• 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง

    ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ

    แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที

    แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก

    สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน
    หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ

    1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ
    รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด
    เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ
    การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง

    2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ
    ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน

    3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร

    รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน

    ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง

    เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน

    เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง
    หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น

    2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย
    ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต

    ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น

    แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท

    ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น

    เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน

    1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน
    การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน

    2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
    พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

    3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ
    การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ

    การรับมือในอนาคต
    ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ
    เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน
    สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ

    เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น

    การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568

    #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ 1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง 2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน 3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย 1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น 2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน 1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน 2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ การรับมือในอนาคต ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568 #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 129 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

    จรรยาบรรณแพทย์

    ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ
    ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม

    ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ
    ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง

    ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น
    ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน
    ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

    ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม
    ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

    ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง
    ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย

    ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ
    ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ

    ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ
    ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ

    ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม
    ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ
    ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ
    ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ
    อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่

    ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ
    ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง
    ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้

    ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล
    ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่

    ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้
    ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้

    ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย
    ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้
    เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ

    ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ
    ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ

    ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย
    ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้
    แก้วสรร อติโพธิ
    14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้ จรรยาบรรณแพทย์ ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่ ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้ ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่ ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้ ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้ ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้ เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้ แก้วสรร อติโพธิ
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • นับถอยหลัง เทวดาชั้น14 ขีดเส้นตาย 15 ม.ค.นี้ ป่วยทิพย์หรือไม่ได้รู้กัน

    #ทักษิณ #ชั้น14 #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณหนีคุก #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    นับถอยหลัง เทวดาชั้น14 ขีดเส้นตาย 15 ม.ค.นี้ ป่วยทิพย์หรือไม่ได้รู้กัน #ทักษิณ #ชั้น14 #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณหนีคุก #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1052 มุมมอง 46 0 รีวิว
  • 11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ
    นิติธรรม

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย

    ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล

    นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ

    นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน

    “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว

    ที่มา : แนวหน้า
    https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ นิติธรรม นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว ที่มา : แนวหน้า https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 362 มุมมอง 0 รีวิว
  • พล.ต.อ.กรไชย รุดเยี่ยมตำรวจ 2 นายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหายิงภรรยาเสียชีวิต กำชับดูแลสิทธิประโยชน์เต็มที่

    วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ จากเหตุการณ์ปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา จำนวน 2 นาย ได้แก่ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย ฉวีเวช และ ด.ต.กิตติศักดิ์ สุขประเสริฐ ผบ.หมู่ กก.ปพ.บก.สส.ภ.1

    จากกรณีนางจิตรา อายุ 46 ปี ถูกนายวสันต์ อายุ 51 ปี สามี ใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิตภายในบ้าน ต.โคกข้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา สาเหตุมาจากความหึงหวง หลังก่อเหตุนายวสันต์ได้หลบหนีไป ต่อมาพนักงานสอบสวนสอบสวน สภ.บางไทร ได้ขอศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกหมายจับนายวสันต์ ในข้อกล่าวหาฆ่าคนตายโดยเจตนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเบาะแสที่คาดว่านายวสันต์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง หมู่ 3 ต.โคกช้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุ 600 เมตร พล.ต.ต.โชติวัตน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. บางไทร , สภ.ช้าง และชุดสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว่า 50 นาย ปิดล้อมบ้านหลังดังกล่าว ปรากฏว่านายวสันต์ ได้ชักปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเกิดการยิงโต้ตอบ สุดท้ายนายวสันต์ ถูกยิงเสียชีวิต และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย คือ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย และ ด.ต.กิตติศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลบางไทร และส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/crime/detail/9670000123863

