20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

[ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

[ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

[ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

#Thaitimes
20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
Like
Yay
9
0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2286 มุมมอง 0 รีวิว