• 'กาสิโน' ถูกกฎหมาย ครม.อนุมัติหลักการ 'กฤษฎีกา' ไม่ค้านแต่ต้องให้ชัด
    .
    ในที่สุดโครงการก่อสร้างสถานบันเทิงครบวงจร ได้มีความคืบหน้าครั้งสำคัญ ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ ตามขั้นตอนได้มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบและปรับถ้อยคำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย และคำแถลงนโยบายของรัฐสภา และเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
    .
    นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า โครงการเอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์หากเกิดขึ้นได้เร็วก็จะดี เพราะอย่างสิงคโปร์ มีการทำโครงการนี้ และมีกาสิโนเพียง 10% ก็ทำให้การท่องเที่ยวดีขึ้นมาก และระดับเศรษฐกิจ จีดีพีก็เติบโตขึ้นได้อย่างมาก หวังว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เช่นกัน ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าประเทศไทย จะมีธุรกิจสีเทา นอกกฎหมายมากขึ้นหรือไม่นั้น คิดว่าหากสามารถทำทุกเรื่องให้โปร่งใส ก็จะเป็นเรื่องบวกกับประเทศ และมีภาษีที่ได้มากขึ้นก็ถือเป็นรายได้ที่เข้ามาเพิ่มขึ้นของประเทศ
    .
    นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ไม่มีใครที่ไม่เห็นด้วยในเชิงของหลักการ เกือบจะ 90% ที่เห็นด้วยทั้งหมด แต่ทุกคนมีข้อสังเกตที่ตรงกับลักษณะงานที่ตัวเองดูแลอยู่ อย่างเรื่องกาสิโน ที่กลัวคนไทย และเด็กอายุไม่ถึง 20 ปี เข้าไปเล่น ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงต้องรับไว้ ว่าจะต้องกำกับอย่างไร ซึ่งรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนเพราะสิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ อยากให้ต่างประเทศเข้ามาใช้เงินมากกว่า ส่วนสาเหตุที่ไม่ไปแก้ไขกฎหมายการพนันโดยตรง ยืนยันได้ว่าไม่ได้เอาการท่องเที่ยวมาบังหน้า แต่หลายๆ อย่างเป็นเรื่องของการเอนเทอร์เทนเมนต์ และรายได้ที่มาจากกาสิโนเป็นส่วนน้อย
    .
    นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอย่างมั่นใจว่า เบื้องต้นคาดว่ามีรายได้จากการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.2-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในส่วนอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้องกันปัญหาอาชญากรรม และการแก้ปัญหาพนันออนไลน์ที่มีอยู่ในสังคมไทยอีกด้วย
    .
    สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คือ การกำหนดให้มีสถานบันเทิงครบวงจรตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ตามที่กำหนด โดยจะต้องประกอบธุรกิจไปด้วยสถาบันเทิงอย่างน้อย 4 ประเภท ร่วมกับกาสิโน และผู้ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในไทยที่มีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผู้ได้รับสิทธิ์ได้รับสิทธิ์การทำสัญญาเช่าระยะเวลาไม่เกิน 50 ปี และกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต และมีการประเมินการทำงานทุก 5 ปี และได้กำหนดอัตราค่าใบอนุญาต โดยเริ่มต้นในการขอรับใบอนุญาต ครั้งละ 100,000 บาท ใบอนุญาตครั้งแรกฉบับละ 5,000 ล้านบาท และรายปีปีละ 1,000 ล้านบาท การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละ 5,000 ล้านบาท และรายปีปีละ 1,000 ล้านบาท ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100,000 บาท ค่าเข้าสถานประกอบการกาสิโนของผู้มีสัญชาติไทยครั้งละ 5,000 บาท
    .
    ขณะที่ นายปกรณ์​ นิลประพันธ์​ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า กฤษฎีกาไม่ได้ไม่เห็นด้วย แต่หลักในการทำกฎหมายของรัฐบาล จะต้องยึดนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งจะต้องไปดูคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยจะไปดู Man​-​Made​ Destination หรือแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น จะมีตั้งแต่สวนสนุกอื่น ๆ และเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ เข้าไปอยู่ในนั้น แต่กฎหมายที่กระทรวงการคลังร่างขึ้นใช้ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก ซึ่งพูดถึงเฉพาะเรื่องของเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ และการแก้ไขปัญหาการพนัน ซึ่งแคบกว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องการ
    .
    นายปกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงมีความเห็นว่า นโยบายของรัฐบาลกว้างกว่า ถ้าจะเป็น​ Man​-Made​ Destination ควรจะเขียนให้กว้างขึ้น เพื่อความครอบคลุม รวมถึงมีข้อสังเกตเรื่องเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ ที่ในรายงานศึกษาของสภาผู้แทนฯ​ ที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการพนัน แต่กฤษฎีกามองว่าการสร้างเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ไม่ได้แก้ไขปัญหาการพนันโดยตรง ถ้าอยากแก้ไขปัญหาการพนันโดยตรง ต้องไปแก้ไขที่อื่น เช่น นิสัยของคน พฤติกรรมของคนที่ชอบเล่นการพนัน ซึ่งก็มีกฎหมายการพนันอยู่แล้ว จึงต้องเอาให้ชัดว่าร่างกฎหมายนี้ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์อะไร ค่อยเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา ว่าจะเน้น Man​-​Made​ Destination หรือจะเน้นเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ ไม่อย่างนั้นก็ร่างไม่ถูก เพราะกระบวนการกลไกต่างกัน
    .
    "ถ้าเป็นเน้น Man​-​Made​ Destination จะเป็นเหมือนรีสอร์ตขนาดใหญ่ มีทั้งสนามกอล์ฟ สถานบันเทิง เหมือนที่เจอในต่างประเทศ มีที่พักสำหรับครอบครัว และมีกิจกรรมของแต่ละคน มีสวนสนุกและสวนน้ำสำหรับเด็ก สุภาพสตรี มีศูนย์การค้า ขณะที่ผู้ชายจะมีกีฬา ในส่วนของการพนันมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าต้องการเช่นนี้จริง ๆ ต้องขยายขอบของกฎหมายให้ครอบคลุม จึงเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีขอให้เอาให้ชัดก่อน พร้อมยืนยันว่าไม่ได้กระโดดขวางเหมือนที่สื่อบางสำนักพาดหัวไว้ จะย้ายผมหรือครับ" เลขาฯกฤษฎีกา ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    'กาสิโน' ถูกกฎหมาย ครม.อนุมัติหลักการ 'กฤษฎีกา' ไม่ค้านแต่ต้องให้ชัด . ในที่สุดโครงการก่อสร้างสถานบันเทิงครบวงจร ได้มีความคืบหน้าครั้งสำคัญ ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ ตามขั้นตอนได้มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบและปรับถ้อยคำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย และคำแถลงนโยบายของรัฐสภา และเตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป . นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า โครงการเอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์หากเกิดขึ้นได้เร็วก็จะดี เพราะอย่างสิงคโปร์ มีการทำโครงการนี้ และมีกาสิโนเพียง 10% ก็ทำให้การท่องเที่ยวดีขึ้นมาก และระดับเศรษฐกิจ จีดีพีก็เติบโตขึ้นได้อย่างมาก หวังว่าโครงการนี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เช่นกัน ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าประเทศไทย จะมีธุรกิจสีเทา นอกกฎหมายมากขึ้นหรือไม่นั้น คิดว่าหากสามารถทำทุกเรื่องให้โปร่งใส ก็จะเป็นเรื่องบวกกับประเทศ และมีภาษีที่ได้มากขึ้นก็ถือเป็นรายได้ที่เข้ามาเพิ่มขึ้นของประเทศ . นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ไม่มีใครที่ไม่เห็นด้วยในเชิงของหลักการ เกือบจะ 90% ที่เห็นด้วยทั้งหมด แต่ทุกคนมีข้อสังเกตที่ตรงกับลักษณะงานที่ตัวเองดูแลอยู่ อย่างเรื่องกาสิโน ที่กลัวคนไทย และเด็กอายุไม่ถึง 20 ปี เข้าไปเล่น ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทรวงต้องรับไว้ ว่าจะต้องกำกับอย่างไร ซึ่งรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนเพราะสิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ อยากให้ต่างประเทศเข้ามาใช้เงินมากกว่า ส่วนสาเหตุที่ไม่ไปแก้ไขกฎหมายการพนันโดยตรง ยืนยันได้ว่าไม่ได้เอาการท่องเที่ยวมาบังหน้า แต่หลายๆ อย่างเป็นเรื่องของการเอนเทอร์เทนเมนต์ และรายได้ที่มาจากกาสิโนเป็นส่วนน้อย . นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวอย่างมั่นใจว่า เบื้องต้นคาดว่ามีรายได้จากการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 1.2-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในส่วนอื่นๆ ได้ รวมทั้งป้องกันปัญหาอาชญากรรม และการแก้ปัญหาพนันออนไลน์ที่มีอยู่ในสังคมไทยอีกด้วย . สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คือ การกำหนดให้มีสถานบันเทิงครบวงจรตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ตามที่กำหนด โดยจะต้องประกอบธุรกิจไปด้วยสถาบันเทิงอย่างน้อย 4 ประเภท ร่วมกับกาสิโน และผู้ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในไทยที่มีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยให้ผู้ได้รับสิทธิ์ได้รับสิทธิ์การทำสัญญาเช่าระยะเวลาไม่เกิน 50 ปี และกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต และมีการประเมินการทำงานทุก 5 ปี และได้กำหนดอัตราค่าใบอนุญาต โดยเริ่มต้นในการขอรับใบอนุญาต ครั้งละ 100,000 บาท ใบอนุญาตครั้งแรกฉบับละ 5,000 ล้านบาท และรายปีปีละ 1,000 ล้านบาท การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละ 5,000 ล้านบาท และรายปีปีละ 1,000 ล้านบาท ใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 100,000 บาท ค่าเข้าสถานประกอบการกาสิโนของผู้มีสัญชาติไทยครั้งละ 5,000 บาท . ขณะที่ นายปกรณ์​ นิลประพันธ์​ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า กฤษฎีกาไม่ได้ไม่เห็นด้วย แต่หลักในการทำกฎหมายของรัฐบาล จะต้องยึดนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก ซึ่งจะต้องไปดูคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยจะไปดู Man​-​Made​ Destination หรือแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น จะมีตั้งแต่สวนสนุกอื่น ๆ และเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ เข้าไปอยู่ในนั้น แต่กฎหมายที่กระทรวงการคลังร่างขึ้นใช้ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก ซึ่งพูดถึงเฉพาะเรื่องของเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ และการแก้ไขปัญหาการพนัน ซึ่งแคบกว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องการ . นายปกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงมีความเห็นว่า นโยบายของรัฐบาลกว้างกว่า ถ้าจะเป็น​ Man​-Made​ Destination ควรจะเขียนให้กว้างขึ้น เพื่อความครอบคลุม รวมถึงมีข้อสังเกตเรื่องเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ ที่ในรายงานศึกษาของสภาผู้แทนฯ​ ที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการพนัน แต่กฤษฎีกามองว่าการสร้างเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ไม่ได้แก้ไขปัญหาการพนันโดยตรง ถ้าอยากแก้ไขปัญหาการพนันโดยตรง ต้องไปแก้ไขที่อื่น เช่น นิสัยของคน พฤติกรรมของคนที่ชอบเล่นการพนัน ซึ่งก็มีกฎหมายการพนันอยู่แล้ว จึงต้องเอาให้ชัดว่าร่างกฎหมายนี้ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์อะไร ค่อยเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา ว่าจะเน้น Man​-​Made​ Destination หรือจะเน้นเอ็นเตอร์เทน​เมนต์​คอมเพล็กซ์​ ไม่อย่างนั้นก็ร่างไม่ถูก เพราะกระบวนการกลไกต่างกัน . "ถ้าเป็นเน้น Man​-​Made​ Destination จะเป็นเหมือนรีสอร์ตขนาดใหญ่ มีทั้งสนามกอล์ฟ สถานบันเทิง เหมือนที่เจอในต่างประเทศ มีที่พักสำหรับครอบครัว และมีกิจกรรมของแต่ละคน มีสวนสนุกและสวนน้ำสำหรับเด็ก สุภาพสตรี มีศูนย์การค้า ขณะที่ผู้ชายจะมีกีฬา ในส่วนของการพนันมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าต้องการเช่นนี้จริง ๆ ต้องขยายขอบของกฎหมายให้ครอบคลุม จึงเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีขอให้เอาให้ชัดก่อน พร้อมยืนยันว่าไม่ได้กระโดดขวางเหมือนที่สื่อบางสำนักพาดหัวไว้ จะย้ายผมหรือครับ" เลขาฯกฤษฎีกา ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1062 มุมมอง 1 รีวิว
  • โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก
    .
    "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง
    .
    ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ
    .
    โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ"
    .
    เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก"
    .
    นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล"
    .
    นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น
    .
    "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส
    .
    "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว
    .
    ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355
    ..............
    Sondhi X
    โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุพวกผู้นำอียู ต่างงงงวยไม่เข้าใจ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก . "ในการสนทนาระหว่างผมกับบรรดาพันธมิตรยุโรปของเรา มีความไม่เข้าใจอย่างยิ่งต่อถ้อยแถลงในปัจจุบันจากสหรัฐฯ ในเรื่องเกี่ยวกับหลักการชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้" โชลซ์กล่าว โดยไม่เอ่ยชื่อ ทรัมป์ อย่างเจาะจง . ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ก่อความกังวลรอบใหม่ในวันอังคาร(7ม.ค.) ด้วยการไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ที่เขาบอกว่าอยากได้ทั้ง 2 เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ . โชลซ์ ซึ่งแถลงกับสื่อมวลชนไม่นาน หลังเสร็จสิ้นการหารือกับบรรดาผู้นำและรัฐบาลชาติยุโรปจำนวนหนึ่้ง รวมไปถึงประธานคณะมนตรียุโรป เน้นย้ำว่า "ชายแดนที่ไม่อาจละเมิดได้ เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ" . เขากล่าวว่ามันเป็นหลักการที่ถูกละเมิดครั้งที่รัสเซียรุกรานยูเครน และมันบังคับใช้กับ "ทุกประเทศ โดยไม่สนว่ามันจะเป็นทางตะวันออกหรือทางตะวันตกของเรา ทุกๆประเทศต้องยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กๆหรือเป็นรัฐที่มีอำนาจอย่างมาก" . นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยังพูดอ้อมๆเกี่ยวกับเสียงเรียกร้องของทรัมป์ ที่กดดันให้รัฐสมาชิกอื่นๆของนาโต เพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเอง เป็น 5% ของจีดีพี โดยระบุว่า "มีกฎระเบียบกำหนดไว้ในนาโต เพื่อความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้ และเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการหารือกันภายในพันธมิตรทั้งมวล" . นอกจากคู่หูของสหรัฐฯในยุโรปแล้ว แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันของอเมริกาเอง ก็ส่งเสียงคัดค้านแนวคิดดังกล่าวของทรัมป์ โดย แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯในวันพุธ(8ม.ค.) ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ทรัมป์ ที่สนใจยึดเกาะกรีนแลนด์ โดยบอกว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย และจะไม่มีทางเกิดขึ้น . "ผมคิดว่าหนึ่งในโจทย์พื้นฐาน ที่ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ครั้งที่เราทำงานใกช้ชิดกับพันธมิตรของเรา ตลอดช่วง 4 ปีหลังสุด ก็คือไม่พูดหรือทำอะไรที่อาจก่อความบาดหมางแก่พวกเขา" บลิงเคนบอกกับผู้สื่อข่วระหว่างแถลงข่าวในกรุงปารีส ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส . "ความคิดที่แสดงออกมาเกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดี บางมันอาจสำคัญกว่า ที่ความคิดนี้จะไม่เกิดขึ้น เพื่อที่เราจะไม่ได้มาเสียเวลาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้" บลิงเคนกล่าว . ความเห็นของโชลซ์และบลิงเคน มีขึ้นไล่เลี่ยกับที่รัฐมนตรีต่างประเทศของเดนมาร์กในวันพุธ(8ม.ค.) บอกว่ากรีนแลนด์อาจได้รับเอกราชหากประชาชนของเกาะต้องการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะกลายมาเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002355 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1034 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟินแลนด์ - หายนะทางการศึกษา

