• Sondhitalk EP 263 : เจาะลึกต้นตอ บัสมรณะ ระเบิดติดล้อ - 111067(Full)

    - เจาะลึก“บัสมรณะ ระเบิดติดล้อ”
    - เศรษฐพุฒิ ผู้ว่าฯ เทวดา
    - “นิคมมลพิษ” เอกนัฏ จะทำงานกี่โมง
    - CIA อ้าแขนรับ สายลับ Gen Z

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitime #รถบัสมรณะ #สุริยะ #ผูว่าแบงก์ชาติ #ค่าเงินบาทแข็ง #CIA #มลพิษนิคมระยอง
    Sondhitalk EP 263 : เจาะลึกต้นตอ บัสมรณะ ระเบิดติดล้อ - 111067(Full) - เจาะลึก“บัสมรณะ ระเบิดติดล้อ” - เศรษฐพุฒิ ผู้ว่าฯ เทวดา - “นิคมมลพิษ” เอกนัฏ จะทำงานกี่โมง - CIA อ้าแขนรับ สายลับ Gen Z #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitime #รถบัสมรณะ #สุริยะ #ผูว่าแบงก์ชาติ #ค่าเงินบาทแข็ง #CIA #มลพิษนิคมระยอง
    Like
    Love
    Yay
    Wow
    Angry
    70
    1 ความคิดเห็น 4 การแบ่งปัน 1195 มุมมอง 1547 3 รีวิว
  • 11 ตุลาคม 2567-SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep263 - 111067(live)
    -โศกนาฏกรรมรถบัสมรณะ บทเรียนราคาแพงที่เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ใครต้องรับผิดชอบ?
    -มลภาวะจากนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยางที่ไร้การจัดการจริงจังจากรัฐมนตรีอุตสาหกรรม เอกรัฐ
    -เรื่องของ ผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบัน ที่ชื่อ คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ หรือ ดร.นกและความจริงบางอย่าง ที่ผู้ชมอาจไม่เคยรับรู้รับทราบมาก่อน รวมไปถึงปัญหาค่าเงินบาทแข็ง แบงก์ชาติจะว่าอย่างไร
    -งานสายลับที่ประกาศผ่านโซเชียลแบบไม่ลับ!!!
    CIA เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ คุณสมบัติง่ายนิดเดียว เพียงแค่เป็นคน “ชังชาติ” และเลวพอที่จะขายขอมูลของบ้านเกิดเมืองนอน

    ที่มา https://www.youtube.com/live/uWARG-mskhA?si=ZvyDf51hI54pgQUW

    #Thaitimes
    11 ตุลาคม 2567-SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep263 - 111067(live) -โศกนาฏกรรมรถบัสมรณะ บทเรียนราคาแพงที่เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ใครต้องรับผิดชอบ? -มลภาวะจากนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยางที่ไร้การจัดการจริงจังจากรัฐมนตรีอุตสาหกรรม เอกรัฐ -เรื่องของ ผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบัน ที่ชื่อ คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ หรือ ดร.นกและความจริงบางอย่าง ที่ผู้ชมอาจไม่เคยรับรู้รับทราบมาก่อน รวมไปถึงปัญหาค่าเงินบาทแข็ง แบงก์ชาติจะว่าอย่างไร -งานสายลับที่ประกาศผ่านโซเชียลแบบไม่ลับ!!! CIA เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ คุณสมบัติง่ายนิดเดียว เพียงแค่เป็นคน “ชังชาติ” และเลวพอที่จะขายขอมูลของบ้านเกิดเมืองนอน ที่มา https://www.youtube.com/live/uWARG-mskhA?si=ZvyDf51hI54pgQUW #Thaitimes
    SONDHITALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep263 - 111067(live)
    โศกนาฏกรรมรถบัสมรณะ บทเรียนราคาแพงที่เกิดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ใครต้องรับผิดชอบ?


