• ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1759 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
    วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต

    หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า

    “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”

    ————

    "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"


    ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด

    เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน

    สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่

    1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:

    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

    ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

    แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

    บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย

    ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”

    ................

    2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต

    ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว

    ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ

    แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น

    ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”

    ..................

    3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”

    ----------

    ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม

    จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว

    ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

    ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)

    ………

    ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

    —————-

    ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:


    “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา

    น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ

    น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

    ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย

    ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)

    มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”

    (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)

    ------------

    จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ

    แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”

    ……….

    ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย

    จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ

    ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
    ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498 วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8” ———— "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด" ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่ 1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้: “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้ แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498” ................ 2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้ “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’” .................. 3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้: “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’” ---------- ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า) ……… ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย —————- ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้: “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย) มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.” (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย) ------------ จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…” ………. ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพทหารยูเครนในภูมิภาคเคิร์ส กำลังยอมจำนนพร้อมกับพูดไปด้วยว่า “พวกเราเป็นชาวยูเครน อย่าฆ่าพวกเรา”

    ทหารยูเครนเหล่านี้คงรับรู้นโยบายของประธานาธิบดีปูตินเป็นอย่างดี ต่อการบุกเข้ามาในดินแดนรัสเซียว่า หากเป็นชาวต่างชาติจะมีชะตากรรมอย่างเดียว นั่นคือ "ไม่มีสถานะนักโทษ หรือการจับเป็น!"
    ภาพทหารยูเครนในภูมิภาคเคิร์ส กำลังยอมจำนนพร้อมกับพูดไปด้วยว่า “พวกเราเป็นชาวยูเครน อย่าฆ่าพวกเรา” ทหารยูเครนเหล่านี้คงรับรู้นโยบายของประธานาธิบดีปูตินเป็นอย่างดี ต่อการบุกเข้ามาในดินแดนรัสเซียว่า หากเป็นชาวต่างชาติจะมีชะตากรรมอย่างเดียว นั่นคือ "ไม่มีสถานะนักโทษ หรือการจับเป็น!"
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 204 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • 70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม?

    ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย

    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

    แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่?

    ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8
    9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม
    ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

    🔎 ลักษณะพระบรมศพ
    มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย

    💡 คำถามที่เกิดขึ้น
    เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์?
    หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ?

    มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด

    1. นายเฉลียว ปทุมรส
    อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต

    2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม
    อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์

    3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง
    เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต

    💭 ข้อโต้แย้ง
    มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์

    ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร
    หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ
    - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน
    - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม
    - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม

    17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล
    ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
    ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร
    ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร
    ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร

    หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น

    👀 ความน่าสงสัย
    - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน
    - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี

    ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง?
    แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด

    🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ"
    ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน
    มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง

    🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์"
    มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง
    ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ

    🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป"
    สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง
    หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย

    คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ
    แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง

    ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥
    - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์?
    - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่?

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568

    #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม? ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่? ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง 🔎 ลักษณะพระบรมศพ มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย 💡 คำถามที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์? หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ? มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1. นายเฉลียว ปทุมรส อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต 2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์ 3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต 💭 ข้อโต้แย้ง มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น 👀 ความน่าสงสัย - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง? แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด 🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ" ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน 🔴 ข้อโต้แย้ง ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง 🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์" มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร 🔴 ข้อโต้แย้ง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ 🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป" สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥 - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์? - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่? ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568 #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด
    .
    ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน
    .
    ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา
    .
    การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น
    .
    ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว
    .
    ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน
    .
    หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง
    .
    คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง
    .
    เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้
    .
    คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319
    ..................
    Sondhi X
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด . ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน . ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง . ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา . การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น . ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว . ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน . หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี . อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง . คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง . เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้ . คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1472 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 360 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิสราเอลขู่เปิดการถล่มโจมตีขึ้นใหม่ในกาซา หากไม่มีการปล่อยตัวประกันภายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะที่ฮามาสยันยังยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง และโทษรัฐยิวเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง ขณะในอีกด้านหนึ่ง ทรัมป์ยังคงยืนกรานอ้างลอยๆ ว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้ายึดครองฉนวนกาซา รวมทั้งย้ายชาวปาเลสไตน์ออกไปเป็นการถาวร แม้ล่าสุดถูกคัดค้านจากกษัตริย์จอร์แดนซึ่งเดินทางไปเยือนทำเนียบขาว ส่วนอียิปต์เตรียมเสนอแผนระดมพันธมิตรในตะวันออกกลางฟื้นฟูกาซาร่วมกับวอชิงตัน โดยที่ไม่มีการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์หนีไปไหน
    .
    ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงล่าสุดที่ดำเนินมาหลายอาทิตย์แล้ว ตัวประกันอิสราเอลจะได้รับการปล่อยตัวทุกสัปดาห์ แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ โดยนับจากวันที่ 19 ม.ค. มีการปล่อยตัวประกันแล้ว 16 คน จาก 33 คนตามข้อตกลงหยุดยิงเฟสแรกที่กินเวลา 42 วัน และอิสราเอลปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หลายร้อยคนเป็นการแลกเปลี่ยน ทว่า ข้อตกลงนี้กำลังสั่นคลอนอย่างหนักในช่วงหลายวันที่ผ่านมา
    .
    เมื่อวันอังคาร (11) นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ยื่นคำขาดว่า ถ้าฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันภายในเที่ยงวันเสาร์ จะถือว่าข้อตกลงหยุดยิงสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับไปโจมตีกาซาอย่างหนักหน่วงจนกว่าฮามาสแพ้ราบคาบ
    .
    เนทันยาฮูเสริมว่า สั่งการให้กองทัพระดมทหารเตรียมพร้อมทั้งภายในและรอบๆ กาซาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานกองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ส่งกำลังไปเพิ่มทางใต้ของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเรียกทหารกองหนุนเข้าประจำการ ขณะที่ครอบครัวตัวประกันพากันชุมนุมหน้าสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันจันทร์ (10) กองกำลัง เอซเซดีน อัล-กัสซัม ซึ่งเป็นส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาส ประกาศจะเลื่อนการปล่อยตัวประกันชุดต่อไปที่เดิมกำหนดไว้ในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงทั้งในส่วนความช่วยเหลือ และการเสียชีวิตของชาวกาซา 3 คนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สำทับว่า พร้อมปล่อยตัวประกันตามกำหนด หากอิสราเอลปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ทว่า อิสราเอลยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการให้ความช่วยเหลือ และที่ต้องยิงชาวกาซาทั้งสามคน เนื่องจากคนเหล่านั้นละเมิดคำเตือนไม่ให้เข้าใกล้กองทหารอิสราเอล
    .
    ด้าน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันตามแผน และหลีกเลี่ยงการฟื้นการสู้รบในกาซา
    .
    ทว่า กบฏฮูตีที่เป็นพันธมิตรของฮามาส และโจมตีอิสราเอลหลายครั้งเพื่อแสดงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์นั้น ประกาศว่า พร้อมเข้าแทรกแซงทางทหารทุกเมื่อหากกาซาถูกโจมตีอีก
    .
    ขณะเดียวกัน แม้เนทันยาฮูไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ฮามาสต้องปล่อยตัวประกันทั้งหมด 76 คนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในกาซา หรือแค่ 3 คนภายใต้ข้อตกลงเดิม แต่เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังสายเหยี่ยว เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี “เปิดขุมนรก” ถ้าตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดไม่ได้รับอิสรภาพภายในวันเสาร์ รวมทั้งให้อิสราเอลเข้ายึดครองฉนวนกาซาเบ็ดเสร็จ และยุติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมด
    .
    ภายหลังการยื่นคำขาดของเนทันยาฮู ทางฮามาสได้ออกคำแถลงยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงหยุดยิง และกล่าวหาอิสราเอลเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง
    .
    การขู่ยุติการหยุดยิงของเนทันยาฮู เป็นการตอกย้ำคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ให้ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดภายในเที่ยงวันเสาร์ ไม่เช่นนั้นจะประกาศให้ยุติข้อตกลงหยุดยิง และฮามาสจะต้องเผชิญ “นรก” ที่เลวร้ายกว่าที่เคยเป็นมา
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำคำขู่นี้อีก ระหว่างให้การต้อนรับกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดนเมื่อวันอังคาร รวมทั้งอ้างอีกครั้งหนึ่งว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้าครอบครองและฟื้นฟูฉนวนกาซา และอพยพชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากดินแดนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า จะมีดินแดนบางส่วนในจอร์แดน อียิปต์ และประเทศอื่นๆ ที่พร้อมให้ชาวปาเลสไตน์เหล่านั้นย้ายไปตั้งถิ่นฐาน
    .
    ทว่า กษัตริย์อับดุลเลาะห์ย้ำจุดยืนของจอร์แดนและชาติอาหรับทั้งหมดในการคัดค้านการบังคับย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ และเสริมว่า อียิปต์กำลังร่างแผนการที่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางจะร่วมฟื้นฟูกาซากับอเมริกา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์แถลงในเวลาต่อมาว่า ไคโรจะเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการฟื้นฟูกาซาโดยที่รับประกันว่า ชาวปาเลสไตน์จะได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014305
    ..............
    Sondhi X
    อิสราเอลขู่เปิดการถล่มโจมตีขึ้นใหม่ในกาซา หากไม่มีการปล่อยตัวประกันภายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะที่ฮามาสยันยังยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง และโทษรัฐยิวเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง ขณะในอีกด้านหนึ่ง ทรัมป์ยังคงยืนกรานอ้างลอยๆ ว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้ายึดครองฉนวนกาซา รวมทั้งย้ายชาวปาเลสไตน์ออกไปเป็นการถาวร แม้ล่าสุดถูกคัดค้านจากกษัตริย์จอร์แดนซึ่งเดินทางไปเยือนทำเนียบขาว ส่วนอียิปต์เตรียมเสนอแผนระดมพันธมิตรในตะวันออกกลางฟื้นฟูกาซาร่วมกับวอชิงตัน โดยที่ไม่มีการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์หนีไปไหน . ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงล่าสุดที่ดำเนินมาหลายอาทิตย์แล้ว ตัวประกันอิสราเอลจะได้รับการปล่อยตัวทุกสัปดาห์ แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ โดยนับจากวันที่ 19 ม.ค. มีการปล่อยตัวประกันแล้ว 16 คน จาก 33 คนตามข้อตกลงหยุดยิงเฟสแรกที่กินเวลา 42 วัน และอิสราเอลปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หลายร้อยคนเป็นการแลกเปลี่ยน ทว่า ข้อตกลงนี้กำลังสั่นคลอนอย่างหนักในช่วงหลายวันที่ผ่านมา . เมื่อวันอังคาร (11) นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ยื่นคำขาดว่า ถ้าฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันภายในเที่ยงวันเสาร์ จะถือว่าข้อตกลงหยุดยิงสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับไปโจมตีกาซาอย่างหนักหน่วงจนกว่าฮามาสแพ้ราบคาบ . เนทันยาฮูเสริมว่า สั่งการให้กองทัพระดมทหารเตรียมพร้อมทั้งภายในและรอบๆ กาซาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานกองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ส่งกำลังไปเพิ่มทางใต้ของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเรียกทหารกองหนุนเข้าประจำการ ขณะที่ครอบครัวตัวประกันพากันชุมนุมหน้าสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง . ก่อนหน้านี้ เมื่อวันจันทร์ (10) กองกำลัง เอซเซดีน อัล-กัสซัม ซึ่งเป็นส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาส ประกาศจะเลื่อนการปล่อยตัวประกันชุดต่อไปที่เดิมกำหนดไว้ในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงทั้งในส่วนความช่วยเหลือ และการเสียชีวิตของชาวกาซา 3 คนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สำทับว่า พร้อมปล่อยตัวประกันตามกำหนด หากอิสราเอลปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงหยุดยิง . ทว่า อิสราเอลยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการให้ความช่วยเหลือ และที่ต้องยิงชาวกาซาทั้งสามคน เนื่องจากคนเหล่านั้นละเมิดคำเตือนไม่ให้เข้าใกล้กองทหารอิสราเอล . ด้าน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันตามแผน และหลีกเลี่ยงการฟื้นการสู้รบในกาซา . ทว่า กบฏฮูตีที่เป็นพันธมิตรของฮามาส และโจมตีอิสราเอลหลายครั้งเพื่อแสดงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์นั้น ประกาศว่า พร้อมเข้าแทรกแซงทางทหารทุกเมื่อหากกาซาถูกโจมตีอีก . ขณะเดียวกัน แม้เนทันยาฮูไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ฮามาสต้องปล่อยตัวประกันทั้งหมด 76 คนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในกาซา หรือแค่ 3 คนภายใต้ข้อตกลงเดิม แต่เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังสายเหยี่ยว เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี “เปิดขุมนรก” ถ้าตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดไม่ได้รับอิสรภาพภายในวันเสาร์ รวมทั้งให้อิสราเอลเข้ายึดครองฉนวนกาซาเบ็ดเสร็จ และยุติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมด . ภายหลังการยื่นคำขาดของเนทันยาฮู ทางฮามาสได้ออกคำแถลงยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงหยุดยิง และกล่าวหาอิสราเอลเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง . การขู่ยุติการหยุดยิงของเนทันยาฮู เป็นการตอกย้ำคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ให้ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดภายในเที่ยงวันเสาร์ ไม่เช่นนั้นจะประกาศให้ยุติข้อตกลงหยุดยิง และฮามาสจะต้องเผชิญ “นรก” ที่เลวร้ายกว่าที่เคยเป็นมา . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำคำขู่นี้อีก ระหว่างให้การต้อนรับกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดนเมื่อวันอังคาร รวมทั้งอ้างอีกครั้งหนึ่งว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้าครอบครองและฟื้นฟูฉนวนกาซา และอพยพชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากดินแดนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า จะมีดินแดนบางส่วนในจอร์แดน อียิปต์ และประเทศอื่นๆ ที่พร้อมให้ชาวปาเลสไตน์เหล่านั้นย้ายไปตั้งถิ่นฐาน . ทว่า กษัตริย์อับดุลเลาะห์ย้ำจุดยืนของจอร์แดนและชาติอาหรับทั้งหมดในการคัดค้านการบังคับย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ และเสริมว่า อียิปต์กำลังร่างแผนการที่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางจะร่วมฟื้นฟูกาซากับอเมริกา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์แถลงในเวลาต่อมาว่า ไคโรจะเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการฟื้นฟูกาซาโดยที่รับประกันว่า ชาวปาเลสไตน์จะได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014305 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    Love
    Haha
    Yay
    Sad
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2035 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนทันยาฮู ประกาศจะกลับมาทำสงครามอีกครั้ง:

