• 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 56 มุมมอง 0 รีวิว
  • สมัครสอบ อปท. 2568 ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการท้องถิ่น

    📢 ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)! กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ผ่านระบบออนไลน์ 🖥️

    การสอบครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญ สำหรับผู้ที่สนใจทำงาน ในหน่วยงานท้องถิ่นทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดังนั้นผู้สมัคร ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด ให้ครบถ้วนก่อนทำการสมัคร ✍️

    🔎 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ อปท. 2568
    การสมัครสอบแข่งขันครั้งนี้ มีกฎเกณฑ์และคุณสมบัติ ที่ต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด มาดูกันว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่

    ✅ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
    - มีสัญชาติไทย 🇹🇭
    - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่สมัครสอบ
    - ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 🏥
    - ไม่เป็นผู้ต้องหาคดีอาญา หรือถูกตัดสิทธิ์สอบราชการมาก่อน
    - ต้องจบการศึกษาภายในวันปิดรับสมัคร 28 มีนาคม 2568 🎓

    🚨 ข้อกำหนดพิเศษ
    - ผู้สมัครจะต้องสอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 10 ข้อจาก 20 ข้อ ✨
    - บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านมีอายุ 2 ปี และสามารถขยายได้ไม่เกิน 30 วัน

    📌 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
    การสอบ อปท. 2568 แบ่งออกเป็น 10 กลุ่มภาค/เขต ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละกลุ่มภาค จะมีตำแหน่งที่เปิดรับแตกต่างกันไป

    🔸 กลุ่มภาคที่เปิดรับสมัคร
    ภาคเหนือ เขต 1 เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, และลำพูน
    ภาคเหนือ เขต 2 กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
    ภาคกลาง เขต 1 ชัยนาท, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี และอ่างทอง
    ภาคกลาง เขต 2 จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, สมุทรปราการ และสระแก้ว
    ภาคกลาง เขต 3 กาญจนบุรี, นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์ , เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และมหาสารคาม
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 นครพนม, บึงกาฬ, เลย, สกลนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุดรธานี
    ภาคใต้ เขต 1 กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, พังงา , ภูเก็ต, ระนอง และสุราษฎร์ธานี
    ภาคใต้ เขต 2 ตรัง, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, ยะลา, สงขลา และสตูล

    📋 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
    🔹 ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปริญาญาตรี 4 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 16,560 บาท ปริญญาตรี 5 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 17,380 บาท

    🔹 ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ปวช. เงินเดือนเริ่มต้น 10,340 บาท ปวท. เงินเดือนเริ่มต้น 11,960 บาท ปวส. เงินเดือนเริ่มต้น 12,730 บาท เช่น เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานทะเบียน เจ้าพนักงานการคลัง เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าพนักงานการเกษตร เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สัตวแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ นายช่างโยธา นายช่างเขียนแบบ นายช่างสำรวจ นายช่างผังเมือง นายช่างเครื่องกล นายช่างไฟฟ้า เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานเทศกิจ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ

    🔹 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 16,600 บาท เช่น นักจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทะเบียนและบัตร นิคิกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการคลัง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักประชาสัมพันธ์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว นักวิชาการเกษตร นักวิชาการสวนสาธารณะ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นายสัตวแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์ สถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิทศวกรสุขาภิบาล นักจัดการงานช่าง นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาชุมชน บรรณารักษ์ นักสันทนาการ นักพัฒนาการกีฬา นักจัดการงานเทศกิจ นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ

    📖 รายละเอียดการสอบ อปท. 2568
    การสอบแข่งขัน จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก ได้แก่
    📝 ภาค ก ความรู้ทั่วไป 100 คะแนน
    - ความสามารถด้านการวิเคราะห์ และสรุปเหตุผล 30 คะแนน
    - ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และกฎหมายท้องถิ่น 30 คะแนน
    - ความสามารถด้านภาษาไทย 20 คะแนน
    - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 20 คะแนน ต้องผ่านอย่างน้อย 10 ข้อจาก 20 ข้อ!

    📚 ภาค ข ความรู้เฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน
    -เป็นข้อสอบเกี่ยวกับความรู้ ที่ใช้เฉพาะในตำแหน่งที่สมัคร

    🗣️ ภาค ค สัมภาษณ์ 100 คะแนน
    เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความสามารถในการสื่อสาร

    📝 วิธีสมัครสอบ อปท. 2568
    🔹 สมัครผ่านทางออนไลน์ 📱 ที่เว็บไซต์:
    ➡️ https://dla-local2568.thaijobjob.com
    📅 เปิดรับสมัครตั้งแต่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ตลอด 24 ชั่วโมง

    🗂️ เอกสารที่ต้องใช้สมัคร
    ✅ รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 📸
    ✅ สำเนาบัตรประชาชน 🆔
    ✅ สำเนาทะเบียนบ้าน 🏠
    ✅ สำเนาวุฒิการศึกษา Transcript 🎓
    ✅ สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับบางตำแหน่ง
    ✅ เอกสารทางทหาร สด.8 หรือ สด.9 🪖

    📌 อัปโหลดไฟล์ PDF เท่านั้น! ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 1 MB

    💰 ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ
    - ค่าธรรมเนียมสอบ 400 บาท
    - ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าบริการ 30 บาท
    📌 รวมทั้งสิ้น 430 บาท ไม่สามารถขอคืนเงินได้

    📍 ช่องทางชำระเงิน:
    - เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 🏦
    - แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือ เป๋าตัง 📲
    - ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
    🛑 ชำระเงินภายในวันที่ 7 - 29 มีนาคม 2568 เท่านั้น!

    📢 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
    📆 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และ ข พร้อมวัน-เวลา-สถานที่สอบ ได้ที่
    📌 เว็บไซต์ https://dla-local2568.thaijobjob.com

    🔑 เคล็ดลับเตรียมสอบ อปท. ให้สอบผ่าน!
    🔥 ศึกษาหลักสูตรการสอบ ให้ครบถ้วน
    📖 อ่านแนวข้อสอบ และทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    🔥 ฝึกทำข้อสอบเก่า
    🔍 ฝึกทำข้อสอบปีที่ผ่านมา เพื่อจับแนวทางที่ออกบ่อย

    🔥 ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่อง
    ✅ ท่องศัพท์
    ✅ ฝึกทำข้อสอบแกรมม่า
    ✅ อ่านบทความภาษาอังกฤษ

    🔥 จัดตารางอ่านหนังสือ
    🗓️ แบ่งเวลาอ่านหนังสือทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง

    🔥 พักผ่อนให้เพียงพอ
    😴 นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงก่อนสอบ

    🔚 📍 การสอบ อปท. 2568 เป็นโอกาสดี สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าพลาด! สมัครสอบได้ระหว่าง 7 - 28 มีนาคม 2568 ทางออนไลน์เท่านั้น 🚀

    📌 ติดตามข่าวสาร และอัปเดตข้อมูลการสอบได้ที่
    🔗 https://dla-local2568.thaijobjob.com