    #MGROnline #จับกุมผู้ต้องหา #ยิงภรรยา #เสียชีวิต
    พล.ต.อ.กรไชย รุดเยี่ยมตำรวจ 2 นายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหายิงภรรยาเสียชีวิต กำชับดูแลสิทธิประโยชน์เต็มที่ • วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ จากเหตุการณ์ปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา จำนวน 2 นาย ได้แก่ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย ฉวีเวช และ ด.ต.กิตติศักดิ์ สุขประเสริฐ ผบ.หมู่ กก.ปพ.บก.สส.ภ.1 • จากกรณีนางจิตรา อายุ 46 ปี ถูกนายวสันต์ อายุ 51 ปี สามี ใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิตภายในบ้าน ต.โคกข้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา สาเหตุมาจากความหึงหวง หลังก่อเหตุนายวสันต์ได้หลบหนีไป ต่อมาพนักงานสอบสวนสอบสวน สภ.บางไทร ได้ขอศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกหมายจับนายวสันต์ ในข้อกล่าวหาฆ่าคนตายโดยเจตนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเบาะแสที่คาดว่านายวสันต์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง หมู่ 3 ต.โคกช้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุ 600 เมตร พล.ต.ต.โชติวัตน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. บางไทร , สภ.ช้าง และชุดสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว่า 50 นาย ปิดล้อมบ้านหลังดังกล่าว ปรากฏว่านายวสันต์ ได้ชักปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเกิดการยิงโต้ตอบ สุดท้ายนายวสันต์ ถูกยิงเสียชีวิต และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย คือ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย และ ด.ต.กิตติศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลบางไทร และส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9670000123863 • #MGROnline #จับกุมผู้ต้องหา #ยิงภรรยา #เสียชีวิต
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 322 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัประยุทธ์ “ธรรมะ-อธรรม” #เปลวสีเงินplewเปลว สีเงิน“กฎหมาย” มีไว้สร้างสมดุลทาง “สังคมเป็นธรรม”แต่ทุกวันนี้คนใน “๓ สถาบันอำนาจ” คือ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ “บางคน”ใช้กฎหมายสร้าง “สังคมอยุติธรรม” ทำลายสมดุลความเป็นคนที่เท่าเทียมทางกฎหมาย จนเกิดคำว่า “ป่วยทิพย์-คุกทิพย์”บ่งบอกถึง “เลือกปฎิบัติ-สองมาตรฐาน” ซึ่งชาวบ้านทั่วไป ไม่มีสิทธิได้รับโอกาสนั้น (เว้นแต่มีเงิน)คนใน ๓ สถาบันอำนาจเท่านั้น….ที่จะทำให้ “สังคมเป็นธรรม” กลายเป็น “สังคมระยำ” เช่นนั้นได้!มันก็แปลก คนกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนที่เรียกเรียก “เจ้าหน้าที่รัฐ” กลับมีอำนาจ “เหนือชีวิตประชาชน”นายจ้าง คือคนเสียภาษีแท้ๆ กลับถูก “ส้นตีนอำนาจ” ยัดปากตลอดกาลแค่จะคุกเข่า ยกสองมืออ่อนล้า วอนเมตตาและความเป็นธรรม ก็ยังถูกตราหน้า “พวกทำให้บ้านเมืองเสียโอกาส”โอกาสโกงบ้าน-กินเมืองละก็ใช่แต่ไมใช่โอกาสคืนความชอบธรรมให้กับบ้านเมือง!สังคมชาติที่ผู้คน “ตัวใคร-ตัวมัน” เห็นประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ประโยชน์กู แล้วต่างทอดธุระและชาวบ้านก็เอาแต่ “ชะแง้รอแจก”ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ สยบยอมโจร ใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่เป็นกุญแจไข เปิดทางให้มัน “ปล้นบ้าน-ชำเราเมือง” จนย่ามใจ กร่างใหญ่คับประเทศผมก็ได้แต่ทอดถอนใจ ทำได้เพียง “รักบ้าน-รักเมือง” ด้วยปากไปวันๆเมื่อสัปดาห์ก่อน เห็นคนที่ไม่เอาแต่นั่งทอดถอนใจอย่างผม เขาเห็นการประทำย่ำยีบ้านเมืองจากไอ้ตัวกาลีเมืองแล้ว พวกเขาร้อนใจนัดกันไปคุยตามประสาคนห่วงบ้าน-ห่วงเมือง ผมอ่านข่าว ก็มีท่านเหล่านี้แก้วสรร อติโพธิ, ดร.เจิม ศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอมจตุพร พรหมพันธุ์, ทนายนกเขา, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม, พิชิต ไชยมงคล,สาวิทย์ แก้วหวาน, ประสาร มฤคพิทักษ์, ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว), แซมดิน เลิศบุศย์สมชาย แสวงการ, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ชาญชัย อิสระเสนารักษ์, ปรีดา เตียสุวรรณ์ และฯลฯหลายท่าน รู้จักมักคุ้น หลายท่านได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยพบสรุป ท่านเหล่านั้น มีที่มาเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดและทำเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างแต่ที่สุดแล้ว หนีหลักธรรมชาติไม่พ้นธรรมะ คือธรรมชาติ สิ่งจัดสรรมนุษย์คือธรรมชาติ รวงข้าว เมื่อแก่ ย่อมค้อมรวงบัว เกิดจากโคลนตม เมื่อพ้นน้ำ ย่อมปลดเปลื้องจากโคลนตม พิสุทธิ์แทนใจ บูชาธรรมคณะบุคคลเหล่านั้น ก็ประมาณนี้ …..ในความต่างที่มา ที่คิด ที่ทำ ในความเป็นบัณฑิตแห่งธาตุคน ที่สุดแล้ว คนธาตุบัณฑิตย่อมไหลรวมในหมู่บัณฑิตด้วยกันจะเรียกเขาเหล่านั้นว่าอะไรดีล่ะ?เพราะมีทั้ง พันธมิตรฯ ทั้ง กปปส. ทั้งกลุ่มหลอมรวม ทั้งเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ทั้งกลุ่มสันติอโศกเรียกคณะ “ปชพช.” ดีมั้ย ….เป็นอักษรรวมความเพื่อให้ “เรียกง่าย-จำง่าย”ปชพช. “คณะปัญญาชนพิทักษ์ชาติ” ดูเหมาะสมกับสิ่งที่พวกเขาทำเมื่อวาน (๑๘ ธค.๖๗)คือ คณะปัญญาชนพากันเดินไปที่ “สำนักงานคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ “​(ป.ป.ช.​)ไม่ได้ไปก่อกวน ก้าวร้าว เยี่ยงอันธพาลเมือง แต่ไปเยี่ยงบัณฑิต กระทำเยี่ยงบัณฑิตเพื่อยื่นหนังสือให้ป.ป.ช.ตระหนักคิด กรณี ป.ป.ช.​ รับพิจารณาข้อกล่าวหา….“นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์” อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่เรือนจำ แพทย์รพ.ราชทัณฑ์ และรพ.ตำรวจ รวม ๑๒ คนส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ​ให้ป.ป.ช.เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ ในหนังสือ มี ๔ ข้อ๑.คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่า มีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าวและยังไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาตให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจซึ่งพิธีการทั้งหมดนี้ ขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวงทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไร ก็ไม่ได้รับจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตช่วยเหลือกันโดยมิชอบส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน๒.คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้าง นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่ง เดินขึ้นบันได อาบน้ำ แต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้แต่ปรากฏว่า หลังการพักโทษ นักโทษกลับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่าง จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าการพักโทษมาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ดังนั้น จึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย๓.เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายไทยพยายามปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชันเป็นพิเศษแต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบเกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่งครัดปล่อยให้กระบวนการทุจริต ตัดทอนโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสานเป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา๔.เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ ๒ ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และหัวหน้าขบวนการ ก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้ แทนที่จะยอมรับโทษกลับหลีกเลี่ยง แสดงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุดยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วยถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ“นี่คือหายนะที่เห็นได้ชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝาก ป.ป.ช.ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง”ขณะเดียวกัน ​”คณะปชพช.” ยังบอกว่า….จะยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ทั้ง ​”พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง” ​รมว.ยุติธรรม และ “​นางพงษ์สวาท นีละโยธิน” ปลัดฯ ยุติธรรม เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​อาจารย์ “แก้วสรร อติโพธิ” อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์และรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อหน้าเลขาฯ ป.ป.ช.ว่า“มั่นใจในการทำงาน ป.ป.ช.และคิดว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูก-ที่ควร​ จึงขอให้เดินหน้าเต็มที่​และคิดว่าจะใช้เวลาไม่นานพร้อมขอให้แพทย์ที่รักษานายทักษิณออกมาพูด โดยขอให้เอาตัวการจริงๆ มาลงโทษ​หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับนายทักษิณ คำตอบในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังและหากไม่มีการขังตามหมายต้องออกหมายใหม่ กลับไปเข้าคุกเป็นอำนาจ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง” ที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กำลังจะไปร้อง ซึ่งศาลสามารถเรียกสำนวนจากป.ป.ช.ไปดูและวินิจฉัยได้“จุดสำคัญ ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยของป.ป.ช.เพราะคดีนี้ เป็นคดีเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นายทักษิณ​ เตรียมตัวได้​”อาจารย์แก้วสรร ยังสัมโมทนียกถาว่า “หากป.ป.ช.ทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง จะยอมกราบเลย”“จตุพร พรหมพันธุ์” อดีตแกนนำนปช.ผู้พ้นขอบเหวคืนสู่ฟากฝั่ง กล่าวว่า“มาให้กำลังใจป.ป.ช.ทั้งมีความไม่สบายใจในอนาคต เพราะคดีของนายทักษิณ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้มูลเองวันนี้มาด้วยความหวังในการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.อย่างตรงไปตรงมา ในจำนวนผู้ที่ถูกตั้งองค์คณะไต่สวน ๑๒ คนนี้ ใครไม่ผิด คือไม่ผิด ไม่ได้ต้องการมาทำให้ “ดำเป็นขาว- ขาวเป็นดำ” แต่ต้องการมาให้ “ถูกเป็นถูก-ผิดเป็นผิด, ดีเป็นดี- ชั่วเป็นชั่ว”ยอมรับว่าเรื่องการไต่สวน วันนี้ “ยังไม่ไว้ใจป.ป.ช.” จนกว่าจะได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้ว และได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตถึงวันนั้น ผมและคณะจะมาขอบคุณอีกครั้งขณะนี้ เป็นที่ประจักษ์ นายทักษิณไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช.ไม่ต้องการเห็นขนมจีน….”ครับ….ผมก็เกรงว่า คุณจตุพรจะเห็นแต่ “ขนมจีน” เท่านั้นแหละ ตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา ๕๑ ให้กรอบเวลาไว้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนเองทั้งคณะ ต้องทำให้เสร็จภายใน ๒ ปี ถ้าไม่เสร็จ ขยายเวลาได้อีก ๑ ปีสรุป “รอไปอีก ๓ ปี” กว่าจะเสร็จขั้นไต่สวน!ตอนนี้ ป.ป.ช.ครบวาระ ๓ ท่าน อยู่ช่วงกรรมการสรรหากำลังพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัคร กว่าจะได้ครบ ก็คงกลางปีหน้าโน่นและถ้าถึงขั้นชี้มูลความผิด ต้องเรียก ๑๒ ผู้ถูกกล่าวหามาให้ปากคำ กี่ปีถึงครบ ๑๒ ปากล่ะ ?เอาว่า “๕ ปี” เร็วสุด!ที่อาจารย์แก้วสรรบอก “คิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน” นั้นรออีก ๕-๘ ปี นานมั้ย?เห็นที คณะปชพช.คงต้องทำหน้าที่ “ไม้แยงก้น” ป.ป.ช.เป็นรายการ “ทวงถามรายเดือน” แล้วหละไม่งั้น “กราบป.ป.ช.” ของอาจารย์แก้วสรรสู้ “กราบแผ่นดิน” ของ “พระเจ้ามูลเมือง” ผู้กลับชาติมาเกิดไม่ได้หรอก!เปลว สีเงิน๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    สัประยุทธ์ “ธรรมะ-อธรรม” #เปลวสีเงินplewเปลว สีเงิน“กฎหมาย” มีไว้สร้างสมดุลทาง “สังคมเป็นธรรม”แต่ทุกวันนี้คนใน “๓ สถาบันอำนาจ” คือ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ “บางคน”ใช้กฎหมายสร้าง “สังคมอยุติธรรม” ทำลายสมดุลความเป็นคนที่เท่าเทียมทางกฎหมาย จนเกิดคำว่า “ป่วยทิพย์-คุกทิพย์”บ่งบอกถึง “เลือกปฎิบัติ-สองมาตรฐาน” ซึ่งชาวบ้านทั่วไป ไม่มีสิทธิได้รับโอกาสนั้น (เว้นแต่มีเงิน)คนใน ๓ สถาบันอำนาจเท่านั้น….ที่จะทำให้ “สังคมเป็นธรรม” กลายเป็น “สังคมระยำ” เช่นนั้นได้!มันก็แปลก คนกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนที่เรียกเรียก “เจ้าหน้าที่รัฐ” กลับมีอำนาจ “เหนือชีวิตประชาชน”นายจ้าง คือคนเสียภาษีแท้ๆ กลับถูก “ส้นตีนอำนาจ” ยัดปากตลอดกาลแค่จะคุกเข่า ยกสองมืออ่อนล้า วอนเมตตาและความเป็นธรรม ก็ยังถูกตราหน้า “พวกทำให้บ้านเมืองเสียโอกาส”โอกาสโกงบ้าน-กินเมืองละก็ใช่แต่ไมใช่โอกาสคืนความชอบธรรมให้กับบ้านเมือง!สังคมชาติที่ผู้คน “ตัวใคร-ตัวมัน” เห็นประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ประโยชน์กู แล้วต่างทอดธุระและชาวบ้านก็เอาแต่ “ชะแง้รอแจก”ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ สยบยอมโจร ใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่เป็นกุญแจไข เปิดทางให้มัน “ปล้นบ้าน-ชำเราเมือง” จนย่ามใจ กร่างใหญ่คับประเทศผมก็ได้แต่ทอดถอนใจ ทำได้เพียง “รักบ้าน-รักเมือง” ด้วยปากไปวันๆเมื่อสัปดาห์ก่อน เห็นคนที่ไม่เอาแต่นั่งทอดถอนใจอย่างผม เขาเห็นการประทำย่ำยีบ้านเมืองจากไอ้ตัวกาลีเมืองแล้ว พวกเขาร้อนใจนัดกันไปคุยตามประสาคนห่วงบ้าน-ห่วงเมือง ผมอ่านข่าว ก็มีท่านเหล่านี้แก้วสรร อติโพธิ, ดร.เจิม ศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอมจตุพร พรหมพันธุ์, ทนายนกเขา, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม, พิชิต ไชยมงคล,สาวิทย์ แก้วหวาน, ประสาร มฤคพิทักษ์, ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว), แซมดิน เลิศบุศย์สมชาย แสวงการ, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ชาญชัย อิสระเสนารักษ์, ปรีดา เตียสุวรรณ์ และฯลฯหลายท่าน รู้จักมักคุ้น หลายท่านได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยพบสรุป ท่านเหล่านั้น มีที่มาเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดและทำเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างแต่ที่สุดแล้ว หนีหลักธรรมชาติไม่พ้นธรรมะ คือธรรมชาติ สิ่งจัดสรรมนุษย์คือธรรมชาติ รวงข้าว เมื่อแก่ ย่อมค้อมรวงบัว เกิดจากโคลนตม เมื่อพ้นน้ำ ย่อมปลดเปลื้องจากโคลนตม พิสุทธิ์แทนใจ บูชาธรรมคณะบุคคลเหล่านั้น ก็ประมาณนี้ …..ในความต่างที่มา ที่คิด ที่ทำ ในความเป็นบัณฑิตแห่งธาตุคน ที่สุดแล้ว คนธาตุบัณฑิตย่อมไหลรวมในหมู่บัณฑิตด้วยกันจะเรียกเขาเหล่านั้นว่าอะไรดีล่ะ?เพราะมีทั้ง พันธมิตรฯ ทั้ง กปปส. ทั้งกลุ่มหลอมรวม ทั้งเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ทั้งกลุ่มสันติอโศกเรียกคณะ “ปชพช.” ดีมั้ย ….เป็นอักษรรวมความเพื่อให้ “เรียกง่าย-จำง่าย”ปชพช. “คณะปัญญาชนพิทักษ์ชาติ” ดูเหมาะสมกับสิ่งที่พวกเขาทำเมื่อวาน (๑๘ ธค.๖๗)คือ คณะปัญญาชนพากันเดินไปที่ “สำนักงานคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ “​(ป.ป.ช.​)ไม่ได้ไปก่อกวน ก้าวร้าว เยี่ยงอันธพาลเมือง แต่ไปเยี่ยงบัณฑิต กระทำเยี่ยงบัณฑิตเพื่อยื่นหนังสือให้ป.ป.ช.ตระหนักคิด กรณี ป.ป.ช.​ รับพิจารณาข้อกล่าวหา….“นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์” อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่เรือนจำ แพทย์รพ.ราชทัณฑ์ และรพ.ตำรวจ รวม ๑๒ คนส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ​ให้ป.