    “ผมเพิ่งจะเสร็จสิ้นการหารือเชิงลึกนาน 4 ชั่วโมงกับคณะรัฐมนตรีความมั่นคง พวกเราทุกคนต่างแสดงความไม่พอใจต่อสภาพที่น่าตกใจของนักโทษทั้งสามคนของเราที่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

    เมื่อวานนี้ ผมสั่งให้กองทัพอิสราเอลระดมกำลังเข้าไปยังฉนวนกาซาและบริเวณชายแดน ปฏิบัติการนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

    มติเอกฉันท์ที่ผมผ่านในคณะรัฐมนตรีมีดังนี้: หากฮามาสไม่ส่งนักโทษของเรากลับคืนภายในเที่ยงวันเสาร์ การหยุดยิงจะสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับมาสู้รบอย่างเข้มข้นอีกครั้ง จนกว่าฮามาสจะพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด”
    นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนทันยาฮู ประกาศจะกลับมาทำสงครามอีกครั้ง: “ผมเพิ่งจะเสร็จสิ้นการหารือเชิงลึกนาน 4 ชั่วโมงกับคณะรัฐมนตรีความมั่นคง พวกเราทุกคนต่างแสดงความไม่พอใจต่อสภาพที่น่าตกใจของนักโทษทั้งสามคนของเราที่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ ผมสั่งให้กองทัพอิสราเอลระดมกำลังเข้าไปยังฉนวนกาซาและบริเวณชายแดน ปฏิบัติการนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด มติเอกฉันท์ที่ผมผ่านในคณะรัฐมนตรีมีดังนี้: หากฮามาสไม่ส่งนักโทษของเรากลับคืนภายในเที่ยงวันเสาร์ การหยุดยิงจะสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับมาสู้รบอย่างเข้มข้นอีกครั้ง จนกว่าฮามาสจะพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด”
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 267 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • ฮามาสแถลงว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอลจนกว่าจะแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม ในสิ่งที่พวกนักรบปาเลสไตน์กลุ่มนี้กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในกาซา เพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะโหมกระพือขึ้นมาใหม่
    .
    ถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงนั้นเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว แม้อีกด้านหนึ่งทางครอบครัวของตัวประกันอิสราเอลเรียกร้องให้ทางรัฐบาลยึดมั่นในข้อตกลงและชาวกาซากำลังหาทางเริ่มต้นฟื้นฟูวิถีชีวิตในฉนวนที่ถูกทำลายล้างแห่งนี้ หลังต้องอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามมานานกว่า 15 เดือน
    .
    ฮามาส มีกำหนดปล่อยตัวประกันอิสราเอลเพิ่มเติมในวันเสาร์หน้า(15ก.พ.) แลกกับนักโทษปาเลสไตน์และชาวปาเลสไตน์คนอื่นๆที่ถูกควบคุมตัวในอิสราเอล แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด
    .
    อาบู อูไบดา โฆษกปีกติดอาวุธของฮามาส กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงต่างๆนานา ในนั้นรวมถึงการเตะถ่วงชาวปาเลสไตน์จากการกลับสู่ทางเหนือของกาซา ยิงปืนใหญ่และสาดกระสุนเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ รวมถึงสกัดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่ให้เข้าสู่ฉนวนแห่งนี้
    .
    ข้อตกลงหยุดยิงส่วนใหญ่แล้วยังคงได้รับการยึดถือนับตั้งแต่เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา แม้มีเหตุการณ์บางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล และฮามาสเลื่อนการให้ชื่อตัวประกันที่พวกเขามีแผนปล่อยตัว ขณะเดียวกันทางหน่วยงานความช่วยเหลือต่างๆ เผยว่าความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ป้อนเข้าสู่ฉนวนกาซา ได้เพิ่มจำนวนขึ้นนับตั้งแต่มีข้อตกลงหยุดยิง
    .
    อย่างไรก็ตาม อูไบดา ของฮามาส ระบุว่ากำหนดการปล่อยตัวประกันครั้งถัดไปในวันเสาร์(8ก.พ.) จะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าอิสราเอลจะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและชดเชยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
    .
    กระนั้นทาง อิสราเอล คาทซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอล ระบุว่าถ้อยแถลงของฮามาสเองเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง และเผยว่าได้ออกคำสั่งให้กองทัพอยู่ในระดับความพร้อมขั้นสูงสุดในกาซา และสำหรับป้องกันตนเองภายใน
    .
    แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของอียิปต์ 2 ราย บอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าบรรดาคนกลางการเจรจา ประกอบด้วยกาตาร์และอียิปต์ รวมไปถึงสหรัฐฯ มีความกังวลเกี่ยวกับการพังครืนของข้อตกลงหยุดยิง
    .
    กลุ่มที่เป็นตัวแทนครอบครัวตัวประกัน เรียกร้องให้บรรดาคนกลางหาทางค้ำยันข้อตกลงหยุดยิง ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นตัวแทนของทหารผ่านศึกอิสราเอล กล่วหารัฐบาลตั้งใจบ่อนทำลายข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส
    .
    จนถึงตอนนี้มีตัวประกัน 16 คน จากทั้งหมด 33 คน ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในเฟสแรก 42 วันของข้อตกลงหยุดยิง เช่นเดียวกับตัวประกันไทย 5 คน ที่เป็นอิสระในการปล่อยตัวที่ไม่มีในกำหนดการ
    .
    ในทางกลับกัน อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษและผู้ถูกคมขังชาวปาเลสไตน์ไปแล้วหลายร้อยคน ในนั้นรวมถึงผู้ต้องขังที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในฐานความผิดโจมตีนองเลือดต่างๆนานา และชาวปาเลสไตน์ที่ถูกจับและควบคุมตัวระหว่างสงคราม โดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ
    .
    แต่ทาง ฮามาส กล่าวหาอิสราเอล เตะถ่วงการปล่อยให้ความช่วยเหลือเข้าสู่กาซา หนึ่งในหลายเงื่อนไขของเฟสแรกในข้อตกลงหยุดยิง ข้อกล่าวหาที่ทางอิสราเอลปฏิเสธ โดยบอกว่าไม่เป็นความจริง
    .
    ขณะเดียวกัน อิสราเอล ได้กล่าวหา ฮามาส กลับไปว่า ไม่เคารพต่อข้อตกลง ที่ต้องมีการปล่อยตัวประกัน และอยู่เบื้องหลังการแสดงออกที่ดูหมิ่นเหยียดหยามต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก ครั้งที่มีการส่งมอบตัวประกันเหล่านั้นแก่สภากาชาด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..
    ..............
    Sondhi X
    ฮามาสแถลงว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอลจนกว่าจะแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม ในสิ่งที่พวกนักรบปาเลสไตน์กลุ่มนี้กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในกาซา เพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะโหมกระพือขึ้นมาใหม่ . ถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงนั้นเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว แม้อีกด้านหนึ่งทางครอบครัวของตัวประกันอิสราเอลเรียกร้องให้ทางรัฐบาลยึดมั่นในข้อตกลงและชาวกาซากำลังหาทางเริ่มต้นฟื้นฟูวิถีชีวิตในฉนวนที่ถูกทำลายล้างแห่งนี้ หลังต้องอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามมานานกว่า 15 เดือน . ฮามาส มีกำหนดปล่อยตัวประกันอิสราเอลเพิ่มเติมในวันเสาร์หน้า(15ก.พ.) แลกกับนักโทษปาเลสไตน์และชาวปาเลสไตน์คนอื่นๆที่ถูกควบคุมตัวในอิสราเอล แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด . อาบู อูไบดา โฆษกปีกติดอาวุธของฮามาส กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงต่างๆนานา ในนั้นรวมถึงการเตะถ่วงชาวปาเลสไตน์จากการกลับสู่ทางเหนือของกาซา ยิงปืนใหญ่และสาดกระสุนเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ รวมถึงสกัดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่ให้เข้าสู่ฉนวนแห่งนี้ . ข้อตกลงหยุดยิงส่วนใหญ่แล้วยังคงได้รับการยึดถือนับตั้งแต่เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา แม้มีเหตุการณ์บางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล และฮามาสเลื่อนการให้ชื่อตัวประกันที่พวกเขามีแผนปล่อยตัว ขณะเดียวกันทางหน่วยงานความช่วยเหลือต่างๆ เผยว่าความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ป้อนเข้าสู่ฉนวนกาซา ได้เพิ่มจำนวนขึ้นนับตั้งแต่มีข้อตกลงหยุดยิง . อย่างไรก็ตาม อูไบดา ของฮามาส ระบุว่ากำหนดการปล่อยตัวประกันครั้งถัดไปในวันเสาร์(8ก.พ.) จะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าอิสราเอลจะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและชดเชยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา . กระนั้นทาง อิสราเอล คาทซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอล ระบุว่าถ้อยแถลงของฮามาสเองเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง และเผยว่าได้ออกคำสั่งให้กองทัพอยู่ในระดับความพร้อมขั้นสูงสุดในกาซา และสำหรับป้องกันตนเองภายใน . แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของอียิปต์ 2 ราย บอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าบรรดาคนกลางการเจรจา ประกอบด้วยกาตาร์และอียิปต์ รวมไปถึงสหรัฐฯ มีความกังวลเกี่ยวกับการพังครืนของข้อตกลงหยุดยิง . กลุ่มที่เป็นตัวแทนครอบครัวตัวประกัน เรียกร้องให้บรรดาคนกลางหาทางค้ำยันข้อตกลงหยุดยิง ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นตัวแทนของทหารผ่านศึกอิสราเอล กล่วหารัฐบาลตั้งใจบ่อนทำลายข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส . จนถึงตอนนี้มีตัวประกัน 16 คน จากทั้งหมด 33 คน ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในเฟสแรก 42 วันของข้อตกลงหยุดยิง เช่นเดียวกับตัวประกันไทย 5 คน ที่เป็นอิสระในการปล่อยตัวที่ไม่มีในกำหนดการ . ในทางกลับกัน อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษและผู้ถูกคมขังชาวปาเลสไตน์ไปแล้วหลายร้อยคน ในนั้นรวมถึงผู้ต้องขังที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในฐานความผิดโจมตีนองเลือดต่างๆนานา และชาวปาเลสไตน์ที่ถูกจับและควบคุมตัวระหว่างสงคราม โดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ . แต่ทาง ฮามาส กล่าวหาอิสราเอล เตะถ่วงการปล่อยให้ความช่วยเหลือเข้าสู่กาซา หนึ่งในหลายเงื่อนไขของเฟสแรกในข้อตกลงหยุดยิง ข้อกล่าวหาที่ทางอิสราเอลปฏิเสธ โดยบอกว่าไม่เป็นความจริง . ขณะเดียวกัน อิสราเอล ได้กล่าวหา ฮามาส กลับไปว่า ไม่เคารพต่อข้อตกลง ที่ต้องมีการปล่อยตัวประกัน และอยู่เบื้องหลังการแสดงออกที่ดูหมิ่นเหยียดหยามต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก ครั้งที่มีการส่งมอบตัวประกันเหล่านั้นแก่สภากาชาด . อ่านเพิ่มเติม.. .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    Sad
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1592 มุมมอง 0 รีวิว
  • โอภาส บุญจันทร์ อดีตผู้บริหาร บจก.วิน โพรเสส นักโทษคดี ครอบครองวัตถุอันตราย จบชีวิตแล้ว ขณะตกอยู่ในสภาพผู้ต้องขังของเรือนจำกลางจังหวัดระยอง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013055

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    โอภาส บุญจันทร์ อดีตผู้บริหาร บจก.วิน โพรเสส นักโทษคดี ครอบครองวัตถุอันตราย จบชีวิตแล้ว ขณะตกอยู่ในสภาพผู้ต้องขังของเรือนจำกลางจังหวัดระยอง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013055 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 819 มุมมอง 0 รีวิว
  • นี่คือสภาพของ "อิบราฮิม โมฮัมหมัด อัล-ชาวิช" นักโทษชาวปาเลสไตน์ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำของอิสราเอล และได้รับการปล่อยตัวจากการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับฮามาส


    เขาให้สัมภาษณ์ว่า ต้องถูกปิดตา ล่ามโซ่ และบังคับให้คุกเข่าเป็นเวลา 45 วัน ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปยังเรือนจำนาคาบ (ในทะเลทรายเนเกฟ) ที่นั่นเขายังถูกทรมานด้วยการโดนไฟฟ้าช็อต และถูกสุนัขของผู้คุมเข้ารุมทำร้ายอีกด้วย

    ใบหน้าของอัล-ชาวิชปรากฏร่องรอยของการทุกข์ทรมานและภาวะขาดอาหารขั้นรุนแรงอย่างชัดเจน
    นี่คือสภาพของ "อิบราฮิม โมฮัมหมัด อัล-ชาวิช" นักโทษชาวปาเลสไตน์ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำของอิสราเอล และได้รับการปล่อยตัวจากการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับฮามาส เขาให้สัมภาษณ์ว่า ต้องถูกปิดตา ล่ามโซ่ และบังคับให้คุกเข่าเป็นเวลา 45 วัน ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปยังเรือนจำนาคาบ (ในทะเลทรายเนเกฟ) ที่นั่นเขายังถูกทรมานด้วยการโดนไฟฟ้าช็อต และถูกสุนัขของผู้คุมเข้ารุมทำร้ายอีกด้วย ใบหน้าของอัล-ชาวิชปรากฏร่องรอยของการทุกข์ทรมานและภาวะขาดอาหารขั้นรุนแรงอย่างชัดเจน
    Sad
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7 ปี สิ้นเชลยศึกชาวไทย “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” วีรบุรุษทหารรบพิเศษไทย ในสงครามเวียดนาม ที่อเมริกายกย่องเชิดชู

    📅 ย้อนไปเมื่อ 7 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 ถือเป็นวันที่ประเทศไทย สูญเสียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่มีประวัติอันน่าจดจำ และเป็นที่เคารพในหมู่ทหารอเมริกัน ผู้ชายคนนั้นคือ “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” ทหารรบพิเศษไทย ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสงครามเวียดนาม นานถึง 9 ปี 4 เดือน 8 วัน และได้รับการเชิดชูเกียรติ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ด้วยเหรียญกล้าหาญ Silver Star และ Legion of Merit 🏅

    แม้ว่าหลายคนในไทย อาจไม่คุ้นชื่อของพันเอกชัยชาญ แต่สำหรับทหารอเมริกันในยุคนั้น ชัยชาญคือวีรบุรุษที่ช่วยชีวิตเชลยศึกสหรัฐฯ มากมาย แม้ต้องเผชิญกับการทรมาน อันโหดร้ายในเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเหนือ 🇹🇭🇺🇸

    👦 จากชาวอยุธยา สู่ทหารรบพิเศษไทย 🔴
    พันเอกชัยชาญ หาญนาวี เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้ารับราชการทหาร ในหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมทหารไทย ให้สามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษ ร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ

    ด้วยทักษะที่โดดเด่น ชัยชาญถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจ ที่ประเทศลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม ทำหน้าที่เป็นพลวิทยุ ให้กับหน่วยรบพิเศษไทย-อเมริกัน

    ✈️ ภารกิจที่ผิดพลาด นำไปสู่การเป็นเชลยศึก
    📅 วันที่ 21 พฤษภาคม 2508 เป็นวันหยุด ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพันเอกชัยชาญ ไปตลอดกาล เมื่อถูกชวนขึ้นเครื่องบินของ Air America (สายการบินลับของ CIA) เพื่อไปทำหน้าที่เป็น Spotter หรือผู้ระบุตำแหน่งข้าศึก

    ขณะที่เครื่องบินกำลังบินจากเชียงลม แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว เพื่อส่งเสบียงให้ฐานปฏิบัติการ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เครื่องถูกยิงตกกลางป่า ทหารอมริกันเสียชีวิตทั้งหมดทันที พันเอกชัยชาญและนักบินรอดชีวิต และพยายามหลบหนี แต่สุดท้ายถูกจับกุม โดยกองทัพเวียดนามเหนือ

    ชัยชาญถูกส่งไปยังค่ายเชลย ที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง "แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู" ที่ซึ่งการทรมานนักโทษ ถือเป็นเรื่องปกติ...