    #sondhitalk #sondhix #thaitimes #สนธิเล่าเรื่อง #สนธิทอล์ค #รถบัสมรณะ #ผู้ว่าแบงก์ชาติ #CIA
    Like
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 710 มุมมอง 1 รีวิว
  • "หนูอยากเป็นนายกฯ" มันไม่ใช่แค่คำพูด แต่มีสติและปัญญามากพอไหม
    .
    ท่านนายกฯ ขึ้นมาเป็นนายกฯ ครั้งนี้ แม่ไม่ต้องการให้เป็น คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร พูดกับคนใกล้ชิดหมดเลย ขอร้อง อย่าเอาอุ๊งอิ๊งค์มาเป็นนายกฯ ขอร้อง แต่ปรากฏว่าพ่อคุณ ท่านนายกฯ ต้องการให้ท่านเป็น แต่ก็ขัดแม่ไม่ได้ ทั้งสองคนผัวเมียเลยตัดสินใจว่าให้ลูกสาวตัดสินใจก็แล้วกัน ใช่หรือเปล่า อย่าโกหกผม
    .
    เมื่อท่านนายกฯ ตัดสินใจจะก้าวเข้าสู่สนามสงครามแล้ว ท่านนายกฯ ต้องยอมรับหอก ดาบ ง้าว กระสุนปืน ที่ถั่งโถมหาท่านนายกฯ ท่านนายกฯ ต้องเข้มแข็ง ต้องอดทน อย่าควันออกหูเพียงเพราะว่าหนังสือพิมพ์ คอลัมน์ประจำคอลัมน์หนึ่งของนายสุรวิชช์ วีรวรรณ พาดหัวข่าวว่า "นายกฯ ฟันน้ำนม"ท่านสติแตกเลย
    .
    ท่านนายกฯ ครับ การที่พ่อท่านเลือกท่าน ท่านรู้หรือเปล่าว่าเพราะอะไร ง่ายนิดเดียว พ่อท่านไม่เคยไว้ใจใครเลย ไม่เคย ไม่เคยไว้ใจใครเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเป็นลูกสาวตัวเอง โอเค ได้ แต่ความที่แม่ คือคุณหญิงพจมาน ขัดขวาง ไม่ยอมให้เป็น เพราะรู้ว่าจะมีปัญหา ก็เลยต้องตัดสินใจว่าโยนให้ท่านนายกฯ แพทองธารเป็นคนตัดสินใจ
    .
    ผมรู้ท่านนายกฯรักลูก คิดถึงลูก อยากจะใช้ชีวิตวันเสาร์-อาทิตย์อยู่กับลูก ในฐานะที่เป็นแม่ ไม่ผิด ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านอย่ามาเป็นนายกฯ เพราะประเทศไทยปัญหาชาติบ้านเมืองไม่มีวันหยุด ไม่มีวันหยุด ท่านนายกฯต้องรู้จักตัวเองบ้างว่าท่านสวมหมวกอะไรอยู่ในขณะนี้
    .
    ผมรู้ว่าคุณพ่อคุณเป็นห่วงท่าน ส่งทีมงานมา ตั้งคณะที่ปรึกษา ที่ผมเล่าให้ฟังแล้ว ประธานคือพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เข้ามาล้อมรอบ นั่งคุยด้วย ออกมาหมอเลี้ยบก็ให้สัมภาษณ์ทันทีเลยว่าจะอยู่จนครบ 4 ปี จะทำให้ประชาชนร่ำรวยขึ้น ประเด็นไม่ใช่ปัญหาประชาชนจะร่ำรวยหรือไม่ร่ำรวย ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่า ท่านนายกฯเป็นตัวของตัวเองได้ไหม
    .
    แต่เผอิญการเป็นตัวของตัวเองนั้น ท่านนายกฯ‘ต้องมีปัญญา’ คำถามคือ ท่านนายกฯ มีสติและมีปัญญามากพอที่จะเป็นนายกฯ ได้ไหม ไม่ใช่ที่ท่านผิดพลาดไปในเรื่องของค่าเงินบาทแข็ง พอค่าเงินบาทแข็ง ท่านก็บอกว่า ดี ทำให้การส่งออกดีขึ้น นี่คือข้อผิดพลาดที่เรือหายไปแล้วนะ ท่านพูดมาแล้วหลายครั้งเรื่องนี้ ตั้งแต่ต้น แต่ผมไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ท่านเลย ผมเฉย ผมคิดในใจว่าท่านคงไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ น่าเห็นใจ
    .
    ท่านนายกฯ ครับ การศึกษาบ้านเราจะไปอย่างไร อนาคตบ้านเราจะเป็นอย่างไร คุณพิชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทะเลาะกับคุณเศรษฐพุฒิ ท่านต้องบอกคุณพิชัยให้หยุดพูด ไม่ต้องพูดอะไรทั้งสิ้น คุณเศรษฐพุฒิท่านจะว่าอย่างไรก็ว่าไป ตั้งใจทำงานไป
    .
    ท่านนายกฯ ครับ ผมเป็นคนที่มีเหตุมีผล ผมไม่ใช่นักเลงหัวไม้ ผมไม่รังแกคน แต่ผมจะไม่ยอมให้ใครมารังแกผม ท่านไม่ต้องกังวล ท่านทำงานไป ท่านตรวจสอบไป
    .
    ผมขอเถอะท่านนายกฯ ท่านตั้งใจทำงานเพื่อชาติ ท่านทำได้หรือเปล่า เพื่อชาติจริงๆ ท่านต้องบอกพ่อ พ่อ หนูขอทำงานเพื่อส่วนรวมได้ไหม พ่ออย่ามายุ่งกับการงานของหนูได้ไหม พ่อหาคนมาแนะนำหนูได้ แต่พ่ออย่าสอดแทรกอะไรเข้ามาให้หนูทำ เป้าหมายของหนูต้องการให้ประเทศชาติไปรอด เอาส่วนรวมเป็นตัวตั้ง เมื่อส่วนรวมเป็นตัวตั้งแล้ว หนูถือว่าหนูทำงานได้สำเร็จแล้วแต่ที่สำคัญที่สุด ท่านนายกฯ ท่านอย่าลืมตัวท่านเอง ท่านตัดสินใจจะเข้าสู่สงครามนี้ด้วยตัวท่านเอง
    .
    ถ้าท่านรับไม่ไหว ท่านก็ถอยออกมา แต่ท่านเข้าไปแล้ว ท่านต้องสู้ ท่านอย่ามาโอดครวญบนพื้นฐานที่ไม่ใช่ความจริง บอกว่าเพิ่งทำงานได้เดือนเดียว บอกคุณสนธิอย่าเพิ่งมาเดินถนนไล่ ท่านนายกฯ ท่านโกหก
    .
    ท่านนายกฯ ท่านเป็นคนรุ่นใหม่ ท่านอาจจะไม่เข้าใจเรื่องของกฎแห่งกรรม ผมอายุ 78 แล้ว ผมแก่กว่าคุณพ่อท่านนายกฯ 2 ปี โดยวัยวุฒิตามสังคมไทย ผมต้องเป็นลุงท่านนายกฯ แต่ผมไม่กล้าไปนับญาติกับท่านนายกฯ ไม่กล้า ผมอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่ถ้าเป็นเรื่องชาติบ้านเมือง ท่านนายกฯ ครับ ผมไม่เจียมเนื้อเจียมตัวหรอก
    .
    พฤศจิกายนนี้ ผม78 ผมตายเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะตายทั้งทีให้มันลือลั่นไปทั่วในประวัติศาสตร์ ท่านนายกฯ ไม่ต้องกังวล และให้รู้ด้วยว่าถ้าผมประท้วงท่านนายกฯ ในอนาคต ไม่ใช่ตอนนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังผม ไม่ต้องมาหาเลยว่าจะเป็นทหารคนไหน ไม่มี ผมไม่ใช่สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำ กปปส. ที่มีกองทัพอยู่ข้างหลัง ผมตัวคนเดียว แต่ผมมีประชาชนที่รักความเป็นธรรม และเขารักผม และเขารู้ว่าผมทำงานโดยไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง แต่ทำงานให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำงานให้ชาติจริงๆ วันที่ผมออกไปสู้กับคุณพ่อท่านนายกฯ ผมบอกกับทุกคนเลย เฮ้ย ถ้าจะมีกูคนเดียว กูก็จะไป เพราะกูเชื่อของกูอย่างนี้
    .
    ถ้าผมจำเป็นต้องประท้วงท่านนายกฯ ในอนาคต ซึ่งผมไม่รู้ว่าเมื่อไร สุดแล้วแต่การทำงานของท่านนายกฯ ผมมีทางเลือกอยู่ทางเดียว ผมต้องชนะ ไม่อย่างนั้นผมยอมตาย
    .
    หวังว่าสิ่งที่ผมพูดนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าท่านนายกฯ เปิดใจรับฟังความเห็นของผม นี่กล่าวจากความจริงใจในใจ เพราะโดยวัยวุฒิแล้วท่านก็เหมือนหลานผม แต่ผมไม่กล้านับลุงนับหลานกับท่าน แต่ผมแก่กว่าพ่อท่านนายกฯ 2 ปี ผมอยู่อีกไม่กี่ปีก็จะตายแล้ว ท่านนายกฯ ก็ต้องตายสักวันหนึ่ง คุณพ่อท่านนายกฯ ก็ต้องตายสักวันหนึ่ง คำถาม ถ้าคุณพ่อท่านนายกฯ ตายไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ ตายอย่างมีสง่าราศีหรือเปล่า ? ไม่มี ท่านนายกฯ ต้องเข้ามากู้ศักดิ์ศรีของคุณพ่อท่านนายก ด้วยการทำความดี ทำงานเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่าไปใส่ใจพวกญาติพี่น้องท่าน
    .
    แล้วท่านนายกฯ ต้องไม่สติแตกง่ายๆ ถ้าตัดสินใจมาลงเล่นสงครามแล้ว ต้องพร้อมจะเจ็บ เท่านั้นล่ะครับ
    "หนูอยากเป็นนายกฯ" มันไม่ใช่แค่คำพูด แต่มีสติและปัญญามากพอไหม . ท่านนายกฯ ขึ้นมาเป็นนายกฯ ครั้งนี้ แม่ไม่ต้องการให้เป็น คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร พูดกับคนใกล้ชิดหมดเลย ขอร้อง อย่าเอาอุ๊งอิ๊งค์มาเป็นนายกฯ ขอร้อง แต่ปรากฏว่าพ่อคุณ ท่านนายกฯ ต้องการให้ท่านเป็น แต่ก็ขัดแม่ไม่ได้ ทั้งสองคนผัวเมียเลยตัดสินใจว่าให้ลูกสาวตัดสินใจก็แล้วกัน ใช่หรือเปล่า อย่าโกหกผม . เมื่อท่านนายกฯ ตัดสินใจจะก้าวเข้าสู่สนามสงครามแล้ว ท่านนายกฯ ต้องยอมรับหอก ดาบ ง้าว กระสุนปืน ที่ถั่งโถมหาท่านนายกฯ ท่านนายกฯ ต้องเข้มแข็ง ต้องอดทน อย่าควันออกหูเพียงเพราะว่าหนังสือพิมพ์ คอลัมน์ประจำคอลัมน์หนึ่งของนายสุรวิชช์ วีรวรรณ พาดหัวข่าวว่า "นายกฯ ฟันน้ำนม"ท่านสติแตกเลย . ท่านนายกฯ ครับ การที่พ่อท่านเลือกท่าน ท่านรู้หรือเปล่าว่าเพราะอะไร ง่ายนิดเดียว พ่อท่านไม่เคยไว้ใจใครเลย ไม่เคย ไม่เคยไว้ใจใครเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเป็นลูกสาวตัวเอง โอเค ได้ แต่ความที่แม่ คือคุณหญิงพจมาน ขัดขวาง ไม่ยอมให้เป็น เพราะรู้ว่าจะมีปัญหา ก็เลยต้องตัดสินใจว่าโยนให้ท่านนายกฯ แพทองธารเป็นคนตัดสินใจ . ผมรู้ท่านนายกฯรักลูก คิดถึงลูก อยากจะใช้ชีวิตวันเสาร์-อาทิตย์อยู่กับลูก ในฐานะที่เป็นแม่ ไม่ผิด ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านอย่ามาเป็นนายกฯ เพราะประเทศไทยปัญหาชาติบ้านเมืองไม่มีวันหยุด ไม่มีวันหยุด ท่านนายกฯต้องรู้จักตัวเองบ้างว่าท่านสวมหมวกอะไรอยู่ในขณะนี้ . ผมรู้ว่าคุณพ่อคุณเป็นห่วงท่าน ส่งทีมงานมา ตั้งคณะที่ปรึกษา ที่ผมเล่าให้ฟังแล้ว ประธานคือพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เข้ามาล้อมรอบ นั่งคุยด้วย ออกมาหมอเลี้ยบก็ให้สัมภาษณ์ทันทีเลยว่าจะอยู่จนครบ 4 ปี จะทำให้ประชาชนร่ำรวยขึ้น ประเด็นไม่ใช่ปัญหาประชาชนจะร่ำรวยหรือไม่ร่ำรวย ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่า ท่านนายกฯเป็นตัวของตัวเองได้ไหม . แต่เผอิญการเป็นตัวของตัวเองนั้น ท่านนายกฯ‘ต้องมีปัญญา’ คำถามคือ ท่านนายกฯ มีสติและมีปัญญามากพอที่จะเป็นนายกฯ ได้ไหม ไม่ใช่ที่ท่านผิดพลาดไปในเรื่องของค่าเงินบาทแข็ง พอค่าเงินบาทแข็ง ท่านก็บอกว่า ดี ทำให้การส่งออกดีขึ้น นี่คือข้อผิดพลาดที่เรือหายไปแล้วนะ ท่านพูดมาแล้วหลายครั้งเรื่องนี้ ตั้งแต่ต้น แต่ผมไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์ท่านเลย ผมเฉย ผมคิดในใจว่าท่านคงไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ น่าเห็นใจ . ท่านนายกฯ ครับ การศึกษาบ้านเราจะไปอย่างไร อนาคตบ้านเราจะเป็นอย่างไร คุณพิชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทะเลาะกับคุณเศรษฐพุฒิ ท่านต้องบอกคุณพิชัยให้หยุดพูด ไม่ต้องพูดอะไรทั้งสิ้น คุณเศรษฐพุฒิท่านจะว่าอย่างไรก็ว่าไป ตั้งใจทำงานไป . ท่านนายกฯ ครับ ผมเป็นคนที่มีเหตุมีผล ผมไม่ใช่นักเลงหัวไม้ ผมไม่รังแกคน แต่ผมจะไม่ยอมให้ใครมารังแกผม ท่านไม่ต้องกังวล ท่านทำงานไป ท่านตรวจสอบไป . ผมขอเถอะท่านนายกฯ ท่านตั้งใจทำงานเพื่อชาติ ท่านทำได้หรือเปล่า เพื่อชาติจริงๆ ท่านต้องบอกพ่อ พ่อ หนูขอทำงานเพื่อส่วนรวมได้ไหม พ่ออย่ามายุ่งกับการงานของหนูได้ไหม พ่อหาคนมาแนะนำหนูได้ แต่พ่ออย่าสอดแทรกอะไรเข้ามาให้หนูทำ เป้าหมายของหนูต้องการให้ประเทศชาติไปรอด เอาส่วนรวมเป็นตัวตั้ง เมื่อส่วนรวมเป็นตัวตั้งแล้ว หนูถือว่าหนูทำงานได้สำเร็จแล้วแต่ที่สำคัญที่สุด ท่านนายกฯ ท่านอย่าลืมตัวท่านเอง ท่านตัดสินใจจะเข้าสู่สงครามนี้ด้วยตัวท่านเอง . ถ้าท่านรับไม่ไหว ท่านก็ถอยออกมา แต่ท่านเข้าไปแล้ว ท่านต้องสู้ ท่านอย่ามาโอดครวญบนพื้นฐานที่ไม่ใช่ความจริง บอกว่าเพิ่งทำงานได้เดือนเดียว บอกคุณสนธิอย่าเพิ่งมาเดินถนนไล่ ท่านนายกฯ ท่านโกหก . ท่านนายกฯ ท่านเป็นคนรุ่นใหม่ ท่านอาจจะไม่เข้าใจเรื่องของกฎแห่งกรรม ผมอายุ 78 แล้ว ผมแก่กว่าคุณพ่อท่านนายกฯ 2 ปี โดยวัยวุฒิตามสังคมไทย ผมต้องเป็นลุงท่านนายกฯ แต่ผมไม่กล้าไปนับญาติกับท่านนายกฯ ไม่กล้า ผมอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่ถ้าเป็นเรื่องชาติบ้านเมือง ท่านนายกฯ ครับ ผมไม่เจียมเนื้อเจียมตัวหรอก . พฤศจิกายนนี้ ผม78 ผมตายเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะตายทั้งทีให้มันลือลั่นไปทั่วในประวัติศาสตร์ ท่านนายกฯ ไม่ต้องกังวล และให้รู้ด้วยว่าถ้าผมประท้วงท่านนายกฯ ในอนาคต ไม่ใช่ตอนนี้ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลังผม ไม่ต้องมาหาเลยว่าจะเป็นทหารคนไหน ไม่มี ผมไม่ใช่สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำ กปปส. ที่มีกองทัพอยู่ข้างหลัง ผมตัวคนเดียว แต่ผมมีประชาชนที่รักความเป็นธรรม และเขารักผม และเขารู้ว่าผมทำงานโดยไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง แต่ทำงานให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำงานให้ชาติจริงๆ วันที่ผมออกไปสู้กับคุณพ่อท่านนายกฯ ผมบอกกับทุกคนเลย เฮ้ย ถ้าจะมีกูคนเดียว กูก็จะไป เพราะกูเชื่อของกูอย่างนี้ . ถ้าผมจำเป็นต้องประท้วงท่านนายกฯ ในอนาคต ซึ่งผมไม่รู้ว่าเมื่อไร สุดแล้วแต่การทำงานของท่านนายกฯ ผมมีทางเลือกอยู่ทางเดียว ผมต้องชนะ ไม่อย่างนั้นผมยอมตาย . หวังว่าสิ่งที่ผมพูดนี้จะเป็นประโยชน์ ถ้าท่านนายกฯ เปิดใจรับฟังความเห็นของผม นี่กล่าวจากความจริงใจในใจ เพราะโดยวัยวุฒิแล้วท่านก็เหมือนหลานผม แต่ผมไม่กล้านับลุงนับหลานกับท่าน แต่ผมแก่กว่าพ่อท่านนายกฯ 2 ปี ผมอยู่อีกไม่กี่ปีก็จะตายแล้ว ท่านนายกฯ ก็ต้องตายสักวันหนึ่ง คุณพ่อท่านนายกฯ ก็ต้องตายสักวันหนึ่ง คำถาม ถ้าคุณพ่อท่านนายกฯ ตายไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ ตายอย่างมีสง่าราศีหรือเปล่า ? ไม่มี ท่านนายกฯ ต้องเข้ามากู้ศักดิ์ศรีของคุณพ่อท่านนายก ด้วยการทำความดี ทำงานเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่าไปใส่ใจพวกญาติพี่น้องท่าน . แล้วท่านนายกฯ ต้องไม่สติแตกง่ายๆ ถ้าตัดสินใจมาลงเล่นสงครามแล้ว ต้องพร้อมจะเจ็บ เท่านั้นล่ะครับ
    Like
    Love
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง

    โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป

    อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]

    นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง

    ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป

    แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

    ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย

    และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น

    โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

    และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ

    อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี

    เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด

    สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น

    หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น

    การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น

    ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

    หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

    หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี

    และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]

    โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ

    ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

    แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

    ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​

    เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน

    เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา

    ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย

    โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“

    เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    4 ตุลาคม 2567

    อ้างอิง
    [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
    https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL

    [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
    https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4

    [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
    https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE

    [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
    https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    Like
    Love
    Yay
    60
    5 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 845 มุมมอง 1 รีวิว
  • TIME สายอวย เคยอวยทั้งไอ่ทอน ไอ่ทิม แล้วเดี้ยงหมด รีบอวยอุ๊งอิ๊ง ทั้งที่เป็นนายกฯได้เดือนเศษ สงสัยจะชื่นชม เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีใหม่ "ค่าเงินบาทแข็งดีต่อการส่งออก"
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    TIME สายอวย เคยอวยทั้งไอ่ทอน ไอ่ทิม แล้วเดี้ยงหมด รีบอวยอุ๊งอิ๊ง ทั้งที่เป็นนายกฯได้เดือนเศษ สงสัยจะชื่นชม เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีใหม่ "ค่าเงินบาทแข็งดีต่อการส่งออก" #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Haha
    Like
    Love
    Wow
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 852 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3)

    มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น

    • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
    • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก
    • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ
    • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (3) มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ นอกจากข้อดี-ข้อเสีย จากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า แล้วยังปัจจัยอื่น ที่มีผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ เมื่อดูจาก NAV ของกองทุน เช่น • ค่าธรรมเนียมกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย • ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ผลตอบแทนของ Feeder Fund ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก (Master Fund) เป็นหลัก • นโยบายการลงทุนของกองทุน แต่ละกองทุนจะมีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับ • เมื่อค่าเงินบาทแข็ง มักพบว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (Feeder Fund) ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มี NAV ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนคล้ายกัน แต่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หมายความว่าเงินบาทมีค่ามากกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อแปลงกลับมูลค่าหน่วยลงทุนส่วนของเรา ที่แฝงอยู่ในหน่วยลงทุนหลักที่ปลายทางต่างประเทศ ซึ่งเป็นสกุลดอลลาร์ มีค่าลดลง เช่น ตอนเริ่มต้นลงทุน สมมุติว่าเราซื้อหน่วยลงทุน 1,000 หน่วย ตอนที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และ NAV ของกองทุนอยู่ที่ 35 บาทต่อหน่วย หมายความว่า เงินของเรา 35,000 บาท จะถูกแปลงเป็นเงินดอลลาร์ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ เพื่อไปลงทุนใน GLD ETF แต่พอต่อมาหลังจากนั้นสักระยะหนึ่งเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่ามูลค่าของทองคำใน GLD ETF จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อนำเงินกลับมาแปลงเป็นเงินบาท จะได้เงินบาทน้อยลง กลายเป็น 30,000 บาท ทำให้ NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 30 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าของหน่วยลงทุนของเราลดลง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2)

    ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น
    • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น
    • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ

    2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ
    • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที

    ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น

    ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น
    • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก
    • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (2) ข้อดีของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น 1. อาจได้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง คือเมื่อซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ จะช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยของหน่วยลงทุนทั้งหมดลง ทำให้ในอนาคตเมื่อราคาฟื้นตัว อาจได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น • หลักคิดคือ เมื่อราคาของ Master Fund ฟื้นตัวขึ้น (NAV เพิ่มขึ้น) หน่วยลงทุนที่เราซื้อในราคาต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น แล้วทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตการลงทุนดีขึ้น เช่น สมมติว่าซื้อหน่วยลงทุนใน Feeder Fund เมื่อ NAV ของ Master Fund อยู่ที่ $100 และซื้อเพิ่มอีกครั้งเมื่อ NAV ลดลงเหลือ $80 ต้นทุนเฉลี่ยของเราอาจอยู่ที่ประมาณ $90 ซึ่งเมื่อราคาของ Master Fund กลับมาที่ $100 บาทอีกครั้ง ก็จะมีกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น • ลดต้นทุนเฉลี่ย หมายถึงการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งราคาต่ำในที่นี้หมายถึง การที่เราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ 2. เป็นโอกาสในการซื้อในตอนราคาน่าสนใจ คือถ้าเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ เช่น ทองคำ การซื้อในช่วงที่ราคาต่ำอาจเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อในราคาที่น่าสนใจ • ราคาน่าสนใจ หรือราคาต่ำ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับหลักคิดของแต่ละคน เช่น บางคนมองกราฟราคา บางคนวางกรอบราคาระยะสั้น-ยาว บางคนก็ศึกษามาเอง บางคนใช้ความเชื่อ บางคนฟังเขามาอีกที ข้อเสียของการซื้อถัวเฉลี่ยในช่วงค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ต้นทุนเฉลี่ยอาจไม่ได้ลดลงจริง คือ กองทุนรวม Feeder Fund จะมีระบบบริหารงานภายใน เพื่อให้มีต้นทุนการดำเนินงานที่ควบคุมได้ เช่น • เงินดอลลาร์ที่ใช้หมุนเวียน กองทุน Feeder Fund จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ซึ่งมักจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินก้อนนี้ถือเป็นต้นทุนคงที่ของกองทุน กองทุนจึงต้องบริหารเงินทุนนี้ให้มีต้นทุนที่ไม่ผันผวนนัก • อาจไม่ได้รับผลจากค่าเงินบาทแข็งมากนัก นักลงทุนรายย่อยซื้อเพิ่มเข้ามาอีกในจำนวนที่ไม่มากนัก อาจไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของกองทุนมากเท่าไร คือจริงๆ แล้วกองทุนอาจจ่ายเงินดอลลาร์ออกไป ด้วยต้นทุนเมื่อคิดเป็นเงินบาทแล้วไม่ต่างจากตอนปกติเท่าไรนัก นอกจากนี้ กองทุนอาจมีกลยุทธ์ในการบริหารเงินทุนที่ซับซ้อน เช่น การใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 257 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1)

    คำถาม :
    ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง

    ทั้งนี้
    • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ
    • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ
    • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
    • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง

    ตอบ :
    ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    กองทุนรวมทองคำ ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (1) คำถาม : ถ้ากองทุน feeder fund ที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ลงทุนในกองทุนแม่ GLD ETF เป็นกอง Master Fund แล้วตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถ้าตอนนี้ NAV ของ Feeder Fund ที่ว่านี้ติดลบ ถ้าซื้อถัวไปอีก จะมีข้อดี-เสีย ยังไง ทั้งนี้ • Feeder Fund คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนหลัก (Master Fund) ในต่างประเทศ • Master Fund ในที่นี้คือ GLD ETF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำ • ค่าเงินบาทแข็งค่า หมายความว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ • NAV ติดลบ: หมายถึง มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ต่อหน่วยลงทุนของกองทุนลดลง ตอบ : ช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนในช่วงเวลานั้น อาจไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีปัจจัยภายในของกองทุน เช่น ขนาดของเงินทุนที่กองทุนมีอยู่ กลยุทธ์การบริหารเงินทุน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ล้วนมีส่วนสำคัญในการกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอดมินหล่ะกลุ้ม เหมือนอยู่ในช่วงฝึกงาน
    "ค่าเงินบาทแข็งค่ามากๆ จะทำให้ส่งออกได้ดีขึ้น"
    🤔🤔🤔🤔🤔🤔

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    แอดมินหล่ะกลุ้ม เหมือนอยู่ในช่วงฝึกงาน "ค่าเงินบาทแข็งค่ามากๆ จะทำให้ส่งออกได้ดีขึ้น" 🤔🤔🤔🤔🤔🤔 #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 644 มุมมอง 0 รีวิว
  • 20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

    รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

    แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

    ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

    แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

    อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

    ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

    ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

    ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

    [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

    ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

    1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
    2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
    3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

    ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

    แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

    ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

    ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

    [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

    เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

    ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

    หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

    ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

    ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

    [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

    ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

    ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

    สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

    แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

    ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

    ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

    ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
    ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

    #Thaitimes
    20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
    Like
    Yay
    9
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1881 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥สิ่งที่ท้าทายประเทศไทยตอนนี้คือ
    ค่าเงินบาทที่ปรับแข็งตัวแข็งค่ามากขึ้น
    ล่าสุดอยู่ที่ 33.026 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
    อาจจะดีต่อตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
    เพราะเม็ดเงินจากต่างชาติได้ไหลเข้ามาลงทุน

    🚩แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ ภาคการท่องเที่ยว ที่จำนวนนักท่องเที่ยว
    อาจชะลอตัวลง รวมทั้งภาคการส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าได้
    ยากมากขึ้น

    🚩ดังนั้น การบาลานซ์ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ถือเป็นสิ่งสำคัญ
    ที่รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน

    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ค่าเงินบาท #thaitimes
    🔥🔥สิ่งที่ท้าทายประเทศไทยตอนนี้คือ ค่าเงินบาทที่ปรับแข็งตัวแข็งค่ามากขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 33.026 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อาจจะดีต่อตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพราะเม็ดเงินจากต่างชาติได้ไหลเข้ามาลงทุน 🚩แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ ภาคการท่องเที่ยว ที่จำนวนนักท่องเที่ยว อาจชะลอตัวลง รวมทั้งภาคการส่งออก ที่จะส่งออกสินค้าได้ ยากมากขึ้น 🚩ดังนั้น การบาลานซ์ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ค่าเงินบาท #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1706 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก ใครมีแผนซื้อเก็บ แนะนำ APP Dime!

    เป็น App ที่เป็นทางการสามารถดาวน์โหลดได้ปกติใช้ในการ ซื้อขายหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและลงทุนต่างๆ แต่เพิ่งไปเห็นว่าเขามีให้ดอกเบี้ย สำหรับ การซื้อเงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะ USD 5%%%% ทดลองใช้ละได้ดอกเบี้ยเป็นรายวัน❤️❤️❤️

    ใครสนใจก็ลองศึกษาดูครับเอามาแบ่งปัน
    ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก ใครมีแผนซื้อเก็บ แนะนำ APP Dime! เป็น App ที่เป็นทางการสามารถดาวน์โหลดได้ปกติใช้ในการ ซื้อขายหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและลงทุนต่างๆ แต่เพิ่งไปเห็นว่าเขามีให้ดอกเบี้ย สำหรับ การซื้อเงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะ USD 5%%%% ทดลองใช้ละได้ดอกเบี้ยเป็นรายวัน❤️❤️❤️ ใครสนใจก็ลองศึกษาดูครับเอามาแบ่งปัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ
    เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit)
    เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที
    จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น

    🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก
    สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน
    เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น

    🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน
    ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

    🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
    ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง
    จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ
    ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน

    ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน
    #thaitimes
    🔥🔥พบปัญหาการขาดทุนอื้อ เมื่อผู้ฝากเงินบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) เมื่อคิดจะถอนเงินในบัญชีตอนนี้ จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 🚩โดยบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) คือ บัญชีเงินฝาก สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่ต้องการฝากเงิน เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร, หยวน เป็นต้น 🚩เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่น ณ ปัจจุบัน จะส่งผลให้ ผู้ฝากเงิน ที่จะถอนเงินดังกล่าว ในช่วงเวลานี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 🚩ดังนั้น บัญชีเงินฝากแบบ FCD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่ผู้ใช้บริการต้องศึกษาให้ดี เพราะข้อดีคือช่วยปิดความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แล้วมีกำไร แต่ข้อเสียคือ ก็สามารถ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นเดียวกัน ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #FCD #อัตราแลกเปลี่ยน #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 752 มุมมอง 0 รีวิว
  • แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น #2

    4.ฤดูกาล ทองคำจะปรับตัวขึ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ฤดูกาลมักจะมีความต้องการซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นตามเหตุปัจจัยอุปสงค์อุปทาน โดยเฉพาะเทศกาลใหญ่ๆ ของ 2 ประเทศผู้บริโภคทองคำอันดับต้นๆ ของโลก คือ
    -เทศกาลตรุษจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และ
    -เทศกาลติวาลีของอินเดียในช่วงไตรมาส 4

    5.ค่าเงินบาท มีผลกับเฉพาะราคาทองคำในประเทศ
    โดยหากค่าเงินบาทอ่อนค่า ทองคำจะมีราคาสูงขึ้นหรือแพงขึ้น ตรงกันข้ามหากวันใหนที่ ค่าเงินบาทแข็งค่า ทองคำจะถูกลงทันที
    เหตุที่เช่นนั้นเพราะ เงินบาทอ่อนคือมูลค่าเงินบาทจะมากขึ้น และเมื่อนำมารวมคำนวณก็จะส่งผลทองคำให้มีมูลค่าแพงขึ้น โดยทั้งนี้การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาท จะมีปัจจัยกระตุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    ปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาทองคำ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งทั้งตรงและทางอ้อมที่อาจจะส่งผลกระทบให้ปัจจัยหลักเหล่านี้มีเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการติดตามข่าวสารต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เรารู้เท่าทันและพอจะคาดการณ์ราคาทองคำล่วงหน้าได้ไม่มากก็น้อย
    แนวโน้มทองคําขึ้น-ลง มาจากปัจจัยอะไร? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น #2 4.ฤดูกาล ทองคำจะปรับตัวขึ้น เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ฤดูกาลมักจะมีความต้องการซื้อทองคำเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นตามเหตุปัจจัยอุปสงค์อุปทาน โดยเฉพาะเทศกาลใหญ่ๆ ของ 2 ประเทศผู้บริโภคทองคำอันดับต้นๆ ของโลก คือ -เทศกาลตรุษจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และ -เทศกาลติวาลีของอินเดียในช่วงไตรมาส 4 5.ค่าเงินบาท มีผลกับเฉพาะราคาทองคำในประเทศ โดยหากค่าเงินบาทอ่อนค่า ทองคำจะมีราคาสูงขึ้นหรือแพงขึ้น ตรงกันข้ามหากวันใหนที่ ค่าเงินบาทแข็งค่า ทองคำจะถูกลงทันที เหตุที่เช่นนั้นเพราะ เงินบาทอ่อนคือมูลค่าเงินบาทจะมากขึ้น และเมื่อนำมารวมคำนวณก็จะส่งผลทองคำให้มีมูลค่าแพงขึ้น โดยทั้งนี้การแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินบาท จะมีปัจจัยกระตุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาทองคำ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกทั้งทั้งตรงและทางอ้อมที่อาจจะส่งผลกระทบให้ปัจจัยหลักเหล่านี้มีเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการติดตามข่าวสารต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เรารู้เท่าทันและพอจะคาดการณ์ราคาทองคำล่วงหน้าได้ไม่มากก็น้อย
    Like
    Love
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 649 มุมมอง 0 รีวิว