• ยุบพรรคก้าวไกล จะเกิดอะไรขึ้น?

    7 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยลงมติและอ่านคำวินิจฉัย คดีที่นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) หลังการพิจารณาคดีใช้เวลา 4 เดือน

    ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีรวบรวมพยานหลักฐานให้ผู้เกี่ยวข้องยื่นคำชี้แจง และให้พรรคก้าวไกลยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยพรรคก้าวไกลได้ขอเลื่อนไปแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 60 วัน กระทั่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุติการไต่สวน เนื่องจากเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายมีพยานหลักฐานเพียงพอให้วินิจฉัยได้

    หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก้าวไกล หมายความว่าการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และสังกัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ทุกอย่างยังเป็นไปตามปกติ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล จะมีผลตามมาดังต่อไปนี้

    1. กรรมการบริหารพรรคในขณะที่กระทำความผิดถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี มี 6 คนที่เป็น สส. ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคขณะนั้น นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขณะนั้น น.ส.เบญจา แสงจันทร์ นายสุเทพ อู่อ้น นายอภิชาติ ศิริสุนทร และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก

    ส่วน 5 คน ไม่ได้เป็น สส. พรรคแล้ว ประกอบด้วย น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค นายสมชาย ฝั่งชลจิตร นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ (ชุดที่นายชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรค)

    2. สส.บัญชีรายชื่อ หายไป 5 คน จากเดิม 39 คน เหลือ 34 คน ไม่มีการเลื่อนบัญชีขึ้นมาทดแทน เนื่องจากพรรคถูกยุบ ส่วน สส.แบบแบ่งเขต 109 คน ต้องหาสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน และจัดการเลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก เขต 1 แทนนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง เท่ากับ สส. พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านในสภาฯ ลดลงจาก 148 คน เหลือ 143 คน

    (สส. ก้าวไกลลดลงจาก 151 คน เหลือ 148 คน เพราะมี สส. ที่ถูกขับออกจากพรรค 3 คน คือ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา, นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา และนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์)

    ไม่นับรวมมีข่าวว่า สส. บางคนไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแบบข้ามขั้ว ที่ไม่ใช่พรรคสำรองของพรรคก้าวไกล ตามที่นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวโดยอ้างว่ามีนักการเมืองรายหนึ่งเสนอซื้อตัว สส.งูเห่า 20-30 ล้านบาท หากพรรคก้าวไกลถูกยุบ

    3. มีผลต่อกรณีที่นายธีรยุทธ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของพรรคก้าวไกล และ สส.พรรคก้าวไกล 44 คนในขณะนั้น ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่ปัจจุบันเหลือ สส. ในสภาที่เคยลงชื่อเพียง 30 คน

    #Newskit #ยุบพรรคก้าวไกล #ศาลรัฐธรรมนูญ
    ยุบพรรคก้าวไกล จะเกิดอะไรขึ้น? 7 สิงหาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยลงมติและอ่านคำวินิจฉัย คดีที่นายธีรยุทธ สุววรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2562 มาตรา 92 วรรคหนึ่ง (1) หลังการพิจารณาคดีใช้เวลา 4 เดือน ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิธีรวบรวมพยานหลักฐานให้ผู้เกี่ยวข้องยื่นคำชี้แจง และให้พรรคก้าวไกลยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยพรรคก้าวไกลได้ขอเลื่อนไปแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 60 วัน กระทั่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุติการไต่สวน เนื่องจากเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายมีพยานหลักฐานเพียงพอให้วินิจฉัยได้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก้าวไกล หมายความว่าการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และสังกัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ทุกอย่างยังเป็นไปตามปกติ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล จะมีผลตามมาดังต่อไปนี้ 1. กรรมการบริหารพรรคในขณะที่กระทำความผิดถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี มี 6 คนที่เป็น สส. ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคขณะนั้น นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคขณะนั้น น.ส.เบญจา แสงจันทร์ นายสุเทพ อู่อ้น นายอภิชาติ ศิริสุนทร และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก ส่วน 5 คน ไม่ได้เป็น สส. พรรคแล้ว ประกอบด้วย น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค นายสมชาย ฝั่งชลจิตร นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และนายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ (ชุดที่นายชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรค) 2. สส.บัญชีรายชื่อ หายไป 5 คน จากเดิม 39 คน เหลือ 34 คน ไม่มีการเลื่อนบัญชีขึ้นมาทดแทน เนื่องจากพรรคถูกยุบ ส่วน สส.แบบแบ่งเขต 109 คน ต้องหาสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน และจัดการเลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก เขต 1 แทนนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง เท่ากับ สส. พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านในสภาฯ ลดลงจาก 148 คน เหลือ 143 คน (สส. ก้าวไกลลดลงจาก 151 คน เหลือ 148 คน เพราะมี สส. ที่ถูกขับออกจากพรรค 3 คน คือ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา, นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา และนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์) ไม่นับรวมมีข่าวว่า สส. บางคนไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นแบบข้ามขั้ว ที่ไม่ใช่พรรคสำรองของพรรคก้าวไกล ตามที่นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวโดยอ้างว่ามีนักการเมืองรายหนึ่งเสนอซื้อตัว สส.งูเห่า 20-30 ล้านบาท หากพรรคก้าวไกลถูกยุบ 3. มีผลต่อกรณีที่นายธีรยุทธ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของพรรคก้าวไกล และ สส.พรรคก้าวไกล 44 คนในขณะนั้น ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แต่ปัจจุบันเหลือ สส. ในสภาที่เคยลงชื่อเพียง 30 คน #Newskit #ยุบพรรคก้าวไกล #ศาลรัฐธรรมนูญ
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 820 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดีดังที่มาเลเซีย ฆ่าสาวทิ้งสวนปาล์ม

    ที่ประเทศมาเลเซีย มีคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญอยู่คดีหนึ่งที่เป็นข่าวดังตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการเสียชีวิตของ นางสาวนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี อับดุลลาห์ อายุ 25 ปี ซึ่งพบศพภายในสวนปาล์มน้ำมัน ที่บ้านกัมปุง ศรี เกเลดัง เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ เมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

    ก่อนหน้านี้ตำรวจรับแจ้งจากพนักงานของบริษัทให้เช่ารถในเมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก ว่า นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี หายตัวไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 หลังจากที่เธอส่งรถเช่าให้กับลูกค้า กระทั่งผ่านมา 5 วัน จึงได้พบศพของเธอดังกล่าว

    นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี เป็นลูกสาวคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บ้านเกิดของเธออยู่ที่เมืองมิริ รัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศึกษาศาสตร์สุลต่านไอดริส (UPSI) เมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก สาขาการศึกษา (มัลติมีเดีย) เมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ต้องการกลับบ้านเกิด ต้องการอยู่ทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

    วันต่อมา ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทราบชื่อภายหลังคือ สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการตำรวจ ยศสิบเอก ประจำสถานีตำรวจสลิมริเวอร์ ในรัฐเปรัก ซึ่งเป็นแฟนหนุ่มของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี และถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 7 วันเพื่อสอบสวนตามกฎหมายมาเลเซีย ก่อนที่จะขยายต่อไปอีก 7 วัน ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2567

    การค้นหาหลักฐานเพื่อคลี่คลายคดีดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากพบสมาร์ทโฟนลงท่อระบายน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาพบกระเป๋าถือของนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 20 นาที การตรวจค้นและสอบสวนคนงานไร่มันสำปะหลัง ที่ผู้ต้องสงสัยทำไร่มันนอกเวลางาน รวมทั้งตรวจสอบรถยนต์โตโยต้า วีออส สีแดง และตรวจวิเคราะห์ซิมการ์ดของผู้ต้องสงสัย

    นอกจากนี้ หน่วยสืบสวนนิติเวช ยังค้นหาสิ่งของบนแม่น้ำสลิม ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ผู้ต้องสงสัยทิ้งสิ่งของจากสะพานเหล็กลงไปในแม่น้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก พบกุญแจรถยนต์ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร และพบกระเป๋าสตางค์ห่างออกไปอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ละหมาด กระเป๋าถือ และสายชาร์จโทรศัพท์อีกด้วย

    ดาตุ๊ก ฮุสเซน โอมาร์ ข่าน หัวหน้าตำรวจรัฐสลังงอร์ เชื่อว่าแรงจูงใจในการฆาตกรรมเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเรื่องความสัมพันธ์ โดยหลักฐานเพียงพอที่จะตั้งข้อกล่าวหาผู้ต้องสงสัย อาศัยหลักฐานที่พบในหลายสถานที่ทั้งภายในรัฐสลังงอร์ และรัฐเปรัก

    26 กรกฎาคม 2567 ตำรวจควบคุมตัว สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี ไปที่ศาลแขวงกัวลากูบูบารู ที่เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ โดยตั้งข้อหาฆาตกรรม ซึ่งหากตัดสินว่ามีความผิด โทษสูงสุดประหารชีวิต ซึ่งศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 30 สิงหาคม 2567

