• "ภูมิธรรม" ร้องโอ้โห! "กิตติรัตน์" ถูกมองแทรกแซงแบงค์ชาติ ถูกส่งมาจากฝ่ายการเมือง หลังเคยเป็นสมาชิกเพื่อไทย - มองเป็นคนมีความรู้การเงินการคลัง หากเข้าไปได้ จะเต็มเติม - ชี้ยังไม่เห็นประเด็นที่ต้องคัดค้าน

    วันนี้ (4พ.ย.) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเลื่อนประชุมคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท. หลังมีชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในแคนดิเดต ว่า ตนได้ยินว่าวันนี้เขาเลื่อน ต้องไปถาม นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ ประธานคัดเลือกประธานกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ธปท. ว่าทำไมถึงเลื่อน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของตน

    ส่วนที่มีกระแสโจมตีว่านายกิตติรัตน์ มาจากฝ่ายการเมืองนั้น ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทยแล้วนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องไปหาข้อสรุป และต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ตัวบทกฎหมาย เมื่อนายกิตติรัตน์อยากสมัคร เมื่อมีโอกาสและเงื่อนไขอยากสมัครก็สมัคร แต่ถ้าตามกฎระเบียบ มันเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องถูกปฏิเสธไปแต่ถ้าเป็นได้ก็ไปว่ากัน แล้วจริงๆ ตนยังไม่เห็นประเด็น ว่าทำไมต้องคัดค้านนายกิตติรัตน์

    เมื่อถามว่าเพราะมองว่านายกิตติรัตน์มาจากฝ่ายการเมืองอาจจะมีการแทรกแซง ผู้ว่า ธปท.เกิดขึ้น นายธรรม ร้อง โอ้โห ถ้าวันนี้รัฐธรรมนูญบอกว่าทุกคน เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เสร็จแล้วก็ไปทำงานไม่ได้เลย ซึ่งตนคิดว่าการที่นายกิตติรัตน์เข้าไป ก็เป็นมืออาชีพมีความรู้เรื่องทางการเงินและการคลัง หากนายกิตติรัตน์เข้าไปก็เป็นมองว่าเป็นการเข้าไปเติมเต็มให้มีการพูดคุยกัน ในมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ก็ต้องไปถามนายกิตติรัตน์ ตนตอบแทนไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเข้าสู่กระบวนการ และกระบวนการตัดสินใจ เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่บอร์ดของแบงค์ชาติ ที่ตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา ก็ต้องไปถามทางนั้น

    #MGROnline #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #แบงค์ชาติ
    "ภูมิธรรม" ร้องโอ้โห! "กิตติรัตน์" ถูกมองแทรกแซงแบงค์ชาติ ถูกส่งมาจากฝ่ายการเมือง หลังเคยเป็นสมาชิกเพื่อไทย - มองเป็นคนมีความรู้การเงินการคลัง หากเข้าไปได้ จะเต็มเติม - ชี้ยังไม่เห็นประเด็นที่ต้องคัดค้าน • วันนี้ (4พ.ย.) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเลื่อนประชุมคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท. หลังมีชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในแคนดิเดต ว่า ตนได้ยินว่าวันนี้เขาเลื่อน ต้องไปถาม นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ ประธานคัดเลือกประธานกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ธปท. ว่าทำไมถึงเลื่อน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของตน • ส่วนที่มีกระแสโจมตีว่านายกิตติรัตน์ มาจากฝ่ายการเมืองนั้น ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทยแล้วนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องไปหาข้อสรุป และต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ตัวบทกฎหมาย เมื่อนายกิตติรัตน์อยากสมัคร เมื่อมีโอกาสและเงื่อนไขอยากสมัครก็สมัคร แต่ถ้าตามกฎระเบียบ มันเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องถูกปฏิเสธไปแต่ถ้าเป็นได้ก็ไปว่ากัน แล้วจริงๆ ตนยังไม่เห็นประเด็น ว่าทำไมต้องคัดค้านนายกิตติรัตน์ • เมื่อถามว่าเพราะมองว่านายกิตติรัตน์มาจากฝ่ายการเมืองอาจจะมีการแทรกแซง ผู้ว่า ธปท.เกิดขึ้น นายธรรม ร้อง โอ้โห ถ้าวันนี้รัฐธรรมนูญบอกว่าทุกคน เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เสร็จแล้วก็ไปทำงานไม่ได้เลย ซึ่งตนคิดว่าการที่นายกิตติรัตน์เข้าไป ก็เป็นมืออาชีพมีความรู้เรื่องทางการเงินและการคลัง หากนายกิตติรัตน์เข้าไปก็เป็นมองว่าเป็นการเข้าไปเติมเต็มให้มีการพูดคุยกัน ในมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ก็ต้องไปถามนายกิตติรัตน์ ตนตอบแทนไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเข้าสู่กระบวนการ และกระบวนการตัดสินใจ เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่บอร์ดของแบงค์ชาติ ที่ตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา ก็ต้องไปถามทางนั้น • #MGROnline #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #แบงค์ชาติ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 80 Views 0 Reviews
  • ข่าว 4 พ.ย.

    เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว
    .
    วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง
    .
    นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท.
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร
    .
    ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน
    ..............
    Sondhi X
    ข่าว 4 พ.ย. เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว . วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง . นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท. . ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว . อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร . ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 508 Views 0 Reviews
  • เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

    1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย
    2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
    3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี)
    4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ
    5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช
    8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช
    10. ท่าช้าง
    11. วัดระฆังโฆสิตาราม
    12. ท่าเตียน
    13. ท่าเรือวัดโพธิ์
    14. วัดอรุณราชวราราม

    - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ
    1. วัดอรุณ
    2. วัดระฆัง
    3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า
    4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์
    5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ
    6. ราชนาวีสโมสร
    7. อุทยานพิมุขสถาน
    8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ
    9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ
    10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
    11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
    13. สวนนคราภิรมย์
    14. ลานคนเมือง

    - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค
    1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก
    2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก
    3. พกยาประจำตัวมาด้วย
    4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก
    5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา

    ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน”

    #Thaitimes
    เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย) 3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี) 4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ 5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช 8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช 10. ท่าช้าง 11. วัดระฆังโฆสิตาราม 12. ท่าเตียน 13. ท่าเรือวัดโพธิ์ 14. วัดอรุณราชวราราม - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ 1. วัดอรุณ 2. วัดระฆัง 3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า 4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์ 5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ 6. ราชนาวีสโมสร 7. อุทยานพิมุขสถาน 8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ 9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ 10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ 11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย 13. สวนนคราภิรมย์ 14. ลานคนเมือง - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค 1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก 2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก 3. พกยาประจำตัวมาด้วย 4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก 5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน” #Thaitimes
    Like
    Angry
    2
    0 Comments 0 Shares 697 Views 0 Reviews
  • 💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
    ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้
    ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง
    ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี
    จากเดิม 2.50% เป็น 2.25%
    โดยให้มีผลในทันที

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง.
    #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้ ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี จากเดิม 2.50% เป็น 2.25% โดยให้มีผลในทันที ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง. #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    2 Comments 0 Shares 211 Views 0 Reviews
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