    พวกเราคงได้ยินว่า การศึกษาของฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก นักเรียนฟินแลนด์เป็นนักเรียนที่มีความสุขที่สุดในโลก กันบ่อยๆ แล้ว

    วันนี้ผมเอาข้อเท็จจริง ที่ตรงข้ามกับการยกย่อง สรรเสริญ เยินยอ มาฝาก

    ฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการศึกษาของตนครั้งใหญ่ในยุค 70s โดยเลิกชั้นประถมและมัธยม ปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากที่เคยเรียนวิชาพื้นฐานเป็นระดับจากง่ายไปยาก เป็นเรียนตามหัวข้อ เรียนเป็นโปรเจกต์ หลังจากนั้นมีการ ยกระดับการศึกษาอาชีวะและวิชาชีพให้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการศึกษาเพื่อเตรียมเรียนต่อในมหาวิทยาลัย นำเอาระบบที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง เลิกการให้การบ้าน เลิกการสอบประจำปี จนเหลือแต่การสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า Matriculation ที่เป็นการสอบระดับชาติ

    โรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ก่อนที่เด็กนักเรียนไม่ต้องทำการบ้าน ไม่ต้องสอบ

    หลังจากนั้นก็เสื่อมถอยตกตํ่าลงไปเรื่อยไปจนปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรน่าชื่นชม นอกจากเรียนง่ายๆสบายๆ ซึ่งถูกจริตในหมู่คนที่ต้องการบั่นทอนบ่อนทำลายชาติ หรือโง่เง่า หรือขี้เกียจสันหลังยาวในบ้านเรา ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกีบ ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกที่ไหน ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกครึ่งหรือควบครึ่งลูก

    ภาพด้านซ้ายมือ คือ ผลการสอบ ด้านวิชาการ (PISA) ของนักเรียนมัธยมปลายของประเทศต่างๆ

    คะแนนสอบการอ่านของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2000 มากถึง 56 คะแนน

    ส่วนคะแนนสอบคณิตศาสตร์ของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2003 มากถึง 79 คะแนน

    การศึกษาที่ห่วยลงย่อมส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่เรียนจบ ฟินแลนด์มีปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน ปีนี้จีดีพีติดลบ 1% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งติดลบกว่า 3% เมื่อเทียบกับ 2022 และตั้งแต่ 2008 แทบจะไม่มีการเติบโตของเศรษฐกิจเลย ซึ่งเป็นผลให้ประเทศยากจนลง มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามกราฟในภาพกลาง และคุณภาพชีวิตของคนฟินแลนด์ลดลง

    ในขณะเดียวกัน รัฐบาลฟินแลนด์โดยนักเลือกตั้งที่ผ่านการศึกษาฟินแลนด์เปิดรับผู้อพยพนับหมื่นๆคนต่อปี โดยคิดไม่ได้หรือไม่ได้คิดว่าจะมีผลอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมาเพิ่มเติมด้วย

    ผลลัพธ์คือ คนหนุ่มสาวชาวฟินแลนด์อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จำนวนมากขึ้นๆอพยพออกจากฟินแลนด์ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ตามภาพขวาสุด

    สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการจัดเก็บภาษีในรัฐสวัสดิการแห่งนี้อย่างรุนแรงต่อไป

    ทั้งหมดนี้ เป็นวงจรอุบาทว์ที่เริ่มจากการทำลายการศึกษา ทำลายโรงเรียน ด้วยความหวังดีโง่ๆที่อยากให้เด็กๆได้เรียนสบายๆ

    และหากในอนาคต มีใครเห่าหอนอวยว่าโรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ดีงามแค่ไหน เราสามารถแน่ใจได้ว่า ไอ้หรืออีนั่น ไม่รู้ห่านอะไรเลยแม้แต่น้อย”
    ฟินแลนด์ - หายนะทางการศึกษา พวกเราคงได้ยินว่า การศึกษาของฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก นักเรียนฟินแลนด์เป็นนักเรียนที่มีความสุขที่สุดในโลก กันบ่อยๆ แล้ว วันนี้ผมเอาข้อเท็จจริง ที่ตรงข้ามกับการยกย่อง สรรเสริญ เยินยอ มาฝาก ฟินแลนด์เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการศึกษาของตนครั้งใหญ่ในยุค 70s โดยเลิกชั้นประถมและมัธยม ปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากที่เคยเรียนวิชาพื้นฐานเป็นระดับจากง่ายไปยาก เป็นเรียนตามหัวข้อ เรียนเป็นโปรเจกต์ หลังจากนั้นมีการ ยกระดับการศึกษาอาชีวะและวิชาชีพให้มีความสำคัญเท่าเทียมกับการศึกษาเพื่อเตรียมเรียนต่อในมหาวิทยาลัย นำเอาระบบที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง เลิกการให้การบ้าน เลิกการสอบประจำปี จนเหลือแต่การสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า Matriculation ที่เป็นการสอบระดับชาติ โรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ก่อนที่เด็กนักเรียนไม่ต้องทำการบ้าน ไม่ต้องสอบ หลังจากนั้นก็เสื่อมถอยตกตํ่าลงไปเรื่อยไปจนปัจจุบันไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรน่าชื่นชม นอกจากเรียนง่ายๆสบายๆ ซึ่งถูกจริตในหมู่คนที่ต้องการบั่นทอนบ่อนทำลายชาติ หรือโง่เง่า หรือขี้เกียจสันหลังยาวในบ้านเรา ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกีบ ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกที่ไหน ไม่ว่าจะเลี้ยงลูกครึ่งหรือควบครึ่งลูก ภาพด้านซ้ายมือ คือ ผลการสอบ ด้านวิชาการ (PISA) ของนักเรียนมัธยมปลายของประเทศต่างๆ คะแนนสอบการอ่านของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2000 มากถึง 56 คะแนน ส่วนคะแนนสอบคณิตศาสตร์ของนักเรียนฟินแลนด์ในปี 2022 ลดลงจากปี 2003 มากถึง 79 คะแนน การศึกษาที่ห่วยลงย่อมส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนที่เรียนจบ ฟินแลนด์มีปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน ปีนี้จีดีพีติดลบ 1% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งติดลบกว่า 3% เมื่อเทียบกับ 2022 และตั้งแต่ 2008 แทบจะไม่มีการเติบโตของเศรษฐกิจเลย ซึ่งเป็นผลให้ประเทศยากจนลง มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามกราฟในภาพกลาง และคุณภาพชีวิตของคนฟินแลนด์ลดลง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลฟินแลนด์โดยนักเลือกตั้งที่ผ่านการศึกษาฟินแลนด์เปิดรับผู้อพยพนับหมื่นๆคนต่อปี โดยคิดไม่ได้หรือไม่ได้คิดว่าจะมีผลอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมาเพิ่มเติมด้วย ผลลัพธ์คือ คนหนุ่มสาวชาวฟินแลนด์อายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ จำนวนมากขึ้นๆอพยพออกจากฟินแลนด์ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า ตามภาพขวาสุด สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและการจัดเก็บภาษีในรัฐสวัสดิการแห่งนี้อย่างรุนแรงต่อไป ทั้งหมดนี้ เป็นวงจรอุบาทว์ที่เริ่มจากการทำลายการศึกษา ทำลายโรงเรียน ด้วยความหวังดีโง่ๆที่อยากให้เด็กๆได้เรียนสบายๆ และหากในอนาคต มีใครเห่าหอนอวยว่าโรงเรียนและการศึกษาของฟินแลนด์ดีงามแค่ไหน เราสามารถแน่ใจได้ว่า ไอ้หรืออีนั่น ไม่รู้ห่านอะไรเลยแม้แต่น้อย”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 228 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก
    .
    BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS

    โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด"
    .
    มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    .
    เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก
    .
    การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา
    .
    ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น
    .
    ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    .
    จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียเชื่อว่าบรรดาชาติสมาชิกกลุ่ม BRICS จะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจในสัดส่วนเกินครึ่งของเศรษฐกิจโลก ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจที่อาจท้าทายความเป็นเจ้าโลกของตะวันตก . BRICS กำลังโผล่ขึ้นมาอย่างรวดเร็วในฐานะผู้เล่นสำคัญในเศรษฐกิจโลก ด้วยจีดีพีรวมกันของทางกลุ่มคาดหมายว่าจะมีสัดส่วนเกินครึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก ภายใน 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ของอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อสัปดาห์แล้ว พร้อมเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เติบโตขึ้นเรื่อยของ BRICS โนวัค กล่าวว่า "BRICS มีศักยภาพในระดับสูงในจีพีดีโลก คิดเป็นสัดส่วนราว 35% และกำลังเติบโตขึ้นทุกๆ ปี องค์กรแห่งนี้รวมไปถึงบรรดาประเทศขนาดใหญ่ อย่างบราซิลและจีน เราคาดหมายว่าในปี 10-15 ปีข้างหน้า จีดีพีรวมกันของ BRICS จะมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด" . มุมมองในแง่บวกดังกล่าวสะท้อนถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจที่เพิ่มข้นเรื่อยๆ ของบรรดาสมาชิกกลุ่ม BRICS ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจรวมกันแซงหน้ากลุ่ม G7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว . เบื้องต้น BRICS ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก่อนขยายขอบเขตสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2024 อ้าแขนต้อนรับอียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนอิทธิพลที่เติบโตขึ้นของ BRICS ในฐานะตัวถ่วงดุลสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตก . การขยายวงกลุ่มยังช่วยเสริมอิทธิพลด้านพลังงานโลกของ BRICS เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาจรวมถึงซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ และช่วยยกระดับการมีส่วนร่วมในด้านภูมิรัฐศาสตร์ของทางกลุ่ม ในนั้นรวมถึงประเทศต่างๆ จากตะวันออกกลางและแอฟริกา . ทั้งนี้ เหล่าสมาชิกใหม่จะนำมาซึ่งความหลากหลายและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดย อิหร่าน ช่วยเสริมยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงทางการค้าและทางพลังงาน ส่วนอียิปต์และเอธิโอเปีย ช่วยสนับสนุนการเป็นตัวแทนของแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งสัญญาณว่า BRICS มีเจตนาปรับโฉมธรรมาภิบาลโลก ด้วยการขยายสุ้มเสียงจากซีกโลกใต้ให้ดังยิ่งขึ้น . ณ เวทีประชุมบิสซิเนส ฟอรัม BRICS เมื่อเดือนธันวาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อ้างว่า BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจในจีดีพีโลก แซงหน้าจี 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เขาเน้นย้ำว่าบทบาทสำคัญของ BRICS คือปรับโฉมเศรษฐกิจโลก ให้จำกัดความเหล่าสมาชิกว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ . จากข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะในปี 2024 เศรษฐกิจของ BRICS คิดเป็นสัดส่วนราว 37.3% ของจีพีดีโลก บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) แซงหน้าจี7 ที่อยู่ที่ 30% สะท้อนถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ . อ้างอิงข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จีน เพียงชาติเดียวมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 19.05% ของจีดีพีโลก ส่วน อินเดีย มีสัดส่วนคิดเป็น 8.23% ขณะที่อีกฟากหนึ่ง สหรัฐฯ มีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน 14.5% ของเศรษฐกิจโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม จี7 ยังคงนำหน้าในด้านจีพีดีปกติ โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 44% ด้าน BRICS มีสัดส่วนเศรษฐกิจคิดเป็น 28% ตามข้อมูลของไอเอ็มเอฟ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000047 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1191 มุมมอง 0 รีวิว
  • พิชัยลั่นไม่มีรัฐประหาร เร่งการค้าต่างประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย
    .
    เมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ที่ว่าด้วยการออก “stable coin” หรือจะเรียกว่า พันธบัตรดิจิทัล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินให้เพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีในรัฐบาลหลายคนออกมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ
    .
    โดยนอกเหนือไปจากเรื่องการปั้นสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ภาคการค้าและการส่งออกก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของรัฐบาลที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจเช่นกัน โดยนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความคิดเห็นระหว่างเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเมืองและเศรษฐกิจไทยในศตวรรษที่ 21 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว (Komaba Research Campus) ประเทศญี่ปุ่นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโตแค่ 1.9% ซึ่งต่ำมาก ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนจากต่างประเทศที่หายไป
    .
    นายพิชัย กล่าวอีกว่า ปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ไตรมาสที่แล้วจีดีพีขยายตัว 3% และไตรมาสนี้น่าจะขยายตัวได้ 4% แต่จีดีพีไทยต้องโตอย่างน้อย 5% ขึ้นไป ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี ถึงจะหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง และการส่งออกไทยเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บวกถึง 14.6% คาดว่าการส่งออกทั้งปีของปีนี้จะเติบโตได้ถึง 5% และการลงทุนในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปี สิ้นปีนี้น่าจะแตะ 1 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลไทย มีนโยบายส่งเสริมในอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ไทยได้รับความสนใจมากอย่าง PCB Data Center และ AI ซึ่งทางญี่ปุ่นกำลังจะมีการลงทุนเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยจะทุ่มงบประมาณมากกว่า 10 ล้านล้านเยน (2.2 ล้านล้านบาท) และทางไทยหวังว่าจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของญี่ปุ่นด้วย
    .
    “ส่วนเรื่องการเมืองของไทย กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหาร รัฐบาลของนายกฯทักษิณ ก่อนหน้าการรัฐประหาร เศรษฐกิจไทยโต 5-8% หลังรัฐประหารขยายตัวเพียง 3% และตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เมื่อการเมืองกลับมามั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลก็มั่นคง เศรษฐกิจไทยก็กลับมามั่นคง คนไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เห็นภาพนี้ชัดเจนเชื่อว่าจะเรียนรู้และไม่ยอมให้มีการรัฐประหารอีก แนวทางการบริหารงานและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ก็เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น ตอนนี้มีเพียงการแก้ปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน ถ้าแก้ได้เศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นได้รวดเร็ว” นายพิชัย กล่าว
    ..............
    Sondhi X
    พิชัยลั่นไม่มีรัฐประหาร เร่งการค้าต่างประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย . เมื่อเร็วๆนี้ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ที่ว่าด้วยการออก “stable coin” หรือจะเรียกว่า พันธบัตรดิจิทัล เพื่อเพิ่มปริมาณเงินให้เพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีในรัฐบาลหลายคนออกมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ . โดยนอกเหนือไปจากเรื่องการปั้นสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาแล้ว ภาคการค้าและการส่งออกก็เป็นอีกหนึ่งความหวังของรัฐบาลที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจเช่นกัน โดยนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความคิดเห็นระหว่างเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การเมืองและเศรษฐกิจไทยในศตวรรษที่ 21 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว (Komaba Research Campus) ประเทศญี่ปุ่นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยโตแค่ 1.9% ซึ่งต่ำมาก ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนจากต่างประเทศที่หายไป . นายพิชัย กล่าวอีกว่า ปีนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ไตรมาสที่แล้วจีดีพีขยายตัว 3% และไตรมาสนี้น่าจะขยายตัวได้ 4% แต่จีดีพีไทยต้องโตอย่างน้อย 5% ขึ้นไป ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี ถึงจะหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง และการส่งออกไทยเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา บวกถึง 14.6% คาดว่าการส่งออกทั้งปีของปีนี้จะเติบโตได้ถึง 5% และการลงทุนในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปี สิ้นปีนี้น่าจะแตะ 1 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลไทย มีนโยบายส่งเสริมในอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ไทยได้รับความสนใจมากอย่าง PCB Data Center และ AI ซึ่งทางญี่ปุ่นกำลังจะมีการลงทุนเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยจะทุ่มงบประมาณมากกว่า 10 ล้านล้านเยน (2.2 ล้านล้านบาท) และทางไทยหวังว่าจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของญี่ปุ่นด้วย . “ส่วนเรื่องการเมืองของไทย กว่า 10 ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหามาโดยตลอดตั้งแต่การรัฐประหาร รัฐบาลของนายกฯทักษิณ ก่อนหน้าการรัฐประหาร เศรษฐกิจไทยโต 5-8% หลังรัฐประหารขยายตัวเพียง 3% และตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 1.9% เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เมื่อการเมืองกลับมามั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลก็มั่นคง เศรษฐกิจไทยก็กลับมามั่นคง คนไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เห็นภาพนี้ชัดเจนเชื่อว่าจะเรียนรู้และไม่ยอมให้มีการรัฐประหารอีก แนวทางการบริหารงานและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ก็เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น ตอนนี้มีเพียงการแก้ปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน ถ้าแก้ได้เศรษฐกิจไทยก็จะฟื้นได้รวดเร็ว” นายพิชัย กล่าว .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    Sad
    7
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 731 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจือง หมี ลาน ประธานบริษัท Van Thinh  เศรษฐีนี นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วัย 68 ปีของเวียดนาม ถูกศาลปฏิเสธคำอุทธรณ์ในคดีอยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงธนาคารครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ  และยังคงยืนโทษประหารชีวิต ดังนั้นในเวลานี้ ทางรอดเพียงทางเดียวของเธอคือการหาเงินมาจ่ายคืนรัฐ เพราะตามกฎหมายเวียดนาม เธอยังคงมีโอกาสลดโทษประหารชีวิตลงได้ หากสามารถชดใช้เงินจำนวน 75% ของที่เธอฉ้อโกงไป ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยศาลจะลดโทษให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิตแทนเว็บไซต์ของรัฐบาลระบุว่า ลานถูกกล่าวหาว่าจัดทำเอกสารขอสินเชื่อปลอมเพื่อถอนเงินจากธนาคาร Saigon Commercial Bank ที่เธอถือหุ้นมากกว่า 90% ของธนาคาร “ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2561 ถึงวันที่ 7 ต.ค. 2565 เจือง หมี ลาน ได้ออกคำสั่งให้ทำใบสมัครขอสินเชื่อปลอม 916 รายการ ที่จัดสรรเงินไปมากกว่า 204 ล้านล้านด่ง (12,500 ล้านดอลลาร์) จากธนาคาร Saigon Commercial Bank” รายงานระบุนอกจากเจือง หมี ลาน แล้ว ยังมีผู้ต้องหาอีก 85 ราย รวมถึงอดีตเจ้าหน้าธนาคารแห่งชาติเวียดนาม ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนมูลค่า 5.2 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถูกพิจารณาคดีที่ศาลในนครโฮจิมินห์ด้วยเช่นกันทั้งนี้ มูลค่าของทรัพย์สินที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกไปนั้นเทียบเท่าประมาณ 3% ของจีดีพีของเวียดนามในปี 2565 ซึ่งทำให้คดีนี้เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางการเงินที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศบริษัท Van Thinh Phat ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และอพาร์ทเม้นต์หรู และยังลงทุนในบริการทางการเงินอีกด้วยเวียดนามดำเนินการปราบปรามเจ้าหน้าที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และสมาชิกของกลุ่มธุรกิจชั้นนำของประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการกวาดล้างดังกล่าวถูกผลักดันโดยเหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ในเดือนก่อนยังเรียกร้องให้ดำเนินการกวาดล้างให้รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2564 มีผู้ถูกฟ้องมากกว่า 3,500 คน ในคดีรับสินบนมากกว่า 1,300 คดี 
    เจือง หมี ลาน ประธานบริษัท Van Thinh  เศรษฐีนี นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์วัย 68 ปีของเวียดนาม ถูกศาลปฏิเสธคำอุทธรณ์ในคดีอยู่เบื้องหลังการฉ้อโกงธนาคารครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ  และยังคงยืนโทษประหารชีวิต ดังนั้นในเวลานี้ ทางรอดเพียงทางเดียวของเธอคือการหาเงินมาจ่ายคืนรัฐ เพราะตามกฎหมายเวียดนาม เธอยังคงมีโอกาสลดโทษประหารชีวิตลงได้ หากสามารถชดใช้เงินจำนวน 75% ของที่เธอฉ้อโกงไป ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยศาลจะลดโทษให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิตแทนเว็บไซต์ของรัฐบาลระบุว่า ลานถูกกล่าวหาว่าจัดทำเอกสารขอสินเชื่อปลอมเพื่อถอนเงินจากธนาคาร Saigon Commercial Bank ที่เธอถือหุ้นมากกว่า 90% ของธนาคาร “ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2561 ถึงวันที่ 7 ต.ค. 2565 เจือง หมี ลาน ได้ออกคำสั่งให้ทำใบสมัครขอสินเชื่อปลอม 916 รายการ ที่จัดสรรเงินไปมากกว่า 204 ล้านล้านด่ง (12,500 ล้านดอลลาร์) จากธนาคาร Saigon Commercial Bank” รายงานระบุนอกจากเจือง หมี ลาน แล้ว ยังมีผู้ต้องหาอีก 85 ราย รวมถึงอดีตเจ้าหน้าธนาคารแห่งชาติเวียดนาม ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนมูลค่า 5.2 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะถูกพิจารณาคดีที่ศาลในนครโฮจิมินห์ด้วยเช่นกันทั้งนี้ มูลค่าของทรัพย์สินที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกไปนั้นเทียบเท่าประมาณ 3% ของจีดีพีของเวียดนามในปี 2565 ซึ่งทำให้คดีนี้เป็นหนึ่งในอาชญากรรมทางการเงินที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศบริษัท Van Thinh Phat ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และอพาร์ทเม้นต์หรู และยังลงทุนในบริการทางการเงินอีกด้วยเวียดนามดำเนินการปราบปรามเจ้าหน้าที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และสมาชิกของกลุ่มธุรกิจชั้นนำของประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการกวาดล้างดังกล่าวถูกผลักดันโดยเหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ในเดือนก่อนยังเรียกร้องให้ดำเนินการกวาดล้างให้รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2564 มีผู้ถูกฟ้องมากกว่า 3,500 คน ในคดีรับสินบนมากกว่า 1,300 คดี 
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 353 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล
    ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ
    อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย

    นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก
    เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน
    คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
    ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม
    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท
    และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา

    SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก
    จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย
    ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
    ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก
    ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

    ปัจจัยภายในประเทศ :

    1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก :
    ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ
    ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
    เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด
    ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต
    กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD)
    ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี
    เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD
    ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ
    และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์
    และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย
    จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า
    การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก
    ไทยทั้งหมดในปี 2566

    2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า :
    ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก
    ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า
    ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย
    ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ
    ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้
    อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก
    ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง
    จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์
    สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก)

    ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก
    ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23%
    ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
    ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38%
    เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า
    ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
    มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้
    ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง
    และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า
    แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น
    ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน

    3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง :
    การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ
    ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น
    ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน
    ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย
    สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง
    และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้

    จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก
    ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์
    สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
    ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้?

    SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน
    จากต่างชาติที่ลดลง :

    1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ
    22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม
    เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ
    ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า
    และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ
    เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า
    เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

    2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง :
    FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย
    เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก
    รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง
    ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ
    อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3,
    และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank)

    สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก

    (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย
    ยังมีมากที่สุดในอาเซียน

    (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
    กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง
    เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป
    และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น

    (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง

    (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง
    นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน
    วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง
    และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ

    (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน
    ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
    และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า

    ปัจจัยภายนอก :

    การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ

    ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ
    ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
    กับสินค้าจีน

    2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี
    สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม

    3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว
    ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ
    ต่อการค้าโลก

    4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง
    สำคัญทั่วโลก

    (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย
    และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์


    ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย
    อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน
    ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้
    ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ
    ที่เปราะบาง

    อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว
    หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน
    โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน
    ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น
    และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว
    เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
    ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย
    แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย
    ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง
    การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ

    การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า
    ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์
    ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง
    แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า
    ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า
    ไปคันแล้วคันเล่า

    ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยแพร่ข้อมูล ภาพรวมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน อยู่ในสภาวะ อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรเลย นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 การส่งออก เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60-65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) การส่งออกมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างรายได้จากต่างประเทศ การจ้างงาน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยได้สูญเสียบทบาท และความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นที่เคยเป็นมา SCB EIC มองว่า เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังอ่อนแรงลงมาก จากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งมีส่วนทำให้การส่งออกไทย ไม่สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ได้เหมือนในอดีต และไม่สามารถปรับตัวตามกระแสโลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ปัจจัยภายในประเทศ : 1) สินค้าส่งออกไทยไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของโลก : ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป เช่น สมาร์ตโฟน แผงวงจรไฟฟ้า หรือสินค้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาด ขณะที่สินค้าหมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้เครื่องกลที่ไทยผลิต กลับเป็นสินค้าที่โลกต้องการซื้อน้อยลงเช่น Hard Disk Drives (HDD) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย แต่เมื่อเทคโนโลยี เปลี่ยนไปสู่ Solid State Drives (SSD) ความต้องการ HDD ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับสินค้าหมวดยานพาหนะ ส่วนประกอบ และอุปกรณ์เสริม ที่ไทยเคยส่งออกดีมาก จากการส่งออกยานยนต์ และเครื่องยนต์สันดาป แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย จากการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้ซื้อ ซึ่งรวมมูลค่า การส่งออก 2 หมวดใหญ่นี้คิดเป็น 27% ของมูลค่าการส่งออก ไทยทั้งหมดในปี 2566 2) โครงสร้างการผลิตเพื่อส่งออกไทยเปลี่ยนแปลงช้า : ภาคการผลิตของไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก ส่งผลให้โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ขณะที่โครงสร้างการผลิตของประเทศคู่แข่งหลายราย ที่เคยผลิตสินค้าล้าสมัยกว่าไทยในอดีต กลับสามารถ ปรับตามกระแสความต้องการในตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้ อย่างรวดเร็วจากการหาห่วงโซ่อุปทานใหม่ สะท้อนจาก ส่วนแบ่งยอดขายสินค้าไทยในตลาดโลก ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง จาก 10 ปีก่อนมากนัก เช่น รถยนต์ EV แผงวงจรไฟฟ้า/เซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ตโฟน แผงโซลาร์เซลล์ (เป็นกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนสูงขึ้นในตลาดโลก) ทั้งนี้ถึงแม้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยจะมีสัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออก ทั้งหมดสูงขึ้น แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17% ในปี 2556-2560 เป็น 23% ในปี 2561-2565 ซึ่งแตกต่างจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก จาก 16% เป็น 32%, 38% เป็น 44% และ 40% เป็น 48% ตามลำดับ โดยสาเหตุเป็นเพราะว่า ประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่า และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงกว่าได้ ในขณะที่ไทยส่วนใหญ่แล้วยังคงผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง และมีความซับซ้อนน้อยกว่า สะท้อนขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น ในปัจจุบันได้มากเท่าประเทศเพื่อนบ้าน 3) ความสามารถในการกระจายตลาดใหม่ไม่ค่อยสูง : การส่งออกของไทยกว่า 75% ยังคงกระจุกตัวในบางตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน เช่นในอดีต ซึ่งหากเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้น ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ก็อาจสร้างความเสี่ยงสูงต่อไทยตามมา เช่น เศรษฐกิจจีน ชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมา จะกระทบการส่งออกไทยไปตลาดจีนตามไปด้วย สะท้อนความจำเป็นในการขยายตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มยอดส่งออกของไทยได้ จากการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาหลักของการส่งออกไทยมาจาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของภาคการผลิตในประเทศที่ไม่ค่อยตอบโจทย์ สินค้าใหม่ ๆ คำถามสำคัญคือ อะไรเป็นสาเหตุทำให้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ภาคการผลิตของไทยมาถึงจุดนี้? SCB EIC มองว่าสาเหตุหลักมาจากทักษะแรงงานไทยและการลงทุน จากต่างชาติที่ลดลง : 1) แรงงานสูงวัยและทักษะต่ำ : ประเทศไทยกำลังเผชิญสังคมผู้สูงอายุ 22.7% จากประชากรทั้งหมดในปี 2566 (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาแรงงานขาดทักษะ ที่จำเป็น โดยเฉพาะทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตสินค้า และการแข่งขันในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหานี้ทำให้การผลิตสินค้าเทคโนโลยีของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับ เทคโนโลยีขั้นกลาง และการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า เนื่องจากเพิ่มศักยภาพแรงงานไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2) สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง : FDI เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการส่งออก รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยลดลงมาก จากที่เคยเป็นหนึ่ง ในจุดหมายปลายทางหลักในอาเซียน ไทยกลับตกอันดับมาเรื่อย ๆ อยู่อันดับ 7 ในปี 2566 แย่กว่าในปี 2543 2553 และ 2562 ที่อันดับ 3, 3, และ 6 ตามลำดับ เสียอีก (ข้อมูลจาก World Bank) สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก (1) ทักษะแรงงานไทยไม่สูงและสัดส่วนแรงงานสูงวัย ยังมีมากที่สุดในอาเซียน (2) ไทยขาดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศสำคัญ ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ได้เปรียบจากการมีข้อตกลง FTA กับสหภาพยุโรป และการเข้าร่วม CPTPP ทำให้เข้าถึงตลาดสำคัญในโลกได้ง่ายขึ้น (3) การเมืองไทยมีความไม่แน่นอนสูง (4) นโยบายเศรษฐกิจระยะยาวขาดความชัดเจนและความต่อเนื่อง นักลงทุนไทยและต่างประเทศขาดความมั่นใจที่จะลงทุน วิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นการลงทุนสูง และใช้เวลากว่าจะเห็นผล และ (5) กฎระเบียบภาครัฐซับซ้อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้นักลงทุน ต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุนดีกว่า ปัจจัยภายนอก : การส่งออกของไทยยังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกหลายประการ ได้แก่ 1) China over-capacity ที่อาจซ้ำเติมปัญหาความสามารถ ในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขันด้านราคา กับสินค้าจีน 2) ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจสร้างความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี สินค้านำเข้าทุกประเภทจากทุกประเทศเพิ่มเติม 3) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามยืดเยื้อ การแบ่งขั้ว ทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น หรือมาตรการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบ ต่อการค้าโลก 4) การผันผวนของค่าเงินบาท จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง สำคัญทั่วโลก (5) ค่าระวางเรือและค่าขนส่งที่อาจจะกลับมาสูงขึ้น จากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อย และรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ ปัจจัยภายในและนอกประเทศเหล่านี้กดดันให้เครื่องยนต์ส่งออกของไทย อ่อนแอลง และเป็นสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากการบริโภคและการลงทุน ในประเทศก็กำลังอ่อนแรงเช่นกัน โดยการบริโภคถูกจำกัดจากภาระหนี้ ครัวเรือนสูง และการลงทุนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศ ที่เปราะบาง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังไม่ไร้ความหวังเสียทีเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดการ 3 ปัจจัยหลักได้ ได้แก่ แรงงาน การลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และยุทธศาสตร์นโยบายอุปทานที่ชัดเจน ประเทศไทยจะสามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้แข็งแกร่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้บนข้อได้เปรียบที่ไทยมีอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทังนี้ปัจจัยกดดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่าหากโครงสร้างการผลิตของไทย แข็งแกร่ง จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และอาจทำให้ไทย ได้รับประโยชน์จากบางปัจจัย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจนำมาซึ่ง การย้ายฐานการผลิตและการลงทุนใหม่ ๆ การส่งออกไทยในปัจจุบันเปรียบเหมือนรถที่กำลังวิ่งอย่างเชื่องช้า ที่ต้องเลือกว่าจะเริ่มซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์ ให้ทันสมัยจุดไหนบ้าง เพื่อให้รถคันนี้กลับมาวิ่งเร็วได้อีกครั้ง แต่หากไม่เริ่มทำอะไรวันนี้ เครื่องยนต์เก่านี้อาจพังในไม่ช้า ทำให้รถเราค่อยๆ หยุดวิ่ง และปล่อยให้รถคันอื่นแซงหน้า ไปคันแล้วคันเล่า ที่มา : SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การส่งออกไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 885 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล
    เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
    จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก

    🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
    ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล
    รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก
    จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ
    ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ
    และเมืองน่าเที่ยว

    🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ
    จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี
    ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า
    และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน
    ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง
    ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง
    จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง

    🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง
    โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ
    ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย
    ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี)
    โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่

    🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท
    จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้
    มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด
    อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ
    SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน
    จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้
    แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค
    ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ
    ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน
    และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี
    #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCB EIC เผยข้อมูล เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวและส่งออก 🚩โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในไตรมาส 4 จากกลุ่มตลาดประเทศระยะไกล รวมถึงการท่องเที่ยวในประเทศจะได้ปัจจัยบวก จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ที่จะออกมาเพิ่มเติม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และเมืองน่าเที่ยว 🚩การส่งออกไทยจะขยายตัวดีขึ้น โดยมีแรงหนุนสำคัญ จากวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยยังฟื้นตัวได้ช้า และมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน ขณะที่สินค้าคงคลังยังอยู่ในระดับสูง ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง จากสถานการณ์น้ำท่วมและค่าเงินบาทแข็ง 🚩สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรเริ่มคลี่คลายลงบ้าง โดยพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบยังไม่สูงมากหากเทียบกับ ภัยน้ำท่วมในอดีต SCB EIC ประเมินว่า มูลค่าความเสียหาย ในภาคเกษตรอยู่ที่ราว 4,700 ล้านบาท (0.03% ของจีดีพี) โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเสียหาย 0.83 ล้านไร่ 🚩สำหรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาท จะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ SCB EIC ประเมินโครงการนี้ มีผลบวกต่อเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมด อาจไม่ได้ใช้จ่ายลงเศรษฐกิจ สะท้อนจากผลสำรวจ SCB EIC consumer survey ที่พบว่า ผู้ได้รับสิทธิบางส่วน จะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้ แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว สำหรับการบริโภค ภาคเอกชนคาดว่าจะแผ่วลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง 7 เดือนติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจไทย #จีดีพี #thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 658 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย
    ได้กล่าววิสัยทัศน์ในการประชุม BRICS Business Forum
    ที่มอสโค รัสเซียว่า สิ่งที่เราจะต้องยอมรับความจริง
    ในปัจจุบัน กับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก
    รวมทั้งความมั่นคง นั่นคือ ในปัจจุบันนี้
    กลุ่ม BRICS ได้เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ของเศรษฐกิจโลก
    ในปัจจุบัน รวมทั้งในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแท้จริง

    🚩จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี
    ของกลุ่ม BRICSที่คิดเป็น 37.4% ของจีดีพีรวมทั้งโลก
    โดยเฉพาะเมื่อกับกลุ่ม จี7 (G7) ซึ่งมีสัดส่วนจีดีพี อยู่ที่ 29.3%
    และ แนวโน้มของความห่างของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    จะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ

    ที่มา : tass

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #BRICS #thaitimes
    💥💥ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้กล่าววิสัยทัศน์ในการประชุม BRICS Business Forum ที่มอสโค รัสเซียว่า สิ่งที่เราจะต้องยอมรับความจริง ในปัจจุบัน กับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความมั่นคง นั่นคือ ในปัจจุบันนี้ กลุ่ม BRICS ได้เป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ของเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบัน รวมทั้งในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแท้จริง 🚩จากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ของกลุ่ม BRICSที่คิดเป็น 37.4% ของจีดีพีรวมทั้งโลก โดยเฉพาะเมื่อกับกลุ่ม จี7 (G7) ซึ่งมีสัดส่วนจีดีพี อยู่ที่ 29.3% และ แนวโน้มของความห่างของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มา : tass #หุ้นติดดอย #การลงทุน #BRICS #thaitimes
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 418 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนเผย 'จีดีพี' ขยายตัว 4.8% ในช่วง 9 เดือนแรก 2567
    .
    ซินหัว - วันนี้ (18 ต.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2567 เติบโตร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบปีต่อปี
    .
    รายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ราว 94.97 ล้านล้านหยวน (ราว 442 ล้านล้านบาท)
    ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบปีต่อปี ในไตรมาสสาม (กรกฎาคม-กันยายน) ของปี 2567
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า GDP ของจีนในปีที่แล้ว คือ ปี 2566 อยู่ที่ 126.06 ล้านล้านหยวน (ราว 637 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยสูงกว่าเป้าหมายประจำปีที่กำหนดไว้ราวร้อยละ 5
    .
    (แฟ้มภาพซินหัว : สถานีรถไฟใต้ดินในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 22 ก.ย. 2024)
    จีนเผย 'จีดีพี' ขยายตัว 4.8% ในช่วง 9 เดือนแรก 2567 . ซินหัว - วันนี้ (18 ต.ค.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน ช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2567 เติบโตร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบปีต่อปี . รายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ราว 94.97 ล้านล้านหยวน (ราว 442 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบปีต่อปี ในไตรมาสสาม (กรกฎาคม-กันยายน) ของปี 2567 . ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า GDP ของจีนในปีที่แล้ว คือ ปี 2566 อยู่ที่ 126.06 ล้านล้านหยวน (ราว 637 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยสูงกว่าเป้าหมายประจำปีที่กำหนดไว้ราวร้อยละ 5 . (แฟ้มภาพซินหัว : สถานีรถไฟใต้ดินในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน วันที่ 22 ก.ย. 2024)
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 661 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล
    หนี้ครัวเรือนปี 2567 อาจชะลอลงมาที่
    88.5-89.5% ต่อจีดีพี

