เอกลาภ ยิ้มวิไล คุก 5 ปี คดี Zipmex ฉ้อโกงพันล้าน
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2568 จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท ในคดีที่ผู้เสียหายรายหนึ่งยื่นฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แม้นายเอกลาภยื่นขอประกันตนเองในชั้นอุทธรณ์ โดยยื่นหลักทรัพย์ 15 ล้านบาท แต่ทำเรื่องไม่ทัน จึงต้องไปคุมขังในเรือนจำ
ถือเป็นคดีที่สั่นสะเทือนวงการคริปโตเคอเรนซี่ เพราะซิปเม็กซ์เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสองของไทย รองจากบิทคับ (Bitkub) ของนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลทุกกรณีเป็นการชั่วคราว ก่อนที่นายเอกลาภจะยอมรับว่าเกิดปัญหากับบริการ Zip-up ที่ลูกค้าในประเทศไทยฝากไปที่ Zipmex Global ในในสิงคโปร์ โดยคู่ค้าคือ Bebel Finance และ Celsius ประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ใน Zip-up ทั้ง Bitcoin Etherium USDT และ USDC มีปัญหา
แต่กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในซิปเม็กซ์พบว่า มีการโอนเหรียญไปที่ Celsius ตั้งแต่ปี 2564 แต่เพิ่งมีการออก Term & Condition ให้ผู้ใช้งานกดยอมรับเมื่อเดือน เม.ย.2565 ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แม้รับทราบว่า Babel Finance และ Celsius มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่ยังโฆษณาชักชวนให้ไปลงทุน ในที่สุด ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ 7 ข้อหา และบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ 6 ข้อหา ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวมเป็นเงิน 10.97 ล้านบาท ไม่นับรวมกลุ่มผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งตำรวจได้ให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษไปแล้ว
ซิปเม็กซ์ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.2567 ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายในนาม “กลุ่มร่วมสู้ Zipmex” ประกอบด้วยสมาชิก 741 คน มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,667.29 ล้านบาท ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นายเอกลาภ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวม 23 ราย เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งคดีล่าสุดที่นายเอกลาภติดคุก ถือเป็นการจุดความหวังให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลคดีแรกของประเทศไทย
#Newskit
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2568 จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท ในคดีที่ผู้เสียหายรายหนึ่งยื่นฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แม้นายเอกลาภยื่นขอประกันตนเองในชั้นอุทธรณ์ โดยยื่นหลักทรัพย์ 15 ล้านบาท แต่ทำเรื่องไม่ทัน จึงต้องไปคุมขังในเรือนจำ
ถือเป็นคดีที่สั่นสะเทือนวงการคริปโตเคอเรนซี่ เพราะซิปเม็กซ์เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสองของไทย รองจากบิทคับ (Bitkub) ของนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลทุกกรณีเป็นการชั่วคราว ก่อนที่นายเอกลาภจะยอมรับว่าเกิดปัญหากับบริการ Zip-up ที่ลูกค้าในประเทศไทยฝากไปที่ Zipmex Global ในในสิงคโปร์ โดยคู่ค้าคือ Bebel Finance และ Celsius ประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ใน Zip-up ทั้ง Bitcoin Etherium USDT และ USDC มีปัญหา
แต่กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในซิปเม็กซ์พบว่า มีการโอนเหรียญไปที่ Celsius ตั้งแต่ปี 2564 แต่เพิ่งมีการออก Term & Condition ให้ผู้ใช้งานกดยอมรับเมื่อเดือน เม.ย.2565 ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แม้รับทราบว่า Babel Finance และ Celsius มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่ยังโฆษณาชักชวนให้ไปลงทุน ในที่สุด ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ 7 ข้อหา และบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ 6 ข้อหา ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวมเป็นเงิน 10.97 ล้านบาท ไม่นับรวมกลุ่มผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งตำรวจได้ให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษไปแล้ว
ซิปเม็กซ์ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.2567 ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายในนาม “กลุ่มร่วมสู้ Zipmex” ประกอบด้วยสมาชิก 741 คน มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,667.29 ล้านบาท ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นายเอกลาภ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวม 23 ราย เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งคดีล่าสุดที่นายเอกลาภติดคุก ถือเป็นการจุดความหวังให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลคดีแรกของประเทศไทย
#Newskit
เอกลาภ ยิ้มวิไล คุก 5 ปี คดี Zipmex ฉ้อโกงพันล้าน
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2568 จำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีตกรรมการและผู้บริหารบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) ผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่รอลงอาญา และลงโทษปรับบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ เป็นเงิน 100,000 บาท ในคดีที่ผู้เสียหายรายหนึ่งยื่นฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แม้นายเอกลาภยื่นขอประกันตนเองในชั้นอุทธรณ์ โดยยื่นหลักทรัพย์ 15 ล้านบาท แต่ทำเรื่องไม่ทัน จึงต้องไปคุมขังในเรือนจำ
ถือเป็นคดีที่สั่นสะเทือนวงการคริปโตเคอเรนซี่ เพราะซิปเม็กซ์เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลชื่อดัง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับสองของไทย รองจากบิทคับ (Bitkub) ของนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เหตุการณ์เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2565 ซิปเม็กซ์ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลทุกกรณีเป็นการชั่วคราว ก่อนที่นายเอกลาภจะยอมรับว่าเกิดปัญหากับบริการ Zip-up ที่ลูกค้าในประเทศไทยฝากไปที่ Zipmex Global ในในสิงคโปร์ โดยคู่ค้าคือ Bebel Finance และ Celsius ประสบปัญหาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ใน Zip-up ทั้ง Bitcoin Etherium USDT และ USDC มีปัญหา
แต่กลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในซิปเม็กซ์พบว่า มีการโอนเหรียญไปที่ Celsius ตั้งแต่ปี 2564 แต่เพิ่งมีการออก Term & Condition ให้ผู้ใช้งานกดยอมรับเมื่อเดือน เม.ย.2565 ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. แม้รับทราบว่า Babel Finance และ Celsius มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่ยังโฆษณาชักชวนให้ไปลงทุน ในที่สุด ก.ล.ต.ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายเอกลาภ 7 ข้อหา และบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ 6 ข้อหา ตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล รวมเป็นเงิน 10.97 ล้านบาท ไม่นับรวมกลุ่มผู้เสียหายแจ้งความเอาผิดในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งตำรวจได้ให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษไปแล้ว
ซิปเม็กซ์ถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.2567 ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายในนาม “กลุ่มร่วมสู้ Zipmex” ประกอบด้วยสมาชิก 741 คน มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 2,667.29 ล้านบาท ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ฯ นายเอกลาภ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวม 23 ราย เรียกค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งคดีล่าสุดที่นายเอกลาภติดคุก ถือเป็นการจุดความหวังให้ผู้เสียหายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลคดีแรกของประเทศไทย
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
128 มุมมอง
0 รีวิว