ป.ช.เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ ในหนังสือ มี ๔ ข้อ๑.คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่า มีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าวและยังไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาตให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจซึ่งพิธีการทั้งหมดนี้ ขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวงทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไร ก็ไม่ได้รับจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตช่วยเหลือกันโดยมิชอบส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน๒.คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้าง นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่ง เดินขึ้นบันได อาบน้ำ แต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้แต่ปรากฏว่า หลังการพักโทษ นักโทษกลับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่าง จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าการพักโทษมาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ดังนั้น จึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย๓.เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายไทยพยายามปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชันเป็นพิเศษแต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบเกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่งครัดปล่อยให้กระบวนการทุจริต ตัดทอนโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสานเป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา๔.เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ ๒ ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และหัวหน้าขบวนการ ก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้ แทนที่จะยอมรับโทษกลับหลีกเลี่ยง แสดงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุดยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วยถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ“นี่คือหายนะที่เห็นได้ชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝาก ป.ป.ช.ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง”ขณะเดียวกัน ​”คณะปชพช.” ยังบอกว่า….จะยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ทั้ง ​”พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง” ​รมว.ยุติธรรม และ “​นางพงษ์สวาท นีละโยธิน” ปลัดฯ ยุติธรรม เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​อาจารย์ “แก้วสรร อติโพธิ” อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์และรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อหน้าเลขาฯ ป.ป.ช.ว่า“มั่นใจในการทำงาน ป.ป.ช.และคิดว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูก-ที่ควร​ จึงขอให้เดินหน้าเต็มที่​และคิดว่าจะใช้เวลาไม่นานพร้อมขอให้แพทย์ที่รักษานายทักษิณออกมาพูด โดยขอให้เอาตัวการจริงๆ มาลงโทษ​หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับนายทักษิณ คำตอบในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังและหากไม่มีการขังตามหมายต้องออกหมายใหม่ กลับไปเข้าคุกเป็นอำนาจ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง” ที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กำลังจะไปร้อง ซึ่งศาลสามารถเรียกสำนวนจากป.ป.ช.ไปดูและวินิจฉัยได้“จุดสำคัญ ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยของป.ป.ช.เพราะคดีนี้ เป็นคดีเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นายทักษิณ​ เตรียมตัวได้​”อาจารย์แก้วสรร ยังสัมโมทนียกถาว่า “หากป.ป.ช.ทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง จะยอมกราบเลย”“จตุพร พรหมพันธุ์” อดีตแกนนำนปช.ผู้พ้นขอบเหวคืนสู่ฟากฝั่ง กล่าวว่า“มาให้กำลังใจป.ป.ช.ทั้งมีความไม่สบายใจในอนาคต เพราะคดีของนายทักษิณ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้มูลเองวันนี้มาด้วยความหวังในการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.อย่างตรงไปตรงมา ในจำนวนผู้ที่ถูกตั้งองค์คณะไต่สวน ๑๒ คนนี้ ใครไม่ผิด คือไม่ผิด ไม่ได้ต้องการมาทำให้ “ดำเป็นขาว- ขาวเป็นดำ” แต่ต้องการมาให้ “ถูกเป็นถูก-ผิดเป็นผิด, ดีเป็นดี- ชั่วเป็นชั่ว”ยอมรับว่าเรื่องการไต่สวน วันนี้ “ยังไม่ไว้ใจป.ป.ช.” จนกว่าจะได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้ว และได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตถึงวันนั้น ผมและคณะจะมาขอบคุณอีกครั้งขณะนี้ เป็นที่ประจักษ์ นายทักษิณไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช.ไม่ต้องการเห็นขนมจีน….”ครับ….ผมก็เกรงว่า คุณจตุพรจะเห็นแต่ “ขนมจีน” เท่านั้นแหละ ตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา ๕๑ ให้กรอบเวลาไว้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนเองทั้งคณะ ต้องทำให้เสร็จภายใน ๒ ปี ถ้าไม่เสร็จ ขยายเวลาได้อีก ๑ ปีสรุป “รอไปอีก ๓ ปี” กว่าจะเสร็จขั้นไต่สวน!ตอนนี้ ป.ป.ช.ครบวาระ ๓ ท่าน อยู่ช่วงกรรมการสรรหากำลังพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัคร กว่าจะได้ครบ ก็คงกลางปีหน้าโน่นและถ้าถึงขั้นชี้มูลความผิด ต้องเรียก ๑๒ ผู้ถูกกล่าวหามาให้ปากคำ กี่ปีถึงครบ ๑๒ ปากล่ะ ?เอาว่า “๕ ปี” เร็วสุด!ที่อาจารย์แก้วสรรบอก “คิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน” นั้นรออีก ๕-๘ ปี นานมั้ย?เห็นที คณะปชพช.คงต้องทำหน้าที่ “ไม้แยงก้น” ป.ป.ช.เป็นรายการ “ทวงถามรายเดือน” แล้วหละไม่งั้น “กราบป.ป.ช.” ของอาจารย์แก้วสรรสู้ “กราบแผ่นดิน” ของ “พระเจ้ามูลเมือง” ผู้กลับชาติมาเกิดไม่ได้หรอก!เปลว สีเงิน๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    Love
    Like
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 723 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันที่ 18 ธ.ค. 67 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สนามบินน้ำ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตแกนนำเสื้อเหลือง และอดีตแกนนำเสื้อแดงประกอบด้วย นายแก้วสรร อติโพธิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายประพันธ์ คูณมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายแซมดิน เลิศบุศย์ นายเสน่ห์ หงษ์ทอง น.ส.นีรนุช จิตต์สม นายมานพ เกื้อรัตน์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา นายอานนท์ กลิ่นแก้ว นายใจเพชร กล้าจน นายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ คอนเทนต์แนะนำพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางมาทำกิจกรรม พร้อมอ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือให้กำลังใจป.ป.ช. ภายหลังมีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ปมนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ารับการรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้ และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ โดยมีนายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ โดยนายพิชิต​ ได้อ่านแถลงการณ์ ดังนี้​ ข้อ​ 1 คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่ามีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าว และยังไม่ปรากฏ หลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาต ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพิธีการทั้งหมดขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวง ทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไรก็ไม่ได้รับ จึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าขทุจริตช่วยเหลือกัน โดยมิชอบ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน ข้อ​ 2 คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้างว่า​ นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่งเดินขึ้นบันไดอาบน้ำแต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้ แต่ปรากฏว่าหลังการพักโทษ นักโทษกับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่างจึงไม่อาจเชื่อได้ว่า การพักโทษ มาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ ดังนั้นจึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย ข้อ 3 เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายไทยพยายาม ปราบปรามคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นพิเศษ แต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบ เกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่ง ปล่อยให้กระบวนการทุจริตตัดทอน โทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสาน เป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา ข้อ 4 เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​ สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ 2 ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และ หัวหน้ากระบวนการก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้แทนที่จะยอมรับโทษ กับหลีกเลี่ยงแสงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุด ยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วย ถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ พร้อมกับย้ำว่านี่คือหายนะ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝากปปช ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง​ขณะเดียวกัน​ ยังจะมีการยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ ทั้ง​พันตำรวจเอกทวี​ สอดส่อง​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม และ​ นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม​ เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​ จากนั้นนายแก้วสรร กล่าวว่า ตนก็รู้สึกดีใจที่ ป.ป.ช.มีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้นก็จะหาว่าพวกเรามาบีบบังคับแล้วท่านก็คล้อยตามพวกเรา โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น ในฐานะนักกฎหมาย และเคยตรวจสอบยึดทรัพย์นายทักษิณมาแล้ว ก็อยากจะบอกว่างานนี้ทั้งหลักฐานและข้อกฎหมายมันชัดเจนเห็นตรงกันว่ามีมูล และ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่มาแล้ว ในฐานะที่ตนเคยตรวจสอบมาพออ่านเกมออก งานนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจมีหลักฐานว่าป่วยจริงก็แค่เอามาให้ ป.ป.ช. ซึ่งก็จะไม่มามาถึงวันนี้แน่นอน แต่การที่กลบหลักฐาน ไม่ยอมให้หลักฐานอะไรเลย รวมถึง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เสรีพิศุทธ์ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย บอกว่าเห็นนายทักษิณนั่งยิ้มกินข้าวเหนียวมะม่วง แถมออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ใส่ปลอกคอแค่พักเดียว ก็เดินไปทั่วประเทศ เพียงเท่านี้ก็มีมูลชัดเจนแล้วว่าคุณไม่ยอมให้ความร่วมมือ นายแก้วสรร กล่าวว่า ดังนั้นวันนี้ตนมั่นใจใน ป.ป.ช. ว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูกที่ควร งานนี้ไม่ใช่งานการเมือง แต่เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สร้างขึ้นมา วันนี้ ป.ป.ช.กำลังเจอกับกระบวนการทุจริตแห่งชาติ เพราะฉะนั้นกำลังใจจึงสำคัญ ตนและประชาชนขอให้ท่านเดินหน้าเต็มที่ ใครไม่ผิดก็ปล่อยเขาไป แต่ใครที่เป็นตัวการจริงๆ และให้ความเห็นว่าหากนายทักษิณอยู่เรือนจำต้องต้องตายแน่ ถามว่ามีหรือไม่ และหมอคนนั้นคือใคร ขอให้นำหลักฐานมา เพราะฉะนั้นนับแต่นี้ต่อไปเมื่อไต่สวนคดี สิ่งที่เราจะเห็นคืออำนาจเด็ดขาด หากไม่ให้เอกสาร ไม่ให้ปากคำจะต้องติดคุก แค่ถามว่าป่วยจริงไหม ใครเกี่ยวข้อง ใครให้ความเห็นเท่านั้น เรื่องจะไม่ช้าแน่นอน เมื่อตรวจสอบเพียงพอแล้วต้องสรุปข้อกล่าวหาส่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ใครเห็นว่าไม่ทุจริตก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา แต่ใครที่นั่งเงียบๆ แล้วหลักฐานไปถึง ขอให้เรียกเข้ามาตั้งข้อหาเพิ่ม จากนั้นแจ้งข้อหาให้มีการต่อสู้ เชื่อว่างานนี้จะไม่นาน นายแก้วสรร กล่าวว่า ส่วนที่หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรกับนายทักษิณ ในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังแล้วไม่มีการขังตามหมาย ก็ต้องออกหมายใหม่ เพื่อให้กลับไปเข้าคุก เป็นอำนาจ ของศาลคดีอาญาทางการเมือง ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอผลคดีนี้ ที่เป็นคดีของเจ้าหน้าที่ว่าปล่อยตัวให้ไปรักษาถูกต้องหรือไม่ และมีใครทุจริตหรือไม่ ส่วนการขังที่ไม่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะมีคนทุจริตกี่คนหรือทุจริตหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยว ดังนั้นนายทักษิณเตรียมตัวได้ ด้านนายจตุพร กล่าวว่า วันนี้มาให้กำลังใจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบ เพราะนายทักษิณไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช. ส่วนเรื่องเวชระเบียน หากโรงพยาบาลตำรวจไม่ให้ ป.ป.ช.ต้องดำเนินคดีตั้งแต่ ผบ.ตร. โรงพยาบาลตำรวจ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้การทำการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ทำให้แผ่นดินนี้สูงขึ้นเยอะ ณ วันนี้เรามาด้วยความหวัง และให้กำลังใจ ป.ป.ช.ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เจ้าหน้าที่ในจำนวน 12 คนนี้ ถ้าใครไม่ผิดก็คือไม่ผิด แต่ถ้าใครผิดก็ว่าตามผิด วันนี้ไม่ได้ต้องการมาทำให้ดำเป็นขาว หรือขาวเป็นดำ แต่ต้องการมาทำให้ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด ดีเป็นดี ชั่วเป็นชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะมีความหวังได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตนฝากไปถึงเลขา ป.ป.ช.ตนวาดหวังว่า ป.ป.ช.จะทำหน้าที่ แต่ก็ยังไม่ไว้ใจการไต่สวน จนกว่าจะมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยแล้วว่าได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ส่วน นพ.วรงค์ กล่าวว่า การพักโทษกรณีพิเศษในช่วง 6 เดือนหลัง ถือว่านักโทษอายุเกิน 70 ปีต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และนักโทษคนนี้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสังคม หรือโอกาสที่จะทำผิดซ้ำนั้นมีน้อยมาก ถามว่าแล้ววันนี้เป็นอย่างไร ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสังคม สังคมจะกลียุคและฆ่ากันตาย ดังนั้น ป.ป.ช.ต้องรีบดำเนินการ และยืนยันว่าการพักโทษกรณีนี้ไม่ได้ไปใช้บั้นปลายชีวิตกับครอบครัว ทั้งนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่อิสระอย่างแท้จริง ต้องตรวจสอบและถ่วงดุล เพราะสภาฯทำหน้าที่ไม่ได้ จึงต้องมาอาศัย ป.ป.ช. เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน เพื่อให้ประเทศอยู่ได้และประชาธิปไตยอยู่รอด ถ้า ป.ป.ช.ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ และ ป.ป.ช.ก็จะไม่มีอีกต่อไป ขณะที่เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจในวันนี้ ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งองค์คณะได้ตั้งไต่สวนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ในการดำเนินการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มีมติค่อนข้างชัดเจนว่า หากไต่สวนพบบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ก็ให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปด้วย ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าเราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามความคาดหวังของประชาชน และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าในส่วนของ ป.ป.ช. เราทำหน้าที่ไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานตามพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นในบางเรื่องอาจจะไม่ตรงตามใจที่ประชาชนรับทราบข้อมูลจากสื่อโซเชียลต่างๆ เพราะการพิจารณาต้องดูพยานหลักฐานเป็นหลัก และพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเป็นเสาหลักในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองต่อไป
    วันที่ 18 ธ.ค. 67 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สนามบินน้ำ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตแกนนำเสื้อเหลือง และอดีตแกนนำเสื้อแดงประกอบด้วย นายแก้วสรร อติโพธิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายประพันธ์ คูณมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายแซมดิน เลิศบุศย์ นายเสน่ห์ หงษ์ทอง น.ส.นีรนุช จิตต์สม นายมานพ เกื้อรัตน์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา นายอานนท์ กลิ่นแก้ว นายใจเพชร กล้าจน นายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ คอนเทนต์แนะนำพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางมาทำกิจกรรม พร้อมอ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือให้กำลังใจป.ป.ช. ภายหลังมีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ปมนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ารับการรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้ และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ โดยมีนายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ โดยนายพิชิต​ ได้อ่านแถลงการณ์ ดังนี้​ ข้อ​ 1 คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่ามีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าว และยังไม่ปรากฏ หลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาต ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพิธีการทั้งหมดขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวง ทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไรก็ไม่ได้รับ จึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าขทุจริตช่วยเหลือกัน โดยมิชอบ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน ข้อ​ 2 คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้างว่า​ นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่งเดินขึ้นบันไดอาบน้ำแต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้ แต่ปรากฏว่าหลังการพักโทษ นักโทษกับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่างจึงไม่อาจเชื่อได้ว่า การพักโทษ มาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ ดังนั้นจึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย ข้อ 3 เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายไทยพยายาม ปราบปรามคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นพิเศษ แต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบ เกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่ง ปล่อยให้กระบวนการทุจริตตัดทอน โทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสาน เป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา ข้อ 4 เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​ สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ 2 ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และ หัวหน้ากระบวนการก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้แทนที่จะยอมรับโทษ กับหลีกเลี่ยงแสงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุด ยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วย ถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ พร้อมกับย้ำว่านี่คือหายนะ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝากปปช ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง​ขณะเดียวกัน​ ยังจะมีการยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ ทั้ง​พันตำรวจเอกทวี​ สอดส่อง​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม และ​ นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม​ เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​ จากนั้นนายแก้วสรร กล่าวว่า ตนก็รู้สึกดีใจที่ ป.ป.ช.มีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้นก็จะหาว่าพวกเรามาบีบบังคับแล้วท่านก็คล้อยตามพวกเรา โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น ในฐานะนักกฎหมาย และเคยตรวจสอบยึดทรัพย์นายทักษิณมาแล้ว ก็อยากจะบอกว่างานนี้ทั้งหลักฐานและข้อกฎหมายมันชัดเจนเห็นตรงกันว่ามีมูล และ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่มาแล้ว ในฐานะที่ตนเคยตรวจสอบมาพออ่านเกมออก งานนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจมีหลักฐานว่าป่วยจริงก็แค่เอามาให้ ป.ป.ช. ซึ่งก็จะไม่มามาถึงวันนี้แน่นอน แต่การที่กลบหลักฐาน ไม่ยอมให้หลักฐานอะไรเลย รวมถึง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เสรีพิศุทธ์ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย บอกว่าเห็นนายทักษิณนั่งยิ้มกินข้าวเหนียวมะม่วง แถมออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ใส่ปลอกคอแค่พักเดียว ก็เดินไปทั่วประเทศ เพียงเท่านี้ก็มีมูลชัดเจนแล้วว่าคุณไม่ยอมให้ความร่วมมือ นายแก้วสรร กล่าวว่า ดังนั้นวันนี้ตนมั่นใจใน ป.ป.ช. ว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูกที่ควร งานนี้ไม่ใช่งานการเมือง แต่เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สร้างขึ้นมา วันนี้ ป.ป.ช.กำลังเจอกับกระบวนการทุจริตแห่งชาติ เพราะฉะนั้นกำลังใจจึงสำคัญ ตนและประชาชนขอให้ท่านเดินหน้าเต็มที่ ใครไม่ผิดก็ปล่อยเขาไป แต่ใครที่เป็นตัวการจริงๆ และให้ความเห็นว่าหากนายทักษิณอยู่เรือนจำต้องต้องตายแน่ ถามว่ามีหรือไม่ และหมอคนนั้นคือใคร ขอให้นำหลักฐานมา เพราะฉะนั้นนับแต่นี้ต่อไปเมื่อไต่สวนคดี สิ่งที่เราจะเห็นคืออำนาจเด็ดขาด หากไม่ให้เอกสาร ไม่ให้ปากคำจะต้องติดคุก แค่ถามว่าป่วยจริงไหม ใครเกี่ยวข้อง ใครให้ความเห็นเท่านั้น เรื่องจะไม่ช้าแน่นอน เมื่อตรวจสอบเพียงพอแล้วต้องสรุปข้อกล่าวหาส่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ใครเห็นว่าไม่ทุจริตก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา แต่ใครที่นั่งเงียบๆ แล้วหลักฐานไปถึง ขอให้เรียกเข้ามาตั้งข้อหาเพิ่ม จากนั้นแจ้งข้อหาให้มีการต่อสู้ เชื่อว่างานนี้จะไม่นาน นายแก้วสรร กล่าวว่า ส่วนที่หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรกับนายทักษิณ ในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังแล้วไม่มีการขังตามหมาย ก็ต้องออกหมายใหม่ เพื่อให้กลับไปเข้าคุก เป็นอำนาจ ของศาลคดีอาญาทางการเมือง ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอผลคดีนี้ ที่เป็นคดีของเจ้าหน้าที่ว่าปล่อยตัวให้ไปรักษาถูกต้องหรือไม่ และมีใครทุจริตหรือไม่ ส่วนการขังที่ไม่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะมีคนทุจริตกี่คนหรือทุจริตหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยว ดังนั้นนายทักษิณเตรียมตัวได้ ด้านนายจตุพร กล่าวว่า วันนี้มาให้กำลังใจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบ เพราะนายทักษิณไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช. ส่วนเรื่องเวชระเบียน หากโรงพยาบาลตำรวจไม่ให้ ป.ป.ช.ต้องดำเนินคดีตั้งแต่ ผบ.ตร. โรงพยาบาลตำรวจ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้การทำการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ทำให้แผ่นดินนี้สูงขึ้นเยอะ ณ วันนี้เรามาด้วยความหวัง และให้กำลังใจ ป.ป.ช.ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เจ้าหน้าที่ในจำนวน 12 คนนี้ ถ้าใครไม่ผิดก็คือไม่ผิด แต่ถ้าใครผิดก็ว่าตามผิด วันนี้ไม่ได้ต้องการมาทำให้ดำเป็นขาว หรือขาวเป็นดำ แต่ต้องการมาทำให้ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด ดีเป็นดี ชั่วเป็นชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะมีความหวังได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตนฝากไปถึงเลขา ป.ป.ช.ตนวาดหวังว่า ป.ป.ช.จะทำหน้าที่ แต่ก็ยังไม่ไว้ใจการไต่สวน จนกว่าจะมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยแล้วว่าได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ส่วน นพ.วรงค์ กล่าวว่า การพักโทษกรณีพิเศษในช่วง 6 เดือนหลัง ถือว่านักโทษอายุเกิน 70 ปีต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และนักโทษคนนี้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสังคม หรือโอกาสที่จะทำผิดซ้ำนั้นมีน้อยมาก ถามว่าแล้ววันนี้เป็นอย่างไร ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสังคม สังคมจะกลียุคและฆ่ากันตาย ดังนั้น ป.ป.ช.ต้องรีบดำเนินการ และยืนยันว่าการพักโทษกรณีนี้ไม่ได้ไปใช้บั้นปลายชีวิตกับครอบครัว ทั้งนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่อิสระอย่างแท้จริง ต้องตรวจสอบและถ่วงดุล เพราะสภาฯทำหน้าที่ไม่ได้ จึงต้องมาอาศัย ป.ป.ช. เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน เพื่อให้ประเทศอยู่ได้และประชาธิปไตยอยู่รอด ถ้า ป.ป.ช.ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ และ ป.ป.ช.ก็จะไม่มีอีกต่อไป ขณะที่เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจในวันนี้ ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งองค์คณะได้ตั้งไต่สวนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ในการดำเนินการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มีมติค่อนข้างชัดเจนว่า หากไต่สวนพบบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ก็ให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปด้วย ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าเราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามความคาดหวังของประชาชน และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าในส่วนของ ป.ป.ช. เราทำหน้าที่ไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานตามพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นในบางเรื่องอาจจะไม่ตรงตามใจที่ประชาชนรับทราบข้อมูลจากสื่อโซเชียลต่างๆ เพราะการพิจารณาต้องดูพยานหลักฐานเป็นหลัก และพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเป็นเสาหลักในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองต่อไป
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 571 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดชื่อ 12 ข้าราชการ-จนท.รัฐ
    เอื้อ "ทักษิณ" ป่วยทิพย์ที่ชั้น 14
    .
    วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหานายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้น แล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป
    .
    สำหรับ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 12 ราย ที่จะถูกดำเนินไต่สวนกรณีนี้ ประกอบด้วย
    .
    1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
    2. นายสิทธิ สุธีวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
    3. นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
    4. นายนัสที ทองปลาด ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ
    6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ
    7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์
    8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์
    9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์ แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่
    11. นายสัญญา วงค์หินกอง พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    .
    Cr : MGR Infographics
    .
    .
    #ข้าราชการ #เจ้าหน้าที่รัฐ #เรือนจำพิเศษ #ทักษิณชินวัตร #ป่วยทิพย์ #ชั้น14
    เปิดชื่อ 12 ข้าราชการ-จนท.รัฐ เอื้อ "ทักษิณ" ป่วยทิพย์ที่ชั้น 14 . วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหานายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้น แล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป . สำหรับ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 12 ราย ที่จะถูกดำเนินไต่สวนกรณีนี้ ประกอบด้วย . 1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 2. นายสิทธิ สุธีวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 3. นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 4. นายนัสที ทองปลาด ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์ แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่ 11. นายสัญญา วงค์หินกอง พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร . Cr : MGR Infographics . . #ข้าราชการ #เจ้าหน้าที่รัฐ #เรือนจำพิเศษ #ทักษิณชินวัตร #ป่วยทิพย์ #ชั้น14
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 704 มุมมอง 0 รีวิว
  • INFO สำนักข่าวอิศรา “:สรุปมติ ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวน ขรก.-จนท.รัฐ 12 ราย คดีเอื้อ'ทักษิณ' ชั้น 14”.ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ขรก.-เจ้าหน้าที่รัฐ 12 ราย กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกทม. โรงพยาบาลตำรวจ กรณีเอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ ชินวัตร' เข้ารักษาตัวห้องพิเศษชั้น 14 เผยชื่อ 'อธิบดี - รองฯ -ผู้บัญชาการเรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล' โดนหมด สำนักข่าวอิศรา จึงนำข้อมูล มานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟิก ดังนี้.อ่านเพิ่มเติมhttps://www.isranews.org/article/infographic/134270-SSSS.htmlhttps://www.isranews.org/.../isra.../134268-investwooas.html
    INFO สำนักข่าวอิศรา “:สรุปมติ ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวน ขรก.-จนท.รัฐ 12 ราย คดีเอื้อ'ทักษิณ' ชั้น 14”.ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ขรก.-เจ้าหน้าที่รัฐ 12 ราย กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกทม. โรงพยาบาลตำรวจ กรณีเอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ ชินวัตร' เข้ารักษาตัวห้องพิเศษชั้น 14 เผยชื่อ 'อธิบดี - รองฯ -ผู้บัญชาการเรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล' โดนหมด สำนักข่าวอิศรา จึงนำข้อมูล มานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟิก ดังนี้.อ่านเพิ่มเติมhttps://www.isranews.org/article/infographic/134270-SSSS.htmlhttps://www.isranews.org/.../isra.../134268-investwooas.html
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 371 มุมมอง 0 รีวิว
  • ป.ป.ช.รับเรื่องคดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ไม่ติดคุก เปิดชื่อ 12 จนท.กรมคุก-รพ.ตำรวจ ไต่สวนชุดใหญ่

    ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติรับเรื่องกรณีอธิบดีราชทัณฑ์-แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ เอื้อประโยชน์นักโทษชายทักษิณ นอนวีไอพีชั้น 14 ไม่ติดคุกจริง เปิด 12 รายชื่ออธิบดี-รองอธิบดี-ผบ.เรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล โดนไต่สวนชุดใหญ่

    วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังราย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบิดาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ

    โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป

    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้กรรมการ ป.ป.ช. ทุกคนเป็นองค์คณะไต่สวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 ราย กรณีเอื้อประโยชน์ นายทักษิณ เข้าพักรักษาตัวที่ ห้องพิเศษชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ประกอบด้วย 

    1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์   อธิบดีกรมราชทัณฑ์

    2. นายสิทธิ สุธีวงศ์  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์

    3. นายชาญ วชิรเดช  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 

    4. นายนัสที ทองปลาด  ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

    5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ  เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

    6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์  นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

    7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี  นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์

    8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ  แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์

    9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข  ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

    10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์  แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่

    11. นายสัญญา วงค์หินกอง  พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

    12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน  พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 

    ทั้งนี้ การตั้งองค์คณะไต่สวนคดีชั้น 14 ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นการไต่สวนคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย ยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน ถ้าพบว่ามีมูลจึงจะมีการแจ้งข้อกล่าวหา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง จากนั้นจึงจะสรุปสำนวน ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอีกครั้ง เพราะฉะนั้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 12 ราย ตามรายชื่อข้างต้น ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

    สำหรับกรณีนี้ ปรากฏเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ป.ป.ช.ได้ทำการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบที่ชี้ว่า นายทักษิณ ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น มาให้ ป.ป.ช. พิจารณาประกอบในช่วงเดือน ส.ค.2567 ที่ผ่านมาด้วย

    ขณะที่การตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นมาไต่สวนคดีของ ป.ป.ช. เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ที่ระบุว่า ในการไต่สวนเรื่องใดที่เป็นเรื่องสำคัญมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง หรือเป็นกรณีมีการไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเอง หรือจะแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่าสองคนและบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวนก็ได้
    คณะกรรมการไต่สวนตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพนักงานไต่สวนหรือพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือคณะกรรมการไต่สวนในการดำเนินการตามหน้าที่ได้ตามที่เห็นสมควร
    ............
    Sondhi X
    ป.ป.ช.รับเรื่องคดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ไม่ติดคุก เปิดชื่อ 12 จนท.กรมคุก-รพ.ตำรวจ ไต่สวนชุดใหญ่ ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติรับเรื่องกรณีอธิบดีราชทัณฑ์-แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ เอื้อประโยชน์นักโทษชายทักษิณ นอนวีไอพีชั้น 14 ไม่ติดคุกจริง เปิด 12 รายชื่ออธิบดี-รองอธิบดี-ผบ.เรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล โดนไต่สวนชุดใหญ่ วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังราย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบิดาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้กรรมการ ป.ป.ช. ทุกคนเป็นองค์คณะไต่สวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 ราย กรณีเอื้อประโยชน์ นายทักษิณ เข้าพักรักษาตัวที่ ห้องพิเศษชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ประกอบด้วย  1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์   อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 2. นายสิทธิ สุธีวงศ์  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 3. นายชาญ วชิรเดช  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์  4. นายนัสที ทองปลาด  ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ  เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์  นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี  นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ  แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข  ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์  แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่ 11. นายสัญญา วงค์หินกอง  พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน  พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร  ทั้งนี้ การตั้งองค์คณะไต่สวนคดีชั้น 14 ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นการไต่สวนคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย ยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน ถ้าพบว่ามีมูลจึงจะมีการแจ้งข้อกล่าวหา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง จากนั้นจึงจะสรุปสำนวน ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอีกครั้ง เพราะฉะนั้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 12 ราย ตามรายชื่อข้างต้น ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่  สำหรับกรณีนี้ ปรากฏเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ป.ป.ช.ได้ทำการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบที่ชี้ว่า นายทักษิณ ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น มาให้ ป.ป.ช. พิจารณาประกอบในช่วงเดือน ส.ค.2567 ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่การตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นมาไต่สวนคดีของ ป.ป.ช. เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ที่ระบุว่า ในการไต่สวนเรื่องใดที่เป็นเรื่องสำคัญมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง หรือเป็นกรณีมีการไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเอง หรือจะแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่าสองคนและบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวนก็ได้ คณะกรรมการไต่สวนตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพนักงานไต่สวนหรือพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือคณะกรรมการไต่สวนในการดำเนินการตามหน้าที่ได้ตามที่เห็นสมควร ............ Sondhi X
    Like
    Haha
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 855 มุมมอง 0 รีวิว
  • ป.ป.ช.มีมติรับพิจารณาปม 12 เจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นคณะกรรมการไต่สวน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120744

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ป.ป.ช.มีมติรับพิจารณาปม 12 เจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นคณะกรรมการไต่สวน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120744 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 821 มุมมอง 0 รีวิว
  • สภ.กันทรลักษ์ แจ้ง 4 ข้อหา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล “ร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เบื้องต้น ทั้ง 4 ยังคงปฏิเสธ

    จากกรณี ชายวัย 31 ปี เสาหลักของครอบครัวหักดิบเลิกเหล้าจนเกิดอาการช็อก ญาติส่งตัวเข้ารักษาที่ รพ.กันทรลักษ์ ถูกจนท.โรงพยาบาลรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ผลชันสูตร รพ.ตำรวจระบุชัดผู้ตายสมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกด้วยของแข็ง ขณะทาง รพ.เกิดเหตุอ้างอยู่ระหว่างสืบหาข้อเท็จจริง ตามที่ได้รายงานข่าวไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น

    ล่าสุด วันนี้ 13 ธ.ค. เจ้าหน้าที่ รพ.กันทรลักษ์ และพยาบาลหญิง 2 คน รวม 4 คน ได้เข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่ง พันตำรวจโท สังวร วันทะวี รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.กันทรลักษ์ ที่ได้รับรายงานการชันสูตรพลิกศพของนายสะอาด ผู้ตาย จากสถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจ รายงานที่ 05223/2567 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2567 “สมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง” จึงเห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นผลโดยตรง มาจากการกระทำดังกล่าวที่ได้ตั้งข้อหาหนัก แก่ผู้ต้องสงสัย ทั้ง 4 คน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000119685

    #MGROnline #โรงพยาบาลกันทรลักษ์
    สภ.กันทรลักษ์ แจ้ง 4 ข้อหา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล “ร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เบื้องต้น ทั้ง 4 ยังคงปฏิเสธ • จากกรณี ชายวัย 31 ปี เสาหลักของครอบครัวหักดิบเลิกเหล้าจนเกิดอาการช็อก ญาติส่งตัวเข้ารักษาที่ รพ.กันทรลักษ์ ถูกจนท.โรงพยาบาลรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ผลชันสูตร รพ.ตำรวจระบุชัดผู้ตายสมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกด้วยของแข็ง ขณะทาง รพ.เกิดเหตุอ้างอยู่ระหว่างสืบหาข้อเท็จจริง ตามที่ได้รายงานข่าวไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น • ล่าสุด วันนี้ 13 ธ.ค. เจ้าหน้าที่ รพ.กันทรลักษ์ และพยาบาลหญิง 2 คน รวม 4 คน ได้เข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่ง พันตำรวจโท สังวร วันทะวี รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.กันทรลักษ์ ที่ได้รับรายงานการชันสูตรพลิกศพของนายสะอาด ผู้ตาย จากสถาบันนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจ รายงานที่ 05223/2567 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2567 “สมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง” จึงเห็นว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นผลโดยตรง มาจากการกระทำดังกล่าวที่ได้ตั้งข้อหาหนัก แก่ผู้ต้องสงสัย ทั้ง 4 คน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000119685 • #MGROnline #โรงพยาบาลกันทรลักษ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 198 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศรีสะเกษ- พ่อวอนขอความเป็นธรรม ลูกชายวัย 31 ปี เสาหลักของครอบครัวหักดิบเลิกเหล้าจนเกิดอาการช็อก ญาติส่งตัวเข้ารักษาที่ รพ.กันทรลักษ์ ถูกจนท.โรงพยาบาลรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ผลชันสูตร รพ.ตำรวจ ระบุชัดผู้ตายสมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง ขณะทางรพ.เกิดเหตุ อ้างอยู่ระหว่างสืบหาข้อเท็จจริง

    วันนี้ ( 10 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 นายสะอาด บุญลา อายุ 31 ปี ชาวตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่โรงพยาบาลกันทรลักษ์ ทำให้ทางญาติเกิดความเคลือบแคลงใจ นำไปสู่การนำร่างของนายสะอาด ผู้ตาย ไปชันสูตร ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ โดยผลชันสูตรสาเหตุของการตาย สันนิษฐานว่า สมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง ทำให้ทางครอบครัวของผู้ตาย มั่นใจว่า นายสะอาด ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต นั้น

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/local/detail/9670000118670

    #MGROnline #โรงพยาบาลกันทรลักษ์ #จังหวัดศรีสะเกษ
    ศรีสะเกษ- พ่อวอนขอความเป็นธรรม ลูกชายวัย 31 ปี เสาหลักของครอบครัวหักดิบเลิกเหล้าจนเกิดอาการช็อก ญาติส่งตัวเข้ารักษาที่ รพ.กันทรลักษ์ ถูกจนท.โรงพยาบาลรุมทำร้ายจนเสียชีวิต ผลชันสูตร รพ.ตำรวจ ระบุชัดผู้ตายสมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง ขณะทางรพ.เกิดเหตุ อ้างอยู่ระหว่างสืบหาข้อเท็จจริง • วันนี้ ( 10 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2567 นายสะอาด บุญลา อายุ 31 ปี ชาวตำบลขนุน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่โรงพยาบาลกันทรลักษ์ ทำให้ทางญาติเกิดความเคลือบแคลงใจ นำไปสู่การนำร่างของนายสะอาด ผู้ตาย ไปชันสูตร ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ โดยผลชันสูตรสาเหตุของการตาย สันนิษฐานว่า สมองได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแทกของแข็ง ทำให้ทางครอบครัวของผู้ตาย มั่นใจว่า นายสะอาด ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต นั้น • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9670000118670 • #MGROnline #โรงพยาบาลกันทรลักษ์ #จังหวัดศรีสะเกษ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 250 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช.
    .
    ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย
    .
    สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ
    .
    ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ
    .
    ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6
    .
    สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
    .
    ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป
    ..............
    Sondhi X
    ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช. . ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย . สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ . ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ . ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 . สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ . ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป .............. Sondhi X
    Sad
    Like
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1882 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17 พ.ย. 2567 – นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง จับหมาไปขังได้แล้ว!!! ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้ถาม เห็นตัวแทนราชทัณฑ์ตอบคณะกรรมาธิการสภาว่า รับตัวทักษิณเข้าเรือนจำแล้ว ก็ส่งตัวไป รพ.ตำรวจเลย โดยอธิบายว่าทางพยาบาลได้โทรศัพท์ปรึกษากับหมอของเรือนจำแล้ว ซึ่งทางกรรมาธิการตรวจสอบข้อมูลแล้วบอกว่า ทั้งหมดนี้ทักษิณใช้เวลาอยู่ในเรือนจำแค่ ๔ นาทีเท่านั้นตรงจุดนี้ผมข้องใจจริงๆครับ อาจารย์ค้นกฎกระทรวงว่าด้วยการส่งตัวผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๓ แล้ว เขาเปิดให้ทำกันง่ายๆอย่างนี้หรือตอบ ไม่จริงครับ ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงระบุชัดเจนว่า นักโทษต้องรับการตรวจทางการแพทย์ก่อน“ข้อ ๒ เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานเรือนจำว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย ให้ส่งตัวผู้ต้องขังคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล ของเรือนจำ” เมื่อไม่มีการตรวจเลยเช่นนี้ นี่จึงเป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อแรก ที่ ปปช.จะขอเวชระเบียน ขอใบส่งตัวอะไรของหมอเรือนจำนั่น มันก็ไม่มีหรอกครับถาม ตามกฎกระทรวงนี้ ตรวจแล้วต้องทำยังไงต่อครับตอบ กฎกระทรวงกำหนดว่า ถ้าตรวจแล้วฝ่ายการแพทย์ของเรือนจำรายงานว่า รักษาในโรงพยาบาลเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดำเนินการดังนี้“(๑) กรณีผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาต ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพาผู้ต้องขังคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน(๒) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ต้องขังคนนั้นไว้รักษา ให้เจ้าพนักงาน เรือนจำซึ่งพาผู้ต้องขังคนนั้นไปตรวจรักษาขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์ผู้ทำาการตรวจรักษา ประกอบการจัดทำรายงานเสนอผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา ถ้าผู้บัญชาการเรือนจำเห็นด้วยกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้มีคำสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา”ถาม อ้าว..ตามพฤติการณ์จริงที่ปรากฏนั้น เมื่อส่งทักษิณไปถึงโรงพยาบาลตำรวจแล้ว เขาก็รับตัวไว้ ยาวไป ๖ เดือนเลยนี่ครับ โดยไม่มีการสื่อสารให้ทางราชทัณฑ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตเลย จะอยู่จริงหรือไม่นานแค่ไหนก็ไม่มีใครยืนยันได้ตอบ นี่เป็นการละเว้นหน้าที่อย่างชัดเจนเป็นข้อที่ ๒ ดังนั้น ปปช.จะไปขอเวชระเบียน ใบส่งตัว ใบรับตัวพร้อมบันทึกการตรวจร่างกายอะไรก็ไม่มีหรอกครับ ขั้นตอนอนุญาตของ ผบ.เรือนจำข้อนี้สำคัญมากขาดไม่ได้ กฎกระทรวงระบุชัดว่า“กรณีผู้บัญชาการเรือนจำไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้เจ้าพนักงาน นำตัวผู้ต้องขังคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในเรือนจำ”ตอบ กฎกระทรวงระบุไว้รัดกุมครับว่า“เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้จัดเจ้าพนักงานเรือนจำอย่างน้อยจำนวนสองคนควบคุมผู้ต้องขังป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายใน เขตที่กำหนดให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยม และเวลา เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำใช้สิทธิของผู้ต้องขังตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไปรับประทานอาหารตามที่สถานที่รักษา ๓ จัดให้”ถาม เห็นพลตำรวจเอกเสรี เตมียเวส ท่านให้การต่อ ปปช.ว่า เมื่อไปเยี่ยมทักษิณสองครั้งนั้น ท่านไม่เห็นมีพนักงานอยู่ประจำเลย ห้องพักก็เป็นห้องพิเศษ ชั้น ๑๔ ทั้งชั้นเห็นเปิดอยู่ห้องเดียว อาหารการกินสมบูรณ์มีข้าวเหนียวมะม่วงเลี้ยงแขกด้วยนะครับตอบ นี่ก็เป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อที่สามครับ พวกเขาทำจน รพ.ตำรวจกลายเป็นโรงแรมไปเลย มีนักโทษคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นได้รับบริการอย่างนี้ถาม พอส่ง โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ในกฎกระทรวงไม่มีการตรวจสอบอะไรอีกเลยหรือครับ อยู่นอกเรือนจำตั้ง ๖ เดือน แล้วก็พักโทษไปเลย ง่ายๆอย่างนี้เลยหรือตอบ กฎหมายเขากำหนดการตรวจสอบทางบริหารไว้อย่างนี้ครับ“- หากพักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องหากพักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ-หากพักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ”ถาม แล้วเขามีหนังสือและรายงานอย่างที่ว่านี้ไหมครับตอบ รัฐมนตรี บอกว่ามี และได้เห็นผลตรวจ MRI ด้วย ผมเข้าใจได้ว่าเป็นผลการตรวจก่อนผ่าซ่อมเอ็นหัวไหล่เท่านั้น ซึ่งอาการอย่างนี้ผู้สูงอายุเป็นกันทั่วไป ผ่าวันเดียวก็กลับเรือนจำได้แล้ว เอามาอ้างอยู่นอกเรือนจำเป็น ๖ เดือนไม่ได้หรอกครับ รายงานและหลักฐานที่ว่านี้จะมีจริงไหม ถูกต้องหรือไม่ ทั้ง ปปช.และ กมธ ก็ยังไม่มีใครได้มาวิเคราะห์เลยถาม แล้วที่คุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ท่านร้องให้ศาลไต่สวนว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราชทัณฑ์ต้องขอให้ศาลออกคำสั่งทุเลาการลงโทษก่อน จึงจะนอนโรงพยาบาลตำรวจได้ ถ้าไม่ผ่านศาลก็ต้องถือว่าไม่ถูกต้อง ศาลต้องออกหมายจับทักษิณมาขังให้ครบ ๑ ปี นั้น คำร้องนี้ถูกต้องให้ศาลรับวินิจฉัยได้ไหมครับตอบ มาตรานั้น ให้ศาลสั่งได้เมื่อญาติ หรือเรือนจำ ร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นเองว่า จำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก ก็ให้ส่งไปบำบัดรักษานอกคุกได้ แต่กรณีทักษิณนี่ เขาอธิบายว่าเป็นการรักษาตามความจำเป็น ตามอำนาจของราชทัณฑ์ ศาลไม่เกี่ยว จริงๆแล้วกฎกระทรวงน่าจะจำกัดเวลาไว้เลยว่า ถ้าต้องรักษาเกิน ๓๐ วันให้ราชทัณฑ์ไปขอคำสั่งทุเลาการลงโทษ ถ้ากำหนดอย่างนี้ศาลก็จะตรวจสอบได้ตามอำนาจในกฎหมาย โอกาสติดคุกทิพย์ก็จะจำกัดอีกมากถาม แต่เฉพาะปัญหาว่าราชทัณฑ์ทำถูกต้องหรือไม่นี่ มันพอแล้วหรือยังครับที่ ปปช.จะมีมติตั้งข้อกล่าวหาผู้รับผิดชอบว่ากระทำผิดอาญา และมีมติส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจผู้บังคับบัญชา สั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลให้ออกหมายขัง นำตัวนักโทษกลับเข้าคุกด้วยตอบ เห็นเขาบอกให้หมาอยู่ส่วนหมา คนอยู่ส่วนคน ผมว่าเมื่อปล่อยออกมาโดยไม่ชอบชัดเจนจะๆ และยังพองขนอหังการคับบ้านเมืองอยู่นอกกรงอย่างนี้ ก็ควรจับไปขังได้แล้วครับ
    17 พ.ย. 2567 – นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง จับหมาไปขังได้แล้ว!!! ผ่านเว็บไซต์ www.thaipost.net มีเนื้อหาดังนี้ถาม เห็นตัวแทนราชทัณฑ์ตอบคณะกรรมาธิการสภาว่า รับตัวทักษิณเข้าเรือนจำแล้ว ก็ส่งตัวไป รพ.ตำรวจเลย โดยอธิบายว่าทางพยาบาลได้โทรศัพท์ปรึกษากับหมอของเรือนจำแล้ว ซึ่งทางกรรมาธิการตรวจสอบข้อมูลแล้วบอกว่า ทั้งหมดนี้ทักษิณใช้เวลาอยู่ในเรือนจำแค่ ๔ นาทีเท่านั้นตรงจุดนี้ผมข้องใจจริงๆครับ อาจารย์ค้นกฎกระทรวงว่าด้วยการส่งตัวผู้ต้องขัง พ.ศ.๒๕๖๓ แล้ว เขาเปิดให้ทำกันง่ายๆอย่างนี้หรือตอบ ไม่จริงครับ ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงระบุชัดเจนว่า นักโทษต้องรับการตรวจทางการแพทย์ก่อน“ข้อ ๒ เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานเรือนจำว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย ให้ส่งตัวผู้ต้องขังคนนั้นไปรับการตรวจในสถานพยาบาล ของเรือนจำ” เมื่อไม่มีการตรวจเลยเช่นนี้ นี่จึงเป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อแรก ที่ ปปช.จะขอเวชระเบียน ขอใบส่งตัวอะไรของหมอเรือนจำนั่น มันก็ไม่มีหรอกครับถาม ตามกฎกระทรวงนี้ ตรวจแล้วต้องทำยังไงต่อครับตอบ กฎกระทรวงกำหนดว่า ถ้าตรวจแล้วฝ่ายการแพทย์ของเรือนจำรายงานว่า รักษาในโรงพยาบาลเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ดำเนินการดังนี้“(๑) กรณีผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาต ให้เจ้าพนักงานเรือนจำพาผู้ต้องขังคนนั้นไปและกลับในวันเดียวกัน(๒) หากแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษามีความเห็นว่า สมควรรับตัวผู้ต้องขังคนนั้นไว้รักษา ให้เจ้าพนักงาน เรือนจำซึ่งพาผู้ต้องขังคนนั้นไปตรวจรักษาขอหลักฐานและความเห็นของแพทย์ผู้ทำาการตรวจรักษา ประกอบการจัดทำรายงานเสนอผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณา ถ้าผู้บัญชาการเรือนจำเห็นด้วยกับ ความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้มีคำสั่งอนุญาตให้รับตัวไว้รักษา”ถาม อ้าว..ตามพฤติการณ์จริงที่ปรากฏนั้น เมื่อส่งทักษิณไปถึงโรงพยาบาลตำรวจแล้ว เขาก็รับตัวไว้ ยาวไป ๖ เดือนเลยนี่ครับ โดยไม่มีการสื่อสารให้ทางราชทัณฑ์อนุญาตหรือไม่อนุญาตเลย จะอยู่จริงหรือไม่นานแค่ไหนก็ไม่มีใครยืนยันได้ตอบ นี่เป็นการละเว้นหน้าที่อย่างชัดเจนเป็นข้อที่ ๒ ดังนั้น ปปช.จะไปขอเวชระเบียน ใบส่งตัว ใบรับตัวพร้อมบันทึกการตรวจร่างกายอะไรก็ไม่มีหรอกครับ ขั้นตอนอนุญาตของ ผบ.เรือนจำข้อนี้สำคัญมากขาดไม่ได้ กฎกระทรวงระบุชัดว่า“กรณีผู้บัญชาการเรือนจำไม่เห็นด้วยกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษา ให้เจ้าพนักงาน นำตัวผู้ต้องขังคนนั้นกลับเข้ารักษาพยาบาลภายในเรือนจำ”ตอบ กฎกระทรวงระบุไว้รัดกุมครับว่า“เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตให้ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้จัดเจ้าพนักงานเรือนจำอย่างน้อยจำนวนสองคนควบคุมผู้ต้องขังป่วยหนึ่งคนให้อยู่ภายใน เขตที่กำหนดให้เจ้าพนักงานเรือนจำซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังจดบันทึกข้อมูลผู้เข้าเยี่ยม และเวลา เข้าเยี่ยมโดยละเอียด และดูแลให้ผู้เข้าเยี่ยมปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำใช้สิทธิของผู้ต้องขังตามที่ทางราชการจัดให้และห้ามเข้าอยู่ในห้องพักพิเศษแยกจากผู้ป่วยทั่วไปรับประทานอาหารตามที่สถานที่รักษา ๓ จัดให้”ถาม เห็นพลตำรวจเอกเสรี เตมียเวส ท่านให้การต่อ ปปช.ว่า เมื่อไปเยี่ยมทักษิณสองครั้งนั้น ท่านไม่เห็นมีพนักงานอยู่ประจำเลย ห้องพักก็เป็นห้องพิเศษ ชั้น ๑๔ ทั้งชั้นเห็นเปิดอยู่ห้องเดียว อาหารการกินสมบูรณ์มีข้าวเหนียวมะม่วงเลี้ยงแขกด้วยนะครับตอบ นี่ก็เป็นการละเว้นหน้าที่เป็นข้อที่สามครับ พวกเขาทำจน รพ.ตำรวจกลายเป็นโรงแรมไปเลย มีนักโทษคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นได้รับบริการอย่างนี้ถาม พอส่ง โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ในกฎกระทรวงไม่มีการตรวจสอบอะไรอีกเลยหรือครับ อยู่นอกเรือนจำตั้ง ๖ เดือน แล้วก็พักโทษไปเลย ง่ายๆอย่างนี้เลยหรือตอบ กฎหมายเขากำหนดการตรวจสอบทางบริหารไว้อย่างนี้ครับ“- หากพักรักษาตัวเกินกว่าสามสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องหากพักรักษาตัวเกินกว่าหกสิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบ-หากพักรักษาตัวเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากอธิบดี พร้อมกับความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษาและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้รัฐมนตรีทราบ”ถาม แล้วเขามีหนังสือและรายงานอย่างที่ว่านี้ไหมครับตอบ รัฐมนตรี บอกว่ามี และได้เห็นผลตรวจ MRI ด้วย ผมเข้าใจได้ว่าเป็นผลการตรวจก่อนผ่าซ่อมเอ็นหัวไหล่เท่านั้น ซึ่งอาการอย่างนี้ผู้สูงอายุเป็นกันทั่วไป ผ่าวันเดียวก็กลับเรือนจำได้แล้ว เอามาอ้างอยู่นอกเรือนจำเป็น ๖ เดือนไม่ได้หรอกครับ รายงานและหลักฐานที่ว่านี้จะมีจริงไหม ถูกต้องหรือไม่ ทั้ง ปปช.และ กมธ ก็ยังไม่มีใครได้มาวิเคราะห์เลยถาม แล้วที่คุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ท่านร้องให้ศาลไต่สวนว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราชทัณฑ์ต้องขอให้ศาลออกคำสั่งทุเลาการลงโทษก่อน จึงจะนอนโรงพยาบาลตำรวจได้ ถ้าไม่ผ่านศาลก็ต้องถือว่าไม่ถูกต้อง ศาลต้องออกหมายจับทักษิณมาขังให้ครบ ๑ ปี นั้น คำร้องนี้ถูกต้องให้ศาลรับวินิจฉัยได้ไหมครับตอบ มาตรานั้น ให้ศาลสั่งได้เมื่อญาติ หรือเรือนจำ ร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นเองว่า จำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก ก็ให้ส่งไปบำบัดรักษานอกคุกได้ แต่กรณีทักษิณนี่ เขาอธิบายว่าเป็นการรักษาตามความจำเป็น ตามอำนาจของราชทัณฑ์ ศาลไม่เกี่ยว จริงๆแล้วกฎกระทรวงน่าจะจำกัดเวลาไว้เลยว่า ถ้าต้องรักษาเกิน ๓๐ วันให้ราชทัณฑ์ไปขอคำสั่งทุเลาการลงโทษ ถ้ากำหนดอย่างนี้ศาลก็จะตรวจสอบได้ตามอำนาจในกฎหมาย โอกาสติดคุกทิพย์ก็จะจำกัดอีกมากถาม แต่เฉพาะปัญหาว่าราชทัณฑ์ทำถูกต้องหรือไม่นี่ มันพอแล้วหรือยังครับที่ ปปช.จะมีมติตั้งข้อกล่าวหาผู้รับผิดชอบว่ากระทำผิดอาญา และมีมติส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจผู้บังคับบัญชา สั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลให้ออกหมายขัง นำตัวนักโทษกลับเข้าคุกด้วยตอบ เห็นเขาบอกให้หมาอยู่ส่วนหมา คนอยู่ส่วนคน ผมว่าเมื่อปล่อยออกมาโดยไม่ชอบชัดเจนจะๆ และยังพองขนอหังการคับบ้านเมืองอยู่นอกกรงอย่างนี้ ก็ควรจับไปขังได้แล้วครับ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 645 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'กมธ.มั่นคง' กุมขมับ หน่วยงานรัฐตีกรรเชียง ไม่ให้ข้อมูลกรณีชั้น 14
    .
    การสืบสาวราวของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งเป็นที่พักพิงแทนเรือนจำของนายทักษิณ ชินวัตร นั้น ปรากฎว่าคณะกรรมาธิการฯ ใกล้เคียงกับคำว่าคว้าน้ำเหลวเข้าไปทุกที
    .
    ทั้งนี้ เป็นเพราะไม่มีหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล หรือแม้แต่บุคคลสำคัญอย่างพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. รวมไปถึง พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯคาดว่าจะมาให้ข้อมูล สุดท้ายคดีพลิก เนื่องจากไม่ได้มาร่วมประชุมแต่อย่างใด
    .
    นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ ยอมรับว่า ตลอดการทำหน้าที่ของประธาน กมธ. 53 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการน้อยที่สุด และหน่วยงานราชการไม่อยากจะตอบอะไร ทำให้ความสงสัยของสังคมกรณีชั้น 14 ก็คงจะต้องมีอยู่ต่อไป
    .
    "ความจำเป็นที่จะหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อไป ตนเชื่อว่า ศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกฝ่ายต้องมีส่วนช่วยให้กระบวนการยุติธรรมของเราได้รับความเชื่อมั่นอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" นายรังสิมันต์ ระบุ
    .
    ขณะที่ การประชุมคณะกรรมาธิการฯ มีเพียงการมาให้ข้อมูลของอดีตผู้บริหารโรงพยาบาลตำรวจอย่าง พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ แต่คณะกรรมาธิการฯก็ไม่ได้ข้อมูลอะไรมากนัก เนื่องจากอดีตนายตำรวจรายนี้ แจ้งเพียงว่า ช่วงที่ทำหน้าที่เป็นรองนายแพทย์ใหญ่ ไม่ทราบข้อมูลผู้ป่วย เพราะกำลังทำเรื่องเออรี่รีไทร์ และพักร้อนในช่วงนั้น เมื่อมีหนังสือส่งตัวมาให้รักษา เราก็รักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะผู้ป่วยและความเห็นของแพทย์ที่ดูแลด้วย โดยส่วนตัวเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดผ่านกล้อง ไม่ได้เป็นผู้ผ่าตัดนายทักษิณ ส่วนนายทักษิณจะผ่าตัดหรือไม่ ตนเองไม่ทราบ เพราะตอนนั้นลาพักร้อน 3 สัปดาห์ ส่วนการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจจะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับภาวะของโรค ส่วนตัวไม่เคยไปรักษาชั้น 14 ไม่สามารถตอบได้ ขณะที่เรื่องการบันทึกภาพระหว่างรักษาตัว ก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่จากประสบการณ์ที่เคยรักษาผู้ต้องขังนั้น ไม่เคยเห็นต้องบันทึกภาพ
    ..............
    Sondhi X
    'กมธ.มั่นคง' กุมขมับ หน่วยงานรัฐตีกรรเชียง ไม่ให้ข้อมูลกรณีชั้น 14 . การสืบสาวราวของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งเป็นที่พักพิงแทนเรือนจำของนายทักษิณ ชินวัตร นั้น ปรากฎว่าคณะกรรมาธิการฯ ใกล้เคียงกับคำว่าคว้าน้ำเหลวเข้าไปทุกที . ทั้งนี้ เป็นเพราะไม่มีหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล หรือแม้แต่บุคคลสำคัญอย่างพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. รวมไปถึง พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯคาดว่าจะมาให้ข้อมูล สุดท้ายคดีพลิก เนื่องจากไม่ได้มาร่วมประชุมแต่อย่างใด . นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ ยอมรับว่า ตลอดการทำหน้าที่ของประธาน กมธ. 53 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการน้อยที่สุด และหน่วยงานราชการไม่อยากจะตอบอะไร ทำให้ความสงสัยของสังคมกรณีชั้น 14 ก็คงจะต้องมีอยู่ต่อไป . "ความจำเป็นที่จะหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อไป ตนเชื่อว่า ศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกฝ่ายต้องมีส่วนช่วยให้กระบวนการยุติธรรมของเราได้รับความเชื่อมั่นอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" นายรังสิมันต์ ระบุ . ขณะที่ การประชุมคณะกรรมาธิการฯ มีเพียงการมาให้ข้อมูลของอดีตผู้บริหารโรงพยาบาลตำรวจอย่าง พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์ อดีตรองนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ แต่คณะกรรมาธิการฯก็ไม่ได้ข้อมูลอะไรมากนัก เนื่องจากอดีตนายตำรวจรายนี้ แจ้งเพียงว่า ช่วงที่ทำหน้าที่เป็นรองนายแพทย์ใหญ่ ไม่ทราบข้อมูลผู้ป่วย เพราะกำลังทำเรื่องเออรี่รีไทร์ และพักร้อนในช่วงนั้น เมื่อมีหนังสือส่งตัวมาให้รักษา เราก็รักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะผู้ป่วยและความเห็นของแพทย์ที่ดูแลด้วย โดยส่วนตัวเชี่ยวชาญด้านผ่าตัดผ่านกล้อง ไม่ได้เป็นผู้ผ่าตัดนายทักษิณ ส่วนนายทักษิณจะผ่าตัดหรือไม่ ตนเองไม่ทราบ เพราะตอนนั้นลาพักร้อน 3 สัปดาห์ ส่วนการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจจะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับภาวะของโรค ส่วนตัวไม่เคยไปรักษาชั้น 14 ไม่สามารถตอบได้ ขณะที่เรื่องการบันทึกภาพระหว่างรักษาตัว ก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่จากประสบการณ์ที่เคยรักษาผู้ต้องขังนั้น ไม่เคยเห็นต้องบันทึกภาพ .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 988 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถึงเวลาแก้กฏหมายยุบอำนาจ DSI มีไปทำไม
    .
    29 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการรับคดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มีมติรับ "ดิ ไอคอน" เป็นคดีพิเศษ พร้อมเห็นพ้องแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดที่เข้าข่าย พ.ร.ก.กู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่
    .
    ในยุคของทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมไม่เคยมีความโปร่งใส ทำอะไรมีเงื่อนงำตลอด การแก้ตัวปกป้องทักษิณ ชินวัตรพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 ของโรงพยาบาลตำรวจนั้น ก็รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นคนสั่งการให้กับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำเนินการเช่นนี้
    .
    พอมาถึงดีเอสไอแล้ว การที่รับโอนเรื่องดิไอคอนมา ผมยังตั้งคำถามเดิมๆอยู่เหมือนเดิม คือผมบอกว่าดีเอสไอทำงานชิ้นนี้ไม่สำเร็จ ผมฟันธงไว้ตอนนี้ ผมให้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะ หนึ่ง ดีเอสไอไม่มีคน เรื่องนี้เป็นเรื่องการฉ้อโกงประชาชนทั่วประเทศ มีผู้ที่มากล่าวหาเป็นหมื่นคน ดีเอสไอจะมีปัญญาอะไร ถ้าไม่ได้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านช่วยเหลือ บอกว่ายังจะใช้โรงพักรับเรื่องอยู่ แล้วก็ส่งมาให้ดีเอสไอ
    .
    อีกเรื่องหนึ่งที่ดีเอสไอเองก็น้ำท่วมปาก พูดไม่ออก เพราะว่าดีเอสไอนั่งทับขี้ไว้เยอะ ผมถามต่อ ว่า แล้วทำไมคดีเก่าๆ อย่างเช่น FOREX-3D สิบกว่าปีแล้ว จนถึงวันนี้ ท่านผู้ชมเชื่อหรือเปล่าว่ายังทำไม่จบเลย ,คดีการปั่นหุ้น STARK ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ไปเป็นพันๆ คน ไปไหนแล้วก็ไม่รู้,ตอนนี้ คดี THE EARTH ก็เงียบกริบและเรื่องของบางคนเข้าไปโกงบริษัท GGC ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือ ปตท. สร้างสต๊อกลม มูลค่าความเสียหายสองพันกว่าล้าน แล้วพอตำรวจสอบสวนกลางเอาเรื่องนี้เข้าไปทำจวนจะจบแล้ว จะส่งฟ้องอัยการแต่ใครก็ไม่รู้วิ่งเต้นให้ดีเอสไอ ใช้อำนาจทางกฎหมายรับเรื่องนี้ไปให้ดีเอสไอ มาถึงวันนี้ก็ไม่ได้ไปไหน แช่ไว้เฉยๆ
    .
    เราจะมีดีเอสไอไปทำไมแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าดีเอสไอ ผู้ใหญ่ในดีเอสไอบางคน นักการเมืองบางคน มันรับเงินรับทองของผู้ที่ทำผิด พอเงินทองมา การสอบสวนมันก็อ่อนด้อย นี่คือจุดอ่อนของพวกคุณ คุณยุทธนา แพรดำ คุณก็คงจะออกมาแก้ตัว รับประกันนู่นนี่
    .
    ขอโทษ ท่านอธิบดีดีเอสไอ คุณยุทธนา แพรดำ ผมจำเป็นต้องพูด เพราะนี่คือความจริงมีหนึ่งเดียว ประชาชนเขารู้กันหมด ท่านผู้ชมฟังเรื่องนี้ให้ดีๆ เรานอกจากจะต้องดิ้นรนต่อต้านดีเอสไอแล้ว ต้องหาทางยุบมัน หรือแก้กฎหมาย แล้วก็ให้สอบสวนกลางมีอำนาจมากขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น มีการฝึกอบรมมากขึ้น เพื่อให้คนในสอบสวนกลางสามารถที่จะมีทักษะ มีศักยภาพ มีทรัพยากร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการเป็นเสาหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    .
    จำคำพูดผมไว้ ผมเคยทำนายอะไรเอาไว้ ไม่เคยผิดพลาด คุณยุทธนา แพรดำ คุณทำไม่สำเร็จหรอก และผมจะดูการยื่นขอประกันตัวของนายบอสพอล งวดนี้ ผมหวังว่าดีเอสไอจะยังค้านการประกันตัวเหมือนเดิมนะครับ ที่ผมกลัวก็คือว่า พอยื่นประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง ศาลท่านถามว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ โจทก์ว่าอย่างไร ดีเอสไอไม่ค้านครับ ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะ มันเป็นไปได้

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15TCsxyisV/

    #Thaitimes
    ถึงเวลาแก้กฏหมายยุบอำนาจ DSI มีไปทำไม . 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการรับคดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มีมติรับ "ดิ ไอคอน" เป็นคดีพิเศษ พร้อมเห็นพ้องแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดที่เข้าข่าย พ.ร.ก.กู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่ . ในยุคของทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมไม่เคยมีความโปร่งใส ทำอะไรมีเงื่อนงำตลอด การแก้ตัวปกป้องทักษิณ ชินวัตรพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 ของโรงพยาบาลตำรวจนั้น ก็รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นคนสั่งการให้กับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำเนินการเช่นนี้ . พอมาถึงดีเอสไอแล้ว การที่รับโอนเรื่องดิไอคอนมา ผมยังตั้งคำถามเดิมๆอยู่เหมือนเดิม คือผมบอกว่าดีเอสไอทำงานชิ้นนี้ไม่สำเร็จ ผมฟันธงไว้ตอนนี้ ผมให้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะ หนึ่ง ดีเอสไอไม่มีคน เรื่องนี้เป็นเรื่องการฉ้อโกงประชาชนทั่วประเทศ มีผู้ที่มากล่าวหาเป็นหมื่นคน ดีเอสไอจะมีปัญญาอะไร ถ้าไม่ได้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านช่วยเหลือ บอกว่ายังจะใช้โรงพักรับเรื่องอยู่ แล้วก็ส่งมาให้ดีเอสไอ . อีกเรื่องหนึ่งที่ดีเอสไอเองก็น้ำท่วมปาก พูดไม่ออก เพราะว่าดีเอสไอนั่งทับขี้ไว้เยอะ ผมถามต่อ ว่า แล้วทำไมคดีเก่าๆ อย่างเช่น FOREX-3D สิบกว่าปีแล้ว จนถึงวันนี้ ท่านผู้ชมเชื่อหรือเปล่าว่ายังทำไม่จบเลย ,คดีการปั่นหุ้น STARK ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ไปเป็นพันๆ คน ไปไหนแล้วก็ไม่รู้,ตอนนี้ คดี THE EARTH ก็เงียบกริบและเรื่องของบางคนเข้าไปโกงบริษัท GGC ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือ ปตท. สร้างสต๊อกลม มูลค่าความเสียหายสองพันกว่าล้าน แล้วพอตำรวจสอบสวนกลางเอาเรื่องนี้เข้าไปทำจวนจะจบแล้ว จะส่งฟ้องอัยการแต่ใครก็ไม่รู้วิ่งเต้นให้ดีเอสไอ ใช้อำนาจทางกฎหมายรับเรื่องนี้ไปให้ดีเอสไอ มาถึงวันนี้ก็ไม่ได้ไปไหน แช่ไว้เฉยๆ . เราจะมีดีเอสไอไปทำไมแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าดีเอสไอ ผู้ใหญ่ในดีเอสไอบางคน นักการเมืองบางคน มันรับเงินรับทองของผู้ที่ทำผิด พอเงินทองมา การสอบสวนมันก็อ่อนด้อย นี่คือจุดอ่อนของพวกคุณ คุณยุทธนา แพรดำ คุณก็คงจะออกมาแก้ตัว รับประกันนู่นนี่ . ขอโทษ ท่านอธิบดีดีเอสไอ คุณยุทธนา แพรดำ ผมจำเป็นต้องพูด เพราะนี่คือความจริงมีหนึ่งเดียว ประชาชนเขารู้กันหมด ท่านผู้ชมฟังเรื่องนี้ให้ดีๆ เรานอกจากจะต้องดิ้นรนต่อต้านดีเอสไอแล้ว ต้องหาทางยุบมัน หรือแก้กฎหมาย แล้วก็ให้สอบสวนกลางมีอำนาจมากขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น มีการฝึกอบรมมากขึ้น เพื่อให้คนในสอบสวนกลางสามารถที่จะมีทักษะ มีศักยภาพ มีทรัพยากร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการเป็นเสาหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ . จำคำพูดผมไว้ ผมเคยทำนายอะไรเอาไว้ ไม่เคยผิดพลาด คุณยุทธนา แพรดำ คุณทำไม่สำเร็จหรอก และผมจะดูการยื่นขอประกันตัวของนายบอสพอล งวดนี้ ผมหวังว่าดีเอสไอจะยังค้านการประกันตัวเหมือนเดิมนะครับ ที่ผมกลัวก็คือว่า พอยื่นประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง ศาลท่านถามว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ โจทก์ว่าอย่างไร ดีเอสไอไม่ค้านครับ ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะ มันเป็นไปได้ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15TCsxyisV/ #Thaitimes
    Like
    Yay
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 895 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถึงเวลาแก้กฏหมายยุบอำนาจ DSI มีไปทำไม
    .
    29 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการรับคดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มีมติรับ "ดิ ไอคอน" เป็นคดีพิเศษ พร้อมเห็นพ้องแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดที่เข้าข่าย พ.ร.ก.กู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่
    .
    ในยุคของทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมไม่เคยมีความโปร่งใส ทำอะไรมีเงื่อนงำตลอด การแก้ตัวปกป้องทักษิณ ชินวัตรพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 ของโรงพยาบาลตำรวจนั้น ก็รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นคนสั่งการให้กับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำเนินการเช่นนี้
    .
    พอมาถึงดีเอสไอแล้ว การที่รับโอนเรื่องดิไอคอนมา ผมยังตั้งคำถามเดิมๆอยู่เหมือนเดิม คือผมบอกว่าดีเอสไอทำงานชิ้นนี้ไม่สำเร็จ ผมฟันธงไว้ตอนนี้ ผมให้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะ หนึ่ง ดีเอสไอไม่มีคน เรื่องนี้เป็นเรื่องการฉ้อโกงประชาชนทั่วประเทศ มีผู้ที่มากล่าวหาเป็นหมื่นคน ดีเอสไอจะมีปัญญาอะไร ถ้าไม่ได้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านช่วยเหลือ บอกว่ายังจะใช้โรงพักรับเรื่องอยู่ แล้วก็ส่งมาให้ดีเอสไอ
    .
    อีกเรื่องหนึ่งที่ดีเอสไอเองก็น้ำท่วมปาก พูดไม่ออก เพราะว่าดีเอสไอนั่งทับขี้ไว้เยอะ ผมถามต่อ ว่า แล้วทำไมคดีเก่าๆ อย่างเช่น FOREX-3D สิบกว่าปีแล้ว จนถึงวันนี้ ท่านผู้ชมเชื่อหรือเปล่าว่ายังทำไม่จบเลย ,คดีการปั่นหุ้น STARK ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ไปเป็นพันๆ คน ไปไหนแล้วก็ไม่รู้,ตอนนี้ คดี THE EARTTH ก็เงียบกริบและเรื่องของบางคนเข้าไปโกงบริษัท GGC ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือ ปตท. สร้างสต๊อกลม มูลค่าความเสียหายสองพันกว่าล้าน แล้วพอตำรวจสอบสวนกลางเอาเรื่องนี้เข้าไปทำจวนจะจบแล้ว จะส่งฟ้องอัยการแต่ใครก็ไม่รู้วิ่งเต้นให้ดีเอสไอ ใช้อำนาจทางกฎหมายรับเรื่องนี้ไปให้ดีเอสไอ มาถึงวันนี้ก็ไม่ได้ไปไหน แช่ไว้เฉยๆ
    .
    เราจะมีดีเอสไอไปทำไมแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าดีเอสไอ ผู้ใหญ่ในดีเอสไอบางคน นักการเมืองบางคน มันรับเงินรับทองของผู้ที่ทำผิด พอเงินทองมา การสอบสวนมันก็อ่อนด้อย นี่คือจุดอ่อนของพวกคุณ คุณยุทธนา แพรดำ คุณก็คงจะออกมาแก้ตัว รับประกันนู่นนี่
    .
    ขอโทษ ท่านอธิบดีดีเอสไอ คุณยุทธนา แพรดำ ผมจำเป็นต้องพูด เพราะนี่คือความจริงมีหนึ่งเดียว ประชาชนเขารู้กันหมด ท่านผู้ชมฟังเรื่องนี้ให้ดีๆ เรานอกจากจะต้องดิ้นรนต่อต้านดีเอสไอแล้ว ต้องหาทางยุบมัน หรือแก้กฎหมาย แล้วก็ให้สอบสวนกลางมีอำนาจมากขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น มีการฝึกอบรมมากขึ้น เพื่อให้คนในสอบสวนกลางสามารถที่จะมีทักษะ มีศักยภาพ มีทรัพยากร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการเป็นเสาหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    .
    จำคำพูดผมไว้ ผมเคยทำนายอะไรเอาไว้ ไม่เคยผิดพลาด คุณยุทธนา แพรดำ คุณทำไม่สำเร็จหรอก และผมจะดูการยื่นขอประกันตัวของนายบอสพอล งวดนี้ ผมหวังว่าดีเอสไอจะยังค้านการประกันตัวเหมือนเดิมนะครับ ที่ผมกลัวก็คือว่า พอยื่นประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง ศาลท่านถามว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ โจทก์ว่าอย่างไร ดีเอสไอไม่ค้านครับ ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะ มันเป็นไปได้
    ถึงเวลาแก้กฏหมายยุบอำนาจ DSI มีไปทำไม . 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการรับคดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มีมติรับ "ดิ ไอคอน" เป็นคดีพิเศษ พร้อมเห็นพ้องแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดที่เข้าข่าย พ.ร.ก.กู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือแชร์ลูกโซ่ . ในยุคของทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมไม่เคยมีความโปร่งใส ทำอะไรมีเงื่อนงำตลอด การแก้ตัวปกป้องทักษิณ ชินวัตรพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 ของโรงพยาบาลตำรวจนั้น ก็รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นคนสั่งการให้กับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ดำเนินการเช่นนี้ . พอมาถึงดีเอสไอแล้ว การที่รับโอนเรื่องดิไอคอนมา ผมยังตั้งคำถามเดิมๆอยู่เหมือนเดิม คือผมบอกว่าดีเอสไอทำงานชิ้นนี้ไม่สำเร็จ ผมฟันธงไว้ตอนนี้ ผมให้ไม่เกิน 6 เดือน เพราะ หนึ่ง ดีเอสไอไม่มีคน เรื่องนี้เป็นเรื่องการฉ้อโกงประชาชนทั่วประเทศ มีผู้ที่มากล่าวหาเป็นหมื่นคน ดีเอสไอจะมีปัญญาอะไร ถ้าไม่ได้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านช่วยเหลือ บอกว่ายังจะใช้โรงพักรับเรื่องอยู่ แล้วก็ส่งมาให้ดีเอสไอ . อีกเรื่องหนึ่งที่ดีเอสไอเองก็น้ำท่วมปาก พูดไม่ออก เพราะว่าดีเอสไอนั่งทับขี้ไว้เยอะ ผมถามต่อ ว่า แล้วทำไมคดีเก่าๆ อย่างเช่น FOREX-3D สิบกว่าปีแล้ว จนถึงวันนี้ ท่านผู้ชมเชื่อหรือเปล่าว่ายังทำไม่จบเลย ,คดีการปั่นหุ้น STARK ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ไปเป็นพันๆ คน ไปไหนแล้วก็ไม่รู้,ตอนนี้ คดี THE EARTTH ก็เงียบกริบและเรื่องของบางคนเข้าไปโกงบริษัท GGC ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือ ปตท. สร้างสต๊อกลม มูลค่าความเสียหายสองพันกว่าล้าน แล้วพอตำรวจสอบสวนกลางเอาเรื่องนี้เข้าไปทำจวนจะจบแล้ว จะส่งฟ้องอัยการแต่ใครก็ไม่รู้วิ่งเต้นให้ดีเอสไอ ใช้อำนาจทางกฎหมายรับเรื่องนี้ไปให้ดีเอสไอ มาถึงวันนี้ก็ไม่ได้ไปไหน แช่ไว้เฉยๆ . เราจะมีดีเอสไอไปทำไมแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าดีเอสไอ ผู้ใหญ่ในดีเอสไอบางคน นักการเมืองบางคน มันรับเงินรับทองของผู้ที่ทำผิด พอเงินทองมา การสอบสวนมันก็อ่อนด้อย นี่คือจุดอ่อนของพวกคุณ คุณยุทธนา แพรดำ คุณก็คงจะออกมาแก้ตัว รับประกันนู่นนี่ . ขอโทษ ท่านอธิบดีดีเอสไอ คุณยุทธนา แพรดำ ผมจำเป็นต้องพูด เพราะนี่คือความจริงมีหนึ่งเดียว ประชาชนเขารู้กันหมด ท่านผู้ชมฟังเรื่องนี้ให้ดีๆ เรานอกจากจะต้องดิ้นรนต่อต้านดีเอสไอแล้ว ต้องหาทางยุบมัน หรือแก้กฎหมาย แล้วก็ให้สอบสวนกลางมีอำนาจมากขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น มีการฝึกอบรมมากขึ้น เพื่อให้คนในสอบสวนกลางสามารถที่จะมีทักษะ มีศักยภาพ มีทรัพยากร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการเป็นเสาหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ . จำคำพูดผมไว้ ผมเคยทำนายอะไรเอาไว้ ไม่เคยผิดพลาด คุณยุทธนา แพรดำ คุณทำไม่สำเร็จหรอก และผมจะดูการยื่นขอประกันตัวของนายบอสพอล งวดนี้ ผมหวังว่าดีเอสไอจะยังค้านการประกันตัวเหมือนเดิมนะครับ ที่ผมกลัวก็คือว่า พอยื่นประกันตัวอีกครั้งหนึ่ง ศาลท่านถามว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ โจทก์ว่าอย่างไร ดีเอสไอไม่ค้านครับ ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะ มันเป็นไปได้
    Love
    Angry
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1141 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน

    22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567)

    นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

    ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว

    ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน 22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567) นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 857 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน
    .
    วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1
    .
    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว
    .
    ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
    ..............
    Sondhi X
    ทักษิณ พท.มีเสียว คดีล้มล้าง ยุบพรรค ศาล รธน.ขอเคลียร์ อสส. ก่อน 15 วัน . วันนี้ (22ต.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาล ตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษ จำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตย ทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่น ที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 . ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . โดยนายธีรยุทธได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม นายธีรยุทธจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าว และให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว . ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่า ได้ดำเนินการตามคำร้องของนายธีรยุทธไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1268 มุมมอง 0 รีวิว
  • 11 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ของกรมประชาสัมพันธ์ระบุว่า นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตร ออกมาระบุว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังที่ช่วยนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่โรงพยาบาลตำรวจ โดยที่ไม่ต้องเข้าเรือนจำ คือ นายวิษณุ ว่า ตนเองยังไม่เห็นข้อความที่นายสนธิโพสต์ ซึ่งเรื่องที่นายสนธิระบุไม่เป็นความจริง และนายสนธิจะมีหลักฐานอย่างไร หรือมีเหตุผลอะไรก็เรื่องของเขา ไม่อยากแก้ข่าวใด ๆ ไม่ขอพูด แต่ขอปฏิเสธว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง

    นายวิษณุ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ขณะนั้นว่า ขณะนั้นอยู่บ้าน และมีเจ้าที่ที่หน้าจากกรมราชทัณฑ์โทรศัพท์มาแจ้งว่า นายทักษิณป่วยหนัก จะต้องนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ และนายทักษิณก็ไปอยู่ที่โรงพยาบาลแล้วด้วย ซึ่งเวลาที่โทรมาก็เป็นเวลาดึกแล้ว ประมาณ 00.00 น. จึงได้แจ้งกลับว่า ก็แล้วแต่ ขอให้ดูตามอาการก็แล้วกัน ซึ่งคิดว่านายทักษิณน่าจะอยู่รักษาอาการประมาณ 2-3 วัน เพราะไม่รู้ว่า นายทักษิณป่วยหนักขนาดไหน และป่วยเป็นอะไร จากนั้นตนเองก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

    นายวิษณุ ยังระบุว่า เรื่องนี้จะไม่ฟ้องกลับนายสนธิ หรือพูดคุยเจรจา ที่ผ่านมาไม่เคยพูดคุยกับนายสนธิ ขอให้เป็นเรื่องของเขา

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/Mwy6Ccg2asAdku7j/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    11 ตุลาคม 2567-รายงานข่าวNBT Connext ของกรมประชาสัมพันธ์ระบุว่า นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตร ออกมาระบุว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังที่ช่วยนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่โรงพยาบาลตำรวจ โดยที่ไม่ต้องเข้าเรือนจำ คือ นายวิษณุ ว่า ตนเองยังไม่เห็นข้อความที่นายสนธิโพสต์ ซึ่งเรื่องที่นายสนธิระบุไม่เป็นความจริง และนายสนธิจะมีหลักฐานอย่างไร หรือมีเหตุผลอะไรก็เรื่องของเขา ไม่อยากแก้ข่าวใด ๆ ไม่ขอพูด แต่ขอปฏิเสธว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง นายวิษณุ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ขณะนั้นว่า ขณะนั้นอยู่บ้าน และมีเจ้าที่ที่หน้าจากกรมราชทัณฑ์โทรศัพท์มาแจ้งว่า นายทักษิณป่วยหนัก จะต้องนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ และนายทักษิณก็ไปอยู่ที่โรงพยาบาลแล้วด้วย ซึ่งเวลาที่โทรมาก็เป็นเวลาดึกแล้ว ประมาณ 00.00 น. จึงได้แจ้งกลับว่า ก็แล้วแต่ ขอให้ดูตามอาการก็แล้วกัน ซึ่งคิดว่านายทักษิณน่าจะอยู่รักษาอาการประมาณ 2-3 วัน เพราะไม่รู้ว่า นายทักษิณป่วยหนักขนาดไหน และป่วยเป็นอะไร จากนั้นตนเองก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ ยังระบุว่า เรื่องนี้จะไม่ฟ้องกลับนายสนธิ หรือพูดคุยเจรจา ที่ผ่านมาไม่เคยพูดคุยกับนายสนธิ ขอให้เป็นเรื่องของเขา ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/Mwy6Ccg2asAdku7j/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Haha
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1056 มุมมอง 0 รีวิว