    🚩โดยหนี้ครัวเรือนไทยชะลอลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565
    (ล่าสุด ไตรมาส 2/2567 เติบโตเพียง 1.3% ปีต่อปี
    นับเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุด ในสถิติข้อมูลหนี้ครัวเรือน
    ที่ย้อนหลังได้ถึงปี 2546

    🚩สะท้อน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ หนี้รถทยอยหดตัว
    สินเชื่อบ้านโตช้า แต่หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคอื่นๆ
    ที่ไม่ใช่บัตรเครดิ ตและสินเชื่อส่วนบุคคลยังเติบโต
    และหนี้จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่แบงก์ และ SFIs
    ทยอยเพิ่มสูงขึ้น

    🚩ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หนี้ครัวเรือนไทย
    อาจเติบโตต่ำกว่า 1.0% ในปี 2567 เนื่องจาก
    เศรษฐกิจในภาพรวมยังมีสัญญาณฟื้นตัวช้า
    ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือน
    และความสามารถในการก่อหนี้ก้อนใหม่

    🚩ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับทบทวน
    ประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปี 2567
    ลงมาที่กรอบ 88.5-89.5%

    🚩อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผลสำรวจหนี้สินครัวเรือน
    ประจำไตรมาส 3/2567 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย
    พบว่า ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มระดับรายได้
    มีความสามารถในการรับมือกับภาระหนี้ที่แตกต่างกัน

    🚩ดังนั้นการลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี
    ในภาพใหญ่ของทั้งประเทศ จึงไม่อาจสะท้อนว่า
    ภาระหนี้สินและปัญหาการชำระหนี้ในระดับครัวเรือน
    จะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามในทันที

    ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #หนี้ครัวเรือนไทย
    #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยแพร่ข้อมูล หนี้ครัวเรือนปี 2567 อาจชะลอลงมาที่ 88.5-89.5% ต่อจีดีพี 🚩โดยหนี้ครัวเรือนไทยชะลอลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 (ล่าสุด ไตรมาส 2/2567 เติบโตเพียง 1.3% ปีต่อปี นับเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุด ในสถิติข้อมูลหนี้ครัวเรือน ที่ย้อนหลังได้ถึงปี 2546 🚩สะท้อน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ หนี้รถทยอยหดตัว สินเชื่อบ้านโตช้า แต่หนี้เพื่ออุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่ไม่ใช่บัตรเครดิ ตและสินเชื่อส่วนบุคคลยังเติบโต และหนี้จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่แบงก์ และ SFIs ทยอยเพิ่มสูงขึ้น 🚩ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หนี้ครัวเรือนไทย อาจเติบโตต่ำกว่า 1.0% ในปี 2567 เนื่องจาก เศรษฐกิจในภาพรวมยังมีสัญญาณฟื้นตัวช้า ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือน และความสามารถในการก่อหนี้ก้อนใหม่ 🚩ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับทบทวน ประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปี 2567 ลงมาที่กรอบ 88.5-89.5% 🚩อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผลสำรวจหนี้สินครัวเรือน ประจำไตรมาส 3/2567 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ครัวเรือนในแต่ละกลุ่มระดับรายได้ มีความสามารถในการรับมือกับภาระหนี้ที่แตกต่างกัน 🚩ดังนั้นการลดลงของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ในภาพใหญ่ของทั้งประเทศ จึงไม่อาจสะท้อนว่า ภาระหนี้สินและปัญหาการชำระหนี้ในระดับครัวเรือน จะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามในทันที ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #หนี้ครัวเรือนไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 495 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ข้อมูลเบื้องต้นเผยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    หรือ จีดีพี (GDP) ของสิงคโปร์ ในไตรมาส 3/2567 เติบโต 4.1%
    เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566

    ที่มา : Reuters

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพี #GDP
    #อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ #สิงคโปร์ #thaitimes
    💥💥ข้อมูลเบื้องต้นเผยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) ของสิงคโปร์ ในไตรมาส 3/2567 เติบโต 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ที่มา : Reuters #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพี #GDP #อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ #สิงคโปร์ #thaitimes
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 512 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥 เศรษฐกิจเวียดนาม หรือ จีดีพี ไตรมาส 3/2567
    ขยายตัว 7.4% สูงสุดในรอบปี
    จากปัจจัยภาคการผลิต และ การภาคส่งออก ที่เติบโตสูงขึ้น
    โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เติบโตกว่า 15.8%

    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจเวียดนาม
    #thaitimes
    💥💥 เศรษฐกิจเวียดนาม หรือ จีดีพี ไตรมาส 3/2567 ขยายตัว 7.4% สูงสุดในรอบปี จากปัจจัยภาคการผลิต และ การภาคส่งออก ที่เติบโตสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เติบโตกว่า 15.8% ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #เศรษฐกิจเวียดนาม #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงาน
    ภาวะเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย
    ประจำเดือน กันยายน 2567 พบว่า

    🚩เศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น
    โดยเฉพาะจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
    และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

    🚩ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังคงคาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2567 ไว้ที่ 2.6%
    โดยคาดการณ์ว่า ครึ่งหลังของปี 2567
    เศรษฐกิจไทย จะเติบโตได้ดีขึ้นจากการส่งออก
    การลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ

    ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงาน ภาวะเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย ประจำเดือน กันยายน 2567 พบว่า 🚩เศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 🚩ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังคงคาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปี 2567 ไว้ที่ 2.6% โดยคาดการณ์ว่า ครึ่งหลังของปี 2567 เศรษฐกิจไทย จะเติบโตได้ดีขึ้นจากการส่งออก การลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Like
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 780 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥 02/10/2567 เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลง
    เพราะความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและอิสราเอล
    ในตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มว่าสงครามจะขยายวงกว้าง

    🚩นักลงทุนต่างพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่นหุ้น
    เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากอิหร่านได้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกล
    ไปที่อิสราเอลเมื่อวันอังคาร เพื่อเป็นการตอบโต้
    ที่อิสราเอลโจมตีกลุ่มพันธมิตรฮิซบอลเลาะห์
    ของเตหะรานในเลบานอน

    โดยดัชนี Nikkei ญี่ปุ่น ลดลง -583 จุด (-1.51%) ในช่วงเช้า

    🚩นอกจากนี้ความกังวลของการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ
    หรือ จีดีพี ในไตรมาส 3/2567 โดยแบบจำลอง GDPNow
    ของธนาคารกลางสหรัฐ ประจำแอตแลนตา
    สำหรับการเติบโตของจีดีพีสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3
    เมื่อวันอังคาร ถูกปรับลดลงเหลือ 2.5% จาก 3.1%
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งการลดลง 6 ใน 10 ของ 1%
    ถือเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการประมาณการ
    การติดตามผลในไตรมาสที่ 3 เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม

    🚩ทั้ง 2 เรื่องสำคัญ คือ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ระหว่าง
    อิหร่านและ อิสลาเอล รวมทั้ง คาดการณ์การเติบโตทาง
    เศรษฐกิจสหรัฐ ในไตรมาส 3/2567 คือสิ่งที่กำหนดทิศทาง
    ของตลาดหุ้นในภาพใหญ่ของวันพุธนี้

    ที่มา : Reuters

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อิหร่านอิสลาเอล #thaitimes
    🔥🔥 02/10/2567 เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลง เพราะความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ในตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มว่าสงครามจะขยายวงกว้าง 🚩นักลงทุนต่างพากันเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เช่นหุ้น เพื่อความปลอดภัย เนื่องจากอิหร่านได้ยิงขีปนาวุธพิสัยไกล ไปที่อิสราเอลเมื่อวันอังคาร เพื่อเป็นการตอบโต้ ที่อิสราเอลโจมตีกลุ่มพันธมิตรฮิซบอลเลาะห์ ของเตหะรานในเลบานอน โดยดัชนี Nikkei ญี่ปุ่น ลดลง -583 จุด (-1.51%) ในช่วงเช้า 🚩นอกจากนี้ความกังวลของการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ หรือ จีดีพี ในไตรมาส 3/2567 โดยแบบจำลอง GDPNow ของธนาคารกลางสหรัฐ ประจำแอตแลนตา สำหรับการเติบโตของจีดีพีสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 เมื่อวันอังคาร ถูกปรับลดลงเหลือ 2.5% จาก 3.1% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งการลดลง 6 ใน 10 ของ 1% ถือเป็นการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการประมาณการ การติดตามผลในไตรมาสที่ 3 เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 🚩ทั้ง 2 เรื่องสำคัญ คือ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ระหว่าง อิหร่านและ อิสลาเอล รวมทั้ง คาดการณ์การเติบโตทาง เศรษฐกิจสหรัฐ ในไตรมาส 3/2567 คือสิ่งที่กำหนดทิศทาง ของตลาดหุ้นในภาพใหญ่ของวันพุธนี้ ที่มา : Reuters #หุ้นติดดอย #การลงทุน #อิหร่านอิสลาเอล #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 604 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘เยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุด’ — โวโลดินกล่าวถึงการก่อวินาศกรรมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม

    “[เยอรมนี] เศรษฐกิจตกต่ำ, จีดีพีลดลง, รูปแบบการผลิตล้มเหลว, การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง, และจำนวนการล้มละลายในประเทศกลายเป็นสถิติสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันประชาชนชาวเยอรมันต้องเสียค่าแก๊สมากกว่าเดิมถึง ๘๔%ฅ” วยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมาแห่งรัฐของรัสเซียกล่าว
    .
    ‘Germany suffered the most’ — Volodin on the Nord Stream sabotage

    “[German] economy fell into recession, GDP declined, the production model broke, industrial production decreased, and the number of bankruptcies in the country became a record over the past decade. Gas costs the citizens of Germany 84% more today than before,” Chairman of the Russian State Duma Vyacheslav Volodin said.
    .
    12:47 PM · Sep 26, 2024 · 3,240 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1839179922348167445
    ‘เยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุด’ — โวโลดินกล่าวถึงการก่อวินาศกรรมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม “[เยอรมนี] เศรษฐกิจตกต่ำ, จีดีพีลดลง, รูปแบบการผลิตล้มเหลว, การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง, และจำนวนการล้มละลายในประเทศกลายเป็นสถิติสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันประชาชนชาวเยอรมันต้องเสียค่าแก๊สมากกว่าเดิมถึง ๘๔%ฅ” วยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมาแห่งรัฐของรัสเซียกล่าว . ‘Germany suffered the most’ — Volodin on the Nord Stream sabotage “[German] economy fell into recession, GDP declined, the production model broke, industrial production decreased, and the number of bankruptcies in the country became a record over the past decade. Gas costs the citizens of Germany 84% more today than before,” Chairman of the Russian State Duma Vyacheslav Volodin said. . 12:47 PM · Sep 26, 2024 · 3,240 Views https://x.com/SputnikInt/status/1839179922348167445
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 290 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ได้ปรับลด
    การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ของอาเซียนในปีนี้ลงเล็กน้อย
    จาก 4.5% เป็น 4.6% อันเนื่องมาจากการคาดกาณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ
    ของ เมียนมา ติมอร์เลสเต และ ไทย ที่มีแนวโน้มลดลง

    สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศเดียวใน 6 ประเทศขนาดใหญ่ในอาเซียน
    ที่ถูกคาดการณ์ว่า จีดีพีมีแนวโน้มจะลดลง อันเนื่องมาจากการใช้จ่าย
    ภาครัฐที่ลดลง และการส่งออกที่ฟื้นตัวต่ำกว่าการคาดการณ์

    โดยตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567
    ปรับลดจาก 2.6% เป็น 2.3%
    และ ปี 2568 ปรับลดจาก 3.0% เป็น 2.7%

    ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    💥💥ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ได้ปรับลด การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ของอาเซียนในปีนี้ลงเล็กน้อย จาก 4.5% เป็น 4.6% อันเนื่องมาจากการคาดกาณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ของ เมียนมา ติมอร์เลสเต และ ไทย ที่มีแนวโน้มลดลง สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศเดียวใน 6 ประเทศขนาดใหญ่ในอาเซียน ที่ถูกคาดการณ์ว่า จีดีพีมีแนวโน้มจะลดลง อันเนื่องมาจากการใช้จ่าย ภาครัฐที่ลดลง และการส่งออกที่ฟื้นตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ โดยตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 ปรับลดจาก 2.6% เป็น 2.3% และ ปี 2568 ปรับลดจาก 3.0% เป็น 2.7% ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1004 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ที่แข็งค่าขึ้นในรอบกว่า 19 เดือน
    ล่าสุดอยู่ที่ 32.61 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
    ได้สร้างความกังวลเป็นอย่างมาก ต่อภาคธุรกิจไทย
    โดยเฉพาะภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และ การส่งออก
    ซึ่งเป็นอีก 2 ฟันเฟืองสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนอัตราการเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย นอกเหนือจาก ภาคการผลิต
    และ การบริโภคภายในประเทศ และ การใช้จ่ายภาครัฐ