    สำหรับร่างของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ถูกฝังไว้เมื่อเวลา 17.02 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ที่สุสานกัมปง นยีอูร์ มานิส เมืองเปกัน รัฐปะหัง ซึ่งเป็นบ้านของภรรยาพี่ชาย หลังเสร็จสิ้นการชันสูตรที่โรงพยาบาลสุไหงบูเลาะห์ รัฐสลังงอร์ ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2-3 วัน

    #Newskit #อาชญากรรม #มาเลเซีย
    คดีดังที่มาเลเซีย ฆ่าสาวทิ้งสวนปาล์ม ที่ประเทศมาเลเซีย มีคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญอยู่คดีหนึ่งที่เป็นข่าวดังตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการเสียชีวิตของ นางสาวนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี อับดุลลาห์ อายุ 25 ปี ซึ่งพบศพภายในสวนปาล์มน้ำมัน ที่บ้านกัมปุง ศรี เกเลดัง เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ เมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ตำรวจรับแจ้งจากพนักงานของบริษัทให้เช่ารถในเมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก ว่า นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี หายตัวไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 หลังจากที่เธอส่งรถเช่าให้กับลูกค้า กระทั่งผ่านมา 5 วัน จึงได้พบศพของเธอดังกล่าว นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี เป็นลูกสาวคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บ้านเกิดของเธออยู่ที่เมืองมิริ รัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศึกษาศาสตร์สุลต่านไอดริส (UPSI) เมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก สาขาการศึกษา (มัลติมีเดีย) เมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ต้องการกลับบ้านเกิด ต้องการอยู่ทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว วันต่อมา ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทราบชื่อภายหลังคือ สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการตำรวจ ยศสิบเอก ประจำสถานีตำรวจสลิมริเวอร์ ในรัฐเปรัก ซึ่งเป็นแฟนหนุ่มของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี และถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 7 วันเพื่อสอบสวนตามกฎหมายมาเลเซีย ก่อนที่จะขยายต่อไปอีก 7 วัน ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 การค้นหาหลักฐานเพื่อคลี่คลายคดีดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากพบสมาร์ทโฟนลงท่อระบายน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาพบกระเป๋าถือของนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 20 นาที การตรวจค้นและสอบสวนคนงานไร่มันสำปะหลัง ที่ผู้ต้องสงสัยทำไร่มันนอกเวลางาน รวมทั้งตรวจสอบรถยนต์โตโยต้า วีออส สีแดง และตรวจวิเคราะห์ซิมการ์ดของผู้ต้องสงสัย นอกจากนี้ หน่วยสืบสวนนิติเวช ยังค้นหาสิ่งของบนแม่น้ำสลิม ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ผู้ต้องสงสัยทิ้งสิ่งของจากสะพานเหล็กลงไปในแม่น้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก พบกุญแจรถยนต์ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร และพบกระเป๋าสตางค์ห่างออกไปอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ละหมาด กระเป๋าถือ และสายชาร์จโทรศัพท์อีกด้วย ดาตุ๊ก ฮุสเซน โอมาร์ ข่าน หัวหน้าตำรวจรัฐสลังงอร์ เชื่อว่าแรงจูงใจในการฆาตกรรมเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเรื่องความสัมพันธ์ โดยหลักฐานเพียงพอที่จะตั้งข้อกล่าวหาผู้ต้องสงสัย อาศัยหลักฐานที่พบในหลายสถานที่ทั้งภายในรัฐสลังงอร์ และรัฐเปรัก 26 กรกฎาคม 2567 ตำรวจควบคุมตัว สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี ไปที่ศาลแขวงกัวลากูบูบารู ที่เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ โดยตั้งข้อหาฆาตกรรม ซึ่งหากตัดสินว่ามีความผิด โทษสูงสุดประหารชีวิต ซึ่งศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สำหรับร่างของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ถูกฝังไว้เมื่อเวลา 17.02 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ที่สุสานกัมปง นยีอูร์ มานิส เมืองเปกัน รัฐปะหัง ซึ่งเป็นบ้านของภรรยาพี่ชาย หลังเสร็จสิ้นการชันสูตรที่โรงพยาบาลสุไหงบูเลาะห์ รัฐสลังงอร์ ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2-3 วัน #Newskit #อาชญากรรม #มาเลเซีย
    Sad
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 637 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ตอนยุยงปลุกปั่นเพื่อยกเลิก112 ก็ละเมิดกฎหมาย พอโดนร้องยุบพรรค กลับร้องหากฎหมาย
    #7ดอกจิก
    #หลักฐานเพียงพอ
    ♣ ตอนยุยงปลุกปั่นเพื่อยกเลิก112 ก็ละเมิดกฎหมาย พอโดนร้องยุบพรรค กลับร้องหากฎหมาย #7ดอกจิก #หลักฐานเพียงพอ
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 216 มุมมอง 0 รีวิว