    16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว

    ธนาคารแห่งประเทศไทย
    16 ตุลาคม 2567

    #Thaitimes
    คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที 16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ธนาคารแห่งประเทศไทย 16 ตุลาคม 2567 #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    1 Comments 0 Shares 292 Views 0 Reviews
  • มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที
    .
    วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
    .
    โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
    .
    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
    .
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
    .
    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    .
    ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว
    .............
    Sondhi X
    มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที . วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที . โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า . เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง . อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 . ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ . ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ............. Sondhi X
    Like
    7
    0 Comments 0 Shares 705 Views 0 Reviews
  • “เศรษฐพุฒิ”ผู้ว่าแบงก์ชาติเทวดา-หัวใจฝรั่ง บนซากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่
    .
    ผมไม่อยากจะพูดว่า 4 ปีเต็มที่คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ที่หล่อเหลา บุคลิกดี จบปริญญาโท ปริญญาเอก จากเยล พูดภาษาอังกฤษคล่องแบบน้ำไหลไฟดับเหมือนคนต่างชาติ ท่านคิดแบบฝรั่งหมดเลย ท่านไม่เข้าใจถึงบริบท ข้อเท็จจริงทางการเมือง หรือข้อเท็จจริงในสังคมไทย ไม่มีเหตุผลอะไรอื่นที่แบงก์ชาติจะต้องทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพื่อลดแต้มต่อให้คู่แข่ง
    .
    เพราะฉะนั้นแล้วราคาสินค้าส่งออกไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน โรงงานใหญ่โรงงานน้อยปิดกันไปหมด แล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร สภาพมันลามไปถึงโรงงานใหญ่แล้ว SME ถูกปิดไปแล้ว สินค้าการเกษตรตกต่ำไปแล้ว ต่อไปนี้จะลามถึงโรงงานใหญ่ๆ ซึ่งโรงงานรถยนต์ปิดไปแล้ว โรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ธุรกิจขนาดเล็กของเรามีแต่ตายกับตาย คนงานที่เคยได้เงินเดือนประจำมาใช้จ่ายในครอบครัว แล้วมาโดนหนี้นอกระบบกระทืบซ้ำอีก คนพวกนี้เป็นคนที่น่าสงสารมาก
    .
    ทั้งหมดที่เขาโดนปิดโรงงานเพราะค่าเงินบาทแข็งจนเกินไป เพราะว่าท่านยึดถือ Dollar Index จริงๆ แล้วท่านน่าจะอยู่FED มากกว่านะ
    .
    คุณเศรษฐพุฒิ มักให้สัมภาษณ์ว่า เพราะเคยทำงานอยู่ธนาคารโลก จึงทำให้รู้ว่าธนาคารโลก และ ไอเอ็มเอฟ ต้องการอะไร คล้ายๆ อ่านทางอีกฝ่ายได้ทะลุปรุโปร่ง การเจรจาระหว่างประเทศไทยกับ 2 องค์กรการเงินโลกที่เป็นเจ้าหนี้ หยิบยื่นเงินกู้มาให้ไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงนั้น จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    .
    ผมอยากจะถามคำว่า "สำเร็จลุล่วงไปได้ดี" นั้น ดีอย่างไร ? ดีกับนายทุนฝรั่ง แต่เลวร้ายอย่างยิ่งกับคนไทยและนักธุรกิจไทย ใช่หรือเปล่า ? คำตอบ ใช่ครับ เพราะประวัติของ ปรส. ชี้ชัดเลยว่าคนไทยต้องฉิบหายวายป่วงเพราะฝรั่งอีแร้งเข้ามาสูบเลือดคนไทยไปหมด และนี่คือ "ลุล่วงไปด้วยดี" ของคุณเศรษฐพุฒิ
    .
    ท่านผู้ว่าฯ ครับ ผมไม่อยากจะพูดว่า ท่านกับคุณวิรไท สันติประภพ ทำให้ประเทศชาติฉิบหายไปแล้วในช่วงไอเอ็มเอฟ และ World Bank ตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งครั้งหนึ่งแล้ว นี่จะเป็นครั้งที่สอง ท่านเกษียณไปบนซากปรักหักพังของหลายส่วนในภาคสังคมธุรกิจเล็กๆ กลางๆ และกำลังจะลามมาใหญ่แล้ว ท่านจะมีความสุขมากนักหรือ ท่านก็จะมีความสุข เพราะว่าท่านยังคงเท่เหมือนเดิม ท่านยังคงมี FC ที่เชื่อท่านอยู่
    .
    ท่านทั้งหล่อ เท่ มาดแมน ชงกาแฟได้ เป็นบาริสต้าที่เก่ง ถ้าทำได้อย่างที่พูดมาก็ดี แต่การที่ประชาชนมีหนี้ท่วมอย่างมหาศาล มากมาย ประเทศชาติตกอยู่ในวังวนของเงินฝืด เศรษฐกิจโตต่ำ ขณะที่นายแบงก์ นายทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย กำไรอย่างมากมายมหาศาลโตขึ้นทุกปีๆ ด้วยความสัตย์จริง นี่คือผลงานในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของแบงก์ชาติ และนี่คือสิ่งที่สังคมควรจะได้รับจากความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเปล่า ปล่อยให้บรรดานายทุน นายแบงก์เหล่านี้ทำนาบนหลังคน กอบโกยกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ภาวะวิกฤตหนี้ครัวเรือนของคนไทยอยู่ประมาณ 91% ของ GDPซึ่งGDPอยู่ที่18 ล้านล้านบาท
    .
    หลักฐานที่ผมพูดมานี้เป็นความจริง และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์แล้ว นี่ล่ะคือผลงานของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนปัจจุบัน ท่านผู้ว่าฯ ครับ กรุณาอย่าโกรธผม ท่านเป็นผู้ว่าฯเทวดา คนไทยหัวใจฝรั่ง
    “เศรษฐพุฒิ”ผู้ว่าแบงก์ชาติเทวดา-หัวใจฝรั่ง บนซากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ . ผมไม่อยากจะพูดว่า 4 ปีเต็มที่คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ที่หล่อเหลา บุคลิกดี จบปริญญาโท ปริญญาเอก จากเยล พูดภาษาอังกฤษคล่องแบบน้ำไหลไฟดับเหมือนคนต่างชาติ ท่านคิดแบบฝรั่งหมดเลย ท่านไม่เข้าใจถึงบริบท ข้อเท็จจริงทางการเมือง หรือข้อเท็จจริงในสังคมไทย ไม่มีเหตุผลอะไรอื่นที่แบงก์ชาติจะต้องทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพื่อลดแต้มต่อให้คู่แข่ง . เพราะฉะนั้นแล้วราคาสินค้าส่งออกไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน โรงงานใหญ่โรงงานน้อยปิดกันไปหมด แล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร สภาพมันลามไปถึงโรงงานใหญ่แล้ว SME ถูกปิดไปแล้ว สินค้าการเกษตรตกต่ำไปแล้ว ต่อไปนี้จะลามถึงโรงงานใหญ่ๆ ซึ่งโรงงานรถยนต์ปิดไปแล้ว โรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ธุรกิจขนาดเล็กของเรามีแต่ตายกับตาย คนงานที่เคยได้เงินเดือนประจำมาใช้จ่ายในครอบครัว แล้วมาโดนหนี้นอกระบบกระทืบซ้ำอีก คนพวกนี้เป็นคนที่น่าสงสารมาก . ทั้งหมดที่เขาโดนปิดโรงงานเพราะค่าเงินบาทแข็งจนเกินไป เพราะว่าท่านยึดถือ Dollar Index จริงๆ แล้วท่านน่าจะอยู่FED มากกว่านะ . คุณเศรษฐพุฒิ มักให้สัมภาษณ์ว่า เพราะเคยทำงานอยู่ธนาคารโลก จึงทำให้รู้ว่าธนาคารโลก และ ไอเอ็มเอฟ ต้องการอะไร คล้ายๆ อ่านทางอีกฝ่ายได้ทะลุปรุโปร่ง การเจรจาระหว่างประเทศไทยกับ 2 องค์กรการเงินโลกที่เป็นเจ้าหนี้ หยิบยื่นเงินกู้มาให้ไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงนั้น จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี . ผมอยากจะถามคำว่า "สำเร็จลุล่วงไปได้ดี" นั้น ดีอย่างไร ? ดีกับนายทุนฝรั่ง แต่เลวร้ายอย่างยิ่งกับคนไทยและนักธุรกิจไทย ใช่หรือเปล่า ? คำตอบ ใช่ครับ เพราะประวัติของ ปรส. ชี้ชัดเลยว่าคนไทยต้องฉิบหายวายป่วงเพราะฝรั่งอีแร้งเข้ามาสูบเลือดคนไทยไปหมด และนี่คือ "ลุล่วงไปด้วยดี" ของคุณเศรษฐพุฒิ . ท่านผู้ว่าฯ ครับ ผมไม่อยากจะพูดว่า ท่านกับคุณวิรไท สันติประภพ ทำให้ประเทศชาติฉิบหายไปแล้วในช่วงไอเอ็มเอฟ และ World Bank ตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งครั้งหนึ่งแล้ว นี่จะเป็นครั้งที่สอง ท่านเกษียณไปบนซากปรักหักพังของหลายส่วนในภาคสังคมธุรกิจเล็กๆ กลางๆ และกำลังจะลามมาใหญ่แล้ว ท่านจะมีความสุขมากนักหรือ ท่านก็จะมีความสุข เพราะว่าท่านยังคงเท่เหมือนเดิม ท่านยังคงมี FC ที่เชื่อท่านอยู่ . ท่านทั้งหล่อ เท่ มาดแมน ชงกาแฟได้ เป็นบาริสต้าที่เก่ง ถ้าทำได้อย่างที่พูดมาก็ดี แต่การที่ประชาชนมีหนี้ท่วมอย่างมหาศาล มากมาย ประเทศชาติตกอยู่ในวังวนของเงินฝืด เศรษฐกิจโตต่ำ ขณะที่นายแบงก์ นายทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย กำไรอย่างมากมายมหาศาลโตขึ้นทุกปีๆ ด้วยความสัตย์จริง นี่คือผลงานในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของแบงก์ชาติ และนี่คือสิ่งที่สังคมควรจะได้รับจากความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเปล่า ปล่อยให้บรรดานายทุน นายแบงก์เหล่านี้ทำนาบนหลังคน กอบโกยกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ภาวะวิกฤตหนี้ครัวเรือนของคนไทยอยู่ประมาณ 91% ของ GDPซึ่งGDPอยู่ที่18 ล้านล้านบาท . หลักฐานที่ผมพูดมานี้เป็นความจริง และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์แล้ว นี่ล่ะคือผลงานของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนปัจจุบัน ท่านผู้ว่าฯ ครับ กรุณาอย่าโกรธผม ท่านเป็นผู้ว่าฯเทวดา คนไทยหัวใจฝรั่ง
    Like
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 676 Views 0 Reviews
  • ขออนุญาต​ส่งมาในที่นี้ เนื่องจากถูก FB block ไม่ให้ส่งต่อๆข้อความ​ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (หากเห็นด้วย ช่วยกระจาย)​
    ________

    ในขณะนี้มีแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือก​ประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะยับยั้งหายนะทางเศรษฐกิจได้

    ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท เป็นต้น ล่าสุดก็มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อจะได้สามารถใช้ ธปท. เป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง การกระทำดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจสั่นคลอน เพราะธนาคารกลางที่ถูกแทรกแซงจะไม่สามารถมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจจึงเสี่ยงที่จะเสียหายจากนโยบายที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว

    ในกรณีของประเทศไทยนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทซึ่งจะเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล ก็ได้สร้างความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หากธนาคารแห่งประเทศไทยถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระ ความเสี่ยงของการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ผลเสียต่อธุรกิจและเศรษฐกิจย่อมตามมาอย่างแน่นอน

    วงการเศรษฐกิจของไทยได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียหายอันใหญ่หลวงของการแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ไม่ต้องการรับฟังคำเตือนเหล่านี้ ในขณะนี้ จึงมีเพียงแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไม่ให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจนี้ อันที่จริง กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมืองหากกรรมการยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ กฎหมายจึงได้กำหนดให้กรรมการสรรหาเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกษียณอายุแล้วทั้งสิ้น เพื่อจะได้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งสำคัญๆของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระไม่ยอมรับการแทรกแซง ผู้ที่ได้รับการสรรหาจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่เข้าใจบทบาทของธนาคารกลาง และสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม ดิฉันจึงได้แต่คาดหวังว่าคณะกรรมการคัดเลือกในครั้งนี้จะสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ด้วยหลักการเดียวกัน คงไม่มีท่านใดอยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกผันไปสู่ก้าวแรกของความหายนะ

    ธาริษา วัฒนเกส
    อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    ขออนุญาต​ส่งมาในที่นี้ เนื่องจากถูก FB block ไม่ให้ส่งต่อๆข้อความ​ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (หากเห็นด้วย ช่วยกระจาย)​ ________ ในขณะนี้มีแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือก​ประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะยับยั้งหายนะทางเศรษฐกิจได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท เป็นต้น ล่าสุดก็มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อจะได้สามารถใช้ ธปท. เป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง การกระทำดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจสั่นคลอน เพราะธนาคารกลางที่ถูกแทรกแซงจะไม่สามารถมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจจึงเสี่ยงที่จะเสียหายจากนโยบายที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว ในกรณีของประเทศไทยนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทซึ่งจะเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล ก็ได้สร้างความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หากธนาคารแห่งประเทศไทยถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระ ความเสี่ยงของการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ผลเสียต่อธุรกิจและเศรษฐกิจย่อมตามมาอย่างแน่นอน วงการเศรษฐกิจของไทยได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียหายอันใหญ่หลวงของการแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ไม่ต้องการรับฟังคำเตือนเหล่านี้ ในขณะนี้ จึงมีเพียงแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไม่ให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจนี้ อันที่จริง กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมืองหากกรรมการยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ กฎหมายจึงได้กำหนดให้กรรมการสรรหาเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกษียณอายุแล้วทั้งสิ้น เพื่อจะได้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งสำคัญๆของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระไม่ยอมรับการแทรกแซง ผู้ที่ได้รับการสรรหาจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่เข้าใจบทบาทของธนาคารกลาง และสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม ดิฉันจึงได้แต่คาดหวังว่าคณะกรรมการคัดเลือกในครั้งนี้จะสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ด้วยหลักการเดียวกัน คงไม่มีท่านใดอยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกผันไปสู่ก้าวแรกของความหายนะ ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    0 Comments 0 Shares 17 Views 0 Reviews
  • ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง

    โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป

    อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]

    นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง

    ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป

    แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

    ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย

    และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น

    โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

    และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ

    อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี

    เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด

    สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น

    หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น

    การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น

    ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

    หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

    หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี

    และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]

    โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ

    ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

    แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

    ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​

    เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน

    เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา

    ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย

    โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“

    เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    4 ตุลาคม 2567

    อ้างอิง
    [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
    https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL

    [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
    https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4

    [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
    https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE

    [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
    https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    Like
    Love
    Yay
    77
    5 Comments 5 Shares 1676 Views 1 Reviews
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 Comments 0 Shares 692 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥ความท้าทายของประเทศไทย
    ในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าติดอันดับต้นๆของภูมิภาค
    และของโลก ในขณะนี้
    รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีแนวทางอย่างไร
    เพื่อดำเนินการต่อไป ให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป
    จนกระทบกับฟันเฟืองที่เป็นวงล้อสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
    นั่นคือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว
    ล่าสุด 26/09/2567 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥ความท้าทายของประเทศไทย ในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าติดอันดับต้นๆของภูมิภาค และของโลก ในขณะนี้ รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีแนวทางอย่างไร เพื่อดำเนินการต่อไป ให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป จนกระทบกับฟันเฟืองที่เป็นวงล้อสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย นั่นคือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว ล่าสุด 26/09/2567 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    1 Comments 0 Shares 973 Views 0 Reviews
  • สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment

    ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย.

    พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว

    หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด

    ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข

    หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ

    แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง

    ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน

    #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย. พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    8
    1 Comments 0 Shares 801 Views 0 Reviews
  • BOT Symposium 2024 | กล่าวเปิดการสัมมนา

    Sep 20, 2024 #แบงก์ชาติ #BOTSymposium2024 #เศรษฐกิจ

    ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดการสัมนา BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    https://www.youtube.com/watch?v=_z66w8oG260
    BOT Symposium 2024 | กล่าวเปิดการสัมมนา Sep 20, 2024 #แบงก์ชาติ #BOTSymposium2024 #เศรษฐกิจ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดการสัมนา BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow https://www.youtube.com/watch?v=_z66w8oG260
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 365 Views 142 0 Reviews
  • 20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

    รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

    แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

    ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

    แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

    อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

    ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

    ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

    ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

    [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

    ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

    1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
    2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
    3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

    ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

    แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

    ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

    ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

    [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

    เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

    ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

    หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

    ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

    ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

    [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

    ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

    ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

    สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

    แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

    ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

    ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

    ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
    ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

    #Thaitimes
    20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
    Like
    Yay
    9
    0 Comments 1 Shares 1900 Views 0 Reviews
  • ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นคนเก่ง มีวิสัยทัศน์
    ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นคนเก่ง มีวิสัยทัศน์
    Like
    Love
    2
    2 Comments 0 Shares 80 Views 0 Reviews
  • 🔥🔥สิ่งที่ท้าทายประเทศไทยตอนนี้คือ
    ค่าเงินบาทที่ปรับแข็งตัวแข็งค่ามากขึ้น
    ล่าสุดอยู่ที่ 33.026 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
    อาจจะดีต่อตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
    เพราะเม็ดเงินจากต่างชาติได้ไหลเข้ามาลงทุน

    🚩แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ ภาคการท่องเที่ยว ที่จำนวนนักท่องเที่ยว
    อาจชะลอตัวลง รวมทั้งภาคการส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าได้
    ยากมากขึ้น

    🚩ดังนั้น การบาลานซ์ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ถือเป็นสิ่งสำคัญ
    ที่รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ค่าเงินบาท #thaitimes
    🔥🔥สิ่งที่ท้าทายประเทศไทยตอนนี้คือ ค่าเงินบาทที่ปรับแข็งตัวแข็งค่ามากขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 33.026 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อาจจะดีต่อตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพราะเม็ดเงินจากต่างชาติได้ไหลเข้ามาลงทุน 🚩แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ ภาคการท่องเที่ยว ที่จำนวนนักท่องเที่ยว อาจชะลอตัวลง รวมทั้งภาคการส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าได้ ยากมากขึ้น 🚩ดังนั้น การบาลานซ์ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ค่าเงินบาท #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1711 Views 0 Reviews
  • 💥ตอนนี้ธนาคารกลางของหลายๆประเทศ
    เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามธนาคารกลาง
    สหรัฐ หรือ เฟด เช่น อินโดนีเซีย, ฮ่องกง
    หลายๆประเทศในตะวันออกกลาง
    จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศ

    🚩แอดมินเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ก็คงกำลังพิจารณาที่จะลดอัตราดอกเบี้ย
    นโยบายลงเช่นเดียวกัน

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
    #thaitimes
    💥ตอนนี้ธนาคารกลางของหลายๆประเทศ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามธนาคารกลาง สหรัฐ หรือ เฟด เช่น อินโดนีเซีย, ฮ่องกง หลายๆประเทศในตะวันออกกลาง จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศ 🚩แอดมินเชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็คงกำลังพิจารณาที่จะลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงเช่นเดียวกัน #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    Like
    Love
    3
    0 Comments 0 Shares 1558 Views 0 Reviews
  • "ราเกซ"อดีตพ่อมดการเงินที่ต้องโทษคดีฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ BBCจนแบงก์เจ้ง ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตำรวจเตรียมผลักดันออกนอกประเทศ
    .
    10 กันยายน 2567 -รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันนี้ ตำรวจกองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้ไปรับตัวนายราเกซ สักเสนา (Rakesh Saxena) สัญชาติอินเดีย ผู้ต้องขังในคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ (บีบีซี) ออกจากเรือนจำ เพื่อผลักดันออกนอกประเทศ
    .
    หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 โดยได้ส่งตัวนายราเกซไปยังกองกำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บก.สส.สตม.) เพื่อดำเนินการผลักดันออกนอกประเทศตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อไป
    .
    นับเป็นการปิดฉากชีวิตพ่อมดการเงินในประเทศไทย จากการปล่อยสินเชื่อให้แก่นักธุรกิจและนักการเมืองเพื่อเข้าเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกำไรจากการซื้อมา-ขายไป จนเกิดหนี้เน่ามากกว่า 80,000 ล้านบาท และเป็นต้นเหตุที่ทำให้บีบีซีปิดกิจการ
    .
    สำหรับนายราเกซ ชาวเมืองอินดอร์ รัฐมัธยประเทศ อดีตโบรกเกอร์ค้าเงิน เป็นผู้ต้องขังคดีหมายเลขแดงที่ อ 4138/2559 ในความผิดฐานพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี ระหว่างปี 2537-2539 ขณะดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
    .
    โดยกระทำการทุจริตอนุมัติวงเงินสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) กับบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และเอกชนอื่นร่วม 10 แห่ง เกินกว่า 30 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหารของธนาคารก่อน อีกทั้งไม่ได้จัดให้มีหลักประกัน ไม่มีการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ และความสามารถในการชำระหนี้คืน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย
    .
    นอกจากนี้ จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของธนาคารผู้เสียหาย (บีบีซี) ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายเกริกเกียรติ ไปเป็นของจำเลยกับพวกและนายเกริกเกียรติโดยทุจริต แม้ภายหลังจำเลยกับพวกได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน แต่คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้คืนผู้เสียหาย 353,363,966 บาท
    .
    คดีนี้ต่อสู้กันสามศาล ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท โดยมีสำนวนแรก 60 กระทง สำนวนที่สอง 6 กระทง และสำนวนที่สาม 1 กระทง รวม 67 กระทง รวมจำคุก 335 ปี และปรับ 33,500,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุก 20 ปี และสั่งคืนเงินผู้เสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
    .
    ก่อนหน้านี้นายราเกซหลบหนีคดีไปยังประเทศแคนาดา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2539 แม้ทางการไทยได้ประสานงานกับแคนาดาขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่นายราเกซได้ให้ทนายความยื่นคัดค้าน ใช้ระยะเวลาพิจารณาถึง 13 ปี กระทั่งวันที่ 29 ต.ค. 2552 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และส่งตัวมาถึงประเทศไทยด้วยเที่ยวบิน TG 615 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2552
    .
    ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาเมื่อปี 2555 จำคุกนายราเกซ 10 ปี และต่อสู้คดีเรื่อยมา กระทั่งคดีถึงที่สุดเมื่อปี 2565 รวมระยะเวลาที่รับโทษในประเทศไทย 15 ปี

    ที่มา https://sondhitalk.com/detail/9670000083928

    #Thaitimes
    "ราเกซ"อดีตพ่อมดการเงินที่ต้องโทษคดีฉ้อโกงธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ BBCจนแบงก์เจ้ง ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตำรวจเตรียมผลักดันออกนอกประเทศ . 10 กันยายน 2567 -รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันนี้ ตำรวจกองกำกับการ 5 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้ไปรับตัวนายราเกซ สักเสนา (Rakesh Saxena) สัญชาติอินเดีย ผู้ต้องขังในคดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ (บีบีซี) ออกจากเรือนจำ เพื่อผลักดันออกนอกประเทศ . หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 โดยได้ส่งตัวนายราเกซไปยังกองกำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (บก.สส.สตม.) เพื่อดำเนินการผลักดันออกนอกประเทศตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อไป . นับเป็นการปิดฉากชีวิตพ่อมดการเงินในประเทศไทย จากการปล่อยสินเชื่อให้แก่นักธุรกิจและนักการเมืองเพื่อเข้าเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกำไรจากการซื้อมา-ขายไป จนเกิดหนี้เน่ามากกว่า 80,000 ล้านบาท และเป็นต้นเหตุที่ทำให้บีบีซีปิดกิจการ . สำหรับนายราเกซ ชาวเมืองอินดอร์ รัฐมัธยประเทศ อดีตโบรกเกอร์ค้าเงิน เป็นผู้ต้องขังคดีหมายเลขแดงที่ อ 4138/2559 ในความผิดฐานพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดียักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือ บีบีซี ระหว่างปี 2537-2539 ขณะดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งขณะนั้นคือนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ . โดยกระทำการทุจริตอนุมัติวงเงินสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) กับบริษัท สมประสงค์ อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และเอกชนอื่นร่วม 10 แห่ง เกินกว่า 30 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหารของธนาคารก่อน อีกทั้งไม่ได้จัดให้มีหลักประกัน ไม่มีการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ และความสามารถในการชำระหนี้คืน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย . นอกจากนี้ จำเลยและพวกยังได้ร่วมกันแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของธนาคารผู้เสียหาย (บีบีซี) ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายเกริกเกียรติ ไปเป็นของจำเลยกับพวกและนายเกริกเกียรติโดยทุจริต แม้ภายหลังจำเลยกับพวกได้ชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน แต่คงเหลือเงินที่ยังไม่ได้คืนผู้เสียหาย 353,363,966 บาท . คดีนี้ต่อสู้กันสามศาล ในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 จำคุกกระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 500,000 บาท โดยมีสำนวนแรก 60 กระทง สำนวนที่สอง 6 กระทง และสำนวนที่สาม 1 กระทง รวม 67 กระทง รวมจำคุก 335 ปี และปรับ 33,500,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุก 20 ปี และสั่งคืนเงินผู้เสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท . ก่อนหน้านี้นายราเกซหลบหนีคดีไปยังประเทศแคนาดา ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2539 แม้ทางการไทยได้ประสานงานกับแคนาดาขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่นายราเกซได้ให้ทนายความยื่นคัดค้าน ใช้ระยะเวลาพิจารณาถึง 13 ปี กระทั่งวันที่ 29 ต.ค. 2552 ศาลฎีกาแคนาดามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา และส่งตัวมาถึงประเทศไทยด้วยเที่ยวบิน TG 615 เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2552 . ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาเมื่อปี 2555 จำคุกนายราเกซ 10 ปี และต่อสู้คดีเรื่อยมา กระทั่งคดีถึงที่สุดเมื่อปี 2565 รวมระยะเวลาที่รับโทษในประเทศไทย 15 ปี ที่มา https://sondhitalk.com/detail/9670000083928 #Thaitimes
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 2025 Views 0 Reviews
  • รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567

    “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน

    ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว)

    แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม

    แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้

    หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ

    อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว

    ผลเป็นไงคงพอจำกันได้

    บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ

    แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที

    อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ

    ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร

    ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ

    แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ

    ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน

    สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้

    ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน

    ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ

    สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ

    ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป

    แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป

    นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย

    ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน

    แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก

    ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้

    อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ

    งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้

    นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที

    ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว

    ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ

    อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

    เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้

    ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว

    เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ

    การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว

    จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ

    ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง

    เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท

    รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท

    นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท

    อันนี้น่าสนใจ

    ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป

    แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต

    เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ

    แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้

    แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที

    แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน

    พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้

    แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น

    แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย

    เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย

    ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต

    แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย

    พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่

    เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก

    แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที

    การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ


    ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน

    ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย

    สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ

    งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ

    บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง

    ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย


    วีระ ธีรภัทร
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567”

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E

    Thaitimes
    รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567 “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว) แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้ หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว ผลเป็นไงคงพอจำกันได้ บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้ ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้ อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้น่าสนใจ ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้ แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่ เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย วีระ ธีรภัทร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567” ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 1091 Views 0 Reviews
  • ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

    การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

    ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

    ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

    แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

    เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

    สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

    ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

    ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

    แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

    เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

    #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 787 Views 0 Reviews
  • 23 กรกฎาคม 2567- ธนาคารเริ่มเปิดจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และจำหน่ายแผ่นพับบรรจุธนบัตรที่ระลึกฯ

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

    #thaitimes
    23 กรกฎาคม 2567- ธนาคารเริ่มเปิดจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และจำหน่ายแผ่นพับบรรจุธนบัตรที่ระลึกฯ ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย #thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 284 Views 0 Reviews
  • แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย

    เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว

    สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที

    BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม

    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น

    #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    แอร์เอเชียร่วมวง e-Money ในไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ "บิ๊กเพย์" (BigPay) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) รายล่าสุดในไทย จากกลุ่มแคปปิตอล เอ (Capital A) บริษัทแม่ของสายการบินแอร์เอเชีย งานนี้ โทนี เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ เดินทางมาเปิดตัวด้วยตัวเอง พร้อมทั้งอัดงบโฆษณาโปรโมต ผ่านอินฟลูเอนเซอร์สายท่องเที่ยว สำหรับแอปพลิเคชัน BigPay มาพร้อมบัตรเสมือน Visa Virtual Card สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ และบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card ที่มีค่าออกบัตร 150 บาทต่อใบ สำหรับใช้จ่ายผ่านร้านค้าทั่วไป และถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ที่ต่างประเทศ พร้อมฟังก์ชัน Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อย และ Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อเก็บเงินได้ทันที BigPay เปิดให้บริการครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 ปรับปรุงจากผลิตภัณฑ์บัตรเติมเงิน Big Prepaid Mastercard จุดเด่นในขณะนั้นคือ เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินแอร์เอเชียแล้วจ่ายผ่านบัตร BigPay ไม่เสียค่า Processing Fee เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ต่อมาได้ขยายบริการไปยังสิงคโปร์ และล่าสุดให้บริการในประเทศไทยเป็นแห่งที่สาม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งห้ามแอร์เอเชียเรียกเก็บค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ทำให้จุดเด่นตรงนี้หายไป ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่ามีผลิตภัณฑ์ e-Money ในประเทศไทย 74 ผลิตภัณฑ์ แต่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ ทรูมันนี่วอลเล็ต (TrueMoney Wallet) ดีพ พ็อกเก็ต (DeepPocket) เจ วอลเล็ต (J Wallet) ไว วอลเล็ต (Wi Wallet) เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) ยูทริป (YouTrip) พลาเน็ตเอสซีบี (Planet SCB) และกรุงศรีบอร์ดดิ้งการ์ด (Krungsri Boarding Card) เป็นต้น #Newskit #BigPay #เงินอิเล็กทรอนิกส์
    Like
    4
    0 Comments 1 Shares 711 Views 0 Reviews