    🏚️ จากเดียนเบียนฟู สู่ฮานอยฮิลตัน ⚠️
    หลังจากถูกขังอยู่ที่เดียนเบียนฟู นานเกือบ 3 ปี ชัยชาญถูกย้ายไปยังเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ซึ่งเป็นคุกที่เลื่องชื่อ ในหมู่เชลยศึกอเมริกัน

    📌 ที่นี่ชัยชาญถูกขังเดี่ยว 5 ปี ถูกซ้อมทรมานเป็นประจำ ถูกมัดติดขื่อไม้ และต้องนอนเกลือกกลั้ว อยู่กับอุจจาระ และปัสสาวะของตัวเอง ได้รับอนุญาตให้อาบน้ำ เพียงเดือนละครั้ง 😞

    🔥 แต่ถึงจะถูกทรมานแค่ไหน ชัยชาญก็ยังไม่ละทิ้งศักดิ์ศรี ของทหารไทย

    🔑 Tap Code สื่อสารลับช่วยเชลยศึกอเมริกัน
    หนึ่งในวีรกรรมสำคัญ ของพันเอกชัยชาญคือ การใช้รหัสเคาะกำแพง (Tap Code) เพื่อส่งข้อมูลให้เชลยศึกอเมริกัน 🛑🔨

    🔹 Tap Code คืออะไร?
    เป็นรหัสลับที่เชลยศึกอเมริกัน พัฒนาเพื่อใช้สื่อสารกัน โดยการเคาะกำแพง ตามจังหวะที่กำหนด เพื่อแทนตัวอักษร คล้ายกับรหัสมอร์ส หรือรหัสแตะ สามารถส่งได้หลายวิธี และในสภาพแวดล้อม ที่ยากลำบาก

    รหัสเคาะเป็นวิธีง่ายๆ ในการเข้ารหัสข้อความ ข้อความจะถูกส่ง โดยการแปลตัวอักษรเป็นเสียงเคาะ ซึ่งนักโทษในเวียดนามใช้รหัสนี้ และบางครั้งเรียกว่ารหัสเคาะหรือรหัสสมิทตี้ รหัสนี้ใช้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5x5 เพื่อกำหนดตัวเลขสองตัว (แถวและคอลัมน์) ให้กับตัวอักษรแต่ละตัว จากนั้นผู้ส่งจะเคาะหลายครั้งตามจำนวนตัวเลขแต่ละตัว และหยุดชั่วคราวระหว่างตัวเลข

    🔹 ชัยชาญใช้รหัสเคาะอย่างไร?
    ชัยชาญเรียนรู้รหัสนี้ จากเชลยเวียดนามใต้ และใช้ส่งข้อความให้ทหารอเมริกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการทรมาน และให้กำลังใจเพื่อนเชลย

    ☠️ ถ้าถูกจับได้ อาจต้องจบชีวิตทันที แต่ชัยชาญยอมเสี่ยง เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเชลย

    หนึ่งในเชลยศึก ที่ได้รับความช่วยเหลือจากชัยชาญคือ "จอห์น แมกเคน" (John McCain) นักบินรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกา ในเวลาต่อมา 🇺🇸

    🏅 เกียรติยศสูงสุด จากกองทัพสหรัฐฯ
    📅 หลังจากถูกกักขัง ยาวนานกว่า 9 ปี พันเอกชัยชาญได้รับการปล่อยตัว ในปี 2517 จากการเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ

    💔 แต่เมื่อกลับมาถึงมาตุภูมิ ชัยชาญพบว่า ภรรยาแต่งงานใหม่ไปแล้ว ซึ่งตอนกลับมาได้รับพระราชทาน ยศชั้นนายพันแล้ว เพราะกองทัพไทยคิดว่า คงหายสาบสูญไป ในสงครามแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้กลับมารับราชการเหมือนเดิม ไม่มีใครกล้าถอดยศพระราชทาน

    แม้ว่าชีวิตส่วนตัวจะพังพินาศ แต่เกียรติยศของชัยชาญ กลับได้รับการยกย่อง จากกองทัพสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามอบเหรียญกล้าหาญ "Silver Star" และ "Legion of Merit" ให้ชาญชัย พร้อมจัดพิธีเชิดชูเกียรติที่ Pentagon

    🔹 Hall of Heroes ที่ Pentagon
    พันเอกชัยชาญเป็น "ทหารต่างชาติเพียงคนเดียว" ที่ได้รับเกียรติให้มีรูปถ่าย แขวนอยู่ใน Hall of Heroes ณ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

    ✈️ นอกจากนี้ชัยชาญ ยังได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อ ที่ฐานทัพ Lackland Air Force Base และ Fort Bragg ศูนย์สงครามพิเศษของสหรัฐฯ

    🕊️ วันสุดท้ายของวีรบุรุษไทย
    📅 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอกชัยชาญ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 87 ปี เนื่องจากเส้นเลือดสมองอุดตัน

    🇹🇭 แม้พันเอกชัยชาญ จะเป็นที่รู้จักในวงแคบของคนไทย แต่สำหรับอเมริกา ชัยชาญคือหนึ่งในบุคคล ที่มีเกียรติสูงสุด ในหมู่เชลยศึก

    ✨ วีรกรรมของชัยชาญ จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ตลอดไป ✨
    ✅ พันเอกชัยชาญ หาญนาวี คือหนึ่งในเชลยศึก ที่ถูกคุมขังนานที่สุด ในสงครามเวียดนาม
    ✅ มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือเชลยศึกอเมริกัน
    ✅ ได้รับเหรียญกล้าหาญ จากรัฐบาลสหรัฐฯ
    ✅ เป็นคนไทยเพียงคนเดียว ที่ได้รับเกียรติใน Hall of Heroes

    แม้กายจะลับไป แต่ชื่อของ "ชัยชาญ หาญนาวี" จะคงอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย และโลกตลอดไป 🙏🇹🇭

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041344 ก.พ. 2568

    📢 #พันเอกชัยชาญหาญนาวี #เชลยศึกเวียดนาม #วีรบุรุษไทย #สงครามเวียดนาม #HanoiHilton #TapCode #JohnMcCain #ThaiMilitary #SilverStar #LegionOfMerit
    7 ปี สิ้นเชลยศึกชาวไทย “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” วีรบุรุษทหารรบพิเศษไทย ในสงครามเวียดนาม ที่อเมริกายกย่องเชิดชู 📅 ย้อนไปเมื่อ 7 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 ถือเป็นวันที่ประเทศไทย สูญเสียบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่มีประวัติอันน่าจดจำ และเป็นที่เคารพในหมู่ทหารอเมริกัน ผู้ชายคนนั้นคือ “พันเอกชัยชาญ หาญนาวี” ทหารรบพิเศษไทย ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสงครามเวียดนาม นานถึง 9 ปี 4 เดือน 8 วัน และได้รับการเชิดชูเกียรติ จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ด้วยเหรียญกล้าหาญ Silver Star และ Legion of Merit 🏅 แม้ว่าหลายคนในไทย อาจไม่คุ้นชื่อของพันเอกชัยชาญ แต่สำหรับทหารอเมริกันในยุคนั้น ชัยชาญคือวีรบุรุษที่ช่วยชีวิตเชลยศึกสหรัฐฯ มากมาย แม้ต้องเผชิญกับการทรมาน อันโหดร้ายในเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเหนือ 🇹🇭🇺🇸 👦 จากชาวอยุธยา สู่ทหารรบพิเศษไทย 🔴 พันเอกชัยชาญ หาญนาวี เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้ารับราชการทหาร ในหน่วยกองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมทหารไทย ให้สามารถปฏิบัติภารกิจพิเศษ ร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ ด้วยทักษะที่โดดเด่น ชัยชาญถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจ ที่ประเทศลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม ทำหน้าที่เป็นพลวิทยุ ให้กับหน่วยรบพิเศษไทย-อเมริกัน ✈️ ภารกิจที่ผิดพลาด นำไปสู่การเป็นเชลยศึก 📅 วันที่ 21 พฤษภาคม 2508 เป็นวันหยุด ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของพันเอกชัยชาญ ไปตลอดกาล เมื่อถูกชวนขึ้นเครื่องบินของ Air America (สายการบินลับของ CIA) เพื่อไปทำหน้าที่เป็น Spotter หรือผู้ระบุตำแหน่งข้าศึก ขณะที่เครื่องบินกำลังบินจากเชียงลม แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว เพื่อส่งเสบียงให้ฐานปฏิบัติการ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เครื่องถูกยิงตกกลางป่า ทหารอมริกันเสียชีวิตทั้งหมดทันที พันเอกชัยชาญและนักบินรอดชีวิต และพยายามหลบหนี แต่สุดท้ายถูกจับกุม โดยกองทัพเวียดนามเหนือ ชัยชาญถูกส่งไปยังค่ายเชลย ที่มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง "แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู" ที่ซึ่งการทรมานนักโทษ ถือเป็นเรื่องปกติ... 🏚️ จากเดียนเบียนฟู สู่ฮานอยฮิลตัน ⚠️ หลังจากถูกขังอยู่ที่เดียนเบียนฟู นานเกือบ 3 ปี ชัยชาญถูกย้ายไปยังเรือนจำ "ฮานอยฮิลตัน" (Hỏa Lò Prison) ซึ่งเป็นคุกที่เลื่องชื่อ ในหมู่เชลยศึกอเมริกัน 📌 ที่นี่ชัยชาญถูกขังเดี่ยว 5 ปี ถูกซ้อมทรมานเป็นประจำ ถูกมัดติดขื่อไม้ และต้องนอนเกลือกกลั้ว อยู่กับอุจจาระ และปัสสาวะของตัวเอง ได้รับอนุญาตให้อาบน้ำ เพียงเดือนละครั้ง 😞 🔥 แต่ถึงจะถูกทรมานแค่ไหน ชัยชาญก็ยังไม่ละทิ้งศักดิ์ศรี ของทหารไทย 🔑 Tap Code สื่อสารลับช่วยเชลยศึกอเมริกัน หนึ่งในวีรกรรมสำคัญ ของพันเอกชัยชาญคือ การใช้รหัสเคาะกำแพง (Tap Code) เพื่อส่งข้อมูลให้เชลยศึกอเมริกัน 🛑🔨 🔹 Tap Code คืออะไร? เป็นรหัสลับที่เชลยศึกอเมริกัน พัฒนาเพื่อใช้สื่อสารกัน โดยการเคาะกำแพง ตามจังหวะที่กำหนด เพื่อแทนตัวอักษร คล้ายกับรหัสมอร์ส หรือรหัสแตะ สามารถส่งได้หลายวิธี และในสภาพแวดล้อม ที่ยากลำบาก รหัสเคาะเป็นวิธีง่ายๆ ในการเข้ารหัสข้อความ ข้อความจะถูกส่ง โดยการแปลตัวอักษรเป็นเสียงเคาะ ซึ่งนักโทษในเวียดนามใช้รหัสนี้ และบางครั้งเรียกว่ารหัสเคาะหรือรหัสสมิทตี้ รหัสนี้ใช้สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5x5 เพื่อกำหนดตัวเลขสองตัว (แถวและคอลัมน์) ให้กับตัวอักษรแต่ละตัว จากนั้นผู้ส่งจะเคาะหลายครั้งตามจำนวนตัวเลขแต่ละตัว และหยุดชั่วคราวระหว่างตัวเลข 🔹 ชัยชาญใช้รหัสเคาะอย่างไร? ชัยชาญเรียนรู้รหัสนี้ จากเชลยเวียดนามใต้ และใช้ส่งข้อความให้ทหารอเมริกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแผนการทรมาน และให้กำลังใจเพื่อนเชลย ☠️ ถ้าถูกจับได้ อาจต้องจบชีวิตทันที แต่ชัยชาญยอมเสี่ยง เพื่อช่วยเหลือเพื่อนเชลย หนึ่งในเชลยศึก ที่ได้รับความช่วยเหลือจากชัยชาญคือ "จอห์น แมกเคน" (John McCain) นักบินรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ และผู้สมัครชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกา ในเวลาต่อมา 🇺🇸 🏅 เกียรติยศสูงสุด จากกองทัพสหรัฐฯ 📅 หลังจากถูกกักขัง ยาวนานกว่า 9 ปี พันเอกชัยชาญได้รับการปล่อยตัว ในปี 2517 จากการเจรจาระหว่างไทย-สหรัฐฯ และเวียดนามเหนือ 💔 แต่เมื่อกลับมาถึงมาตุภูมิ ชัยชาญพบว่า ภรรยาแต่งงานใหม่ไปแล้ว ซึ่งตอนกลับมาได้รับพระราชทาน ยศชั้นนายพันแล้ว เพราะกองทัพไทยคิดว่า คงหายสาบสูญไป ในสงครามแล้ว แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้กลับมารับราชการเหมือนเดิม ไม่มีใครกล้าถอดยศพระราชทาน แม้ว่าชีวิตส่วนตัวจะพังพินาศ แต่เกียรติยศของชัยชาญ กลับได้รับการยกย่อง จากกองทัพสหรัฐฯ สหรัฐอเมริกามอบเหรียญกล้าหาญ "Silver Star" และ "Legion of Merit" ให้ชาญชัย พร้อมจัดพิธีเชิดชูเกียรติที่ Pentagon 🔹 Hall of Heroes ที่ Pentagon พันเอกชัยชาญเป็น "ทหารต่างชาติเพียงคนเดียว" ที่ได้รับเกียรติให้มีรูปถ่าย แขวนอยู่ใน Hall of Heroes ณ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ✈️ นอกจากนี้ชัยชาญ ยังได้รับเชิญให้ไปศึกษาต่อ ที่ฐานทัพ Lackland Air Force Base และ Fort Bragg ศูนย์สงครามพิเศษของสหรัฐฯ 🕊️ วันสุดท้ายของวีรบุรุษไทย 📅 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 พันเอกชัยชาญ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 87 ปี เนื่องจากเส้นเลือดสมองอุดตัน 🇹🇭 แม้พันเอกชัยชาญ จะเป็นที่รู้จักในวงแคบของคนไทย แต่สำหรับอเมริกา ชัยชาญคือหนึ่งในบุคคล ที่มีเกียรติสูงสุด ในหมู่เชลยศึก ✨ วีรกรรมของชัยชาญ จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ตลอดไป ✨ ✅ พันเอกชัยชาญ หาญนาวี คือหนึ่งในเชลยศึก ที่ถูกคุมขังนานที่สุด ในสงครามเวียดนาม ✅ มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยเหลือเชลยศึกอเมริกัน ✅ ได้รับเหรียญกล้าหาญ จากรัฐบาลสหรัฐฯ ✅ เป็นคนไทยเพียงคนเดียว ที่ได้รับเกียรติใน Hall of Heroes แม้กายจะลับไป แต่ชื่อของ "ชัยชาญ หาญนาวี" จะคงอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย และโลกตลอดไป 🙏🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 041344 ก.พ. 2568 📢 #พันเอกชัยชาญหาญนาวี #เชลยศึกเวียดนาม #วีรบุรุษไทย #สงครามเวียดนาม #HanoiHilton #TapCode #JohnMcCain #ThaiMilitary #SilverStar #LegionOfMerit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 587 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จะเริ่มต้นเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างเดินทางเยือนวอชิงตันในวันจันทร์ (3 ก.พ.) จากการเปิดเผยของทำเนียบนายกรัฐมนตรียิว
    .
    ทำเนียบนายกรัฐมนตรีอิสราเอลของเนทันยาฮู เผยแพร่ถ้อยแถลงในวันเสาร์ (1 ก.พ.) ระบุว่านายกรัฐมนตรี "ได้พูดคุยกับ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษตะวันด้านตะวันออกกลางของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และทั้ง 2 เห็นพ้องกันว่าการเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงตัวประกันจะเริ่มขึ้นตอนที่พวกเขาพบปะกันในวอชิงตัน ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้"
    .
    "จากนั้นในช่วงกลางสัปดาห์ วิตคอฟฟ์จะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีกาตาร์ และตัวแทนระดับสูงของอียิปต์ หลังจากนั้น เขาะหารือกับนายกรัฐมนตีรี เกี่ยวกับก้าวย่างเพื่อสานต่อความคืบหน้าของการเจรจา ในนั้นรวมถึงกำหนดวันเวลาที่พวกคณะผู้แทนเจรจาจะออกเดินทางเพื่อไปเจรจา" ถ้อยแถลงระบุ
    .
    ข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา พักการทำศึกสงครามในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน หลังจากที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ พวกคนกลางอย่างอียิปต์ กาตาร์ และสหรัฐฯ ใช้ความพยายามเจรจามานานกว่า 1 ปี แต่ไร้ผล
    .
    ภายใต้ข้อตกลงขั้นแรกที่มีอายุ 6 สัปดาห์ จะมีการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลที่พวกฮามาสจับกุมตัวไประหว่างปฏิบัติการโจมตีเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ออกจากกาซา จำนวน 33 คน แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ราว 1,900 คน
    .
    จนถึงตอนนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษไปแล้ว 4 รอบ ซึ่งพบเห็นตัวประกันอิสราเอล 13 คน ได้รับการปล่อยตัวแลกกับผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคน จำนวนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก นอกจากนี้ ตัวประกันชาวไทย 5 คนก็ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน
    .
    ส่วนขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าจะครอบคลุมการปล่อยพวกผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ ที่เหลือ และอาจรวมถึงการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงที่ยั่งยืนกว่าเดิม
    .
    ทำเนียบของเนทันยาฮู เผยว่าในวันจันทร์ (3 ก.พ.) นายกรัฐมนตรีจะหารือเกี่ยวกับ "จุดยืนต่างๆ ของอิสราเอล" กับ วิตคอฟฟ์ เสียก่อน จากนั้นคาดหมายว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ผู้อ้างเครดิตสำหรับข้อตกลงหยุดยิง จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับ เนทันยาฮู ในวันอังคาร (4 ก.พ.)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010547
    ..................
    Sondhi X
    เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จะเริ่มต้นเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างเดินทางเยือนวอชิงตันในวันจันทร์ (3 ก.พ.) จากการเปิดเผยของทำเนียบนายกรัฐมนตรียิว . ทำเนียบนายกรัฐมนตรีอิสราเอลของเนทันยาฮู เผยแพร่ถ้อยแถลงในวันเสาร์ (1 ก.พ.) ระบุว่านายกรัฐมนตรี "ได้พูดคุยกับ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษตะวันด้านตะวันออกกลางของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และทั้ง 2 เห็นพ้องกันว่าการเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงตัวประกันจะเริ่มขึ้นตอนที่พวกเขาพบปะกันในวอชิงตัน ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้" . "จากนั้นในช่วงกลางสัปดาห์ วิตคอฟฟ์จะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีกาตาร์ และตัวแทนระดับสูงของอียิปต์ หลังจากนั้น เขาะหารือกับนายกรัฐมนตีรี เกี่ยวกับก้าวย่างเพื่อสานต่อความคืบหน้าของการเจรจา ในนั้นรวมถึงกำหนดวันเวลาที่พวกคณะผู้แทนเจรจาจะออกเดินทางเพื่อไปเจรจา" ถ้อยแถลงระบุ . ข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา พักการทำศึกสงครามในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน หลังจากที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ พวกคนกลางอย่างอียิปต์ กาตาร์ และสหรัฐฯ ใช้ความพยายามเจรจามานานกว่า 1 ปี แต่ไร้ผล . ภายใต้ข้อตกลงขั้นแรกที่มีอายุ 6 สัปดาห์ จะมีการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลที่พวกฮามาสจับกุมตัวไประหว่างปฏิบัติการโจมตีเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ออกจากกาซา จำนวน 33 คน แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ราว 1,900 คน . จนถึงตอนนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษไปแล้ว 4 รอบ ซึ่งพบเห็นตัวประกันอิสราเอล 13 คน ได้รับการปล่อยตัวแลกกับผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคน จำนวนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก นอกจากนี้ ตัวประกันชาวไทย 5 คนก็ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน . ส่วนขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าจะครอบคลุมการปล่อยพวกผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ ที่เหลือ และอาจรวมถึงการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงที่ยั่งยืนกว่าเดิม . ทำเนียบของเนทันยาฮู เผยว่าในวันจันทร์ (3 ก.พ.) นายกรัฐมนตรีจะหารือเกี่ยวกับ "จุดยืนต่างๆ ของอิสราเอล" กับ วิตคอฟฟ์ เสียก่อน จากนั้นคาดหมายว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ผู้อ้างเครดิตสำหรับข้อตกลงหยุดยิง จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับ เนทันยาฮู ในวันอังคาร (4 ก.พ.) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010547 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1447 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย

    ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว

    คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1)

    อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1) อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 233 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข้อมูลเพิ่มเติมการแลกเปลี่ยนตัวประกันในกาซา:

    🔴Adam Berger เป็นทหารหญิงอิสราเอลเพียงคนเดียวที่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ ซึ่งถูกส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลเรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่จาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา

    🔴 นอกจากนี้ยังมีชาวอิสราเอลอีก 2 คน และชาวไทยอีก 5 คน รวมทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่ยืนยันสถานที่ว่าเป็นส่วนใดในกาซา

    🔴 อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 110 คนเป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งเป็นผู้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 32 ราย ผู้ถูกตัดสินจำคุกในคดีต่างๆ 48 ราย และเด็ก 30 ราย
    ข้อมูลเพิ่มเติมการแลกเปลี่ยนตัวประกันในกาซา: 🔴Adam Berger เป็นทหารหญิงอิสราเอลเพียงคนเดียวที่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ ซึ่งถูกส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลเรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่จาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา 🔴 นอกจากนี้ยังมีชาวอิสราเอลอีก 2 คน และชาวไทยอีก 5 คน รวมทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่ยืนยันสถานที่ว่าเป็นส่วนใดในกาซา 🔴 อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์ 110 คนเป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งเป็นผู้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต 32 ราย ผู้ถูกตัดสินจำคุกในคดีต่างๆ 48 ราย และเด็ก 30 ราย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสจะปล่อยตัวประกัน 8 ราย ประกอบด้วยชาวอิสราเอล 3 คน และคนไทย 5 ราย หลังถูกกักขังในกาซานานกว่า 1 ปี จากการเปิดเผยของรัฐบาลอิสราเอล ในขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงยึดถือข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว
    .
    เจ้าหน้าที่อิสราเอล ระบุว่าตัวประกันอิสราเอลที่จะได้รับการปล่อยตัวประกอบด้วย กาดี โมเซส วัย 80ปี, อาร์เบล เยฮุด วัย 29 ปี และอากัม เบอร์เกอร์ วัย 20 ปี ในขณะที่ฮามาสก็ยืนยันเกี่ยวกับการปล่อยตัวชาวอิสราเอลทั้ง 3 รายเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งอิสราเอลและฮามาส ไม่ได้เปิดเผยชื่อพลเมืองไทย 5 คน ที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา
    .
    ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์มากกว่า 100 คน แลกกับตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) ในนั้นรวมถึงพวกที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต โทษฐานเกี่ยวกับกับเหตุโจมตีนองเลือดเล่นงานชาวอิสราเอล
    .
    การปล่อยตัวครั้งนี้ ถือเป็นหนที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่อิสราเอลและฮามาสปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง 6 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงหลายขั้นที่พวกคนกลางการเจรจาหวังว่าจะนำมาซึ่งการยุติสงครามในกาซา ในขณะที่มีผู้คนมากกว่า 45,000 นาย ที่ต้องเสียชีวิตในฉนวนแห่งนี้ ระหว่างปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเล่นงานแก้แค้นพวกฮามาส
    .
    ระหว่างการหยุดยิงเบื้องต้น 42 วัน ฮามาส รับปากว่าจะปล่อยตัวประกันอย่างน้อย 33 คน จาก 97 คนที่เหลืออยู่ในกาซา แลกกับการที่อิสราเอลถอนกำลังบางส่วนและปล่อยชาวปาเลสไตน์กว่า 1,500 คน ที่ถูกจองจำโดยอิสราเอล ภายใต้ข้อตกลงนี้ มีการเสนอให้ปล่อยตัวนางสาวเยฮุด หนึ่งในตัวประกันหญิงคนท้ายๆที่ยังมีชีวิตอยู่ ในสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    แต่หลังจากที่เธอไม่ได้รับการปล่อยตัวในตอนนั้น อิสราเอลตอบโต้ด้วยการเลื่อนไม่เปิดเส้นทางผ่านให้พวกชาวปาเลสไตน์ผู้ไร้ถิ่นฐานหลายแสนคนเดินทางกลับสู่มาตุภูมิทางเหนือของกาซา ตามเงื่อนไขของข้อตกลง ก่อนสุดท้ายกองทัพอิสราเอลจะยอมเปิดทาง หลังบรรดาชาติคนกลางแถลงในวันอาทิตย์(25ม.ค. )ว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาแล้วว่านางสาวเยฮุด จะได้รับการปล่อยตัว
    .
    ตัวประกันทั้ง 8 คน ที่ได้รับคาดหมายว่าจะได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มถัดไป ทั้งหมดถูกลักพาตัวระหว่างที่พวกฮามาสปฏิบัติการจู่โจมสายฟ้าแลบเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม มีผู้เสียชีวิตราวๆ 1,200 คน ในเหตุจู่โจมดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนและอีก 250 คน ถูกจับเป็นตัวประกัน
    .
    มูซา อาบู มาร์ซูค เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ยืนยันระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนิวยอร์กไทม์ส ว่าแรงงานไทย 5 คนจะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) พร้อมเผยว่าคนงานไทยเหล่านี้ถูกควบคุมตัวโดยกลุ่มญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (Palestinian Islamic Jihad) อ้างถึงกลุ่มนักรบเล็กๆในกาซา ที่ใกล้ชิดกับฮามาส แต่มีความแตกต่างกันทั้งเชิงกลยุทธ์และอุดมการณ์
    .
    นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอล ยืนยันเช่นกันว่าตัวประกันคนไทย 5 คน จากทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) แต่ไม่ชัดเจนว่าผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้นมีใครบ้าง
    .
    รายงานของนิวยอร์กไทม์อ้างคำกล่าวของนางสาวพรรณนภา ระบุด้วยว่ายังมีตัวประกันไทยอยู่ในกาซาอีก 8 ราย แบ่งเป็นยังมีชีวิตอยู่ 6 รายและเสียชีวิตแล้ว 2 คน ทั้งหมดอายุระหว่าง 28 ปี ถึง 42 ปี โดยทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ณ ฟาร์ม 4 แห่งใกล้ชายแดนกาซา และถูกลักพาตัวระหว่างการโจมตีที่นำโดยพวกฮามาสในเดือนตุลาคม 2023
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009508
    ..............
    Sondhi X
    ฮามาสจะปล่อยตัวประกัน 8 ราย ประกอบด้วยชาวอิสราเอล 3 คน และคนไทย 5 ราย หลังถูกกักขังในกาซานานกว่า 1 ปี จากการเปิดเผยของรัฐบาลอิสราเอล ในขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงยึดถือข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว . เจ้าหน้าที่อิสราเอล ระบุว่าตัวประกันอิสราเอลที่จะได้รับการปล่อยตัวประกอบด้วย กาดี โมเซส วัย 80ปี, อาร์เบล เยฮุด วัย 29 ปี และอากัม เบอร์เกอร์ วัย 20 ปี ในขณะที่ฮามาสก็ยืนยันเกี่ยวกับการปล่อยตัวชาวอิสราเอลทั้ง 3 รายเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งอิสราเอลและฮามาส ไม่ได้เปิดเผยชื่อพลเมืองไทย 5 คน ที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา . ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์มากกว่า 100 คน แลกกับตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) ในนั้นรวมถึงพวกที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต โทษฐานเกี่ยวกับกับเหตุโจมตีนองเลือดเล่นงานชาวอิสราเอล . การปล่อยตัวครั้งนี้ ถือเป็นหนที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่อิสราเอลและฮามาสปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง 6 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงหลายขั้นที่พวกคนกลางการเจรจาหวังว่าจะนำมาซึ่งการยุติสงครามในกาซา ในขณะที่มีผู้คนมากกว่า 45,000 นาย ที่ต้องเสียชีวิตในฉนวนแห่งนี้ ระหว่างปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเล่นงานแก้แค้นพวกฮามาส . ระหว่างการหยุดยิงเบื้องต้น 42 วัน ฮามาส รับปากว่าจะปล่อยตัวประกันอย่างน้อย 33 คน จาก 97 คนที่เหลืออยู่ในกาซา แลกกับการที่อิสราเอลถอนกำลังบางส่วนและปล่อยชาวปาเลสไตน์กว่า 1,500 คน ที่ถูกจองจำโดยอิสราเอล ภายใต้ข้อตกลงนี้ มีการเสนอให้ปล่อยตัวนางสาวเยฮุด หนึ่งในตัวประกันหญิงคนท้ายๆที่ยังมีชีวิตอยู่ ในสัปดาห์ที่แล้ว . แต่หลังจากที่เธอไม่ได้รับการปล่อยตัวในตอนนั้น อิสราเอลตอบโต้ด้วยการเลื่อนไม่เปิดเส้นทางผ่านให้พวกชาวปาเลสไตน์ผู้ไร้ถิ่นฐานหลายแสนคนเดินทางกลับสู่มาตุภูมิทางเหนือของกาซา ตามเงื่อนไขของข้อตกลง ก่อนสุดท้ายกองทัพอิสราเอลจะยอมเปิดทาง หลังบรรดาชาติคนกลางแถลงในวันอาทิตย์(25ม.ค. )ว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาแล้วว่านางสาวเยฮุด จะได้รับการปล่อยตัว . ตัวประกันทั้ง 8 คน ที่ได้รับคาดหมายว่าจะได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มถัดไป ทั้งหมดถูกลักพาตัวระหว่างที่พวกฮามาสปฏิบัติการจู่โจมสายฟ้าแลบเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม มีผู้เสียชีวิตราวๆ 1,200 คน ในเหตุจู่โจมดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนและอีก 250 คน ถูกจับเป็นตัวประกัน . มูซา อาบู มาร์ซูค เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ยืนยันระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนิวยอร์กไทม์ส ว่าแรงงานไทย 5 คนจะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) พร้อมเผยว่าคนงานไทยเหล่านี้ถูกควบคุมตัวโดยกลุ่มญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (Palestinian Islamic Jihad) อ้างถึงกลุ่มนักรบเล็กๆในกาซา ที่ใกล้ชิดกับฮามาส แต่มีความแตกต่างกันทั้งเชิงกลยุทธ์และอุดมการณ์ . นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอล ยืนยันเช่นกันว่าตัวประกันคนไทย 5 คน จากทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) แต่ไม่ชัดเจนว่าผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้นมีใครบ้าง . รายงานของนิวยอร์กไทม์อ้างคำกล่าวของนางสาวพรรณนภา ระบุด้วยว่ายังมีตัวประกันไทยอยู่ในกาซาอีก 8 ราย แบ่งเป็นยังมีชีวิตอยู่ 6 รายและเสียชีวิตแล้ว 2 คน ทั้งหมดอายุระหว่าง 28 ปี ถึง 42 ปี โดยทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ณ ฟาร์ม 4 แห่งใกล้ชายแดนกาซา และถูกลักพาตัวระหว่างการโจมตีที่นำโดยพวกฮามาสในเดือนตุลาคม 2023 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009508 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Yay
    21
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2221 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล ยังไม่ไต่สวนทักษิณ 'เพื่อไทย' ล็อคคอ 'วิษณุ' ยันป่วยทิพย์ชั้น14 ไร้มลทิน
    .
    ปมประเด็นชั้น 14 ป่วยทิพย์ของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานอนุกรรมาธิการ ด้านกลไกการปราบปรามการทุจริต คณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ไต่สวนกรณี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ไม่จัดการให้เป็นไปตามหมายจำคุกคดีถึงที่สุดของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    .
    ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนฟังคำสั่งคำร้องของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องขอให้ไต่สวน นำตัวนักโทษเทวดากลับเข้าคุก โดยจะแจ้งคำสั่งให้ทราบในภายหลัง และห้ามเผยแพร่คำร้องต่อสาธารณชน เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
    .
    ขณะที่ แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีโดยยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯมาแล้ว
    .
    นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่มีนักร้องที่จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งทราบว่ามีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพิสูจน์เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน การพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่เกิดในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายวิษณุ เครืองาม ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกฯขณะนั้น ทำหน้าที่ส่งไป และเป็นไปตามขั้นตอน ไม่น่าหนักใจอะไร
    .
    “นายวิษณุ ในฐานะมือกฎหมายคงจะพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างดี การตรวจสอบตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้นเป็นไปตามกระบวนการการพิสูจน์ของกระบวนการยุติธรรม เรื่องนี้สบายใจได้ ไม่มีเขย่าขวัญรัฐบาล เพราะนายทักษิณไม่ได้เป็นนายกฯ” นายวิสุทธิ์ กล่าว
    .............
    Sondhi X
    ศาล ยังไม่ไต่สวนทักษิณ 'เพื่อไทย' ล็อคคอ 'วิษณุ' ยันป่วยทิพย์ชั้น14 ไร้มลทิน . ปมประเด็นชั้น 14 ป่วยทิพย์ของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานอนุกรรมาธิการ ด้านกลไกการปราบปรามการทุจริต คณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ไต่สวนกรณี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ไม่จัดการให้เป็นไปตามหมายจำคุกคดีถึงที่สุดของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง . ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนฟังคำสั่งคำร้องของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องขอให้ไต่สวน นำตัวนักโทษเทวดากลับเข้าคุก โดยจะแจ้งคำสั่งให้ทราบในภายหลัง และห้ามเผยแพร่คำร้องต่อสาธารณชน เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน . ขณะที่ แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีโดยยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯมาแล้ว . นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่มีนักร้องที่จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งทราบว่ามีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพิสูจน์เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน การพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่เกิดในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายวิษณุ เครืองาม ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกฯขณะนั้น ทำหน้าที่ส่งไป และเป็นไปตามขั้นตอน ไม่น่าหนักใจอะไร . “นายวิษณุ ในฐานะมือกฎหมายคงจะพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างดี การตรวจสอบตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้นเป็นไปตามกระบวนการการพิสูจน์ของกระบวนการยุติธรรม เรื่องนี้สบายใจได้ ไม่มีเขย่าขวัญรัฐบาล เพราะนายทักษิณไม่ได้เป็นนายกฯ” นายวิสุทธิ์ กล่าว ............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    11
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1345 มุมมอง 0 รีวิว
  • ป่วยวิกฤตหรือไม่ เสรีพิศุทธ์ลุ้นศาลฎีกาไต่สวนส่งผู้ป่วยไม่ขออนุญาต (27/01/68) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ป่วยทิพย์ #เทวดาชั้น14 #นักโทษเทวดา
    ป่วยวิกฤตหรือไม่ เสรีพิศุทธ์ลุ้นศาลฎีกาไต่สวนส่งผู้ป่วยไม่ขออนุญาต (27/01/68) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ป่วยทิพย์ #เทวดาชั้น14 #นักโทษเทวดา
    Like
    Love
    Haha
    Wow
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 988 มุมมอง 76 0 รีวิว
  • “เสรีพิศุทธ์” ให้ข้อมูล ป.ป.ช.เพิ่มเติม ปม “ทักษิณ” นอนชั้น 14 เผยตอนเข้าเยี่ยมฟิตกว่าตนเสียอีก ชี้จุดตายไม่มีเวชระเบียบ หากป่วยวิกฤติจริง ไป รพ.ตำรวจต้องเข้าห้องฉุกเฉิน ตรวจสมอง ตรวจหัวใจ ตรวจปอด ตรวจทุกอย่างก่อน แต่นี่ไม่มีเลย แนะจับตาศาลฎีการับไต่สวนปมส่งนักโทษออกจากเรือนจำโดยไม่แจ้งศาลก่อนหรือไม่ สั่งจำคุกผู้เกี่ยวข้องได้ทันที

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000008522

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “เสรีพิศุทธ์” ให้ข้อมูล ป.ป.ช.เพิ่มเติม ปม “ทักษิณ” นอนชั้น 14 เผยตอนเข้าเยี่ยมฟิตกว่าตนเสียอีก ชี้จุดตายไม่มีเวชระเบียบ หากป่วยวิกฤติจริง ไป รพ.ตำรวจต้องเข้าห้องฉุกเฉิน ตรวจสมอง ตรวจหัวใจ ตรวจปอด ตรวจทุกอย่างก่อน แต่นี่ไม่มีเลย แนะจับตาศาลฎีการับไต่สวนปมส่งนักโทษออกจากเรือนจำโดยไม่แจ้งศาลก่อนหรือไม่ สั่งจำคุกผู้เกี่ยวข้องได้ทันที อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000008522 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Haha
    Wow
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 833 มุมมอง 0 รีวิว
  • 52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น

    สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏

    จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
    สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ

    นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน"

    ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ
    ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว

    รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม

    ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ
    สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่
    - ดอนเมือง
    - นครราชสีมา
    - ตาคลี
    - อุบลราชธานี
    - อุดรธานี
    - นครพนม
    - อู่ตะเภา

    ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย

    ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม
    ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง

    - รัฐบาลสหรัฐ
    - รัฐบาลเวียดนามเหนือ
    - รัฐบาลเวียดนามใต้
    - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้

    เนื้อหาสำคัญ ได้แก่
    - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม
    - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม
    - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม
    - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้

    ผลกระทบจากข้อตกลง
    การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน

    ผลกระทบนามต่อประเทศไทย
    1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ
    - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร
    - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ

    2. การสูญเสียเอกราช
    มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา

    3. ผลกระทบทางสังคม
    การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว

    สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

    การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568

    #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม

    🎯
    52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏 จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์ สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน" ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่ - ดอนเมือง - นครราชสีมา - ตาคลี - อุบลราชธานี - อุดรธานี - นครพนม - อู่ตะเภา ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง - รัฐบาลสหรัฐ - รัฐบาลเวียดนามเหนือ - รัฐบาลเวียดนามใต้ - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เนื้อหาสำคัญ ได้แก่ - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้ ผลกระทบจากข้อตกลง การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน ผลกระทบนามต่อประเทศไทย 1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ 2. การสูญเสียเอกราช มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา 3. ผลกระทบทางสังคม การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568 #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม 🎯
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 706 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขบวนรถนักโทษปาเลสไตน์ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในอิสราเอล หลังการแลกเปลี่ยนตัวประกันรอบสองในวันนี้

    มีรายงานว่า นักโทษที่ถูกจำคุกในเรือนจำของอิสราเอลนาน 36 ปี ได้รับการแลกเปลี่ยนตัวในครั้งนี้ด้วย
    ขบวนรถนักโทษปาเลสไตน์ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในอิสราเอล หลังการแลกเปลี่ยนตัวประกันรอบสองในวันนี้ มีรายงานว่า นักโทษที่ถูกจำคุกในเรือนจำของอิสราเอลนาน 36 ปี ได้รับการแลกเปลี่ยนตัวในครั้งนี้ด้วย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 236 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • วันนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันครั้งที่ 2 จากกลุ่มฮามาส โดยการปล่อยตัวทหารหญิงอิสราเอล 4 ราย ที่ถูกจับกุมตัวได้ในกาซา แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ 120 ราย ที่อิสราเอลต้องปล่อยตัวผ่านกาชาดสากล
    แบ่งเป็น:
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่มฮามาส 81 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PIJ 23 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม Fatah 13 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PFLP 2 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม DFLP 1 ราย

    แต่การส่งมอบตัวประกันครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนคือ:
    กลุ่มฮามาสมีการจัดเตรียมเวทีพร้อมป้ายเป็นภาษาฮีบรู "הציונות לא תנציח" ที่แปลว่า "ลัทธิไซออนิสต์จะไม่คงอยู่ตลอดไป" และยังนำรูปภาพของผู้นำอิสราเอลไปวางบนพื้นด้านล่างเวทีอีกด้วย
    วันนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันครั้งที่ 2 จากกลุ่มฮามาส โดยการปล่อยตัวทหารหญิงอิสราเอล 4 ราย ที่ถูกจับกุมตัวได้ในกาซา แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ 120 ราย ที่อิสราเอลต้องปล่อยตัวผ่านกาชาดสากล แบ่งเป็น: - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่มฮามาส 81 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PIJ 23 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม Fatah 13 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PFLP 2 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม DFLP 1 ราย แต่การส่งมอบตัวประกันครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนคือ: กลุ่มฮามาสมีการจัดเตรียมเวทีพร้อมป้ายเป็นภาษาฮีบรู "הציונות לא תנציח" ที่แปลว่า "ลัทธิไซออนิสต์จะไม่คงอยู่ตลอดไป" และยังนำรูปภาพของผู้นำอิสราเอลไปวางบนพื้นด้านล่างเวทีอีกด้วย
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 298 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิเสธข้อตกลงอิสตันบูล หลังการเจรจาสันติภาพกับรัสเซียในช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง เนื่องจากปูตินพยายามแทนที่เขาด้วยวิกเตอร์ เมดเวดชุก (Viktor Medvedchuk)

    ▪️รัสเซียเรียกร้องให้เซเลนสกีลาออก และให้วิกเตอร์ เมดเวดชุกเข้ารับตำแหน่งแทน

    ▪️ยูเครนต้องยอมรับดอนบาสทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ยอมรับภาษาของรัสเซีย และปก้ไขรัฐธรรมนูญของยูเครนเพื่อกำหนดสถานะยูเครนให้เป็นกลางทางทหาร

    ▪️สหพันธรัฐรัสเซียยังเรียกร้องให้ลดจำนวนกองทัพยูเครนเหลือ 50,000 นาย รวมถึงการทำลายหรือโอนย้ายอาวุธทั้งหมดออกจากแนวหน้ารัสเซียในระยะ 20 กม.

    ▪️ช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง หน่วยงานความมั่นคงของยูเครนสามารถจับกุม วิกเตอร์ เมดเวดชุก ได้ เขาเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ต่อต้านเซเลนสกี และมีความสนิทสนมกับวลาดิเมียร์ ปูติน

    ▪️ต่อมา เมดเวดชุก เป็นหนึ่งในนักโทษที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเชลยสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะนี้เขาพักอาศัยอยู่ในรัสเซีย
    เซเลนสกีเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิเสธข้อตกลงอิสตันบูล หลังการเจรจาสันติภาพกับรัสเซียในช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง เนื่องจากปูตินพยายามแทนที่เขาด้วยวิกเตอร์ เมดเวดชุก (Viktor Medvedchuk) ▪️รัสเซียเรียกร้องให้เซเลนสกีลาออก และให้วิกเตอร์ เมดเวดชุกเข้ารับตำแหน่งแทน ▪️ยูเครนต้องยอมรับดอนบาสทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย ยอมรับภาษาของรัสเซีย และปก้ไขรัฐธรรมนูญของยูเครนเพื่อกำหนดสถานะยูเครนให้เป็นกลางทางทหาร ▪️สหพันธรัฐรัสเซียยังเรียกร้องให้ลดจำนวนกองทัพยูเครนเหลือ 50,000 นาย รวมถึงการทำลายหรือโอนย้ายอาวุธทั้งหมดออกจากแนวหน้ารัสเซียในระยะ 20 กม. ▪️ช่วงเริ่มต้นความขัดแย้ง หน่วยงานความมั่นคงของยูเครนสามารถจับกุม วิกเตอร์ เมดเวดชุก ได้ เขาเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่ต่อต้านเซเลนสกี และมีความสนิทสนมกับวลาดิเมียร์ ปูติน ▪️ต่อมา เมดเวดชุก เป็นหนึ่งในนักโทษที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเชลยสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะนี้เขาพักอาศัยอยู่ในรัสเซีย
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 283 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ลงนามคำสั่งนับสิบครอบคลุมประเด็นโลกร้อนไปจนถึงคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งตามที่ลั่นวาจาไว้
    .
    คำสั่งฝ่ายบริหารบางส่วนที่โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (20 ม.ค.) เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว เช่น การอภัยโทษผู้ประท้วงจำนวนมากที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต แต่ยังมีคำสั่งอีกจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกินคาด เช่น การนำอเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
    .
    ต่อไปนี้คือสรุปคำสั่งที่ทรัมป์ลงนามในสนามกีฬาที่วอชิงตันท่ามกลางผู้สนับสนุนจำนวนมาก และที่ทำเนียบขาวในเวลาต่อมาภายหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    คนเข้าเมือง
    .
    ทรัมป์เซ็นคำสั่งหลายฉบับเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีที่อเมริกาจัดการปัญหาคนเข้าเมืองและความเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณชายแดนทางใต้
    ประมุขทำเนียบขาวคนใหม่ยังสัญญาว่า จะจัดการเนรเทศครั้งใหญ่ซึ่งจะมีกองทัพร่วมปฏิบัติการด้วย โดยเป้าหมายอยู่ที่ “อาชญากรต่างด้าว”
    .
    ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ลงนามคำสั่งยกเลิกการให้สัญชาติจากการเกิดในประเทศ อย่างไรก็ดี ทรัมป์อาจเผชิญการท้าทายทางกฎหมายเนื่องจากการให้สัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัตินี้กำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ
    .
    ม็อบบุกสภา 6 มกราคม
    .
    ทรัมป์ลงนามอภัยโทษผู้สนับสนุนตนเองบางส่วนจากทั้งหมด 1,500 คนที่บุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 เพื่อล้มล้างผลการเลือกตั้งปี 2020 โดยเรียกคนเหล่านั้นที่ถูกตัดสินความผิดหรือยอมรับผิดในการก่อจลาจลว่าเป็น “ตัวประกัน”
    .
    ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การยอมรับความแตกต่าง
    .
    ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของอเมริกายกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับที่ส่งเสริมโครงการความหลากหลายและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจ และบริการสาธารณสุข รวมถึงสิทธิของคนอเมริกันกลุ่ม LGBTQ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะจัดการวัฒนธรรม “การตื่นรู้”
    .
    ทรัมป์ยังประกาศว่า ต่อไปรัฐบาลสหรัฐฯ จะยอมรับคนเพียงสองเพศคือชายกับหญิงเท่านั้น
    .
    ข้อตกลงโลกร้อนปารีส
    .
    ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ นำอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนปารีสเหมือนที่เคยทำมาตอนรับตำแหน่งสมัยแรก ตอกย้ำการปฏิเสธความพยายามของทั่วโลกในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ขณะที่ภัยพิบติธรรมชาติรุนแรงขึ้นทั่วโลก
    .
    อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลา 1 ปีหลังจากยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อกรอบข้อตกลงของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ฉบับนี้ อเมริกาจึงจะสามารถถอนตัวได้
    .
    การขุดเจาะน้ำมัน
    .
    ทรัมป์ลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อขยายการขุดเจาะในอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำการผลิตก๊าซและน้ำมันของโลก
    .
    เวิร์ก ฟอร์ม โฮม
    .
    นอกจากนั้น ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งกำหนดให้ลูกจ้างรัฐบาลกลางกลับไปทำงานในสำนักงานเต็มเวลา เพื่อยุติการอนุญาตการทำงานจากที่บ้านส่วนใหญ่ที่ริเริ่มขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด
    .
    ถอนตัวจาก WHO
    .
    ทรัมป์เซ็นคำสั่งให้อเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก โดยยืนยันว่า ไม่เป็นธรรมที่สหรัฐฯ จ่ายเงินสมทบองค์กรนี้มากกว่าที่จีนจ่าย
    .
    ติ๊กต็อก Tiktok
    .
    ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้สั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายแบนติ๊กต็อกออกไป 75 วัน ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอการดำเนินการห้ามการเผยแพร่และอัปเดตแพลตฟอร์มติ๊กต็อกในอเมริกาที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (19 ม.ค.)
    .
    ทรัมป์ระบุว่า ต้องการให้ ไบต์แดนซ์ บริษัทแม่ของติ๊กต็อกที่อยู่ในจีน ตกลงขายหุ้นติ๊กต็อก 50% ให้นักลงทุนในอเมริกา
    .
    ผู้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์
    .
    ทรัมป์ยกเลิกมาตรการแซงก์ชันของคณะบริหารของไบเดนต่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวที่ใช้ความรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์
    .
    คิวบา
    .
    ทรัมป์ล้มล้างอีกหนึ่งคำสั่งของไบเดนที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในการถอดคิวบาออกจากบัญชีดำประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยนักโทษ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006613
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ลงนามคำสั่งนับสิบครอบคลุมประเด็นโลกร้อนไปจนถึงคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งตามที่ลั่นวาจาไว้ . คำสั่งฝ่ายบริหารบางส่วนที่โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (20 ม.ค.) เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว เช่น การอภัยโทษผู้ประท้วงจำนวนมากที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต แต่ยังมีคำสั่งอีกจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกินคาด เช่น การนำอเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO) . ต่อไปนี้คือสรุปคำสั่งที่ทรัมป์ลงนามในสนามกีฬาที่วอชิงตันท่ามกลางผู้สนับสนุนจำนวนมาก และที่ทำเนียบขาวในเวลาต่อมาภายหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . คนเข้าเมือง . ทรัมป์เซ็นคำสั่งหลายฉบับเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีที่อเมริกาจัดการปัญหาคนเข้าเมืองและความเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณชายแดนทางใต้ ประมุขทำเนียบขาวคนใหม่ยังสัญญาว่า จะจัดการเนรเทศครั้งใหญ่ซึ่งจะมีกองทัพร่วมปฏิบัติการด้วย โดยเป้าหมายอยู่ที่ “อาชญากรต่างด้าว” . ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ลงนามคำสั่งยกเลิกการให้สัญชาติจากการเกิดในประเทศ อย่างไรก็ดี ทรัมป์อาจเผชิญการท้าทายทางกฎหมายเนื่องจากการให้สัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัตินี้กำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ . ม็อบบุกสภา 6 มกราคม . ทรัมป์ลงนามอภัยโทษผู้สนับสนุนตนเองบางส่วนจากทั้งหมด 1,500 คนที่บุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 เพื่อล้มล้างผลการเลือกตั้งปี 2020 โดยเรียกคนเหล่านั้นที่ถูกตัดสินความผิดหรือยอมรับผิดในการก่อจลาจลว่าเป็น “ตัวประกัน” . ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การยอมรับความแตกต่าง . ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของอเมริกายกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับที่ส่งเสริมโครงการความหลากหลายและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจ และบริการสาธารณสุข รวมถึงสิทธิของคนอเมริกันกลุ่ม LGBTQ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะจัดการวัฒนธรรม “การตื่นรู้” . ทรัมป์ยังประกาศว่า ต่อไปรัฐบาลสหรัฐฯ จะยอมรับคนเพียงสองเพศคือชายกับหญิงเท่านั้น . ข้อตกลงโลกร้อนปารีส . ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ นำอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนปารีสเหมือนที่เคยทำมาตอนรับตำแหน่งสมัยแรก ตอกย้ำการปฏิเสธความพยายามของทั่วโลกในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ขณะที่ภัยพิบติธรรมชาติรุนแรงขึ้นทั่วโลก . อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลา 1 ปีหลังจากยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อกรอบข้อตกลงของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ฉบับนี้ อเมริกาจึงจะสามารถถอนตัวได้ . การขุดเจาะน้ำมัน . ทรัมป์ลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อขยายการขุดเจาะในอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำการผลิตก๊าซและน้ำมันของโลก . เวิร์ก ฟอร์ม โฮม . นอกจากนั้น ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งกำหนดให้ลูกจ้างรัฐบาลกลางกลับไปทำงานในสำนักงานเต็มเวลา เพื่อยุติการอนุญาตการทำงานจากที่บ้านส่วนใหญ่ที่ริเริ่มขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด . ถอนตัวจาก WHO . ทรัมป์เซ็นคำสั่งให้อเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก โดยยืนยันว่า ไม่เป็นธรรมที่สหรัฐฯ จ่ายเงินสมทบองค์กรนี้มากกว่าที่จีนจ่าย . ติ๊กต็อก Tiktok . ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้สั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายแบนติ๊กต็อกออกไป 75 วัน ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอการดำเนินการห้ามการเผยแพร่และอัปเดตแพลตฟอร์มติ๊กต็อกในอเมริกาที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (19 ม.ค.) . ทรัมป์ระบุว่า ต้องการให้ ไบต์แดนซ์ บริษัทแม่ของติ๊กต็อกที่อยู่ในจีน ตกลงขายหุ้นติ๊กต็อก 50% ให้นักลงทุนในอเมริกา . ผู้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ . ทรัมป์ยกเลิกมาตรการแซงก์ชันของคณะบริหารของไบเดนต่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวที่ใช้ความรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ . คิวบา . ทรัมป์ล้มล้างอีกหนึ่งคำสั่งของไบเดนที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในการถอดคิวบาออกจากบัญชีดำประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยนักโทษ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006613 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1625 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts