อัปเดตล่าสุด
- อาทิตย์นึ้ 24 พฤศจิกายน 2567 พบกันในรายการ ความจริงมีหนึ่งเดียวครั้งที่ 4 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
อาทิตย์นึ้ 24 พฤศจิกายน 2567 พบกันในรายการ ความจริงมีหนึ่งเดียวครั้งที่ 4 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น! - ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั
ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป
ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป
การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น
และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป
และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป
แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย
ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ
เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น
เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น
และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น
ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย
กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้
นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย
ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา
แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง
จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย
ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน
ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี
ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ
3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง
4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก
5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก
แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย
คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
10 ตุลาคม 2567
ดอลลาร์สหรัฐจะเสื่อมค่าลง ถึงแม้จะพยายามก่อสงครามและโรคระบาดก็ตาม / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สถานการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปัญหาความไม่เชื่อมั่นต่อ ดอลลาร์สหรัฐ มี 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.การพิมพ์แบงค์ก่อหนี้ไม่หยุดและไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ 2. การยึดทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซีย ทำให้ทั่วโลกกำลังหาสินทรัพย์อย่างอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงจุดที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงได้ต่อไป ก็ยิ่งทำให้เงินทั่วโลกเทขายพันธบัตรและเงินดอลลาร์หันไปลงทุนสินทรัพย์อย่างอื่น โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเอเชีย (ซึ่งแปลงเป็นเงินสกุลอื่น) คริปโตเคอเรนซี่ และทองคำ ประเทศใดไม่ทันระวังตัว หลงเพลินกับดัชนีราคาหุ้นที่สูงขึ้น ก็อาจจะได้รับผลกระทบทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเสื่อมค่าลงด้วยเพราะดอลลาร์ที่ท่วมในทุนสำรองระหว่างประเทศกำลังเสื่อมค่าลงเช่นกั ด้วยเหตุผลนี้ธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ก็มีแนวโน้มจะซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อรักษามูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง กว่าการมีสินทรัพย์ที่มีเงินดอลลาร์มากเกินไป ด้วยเหตุผลนี้ทองคำมีแนวโน้มจะมีราคาสูงขึ้นต่อไปเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดังนั้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับความเสียหาย อีกทั้งต้องสั่งซื้อวัคซีนและยารักษาโรคในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐจากอเมริกา และยุโรป การก่อหนี้สาธารณอันมหาศาลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ในการหาซื้อยา วัคซีน เวชภัณฑ์ รวมถึงการเยียวยาความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศต่อก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น บางประเทศที่ขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่แล้ว ก็ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มากขึ้น และการที่ประเทศที่ได้รับความเสียหายจากสงครามหรือโรคระบาดที่ต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น ก็คือการรักษาความต้องการเงินดอลลาร์ให้ยังคงอยู่ต่อไป และต้องถูกแลกมาด้วยการสูบทรัพยากรจากประเทศลูกหนี้เหล่านั้นให้มาชดใช้หนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและยุโรป และนี่คือเหตุผลสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องออกมาปล่อยข่าวปลอมในการใส่ร้ายและทำลายวัคซีนจากจีน เพื่อต้องการสูบความมั่งคั่งจากทั่วโลกให้มาเพิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะดำรงได้ต่อไป จึงถูกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจบีบคั้นให้ลดอัตราดอกเบี้ยและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าทำให้เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเดินหน้าต่อไป แต่การลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ก็แลกกลับมาด้วยเงินทุนไหลออกจากดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว ไปสู่สินทรัพย์อื่นที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างรวดเร็ว ทั้งทองคำ เงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซี่ หุ้นในประเทศในเอเชีย ส่งผลทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะเสื่อมค่าลงเรื่อยๆ เมื่อนโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาดอลลาร์อย่างสันติวิธีได้ ประชาคมโลกจึงมีความเสี่ยงที่จะได้เห็นปรากฏการณ์เร่งทำสงครามให้บานปลายมากขึ้น หรืออาจมีความเสี่ยงการก่อโรคระบาดใหม่ได้มากขึ้น เพราะการก่อสงครามของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียในสมรภูมิสงครามโดยตรง ทำให้หลายประเทศต้องซื้ออาวุธสงครามด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น และการปฏิบัติการด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่อสู้กันนั้น ก็ย่อมทำให้ต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ดังนั้นน้ำมันที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ย่อมทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์ทำกำไรมากขึ้น และรักษาเงินดอลลาร์ได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะทำให้สหรัฐอเมริการมีรายได้มาช่วยชำระหนี้มากขึ้น ยังไม่นับความเสี่ยงประเทศคู่กรณีกับสหรัฐอเมริกา ก็อาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาชักดาบ ไม่ต้องชำระหนี้พันธบัตรสหรัฐ และยึดทุนสำรองระหว่างประเทศมาชดใช้หนี้ให้สหรัฐอเมริการหรือให้มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐอเมริกาได้ด้วย กรณีศึกษาที่ชัดเจนว่าฝ่ายรักษาเงินดอลลาร์ที่ได้ทำลายการขนส่งก๊าซของรัสเซียในยุโรปก็ดี การมีเป้าหมายทำลายบ่อน้ำมันหรือโรงกลั่นน้ำมันของอิหร่านก็ดี มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำลายปิโตรเลียมของชาติอื่นๆ ที่จะไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายน้ำมัน(ปิโตรดอลลาร์) เพื่อหวังจะทำให้ปิโตรเลียมที่ค้าขายด้วยดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่จะครองสัดส่วนหลักของโลกได้ต่อไป ซึ่งเป็นวิธีดิ้นเฮือกสุดท้ายที่มีความเสี่ยงสูง เป็นการเดิมพันเพื่อรักษาเงินดอลลาร์เอาไว้ให้ได้ นั่นหมายความว่า “ราคาน้ำมัน” มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปด้วย ดังนั้นลักษณะสงครามโลก หรือหากจะมีสงครามโรคเพื่อรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในลักษณะ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ”ไม่ให้เป็นสงครามที่มีผลกระทบต่อแผ่นดินของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ใช่ว่าแนวทางรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ไม่ใช่แนวทางสันติวิธีแบบนี้จะทำได้ตามอำเภอใจ เพราะประเทศคู่กรณีอย่างจีน รัสเซีย ที่มีสมาชิก BRICS เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ที่กำลังลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐให้ลดน้อยลง จีน รัสเซีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน อินเดีย ซึ่งกำลังทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ต่างมีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงจะไม่แพ้สหรัฐอเมริกาและยุโรปเท่านั้น แต่ยังอาจจะเหนือกว่าสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย ดังนั้นการทำสงครามแบบ “จำกัดพื้นที่” และ “ยืดเยื้อ” อาจถูกโต้กลับด้วยแสนยานุภาพทำให้สงครามสิ้นสุดลงได้เช่นกัน ในขณะที่การทำสงครามโรคระบาดก็อาจจะไม่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะหลังจากการเกิดโรคระบาดโควิด-19 เริ่มทำให้หลายประเทศได้ตระหนักถึงความเสียหายรอบด้าน และมีการเตรียมความพร้อมมากขึ้น ทั้งยารักษาโรค การพึ่งพาตัวเองได้สมุนไพร การเร่งรัดงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการผลิตวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนได้ถ่วงอำนาจทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ด้วยการปล่อยกู้และลงทุนอันมหาศาลให้กับหลายประเทศที่ติดหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังขยายบทบาทการพึ่งพาทางเศรษฐกิจให้กับหลายประเทศทั่วโลกมากกว่าสหรัฐอเมริกา และทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงไปด้วย และยังลงทุนก่อสร้างไปในธุรกิจพลังงาน และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวเปลี่ยนเทคโนโลยีของจีน ที่เหนือกว่าการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐจะไม่สามารถรักษามูลค่าต่อไปได้ ต่อให้ปั่นกระแสข่าวการทำสงคราม การขึ้นภาษีกีดกันทางการค้า ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยแสนยานุภาพของประเทศมหาอำนาจคู่กรณี ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ 1.ความมั่นคงในทุนสำรองระหว่างประเทศที่จะต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินทรัพย์ให้ทันพลวัตต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ต้องมีการบริหารจัดการรักษา “เสถียรภาพ” ค่าเงินบาทไม่ให้เกิดการ “ผันผวน” ผิดปกติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเดียวกัน ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีการส่งออกและการนำเข้าระหว่างประเทศ 3.ต้องบริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ และรถไฟฟ้าทั่วไทยอย่างจริงจัง 4.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้พึ่งพาตัวเองได้ ในภาวะสงครามทั่วโลก 5.ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางยาด้านสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตัวเอง ในภาวะสงครามทั่วโลก แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลได้ตระหนักหรือมีวิสัยทัศน์กับปัญหาเหล่านี้เลย คงเหลือแต่ประชาชนเท่านั้นที่ได้อ่านบทความนี้ต้องเริ่มแสวงหาแนวทางการพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน อาหาร และสมุนไพร หรือปรัชญาพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 10 ตุลาคม 2567 - ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง
โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]
นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร
การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง
ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป
แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย
ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย
และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น
โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ
อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี
เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด
สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น
หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น
การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น
ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป
หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี
และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ
ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย
ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน
เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา
ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย
โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“
เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
4 ตุลาคม 2567
อ้างอิง
[1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL
[2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4
[3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE
[4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
https://www.marketwatch.com/investing/index/dxyยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy - ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ 2% ของโลก คนใหม่ล่าสุดเดือนกันยายน 2567 ที่มีผลงานที่ส่งผลกระทบในการอ้างอิงทางวิชาการตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
29 กันยายน 2567ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ 2% ของโลก คนใหม่ล่าสุดเดือนกันยายน 2567 ที่มีผลงานที่ส่งผลกระทบในการอ้างอิงทางวิชาการตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 29 กันยายน 2567 - ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
“ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)
2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์” (Variola minor or alastrim)[1]
เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก
ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520
ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]
จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]
ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?
อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]
เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]
แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]
คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่
ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์
เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า
“ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน
ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง
ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)
และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน
เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก
จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]
ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า
ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว
อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]
โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ
ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]
ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]
การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]
นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว
แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่
โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]
ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก
แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย
ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย
อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า
“โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้
“คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ
2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน
และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]
เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า
“กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี
วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่
1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน
ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน
“กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]
อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์
จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]
นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]
หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด
แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้
โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ
อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า
”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]
หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด
ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
12 กันยายน 2567
อ้างอิง
[1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.
[2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html
[3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977
[4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/
[5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg
[6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903
[7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php
[8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577
[9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178
[10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615
[11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798
[12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335
[13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf
[14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf
[15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
[16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔
[17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒
ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox) 2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์” (Variola minor or alastrim)[1] เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2] จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4] ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3] เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3] แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3] คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่ ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน) และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6] ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3] โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3] ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3] การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3] นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่ โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7] ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7] จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8] นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ 2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8] เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9] อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15] นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16] หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้ โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17] หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 12 กันยายน 2567 อ้างอิง [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0. [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017 https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558 https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977 [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/ [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024 https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567 https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567 https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577 [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178 [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798 [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335 [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒ - “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”
https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615“ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง” https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615MGRONLINE.COM“ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”“ปานเทพ” แนะใช้ภูมิปัญญาไทยสู้ฝีดาษาลิง วิจัยสมุนไพรไทยไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต พร้อมเผยตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก ควรนำมาวิจัยต่อยอดวันนี้(5 ก.ย.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณ - ชมคลิปที่ไม่สามารถเปิดเผยและเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียอื่นๆได้ ผลกระทบจากวัคซีนทำให้คนที่แข็งแรงกลายเป็นผู้ป่วยหนักอย่าฃที้ไม่คาดคิและน่าเสียใจยิ่ง เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่ประเด็นอยู่ที่ต้องพูดความจริง เปิดเผยความจริง ยอมรับความจริง และช่วยหาทางรักษา เยียวยา พัฒนาแก้ไข และรับผิดชอบ สร้างความตระหนักรู้และระมัดระวังชมคลิปที่ไม่สามารถเปิดเผยและเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียอื่นๆได้ ผลกระทบจากวัคซีนทำให้คนที่แข็งแรงกลายเป็นผู้ป่วยหนักอย่าฃที้ไม่คาดคิและน่าเสียใจยิ่ง เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่ประเด็นอยู่ที่ต้องพูดความจริง เปิดเผยความจริง ยอมรับความจริง และช่วยหาทางรักษา เยียวยา พัฒนาแก้ไข และรับผิดชอบ สร้างความตระหนักรู้และระมัดระวัง
- ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ
ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก
ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก
ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1]
ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว”
ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2]
ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า
“ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2]
แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า
ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า
“ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3]
ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า
“ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4]
ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า
“ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4]
แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523
การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย
โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน
ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย
โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร
เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5]
นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา
ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ
ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่
เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น
และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย
โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้
“๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚
ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚
ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚
ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚
ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚
ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6]
ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า
”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6]
นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า
“๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7]
แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า
“ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8]
อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8]
ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า
“อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9]
นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า
“อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10]
นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ
ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
5 กันยายน 2567
https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/?
อ้างอิง
[1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094
[2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔
[3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694
[4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37
[5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย
https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf
[6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798
[7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335
[8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf
[9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf
[10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1] ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2] ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2] แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3] ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4] ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4] แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523 การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5] นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่ เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้ “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚ ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚ ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚ ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6] ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6] นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7] แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8] อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8] ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9] นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10] นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 กันยายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/? อ้างอิง [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094 [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694 [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37 [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798 [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335 [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 - ชมคลิปที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ในโซเชียลมีเดียทั่วไป White Clot แท่งย้วยสีขาวในหลอดเลือด หลังฉีดวัคซีน เกิดขึ้นจริงในขณะยังมีชีวิตอยู่ชมคลิปที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ในโซเชียลมีเดียทั่วไป White Clot แท่งย้วยสีขาวในหลอดเลือด หลังฉีดวัคซีน เกิดขึ้นจริงในขณะยังมีชีวิตอยู่
- ชมคลิปวีดีโอที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน เบื้องหลังการเจรจา “ก่อนจะทวงคืนฟ้าทะลายโจรสำเร็จ” ให้ กลับคืนมาใน คู่มือแนวเวชปฏิบัติ ในการรักษาโรคโควิด-19 ทุกโรงพยาบาล ระหว่าง ตัวแทนภาคประชาชน คือ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต, ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต คุณรสนา โตสิตระกูล กรรมการมูนิธิสุขภาพไทย กับ คณะผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 16 กรกฎาคม 2567ชมคลิปวีดีโอที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน เบื้องหลังการเจรจา “ก่อนจะทวงคืนฟ้าทะลายโจรสำเร็จ” ให้ กลับคืนมาใน คู่มือแนวเวชปฏิบัติ ในการรักษาโรคโควิด-19 ทุกโรงพยาบาล ระหว่าง ตัวแทนภาคประชาชน คือ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต, ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต คุณรสนา โตสิตระกูล กรรมการมูนิธิสุขภาพไทย กับ คณะผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 16 กรกฎาคม 2567
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ฟ้าทะลายโจรของดีใกล้ตัวชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ฟ้าทะลายโจรของดีใกล้ตัว
- ชมคลิป ที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย เปิดหลักฐานเอกสารของไฟเซอร์ ยังไม่เคยศึกษาเรื่องผลกระทบจากวัคซีนในเรื่องของโรคมะเร็งจริงหรือไม่ชมคลิป ที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย เปิดหลักฐานเอกสารของไฟเซอร์ ยังไม่เคยศึกษาเรื่องผลกระทบจากวัคซีนในเรื่องของโรคมะเร็งจริงหรือไม่
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “วัคซีน mRNA ทำให้โบท็อกซ์เสื่อมจริงหรือไม่ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “วัคซีน mRNA ทำให้โบท็อกซ์เสื่อมจริงหรือไม่
- ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมีเดีย “แท่งย้วยสีขาวในหลอดเลือด(White Clot)ที่เกิดขึ้นจากวัคซีน จะเกิดขึ้น ”ก่อน“ตายเท่านั้น”ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมีเดีย “แท่งย้วยสีขาวในหลอดเลือด(White Clot)ที่เกิดขึ้นจากวัคซีน จะเกิดขึ้น ”ก่อน“ตายเท่านั้น”
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ช็อคคำสารช็อคของวัคซีนไฟเซอร์ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ช็อคคำสารช็อคของวัคซีนไฟเซอร์
- ชมคลิปแรพเปอร์ สารพัดโรคตามมาหลังฉีดวัคซีน จิ้มแขนแถมกี่โรคชมคลิปแรพเปอร์ สารพัดโรคตามมาหลังฉีดวัคซีน จิ้มแขนแถมกี่โรค
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนเสียชีวิต 50 ราย ฟ้องร้องชนะคดีบริษัทแอสตร้าเซเนก้าได้ค่าชดเชยคนละ 92 ล้านบาทชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนเสียชีวิต 50 ราย ฟ้องร้องชนะคดีบริษัทแอสตร้าเซเนก้าได้ค่าชดเชยคนละ 92 ล้านบาท
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ฉีดวัคซีนไปแล้วหลายเข็ม ต้องตั้งสติ”ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ฉีดวัคซีนไปแล้วหลายเข็ม ต้องตั้งสติ”
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ หลังฉีดวัคซีนเกิดลิ่มเลือดอุดตันแก้อย่างไร”ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ หลังฉีดวัคซีนเกิดลิ่มเลือดอุดตันแก้อย่างไร”
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ หมอธีระวัฒน์ระบุ รัฐไทยตัองคำนึงถึงผลกระทบจากวัคซีนยาวนานกว่าที่โฆษณาให้ฉีดวัคซีนชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “ หมอธีระวัฒน์ระบุ รัฐไทยตัองคำนึงถึงผลกระทบจากวัคซีนยาวนานกว่าที่โฆษณาให้ฉีดวัคซีน
- ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมีเดีย หมอธีระวัฒน์เผย “ ถอดบทเรียนการฟ้องร้องค่าเสียหายจากวัคซีน”ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมีเดีย หมอธีระวัฒน์เผย “ ถอดบทเรียนการฟ้องร้องค่าเสียหายจากวัคซีน”
- ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมึเดีย หมอธีระวัฒน์เผย หมอเองก็โดนวัคซีนไป 4 เข็ม แต่ก็ยังไหวอยู่ชมคลิปที่ถูกลบจากโซเชียลมึเดีย หมอธีระวัฒน์เผย หมอเองก็โดนวัคซีนไป 4 เข็ม แต่ก็ยังไหวอยู่
- ชมคลิป อ.ปานเทพเผย หมอธีระวัฒน์ลาออกจากจุฬาทำไม (แต่ตอนนี้มาอยู่ที่ ม.รังสิตแล้ว)ชมคลิป อ.ปานเทพเผย หมอธีระวัฒน์ลาออกจากจุฬาทำไม (แต่ตอนนี้มาอยู่ที่ ม.รังสิตแล้ว)
- ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “จะแก้ไขปัญหาของวัคซีนได้ต้องเริ่มจากการยอมรับความจริง”ชมคลิปที่ถูกลบออกจากโซเชียลมีเดีย “จะแก้ไขปัญหาของวัคซีนได้ต้องเริ่มจากการยอมรับความจริง”
- เปิดคลิปที่ถูกถอดออกจากโซเชียลมีเดีย เปิดอันตรายหลังฉีดวัคซีน ภาค 2เปิดคลิปที่ถูกถอดออกจากโซเชียลมีเดีย เปิดอันตรายหลังฉีดวัคซีน ภาค 2
เรื่องราวเพิ่มเติม