    🚩โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น
    ทุก 1% จะมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกประมาณ 100,000 ล้านบาท
    ที่ต้องหายไป จากการลดกำลังการซื้อ หรือ ชะลอการซื้อลง
    คิดเป็น 0.5% ของ Nominal GDP

    🚩ยังไม่รวมกับภาคการท่องเที่ยว ที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
    อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอย
    ภายในประเทศไทย ที่อาจจะมีจำนวนลดลง และไม่ได้ตามเป้าหมาย

    ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    💥💥การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ที่แข็งค่าขึ้นในรอบกว่า 19 เดือน ล่าสุดอยู่ที่ 32.61 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ได้สร้างความกังวลเป็นอย่างมาก ต่อภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และ การส่งออก ซึ่งเป็นอีก 2 ฟันเฟืองสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย นอกเหนือจาก ภาคการผลิต และ การบริโภคภายในประเทศ และ การใช้จ่ายภาครัฐ 🚩โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น ทุก 1% จะมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกประมาณ 100,000 ล้านบาท ที่ต้องหายไป จากการลดกำลังการซื้อ หรือ ชะลอการซื้อลง คิดเป็น 0.5% ของ Nominal GDP 🚩ยังไม่รวมกับภาคการท่องเที่ยว ที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอย ภายในประเทศไทย ที่อาจจะมีจำนวนลดลง และไม่ได้ตามเป้าหมาย ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 860 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์การขยายตัว
    ทางเศรษฐกิจไทย ปี 2567 อยู่ที่ 2.6%
    จากแรงหนุนการฟื้นตัวภาคการส่งออก
    การท่องเที่ยวช่วงไฮต์ซีซั่น และมาตรการ
    การกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจากภาครัฐ

    🚩อย่างไรก็ตามผลกระทบจากน้ำท่วม
    แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
    รวมถึงอุปสงค์ หรือ กำลังซื้อในประเทศ
    ที่อ่อนแอลง ยังคงเป็นความเสี่ยง
    ต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

    🚩ประเด็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ สร้างทั้งโอกาส
    และความเสี่ยง ต่อเศรษฐกิจไทย
    โอกาสคือ ไทยในฐานะประเทศศูนย์กลาง
    อาเซียน และวางตัวเป็นกลาง ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก
    ทำให้สามารถทำการค้าขายได้กับทุกฝ่าย
    แต่ความเสี่ยงคือ ผลกระทบจากมาตรการ
    การกีดกันทางการค้าโลก

    🚩แรงกดดันต่ออุตสาหกรรมไทย จะเพิ่มขึ้น
    ในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการผลิต
    เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะเผชิญสถานการณ์
    การผลิตที่มีแนวโน้มที่จะผลิตออกมาล้นตลาด
    และยากที่จะส่งออกให้ได้ตามเป้า จากมาตรการ
    กีดกันการค้า

    🚩ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์โลก ความไม่สงบทางการเมือง
    ระหว่างประเทศ และทิศทางดอกเบี้ยขาลง
    ทำให้ราคาสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุน
    ในการเข้าซื้อจากนักลงทุน

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
    #จีดีพี #thaitimes

    💥💥ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์การขยายตัว ทางเศรษฐกิจไทย ปี 2567 อยู่ที่ 2.6% จากแรงหนุนการฟื้นตัวภาคการส่งออก การท่องเที่ยวช่วงไฮต์ซีซั่น และมาตรการ การกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจากภาครัฐ 🚩อย่างไรก็ตามผลกระทบจากน้ำท่วม แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงอุปสงค์ หรือ กำลังซื้อในประเทศ ที่อ่อนแอลง ยังคงเป็นความเสี่ยง ต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า 🚩ประเด็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ สร้างทั้งโอกาส และความเสี่ยง ต่อเศรษฐกิจไทย โอกาสคือ ไทยในฐานะประเทศศูนย์กลาง อาเซียน และวางตัวเป็นกลาง ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ทำให้สามารถทำการค้าขายได้กับทุกฝ่าย แต่ความเสี่ยงคือ ผลกระทบจากมาตรการ การกีดกันทางการค้าโลก 🚩แรงกดดันต่ออุตสาหกรรมไทย จะเพิ่มขึ้น ในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะเผชิญสถานการณ์ การผลิตที่มีแนวโน้มที่จะผลิตออกมาล้นตลาด และยากที่จะส่งออกให้ได้ตามเป้า จากมาตรการ กีดกันการค้า 🚩ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์โลก ความไม่สงบทางการเมือง ระหว่างประเทศ และทิศทางดอกเบี้ยขาลง ทำให้ราคาสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุน ในการเข้าซื้อจากนักลงทุน #หุ้นติดดอย #การลงทุน #การขยายตัวทางเศรษฐกิจ #จีดีพี #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1213 มุมมอง 0 รีวิว
  • 20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow

    ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

    รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย

    แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง

    ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง

    แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์

    อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

    ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ

    ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น

    ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’

    [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ]

    ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ

    1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่
    2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่
    3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ

    ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ

    แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง

    ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’

    ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้

    [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ]

    เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น

    ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ

    ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่

    หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่

    ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’

    ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น

    [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ]

    ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

    ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ

    สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด

    แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า

    ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท)

    ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง

    ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf
    ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF

    #Thaitimes
    20 กันยายน 2567 -Highlight จากงาน BOT Symposium 2024 | หนี้: The Economics of Balancing Today and Tomorrow ช่วงหนึ่ง ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติบอกว่า ธปท.ไม่จำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยตาม Fed โดยย้ำว่า นโยบายการเงินในประเทศ ยังอิงอยู่กับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก รายงานจากเพจ Today Biznews เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตอบกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ลดดอกเบี้ย ว่า Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% หรือ 50 เบสิสพอยท์ (bps) สำหรับ Fed ถือว่าไม่น้อย แต่ในแง่ผลกระทบ มองว่า ตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์อ่อนค่า ค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทแข็งค่า สะท้อนไปแล้วระดับหนึ่ง ส่วนช่องทางที่กระทบเศรษฐกิจไทย หลักๆ คือ กระทบตลาดเงินและค่าเงิน ในแง่ผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ก็มีบ้าง แต่โดยรวมผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่ได้มากมายขนาดนั้น เพราะเราเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งระบบแบงก์เป็นส่วนใหญ่ ช่องที่เห็นที่กระทบเยอะคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ อีกอย่างที่ซ้ำเติมคือราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ส่วนหนึ่งก็มาจากดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งค่าเงินไทยมีความสัมพันธ์ (Correlation) กับทองค่อนข้างสูง สูงกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ส่วนผลในแง่เศรษฐกิจหลัง Fed ลดดอกเบี้ย สะท้อนว่า Fed ให้ความสำคัญกับ Soft Landing หรือให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เทียบกับความเป็นห่วงในด้านเงินเฟ้อ ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ อาจจะทำให้ไทยสบายใจขึ้นได้หน่อยว่า โอกาส Soft Landing ในสหรัฐจะสูงขึ้น แต่ตัวเลขต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ‘นี่ (การลดดอกเบี้ยของ Fed) ก็เหมือนการซื้อประกัน Make Sure ว่าโอกาสเกิด Hard Landing ให้มันน้อยๆ’ [ นโยบายอิงกับปัจจัยในประเทศ ] ส่วนผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเรา ผู้ว่าฯ บอกว่า นโยบายการเงินของไทย เน้นเรื่องภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก (ที่แบงก์ชาติบอกอยู่เสมอ) คือ 1. เศรษฐกิจ: การเติบโตว่าจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2. เงินเฟ้อ: เงินเฟ้อของเราจะเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อหรือไม่ 3. เสถียรภาพทางด้านการเงิน: ซึ่งช่วงหลังให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ปัจจัย ไม่ได้เห็นอะไรที่จะทำให้ภาพการประเมินแตกต่างจากที่มองเอาไว้ ทั้งเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มีแต่เสถียรภาพทางด้านการเงิน เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เพิ่มสูงขึ้นเยอะ แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือตอนที่ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบาย ซึ่งจะกระทบภาพรวม และมีนัยต่อประเด็นข้างต้น ทำให้ต้องคำนึงถึง ‘การที่เราย้ำว่า เรา Outlook Dependent เป็นการตัดสินใจ หรือกรอบความคิดที่เหมาะสมแล้ว และถูกต้อง เพราะเราเห็นแล้วว่าที่อื่นที่เน้น Data Dependent มันสร้าง noise ต่อตลาดเยอะ’ ส่วนการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ ตอนนี้ยังประชุมตามเดิม (รอบหน้า 16 ต.ค. 2567) ถ้าต้องมีการประชุมเพิ่มเติมพิเศษก็มีได้ [ ดอกเบี้ยลด หนี้ไม่ลด ] เมื่อถามถึงความคาดหวังให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อลดหนี้ครัวเรือน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ อธิบายว่า สำหรับตัวบน (หนี้) มี 2 ส่วน คือ ผลต่อหนี้เก่า ซึ่งถ้าลดดอกเบี้ย จะทำให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายบนหนี้เก่าลดลง ส่วนหนี้ใหม่ คำถามคือ ถ้าลดดอกเบี้ยแล้วทำให้สินเชื่อโตเร็วขึ้น ตัวหนี้โดยรวมมันก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งการดูตรงนี้ต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ส่วน แต่ยังไงแบงก์ชาติก็ไม่ได้อยากเห็นตัวเลขหนี้ต่อจีดีพีโตพุ่งสูงต่อเนื่อง เพราะในแง่ของเสถียรภาพมันคงไม่เหมาะ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะให้มันลงเร็ว ลงแรง จนเกินไป เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจ ต้องบอกว่า ภาระหนี้เป็นอะไรที่แบงก์ชาติเป็นห่วง เพราะมีสัดส่วนครัวเรือนไม่น้อยที่มีปัญหาหนี้ แต่อยากฝากไว้ว่า การลดดอกเบี้ย ผลที่ส่งต่อภาระหนี้มันก็ไม่ได้เต็มที่ หนี้ของเราสัดส่วนไม่น้อยไม่ได้เป็นหนี้ Floating แต่เป็น Fixed Rate และ Fixed Installment พวกนี้ภาระหนี้ไม่ได้ลด ในแง่ที่ต้องจ่ายรายเดือน เพราะฉะนั้น จะไปคาดหวังให้ดอกเบี้ยลงปุ๊ปและภาระหนี้ทุกคนลด ก็ไม่ใช่ ‘เรื่องของ Fed มันไม่ใช่ว่า Fed ลดแล้วเราต้องลด แต่การที่ Fed ลด อย่างที่บอก มันก็กระทบปัจจัยหลายอย่าง กระทบเรื่องของภาพรวมอะไรต่างๆ กระทบตัวแปรต่างๆ ที่เราต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย’ ผู้ว่าฯ อธิบายอีกว่า เราไม่เหมือนประเทศที่ fix ค่าเงิน เช่น ฮ่องกง หรือตะวันออกกลาง ที่ fix ค่าเงินกับดอลลาร์ เมื่อ Fed ลดดอกเบี้ย เขาก็ต้องลดดอกเบี้ยไปโดยปริยาย แต่ของเราไม่ใช่แบบนั้น [ เงินไหลออกน้อยกว่าปีก่อน ] ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาท แน่นอนว่าแบงก์ชาติไม่ได้อยากเห็นค่าเงินที่ผันผวนขนาดนี้ และค่าความผันผวน (Volatility) ของเราก็สูง และการแข็งค่า โดยเฉพาะช่วงหลัง ก็เกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) บาทแข็งค่าไป 2.4% แต่ก็ยังมีประเทศที่แข็งค่ามากกว่าเรา เช่น มาเลเซีย ที่ช่วงหลังแข็งค่าค่อนข้างเยอะ สำหรับการประเมิน แบงก์ชาติจะดูว่าที่มาของการแข็งค่าคืออะไร 1. ถ้ามาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหรือเชิงปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งในเคสนี้มาจากเรื่องดอลลาร์อ่อนค่าและ Fed ลดดอกเบี้ย ก็เป็นการปรับตามกลไกตลาด แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือ 2. การเคลื่อนไหวที่เร็วและไม่ได้มาจากปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น กระแสเงินที่มาจากการเก็งกำไร (Speculated Flow) หรือเงินร้อน (Hot Money) ซึ่งเข้ามาเก็งกำไรและทำให้ความผันผวนเกิดขึ้น โดยที่ไม่สะท้อนเรื่องของพื้นฐาน อันนี้แบงก์ชาติจะ sensitive กว่า ซึ่งภาพรวมของเงินทุนในช่วงหลัง การไหลออกน้อยกว่าปีที่แล้วเยอะ (ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น) โดยปีก่อน (2566) เงินทุนไหลออก 9,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ส่วนปีนี้ (2567) YTD อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.2 หมื่นล้านบาท) ช่วงหลังเห็นการไหลเข้าค่อนข้างเยอะ จากปัจจัยของโลกและปัจจัยแวดล้อมของเรา เช่น ความชัดเจนด้านการเมือง ที่มา https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/speeches/speechgov_20sep2024.pdf ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/_z66w8oG260?si=v16T3b9bMjKajLvF #Thaitimes
    Like
    Yay
    9
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2282 มุมมอง 0 รีวิว
  • FED ธนาคารกลางสหรัฐ มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อให้เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสหรัฐsoft landing

    19 กันยายน 2567-คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยลงไปอยู่ในระดับ 4.75-5% อย่างไรก็ตาม มติครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีกรรมการ 1 คนคัดค้าน โดยเห็นว่าควรลดเพียง 0.25%

    เหตุผลของกรรมการส่วนใหญ่ที่เห็นว่าควรลด 0.5% ก็เพราะมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อลดลงอย่างยั่งยืนและเคลื่อนไหวในทิศทางที่เชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 2% ขณะเดียวกัน ก็เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานไปด้วย โดยสภาวการณ์ในขณะนี้ค่อนข้างมีความสมดุลที่จะเอื้อให้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน

    การลดดอกเบี้ย 0.5% ถูกมองว่าเป็นการลดแบบ “จัมโบ้” หรือค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดหมาย หลังจากในระยะหลังนักลงทุนเปลี่ยนความคิด จากเดิมที่เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% มาเป็น 0.5% เพื่อป้องกันเศรษฐกิจถดถอย

    ขณะเดียวกัน เมื่อดูจากคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยของกรรมการรายบุคคล หรือ “Dot Plot” บ่งชี้ว่า จะมีการลดดอกเบี้ยอีก 0.5% ภายในสิ้นปี 2024 นี้ ซึ่งจะมีการประชุมเหลืออยู่ 2 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จากนั้นปี 2025 จะลดอีก 1% และปีถัดไป 2026 ลดอีก 0.5%

    “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานเฟด ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการ “ปรับปรุง” นโยบายการเงินให้เหมาะสมเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน และขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้เงินเฟ้อมีเสถียรภาพ เป้าหมายของเฟดคือรักษาอัตราเงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็ต้องแน่ใจว่าอัตราว่างงานจะไม่สูงขึ้น เป็นการรักษาเสถียรภาพราคาไปพร้อม ๆ กับรักษาการจ้างงานเอาไว้

    ดังนั้น นักลงทุนควรมองว่าการลด 0.5% เป็นการแสดงความ “แน่วแน่” ของเฟดที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ขณะนี้กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะที่ดี เติบโตแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังเข้มแข็ง เงินเฟ้อลดต่ำลง

    พาวเวลล์ย้ำว่า ไม่ต้องการให้นักลงทุนหรือตลาดสันนิษฐานเอาเองว่าการลด 0.5% ในครั้งนี้ จะหมายถึงว่าในอนาคตเฟดจะลดในอัตรานี้ไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่านี่คืออัตราใหม่สำหรับเฟด เพราะเฟดจะไม่เร่งรีบในการผ่อนคลายด้านการเงิน เฟดจะยังทำเหมือนเดิมคือพิจารณาอย่างระมัดระวังในการประชุมแต่ละครั้งก่อนตัดสินใจ

    “ที่ผ่านมาจะเห็นว่าความอดทนรอของเราให้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา เห็นได้จากเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลงอย่างยั่งยืน จนกระทั่งทำให้เราสามารถลดดอกเบี้ยได้มากในวันนี้” พาวเวลล์ระบุ

    ถึงแม้การลด 0.5% จะเป็นที่ชอบใจของนักลงทุนส่วนใหญ่ แต่บางคนก็มีมุมมองต่างออกไป เช่น สก๊อต เฮลฟ์สไตน์ หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนของโกลบอล เอ็กซ์ ระบุว่า การลด 0.5% อาจมากเกินไป เพราะตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในระยะหลังนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตน้อยลง ไม่จำเป็นต้องลดมากขนาดนั้น ซึ่งอัตรานี้จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

    แนนซี เทนเกลอร์ ประธานบริหารของลาฟเฟอร์ เทนเกลอร์ อินเวสต์เมนต์ เห็นว่า เฟดเคลื่อนไหวเร็วเกินไป เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้การว่างงานจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มีการเลิกจ้าง อีกทั้งการเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐยังคงมีจำนวนมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดด้วยซ้ำ “คำวิพากษ์วิจารณ์ของฉันที่มีต่อเฟดก็คือเน้นการมองในระยะสั้น โดยมุ่งเน้นดูข้อมูลย้อนหลัง แค่ข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอเพียงสัปดาห์เดียว ก็ทำให้ลดดอกเบี้ยมากขนาดนี้”

    ฟิลิป สแตรล ประธานเจ้าหน้าที่ลงทุน ของมอร์นิ่งสตาร์ เวลธ์ ชี้ว่า การลดดอกเบี้ยถึง 0.5% เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น วิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงในปี 2008 และโควิด-19 ระบาดในปี 2020 สำหรับในครั้งนี้ถือว่าลดมากเกินไปและเร็วเกินไป ทั้งที่ข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับการผ่อนคลายทางการเงินช่วงอื่น ๆ ภายใต้การว่างงานที่ 4.2% นอกจากนี้จีดีพีไตรมาส 2 ก็ขยายตัวถึง 3%

    “การลดมากขนาดนี้เป็นตัวชี้ว่าเฟดมีความสบายใจที่เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืน และตอนนี้ก็ปรับเปลี่ยนทิศทางไปมุ่งเน้นการทำให้เศรษฐกิจชะลอลงอย่างSoft Landing “

    ที่มา : https://youtu.be/EgW_pSJqQEc?si=uk4HLrZSsqAVl2AL

    #Thaitimes
    FED ธนาคารกลางสหรัฐ มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพื่อให้เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสหรัฐsoft landing 19 กันยายน 2567-คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 0.5% นับเป็นการลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยลงไปอยู่ในระดับ 4.75-5% อย่างไรก็ตาม มติครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีกรรมการ 1 คนคัดค้าน โดยเห็นว่าควรลดเพียง 0.25% เหตุผลของกรรมการส่วนใหญ่ที่เห็นว่าควรลด 0.5% ก็เพราะมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อลดลงอย่างยั่งยืนและเคลื่อนไหวในทิศทางที่เชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 2% ขณะเดียวกัน ก็เพื่อรักษาอัตราการจ้างงานไปด้วย โดยสภาวการณ์ในขณะนี้ค่อนข้างมีความสมดุลที่จะเอื้อให้บรรลุเป้าหมายทั้งด้านเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน การลดดอกเบี้ย 0.5% ถูกมองว่าเป็นการลดแบบ “จัมโบ้” หรือค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดหมาย หลังจากในระยะหลังนักลงทุนเปลี่ยนความคิด จากเดิมที่เชื่อว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% มาเป็น 0.5% เพื่อป้องกันเศรษฐกิจถดถอย ขณะเดียวกัน เมื่อดูจากคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยของกรรมการรายบุคคล หรือ “Dot Plot” บ่งชี้ว่า จะมีการลดดอกเบี้ยอีก 0.5% ภายในสิ้นปี 2024 นี้ ซึ่งจะมีการประชุมเหลืออยู่ 2 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคม จากนั้นปี 2025 จะลดอีก 1% และปีถัดไป 2026 ลดอีก 0.5% “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานเฟด ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการ “ปรับปรุง” นโยบายการเงินให้เหมาะสมเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน และขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้เงินเฟ้อมีเสถียรภาพ เป้าหมายของเฟดคือรักษาอัตราเงินเฟ้อให้มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ก็ต้องแน่ใจว่าอัตราว่างงานจะไม่สูงขึ้น เป็นการรักษาเสถียรภาพราคาไปพร้อม ๆ กับรักษาการจ้างงานเอาไว้ ดังนั้น นักลงทุนควรมองว่าการลด 0.5% เป็นการแสดงความ “แน่วแน่” ของเฟดที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ขณะนี้กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในภาวะที่ดี เติบโตแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังเข้มแข็ง เงินเฟ้อลดต่ำลง พาวเวลล์ย้ำว่า ไม่ต้องการให้นักลงทุนหรือตลาดสันนิษฐานเอาเองว่าการลด 0.5% ในครั้งนี้ จะหมายถึงว่าในอนาคตเฟดจะลดในอัตรานี้ไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่านี่คืออัตราใหม่สำหรับเฟด เพราะเฟดจะไม่เร่งรีบในการผ่อนคลายด้านการเงิน เฟดจะยังทำเหมือนเดิมคือพิจารณาอย่างระมัดระวังในการประชุมแต่ละครั้งก่อนตัดสินใจ “ที่ผ่านมาจะเห็นว่าความอดทนรอของเราให้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา เห็นได้จากเงินเฟ้อค่อย ๆ ลดลงอย่างยั่งยืน จนกระทั่งทำให้เราสามารถลดดอกเบี้ยได้มากในวันนี้” พาวเวลล์ระบุ ถึงแม้การลด 0.5% จะเป็นที่ชอบใจของนักลงทุนส่วนใหญ่ แต่บางคนก็มีมุมมองต่างออกไป เช่น สก๊อต เฮลฟ์สไตน์ หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนของโกลบอล เอ็กซ์ ระบุว่า การลด 0.5% อาจมากเกินไป เพราะตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในระยะหลังนี้ไม่ได้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตน้อยลง ไม่จำเป็นต้องลดมากขนาดนั้น ซึ่งอัตรานี้จะสนับสนุนให้มีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น แนนซี เทนเกลอร์ ประธานบริหารของลาฟเฟอร์ เทนเกลอร์ อินเวสต์เมนต์ เห็นว่า เฟดเคลื่อนไหวเร็วเกินไป เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้การว่างงานจะเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มีการเลิกจ้าง อีกทั้งการเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ในสหรัฐยังคงมีจำนวนมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดด้วยซ้ำ “คำวิพากษ์วิจารณ์ของฉันที่มีต่อเฟดก็คือเน้นการมองในระยะสั้น โดยมุ่งเน้นดูข้อมูลย้อนหลัง แค่ข้อมูลจ้างงานที่อ่อนแอเพียงสัปดาห์เดียว ก็ทำให้ลดดอกเบี้ยมากขนาดนี้” ฟิลิป สแตรล ประธานเจ้าหน้าที่ลงทุน ของมอร์นิ่งสตาร์ เวลธ์ ชี้ว่า การลดดอกเบี้ยถึง 0.5% เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้น้อยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น วิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงในปี 2008 และโควิด-19 ระบาดในปี 2020 สำหรับในครั้งนี้ถือว่าลดมากเกินไปและเร็วเกินไป ทั้งที่ข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับการผ่อนคลายทางการเงินช่วงอื่น ๆ ภายใต้การว่างงานที่ 4.2% นอกจากนี้จีดีพีไตรมาส 2 ก็ขยายตัวถึง 3% “การลดมากขนาดนี้เป็นตัวชี้ว่าเฟดมีความสบายใจที่เงินเฟ้อขยับลงอย่างยั่งยืน และตอนนี้ก็ปรับเปลี่ยนทิศทางไปมุ่งเน้นการทำให้เศรษฐกิจชะลอลงอย่างSoft Landing “ ที่มา : https://youtu.be/EgW_pSJqQEc?si=uk4HLrZSsqAVl2AL #Thaitimes
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2031 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027

    Martin Armstrong นักการเงิน และนักวิเคราะห์ชื่อดังให้สัมภาษณ์กับFinancial Senseว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 ซึ่งจะเป็นช่วงไซเกิ้ลของสงครามโลกคร้ังที่ 3ที่จะเกิดขึ้นพอดี

    การผิดนัดชำระหนี้หมายถึงการที่กระทรวงการคลังสหรัฐออกพันธะบัตรแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะว่าไม่มั่นใจกับปริมาณหนี้มหาศาลที่สหรัฐแบกรับอยู่ และนโยบายแซงชั่นของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยจะพุ่งสูง ค่าเงินดอลล่าร์จะด้อยค่า จนท้ายที่สุดไม่มีใครต้องการถือครองทรัพย์สินดอลล่าร์อีกต่อไป

    หรืออีกวิธีหนึ่งของการผิดนัดชำระหนี้คือการก่อสงคราม แล้วหยุดจ่ายหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ไปเลย

    อาร์มสตรองบอกว่า ความจริงพันธะบัตรสหรัฐมีปัญหาอยู่แล้ว อันเห็นได้จากการที่เจเน็ต เยลเลน รมว คลังสหรัฐบินไปปักกิ่งหลายคร้ังในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอร้องให้รัฐบาลจีนไม่ให้ขายพันธบัตรสหรัฐ หรือให้ซื้อพันธบัตรล็อตใหม่ แต่ถูกทางจีนปฏิเสธ

    ตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่$35.2ล้านล้าน เทียบกับขนาดของจีดีพีที่$28ล้านล้าน ในขณะที่มีหนี้นอกงบประมาณที่$70ล้านล้าน ซึ่งเป็นพันธะด้านสวัสดิการสังคมต่างๆที่ต้องจ่ายในอนาคต ลำพังแค่ต้องจ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยด้วยการออกพัน
    ธะบัตรมารีไฟแนนซ์ รัฐบาลสหรัฐมีภาระต้องจ่าย$1ล้านล้านต่อปี ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่สูงสุดในงบประมาณ สูงกว่างบของกระทรวงกลาโหมที่800,000กว่าล้านเสียอีก หนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นสหรัฐไม่คิดที่จะจ่ายคืนอยู่แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐยังขาดดุลงบประมาณปีละ2ล้านล้าน

    หนี้สินทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ โดยประมาณ 55% ของการเพิ่มขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่คือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี หนี้สินที่ไม่ได้รับการจัดสรร (unfunded liabilities)ในสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 72 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 300% ของ GDP ซึ่งอาจดูสูงเกินไปจนกว่าจะหันไปดูสเปนที่มีหนี้ต่อ GDPที่ 500% ฝรั่งเศสที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 400% หรือเยอรมนีที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 350%

    งบดุลของประเทศแบบนี้ถือว่าล้มละลายแล้ว หนี้ของประเทศในยุโรปท้ังในงบดุลและนอกงบดุลก็ประสบวิกฤตคล้ายๆกับสหรัฐ ทำให้สหรัฐและยุโรปจับมือกันก่อสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทนยูเครนเพื่อหาทางเบี้ยวหนี้ หรือรีเซ็ตระบบการเงินใหม่เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางอำนาจทางการเงิน

    การยึดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียโดยสหรัฐและยุโรปทำให้หลายประเทศทิ้งทรัพย์สินดอลล่าร์ และหันไปถือครองทองคำแทน เพราะเกรงว่าจะถูกยึดเหมือนรัสเซียถ้าดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ไม่ถูกใจวอชิงตัน ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดราคาทองคำ2,574เหรียญต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำฟิวเจอร์สส่งมอบเดือนธันวาคมพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญต่อออนซ์ไปแล้ว

    ธนาคารกลางทั่วโลกก็หันมาตุนทองคำ โดยขายพันธะบัตรสหรัฐออกไปเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น การซื้อทองคำของธนาคารกลาง1,136ตันในปี 2022 และ1,037ตันในปี 2023 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมา ปี2024น่าจะเป็นอีกปีของการสร้างสถิติการซื้อทองคำของธนาคารกลาง

    กลุ่มBRICSมีนโยบายออกจากดอลล่าร์ (de-dollarization) ด้วยการค้าการกันเองผ่านเงินสกุลประจำชาติ และไม่ใช้ดอลล่าร์ รวมท้ังการวางโครงการที่จะเอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงินของเงินสกุลร่วมBRICS ที่เรียกกันว่า the Unit โดยใช้ทองคำ40%หนุนหลัง และอีก60%หนุนหลังค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของความเป็นเงินสกุลหลักของโลกของดอลล่าร์ที่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเงินกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรหนุนหลัง

    อย่างไรก็ดี โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะเก็บภาษี100%สำหรับประเทศใดก็ตามที่หันหลังให้กับดอลล่าร์ เพื่อที่จะปกป้องดอลล่าร์ให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกต่อไป ท่าทีของทรัมป์แม้ว่าจะเป็นการพูดหาเสียงแต่ก็สะท้อนความเข้าใจของทรัมป์ว่าเงินดอลล่าร์กำลังหมดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดิ อาราเบียได้ออกมาให้ข่าวว่าจะขายน้ำมันแลกเงินหยวนของจีน ซึ่งถือว่าเป็นการออกจากเปโตรดอลล่าร์ที่ซาอุฯเป็นผู้ค้ำประกันมาตั้งแต่ปี1974

    สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 Martin Armstrong นักการเงิน และนักวิเคราะห์ชื่อดังให้สัมภาษณ์กับFinancial Senseว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้ในปี2026/2027 ซึ่งจะเป็นช่วงไซเกิ้ลของสงครามโลกคร้ังที่ 3ที่จะเกิดขึ้นพอดี การผิดนัดชำระหนี้หมายถึงการที่กระทรวงการคลังสหรัฐออกพันธะบัตรแล้วไม่มีคนซื้อ เพราะว่าไม่มั่นใจกับปริมาณหนี้มหาศาลที่สหรัฐแบกรับอยู่ และนโยบายแซงชั่นของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ดอกเบี้ยจะพุ่งสูง ค่าเงินดอลล่าร์จะด้อยค่า จนท้ายที่สุดไม่มีใครต้องการถือครองทรัพย์สินดอลล่าร์อีกต่อไป หรืออีกวิธีหนึ่งของการผิดนัดชำระหนี้คือการก่อสงคราม แล้วหยุดจ่ายหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ไปเลย อาร์มสตรองบอกว่า ความจริงพันธะบัตรสหรัฐมีปัญหาอยู่แล้ว อันเห็นได้จากการที่เจเน็ต เยลเลน รมว คลังสหรัฐบินไปปักกิ่งหลายคร้ังในช่วงที่ผ่านมา เพื่อขอร้องให้รัฐบาลจีนไม่ให้ขายพันธบัตรสหรัฐ หรือให้ซื้อพันธบัตรล็อตใหม่ แต่ถูกทางจีนปฏิเสธ ตัวเลขหนี้สาธารณะล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่$35.2ล้านล้าน เทียบกับขนาดของจีดีพีที่$28ล้านล้าน ในขณะที่มีหนี้นอกงบประมาณที่$70ล้านล้าน ซึ่งเป็นพันธะด้านสวัสดิการสังคมต่างๆที่ต้องจ่ายในอนาคต ลำพังแค่ต้องจ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยด้วยการออกพัน ธะบัตรมารีไฟแนนซ์ รัฐบาลสหรัฐมีภาระต้องจ่าย$1ล้านล้านต่อปี ซึ่งเป็นการใช้จ่ายที่สูงสุดในงบประมาณ สูงกว่างบของกระทรวงกลาโหมที่800,000กว่าล้านเสียอีก หนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นสหรัฐไม่คิดที่จะจ่ายคืนอยู่แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐยังขาดดุลงบประมาณปีละ2ล้านล้าน หนี้สินทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ โดยประมาณ 55% ของการเพิ่มขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่คือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี หนี้สินที่ไม่ได้รับการจัดสรร (unfunded liabilities)ในสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 72 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 300% ของ GDP ซึ่งอาจดูสูงเกินไปจนกว่าจะหันไปดูสเปนที่มีหนี้ต่อ GDPที่ 500% ฝรั่งเศสที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 400% หรือเยอรมนีที่มีหนี้ต่อ GDP เกือบ 350% งบดุลของประเทศแบบนี้ถือว่าล้มละลายแล้ว หนี้ของประเทศในยุโรปท้ังในงบดุลและนอกงบดุลก็ประสบวิกฤตคล้ายๆกับสหรัฐ ทำให้สหรัฐและยุโรปจับมือกันก่อสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทนยูเครนเพื่อหาทางเบี้ยวหนี้ หรือรีเซ็ตระบบการเงินใหม่เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางอำนาจทางการเงิน การยึดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียโดยสหรัฐและยุโรปทำให้หลายประเทศทิ้งทรัพย์สินดอลล่าร์ และหันไปถือครองทองคำแทน เพราะเกรงว่าจะถูกยึดเหมือนรัสเซียถ้าดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ไม่ถูกใจวอชิงตัน ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดราคาทองคำ2,574เหรียญต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำฟิวเจอร์สส่งมอบเดือนธันวาคมพุ่งทะลุระดับ2,600เหรียญต่อออนซ์ไปแล้ว ธนาคารกลางทั่วโลกก็หันมาตุนทองคำ โดยขายพันธะบัตรสหรัฐออกไปเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางการเงินท่ามกลางความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น การซื้อทองคำของธนาคารกลาง1,136ตันในปี 2022 และ1,037ตันในปี 2023 เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงในช่วงที่ผ่านมา ปี2024น่าจะเป็นอีกปีของการสร้างสถิติการซื้อทองคำของธนาคารกลาง กลุ่มBRICSมีนโยบายออกจากดอลล่าร์ (de-dollarization) ด้วยการค้าการกันเองผ่านเงินสกุลประจำชาติ และไม่ใช้ดอลล่าร์ รวมท้ังการวางโครงการที่จะเอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงินของเงินสกุลร่วมBRICS ที่เรียกกันว่า the Unit โดยใช้ทองคำ40%หนุนหลัง และอีก60%หนุนหลังค่าเงินก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของความเป็นเงินสกุลหลักของโลกของดอลล่าร์ที่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นเงินกระดาษเปล่าๆที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรหนุนหลัง อย่างไรก็ดี โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่าเขาจะเก็บภาษี100%สำหรับประเทศใดก็ตามที่หันหลังให้กับดอลล่าร์ เพื่อที่จะปกป้องดอลล่าร์ให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกต่อไป ท่าทีของทรัมป์แม้ว่าจะเป็นการพูดหาเสียงแต่ก็สะท้อนความเข้าใจของทรัมป์ว่าเงินดอลล่าร์กำลังหมดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซาอุดิ อาราเบียได้ออกมาให้ข่าวว่าจะขายน้ำมันแลกเงินหยวนของจีน ซึ่งถือว่าเป็นการออกจากเปโตรดอลล่าร์ที่ซาอุฯเป็นผู้ค้ำประกันมาตั้งแต่ปี1974
    Like
    30
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1651 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต
    ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568
    อยู่ที่ 2.5% และ 2.6%
    ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว
    ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้

    และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย
    ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่

    🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย
    กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม
    เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน

    🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ
    ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด
    จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ
    รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย

    🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
    เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้
    และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน
    ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC คาดการณ์การเติบโต ทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไทย ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 2.5% และ 2.6% ระบุ การท่องเที่ยวคือเครื่องยนต์เพียงหนึ่งเดียว ที่เหลืออยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ และในภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญ กับความท้าทาย ที่สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 🚩1. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์สันดาป ที่อาจสูญเสีย กำลังการผลิตไปกว่า 40% ถ้าหากไม่ปรับตัวไปตาม เทรนด์การใช้งานของผู้บริโภค ปัจจุบัน 🚩2. ผู้ประกอบการ SME เผชิญแรงกดดัน จากกำลังซื้อ ภายในประเทศที่เปราะบาง อีกทั้ง การตีตลาด จากสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ รวมทั้งกระบวนการผลิต และการตลาดที่ล้าสมัย 🚩ดังนั้นควรผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อลมหายใจต่อไปได้ และควรผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #จีดีพีไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1217 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC
    ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย
    ใน 3 มิติ ดังนี้

    🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย)

    SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567
    เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
    ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
    ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว

    สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน
    บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์
    ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่

    🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง
    ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้
    และต่อเนื่องไปในปีหน้า

    🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย

    SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
    ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50%
    และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268
    จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น
    ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย
    #thaitimes
    💥💥 ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ SCBEIC ได้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจไทย ใน 3 มิติ ดังนี้ 🚩1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (จีดีพี ประเทศไทย) SCB EIC ประเมินว่าจีดีพี ไทยจะขยายตัวต่ำอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เช่นเดียวกับปี 2568 ที่จะขยายตัวอยู่ที่ 2.6% ซึ่งยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ในช่วงข้างหน้า ยังคงมาจากภาคการท่องเที่ยว สำหรับปีหน้า 2568 SCB EIC มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะปรับลดลงเล็กน้อย จากมุมมองเดิมมาอยู่ที่ 39.4 ล้านคน บนความท้าทายของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน แบบกรุ๊ปทัวร์ ที่ยังไม่กลับมาได้เต็มที่ 🚩2. อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะต่ำลงมาอยู่ที่ 0.6% (จากเดิม 0.8%) และจะกลับเข้าสู่ขอบล่าง ของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ และต่อเนื่องไปในปีหน้า 🚩3. อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC ประเมินว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ในเดือน ธันวาคม 2567 นี้ เหลือ 2.25% จากเดิม 2.50% และปรับลดอีกครั้งเหลือ 2.00 % ในช่วงต้นปี 2268 จากสัญญาณอุปสงค์ในประเทศ ชะลอตัวชัดเจนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะการเงินตึงตัวนาน ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #สภาวะเศรษฐกิจไทย #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1310 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥3 แสนล้านบาท/ปี
    คือตัวเลขเม็ดเงิน นอกจีดีพี หรือนอกเศรษฐกิจไทย
    ที่ประชาชน ชาวบ้าน ห้างร้าน ธุรกิจ การค้า บริษัทต่างๆ
    ต้องจ่ายใต้โต๊ะ ติดสินบน เดินเรื่องเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ
    วิ่งเต้นตำแหน่ง ให้กับข้าราชการประจำ

    🔥คำถามคือ แล้วข้าราชการการเมือง ตัวเลขเม็ดเงินนอกจีดีพี
    จะขนาดไหน?
    ที่มา : องค์การต่อต้านคอรัปชั่น(แห่งประเทศไทย)

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #คอร์รัปชัน #thaitimes
    🔥🔥3 แสนล้านบาท/ปี คือตัวเลขเม็ดเงิน นอกจีดีพี หรือนอกเศรษฐกิจไทย ที่ประชาชน ชาวบ้าน ห้างร้าน ธุรกิจ การค้า บริษัทต่างๆ ต้องจ่ายใต้โต๊ะ ติดสินบน เดินเรื่องเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ วิ่งเต้นตำแหน่ง ให้กับข้าราชการประจำ 🔥คำถามคือ แล้วข้าราชการการเมือง ตัวเลขเม็ดเงินนอกจีดีพี จะขนาดไหน? ที่มา : องค์การต่อต้านคอรัปชั่น(แห่งประเทศไทย) #หุ้นติดดอย #การลงทุน #คอร์รัปชัน #thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 667 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts