจาก 90 บาทให้เหลือแค่ 50 บาท นี่คือหน้าซองที่แปะป้ายไว้ให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม แต่เรื่องจริงที่อยู่เบื้องหลังที่ผู้บริโภคไม่ทราบ คือ การสร้างทางด่วนซ้อนขึ้นไปชั้นที่2 โดยบอกหน้าฉากว่าจะลดราคาให้ผู้บริโภคจาก 90 บาทเหลือ50 บาท แต่หลังฉากคือกทพ.ต้องแลกกับการแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก 10% ขยายเวลาต่อสัมปทานออกไปอีก 22 ปี ถึงพ.ศ.2601 ทั้งที่สัมปทานทางด่วนสายนี้จะหมดอายุในปี 2578 (อีก 10ปี ก็จะหมดสัมปทาน) ค่าก่อสร้างทางด่วนดับเบิ้ลเด็ค ลงทุนแค่ 30,000 กว่าล้าน แต่ถ้าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก็ต้องต่อสัมปทานให้เอกชนเพิ่มอีก 22ปี และ ให้ส่วนแบ่งรายได้เพิ่มให้เอกชนอีก10% คิดเป็นเงินที่ต้องแบ่งให้เอกชน เลขกลมๆก็ประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท ถ้า คูณ22 ปีก็ 150,000ล้านบาท !!!! ค่าก่อสร้างทางด่วนชั้นที่2 มูลค่าแค่ 3 หมื่นล้านบาท แลกกับการเพิ่มค่าส่วนแบ่งรายได้ให้เอกชนอีก 1 แสนห้าหมื่นล้าน ตลอด 22ปี เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อกลุ่มทุนเจ้าของสัมปทานเดิมร่วมกับกลุ่มการเมืองที่หากินอันเดอร์เทเบิ้ลกันแน่ ?! ก็ต้องถามผู้บริหารกทพ. และรัฐมนตรีคมนาคมของพรรครัฐบาล ว่าจะรีบร้อนอ้างการสร้างทางด่วนชั้นที่2 ก่อนสัมปทานหมดในอีก10ปี ทำเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ ?!? รสนา โตสิตระกูล 15 มกราคม 2568 https://www.facebook.com/share/p/19hszQVEM7/?mibextid=wwXIfr
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 607 มุมมอง 0 รีวิว
  • 04-04-62/14 : หมี CNN / ระบอบกษัตริย์ชาติอื่นเป็นยังไง? กูไม่รู้ กูไม่สนใจ? แต่ระบบกษัตริย์ไทย หล่อมว๊าก! หัวใจล้วนๆ เทใจให้ราษฎรแบบที่ไหนในโลกก็ไม่มี? อย่าคิดว่าเหี้ยโปรยเศษเงินมาให้ แล้วพวกมรึงคิดจะล้มล้างสถาบัน ตราบใดที่ยังมีคนไทยหัวใจหล่อมว๊ากอยู่อีกมหาศาลเกลื่อนแผ่นดิน?

    พ่อสู้เรื่องระบบน้ำชลประทาน ให้น้ำหมุนเวียนไปทั่ว
    พ่อสู้เรื่องเขื่อน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง ยามท่วม
    พ่อสู้เรื่องฝนเทียม ให้ชาวนา ชาวไร่ มีน้ำใช้ยามแล้งหนัก
    พ่อสู้เรื่องความยากจน กระจายรายได้ โครงการท้องถิ่น
    พ่อสู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง สอนช่วยตัวเอง
    พ่อสู้เรื่องความช่วยเหลือ อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว
    พ่อสู้เรื่องการเกษตร การใช้พื้นที่ การพัฒนายั่งยืน
    พ่อสู้เรื่องความเท่าเทียม แบ่งปัน และยกระดับการศึกษา
    พ่อสู้เรื่องการดนตรี ศิลปะ รากเหง้า อนุรักษ์ประเพณีไทย
    พ่อสู้เรื่องแนวคิด ปรัชญา สติ ปัญญา เหตุและผล สั่งสอน
    พ่อสู้เรื่องความประหยัด อดออมคุ้มค่า รีไซเคิล กลับมาใช้
    พ่อสู้เรื่องป่าไม้ สัตว์ป่า สมดุลธรรมชาติ พันธุ์ไทย ปลูกป่า
    พ่อสู้เรื่องสินค้าไทย แปรรูป อาหาร ทะเล ผ้าไหม ผ้าฝ้าย
    พ่อสู้เรื่องความสามัคคี ปองครอง ยุติความขัดแย้งภายใน
    พ่อสู้เรื่องความเป็นชาตินิยม ภูมิใจความเป็นไทย ชื่อเสียง
    พ่อปกป้องแผ่นดินไทย การรุกรานจากต่างชาติ และมั่นคง
    พ่อเสียสละตนเอง เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย
    พ่อเตือนสติ ให้ปัญญา พระบรมราโชวาททุกปี ตื่นคิด มีสติ
    พ่อแบ่งปันความรัก ความรู้ ไปยังเพื่อนบ้านรอบข้างด้วย
    พ่อสร้างมิตร เป็นที่รักชื่นชอบของทุกราชวงศ์ทั่วโลก
    พ่อไม่เคยโอ้อวดตนเอง และไม่ใช้อำนาจที่มี เพื่อแสดง
    พ่อทำนุบำรุงทุกศาสนาในชาติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
    พ่อเยี่ยมเยียนชาวบ้านทุกพื้นที่ทั้งแผ่นดิน ไปเยี่ยมเสมอ
    พ่อยึดถือทศพิษราชธรรมได้อย่างสมบูรณ์ จนวันสุดท้าย
    พ่อรู้ทุกอย่าง เข้าใจ เข้าถึง แก้ปัญหา พระบารมีเปี่ยมล้น

    มีอีกมากมายมหาศาล จนระลึกถึงน้ำพระคุณได้ไม่หมดสิ้น เป็นบุญของปวงชนชาวไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่หัวใจหล่อมว๊ากที่สุดใน 3 โลก ไม่มีพ่อ ก็คงไม่มีวันนี้ ไม่มีบรรพกษัตริย์ไทย ก็คงไม่มีวันนี้เช่นกัน "ราชวงศ์จักรี" จงเจริญยิ่งยืนนาน ตราบชั่วฟ้าดินสลาย!

    หมี CNN(ด้วยจิตสำนึกรักพ่อ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์)
    04 เม.ย. 62
    16.53 น.

    ------------------------------------------------------------------------—
    Jeerachart Jongsomchai / “ปฏิวัติฝรั่งเศส ของใคร โดยใคร เพื่อใคร ?”

    ... “สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส” มีหลายแนวคิดหลักๆคือ

    ... มูลเหตุของการปฏิวัติมีความซับซ้อนและยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ เช่นปัจจัยภายในต่าง ๆ ของระบอบเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวโหยและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่ยากแค้นที่สุด ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจาก “สภาพอากาศ” ความหนาวเย็นผิดฤดู ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมของภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์

    ... ใน ค.ศ. 1783-1784 ประกอบกับ “ราคาอาหารที่สูงขึ้น” และ “ระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอ” ซึ่งขัดขวาง “การส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กลางประชากรขนาดใหญ่” ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง

    ... สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ “ภาวะใกล้จะล้มละลายของรัฐบาลจากค่าใช้จ่ายในสงครามที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบจำนวนมหาศาล” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามเจ็ดปี (1756 จนถึง 1763 หรือ “สงครามโลกครั้งที่ศูนย์” โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีการสู้รบเกิดขึ้นในห้าทวีป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างสองข้างด้วยกัน ข้างหนึ่งนำโดยบริเตนใหญ่ พร้อมด้วยปรัสเซียและกลุ่มนครรัฐเล็กในเยอรมัน กับอีกข้างหนึ่งที่นำด้วยฝรั่งเศส พร้อมด้วยออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และซัคเซิน โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม ) และ “สงครามปฏิวัติอเมริกา” สงครามใหญ่เหล่านี้ก่อหนี้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ และการครอบงำทางพาณิชย์ของ “บริเตนใหญ่”ที่เพิ่มขึ้น ทั้ง “ระบบการเงิน” ที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ทางรัฐบาลพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินด้วยการเก็บภาษีเพิ่ม

    … การที่ฝรั่งเศส ช่วย “อเมริกา” รบกับ “อังกฤษ” นั้น ไม่ได้ต้องการให้เอกราช กับอเมริกาแต่เพราะต้องการตัดกำลังของอังกฤษคู่แข่งอาณานิคมของตัวเอง ( เหมือนตอนที่ อเมริกา หลังได้เอกราช ก็ได้ช่วย “ฟิลิปปินส์” กับ “คิวบา” เป็นเอกราชจากสเปนนั้น ไม่ได้ต้องการให้ทั้งสองชาติสัมผัสกับอิสรภาพ หรือตัวเองซาบซึ้งกับระบอบปประชาธิปไตย แต่ต้องการจะเป็นเจ้าอาณานิคมแทนเจ้าเดิม )

    ... หลังการปฏิวัติมีการ ยกเลิกระบบศักดินา ยุบมณฑลต่าง ๆ แบ่งประเทศออกเป็น 83 จังหวัด มีการพยายาม “รวมศูนย์อำนาจ” เข้าสู่ศูนย์เดียวที่ปารีส ไม่ยินยอมให้เป็นเอกเทศ จึงมีการต่อต้านขัดขืน

    ... กระแสความตื่นตัวและอารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนทิศทางของการปฏิวัติจนลึกลงไปถึงรากฐาน ซึ่งปูทางให้กับการขึ้นสู่อำนาจของ “มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์” ที่เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง และ “กลุ่มฌากอแบ็ง” และกลายมาเป็น “เผด็จการโดยแท้” ภายใต้ “สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว” ในระหว่างปี ค.ศ. 1793 ถึง 1794 มีผู้ต่อต้านพวกเขาถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000 คน ( ในตอนนั้นมันคือการเปลี่ยนจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช” ไปสู่ระบอบ “เผด็จการ” )

    ... สโมสรฌากอแบ็ง Club des Jacobins เป็นสโมสรทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ก่อตั้งในช่วงการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 จากการรวมกลุ่มของ “พวกผู้แทน” จากแคว้น “ดัชชีเบรอตาญ” ที่เป็นแคว้นศักดินาแห่งหนึ่งนัฝรั่งเศส ที่เน้นการ “ต่อต้านราชวงศ์” หรือ “ล้มเจ้า” อันเป็นพวกต่อต้านระบอบกษัตริย์ เริ่มแรกมีสมาชิกไม่กี่คนและเป็นการรวมตัวอย่างลับ ๆ ก่อนที่ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นขบวนการระดับชาติที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้จัดตั้งสาธารณรัฐซึ่งมีสมาชิกมากกว่าครึ่งล้านคน อย่างไรก็ตาม หลังจากโค่นล้มระบบกษัตริย์สำเร็จและจัดตั&#3657
    04-04-62/14 : หมี CNN / ระบอบกษัตริย์ชาติอื่นเป็นยังไง? กูไม่รู้ กูไม่สนใจ? แต่ระบบกษัตริย์ไทย หล่อมว๊าก! หัวใจล้วนๆ เทใจให้ราษฎรแบบที่ไหนในโลกก็ไม่มี? อย่าคิดว่าเหี้ยโปรยเศษเงินมาให้ แล้วพวกมรึงคิดจะล้มล้างสถาบัน ตราบใดที่ยังมีคนไทยหัวใจหล่อมว๊ากอยู่อีกมหาศาลเกลื่อนแผ่นดิน? พ่อสู้เรื่องระบบน้ำชลประทาน ให้น้ำหมุนเวียนไปทั่ว พ่อสู้เรื่องเขื่อน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง ยามท่วม พ่อสู้เรื่องฝนเทียม ให้ชาวนา ชาวไร่ มีน้ำใช้ยามแล้งหนัก พ่อสู้เรื่องความยากจน กระจายรายได้ โครงการท้องถิ่น พ่อสู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง สอนช่วยตัวเอง พ่อสู้เรื่องความช่วยเหลือ อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว พ่อสู้เรื่องการเกษตร การใช้พื้นที่ การพัฒนายั่งยืน พ่อสู้เรื่องความเท่าเทียม แบ่งปัน และยกระดับการศึกษา พ่อสู้เรื่องการดนตรี ศิลปะ รากเหง้า อนุรักษ์ประเพณีไทย พ่อสู้เรื่องแนวคิด ปรัชญา สติ ปัญญา เหตุและผล สั่งสอน พ่อสู้เรื่องความประหยัด อดออมคุ้มค่า รีไซเคิล กลับมาใช้ พ่อสู้เรื่องป่าไม้ สัตว์ป่า สมดุลธรรมชาติ พันธุ์ไทย ปลูกป่า พ่อสู้เรื่องสินค้าไทย แปรรูป อาหาร ทะเล ผ้าไหม ผ้าฝ้าย พ่อสู้เรื่องความสามัคคี ปองครอง ยุติความขัดแย้งภายใน พ่อสู้เรื่องความเป็นชาตินิยม ภูมิใจความเป็นไทย ชื่อเสียง พ่อปกป้องแผ่นดินไทย การรุกรานจากต่างชาติ และมั่นคง พ่อเสียสละตนเอง เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย พ่อเตือนสติ ให้ปัญญา พระบรมราโชวาททุกปี ตื่นคิด มีสติ พ่อแบ่งปันความรัก ความรู้ ไปยังเพื่อนบ้านรอบข้างด้วย พ่อสร้างมิตร เป็นที่รักชื่นชอบของทุกราชวงศ์ทั่วโลก พ่อไม่เคยโอ้อวดตนเอง และไม่ใช้อำนาจที่มี เพื่อแสดง พ่อทำนุบำรุงทุกศาสนาในชาติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ พ่อเยี่ยมเยียนชาวบ้านทุกพื้นที่ทั้งแผ่นดิน ไปเยี่ยมเสมอ พ่อยึดถือทศพิษราชธรรมได้อย่างสมบูรณ์ จนวันสุดท้าย พ่อรู้ทุกอย่าง เข้าใจ เข้าถึง แก้ปัญหา พระบารมีเปี่ยมล้น มีอีกมากมายมหาศาล จนระลึกถึงน้ำพระคุณได้ไม่หมดสิ้น เป็นบุญของปวงชนชาวไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่หัวใจหล่อมว๊ากที่สุดใน 3 โลก ไม่มีพ่อ ก็คงไม่มีวันนี้ ไม่มีบรรพกษัตริย์ไทย ก็คงไม่มีวันนี้เช่นกัน "ราชวงศ์จักรี" จงเจริญยิ่งยืนนาน ตราบชั่วฟ้าดินสลาย! หมี CNN(ด้วยจิตสำนึกรักพ่อ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์) 04 เม.ย. 62 16.53 น. ------------------------------------------------------------------------— Jeerachart Jongsomchai / “ปฏิวัติฝรั่งเศส ของใคร โดยใคร เพื่อใคร ?” ... “สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส” มีหลายแนวคิดหลักๆคือ ... มูลเหตุของการปฏิวัติมีความซับซ้อนและยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ เช่นปัจจัยภายในต่าง ๆ ของระบอบเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวโหยและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่ยากแค้นที่สุด ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจาก “สภาพอากาศ” ความหนาวเย็นผิดฤดู ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมของภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์ ... ใน ค.ศ. 1783-1784 ประกอบกับ “ราคาอาหารที่สูงขึ้น” และ “ระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอ” ซึ่งขัดขวาง “การส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กลางประชากรขนาดใหญ่” ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง ... สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ “ภาวะใกล้จะล้มละลายของรัฐบาลจากค่าใช้จ่ายในสงครามที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบจำนวนมหาศาล” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามเจ็ดปี (1756 จนถึง 1763 หรือ “สงครามโลกครั้งที่ศูนย์” โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีการสู้รบเกิดขึ้นในห้าทวีป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างสองข้างด้วยกัน ข้างหนึ่งนำโดยบริเตนใหญ่ พร้อมด้วยปรัสเซียและกลุ่มนครรัฐเล็กในเยอรมัน กับอีกข้างหนึ่งที่นำด้วยฝรั่งเศส พร้อมด้วยออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และซัคเซิน โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม ) และ “สงครามปฏิวัติอเมริกา” สงครามใหญ่เหล่านี้ก่อหนี้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ และการครอบงำทางพาณิชย์ของ “บริเตนใหญ่”ที่เพิ่มขึ้น ทั้ง “ระบบการเงิน” ที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ทางรัฐบาลพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินด้วยการเก็บภาษีเพิ่ม … การที่ฝรั่งเศส ช่วย “อเมริกา” รบกับ “อังกฤษ” นั้น ไม่ได้ต้องการให้เอกราช กับอเมริกาแต่เพราะต้องการตัดกำลังของอังกฤษคู่แข่งอาณานิคมของตัวเอง ( เหมือนตอนที่ อเมริกา หลังได้เอกราช ก็ได้ช่วย “ฟิลิปปินส์” กับ “คิวบา” เป็นเอกราชจากสเปนนั้น ไม่ได้ต้องการให้ทั้งสองชาติสัมผัสกับอิสรภาพ หรือตัวเองซาบซึ้งกับระบอบปประชาธิปไตย แต่ต้องการจะเป็นเจ้าอาณานิคมแทนเจ้าเดิม ) ... หลังการปฏิวัติมีการ ยกเลิกระบบศักดินา ยุบมณฑลต่าง ๆ แบ่งประเทศออกเป็น 83 จังหวัด มีการพยายาม “รวมศูนย์อำนาจ” เข้าสู่ศูนย์เดียวที่ปารีส ไม่ยินยอมให้เป็นเอกเทศ จึงมีการต่อต้านขัดขืน ... กระแสความตื่นตัวและอารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนทิศทางของการปฏิวัติจนลึกลงไปถึงรากฐาน ซึ่งปูทางให้กับการขึ้นสู่อำนาจของ “มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์” ที่เป็นนักกฎหมาย นักการเมือง และ “กลุ่มฌากอแบ็ง” และกลายมาเป็น “เผด็จการโดยแท้” ภายใต้ “สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว” ในระหว่างปี ค.ศ. 1793 ถึง 1794 มีผู้ต่อต้านพวกเขาถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000 คน ( ในตอนนั้นมันคือการเปลี่ยนจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช” ไปสู่ระบอบ “เผด็จการ” ) ... สโมสรฌากอแบ็ง Club des Jacobins เป็นสโมสรทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ก่อตั้งในช่วงการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 จากการรวมกลุ่มของ “พวกผู้แทน” จากแคว้น “ดัชชีเบรอตาญ” ที่เป็นแคว้นศักดินาแห่งหนึ่งนัฝรั่งเศส ที่เน้นการ “ต่อต้านราชวงศ์” หรือ “ล้มเจ้า” อันเป็นพวกต่อต้านระบอบกษัตริย์ เริ่มแรกมีสมาชิกไม่กี่คนและเป็นการรวมตัวอย่างลับ ๆ ก่อนที่ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นขบวนการระดับชาติที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้จัดตั้งสาธารณรัฐซึ่งมีสมาชิกมากกว่าครึ่งล้านคน อย่างไรก็ตาม หลังจากโค่นล้มระบบกษัตริย์สำเร็จและจัดตั&#3657
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1581 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐขาดดุลพุ่ง 40% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ งบประมาณติดลบ 7 แสนล้านดอลลาร์ หนี้สาธารณะของประเทศพุ่ง 36 ล้านล้านดอลลาร์

    กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 พุ่งสูงขึ้นถึง 710,900 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของตัวเลขในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 5.1 แสนล้านดอลลาร์

    "หนี้พุ่งสูงเกิน 36 ล้านล้านดอลลาร์"
    หนี้สาธารณะของประเทศพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายภาครัฐที่สูงขึ้น และรายได้จากภาษีที่ลดลง ส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณขยายตัวอย่างต่อเนื่อง "ทำให้หนี้พุ่งสูงเกิน 36 ล้านล้านดอลลาร์"

    ขณะเดียวกัน รายจ่ายภาครัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ก็ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 11% ขณะที่รายรับกลับลดลง 2% สะท้อนภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


    ขณะที่เมื่อสามวันก่อน มีรายงานข่าวจีนเกินดุลการค้าแตะ 7.85 แสนล้านดอลลาร์ อาจทะลุ 1 ล้านล้านสิ้นปีนี้

    สหรัฐขาดดุลพุ่ง 40% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ งบประมาณติดลบ 7 แสนล้านดอลลาร์ หนี้สาธารณะของประเทศพุ่ง 36 ล้านล้านดอลลาร์ กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2568 พุ่งสูงขึ้นถึง 710,900 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของตัวเลขในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดดุล 5.1 แสนล้านดอลลาร์ "หนี้พุ่งสูงเกิน 36 ล้านล้านดอลลาร์" หนี้สาธารณะของประเทศพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายภาครัฐที่สูงขึ้น และรายได้จากภาษีที่ลดลง ส่งผลให้การขาดดุลงบประมาณขยายตัวอย่างต่อเนื่อง "ทำให้หนี้พุ่งสูงเกิน 36 ล้านล้านดอลลาร์" ขณะเดียวกัน รายจ่ายภาครัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ก็ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 11% ขณะที่รายรับกลับลดลง 2% สะท้อนภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่เมื่อสามวันก่อน มีรายงานข่าวจีนเกินดุลการค้าแตะ 7.85 แสนล้านดอลลาร์ อาจทะลุ 1 ล้านล้านสิ้นปีนี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟินแลนด์ - หายนะทางการศึกษา

    พวกเราคงได้ยินว่า การศึกษาของฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก นักเรียนฟินแลนด์เป็นนักเรียนที่มีความสุขที่สุดในโลก กันบ่อยๆ แล้ว

    วันนี้ผมเอาข้อเท็จจริง ที่ตรงข้ามกับการยกย่อง สรรเสริญ เยินยอ มาฝาก

    ฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการศึกษาของตนครั้งใหญ่ในยุค 70s โดยเลิกชั้นประถมและมัธยม ปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากที่เคยเรียนวิชาพื้นฐานเป็นระดับจากง่ายไปยาก เป็นเรียนตามหัวข้อ เรียนเป็นโปรเจกต์ หลังจากนั้นมีการ ยกระดับการศึกษาอาชีวะและวิชาชีพให้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการศึกษาเพื่อเตรียมเรียนต่อในมหาวิทยาลัย นำเอาระบบที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง เลิกการให้การบ้าน เลิกการสอบประจำปี จนเหลือแต่การสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า Matriculation ที่เป็นการสอบระดับชาติ

    โรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ก่อนที่เด็กนักเรียนไม่ต้องทำการบ้าน ไม่ต้องสอบ

    หลังจากนั้นก็เสื่อมถอยตกตํ่าลงไปเรื่อยไปจนปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรน่าชื่นชม นอกจากเรียนง่ายๆสบายๆ ซึ่งถูกจริตในหมู่คนที่ต้องการบั่นทอนบ่อนทำลายชาติ หรือโง่เง่า หรือขี้เกียจสันหลังยาวในบ้านเรา ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกีบ ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกที่ไหน ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกครึ่งหรือควบครึ่งลูก

    ภาพด้านซ้ายมือ คือ ผลการสอบ ด้านวิชาการ (PISA) ของนักเรียนมัธยมปลายของประเทศต่างๆ

    คะแนนสอบการอ่านของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2000 มากถึง 56 คะแนน

    ส่วนคะแนนสอบคณิตศาสตร์ของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2003 มากถึง 79 คะแนน

    การศึกษาที่ห่วยลงย่อมส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่เรียนจบ ฟินแลนด์มีปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน ปีนี้จีดีพีติดลบ 1% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งติดลบกว่า 3% เมื่อเทียบกับ 2022 และตั้งแต่ 2008 แทบจะไม่มีการเติบโตของเศรษฐกิจเลย ซึ่งเป็นผลให้ประเทศยากจนลง มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามกราฟในภาพกลาง และคุณภาพชีวิตของคนฟินแลนด์ลดลง

    ในขณะเดียวกัน รัฐบาลฟินแลนด์โดยนักเลือกตั้งที่ผ่านการศึกษาฟินแลนด์เปิดรับผู้อพยพนับหมื่นๆคนต่อปี โดยคิดไม่ได้หรือไม่ได้คิดว่าจะมีผลอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมาเพิ่มเติมด้วย

    ผลลัพธ์คือ คนหนุ่มสาวชาวฟินแลนด์อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จำนวนมากขึ้นๆอพยพออกจากฟินแลนด์ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ตามภาพขวาสุด

    สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการจัดเก็บภาษีในรัฐสวัสดิการแห่งนี้อย่างรุนแรงต่อไป

    ทั้งหมดนี้ เป็นวงจรอุบาทว์ที่เริ่มจากการทำลายการศึกษา ทำลายโรงเรียน ด้วยความหวังดีโง่ๆที่อยากให้เด็กๆได้เรียนสบายๆ

    และหากในอนาคต มีใครเห่าหอนอวยว่าโรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ดีงามแค่ไหน เราสามารถแน่ใจได้ว่า ไอ้หรืออีนั่น ไม่รู้ห่านอะไรเลยแม้แต่น้อย”
    ฟินแลนด์ - หายนะทางการศึกษา พวกเราคงได้ยินว่า การศึกษาของฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก นักเรียนฟินแลนด์เป็นนักเรียนที่มีความสุขที่สุดในโลก กันบ่อยๆ แล้ว วันนี้ผมเอาข้อเท็จจริง ที่ตรงข้ามกับการยกย่อง สรรเสริญ เยินยอ มาฝาก ฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการศึกษาของตนครั้งใหญ่ในยุค 70s โดยเลิกชั้นประถมและมัธยม ปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากที่เคยเรียนวิชาพื้นฐานเป็นระดับจากง่ายไปยาก เป็นเรียนตามหัวข้อ เรียนเป็นโปรเจกต์ หลังจากนั้นมีการ ยกระดับการศึกษาอาชีวะและวิชาชีพให้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการศึกษาเพื่อเตรียมเรียนต่อในมหาวิทยาลัย นำเอาระบบที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง เลิกการให้การบ้าน เลิกการสอบประจำปี จนเหลือแต่การสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า Matriculation ที่เป็นการสอบระดับชาติ โรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ก่อนที่เด็กนักเรียนไม่ต้องทำการบ้าน ไม่ต้องสอบ หลังจากนั้นก็เสื่อมถอยตกตํ่าลงไปเรื่อยไปจนปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรน่าชื่นชม นอกจากเรียนง่ายๆสบายๆ ซึ่งถูกจริตในหมู่คนที่ต้องการบั่นทอนบ่อนทำลายชาติ หรือโง่เง่า หรือขี้เกียจสันหลังยาวในบ้านเรา ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกีบ ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกที่ไหน ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกครึ่งหรือควบครึ่งลูก ภาพด้านซ้ายมือ คือ ผลการสอบ ด้านวิชาการ (PISA) ของนักเรียนมัธยมปลายของประเทศต่างๆ คะแนนสอบการอ่านของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2000 มากถึง 56 คะแนน ส่วนคะแนนสอบคณิตศาสตร์ของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2003 มากถึง 79 คะแนน การศึกษาที่ห่วยลงย่อมส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่เรียนจบ ฟินแลนด์มีปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน ปีนี้จีดีพีติดลบ 1% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งติดลบกว่า 3% เมื่อเทียบกับ 2022 และตั้งแต่ 2008 แทบจะไม่มีการเติบโตของเศรษฐกิจเลย ซึ่งเป็นผลให้ประเทศยากจนลง มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามกราฟในภาพกลาง และคุณภาพชีวิตของคนฟินแลนด์ลดลง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลฟินแลนด์โดยนักเลือกตั้งที่ผ่านการศึกษาฟินแลนด์เปิดรับผู้อพยพนับหมื่นๆคนต่อปี โดยคิดไม่ได้หรือไม่ได้คิดว่าจะมีผลอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมาเพิ่มเติมด้วย ผลลัพธ์คือ คนหนุ่มสาวชาวฟินแลนด์อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จำนวนมากขึ้นๆอพยพออกจากฟินแลนด์ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ตามภาพขวาสุด สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการจัดเก็บภาษีในรัฐสวัสดิการแห่งนี้อย่างรุนแรงต่อไป ทั้งหมดนี้ เป็นวงจรอุบาทว์ที่เริ่มจากการทำลายการศึกษา ทำลายโรงเรียน ด้วยความหวังดีโง่ๆที่อยากให้เด็กๆได้เรียนสบายๆ และหากในอนาคต มีใครเห่าหอนอวยว่าโรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ดีงามแค่ไหน เราสามารถแน่ใจได้ว่า ไอ้หรืออีนั่น ไม่รู้ห่านอะไรเลยแม้แต่น้อย”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 560 มุมมอง 0 รีวิว
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.99 : ญี่ปุ่นขึ้น VAT อย่างไร ให้ประชาชนพอรับได้ ?
    .
    พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ตอนนี้ พาไปสำรวจอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับบ้านเรา รวมทั้งมีกรณีศึกษาการขึ้นภาษีของญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีหนี้สาธารณะที่สุดในโลกนั้น แต่ยังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพียง 10% นั้นทำได้อย่างไร และรัฐบาลญี่ปุ่นมีเส้นทางการขึ้นภาษีอย่างไร ที่ประชาชนยอมรับได้ ...
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=E-p2HDZieKE
    บูรพาไม่แพ้ Ep.99 : ญี่ปุ่นขึ้น VAT อย่างไร ให้ประชาชนพอรับได้ ? . พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ตอนนี้ พาไปสำรวจอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับบ้านเรา รวมทั้งมีกรณีศึกษาการขึ้นภาษีของญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีหนี้สาธารณะที่สุดในโลกนั้น แต่ยังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพียง 10% นั้นทำได้อย่างไร และรัฐบาลญี่ปุ่นมีเส้นทางการขึ้นภาษีอย่างไร ที่ประชาชนยอมรับได้ ... . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=E-p2HDZieKE
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 468 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนี้สาธารณะ “สหรัฐ” ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง โดยพุ่งเกินระดับ
    36,000,000,000,000 ดอลลาร์ (36 ล้านล้านดอลลาร์) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

    คาดการณ์กันว่า โดยเฉลี่ยทุก 30 วินาที สหรัฐจะมีหนี้เพิ่มขึ้น 1 ล้านดอลลาร์!
    หนี้สาธารณะ “สหรัฐ” ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง โดยพุ่งเกินระดับ 36,000,000,000,000 ดอลลาร์ (36 ล้านล้านดอลลาร์) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คาดการณ์กันว่า โดยเฉลี่ยทุก 30 วินาที สหรัฐจะมีหนี้เพิ่มขึ้น 1 ล้านดอลลาร์!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ IMF
    คาดหนี้สาธารณะโลกจะพุ่งแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
    หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้

    🚩กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกคำเตือน
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สถานการณ์หนี้สาธารณะทั่วโลก
    อาจเลวร้ายกว่าที่หลายคนคิด โดยเน้นย้ำถึงการขาดดุล
    การคลัง ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐและจีน

    🚩หน่วยงานดังกล่าวคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลก
    จะพุ่งสูงเกิน 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ
    ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567
    โดยคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 100%
    ของ GDP ของโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้

    🚩สหรัฐฯ และจีนมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
    หากไม่รวมทั้งสองประเทศนี้ในการคำนวณ อัตราส่วน
    หนี้สาธารณะต่อ GDP ทั่วโลกจะลดลงประมาณ 20%

    ที่มา : cnbc

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #IMF #thaitimes
    🔥🔥กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ IMF คาดหนี้สาธารณะโลกจะพุ่งแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้ 🚩กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกคำเตือน เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สถานการณ์หนี้สาธารณะทั่วโลก อาจเลวร้ายกว่าที่หลายคนคิด โดยเน้นย้ำถึงการขาดดุล การคลัง ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐและจีน 🚩หน่วยงานดังกล่าวคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลก จะพุ่งสูงเกิน 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 3,400 ล้านล้านบาท ภายในสิ้นปี 2567 โดยคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะทั่วโลกจะพุ่งสูงถึง 100% ของ GDP ของโลกภายในสิ้นทศวรรษนี้ 🚩สหรัฐฯ และจีนมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก หากไม่รวมทั้งสองประเทศนี้ในการคำนวณ อัตราส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP ทั่วโลกจะลดลงประมาณ 20% ที่มา : cnbc #หุ้นติดดอย #การลงทุน #IMF #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1209 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนี้สหรัฐฯ ไร้ทางออก! หนี้พุ่งวันละพันๆ ล้าน ทะลุ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ ชาวอเมริกันแบกหนี้คนละ 103,700 ดอลลาร์ เผยปีนี้จ่ายดอกเบี้ยสูงสุดในประวัติศาสตร์เกิน $1.16 ล้านล้าน

    23 ตุลาคม 2567- รายงานเพจ IMCT News Thai Perspectives on Global News เปิดสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเพิ่มขึ้นถึง 473 พันล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ทะลุระดับ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ สร้างสถิติใหม่ของภาระหนี้ต่อประชากรที่ 103,700 ดอลลาร์ต่อคน

    ที่น่าวิตกไปกว่านั้น ในปีงบประมาณ 2024 สหรัฐฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ ทำลายสถิติการจ่ายดอกเบี้ยที่เคยมีมา คิดเป็นภาระดอกเบี้ยต่อประชากร 3,360 ดอลลาร์ต่อคน สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายทางการคลังครั้งใหญ่ที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญ ท่ามกลางคำถามที่ว่าจะมีแผนรับมือระยะยาวอย่างไร #imctnews รายงาน
    ----
    หนี้ที่เอาไม่อยู่
    หนี้ของสหรัฐฯ ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 473 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาสู่ระดับ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯ ได้ก่อหนี้จำนวน $1,450 สำหรับชาวอเมริกันทุกคนเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ยังหมายความว่าขณะนี้สหรัฐฯ มีหนี้เป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 103,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชาวอเมริกันทุกคน

    ในปี 2024 สหรัฐฯ จ่ายดอกเบี้ยรวม 1.16 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับหนี้ที่ในปีแรกที่สูงกว่าระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์

    เพียงแค่ดอกเบี้ยอย่างเดียว สหรัฐฯ จ่ายเงิน 3,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชาวอเมริกันทุกคนในช่วงปีงบประมาณ 2024 แผนระยะยาวที่นี่คืออะไร?

    ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก IMCT News Thai Perspectives on Global News
    https://www.facebook.com/share/p/iciTB3woD3VHjNwR/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    หนี้สหรัฐฯ ไร้ทางออก! หนี้พุ่งวันละพันๆ ล้าน ทะลุ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ ชาวอเมริกันแบกหนี้คนละ 103,700 ดอลลาร์ เผยปีนี้จ่ายดอกเบี้ยสูงสุดในประวัติศาสตร์เกิน $1.16 ล้านล้าน 23 ตุลาคม 2567- รายงานเพจ IMCT News Thai Perspectives on Global News เปิดสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเพิ่มขึ้นถึง 473 พันล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ทะลุระดับ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ สร้างสถิติใหม่ของภาระหนี้ต่อประชากรที่ 103,700 ดอลลาร์ต่อคน ที่น่าวิตกไปกว่านั้น ในปีงบประมาณ 2024 สหรัฐฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ ทำลายสถิติการจ่ายดอกเบี้ยที่เคยมีมา คิดเป็นภาระดอกเบี้ยต่อประชากร 3,360 ดอลลาร์ต่อคน สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายทางการคลังครั้งใหญ่ที่สหรัฐฯ กำลังเผชิญ ท่ามกลางคำถามที่ว่าจะมีแผนรับมือระยะยาวอย่างไร #imctnews รายงาน ---- หนี้ที่เอาไม่อยู่ หนี้ของสหรัฐฯ ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 473 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาสู่ระดับ 35.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯ ได้ก่อหนี้จำนวน $1,450 สำหรับชาวอเมริกันทุกคนเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังหมายความว่าขณะนี้สหรัฐฯ มีหนี้เป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 103,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชาวอเมริกันทุกคน ในปี 2024 สหรัฐฯ จ่ายดอกเบี้ยรวม 1.16 ล้านล้านดอลลาร์สำหรับหนี้ที่ในปีแรกที่สูงกว่าระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพียงแค่ดอกเบี้ยอย่างเดียว สหรัฐฯ จ่ายเงิน 3,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชาวอเมริกันทุกคนในช่วงปีงบประมาณ 2024 แผนระยะยาวที่นี่คืออะไร? ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก IMCT News Thai Perspectives on Global News https://www.facebook.com/share/p/iciTB3woD3VHjNwR/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 533 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก?

    การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์
    .
    ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
    .
    ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด?

    ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔
    .
    ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ
    .
    ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา
    .
    ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐
    .
    🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse?

    The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion.
    .
    Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term.
    .
    When did US finances and the global dollar system start losing clout?

    ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944.
    .
    ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value.
    .
    ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion.
    .
    ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960.
    .
    10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    🧵💲 เหตุการณ์สำคัญใดบ้างที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบดอลลาร์ทั่วโลก? การประชุมประจำปี ๒๐๒๔ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (WBG) จะเปิดขึ้นในวันที่ ๒๑ ตุลาคม เพื่อมุ่งเน้นไปที่หนี้สาธารณะทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว, ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง ๑๐๐ ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ หนี้, ส่วนใหญ่, เกิดจากการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯมากเกินไป, โดยปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ ๓๕.๖๘ ล้านล้านดอลลาร์ . ในขณะเดียวกัน, ส่วนแบ่งของสหรัฐฯในเศรษฐกิจโลกที่คำนวณโดยใช้ความเท่าเทียมของอำนาจซื้อได้แตะระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์, โดยร่วงลงต่ำกว่า ๑๕%, จากการวิเคราะห์ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศของสปุตนิก คาดว่าจะลดลงอีก, โดยแตะระดับ ๑๔.๗๖% เมื่อสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีโจ ไบเดน . ระบบการเงินของสหรัฐฯและระบบดอลลาร์ทั่วโลก เริ่มสูญเสียอิทธิพลเมื่อใด? ◻️ สหรัฐฯคาดว่ามี ๔๘-๕๒% ของ GDP ทั่วโลก และประมาณ ๖๐% ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกในปี ๑๙๔๔ . ◻️ อเมริกาได้รับสถานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒, เมื่อมีการสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่าระบบเบรตตันวูดส์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๔ การประชุมเบรตตันวูดส์ได้แต่งตั้งให้ดอลลาร์สหรัฐฯเป็นสกุลเงินสำรองของโลกอย่างเป็นทางการ, โดยมีทองคำสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลกหนุนหลังอยู่ สกุลเงินอื่นๆจะถูกผูกไว้กับค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ . ◻️ กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศได้ถูกกำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ในปี ๑๙๔๗ ในปี ๑๙๙๕, ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกแปลงเป็นองค์การการค้าโลก (WTO) สหรัฐอเมริกาใช้ "เครื่องมือ" เหล่านี้เพื่อรักษาอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ในยุโรปและญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก, สหภาพโซเวียต, และจีน ยังคงอยู่ภายนอกเขตการขยายตัวของอเมริกา . ◻️ ภายใต้แผนการมาร์แชลล์, สหรัฐฯจัดสรรเงิน, โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ, เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ในเวลาเดียวกัน, สหรัฐฯยังได้ส่งคำสั่งซื้อที่ทำกำไรมหาศาลให้กับบริษัทในอเมริกา, กระตุ้นเศรษฐกิจของตนเองไปพร้อมกับเสริมสร้างอิทธิพลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๔๐ เป็นมากกว่า ๕๐๐ พันล้านดอลลาร์ในปี ๑๙๖๐ . 🧵💲 What were the milestones leading to the global dollar system’s collapse? The 2024 Annual Meetings of the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank Group (WBG) are opening on October 21 to focus on skyrocketing global public debt, which is expected to reach $100 trillion by the end of this year. The debt, in large part, is driven by the borrowing binge of the US, where the government debt currently stands at $35.68 trillion. . Meanwhile, the US’ share of the global economy calculated using purchasing power parity has reached a historic low, plunging below 15%, Sputnik’s analysis of World Bank and IMF calculations has showed. It is expected to sag further, to reach 14.76% by the end of President Joe Biden's term. . When did US finances and the global dollar system start losing clout? ◻️ The US is estimated to have accounted for 48-52% of global GDP and about 60% of global industrial production in 1944. . ◻️ America secured its economic superpower status at the end of WWII, when the international monetary system known as the Bretton Woods system was forged in July 1944. The Bretton Woods Conference officially crowned the US dollar as the global reserve currency, backed by the world’s largest gold reserves. Other currencies were pegged to the US dollar’s value. . ◻️ International rules for foreign trade were laid out in the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1947. In 1995, the agreement was transformed into the WTO. The US wielded these “tools” to secure geopolitical influence across Europe and Japan. Eastern Europe, the USSR, and China remained outside the zone of American expansion. . ◻️ Under the Marshall Plan, the US provided money, chiefly in the form of grants, to rebuild war-ravaged European economies. At the same time, it funneled lucrative orders to American companies, stimulating its own economy while solidifying its influence over Western Europe's economic systems. US gross national product rose from about $200 billion in 1940 to more than $500 billion in 1960. . 10:27 PM · Oct 21, 2024 · 8,506 Views https://x.com/SputnikInt/status/1848385613361225740
    Like
    Wow
    2
    8 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1634 มุมมอง 0 รีวิว
  • เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า
    จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑

    ด่วนที่สุด

    วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗

    เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖)

    เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

    ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้

    ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น

    ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้

    ๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑

    “มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม

    ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด

    ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ”

    ๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย

    เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ

    มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.

    ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘

    ๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง

    พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง”

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้

    ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก.

    ๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

    ๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ

    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี

    ๓. ขอให้สั่งการแก้ไข

    กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน

    จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

    (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
    อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    สำเนาเรียน
    ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
    ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗
    ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“
    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    เตือนนายกฯครั้งที่ 5 ! นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟสบุ๊ก “Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ระบุว่า จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ เรื่องกองทุนวายุภักษ์ ๑ ด่วนที่สุด วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เรื่อง กองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ อาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) เรียน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่ข้าพเจ้าได้มีหนังสือ ๕ ฉบับ ฉบับหลังสุดลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ (ฉบับที่ ๕) ร้องเรียนกรณีกระทรวงการคลังประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) วงเงิน ๑.๕ แสนล้านบาท ในวันที่ ๑๖-๒๐ กันยายนนี้ และให้นักลงทุนสถาบันจองซื้อในวันที่ ๑๘-๒๐ กันยายนนี้ ซึ่งข้าพเจ้ามีความเห็นว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวอาจจะฝ่าฝืนกฎหมาย นั้น ข้าพเจ้าขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ดังนี้ ๑. พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ “มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดําเนินการดังกล่าว ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรานี้ ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ” ๒. ประเด็นที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบโครงการกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ (กองทุนฯ) และโดยที่เงื่อนไขในการประกาศเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อกองทุนฯ มีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับผลตอบแทนแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี ทั้งจากรายได้แต่ละปี และจากกำไรสะสมของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. และมีผลโดยอัตโนมัติเป็นการที่กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับคืนเงินลงทุนก่อนหน้ากระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า กรณีนี้เข้าข่ายเป็นการที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงการคลัง”ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดําเนินการนั้น” ตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘ ๒.๑ ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ กำหนดหน้าที่และอำนาจของกระทรวงการคลังไว้ว่า “กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง” ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกระทรวงการคลังข้างต้น จึงกระทำมิได้ ส่วนการที่กองทุนฯ จะแบ่งปันรายได้และกำหนดลำดับสิทธิในการคืนเงินลงทุนนั้น ถึงแม้อาจจะอยู่ในหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ แต่กองทุนฯ ไม่มีหน้าที่และอำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการให้มีผลเป็นการทำให้กระทรวงการคลังรับภาระจะชดใช้ให้ผู้ลงทุนซึ่งถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ๒.๒ คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมิได้พิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หรือผลกระทบต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรคสองของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขภาระที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๒.๓ อาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระทรวงการคลังอาจไม่มีการจัดทําประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสําหรับกิจกรรมกองทุนฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันไม่เป็นการปฏิบัติตามวรรตสามของมาตรา ๒๘ เพราะข้าพเจ้าสืบค้นไม่พบการนำเสนอตัวเลขประมาณการที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรี ๓. ขอให้สั่งการแก้ไข กรณีที่ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าขอเรียนว่า ท่านมีหน้าที่สั่งการให้แก้ไข และลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพลัน จึงขอให้ท่านโปรดพิจารณาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำเนาเรียน ประธาน ป.ป.ช. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ค.ต.ง. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗ ประธาน ก.ก.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาหนังสือร้องเรียน ฉบับหลังสุดวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๖๗“ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/Ti8aaMp5mLUDpy1U/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 954 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..แอปนี้กำลังถูกโจมตีจากเดอะแก๊งท่านลอร์ดมั้ยนะ รู้สึกมีปัญหาแล้ว
    ..จริงๆต้องให้เครดิตรัฐฐะชุดนี้นะ,ถ้าไม่ทำก็ไม่แจกหรอก พอดีคุยเป็นนโยบายแล้วเลยเสียไม่ได้,ดันต่อก็คุกทั้งครม.และคณะบริหารเพราะเรื่องที่แฉกันไว้มันตรึม,แบงค์ชาติยิ่งคัดค้านหัวชนฝา บาทคอยน์อินทนนท์มีทองคำค้ำประกันแต่เหรียญคริปโตฯโทเคนนี้ไร้ที่มา&ขาดทุนมาจากไหนมิรู้จะชุบให้มีราคาในไทยก็ว่า,ค่าคอมฯไป&กลับ6%โน้น,สาระพัดอื่นๆอีก,แอปก็ไม่ปลอดภัยแฮ๊กเกอร์ดักข้อมูลประชาชนสบายๆอีกดูดๆสบายๆก็ว่า,ท่านลอร์ดแม้มอบจะจัดการให้คนไทยรับรู้ความเป็นทาสให้รวดเร็วผ่านตังดิจิดัลนี้เพื่ออนาคตจะครองทาสทั้งโลกได้เบ็ดเสร็จผ่านการควบคุมจากตังดิจิดัลนี้ก็ว่า,เจตนาแรกอาจชั่วและเลว,ถูกบีบให้มาทำดีก็ดีต่อประชาชนล่ะ,เยียวยาตรงจุดเหมาะสม สมเหตุสมผลแล้ว แบงค์ชาติและคนอื่นๆก็เห็นด้วยและอนุมัตหากแจกเป็นเงินสด.
    ..อย่าไปห่วงเลยว่าหนี้สาธารณะหนี้ครัวเรือนหนี้สาระพัดใดๆจะมากมายขนาดไหน สุดท้ายใครปกครองมาบริหารต้องรับผิดชอบเต็มๆมีมั้ยโยนขี้ให้คนบริหารหรือรัฐบาลเก่าที่สร้างหนี้เอาไว้มึงต้องมารับผิดชอบด้วย เพราะห่านี้หนีเข้ากรอบเมฆเลย ลอยตัวด้วยที่สร้างความระยำไว้ต่อเนื่องสะสมมาถึงปัจจุบัน.
    ..โดยหน้าที่คือความรับผิดชอบต้องสร้างรายได้และปกป้องประเทศให้ปลอดภัยจากภัยศัตรูรอบด้านและต่างชาติชั่วเลวรอบโลกที่หมายยึดไทย ปล้นจี้ข่มขืนอิสระภาพเสรีแผ่นดินไทย กดขี่อธิปไตยคนไทย,แบบUNสั่งแผ่นดินไทยต้องรับคนพม่ามาเลี้ยงดูบนแผ่นดินไทยนะนี้คือคำสั่งมันว่า.
    ..คนไทยถ้าสร้างกลุ่มจัดตั้งกองทัพภาคประชาชนจริงจัง ยึดอำนาจแบบพันธมิตรเสื้อเหลืองทำไม่เสด็จน้ำ ไม่เด็ดขาดสิ้นซากในอดีตด้วยกำลังใจคนพร้อมสุดเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงได้อาจยึดคืนบ่อน้ำมันคืนมาทั้งประเทศด้วย ได้คืนทรัพยากรมีค่ามากมายกลับคืนทั้งหมดด้วย ไล่ต่างชาติเลวออกไปได้อย่างสบายอีก,แต่หน้าผิดหวังที่ไม่ทำ ต่อยอดจนสุเทพมาทำยึดอำนาจโดยลุงเสียและเสียของด้วย,ทิ้งท้ายไปอนุมัตสัมปทานอ่าวไทยสองแปลงให้ต่างชาติมาทำปิโตรเลียมอีกโน้น บ่อทองคำก็ให้ทำต่ออีก.,เสียของจริงๆไม่นับรวมผูกขาดเมล็ดพันธุ์ความมั่นคงทางอาหารให้แก่เอกชนนะ ประชาชนไม่ยอม พรบ.นั้นจึงตกไป ,พรบ.500กว่าฉบับยุคยึดอำนาจ ไม่รู้เลยว่าไส้ในมันดีจริงต่ออธิปไตยแผ่นดินไทยมั้ย จนลุงได้รับเลือกตั้งอีกสมัย,จนเช่าที่ดิน เช่าคอนโด99ปีมันสำเร็จแก่ต่าวชาติโน้น.,
    ..แจกตังแค่นี้ถือว่าไม่มากอะไรเลย แสนกว่าล้าน เทียบกับอธิปไตยทางทรัพยากรมีค่าที่ถูกโกง&ปล้นไปโดยการสุมหัวกันทั้งนักการเมืองไทยทั้งข้าราชการไทยที่เลวๆชั่วๆสันดานปกติจริตนิสัยตามDNAโคตรวงศ์ตระกูลสืบสันดานกันมาปกติคงไม่แปลกใจนักว่าชาติไทยเราจะมั่นคงในการทำให้ยากจนมั่นคงดักดานยั่งยืนได้ขนาดนี้.
    ..คนไทยยึดคือบ่อน้ำมันบ่อทองคำได้แค่สองอย่างนี้ก่อน มีพลิกฟื้นฟูสู่ความร่ำรวยทุกๆคนอย่างแน่นอน,อเมริกาอนาคตอาจจ่ายUBIคนอเมริกากว่า100,000ถึง300,000$ต่อเดือนโน้น ถ้าตึกWTCตึกแฝดไม่ถล่มนะคนอเมริกาคุยว่าแบบนี้,ตีเป็นเงินไทยคือ40฿:1$เลยแบบอ่อนค่าไว้ก่อน,ก็4,000,000-12,000,000บาทต่อเดือนเลยนะ,ไทยเราขอแค่UBIที่25,000บาทต่อเดือนเองถือว่าน้อยมาก,อัดโครงการเศรษฐกิจสมถะพอเพียงอีก,พึ่งพาตนเองคู่ศีลธรรมทางจิตวิญญาณโคตรๆเลย,อย่างน้อยมีรายรับเข้าทุกๆเดือนอาวุธพร้อมกระสุนพร้อม ทั้งรุกทั้งรับ&ป้องกันได้สบาย ใครจะซื้อหาปลูก&เลี้ยงอะไรเพื่อปากท้องก่อนเหลือแบ่งปันจนขายสร้างตังเข้าตนเองได้หมด,แต่ปัจจุบันคนไทยไม่มีตังจะซื้ออะไรทำแบบที่ว่าได้ไง,ร้องขอผีบ้าจากรัฐบาลจากนักปกครองที่ขลาดโง่ให้เขามายึดครองแหล่งทำตังตนเองแบบบ่อน้ำมันเอบบ่อทองคำเอยได้อย่างง่ายดายถือว่ากาก&กระจอกมากจนถึงปัจจุบันทำให้โมฆะยังไม่ได้ที่ปล้นเราไปเสมือนได้ฟรีๆเลยก็ว่า,
    ..คนไทยจึงเสมือนว่าถูกทำให้ยากจนจึงไม่ผิดไปจากความจริง,รับเศษตังเศษเงินแบบนี้ ซึ่งทุกๆคนไทยเราสมควรร่ำรวยมั่งคั่งกันทุกๆคนนานแล้ว.
    ..แอปนี้กำลังถูกโจมตีจากเดอะแก๊งท่านลอร์ดมั้ยนะ รู้สึกมีปัญหาแล้ว ..จริงๆต้องให้เครดิตรัฐฐะชุดนี้นะ,ถ้าไม่ทำก็ไม่แจกหรอก พอดีคุยเป็นนโยบายแล้วเลยเสียไม่ได้,ดันต่อก็คุกทั้งครม.และคณะบริหารเพราะเรื่องที่แฉกันไว้มันตรึม,แบงค์ชาติยิ่งคัดค้านหัวชนฝา บาทคอยน์อินทนนท์มีทองคำค้ำประกันแต่เหรียญคริปโตฯโทเคนนี้ไร้ที่มา&ขาดทุนมาจากไหนมิรู้จะชุบให้มีราคาในไทยก็ว่า,ค่าคอมฯไป&กลับ6%โน้น,สาระพัดอื่นๆอีก,แอปก็ไม่ปลอดภัยแฮ๊กเกอร์ดักข้อมูลประชาชนสบายๆอีกดูดๆสบายๆก็ว่า,ท่านลอร์ดแม้มอบจะจัดการให้คนไทยรับรู้ความเป็นทาสให้รวดเร็วผ่านตังดิจิดัลนี้เพื่ออนาคตจะครองทาสทั้งโลกได้เบ็ดเสร็จผ่านการควบคุมจากตังดิจิดัลนี้ก็ว่า,เจตนาแรกอาจชั่วและเลว,ถูกบีบให้มาทำดีก็ดีต่อประชาชนล่ะ,เยียวยาตรงจุดเหมาะสม สมเหตุสมผลแล้ว แบงค์ชาติและคนอื่นๆก็เห็นด้วยและอนุมัตหากแจกเป็นเงินสด. ..อย่าไปห่วงเลยว่าหนี้สาธารณะหนี้ครัวเรือนหนี้สาระพัดใดๆจะมากมายขนาดไหน สุดท้ายใครปกครองมาบริหารต้องรับผิดชอบเต็มๆมีมั้ยโยนขี้ให้คนบริหารหรือรัฐบาลเก่าที่สร้างหนี้เอาไว้มึงต้องมารับผิดชอบด้วย เพราะห่านี้หนีเข้ากรอบเมฆเลย ลอยตัวด้วยที่สร้างความระยำไว้ต่อเนื่องสะสมมาถึงปัจจุบัน. ..โดยหน้าที่คือความรับผิดชอบต้องสร้างรายได้และปกป้องประเทศให้ปลอดภัยจากภัยศัตรูรอบด้านและต่างชาติชั่วเลวรอบโลกที่หมายยึดไทย ปล้นจี้ข่มขืนอิสระภาพเสรีแผ่นดินไทย กดขี่อธิปไตยคนไทย,แบบUNสั่งแผ่นดินไทยต้องรับคนพม่ามาเลี้ยงดูบนแผ่นดินไทยนะนี้คือคำสั่งมันว่า. ..คนไทยถ้าสร้างกลุ่มจัดตั้งกองทัพภาคประชาชนจริงจัง ยึดอำนาจแบบพันธมิตรเสื้อเหลืองทำไม่เสด็จน้ำ ไม่เด็ดขาดสิ้นซากในอดีตด้วยกำลังใจคนพร้อมสุดเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงได้อาจยึดคืนบ่อน้ำมันคืนมาทั้งประเทศด้วย ได้คืนทรัพยากรมีค่ามากมายกลับคืนทั้งหมดด้วย ไล่ต่างชาติเลวออกไปได้อย่างสบายอีก,แต่หน้าผิดหวังที่ไม่ทำ ต่อยอดจนสุเทพมาทำยึดอำนาจโดยลุงเสียและเสียของด้วย,ทิ้งท้ายไปอนุมัตสัมปทานอ่าวไทยสองแปลงให้ต่างชาติมาทำปิโตรเลียมอีกโน้น บ่อทองคำก็ให้ทำต่ออีก.,เสียของจริงๆไม่นับรวมผูกขาดเมล็ดพันธุ์ความมั่นคงทางอาหารให้แก่เอกชนนะ ประชาชนไม่ยอม พรบ.นั้นจึงตกไป ,พรบ.500กว่าฉบับยุคยึดอำนาจ ไม่รู้เลยว่าไส้ในมันดีจริงต่ออธิปไตยแผ่นดินไทยมั้ย จนลุงได้รับเลือกตั้งอีกสมัย,จนเช่าที่ดิน เช่าคอนโด99ปีมันสำเร็จแก่ต่าวชาติโน้น., ..แจกตังแค่นี้ถือว่าไม่มากอะไรเลย แสนกว่าล้าน เทียบกับอธิปไตยทางทรัพยากรมีค่าที่ถูกโกง&ปล้นไปโดยการสุมหัวกันทั้งนักการเมืองไทยทั้งข้าราชการไทยที่เลวๆชั่วๆสันดานปกติจริตนิสัยตามDNAโคตรวงศ์ตระกูลสืบสันดานกันมาปกติคงไม่แปลกใจนักว่าชาติไทยเราจะมั่นคงในการทำให้ยากจนมั่นคงดักดานยั่งยืนได้ขนาดนี้. ..คนไทยยึดคือบ่อน้ำมันบ่อทองคำได้แค่สองอย่างนี้ก่อน มีพลิกฟื้นฟูสู่ความร่ำรวยทุกๆคนอย่างแน่นอน,อเมริกาอนาคตอาจจ่ายUBIคนอเมริกากว่า100,000ถึง300,000$ต่อเดือนโน้น ถ้าตึกWTCตึกแฝดไม่ถล่มนะคนอเมริกาคุยว่าแบบนี้,ตีเป็นเงินไทยคือ40฿:1$เลยแบบอ่อนค่าไว้ก่อน,ก็4,000,000-12,000,000บาทต่อเดือนเลยนะ,ไทยเราขอแค่UBIที่25,000บาทต่อเดือนเองถือว่าน้อยมาก,อัดโครงการเศรษฐกิจสมถะพอเพียงอีก,พึ่งพาตนเองคู่ศีลธรรมทางจิตวิญญาณโคตรๆเลย,อย่างน้อยมีรายรับเข้าทุกๆเดือนอาวุธพร้อมกระสุนพร้อม ทั้งรุกทั้งรับ&ป้องกันได้สบาย ใครจะซื้อหาปลูก&เลี้ยงอะไรเพื่อปากท้องก่อนเหลือแบ่งปันจนขายสร้างตังเข้าตนเองได้หมด,แต่ปัจจุบันคนไทยไม่มีตังจะซื้ออะไรทำแบบที่ว่าได้ไง,ร้องขอผีบ้าจากรัฐบาลจากนักปกครองที่ขลาดโง่ให้เขามายึดครองแหล่งทำตังตนเองแบบบ่อน้ำมันเอบบ่อทองคำเอยได้อย่างง่ายดายถือว่ากาก&กระจอกมากจนถึงปัจจุบันทำให้โมฆะยังไม่ได้ที่ปล้นเราไปเสมือนได้ฟรีๆเลยก็ว่า, ..คนไทยจึงเสมือนว่าถูกทำให้ยากจนจึงไม่ผิดไปจากความจริง,รับเศษตังเศษเงินแบบนี้ ซึ่งทุกๆคนไทยเราสมควรร่ำรวยมั่งคั่งกันทุกๆคนนานแล้ว.
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 950 มุมมอง 118 0 รีวิว
Pages Boosts