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 202022 ก.พ. 2568

    📢 #สอบอปท2568 #สมัครสอบราชการ #งานราชการ #สอบท้องถิ่น #เตรียมสอบอปท #DLA #สมัครสอบออนไลน์ #งานข้าราชการ #สอบราชการ2025 #สอบภาษาอังกฤษอปท
    สมัครสอบ อปท. 2568 ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการท้องถิ่น 📢 ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)! กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (กสถ.) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2568 โดยเปิดรับสมัคร ระหว่างวันที่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ผ่านระบบออนไลน์ 🖥️ การสอบครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญ สำหรับผู้ที่สนใจทำงาน ในหน่วยงานท้องถิ่นทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดังนั้นผู้สมัคร ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียด ให้ครบถ้วนก่อนทำการสมัคร ✍️ 🔎 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ อปท. 2568 การสมัครสอบแข่งขันครั้งนี้ มีกฎเกณฑ์และคุณสมบัติ ที่ต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัด มาดูกันว่า มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ ✅ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร - มีสัญชาติไทย 🇹🇭 - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ณ วันที่สมัครสอบ - ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 🏥 - ไม่เป็นผู้ต้องหาคดีอาญา หรือถูกตัดสิทธิ์สอบราชการมาก่อน - ต้องจบการศึกษาภายในวันปิดรับสมัคร 28 มีนาคม 2568 🎓 🚨 ข้อกำหนดพิเศษ - ผู้สมัครจะต้องสอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 10 ข้อจาก 20 ข้อ ✨ - บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านมีอายุ 2 ปี และสามารถขยายได้ไม่เกิน 30 วัน 📌 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร การสอบ อปท. 2568 แบ่งออกเป็น 10 กลุ่มภาค/เขต ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละกลุ่มภาค จะมีตำแหน่งที่เปิดรับแตกต่างกันไป 🔸 กลุ่มภาคที่เปิดรับสมัคร ภาคเหนือ เขต 1 เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, และลำพูน ภาคเหนือ เขต 2 กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง เขต 1 ชัยนาท, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี และอ่างทอง ภาคกลาง เขต 2 จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, สมุทรปราการ และสระแก้ว ภาคกลาง เขต 3 กาญจนบุรี, นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์ , เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 นครพนม, บึงกาฬ, เลย, สกลนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู และอุดรธานี ภาคใต้ เขต 1 กระบี่, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, พังงา , ภูเก็ต, ระนอง และสุราษฎร์ธานี ภาคใต้ เขต 2 ตรัง, นราธิวาส, ปัตตานี, พัทลุง, ยะลา, สงขลา และสตูล 📋 ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร 🔹 ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปริญาญาตรี 4 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 16,560 บาท ปริญญาตรี 5 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 17,380 บาท 🔹 ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ปวช. เงินเดือนเริ่มต้น 10,340 บาท ปวท. เงินเดือนเริ่มต้น 11,960 บาท ปวส. เงินเดือนเริ่มต้น 12,730 บาท เช่น เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานทะเบียน เจ้าพนักงานการคลัง เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าพนักงานการเกษตร เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สัตวแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ นายช่างโยธา นายช่างเขียนแบบ นายช่างสำรวจ นายช่างผังเมือง นายช่างเครื่องกล นายช่างไฟฟ้า เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานเทศกิจ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ 🔹 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 16,600 บาท เช่น นักจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทะเบียนและบัตร นิคิกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการคลัง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการตรวจสอบภายใน นักประชาสัมพันธ์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว นักวิชาการเกษตร นักวิชาการสวนสาธารณะ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นายสัตวแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์ สถาปนิก วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิทศวกรสุขาภิบาล นักจัดการงานช่าง นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการศึกษา นักพัฒนาชุมชน บรรณารักษ์ นักสันทนาการ นักพัฒนาการกีฬา นักจัดการงานเทศกิจ นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ 📖 รายละเอียดการสอบ อปท. 2568 การสอบแข่งขัน จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคหลัก ได้แก่ 📝 ภาค ก ความรู้ทั่วไป 100 คะแนน - ความสามารถด้านการวิเคราะห์ และสรุปเหตุผล 30 คะแนน - ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ และกฎหมายท้องถิ่น 30 คะแนน - ความสามารถด้านภาษาไทย 20 คะแนน - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ 20 คะแนน ต้องผ่านอย่างน้อย 10 ข้อจาก 20 ข้อ! 📚 ภาค ข ความรู้เฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน -เป็นข้อสอบเกี่ยวกับความรู้ ที่ใช้เฉพาะในตำแหน่งที่สมัคร 🗣️ ภาค ค สัมภาษณ์ 100 คะแนน เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง เช่น ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความสามารถในการสื่อสาร 📝 วิธีสมัครสอบ อปท. 2568 🔹 สมัครผ่านทางออนไลน์ 📱 ที่เว็บไซต์: ➡️ https://dla-local2568.thaijobjob.com 📅 เปิดรับสมัครตั้งแต่ 7 - 28 มีนาคม 2568 ตลอด 24 ชั่วโมง 🗂️ เอกสารที่ต้องใช้สมัคร ✅ รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว 📸 ✅ สำเนาบัตรประชาชน 🆔 ✅ สำเนาทะเบียนบ้าน 🏠 ✅ สำเนาวุฒิการศึกษา Transcript 🎓 ✅ สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับบางตำแหน่ง ✅ เอกสารทางทหาร สด.8 หรือ สด.9 🪖 📌 อัปโหลดไฟล์ PDF เท่านั้น! ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 1 MB 💰 ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ - ค่าธรรมเนียมสอบ 400 บาท - ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าบริการ 30 บาท 📌 รวมทั้งสิ้น 430 บาท ไม่สามารถขอคืนเงินได้ 📍 ช่องทางชำระเงิน: - เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 🏦 - แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT หรือ เป๋าตัง 📲 - ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย 🛑 ชำระเงินภายในวันที่ 7 - 29 มีนาคม 2568 เท่านั้น! 📢 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 📆 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก และ ข พร้อมวัน-เวลา-สถานที่สอบ ได้ที่ 📌 เว็บไซต์ https://dla-local2568.thaijobjob.com 🔑 เคล็ดลับเตรียมสอบ อปท. ให้สอบผ่าน! 🔥 ศึกษาหลักสูตรการสอบ ให้ครบถ้วน 📖 อ่านแนวข้อสอบ และทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 🔥 ฝึกทำข้อสอบเก่า 🔍 ฝึกทำข้อสอบปีที่ผ่านมา เพื่อจับแนวทางที่ออกบ่อย 🔥 ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่อง ✅ ท่องศัพท์ ✅ ฝึกทำข้อสอบแกรมม่า ✅ อ่านบทความภาษาอังกฤษ 🔥 จัดตารางอ่านหนังสือ 🗓️ แบ่งเวลาอ่านหนังสือทุกวัน วันละ 2-3 ชั่วโมง 🔥 พักผ่อนให้เพียงพอ 😴 นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมงก่อนสอบ 🔚 📍 การสอบ อปท. 2568 เป็นโอกาสดี สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าพลาด! สมัครสอบได้ระหว่าง 7 - 28 มีนาคม 2568 ทางออนไลน์เท่านั้น 🚀 📌 ติดตามข่าวสาร และอัปเดตข้อมูลการสอบได้ที่ 🔗 https://dla-local2568.thaijobjob.com ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 202022 ก.พ. 2568 📢 #สอบอปท2568 #สมัครสอบราชการ #งานราชการ #สอบท้องถิ่น #เตรียมสอบอปท #DLA #สมัครสอบออนไลน์ #งานข้าราชการ #สอบราชการ2025 #สอบภาษาอังกฤษอปท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • แม่ฮ่องสอน - เปิดบันทึกอดีตปลัดอำเภอฯ ที่สมัครใจบรรจุใหม่ที่ปาย..40 ปีก่อน จนถึงวันนี้ ชุมชนท่องเที่ยวบนดอยสูงหลากชาติพันธุ์ ทั้งไต-คนเมือง-อดีตทหารกองพล 93 รวมถึงกะเหรี่ยง ม้ง ลีซอ ลาหู่หรือมูเซอร์ ว้า ฝรั่งแห่เข้ามานาน ก่อนยิวนิยมมาพักผ่อนระหว่างพักรบปาเลสไตน์ จากหลักร้อยเป็นหลักพัน จนมาอยู่อาศัย-ทำมาหากิน ตั้งโบสถ์ กระทั่งปายมีทั้งยิว-อิสลาม

    พันธุ์ชัย วัฒนชัย อดีตปลัดอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อ 40 กว่าปีก่อน (2522-2525) ได้เล่าเรื่องเมืองปายที่สัมผัสสมัยที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ว่า ชาวบ้านมีทั้งชาวไตหรือไทใหญ่ มีจำนวนมากที่สุด, รองมา ก็คนเมืองหรือไตยวน, จีนฮ่อหรือจีนยูนนาน (เช่นอดีตทหารกองพล 93 ของเจียงไคเช็กและลูกหลาน ที่เคยสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน นับถืออิสลาม และลัทธิขงจื๊อ เต๋า พุทธ), กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยง ม้ง ลีซอ ลาหู่หรือมูเซอร์ ลัวะหรือว้า (ชนเผ่าดั้งเดิมของล้านนา ถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษสายหนึ่งของเจ้าผู้ครองนครในล้านนาก็ว่าได้ เช่นเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน จากลำปาง หรือราชวงศ์ทิพย์จักร) และชาวไทยภาคกลาง

    สมัยนั้นจะมีฝรั่งมาเที่ยวบ้าง ขึ้นดอย หาฝิ่นสูบ เที่ยวชมธรรมชาติ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าถนนก่อนเข้าปาย ขึ้นดอย มีที่หนึ่ง เรียกว่า กิ่วแหม่ม หมายถึงคนขับรถรับจ้างข่มขืนแหม่มฝรั่งตรงกิ่วนั้น กิ่วแปลว่าช่องเขาแคบๆ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000016798

    #MGROnline #แม่ฮ่องสอน #อดีตปลัดอำเภอฯ #ปาย #ชุมชนท่องเที่ยว #ดอยสูง #หลากชาติพันธุ์
    แม่ฮ่องสอน - เปิดบันทึกอดีตปลัดอำเภอฯ ที่สมัครใจบรรจุใหม่ที่ปาย..40 ปีก่อน จนถึงวันนี้ ชุมชนท่องเที่ยวบนดอยสูงหลากชาติพันธุ์ ทั้งไต-คนเมือง-อดีตทหารกองพล 93 รวมถึงกะเหรี่ยง ม้ง ลีซอ ลาหู่หรือมูเซอร์ ว้า ฝรั่งแห่เข้ามานาน ก่อนยิวนิยมมาพักผ่อนระหว่างพักรบปาเลสไตน์ จากหลักร้อยเป็นหลักพัน จนมาอยู่อาศัย-ทำมาหากิน ตั้งโบสถ์ กระทั่งปายมีทั้งยิว-อิสลาม • พันธุ์ชัย วัฒนชัย อดีตปลัดอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อ 40 กว่าปีก่อน (2522-2525) ได้เล่าเรื่องเมืองปายที่สัมผัสสมัยที่บรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ว่า ชาวบ้านมีทั้งชาวไตหรือไทใหญ่ มีจำนวนมากที่สุด, รองมา ก็คนเมืองหรือไตยวน, จีนฮ่อหรือจีนยูนนาน (เช่นอดีตทหารกองพล 93 ของเจียงไคเช็กและลูกหลาน ที่เคยสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน นับถืออิสลาม และลัทธิขงจื๊อ เต๋า พุทธ), กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยง ม้ง ลีซอ ลาหู่หรือมูเซอร์ ลัวะหรือว้า (ชนเผ่าดั้งเดิมของล้านนา ถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษสายหนึ่งของเจ้าผู้ครองนครในล้านนาก็ว่าได้ เช่นเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน จากลำปาง หรือราชวงศ์ทิพย์จักร) และชาวไทยภาคกลาง • สมัยนั้นจะมีฝรั่งมาเที่ยวบ้าง ขึ้นดอย หาฝิ่นสูบ เที่ยวชมธรรมชาติ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าถนนก่อนเข้าปาย ขึ้นดอย มีที่หนึ่ง เรียกว่า กิ่วแหม่ม หมายถึงคนขับรถรับจ้างข่มขืนแหม่มฝรั่งตรงกิ่วนั้น กิ่วแปลว่าช่องเขาแคบๆ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000016798 • #MGROnline #แม่ฮ่องสอน #อดีตปลัดอำเภอฯ #ปาย #ชุมชนท่องเที่ยว #ดอยสูง #หลากชาติพันธุ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรณีของ บ่อนคาสิโน ไม่ว่าจะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ยากที่จะบอกได้ว่าประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงประโยชน์และโทษอย่างถ่องแท้หรือไม่ หากอายุเราพอๆกัน จะจำได้ว่า “เอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์” (แปลง่ายๆว่าจะให้คนมาประมูลเปิดบ่อนดึงเงินเข้าประเทศ) นั้นถูกเสนอมาตั้งแต่รัฐบาล ทักษิณ ในปี พ.ศ. 2544-2545 แต่กระแสก็แผ่ว ตอนนั้น มีพ่อของ รัฐมนตรีท่องเที่ยว บอกว่าจะให้เอาโรงแรมแอมบาสเดอร์พัทยานั่นแหละเป็นพื้นที่นำร่องเพราะตรงตามความต้องการดี และ ไม่นานกระแสก็แผ่วเพราะภาคประชาสังคมต่อต้านอย่างมาก ปีนี้ปี พ.ศ. 2568 พ่อนายก ก็ยังขุดของเก่ามาขายอีกมั้งๆที่น่าจะมีกรณีศึกษามาแล้วพอสมควรแก่การละ และ วาง

    การที่ประเทศไทย ไม่มีคาสิโนถูกกฎหมายในทุกวันนี้ กอรป กับการที่ ตำรวจกลายเป็นหน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชั่นสูงสุด ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ในตอนที่เขียนไว้ข้างต้น ตัรายงานการสำรวจจาก รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะทำงาน ระบุว่าส่วยตำรวจจากบ่อนการพนันทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2544 น่าจะอยู่ระหว่าง 6 พัน 6 ร้อยล้าน ถึง 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับการคอรัปชั่นในรูปแบบอื่นๆอีก ก็เพราะเงินจำนวนมหาศาล นี้เอง ที่ทำให้การฉ้อราษฏร์บังหลวง มันหอมหวานมาก คำถามในเวลานั้นคือถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหานี้จะแก้ได้หรือไม่? นี่ยังคงเป็นคำถามเดียวกันที่เราต้องถามในปัจจุบัน ไม่ใช่ ว่าจะลดบ่อนเถื่อนได้หรือไม่ !

    และก็มีไอ้ประเภทชอบอ้างถึง มาเก๊า สิงค์โปร์ ลาสเวกัส (แต่ไม่ยักอ้างถึงฟิลิปปินส์หรือญี่ปุ่น) …ในเรื่องการเปิดเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์ (บ่อน) - ฟิลิปปินส์ปีที่ผ่านมานี้รัฐบาลบอกว่าภาคอุตสาหกรรมเกมมิ่ง (การพนัน) ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำดีมาก แต่ ..ประชาชนติดการพนันทั้งประเทศ .. ญี่ปุ่นมีกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังมองจากการศึกษาถอดบทเรียนว่าได้ไม่คุ้มเสีย …จีน บอกแล้วประชาชนออกไปเล่นนอกประเทศ มีความเสี่ยง มีค่าใช้จ่าย เป็นกำแพง แต่กลับมาในประเทศห้ามมีเด็ดขาดเพราะการที่ประชาชนติดการพนันสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ …สิงค์โปร์ กฏหมายต่อต้านคอรัปชั่นรุนแรง กำแพงการเข้าถึงสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐและครอบครัวใกล้ชิดห้ามข้องแวะโดยเด็ดขาด…มาเก๊าประเทศมีอะไรนอกจากเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์? …ลาสเวกัสและการพนันเสรีในสหรัฐ..ดูประเทศเขาตอนนี้สิ รัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของลาสเวกัส เมืองบ่อนการพนันที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าอัตราการฆ่า ตัวตายของรัฐฯ สูงที่สุดในอเมริกา อัตราการล้มละลายสูงถึงร้อยละ 50 หรือที่เมืองเดดวูด รัฐดาโกตา หลังจากให้เปิดคาสิโนเพียง 2 ปี พบการทารุณกรรมเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 อัตราการฆ่าตัวตายของสามี-ภรรยาที่เล่นพนันสม่ำยิ่งน่าตกใจ มันมากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศถึง 150 เท่า!!

    ถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ของประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ มีแต่ข่าว ลูกฆ่าพ่อ พ่อฆ่าลูก ผัวฆ่าเมีย แม่ฆ่ายกครัว เจ้าหนี้โหดทวงหนี้ฆ่ายกบ้าน จะเพิ่มขึ้นหรือไม่? (หรือทุกวันนี้ มันก็มีแฝงกับบ่อนเถื่อนต่างๆ อยู่แล้ว?)

    ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาลแบบนี้ เรามีฝ่ายค้านแบบนี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้ว่าไหม?
    กรณีของ บ่อนคาสิโน ไม่ว่าจะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ยากที่จะบอกได้ว่าประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงประโยชน์และโทษอย่างถ่องแท้หรือไม่ หากอายุเราพอๆกัน จะจำได้ว่า “เอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์” (แปลง่ายๆว่าจะให้คนมาประมูลเปิดบ่อนดึงเงินเข้าประเทศ) นั้นถูกเสนอมาตั้งแต่รัฐบาล ทักษิณ ในปี พ.ศ. 2544-2545 แต่กระแสก็แผ่ว ตอนนั้น มีพ่อของ รัฐมนตรีท่องเที่ยว บอกว่าจะให้เอาโรงแรมแอมบาสเดอร์พัทยานั่นแหละเป็นพื้นที่นำร่องเพราะตรงตามความต้องการดี และ ไม่นานกระแสก็แผ่วเพราะภาคประชาสังคมต่อต้านอย่างมาก ปีนี้ปี พ.ศ. 2568 พ่อนายก ก็ยังขุดของเก่ามาขายอีกมั้งๆที่น่าจะมีกรณีศึกษามาแล้วพอสมควรแก่การละ และ วาง การที่ประเทศไทย ไม่มีคาสิโนถูกกฎหมายในทุกวันนี้ กอรป กับการที่ ตำรวจกลายเป็นหน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชั่นสูงสุด ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ในตอนที่เขียนไว้ข้างต้น ตัรายงานการสำรวจจาก รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะทำงาน ระบุว่าส่วยตำรวจจากบ่อนการพนันทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2544 น่าจะอยู่ระหว่าง 6 พัน 6 ร้อยล้าน ถึง 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับการคอรัปชั่นในรูปแบบอื่นๆอีก ก็เพราะเงินจำนวนมหาศาล นี้เอง ที่ทำให้การฉ้อราษฏร์บังหลวง มันหอมหวานมาก คำถามในเวลานั้นคือถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหานี้จะแก้ได้หรือไม่? นี่ยังคงเป็นคำถามเดียวกันที่เราต้องถามในปัจจุบัน ไม่ใช่ ว่าจะลดบ่อนเถื่อนได้หรือไม่ ! และก็มีไอ้ประเภทชอบอ้างถึง มาเก๊า สิงค์โปร์ ลาสเวกัส (แต่ไม่ยักอ้างถึงฟิลิปปินส์หรือญี่ปุ่น) …ในเรื่องการเปิดเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์ (บ่อน) - ฟิลิปปินส์ปีที่ผ่านมานี้รัฐบาลบอกว่าภาคอุตสาหกรรมเกมมิ่ง (การพนัน) ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำดีมาก แต่ ..ประชาชนติดการพนันทั้งประเทศ .. ญี่ปุ่นมีกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังมองจากการศึกษาถอดบทเรียนว่าได้ไม่คุ้มเสีย …จีน บอกแล้วประชาชนออกไปเล่นนอกประเทศ มีความเสี่ยง มีค่าใช้จ่าย เป็นกำแพง แต่กลับมาในประเทศห้ามมีเด็ดขาดเพราะการที่ประชาชนติดการพนันสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ …สิงค์โปร์ กฏหมายต่อต้านคอรัปชั่นรุนแรง กำแพงการเข้าถึงสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐและครอบครัวใกล้ชิดห้ามข้องแวะโดยเด็ดขาด…มาเก๊าประเทศมีอะไรนอกจากเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์? …ลาสเวกัสและการพนันเสรีในสหรัฐ..ดูประเทศเขาตอนนี้สิ รัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของลาสเวกัส เมืองบ่อนการพนันที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าอัตราการฆ่า ตัวตายของรัฐฯ สูงที่สุดในอเมริกา อัตราการล้มละลายสูงถึงร้อยละ 50 หรือที่เมืองเดดวูด รัฐดาโกตา หลังจากให้เปิดคาสิโนเพียง 2 ปี พบการทารุณกรรมเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 อัตราการฆ่าตัวตายของสามี-ภรรยาที่เล่นพนันสม่ำยิ่งน่าตกใจ มันมากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศถึง 150 เท่า!! ถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ของประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ มีแต่ข่าว ลูกฆ่าพ่อ พ่อฆ่าลูก ผัวฆ่าเมีย แม่ฆ่ายกครัว เจ้าหนี้โหดทวงหนี้ฆ่ายกบ้าน จะเพิ่มขึ้นหรือไม่? (หรือทุกวันนี้ มันก็มีแฝงกับบ่อนเถื่อนต่างๆ อยู่แล้ว?) ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาลแบบนี้ เรามีฝ่ายค้านแบบนี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้ว่าไหม?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 76 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดอนาถ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ข้าราชการ ปล่อยต่างด้าวรุกรานไทย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    สุดอนาถ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ข้าราชการ ปล่อยต่างด้าวรุกรานไทย #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • จากการตรวจสอบของ The Better ทราบว่า บุคคลที่เป็นผู้นำแม่บ้านชาวกัมพูชาไปร้องเพลงชาติบนปราสาทตาเมือนธมของประเทศไทย คือ 'อุตตมะเสนีย์ตรี (พลจัตวา) นัก วงส์' (ឧត្តមសេនីយ៍ត្រី នាក់ វង្ស) นายทหารของกัมพูชา วึ่งนอกจากจะพาคนเขมรกัมพูชาไปกระทำการล่วงละเมิดอธิปไตยของไทยในดินแดนของไทยแล้ว ยังท้าทายเจ้าหน้าที่ไทยอย่างร้ายแรงด้วย พลจัตตวา นัก วงษ์ มีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 42 ภาคทหาร 4 ซึ่งภาคทหารที่ 4 หรือ โยธภูมิภาค 4 (យោធភូមិភាគទី៤) กินพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร จังหวัดเสียมราฐ และจังหวัดกำปงธม ทางตอนเหนือละกลางส่วนเหนือของกัมพูชา โดยเฉพาะจังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร เป็นพื้นที่ที่ความขัดแย้งด้านพรมแดนกับไทยจำนวนหนึ่ง รวมถึงบริเวณปราสาทตาเมือนธม ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 พลจัตวา นัก วงส์ เพิ่งจะได้นำข้าราชการกองพลเยี่ยมเยียนกองกำลังที่ประจำการในพื้นที่ประจำการของทหารกัมพูชาที่ประจันหน้ากับปราสาทตาเมือนธมของไทย และมอบสารอวยพรจาก ฮุน เซน และนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต แก่ประชาชนเนื่องในโอกาสเทศกาลฉลองเทศกาลเทศกาลผชุมบิณฑ์ หรือเทศกาลเซ่นไหว้ลรรพบุรุษของชาวเขมรการกระทำของพลจัตวา นัก วงส์ที่ลุกล้ำอธิปไตยของไทยได้รับการชื่นชมจากชาวกัมพูชาในโซเชียลมีเดีย เช่น Sambath Khat กล่าวว่า "ในฐานะประชาชนชาวกัมพูชา ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการตัดสินใจสั่งการให้กองทัพรักชาติเข้มแข็งและมุ่งมั่นในการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนสุวรรณภูมิเขมร โดยได้รับคำสั่งโดยตรงจากอุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 42 ภาคทหารที่ 4"ส่วนคนเขมรกัมพูชาที่ใช้ชื่อว่า Phan Nith กล่าวอ้างคำพูดของ พลจัตวา นัก วงส์ที่ว่า "ถ้าจะยิงก็ยิงเลย อย่ากลัว!" และบอกต่อไปว่า อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ได้สั่งห้ามคนไทยยืนต่อแถวร้องเพลงบริเวณปราสาทตาเมือนธม เช่นเดียวกับทหารสยามที่สั่งห้ามพลเมืองเขมรยืนร้องเพลงชาติบริเวณปราสาทตาเมือนธม นี่คือคำพูดของอุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ที่กล่าวและชี้ไปที่ใบหน้าของพวกอันธพาลสยามเหล่านั้น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทหารเขมรของเราอย่างอุตมะเสนีย์ตรี (นัก วงส์)ผู้บัญชาเขมรแห้งการกองพลทหารราบที่ 42 เป็นผู้กล้าหาญและกล้าหาญในการปกป้องดินแดนกัมพูชาบริเวณปราสาทตาเมือนธม เขาไม่ยอมให้กับพวกอันธพาลสยามที่กำลังโจมตีคนเขมรเรา"ขณะที่บล็อเกอร์ชาวกัมพูชสอีกรายกล่าวยกย่องว่า "อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ เป็นคนรักชาติจริงๆ พวกเขาขวางเรา เราก็ขวางพวกเขา อย่าไปกลัว" แม้แต่สื่อกัมพูชาก็ยกย่องการกระทำของบุคคลนี้ โดย Beemax TV กล่าวว่า "คำพูดของ อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ผู้บังคับการกองกำลังรักษาชายแดน ทำให้ชาวกัมพูชาดีใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่เขากล้าพูดประโยคนี้กับกองทัพไทย โดยห้ามชาวกัมพูชาร้องเพลงชาติที่ปราสาทตาเมือนธม" โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
    จากการตรวจสอบของ The Better ทราบว่า บุคคลที่เป็นผู้นำแม่บ้านชาวกัมพูชาไปร้องเพลงชาติบนปราสาทตาเมือนธมของประเทศไทย คือ 'อุตตมะเสนีย์ตรี (พลจัตวา) นัก วงส์' (ឧត្តមសេនីយ៍ត្រី នាក់ វង្ស) นายทหารของกัมพูชา วึ่งนอกจากจะพาคนเขมรกัมพูชาไปกระทำการล่วงละเมิดอธิปไตยของไทยในดินแดนของไทยแล้ว ยังท้าทายเจ้าหน้าที่ไทยอย่างร้ายแรงด้วย พลจัตตวา นัก วงษ์ มีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 42 ภาคทหาร 4 ซึ่งภาคทหารที่ 4 หรือ โยธภูมิภาค 4 (យោធភូមិភាគទី៤) กินพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร จังหวัดเสียมราฐ และจังหวัดกำปงธม ทางตอนเหนือละกลางส่วนเหนือของกัมพูชา โดยเฉพาะจังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดพระวิหาร เป็นพื้นที่ที่ความขัดแย้งด้านพรมแดนกับไทยจำนวนหนึ่ง รวมถึงบริเวณปราสาทตาเมือนธม ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 พลจัตวา นัก วงส์ เพิ่งจะได้นำข้าราชการกองพลเยี่ยมเยียนกองกำลังที่ประจำการในพื้นที่ประจำการของทหารกัมพูชาที่ประจันหน้ากับปราสาทตาเมือนธมของไทย และมอบสารอวยพรจาก ฮุน เซน และนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต แก่ประชาชนเนื่องในโอกาสเทศกาลฉลองเทศกาลเทศกาลผชุมบิณฑ์ หรือเทศกาลเซ่นไหว้ลรรพบุรุษของชาวเขมรการกระทำของพลจัตวา นัก วงส์ที่ลุกล้ำอธิปไตยของไทยได้รับการชื่นชมจากชาวกัมพูชาในโซเชียลมีเดีย เช่น Sambath Khat กล่าวว่า "ในฐานะประชาชนชาวกัมพูชา ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการตัดสินใจสั่งการให้กองทัพรักชาติเข้มแข็งและมุ่งมั่นในการปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนสุวรรณภูมิเขมร โดยได้รับคำสั่งโดยตรงจากอุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 42 ภาคทหารที่ 4"ส่วนคนเขมรกัมพูชาที่ใช้ชื่อว่า Phan Nith กล่าวอ้างคำพูดของ พลจัตวา นัก วงส์ที่ว่า "ถ้าจะยิงก็ยิงเลย อย่ากลัว!" และบอกต่อไปว่า อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ได้สั่งห้ามคนไทยยืนต่อแถวร้องเพลงบริเวณปราสาทตาเมือนธม เช่นเดียวกับทหารสยามที่สั่งห้ามพลเมืองเขมรยืนร้องเพลงชาติบริเวณปราสาทตาเมือนธม นี่คือคำพูดของอุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ที่กล่าวและชี้ไปที่ใบหน้าของพวกอันธพาลสยามเหล่านั้น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทหารเขมรของเราอย่างอุตมะเสนีย์ตรี (นัก วงส์)ผู้บัญชาเขมรแห้งการกองพลทหารราบที่ 42 เป็นผู้กล้าหาญและกล้าหาญในการปกป้องดินแดนกัมพูชาบริเวณปราสาทตาเมือนธม เขาไม่ยอมให้กับพวกอันธพาลสยามที่กำลังโจมตีคนเขมรเรา"ขณะที่บล็อเกอร์ชาวกัมพูชสอีกรายกล่าวยกย่องว่า "อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ เป็นคนรักชาติจริงๆ พวกเขาขวางเรา เราก็ขวางพวกเขา อย่าไปกลัว" แม้แต่สื่อกัมพูชาก็ยกย่องการกระทำของบุคคลนี้ โดย Beemax TV กล่าวว่า "คำพูดของ อุตตมะเสนีย์ตรี นัก วงส์ ผู้บังคับการกองกำลังรักษาชายแดน ทำให้ชาวกัมพูชาดีใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่เขากล้าพูดประโยคนี้กับกองทัพไทย โดยห้ามชาวกัมพูชาร้องเพลงชาติที่ปราสาทตาเมือนธม" โดยทีมข่าวต่างประเทศ The Better
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 132 มุมมอง 0 รีวิว
  • สตม.จัดอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรม 97 ปี ตม.ไทย ใต้ร่มพระบารมี ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย - เนปาล จำนวน 44 นาย
    สตม.จัดอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรม 97 ปี ตม.ไทย ใต้ร่มพระบารมี ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด ณ ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย - เนปาล จำนวน 44 นาย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 0 รีวิว
  • 70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม?

    ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย

    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

    แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่?

    ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8
    9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม
    ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

    🔎 ลักษณะพระบรมศพ
    มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย

    💡 คำถามที่เกิดขึ้น
    เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์?
    หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ?

    มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด

    1. นายเฉลียว ปทุมรส
    อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต

    2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม
    อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์

    3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง
    เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต

    💭 ข้อโต้แย้ง
    มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์

    ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร
    หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ
    - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน
    - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม
    - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม

    17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล
    ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
    ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร
    ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร
    ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร

    หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น

    👀 ความน่าสงสัย
    - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน
    - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี

    ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง?
    แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด

    🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ"
    ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน
    มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง

    🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์"
    มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง
    ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ

    🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป"
    สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง
    หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย

    คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ
    แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง

    ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥
    - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์?
    - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่?

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568

    #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม? ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่? ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง 🔎 ลักษณะพระบรมศพ มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย 💡 คำถามที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์? หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ? มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1. นายเฉลียว ปทุมรส อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต 2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์ 3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต 💭 ข้อโต้แย้ง มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น 👀 ความน่าสงสัย - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง? แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด 🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ" ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน 🔴 ข้อโต้แย้ง ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง 🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์" มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร 🔴 ข้อโต้แย้ง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ 🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป" สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥 - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์? - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่? ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568 #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 201 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 231 มุมมอง 0 รีวิว
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 184 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ

    ความมีอยู่ว่า
    ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง

    ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้

    จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย)

    จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว

    ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ

    Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html
    https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ ความมีอยู่ว่า ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย) จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประตูเปิดทางทิศใต้

    เดือนนี้ มีโชคอันเกี่ยวเนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจรจาความใดจะประสบผลสำเร็จแบ่งปันผลประโยขน์สำเร็จลงตัว เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มีโชคด้านการเงิน ส่งผลดีต่อข้าราชการมีการปรับปรุงโยกย้าย จะได้รับตำแหน่งขั้นที่สูงขึ้นให้มีอำนาจวาสนาได้ตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์รับบำเหน็จบำนาญ ครอบครัวมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยลูกหลานอยู่ในโอวาทสร้างความสมานฉันท์เพื่อความปรองดอง แต่จะส่งผลร้ายต่อภรรยาและลูกหลานให้เจ็บไข้ได้ป่วย อาจเหลือแต่ชายสูงวัยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นพ่อม้ายไม่มีใครคอยช่วยดูแล ดังนั้นต้องใส่ใจสุขภาพร่างกายของตนเองโดยเฉพาะที่ขาขวา ปอด กระดูก ศีรษะ ตลอดจนเส้นเลือดในสมอง อีกทั้งต้องระมัดระวังอุบัติเหตุตกจากที่สูงด้วย

    เสริมความมงคล : ตั้งแจกันเซรามิคสีเหลือง

    ___________________________________
    FengshuiBizDesigner
    ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้

    🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG
    ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง)
    .
    .
    #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร
    #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    ประตูเปิดทางทิศใต้ เดือนนี้ มีโชคอันเกี่ยวเนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจรจาความใดจะประสบผลสำเร็จแบ่งปันผลประโยขน์สำเร็จลงตัว เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มีโชคด้านการเงิน ส่งผลดีต่อข้าราชการมีการปรับปรุงโยกย้าย จะได้รับตำแหน่งขั้นที่สูงขึ้นให้มีอำนาจวาสนาได้ตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์รับบำเหน็จบำนาญ ครอบครัวมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยลูกหลานอยู่ในโอวาทสร้างความสมานฉันท์เพื่อความปรองดอง แต่จะส่งผลร้ายต่อภรรยาและลูกหลานให้เจ็บไข้ได้ป่วย อาจเหลือแต่ชายสูงวัยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นพ่อม้ายไม่มีใครคอยช่วยดูแล ดังนั้นต้องใส่ใจสุขภาพร่างกายของตนเองโดยเฉพาะที่ขาขวา ปอด กระดูก ศีรษะ ตลอดจนเส้นเลือดในสมอง อีกทั้งต้องระมัดระวังอุบัติเหตุตกจากที่สูงด้วย เสริมความมงคล : ตั้งแจกันเซรามิคสีเหลือง ___________________________________ FengshuiBizDesigner ฮวงจุ้ย...ออกแบบได้ 🔮 เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ แอดเลย!! คลิก👉 https://lin.ee/nyL0NuG ติดต่อ : 066-095-4524 (จิม) , 081-625-2587(ด็อง) . . #ดูดวงธุรกิจ #โลโก้ดี #ออกแบบโลโก้ #เช็คฮวงจุ้ยให้ธุรกิจ #ฮวงจุ้ย #พี่อ๋า #สมศักดิ์ #ชาคริตฐากูร #FengshuiBiz #FengshuiBizDesigner
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐ ร่วมมือ 'อีลอน มัสก์' เตรียมปลดข้าราชการครั้งใหญ่ : คนเคาะข่าว 13-02-68
    : : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นาถฤดี ฤดีสวัสดิ์
    #คนเคาะข่าว #thaitimes
    'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐ ร่วมมือ 'อีลอน มัสก์' เตรียมปลดข้าราชการครั้งใหญ่ : คนเคาะข่าว 13-02-68 : : อ.สุดาทิพย์ จารุจินดา อินทร ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นาถฤดี ฤดีสวัสดิ์ #คนเคาะข่าว #thaitimes
    Like
    Yay
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 201 มุมมอง 4 0 รีวิว
  • สกุลถานไถ

    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน

    แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl)

    จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥)

    เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ

    ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง

    เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง

    ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา

    ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง)

    นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน

    ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm
    http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx
    http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm
    https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/

    #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    สกุลถานไถ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl) จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥) เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง) นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/ #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผบ.ตร.เซ็นย้ายขาด "ผู้การตาก" ช่วยราชการศปก.ตร. พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ปมต่างชาติถูกแก๊งคอลฯ หลอกข้ามแดน ทำลายภาพลักษณ์ประเทศ
    .
    วันนี้ (11 ก.พ.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 64/2568 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการและรักษาราชการแทน ใจความระบุว่า ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับรายงานกรณีที่ปรากฏข่าวสารในสื่อมวลชนต่างๆ เผยแพร่ข่าวนักท่องเที่ยวถูกมิจฉาชีพหลอกลวงมาที่ประเทศไทยแล้วหายตัวไปบริเวณชายแดประเทศเมียนมา อีกทั้งมีการลักลอบข้ามชายแดนทางช่องทางธรรมชาติในเขตพื้นที่อ.แม่สอด และอ.แม่ระมาด จ.ตาก
    .
    กรณีดังกล่าวอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในพื้นที่ของสภ.แม่สอด สภ.แม่ระมาด และสภ.พบพระ จ.ตาก ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก ซึ่งตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว และมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับการของ 3 สถานีตำรวจดังกล่าว ช่วยราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมแล้ว
    .
    ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล เพื่อให้ให้ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติการณ์ และหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด
    .
    เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจได้ประพฤติบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำความผิดทางวินัยหรืออาญา หากให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิมอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
    .
    ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และมีให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 63 และมาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจ ไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566
    .
    จึงสั่งการให้ พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 1 ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
    .
    ทั้งนี้ ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีการไปช่วยราชการสิ้นสุดลง ตามข้อ 11 ของระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2566 และให้ พล.ต.ต.ระวีพรรษ อมรมุนีพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูรภาค 6 รักษาราชการแทน ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก อีกหน้าที่หนึ่ง
    .
    ขณะเดียวกันพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ลงนามคำสั่ง ตร.ที่ 62/2568เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ใจความว่า ด้วยเมื่อประมาณต้นเดือนมกราคม 2568ได้ปรากฏข่าวสารในสื่อมวลชนต่างๆ เผยแพร่ข่าวนักท่องเที่ยวถูกมิจฉาชีพหลอกลวงมาประเทศไทย แล้วหายตัวไปบริเวณชายแดนเมียนมา และมีการลักลอบข้ามชายแดน ทางช่องทางธรรมชาติในเขตอ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และอ.พบพระ จ.ตาก กรณีดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    .
    โดยบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่ 3 สถานีตำรวจ ในความรับผิดชอบของพล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ประกอบกับ ตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจ 3 ราย พ.ต.อ.พิทยากร เพชรรัตน์ ผกก.สภ.แม่สอด จ.ตาก พ.ต.อ.ฐมณ์พงศ์ เพ็ชร์พิรุณ ผกก.สภ.แม่ระมาด จ.ตาก และพ.ต.อ.ฉัตรชัย คำยิ่ง ผกก.สภ.พบพระ จ.ตาก ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจฎรรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม
    .
    ดังนั้น เพื่อให้ได้รายละเอียดขัดเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารมารณ์และหลักฐานในเบื้องต้น ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 63 และมาตรา 105
    .
    จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
    .
    1. พล.ต.ท.มนเทียร พันธ์อิ่ม จเรตำรวจ เป็นประธานกรรมการ
    .
    2. พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล รองจเรตำรวจ สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ
    .
    3. พ.ต.อ.สรัลพัฒน์ ยศสมบัติ รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 7 รักษาราชการแทนผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ
    .
    4. พ.ต.อ.ชัชวาลย์ ทิพย์พิชัย รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 1 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ
    .
    5. พ.ต.อ.กฤษฎีชวินทร์ วีระจิตต์ ผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 1 กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการและเลขานุการ
    .
    6. พ.ต.ท.ศิริพล บุญหนุน รองผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 2 กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    .
    ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง แล้วเสนอรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
    .
    อนึ่ง ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่ากรณีมีมูลว่าข้าราชการตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งนี้ หรือกรณีที่การสืบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการตำรวจผู้อื่นและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพิจารณาในเบื้องตันแล้วเห็นว่า ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำในเรื่องที่ตรวจสอบนั้นอยู่ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานมาโดยเร็ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013855
    .........
    Sondhi X
    ผบ.ตร.เซ็นย้ายขาด "ผู้การตาก" ช่วยราชการศปก.ตร. พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ปมต่างชาติถูกแก๊งคอลฯ หลอกข้ามแดน ทำลายภาพลักษณ์ประเทศ . วันนี้ (11 ก.พ.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 64/2568 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการและรักษาราชการแทน ใจความระบุว่า ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับรายงานกรณีที่ปรากฏข่าวสารในสื่อมวลชนต่างๆ เผยแพร่ข่าวนักท่องเที่ยวถูกมิจฉาชีพหลอกลวงมาที่ประเทศไทยแล้วหายตัวไปบริเวณชายแดประเทศเมียนมา อีกทั้งมีการลักลอบข้ามชายแดนทางช่องทางธรรมชาติในเขตพื้นที่อ.แม่สอด และอ.แม่ระมาด จ.ตาก . กรณีดังกล่าวอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในพื้นที่ของสภ.แม่สอด สภ.แม่ระมาด และสภ.พบพระ จ.ตาก ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก ซึ่งตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว และมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจระดับผู้กำกับการของ 3 สถานีตำรวจดังกล่าว ช่วยราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมแล้ว . ต่อมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล เพื่อให้ให้ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติการณ์ และหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด . เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจได้ประพฤติบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำความผิดทางวินัยหรืออาญา หากให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิมอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ . ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และมีให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 63 และมาตรา 105 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจ ไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566 . จึงสั่งการให้ พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 1 ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย . ทั้งนี้ ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีการไปช่วยราชการสิ้นสุดลง ตามข้อ 11 ของระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2566 และให้ พล.ต.ต.ระวีพรรษ อมรมุนีพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูรภาค 6 รักษาราชการแทน ผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดตาก อีกหน้าที่หนึ่ง . ขณะเดียวกันพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ลงนามคำสั่ง ตร.ที่ 62/2568เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ใจความว่า ด้วยเมื่อประมาณต้นเดือนมกราคม 2568ได้ปรากฏข่าวสารในสื่อมวลชนต่างๆ เผยแพร่ข่าวนักท่องเที่ยวถูกมิจฉาชีพหลอกลวงมาประเทศไทย แล้วหายตัวไปบริเวณชายแดนเมียนมา และมีการลักลอบข้ามชายแดน ทางช่องทางธรรมชาติในเขตอ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และอ.พบพระ จ.ตาก กรณีดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ . โดยบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่ 3 สถานีตำรวจ ในความรับผิดชอบของพล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ประกอบกับ ตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจ 3 ราย พ.ต.อ.พิทยากร เพชรรัตน์ ผกก.สภ.แม่สอด จ.ตาก พ.ต.อ.ฐมณ์พงศ์ เพ็ชร์พิรุณ ผกก.สภ.แม่ระมาด จ.ตาก และพ.ต.อ.ฉัตรชัย คำยิ่ง ผกก.สภ.พบพระ จ.ตาก ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจฎรรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม . ดังนั้น เพื่อให้ได้รายละเอียดขัดเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารมารณ์และหลักฐานในเบื้องต้น ว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 มาตรา 63 และมาตรา 105 . จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ . 1. พล.ต.ท.มนเทียร พันธ์อิ่ม จเรตำรวจ เป็นประธานกรรมการ . 2. พล.ต.ต.พุฒิพงศ์ มุสิกูล รองจเรตำรวจ สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ . 3. พ.ต.อ.สรัลพัฒน์ ยศสมบัติ รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 7 รักษาราชการแทนผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ . 4. พ.ต.อ.ชัชวาลย์ ทิพย์พิชัย รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 1 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ . 5. พ.ต.อ.กฤษฎีชวินทร์ วีระจิตต์ ผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 1 กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการและเลขานุการ . 6. พ.ต.ท.ศิริพล บุญหนุน รองผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 2 กองตรวจราชการ 2 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ . ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง แล้วเสนอรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป . อนึ่ง ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่ากรณีมีมูลว่าข้าราชการตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งนี้ หรือกรณีที่การสืบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการตำรวจผู้อื่นและคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพิจารณาในเบื้องตันแล้วเห็นว่า ข้าราชการตำรวจผู้นั้นมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำในเรื่องที่ตรวจสอบนั้นอยู่ด้วย ให้ประธานกรรมการรายงานมาโดยเร็ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013855 ......... Sondhi X
    Like
    14
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1884 มุมมอง 2 รีวิว
  • ผบ.ตร. เซ็นย้ายขาด "ต๊ะ แม่สอด" ช่วยราชการศปก.ตร. พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงปมถูกกล่าวหาเอี่ยว "เมียวดีคอมเพล็กซ์" แหล่งฟอกเงิน ธุรกิจผิดกฎหมายชายแดน
    .
    วันนี้ (11 ก.พ.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 63/2568 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใจความว่า ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับรายงานกรณีที่ปรากฏข้อมูลประเด็นทางสื่อสังคมออนไลน์ ว่ามีข้าราชการตำรวจยศ พลตำรวจตรี มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจเมียวดีคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นสถานบันเทิงและบ่อนกาสิโน รวมทั้งเป็นแหล่งฟอกเงินและธุรกิจผิดกฎหมายขนาดใหญ่ ริมชายแดนประเทศไทยและประเทศเมียนมา
    .
    ซึ่งภายหลังได้มีการเปิดเผยชื่อคือ พล.ต.ต.เอกราษฎร์ อินทร์ต๊ะสืบ ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติการณ์และหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด
    .
    เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและสังคมในวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจได้ประพฤติบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำความผิดทางวินัยหรืออาญา หากให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิมอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
    .
    ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และมีให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติตํตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566
    .
    จึงให้ พล.ต.ต. เอกราษฎร์ อินทร์ต๊ะสืบ ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 5 รักษาราชการแทน ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 6 ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 1 ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มอบหมาย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
    .
    ทั้งนี้ ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีการไปช่วยราชการสิ้นสุดลงตามข้อ 11 และข้อ 13 (2) ของระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย
    การสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566
    .
    อนึ่ง บรรดาคำสั่งหรือการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ยกเลิกในส่วนที่ขัดหรือแย้งและใช้คำสั่งนี้แทน
    .
    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
    .
    คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000013813
    ......
    Sondhi X
    ผบ.ตร. เซ็นย้ายขาด "ต๊ะ แม่สอด" ช่วยราชการศปก.ตร. พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงปมถูกกล่าวหาเอี่ยว "เมียวดีคอมเพล็กซ์" แหล่งฟอกเงิน ธุรกิจผิดกฎหมายชายแดน . วันนี้ (11 ก.พ.) พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 63/2568 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใจความว่า ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับรายงานกรณีที่ปรากฏข้อมูลประเด็นทางสื่อสังคมออนไลน์ ว่ามีข้าราชการตำรวจยศ พลตำรวจตรี มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจเมียวดีคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นสถานบันเทิงและบ่อนกาสิโน รวมทั้งเป็นแหล่งฟอกเงินและธุรกิจผิดกฎหมายขนาดใหญ่ ริมชายแดนประเทศไทยและประเทศเมียนมา . ซึ่งภายหลังได้มีการเปิดเผยชื่อคือ พล.ต.ต.เอกราษฎร์ อินทร์ต๊ะสืบ ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ได้รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติการณ์และหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดวินัยหรือไม่ประการใด . เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและสังคมในวงกว้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อีกทั้งมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการตำรวจได้ประพฤติบกพร่องต่อหน้าที่ หรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำความผิดทางวินัยหรืออาญา หากให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิมอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ . ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และมีให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติตํตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ประกอบระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566 . จึงให้ พล.ต.ต. เอกราษฎร์ อินทร์ต๊ะสืบ ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 5 รักษาราชการแทน ผู้บังคับการกองตรวจราชการ 6 ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อาคาร 1 ชั้น 20 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากการปฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มอบหมาย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย . ทั้งนี้ ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์กรณีการไปช่วยราชการสิ้นสุดลงตามข้อ 11 และข้อ 13 (2) ของระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วย การสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2566 . อนึ่ง บรรดาคำสั่งหรือการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ยกเลิกในส่วนที่ขัดหรือแย้งและใช้คำสั่งนี้แทน . ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง . คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000013813 ...... Sondhi X
    SONDHITALK.COM
    ผบ.ตร.เซ็นเด้ง "ผู้การต๊ะ" ตั้งกก.สอบปมเอี่ยว "เมียวดีคอมเพล็กซ์"
    ผบ.ตร. สั่งเด้ง นายพล ต.เต่า ถูกกล่าวหา โยงกับเมียวดีคอมเพล็กซ์11 ก.พ. 2568 พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 63/2568 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใจความระบุว่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • กาญจนบุรี - ด่วน! อธิบดีกรมอุทยานฯ ลงนามคำสั่งย้าย 4 เจ้าหน้าที่ สบอ.3 บ้านโป่ง เผยเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ก.พ.) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนามในคำสั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง ให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ด้วยการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545 จำนวน 4 ราย ให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000013771

    #MGROnline #กรมอุทยานแห่งชาติ
    กาญจนบุรี - ด่วน! อธิบดีกรมอุทยานฯ ลงนามคำสั่งย้าย 4 เจ้าหน้าที่ สบอ.3 บ้านโป่ง เผยเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ก.พ.) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนามในคำสั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง ให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ด้วยการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545 จำนวน 4 ราย ให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000013771 • #MGROnline #กรมอุทยานแห่งชาติ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 0 รีวิว
  • สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ

    ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)

    ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย

    แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?

    จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า

    ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง

    ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)

    จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น

    ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’

    แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน

    ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
    http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
    https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
    https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
    http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
    http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
    http://economy.guoxue.com/?p=888

    #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱) ‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ? จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย) จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm# http://economy.guoxue.com/?p=888 #ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
    WWW.THEMOVIEDB.ORG
    神探同盟
    故事改編自內地網絡作家大風颳過撰寫嘅原創長篇網絡小說《張公案》.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 318 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลู่วิ่งในร่มเปิดถึง 4 ทุ่ม ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

    บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขยายเวลาเปิดให้บริการลู่วิ่ง Sky Running ที่ชั้น 4 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ออกไปอีก 2 ชั่วโมง เป็นตั้งแต่ 06.00 น. ถึง 22.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อต้องการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน และผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 โดยลู่วิ่งมีระยะทาง 412 เมตรต่อรอบ พร้อมระบบนับรอบวิ่ง ปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 200 คน ทั้งพนักงาน ข้าราชการ และประชาชนใกล้เคียง

    ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ กล่าวว่า จุดประสงค์ของการพัฒนาลู่วิ่ง เพื่อต้องการให้ผู้ที่ทำงานในศูนย์ราชการฯ ได้มีพื้นที่ออกกำลังกายระหว่างรอกลับบ้านหลังเลิกจากงาน ช่วยลดความแออัดของการจราจรในช่วงเย็น และยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีบริการสันทนาการอื่นๆ สำหรับผู้ที่ทำงานในศูนย์ราชการฯ ได้ผ่อนคลายและออกกำลังกายในช่วงเย็น เช่น ห้องแดนซ์สตูดิโอ ห้องปิงปอง ห้องโยคะ ช่วยยกคุณภาพชีวิตของผู้ที่ทำงานได้เป็นอย่างดี

    อาคาร B ออกแบบเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบกรองอากาศขนาดใหญ่ ตัวอาคารเป็นระบบปิดสนิททำให้อากาศภายในอาคารมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่น้อย จึงเหมาะแก่การออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และติดตั้งเครื่อง AED ไว้ให้บริการกรณีฉุกเฉิน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถวิ่งออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ช่วยให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    สำหรับลู่วิ่ง Sky Running เปิดเมื่อเดือน ก.ค. 2561 ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคาร B มีล็อกเกอร์สำหรับเก็บของที่ชั้น 5 รวม 96 ช่อง เครื่องออกกำลังกายแบบยืดเหยียด และห้องอาบน้ำบริเวณห้องน้ำ E3 ชั้น 4 และชั้น 5 แบ่งเป็นห้องอาบน้ำชาย 2 ห้อง ห้องอาบน้ำหญิง 2 ห้อง ส่วนบริเวณชั้น B ยังมีร้านสะดวกซื้อ ร้านค้า ศูนย์อาหาร สาขาธนาคาร และมีที่จอดรถสำหรับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ชั้น 1 รวม 150 คัน ชั้น 3 และ 4 รวม 1,500 คัน และชั้น 5 รวม 350 คัน

    การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ลงที่สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ทางออก 3 ต่อด้วย Skywalk ไปยังอาคารจอดรถ D ต่อด้วยรถ EV Shuttle Bus เส้นทางที่ 1 ไปยังอาคาร B ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-19.00 น. หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนรถประจำทางสายที่เข้าอาคาร B ได้แก่ ขสมก. สาย 66 (2-12) สาย 166 (ศูนย์ราชการ) สาย 2-36 ไทยสมายล์บัส สาย 126 (1-13) สาย 513E (3-23E) และสาย 1-31

    #Newskit
    ลู่วิ่งในร่มเปิดถึง 4 ทุ่ม ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ขยายเวลาเปิดให้บริการลู่วิ่ง Sky Running ที่ชั้น 4 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ออกไปอีก 2 ชั่วโมง เป็นตั้งแต่ 06.00 น. ถึง 22.00 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อต้องการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน และผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 โดยลู่วิ่งมีระยะทาง 412 เมตรต่อรอบ พร้อมระบบนับรอบวิ่ง ปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 200 คน ทั้งพนักงาน ข้าราชการ และประชาชนใกล้เคียง ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ กล่าวว่า จุดประสงค์ของการพัฒนาลู่วิ่ง เพื่อต้องการให้ผู้ที่ทำงานในศูนย์ราชการฯ ได้มีพื้นที่ออกกำลังกายระหว่างรอกลับบ้านหลังเลิกจากงาน ช่วยลดความแออัดของการจราจรในช่วงเย็น และยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีบริการสันทนาการอื่นๆ สำหรับผู้ที่ทำงานในศูนย์ราชการฯ ได้ผ่อนคลายและออกกำลังกายในช่วงเย็น เช่น ห้องแดนซ์สตูดิโอ ห้องปิงปอง ห้องโยคะ ช่วยยกคุณภาพชีวิตของผู้ที่ทำงานได้เป็นอย่างดี อาคาร B ออกแบบเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและระบบกรองอากาศขนาดใหญ่ ตัวอาคารเป็นระบบปิดสนิททำให้อากาศภายในอาคารมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่น้อย จึงเหมาะแก่การออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และติดตั้งเครื่อง AED ไว้ให้บริการกรณีฉุกเฉิน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถวิ่งออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ช่วยให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับลู่วิ่ง Sky Running เปิดเมื่อเดือน ก.ค. 2561 ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคาร B มีล็อกเกอร์สำหรับเก็บของที่ชั้น 5 รวม 96 ช่อง เครื่องออกกำลังกายแบบยืดเหยียด และห้องอาบน้ำบริเวณห้องน้ำ E3 ชั้น 4 และชั้น 5 แบ่งเป็นห้องอาบน้ำชาย 2 ห้อง ห้องอาบน้ำหญิง 2 ห้อง ส่วนบริเวณชั้น B ยังมีร้านสะดวกซื้อ ร้านค้า ศูนย์อาหาร สาขาธนาคาร และมีที่จอดรถสำหรับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ชั้น 1 รวม 150 คัน ชั้น 3 และ 4 รวม 1,500 คัน และชั้น 5 รวม 350 คัน การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ลงที่สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ทางออก 3 ต่อด้วย Skywalk ไปยังอาคารจอดรถ D ต่อด้วยรถ EV Shuttle Bus เส้นทางที่ 1 ไปยังอาคาร B ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-19.00 น. หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนรถประจำทางสายที่เข้าอาคาร B ได้แก่ ขสมก. สาย 66 (2-12) สาย 166 (ศูนย์ราชการ) สาย 2-36 ไทยสมายล์บัส สาย 126 (1-13) สาย 513E (3-23E) และสาย 1-31 #Newskit
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 407 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชัยนาท - ข้าราชการหญิงซี 7 ภรรยาอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้ไปเปิดรีสอร์ต์ เพื่อหลอกให้โอนเงิน โชคดีสามีกับตำรวจ เข้าไปช่วยไว้ได้ทัน

    วันนี้(5 ก.พ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองชัยนาท ได้รับแจ้งจาก ดร.ณัชรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แล้ว ให้ช่วยติดตามหาภรรยา ที่เข้าไปเปิดห้องพักในรีสอร์ตแห่งหนึ่งในตัวอำเภอเมืองชัยนาท เนื่องจากสงสัยว่า ภรรยาจะถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้มาเปิดห้องพัก เพื่อคุยหลอกให้โอนเงิน เมื่อตำรวจ สภ.เมืองชัยนาท และ ดร.ณัชรัตน์ เข้าไปตรวจสอบที่รีสอร์ตดังกล่าว ก็พบหญิง อายุ 44 ปี ทราบว่าเป็นข้าราชการ ระดับซี 7 อยู่ในห้องพัก และกำลังโทรศัพท์พูดคุยกับใครคนหนึ่ง

    ตำรวจและสามีของหญิงข้าราชการ จึงเข้าไปบอกว่าปลายสายเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อย่าหลงเชื่อให้วางสาย แต่หญิงข้าราชการ กลับพยายามบอกให้ตำรวจจริงและสามีเข้าใจว่า ปลายสายที่โทร.มาหาตนนั้นเป็นตำรวจชื่อว่า ร.ต.อ.ธนาวิทย์ วงศ์มูน สังกัด สภ.เมืองอุบลราชธานี และมีข้อมูลส่วนตัวของตน บอกว่าตนไปพัวพันกับการฟอกเงิน 14 ล้านบาท เตรียมจะออกหมายจับตนด้วย

    หญิงข้าราชการ พยายามโทรศัพท์กลับไปหาปลายสาย แต่ก็ไม่มีคนรับ และหญิงข้าราชการ ยังเชื่อว่าปลายสายเป็นตำรวจ ทำให้ทั้ง ตำรวจตัวจริง สามีของหญิงข้าราชการ และพนักงานของรีสอร์ต ถึงกับปวดหัว เพราะทุกคนต่างพูดย้ำแล้วย้ำอีก เพื่อให้หญิงข้าราชการเข้าใจว่ามันคือแก๊งคลอเซ็นเตอร์ ก่อนที่จะพาหญิงข้าราชการ ไปพบพนักงานสอบสวน สภ.เมืองชัยนาท เพื่อเข้าแจ้งความ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000011828

    #MGROnline #ข้าราชการหญิงซี7 #ภรรยา #อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #เปิดรีสอร์ต #หลอกให้โอนเงิน
    ชัยนาท - ข้าราชการหญิงซี 7 ภรรยาอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้ไปเปิดรีสอร์ต์ เพื่อหลอกให้โอนเงิน โชคดีสามีกับตำรวจ เข้าไปช่วยไว้ได้ทัน • วันนี้(5 ก.พ.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองชัยนาท ได้รับแจ้งจาก ดร.ณัชรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แล้ว ให้ช่วยติดตามหาภรรยา ที่เข้าไปเปิดห้องพักในรีสอร์ตแห่งหนึ่งในตัวอำเภอเมืองชัยนาท เนื่องจากสงสัยว่า ภรรยาจะถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้มาเปิดห้องพัก เพื่อคุยหลอกให้โอนเงิน เมื่อตำรวจ สภ.เมืองชัยนาท และ ดร.ณัชรัตน์ เข้าไปตรวจสอบที่รีสอร์ตดังกล่าว ก็พบหญิง อายุ 44 ปี ทราบว่าเป็นข้าราชการ ระดับซี 7 อยู่ในห้องพัก และกำลังโทรศัพท์พูดคุยกับใครคนหนึ่ง • ตำรวจและสามีของหญิงข้าราชการ จึงเข้าไปบอกว่าปลายสายเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อย่าหลงเชื่อให้วางสาย แต่หญิงข้าราชการ กลับพยายามบอกให้ตำรวจจริงและสามีเข้าใจว่า ปลายสายที่โทร.มาหาตนนั้นเป็นตำรวจชื่อว่า ร.ต.อ.ธนาวิทย์ วงศ์มูน สังกัด สภ.เมืองอุบลราชธานี และมีข้อมูลส่วนตัวของตน บอกว่าตนไปพัวพันกับการฟอกเงิน 14 ล้านบาท เตรียมจะออกหมายจับตนด้วย • หญิงข้าราชการ พยายามโทรศัพท์กลับไปหาปลายสาย แต่ก็ไม่มีคนรับ และหญิงข้าราชการ ยังเชื่อว่าปลายสายเป็นตำรวจ ทำให้ทั้ง ตำรวจตัวจริง สามีของหญิงข้าราชการ และพนักงานของรีสอร์ต ถึงกับปวดหัว เพราะทุกคนต่างพูดย้ำแล้วย้ำอีก เพื่อให้หญิงข้าราชการเข้าใจว่ามันคือแก๊งคลอเซ็นเตอร์ ก่อนที่จะพาหญิงข้าราชการ ไปพบพนักงานสอบสวน สภ.เมืองชัยนาท เพื่อเข้าแจ้งความ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000011828 • #MGROnline #ข้าราชการหญิงซี7 #ภรรยา #อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #เปิดรีสอร์ต #หลอกให้โอนเงิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • เนื้อว่านหลวงปู่ทวดรุ่นประสิทธิชัย วัดคอกช้าง จ.ยะลา ปี2549

    เนื้อว่านหลวงปู่ทวดรุ่นประสิทธิชัย วัดคอกช้าง อ.ธารโต จ.ยะลา ปี2549 //เนื้อหา มวลสารดี พิธีใหญ๋ สุดยอดนิรันตราย พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >>

    ** พุทธคุณ "แคล้วคาดปลอดภัย" เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด ประสบการณ์มากมาย ทั้งระเบิดด้าน รถคว่ำ ตกตึก รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >>

    ** พระดีพิธีใหญ๋ เนื้อหามวลสารดีเยี่ยม ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุค มีประสบการณ์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และ ชาวบ้าน แถวนั้น และ ประชาชน ใน พื้นที่ ใกล้เคียง ทราบกันดี จน ทำให้ รุ่นนี้ ใน พื้นที่ เป็นที่ต้องการและหายาก >>

    ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ

    ช่องทางติดต่อ
    LINE 0881915131
    โทรศัพท์ 0881915131
    เนื้อว่านหลวงปู่ทวดรุ่นประสิทธิชัย วัดคอกช้าง จ.ยะลา ปี2549 เนื้อว่านหลวงปู่ทวดรุ่นประสิทธิชัย วัดคอกช้าง อ.ธารโต จ.ยะลา ปี2549 //เนื้อหา มวลสารดี พิธีใหญ๋ สุดยอดนิรันตราย พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ //#รับประกันพระแท้ตลอดชีพครับ >> ** พุทธคุณ "แคล้วคาดปลอดภัย" เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด ประสบการณ์มากมาย ทั้งระเบิดด้าน รถคว่ำ ตกตึก รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย >> ** พระดีพิธีใหญ๋ เนื้อหามวลสารดีเยี่ยม ปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุค มีประสบการณ์ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และ ชาวบ้าน แถวนั้น และ ประชาชน ใน พื้นที่ ใกล้เคียง ทราบกันดี จน ทำให้ รุ่นนี้ ใน พื้นที่ เป็นที่ต้องการและหายาก >> ** พระสถาพสวยมาก พระสถาพสมบูรณ์ หายากก พระไม่ถูกใช้ครับ ช่องทางติดต่อ LINE 0881915131 โทรศัพท์ 0881915131
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 160 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อข้าราชการทุกกระทรวงรับสินบน ช่วยเหลือโจร ช่วยพม่า เขมร ว้าแดง ฯ ประเทศจะเหลืออะไร
    เมื่อข้าราชการทุกกระทรวงรับสินบน ช่วยเหลือโจร ช่วยพม่า เขมร ว้าแดง ฯ ประเทศจะเหลืออะไร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว

  • 70 ปี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เครือข่ายชนชั้นนำ คอนเนคชันขั้นเทพ? 🎖️🇹🇭

    "วปอ. สร้างเครือข่าย หรือสร้างชนชั้นนำใหม่?" คำถามที่ยังค้างคาใจ ในสังคมไทย กับสถาบันที่มีอิทธิพล สูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศ

    จากสถาบันความมั่นคง สู่เครือข่ายแห่งอำนาจ 🔥
    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร" (วปอ.) ภายใต้การดูแลของ กระทรวงกลาโหม โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เป็นสถาบันศึกษาชั้นสูง สำหรับผู้บริหารระดับสูง ของฝ่ายทหาร และพลเรือน

    แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วปอ. ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษา ด้านความมั่นคง แต่กลายเป็น "สนามฝึกซ้อม" ของเครือข่ายอำนาจ ที่ครอบคลุมการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย 💼🏛️

    🎓 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่หลักคือ การศึกษาและอบรม ข้าราชการระดับสูง ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน นักการเมือง และนักธุรกิจเอกชน

    🔹 หลักสูตรของ วปอ.
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) สำหรับข้าราชการระดับสูง และผู้นำทางทหาร
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) เปิดรับผู้บริหารภาคเอกชน และภาครัฐ
    - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) ครั้งหนึ่งเคยมีนักการเมือง ร่วมศึกษา แต่ปัจจุบันปิดตัวลง

    🔹 คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
    ✅ ข้าราชการพลเรือน ระดับอำนวยการสูงขึ้นไป
    ✅ ข้าราชการทหาร ระดับพันเอกขึ้นไป
    ✅ ข้าราชการตำรวจ ระดับพันตำรวจเอกขึ้นไป
    ✅ นักธุรกิจเอกชน เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารระดับสูง

    หลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับ "เข็มรัฏฐาภิรักษ์" ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ ที่ได้รับการยอมรับ ในแวดวงชนชั้นนำไทย

    เครือข่ายอำนาจ หรือเครือข่ายพัฒนา? 🤝
    "วปอ. เป็นเครือข่ายผู้นำ ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน หรือเป็นกลไก ที่ช่วยให้ชนชั้นนำ รักษาอำนาจ?"

    🔹 จุดเด่นของเครือข่าย วปอ.
    ✅ สร้างสายสัมพันธ์ลึกซึ้ง ผู้เรียนกลายเป็น "พี่น้องร่วมรุ่น" ที่ช่วยเหลือกันตลอดชีวิต
    ✅ เข้าถึงโอกาสพิเศษ การได้เข้าเรียน วปอ. คือการเข้าสู่ "สนามหลังบ้านของอำนาจ"
    ✅ อิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาติ ผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ในระดับประเทศ

    🔹 แต่ด้านลบล่ะ?
    ❌ "พรรคพวกนิยม" หรือระบบเส้นสาย การมี "คอนเนคชัน" สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ?
    ❌ เปิดโอกาสให้กลุ่มทุน เข้าถึงอำนาจมากขึ้น นักธุรกิจสามารถสร้างสายสัมพันธ์ กับข้าราชการ และนักการเมืองได้ง่ายขึ้น
    ❌ การกีดกันผู้ที่อยู่นอกเครือข่าย ประชาชนทั่วไป ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเครือข่ายนี้

    วปอ. กับการเมือง และเศรษฐกิจไทย 💰🏛️
    หลักสูตรเหล่านี้อาจเป็น "เส้นทางลัดสู่ชนชั้นนำ" เพราะเมื่อเข้าเรียนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการยอมรับ ในสังคมระดับสูง อีกทั้งยังเปิดโอกาส ในการ สร้างเครือข่ายผลประโยชน์ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการเมือง

    🔹 วปอ. กับนักการเมือง
    อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และนักการเมืองระดับสูงหลายคน เคยศึกษาในหลักสูตร วปอ.
    การศึกษาที่นี่ ช่วยให้นักการเมือง สามารถเชื่อมโยงกับกองทัพ ข้าราชการ และภาคเอกชน

    🔹 วปอ. กับภาคธุรกิจ
    นักธุรกิจที่เข้าเรียน วปอ. สามารถเชื่อมโยงกับ ข้าราชการระดับสูง และสร้างโอกาสทางธุรกิจ
    การเรียนรู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ" อาจเป็นข้อได้เปรียบในทางธุรกิจ

    3 ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายใน วปอ. 🤝🏆
    1️⃣ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา 🎯
    เน้นผู้บริหารระดับสูง หรือ "ดาวรุ่ง" ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ

    2️⃣ พัฒนาความสัมพันธ์ 🔄
    ใช้กิจกรรม เช่น ปฐมนิเทศ ทริปดูงาน งานเลี้ยง
    มีระบบ "พี่รหัส-น้องรหัส" คล้ายมหาวิทยาลัย

    3️⃣ รักษาความสัมพันธ์ หลังเรียนจบ 📜
    ตั้งสมาคมศิษย์เก่า เพื่อให้ช่วยเหลือกันต่อไป
    เครือข่ายนี้ ทำงานผ่านการสนับสนุน ซึ่งกันและกัน

    ประโยชน์ต่อชาติ หรือการสืบทอดอำนาจ? 🤔
    มีการตั้งข้อสังเกตว่า "วปอ. คือพื้นที่กลั่นกรอง ผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ" ที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยโดยตรง

    "ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือจากความไว้วางใจ ของเครือข่าย?"

    บางฝ่ายมองว่า วปอ. เป็น "ระบบคัดกรองอำนาจ" ที่ช่วยให้บุคคลที่ "เหมาะสม" ได้ขึ้นเป็นผู้นำ แต่บางฝ่ายมองว่าเป็น "การสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ" ที่ตัดประชาชนทั่วไป ออกจากกระบวนการตัดสินใจ

    วปอ. เป็นโอกาสหรือปัญหา? ⚖️
    ✅ ข้อดี
    - เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ และส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติ
    - สร้างเครือข่าย ที่ช่วยให้การบริหารประเทศ เป็นไปอย่างราบรื่น
    - เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและรัฐ ทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ❌ ข้อเสีย
    - อาจเป็นช่องทางลัดสำหรับ "ชนชั้นนำใหม่" ที่เข้าสู่เครือข่ายอำนาจ
    - เสริมสร้างระบบเส้นสายและ "พรรคพวกนิยม"
    - ลดโอกาสของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงอำนาจ

    วปอ. เป็นโอกาส หรือเป็นการสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ? 🤔

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021144 ก.พ. 2568

    🔹 #วปอ #70ปีวปอ #เครือข่ายอำนาจ #ผู้นำไทย #การเมืองไทย #ชนชั้นนำ #เส้นสาย #ธุรกิจไทย #โอกาสหรืออำนาจ #การศึกษาไทย 🎖️
    70 ปี วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เครือข่ายชนชั้นนำ คอนเนคชันขั้นเทพ? 🎖️🇹🇭 "วปอ. สร้างเครือข่าย หรือสร้างชนชั้นนำใหม่?" คำถามที่ยังค้างคาใจ ในสังคมไทย กับสถาบันที่มีอิทธิพล สูงสุดแห่งหนึ่งของประเทศ จากสถาบันความมั่นคง สู่เครือข่ายแห่งอำนาจ 🔥 ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 "จอมพลแปลก พิบูลสงคราม" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ก่อตั้ง "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร" (วปอ.) ภายใต้การดูแลของ กระทรวงกลาโหม โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้เป็นสถาบันศึกษาชั้นสูง สำหรับผู้บริหารระดับสูง ของฝ่ายทหาร และพลเรือน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วปอ. ไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษา ด้านความมั่นคง แต่กลายเป็น "สนามฝึกซ้อม" ของเครือข่ายอำนาจ ที่ครอบคลุมการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย 💼🏛️ 🎓 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เป็นส่วนหนึ่งของ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่หลักคือ การศึกษาและอบรม ข้าราชการระดับสูง ทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน นักการเมือง และนักธุรกิจเอกชน 🔹 หลักสูตรของ วปอ. - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) สำหรับข้าราชการระดับสูง และผู้นำทางทหาร - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) เปิดรับผู้บริหารภาคเอกชน และภาครัฐ - หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) ครั้งหนึ่งเคยมีนักการเมือง ร่วมศึกษา แต่ปัจจุบันปิดตัวลง 🔹 คุณสมบัติของผู้เข้าเรียน ✅ ข้าราชการพลเรือน ระดับอำนวยการสูงขึ้นไป ✅ ข้าราชการทหาร ระดับพันเอกขึ้นไป ✅ ข้าราชการตำรวจ ระดับพันตำรวจเอกขึ้นไป ✅ นักธุรกิจเอกชน เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารระดับสูง หลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้เรียนจะได้รับ "เข็มรัฏฐาภิรักษ์" ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ ที่ได้รับการยอมรับ ในแวดวงชนชั้นนำไทย เครือข่ายอำนาจ หรือเครือข่ายพัฒนา? 🤝 "วปอ. เป็นเครือข่ายผู้นำ ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน หรือเป็นกลไก ที่ช่วยให้ชนชั้นนำ รักษาอำนาจ?" 🔹 จุดเด่นของเครือข่าย วปอ. ✅ สร้างสายสัมพันธ์ลึกซึ้ง ผู้เรียนกลายเป็น "พี่น้องร่วมรุ่น" ที่ช่วยเหลือกันตลอดชีวิต ✅ เข้าถึงโอกาสพิเศษ การได้เข้าเรียน วปอ. คือการเข้าสู่ "สนามหลังบ้านของอำนาจ" ✅ อิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาติ ผู้เรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ในระดับประเทศ 🔹 แต่ด้านลบล่ะ? ❌ "พรรคพวกนิยม" หรือระบบเส้นสาย การมี "คอนเนคชัน" สำคัญกว่าความสามารถจริงหรือ? ❌ เปิดโอกาสให้กลุ่มทุน เข้าถึงอำนาจมากขึ้น นักธุรกิจสามารถสร้างสายสัมพันธ์ กับข้าราชการ และนักการเมืองได้ง่ายขึ้น ❌ การกีดกันผู้ที่อยู่นอกเครือข่าย ประชาชนทั่วไป ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเครือข่ายนี้ วปอ. กับการเมือง และเศรษฐกิจไทย 💰🏛️ หลักสูตรเหล่านี้อาจเป็น "เส้นทางลัดสู่ชนชั้นนำ" เพราะเมื่อเข้าเรียนแล้ว ผู้เรียนจะได้รับการยอมรับ ในสังคมระดับสูง อีกทั้งยังเปิดโอกาส ในการ สร้างเครือข่ายผลประโยชน์ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการเมือง 🔹 วปอ. กับนักการเมือง อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และนักการเมืองระดับสูงหลายคน เคยศึกษาในหลักสูตร วปอ. การศึกษาที่นี่ ช่วยให้นักการเมือง สามารถเชื่อมโยงกับกองทัพ ข้าราชการ และภาคเอกชน 🔹 วปอ. กับภาคธุรกิจ นักธุรกิจที่เข้าเรียน วปอ. สามารถเชื่อมโยงกับ ข้าราชการระดับสูง และสร้างโอกาสทางธุรกิจ การเรียนรู้เกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์ชาติ" อาจเป็นข้อได้เปรียบในทางธุรกิจ 3 ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายใน วปอ. 🤝🏆 1️⃣ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา 🎯 เน้นผู้บริหารระดับสูง หรือ "ดาวรุ่ง" ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ 2️⃣ พัฒนาความสัมพันธ์ 🔄 ใช้กิจกรรม เช่น ปฐมนิเทศ ทริปดูงาน งานเลี้ยง มีระบบ "พี่รหัส-น้องรหัส" คล้ายมหาวิทยาลัย 3️⃣ รักษาความสัมพันธ์ หลังเรียนจบ 📜 ตั้งสมาคมศิษย์เก่า เพื่อให้ช่วยเหลือกันต่อไป เครือข่ายนี้ ทำงานผ่านการสนับสนุน ซึ่งกันและกัน ประโยชน์ต่อชาติ หรือการสืบทอดอำนาจ? 🤔 มีการตั้งข้อสังเกตว่า "วปอ. คือพื้นที่กลั่นกรอง ผู้นำทางการเมืองและธุรกิจ" ที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยโดยตรง "ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือจากความไว้วางใจ ของเครือข่าย?" บางฝ่ายมองว่า วปอ. เป็น "ระบบคัดกรองอำนาจ" ที่ช่วยให้บุคคลที่ "เหมาะสม" ได้ขึ้นเป็นผู้นำ แต่บางฝ่ายมองว่าเป็น "การสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ" ที่ตัดประชาชนทั่วไป ออกจากกระบวนการตัดสินใจ วปอ. เป็นโอกาสหรือปัญหา? ⚖️ ✅ ข้อดี - เป็นหลักสูตรที่พัฒนาผู้นำ และส่งเสริมความร่วมมือระดับชาติ - สร้างเครือข่าย ที่ช่วยให้การบริหารประเทศ เป็นไปอย่างราบรื่น - เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจและรัฐ ทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ❌ ข้อเสีย - อาจเป็นช่องทางลัดสำหรับ "ชนชั้นนำใหม่" ที่เข้าสู่เครือข่ายอำนาจ - เสริมสร้างระบบเส้นสายและ "พรรคพวกนิยม" - ลดโอกาสของประชาชนทั่วไป ในการเข้าถึงอำนาจ วปอ. เป็นโอกาส หรือเป็นการสืบทอดอำนาจ ของชนชั้นนำ? 🤔 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 021144 ก.พ. 2568 🔹 #วปอ #70ปีวปอ #เครือข่ายอำนาจ #ผู้นำไทย #การเมืองไทย #ชนชั้นนำ #เส้นสาย #ธุรกิจไทย #โอกาสหรืออำนาจ #การศึกษาไทย 🎖️
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 448 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts