• เกมเปลี่ยน สามีนายกฯซุกหุ้น? สะเทือนทั้งรัฐบาล : ข่าวลึกปมลับ 31/03/68

    เกมเปลี่ยน สามีนายกฯซุกหุ้น? สะเทือนทั้งรัฐบาล : ข่าวลึกปมลับ 31/03/68
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 3 0 รีวิว
  • "นายกรัฐมนตรี" ปัดตอบปมสามีขายหุ้น "เอ็มดับบลิวพี" ไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน บอกเป็นเรื่องอ่อนไหว ขอเว้นไว้ก่อน
    https://www.thai-tai.tv/news/17876/
    "นายกรัฐมนตรี" ปัดตอบปมสามีขายหุ้น "เอ็มดับบลิวพี" ไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน บอกเป็นเรื่องอ่อนไหว ขอเว้นไว้ก่อน https://www.thai-tai.tv/news/17876/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • รอง ผกก. สมุทรปราการฉาว! อดีตแฟนสาวร้องทนายกบแฉ ถูกหลอกเงินครึ่งล้าน-เสพยา-เล่นพนันในเวลาราชการ

    เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 มีนาคม 2568 ที่สำนักงานกฎหมายนิติโชติวนิชย์ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี นางสาวฟ้า (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี พนักงานต้อนรับโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ นำหลักฐานเอกสารและอุปกรณ์เสพยาไอซ์ของอดีตแฟนหนุ่ม คบกันเกือบ 2 ปี ซึ่งเป็นตำรวจยศพันตำรวจโท ตำแหน่งรองผู้กำกับการ (สอบสวน) ในพื้นที่สมุทรปราการ เข้าร้องขอความเป็นธรรมจากนายณธัชพงศ์ บุญเกิด หรือ “ทนายกบ” หลังจากแจ้งความดำเนินคดีและร้องเรียนเรื่องวินัย กับสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ แต่คดีไม่มีความคืบหน้า ทั้งที่มีคลิปหลักฐานขณะเสพยาไอซ์ เล่นพนันออนไลน์ และดื่มเบียร์ในเวลาราชการ นอกจากนี้ อดีตแฟนหนุ่มยังแอบถอนเงินจากบัญชีและยืมเงินไปกว่า 500,000 บาท

    นางสาวฟ้า เปิดเผยว่า ตนทำงานเป็นพนักงานต้อนรับโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และได้รู้จักพันตำรวจโทคนดังกล่าวเมื่อเดือนมกราคม 2565 ขณะนั้นเขามีตำแหน่งเป็นสาาวัตร โดยเขาเข้าพักที่โรงแรมบ่อยครั้ง ทำให้มีโอกาสพูดคุยกัน ต่อมาตนได้รับใบสั่งจราจรและขอให้เขาช่วยไปจ่ายค่าปรับให้ จากนั้นจึงแลกไลน์และพูดคุยกันเรื่อยมา ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์เป็นคู่รัก

    ในช่วงแรกของการคบหา เขาทำงานปกติและมีท่าทีเป็นคนดี ตนจึงใช้ชีวิตร่วมกับเขาเหมือนสามีภรรยาทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้กระเป๋าตังค์เดียวกัน โดยเขามานอนที่บ้านตนทุกวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2565 พฤติกรรมของเขาเริ่มเปลี่ยนไป เขาขอยืมโทรศัพท์ของตนโดยอ้างว่าจะนำไปเล่นเกม และมักขอหยิบยืมเงินอยู่บ่อยครั้ง โดยอ้างว่าจะคืนเมื่อถึงสิ้นเดือน แต่กลับไม่เคยคืน นอกจากนี้ ตนยังพบว่ามีเจ้าหนี้โทรศัพท์มาตามทวงเงินเขา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เขามักบอกว่าต้องใช้เงินในการทำคดีหรือจ่ายค่าเข้าเวร กระทั่งตนทราบว่าเขาติดการพนันออนไลน์

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000027837

    #MGROnline #เสพยา #การพนัน
    รอง ผกก. สมุทรปราการฉาว! อดีตแฟนสาวร้องทนายกบแฉ ถูกหลอกเงินครึ่งล้าน-เสพยา-เล่นพนันในเวลาราชการ • เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 24 มีนาคม 2568 ที่สำนักงานกฎหมายนิติโชติวนิชย์ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี นางสาวฟ้า (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี พนักงานต้อนรับโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ นำหลักฐานเอกสารและอุปกรณ์เสพยาไอซ์ของอดีตแฟนหนุ่ม คบกันเกือบ 2 ปี ซึ่งเป็นตำรวจยศพันตำรวจโท ตำแหน่งรองผู้กำกับการ (สอบสวน) ในพื้นที่สมุทรปราการ เข้าร้องขอความเป็นธรรมจากนายณธัชพงศ์ บุญเกิด หรือ “ทนายกบ” หลังจากแจ้งความดำเนินคดีและร้องเรียนเรื่องวินัย กับสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ แต่คดีไม่มีความคืบหน้า ทั้งที่มีคลิปหลักฐานขณะเสพยาไอซ์ เล่นพนันออนไลน์ และดื่มเบียร์ในเวลาราชการ นอกจากนี้ อดีตแฟนหนุ่มยังแอบถอนเงินจากบัญชีและยืมเงินไปกว่า 500,000 บาท • นางสาวฟ้า เปิดเผยว่า ตนทำงานเป็นพนักงานต้อนรับโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และได้รู้จักพันตำรวจโทคนดังกล่าวเมื่อเดือนมกราคม 2565 ขณะนั้นเขามีตำแหน่งเป็นสาาวัตร โดยเขาเข้าพักที่โรงแรมบ่อยครั้ง ทำให้มีโอกาสพูดคุยกัน ต่อมาตนได้รับใบสั่งจราจรและขอให้เขาช่วยไปจ่ายค่าปรับให้ จากนั้นจึงแลกไลน์และพูดคุยกันเรื่อยมา ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์เป็นคู่รัก • ในช่วงแรกของการคบหา เขาทำงานปกติและมีท่าทีเป็นคนดี ตนจึงใช้ชีวิตร่วมกับเขาเหมือนสามีภรรยาทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้กระเป๋าตังค์เดียวกัน โดยเขามานอนที่บ้านตนทุกวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี 2565 พฤติกรรมของเขาเริ่มเปลี่ยนไป เขาขอยืมโทรศัพท์ของตนโดยอ้างว่าจะนำไปเล่นเกม และมักขอหยิบยืมเงินอยู่บ่อยครั้ง โดยอ้างว่าจะคืนเมื่อถึงสิ้นเดือน แต่กลับไม่เคยคืน นอกจากนี้ ตนยังพบว่ามีเจ้าหนี้โทรศัพท์มาตามทวงเงินเขา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เขามักบอกว่าต้องใช้เงินในการทำคดีหรือจ่ายค่าเข้าเวร กระทั่งตนทราบว่าเขาติดการพนันออนไลน์ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000027837 • #MGROnline #เสพยา #การพนัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 331 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมีย “แป้ง นาโหนด” ฟ้องแฟนสาวของสามี ฐานยักยอกทรัพย์ เผยรู้จักเสี่ยจำเลยคดีดังตอนหลบหนีอยู่อินโดนีเซีย หลังถูกจับส่งตัวมาไทยได้มอบทองหนัก 4 บาทพร้อมนาฬิกาให้เพื่อนำไปขายเอาเงินมาดูแลคดีและส่งให้ใช้ในเรือนจำ แต่ฝ่ายหญิงรู้ทีหลังว่ามีเมียแล้ว รู้สึกเหมือนถูกหลอกใช้และเลิกติดต่อกันในที่สุด

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000027464
    เมีย “แป้ง นาโหนด” ฟ้องแฟนสาวของสามี ฐานยักยอกทรัพย์ เผยรู้จักเสี่ยจำเลยคดีดังตอนหลบหนีอยู่อินโดนีเซีย หลังถูกจับส่งตัวมาไทยได้มอบทองหนัก 4 บาทพร้อมนาฬิกาให้เพื่อนำไปขายเอาเงินมาดูแลคดีและส่งให้ใช้ในเรือนจำ แต่ฝ่ายหญิงรู้ทีหลังว่ามีเมียแล้ว รู้สึกเหมือนถูกหลอกใช้และเลิกติดต่อกันในที่สุด อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000027464
    Like
    Haha
    Wow
    Angry
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 718 มุมมอง 0 รีวิว
  • 58 ปี "คดีตุ๊กตา" ขืนใจสาวรับใช้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “หญิงข่มขืนหญิง” ได้หรือไม่? 📚⚖️

    ✨ย้อนรอย “คดีตุ๊กตา” ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เปิดประเด็นการข่มขืนโดย “ผู้หญิงต่อผู้หญิง” ครั้งแรกของไทย ศึกษาเหตุการณ์รายละเอียดคดี บทสรุปทางกฎหมาย ที่ยังสะเทือนวงการกฎหมายถึงปัจจุบัน ✨

    เมื่อ “หญิงข่มขืนหญิง” ไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป หากเอ่ยถึงคดีข่มขืน หลายคนอาจนึกถึงภาพของชายกระทำต่อหญิง แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กลับมีคำพิพากษาหนึ่ง ที่เปิดโลกความเข้าใจในมุมมองใหม่ ⚖️

    โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2510 กับ “คดีตุ๊กตา” ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันลือลั่นว่า “หญิงก็เป็นตัวการร่วม ในการข่มขืนหญิงได้” คำวินิจฉัยครั้งนั้น ไม่เพียงเขย่าระบบยุติธรรมไทย แต่ยังเปิดมุมมองใหม่ ให้สังคมไทยในเวลานั้น

    “คดีตุ๊กตา” เป็นชื่อที่สื่อมวลชนในยุคนั้นตั้งขึ้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 คือ "พิมล กาฬสีห์" นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในนามปากกา “ตุ๊กตา” ถูกอัยการยื่นฟ้อง ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราร่วมกับภรรยา "นภาพันธ์ กาฬสีห์" ต่อ "เพ็ชร ทัวิพัฒน์" หญิงสาวคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ที่บ้านพักในตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร

    แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 58 ปี แต่คำพิพากษาในคดีนี้ยั งคงได้รับการกล่าวขานในวงการกฎหมาย และสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกรณีแรกที่ “ศาลฎีกา” ของไทยยืนยันว่า หญิงสามารถร่วมเป็นตัวการข่มขืนหญิงได้

    📌 ทำไมคดีนี้จึงสำคัญ? ประเด็นที่สั่นคลอนสังคม คดีนี้แสดงให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพล ที่บุคคลมีชื่อเสียงอาจมีต่อผู้ด้อยโอกาส เปิดประเด็นว่า “ข่มขืน” ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเพศชายเท่านั้น

    ศาลยืนยันว่า ผู้หญิงสามารถมีส่วนร่วม ในการกระทำผิดฐานข่มขืนได้ แม้จะไม่ได้ลงมือข่มขืนเองก็ตาม

    📌 จุดเปลี่ยนด้านกฎหมาย คำพิพากษานี้ทำให้เกิดการตีความ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ว่า “ผู้ใด” หมายรวมถึงบุคคลทุกเพศ ไม่ใช่จำกัดแค่เพศชาย

    ลำดับเหตุการณ์สำคัญในคดีตุ๊กตา
    🗓️ คืนวันอาทิตย์ที่่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 "เพ็ชร์ ทิวาพัฒน์" หญิงสาวผู้เสียหายวัย 23 ปี ซึ่งทำงานเป็นสาวรับใช้ ในคืนนั้น เพ็ชรถูกนภาพันธ์เรียกขึ้นไปนวดให้พิมล บนชั้นสองของบ้าน

    นภาพันธ์ช่วยจับมือของเพ็ชร ไปจับอวัยวะเพศของพิมล และร่วมกดร่างเพ็ชรไว้ให้สามีข่มขืน เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ เกิดขึ้นซ้ำถึง 5 ครั้ง ในคืนนั้น

    🗓️ เช้ามืดวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เพ็ชรหนีออกจากบ้าน และไปแจ้งความที่โรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมสองสามีภรรยา และส่งเพ็ชรตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลตรวจพิสูจน์พบร่องรอยการข่มขืนอย่างชัดเจน อัยการจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง

    ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของผู้เสียหายมีน้ำหนักเพียงพอ ประกอบกับพยานหลักฐาน และผลตรวจทางการแพทย์ จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี 1 เดือน จำเลยที่ 2 ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี

    ➡️ แต่... จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์:ยกฟ้องเพราะเชื่อว่า “ยินยอม” กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้วยเหตุผลว่า เชื่อว่าผู้เสียหาย สมัครใจร่วมประเวณีเอง เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้หญิง ไม่ควรถูกลงโทษในฐานะตัวการร่วมข่มขืน

    ➡️ อัยการในฐานะโจทก์ ฎีกาต่อ...

    ศาลฎีกา:พลิกคำพิพากษา ตอกย้ำ “หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนได้” ในการพิจารณาครั้งสำคัญ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
    ✅ พิพากษาว่า ผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ
    ✅ การมีส่วนร่วมของจำเลยที่ 2 ในการจับผู้เสียหาย และบังคับให้สามีข่มขืน ถือเป็นการ “ร่วมกันข่มขืน”
    ✅ ศาลฎีกายืนยันว่า ตามกฎหมายไทย หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงได้

    ➡️ จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษจำคุก 3 ปี 1 เดือน
    ➡️ จำเลยที่ 2 ถูกลงโทษจำคุก 2 ปี

    การตีความทางกฎหมายที่สำคัญ มาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใด” ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น...
    🔹 คำว่า “ผู้ใด” ไม่ได้ระบุเพศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากมีพฤติการณ์ร่วมกันในการข่มขืน ก็ถือว่ามีความผิดฐาน “ตัวการ” ได้
    🔹 แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนเอง แต่หากช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือบังคับเหยื่อ ก็ถือว่า “ร่วมกันกระทำผิด”

    ทำไมศาลฎีกาจึงพิพากษาเช่นนั้น?
    ✅ พฤติกรรมของจำเลยที่ 2 แสดงชัดว่า ร่วมกดขาและจับผู้เสียหาย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืน
    ✅ ข่มขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้อง หรือบอกว่าจะ “เพิ่มเงินเดือน” หากไม่ต่อต้าน
    ✅ บังคับผู้เสียหายให้อมอวัยวะเพศ และสั่งให้กลืนน้ำอสุจิของสามี

    ✨ ผลกระทบต่อสังคม และวงการกฎหมาย เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ก่อนหน้านั้น สังคมมองว่า “ข่มขืน” เป็นอาชญากรรมที่มีแต่เพศชาย เป็นผู้กระทำ

    ✨ คดีตุ๊กตาสร้างการตระหนักใหม่ว่า อาชญากรรมทางเพศ เกิดจากผู้กระทำได้ทุกเพศ อิทธิพลต่อการตีความกฎหมาย ศาลไทยขยายขอบเขตความผิดของมาตรา 276 ให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ สร้างบรรทัดฐานใหม่ ในคดีอาญาเกี่ยวกับเพศที่ซับซ้อนมากขึ้น

    “คดีตุ๊กตา” กับมรดกทางกฎหมายที่ยั่งยืน ผ่านมา 58 ปี คดีตุ๊กตายังเป็นกรณีศึกษา ในวงการกฎหมายและสังคม ที่สอนให้เข้าใจถึง ความซับซ้อนของความรุนแรงทางเพศ และบทบาทของกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คดีนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีต แต่เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ในสังคมไทยอีกต่อไป

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221140 มี.ค. 2568

    🏷️ #คดีตุ๊กตา #ข่มขืนในไทย #หญิงข่มขืนหญิงได้ #พิมลกาฬสีห์ #ศาลฎีกาไทย #กฎหมายอาญา #สิทธิมนุษยชน #ข่มขืนกระทำชำเรา #ข่าวดังในอดีต #คดีอาชญากรรมไทย
    58 ปี "คดีตุ๊กตา" ขืนใจสาวรับใช้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “หญิงข่มขืนหญิง” ได้หรือไม่? 📚⚖️ ✨ย้อนรอย “คดีตุ๊กตา” ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เปิดประเด็นการข่มขืนโดย “ผู้หญิงต่อผู้หญิง” ครั้งแรกของไทย ศึกษาเหตุการณ์รายละเอียดคดี บทสรุปทางกฎหมาย ที่ยังสะเทือนวงการกฎหมายถึงปัจจุบัน ✨ เมื่อ “หญิงข่มขืนหญิง” ไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป หากเอ่ยถึงคดีข่มขืน หลายคนอาจนึกถึงภาพของชายกระทำต่อหญิง แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กลับมีคำพิพากษาหนึ่ง ที่เปิดโลกความเข้าใจในมุมมองใหม่ ⚖️ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2510 กับ “คดีตุ๊กตา” ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันลือลั่นว่า “หญิงก็เป็นตัวการร่วม ในการข่มขืนหญิงได้” คำวินิจฉัยครั้งนั้น ไม่เพียงเขย่าระบบยุติธรรมไทย แต่ยังเปิดมุมมองใหม่ ให้สังคมไทยในเวลานั้น “คดีตุ๊กตา” เป็นชื่อที่สื่อมวลชนในยุคนั้นตั้งขึ้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 คือ "พิมล กาฬสีห์" นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในนามปากกา “ตุ๊กตา” ถูกอัยการยื่นฟ้อง ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราร่วมกับภรรยา "นภาพันธ์ กาฬสีห์" ต่อ "เพ็ชร ทัวิพัฒน์" หญิงสาวคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ที่บ้านพักในตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 58 ปี แต่คำพิพากษาในคดีนี้ยั งคงได้รับการกล่าวขานในวงการกฎหมาย และสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกรณีแรกที่ “ศาลฎีกา” ของไทยยืนยันว่า หญิงสามารถร่วมเป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ 📌 ทำไมคดีนี้จึงสำคัญ? ประเด็นที่สั่นคลอนสังคม คดีนี้แสดงให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพล ที่บุคคลมีชื่อเสียงอาจมีต่อผู้ด้อยโอกาส เปิดประเด็นว่า “ข่มขืน” ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเพศชายเท่านั้น ศาลยืนยันว่า ผู้หญิงสามารถมีส่วนร่วม ในการกระทำผิดฐานข่มขืนได้ แม้จะไม่ได้ลงมือข่มขืนเองก็ตาม 📌 จุดเปลี่ยนด้านกฎหมาย คำพิพากษานี้ทำให้เกิดการตีความ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ว่า “ผู้ใด” หมายรวมถึงบุคคลทุกเพศ ไม่ใช่จำกัดแค่เพศชาย ลำดับเหตุการณ์สำคัญในคดีตุ๊กตา 🗓️ คืนวันอาทิตย์ที่่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 "เพ็ชร์ ทิวาพัฒน์" หญิงสาวผู้เสียหายวัย 23 ปี ซึ่งทำงานเป็นสาวรับใช้ ในคืนนั้น เพ็ชรถูกนภาพันธ์เรียกขึ้นไปนวดให้พิมล บนชั้นสองของบ้าน นภาพันธ์ช่วยจับมือของเพ็ชร ไปจับอวัยวะเพศของพิมล และร่วมกดร่างเพ็ชรไว้ให้สามีข่มขืน เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ เกิดขึ้นซ้ำถึง 5 ครั้ง ในคืนนั้น 🗓️ เช้ามืดวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เพ็ชรหนีออกจากบ้าน และไปแจ้งความที่โรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมสองสามีภรรยา และส่งเพ็ชรตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลตรวจพิสูจน์พบร่องรอยการข่มขืนอย่างชัดเจน อัยการจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของผู้เสียหายมีน้ำหนักเพียงพอ ประกอบกับพยานหลักฐาน และผลตรวจทางการแพทย์ จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี 1 เดือน จำเลยที่ 2 ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ➡️ แต่... จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์:ยกฟ้องเพราะเชื่อว่า “ยินยอม” กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้วยเหตุผลว่า เชื่อว่าผู้เสียหาย สมัครใจร่วมประเวณีเอง เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้หญิง ไม่ควรถูกลงโทษในฐานะตัวการร่วมข่มขืน ➡️ อัยการในฐานะโจทก์ ฎีกาต่อ... ศาลฎีกา:พลิกคำพิพากษา ตอกย้ำ “หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนได้” ในการพิจารณาครั้งสำคัญ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ✅ พิพากษาว่า ผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ ✅ การมีส่วนร่วมของจำเลยที่ 2 ในการจับผู้เสียหาย และบังคับให้สามีข่มขืน ถือเป็นการ “ร่วมกันข่มขืน” ✅ ศาลฎีกายืนยันว่า ตามกฎหมายไทย หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ ➡️ จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษจำคุก 3 ปี 1 เดือน ➡️ จำเลยที่ 2 ถูกลงโทษจำคุก 2 ปี การตีความทางกฎหมายที่สำคัญ มาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใด” ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น... 🔹 คำว่า “ผู้ใด” ไม่ได้ระบุเพศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากมีพฤติการณ์ร่วมกันในการข่มขืน ก็ถือว่ามีความผิดฐาน “ตัวการ” ได้ 🔹 แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนเอง แต่หากช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือบังคับเหยื่อ ก็ถือว่า “ร่วมกันกระทำผิด” ทำไมศาลฎีกาจึงพิพากษาเช่นนั้น? ✅ พฤติกรรมของจำเลยที่ 2 แสดงชัดว่า ร่วมกดขาและจับผู้เสียหาย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืน ✅ ข่มขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้อง หรือบอกว่าจะ “เพิ่มเงินเดือน” หากไม่ต่อต้าน ✅ บังคับผู้เสียหายให้อมอวัยวะเพศ และสั่งให้กลืนน้ำอสุจิของสามี ✨ ผลกระทบต่อสังคม และวงการกฎหมาย เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ก่อนหน้านั้น สังคมมองว่า “ข่มขืน” เป็นอาชญากรรมที่มีแต่เพศชาย เป็นผู้กระทำ ✨ คดีตุ๊กตาสร้างการตระหนักใหม่ว่า อาชญากรรมทางเพศ เกิดจากผู้กระทำได้ทุกเพศ อิทธิพลต่อการตีความกฎหมาย ศาลไทยขยายขอบเขตความผิดของมาตรา 276 ให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ สร้างบรรทัดฐานใหม่ ในคดีอาญาเกี่ยวกับเพศที่ซับซ้อนมากขึ้น “คดีตุ๊กตา” กับมรดกทางกฎหมายที่ยั่งยืน ผ่านมา 58 ปี คดีตุ๊กตายังเป็นกรณีศึกษา ในวงการกฎหมายและสังคม ที่สอนให้เข้าใจถึง ความซับซ้อนของความรุนแรงทางเพศ และบทบาทของกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คดีนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีต แต่เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ในสังคมไทยอีกต่อไป ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221140 มี.ค. 2568 🏷️ #คดีตุ๊กตา #ข่มขืนในไทย #หญิงข่มขืนหญิงได้ #พิมลกาฬสีห์ #ศาลฎีกาไทย #กฎหมายอาญา #สิทธิมนุษยชน #ข่มขืนกระทำชำเรา #ข่าวดังในอดีต #คดีอาชญากรรมไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 474 มุมมอง 0 รีวิว
  • ย้อนไปเมื่อครั้งที่ "ดิว อริสรา" เป็นข่าวออกมาเปิดโปงเว็บพนันที่มีอดีตแฟนตัวเองรวมอยู่ด้วย ในตอนนั้น "เพจ เหยื่อ V.2" ได้มีการนำเอาคลิปที่ "เซบาสเตียน ลี" สามีเจ้าตัวเคยโพสต์พร้อมข้อความว่า "ตำรวจคุ้มกันไปยังคาสิโน เรามีสถานที่ที่้ต้องไป" พร้อมติดแฮชแทก Kings Roman บ่อนใหญ่แถบชายแดน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000026818
    ย้อนไปเมื่อครั้งที่ "ดิว อริสรา" เป็นข่าวออกมาเปิดโปงเว็บพนันที่มีอดีตแฟนตัวเองรวมอยู่ด้วย ในตอนนั้น "เพจ เหยื่อ V.2" ได้มีการนำเอาคลิปที่ "เซบาสเตียน ลี" สามีเจ้าตัวเคยโพสต์พร้อมข้อความว่า "ตำรวจคุ้มกันไปยังคาสิโน เรามีสถานที่ที่้ต้องไป" พร้อมติดแฮชแทก Kings Roman บ่อนใหญ่แถบชายแดน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000026818
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1155 มุมมอง 0 รีวิว
  • 111 ปี สิ้น “เจ้าน้อยศุขเกษม” ปิดตำนานรักสาวชาวพม่า “มะเมียะ” เรื่องจริง หรือแค่…อิงนิยาย?

    🕰️ ตำนานรักข้ามชาติ ที่คนรุ่นหลังยังคงกล่าวขาน 🕰️

    📝 111 ปีที่ผ่านไป…เรื่องราวความรักระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" แห่งนครเชียงใหม่ และ "มะเมียะ" สาวงามจากเมืองมะละแหม่ง ยังคงเป็นเรื่องเล่าที่อบอวล ด้วยกลิ่นอายของความโรแมนติก และโศกเศร้า แต่คำถามที่หลายคนยังสงสัยคือ... เรื่องนี้มีมูลความจริงแค่ไหน? หรือเป็นเพียงตำนาน ที่แต่งเติมเสริมสีสันให้ดูหวานซึ้งเท่านั้น?

    ย้อนรอยตำนานรักข้ามพรมแดน พร้อมเปิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าความจริงในตำนานรักอมตะนี้ เป็นเรื่องจริง...หรือเป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมา ให้คนล้านนาหลงใหล 💔✨

    💡 "เจ้าน้อยศุขเกษม" หรือในบรรดาศักดิ์ที่รู้จักกันในนาม "เจ้าอุตรการโกศล" เป็นโอรสองค์โตของ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย กับเจ้าจามรีวงศ์ เป็นผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ทิพย์จักรแห่งล้านนา

    เจ้าน้อยเกิดปี พ.ศ. 2423 ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ถูกส่งไปศึกษา ที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งได้พบ "มะเมียะ" หญิงสาวแม่ค้าชาวพม่า ผู้เปลี่ยนชะตาชีวิตเจ้าน้อยศุขเกษม ไปตลอดกาล

    ได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600 แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหลวง เนื่องจากอุปนิสัยรักสนุก ไม่เอาการเอางาน กระทั่งถึงแก่กรรม ในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 สิริอายุ 32 ปี (หากนับแบบโบราณ ตรงกับ พ.ศ. 2456 อายุ 33 ปี)

    🌸 ตำนานรักที่กล่าวขาน “มะเมียะ” หญิงงามจากแดนพม่า ถูกขนานนามว่า เป็นแม่ค้าสาวงามชาวพม่าจากเมืองมะละแหม่ง ทั้งสองพบรักกันขณะเจ้าน้อยไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริค โดยคำบอกเล่าต่างๆ ระบุว่า

    ❤️ เจ้าน้อยศุขเกษมใช้ชีวิตร่วมกับมะเมียะฉันสามีภรรยา ด้วยการสนับสนุนจากทางบ้านของฝ่ายหญิง
    ❤️ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่ถึงเชียงใหม่ เจ้าน้อยถูกเรียกกลับคุ้ม พร้อมคำสั่งให้เลิกคบหากับมะเมียะ อย่างเด็ดขาด
    ❤️ มะเมียะจำต้องปลอมตัวเป็นชาย เพื่อตามขบวนเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหลีกพ้นคำสั่ง ของผู้มีอำนาจในคุ้มเชียงใหม่ได้
    ❤️ เรื่องราวจบลงด้วยการที่มะเมียะ ถูกบีบให้เดินทางกลับบ้านเกิด น้ำตารินไหลพรากจากชายคนรักตลอดกาล…😢

    📚 ข้อเท็จจริงในหน้าประวัติศาสตร์ จากเอกสาร และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ พบว่า

    📌 ไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่า "เจ้าน้อยศุขเกษม" มีความสัมพันธ์กับ "มะเมียะ" จริงในประวัติศาสตร์
    📌 เรื่องราวที่ "ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง" นำไปเผยแพร่ในหนังสือ "เพ็ชร์ลานนา" และ ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ อาจมีโครงเรื่องบางส่วน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ของ "เจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นน้องชายต่างพระมารดาของเจ้าน้อย
    📌 หลักฐานต่างๆ ชี้ชัดว่า เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ในการสืบราชสันตติวงศ์ของเชียงใหม่ และมีนิสัยไม่รับผิดชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเพียงตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล"
    📌 เจ้าศุขเกษมสิ้นชีพ ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ไม่ใช่เพราะตรอมใจ จากการพลัดพรากกับคนรัก

    🧐 ตำนานที่สร้างจากเรื่องจริง…หรือเพียงจินตนาการ? การบอกเล่าต่อๆ กันในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนล้านนาในยุคหลัง ได้ขยายความ และเติมแต่งจนเรื่องราวความรักนี้ กลายเป็นนิยายโศกนาฏกรรม ที่ชวนให้คนฟังหลงใหล

    🌿 "จรัล มโนเพ็ชร" นำเรื่องนี้ไปประพันธ์เป็นบทเพลง "มะเมี้ยะ" และขับร้องด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อย ทำให้ตำนานนี้ กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
    🌿 เมื่อเรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านเพลง และสื่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า นี่คือเรื่องจริงของ "เจ้าน้อยศุขเกษม"
    🌿 แท้จริงแล้ว ตำนานดังกล่าว น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ "เจ้าวงษ์ตวัน" ซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องพาผู้หญิงหลบหนี และถูกส่งตัวกลับเชียงใหม่ ตามจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6

    📖 หลักฐานสนับสนุนจากประวัติศาสตร์ล้านนา
    📜 จดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    📜 รายงานการศึกษาของเจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ที่เล่าเรียนในโรงเรียนราชวิทยาลัย
    📜 บันทึกการแต่งตั้งตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" ของเจ้าน้อยศุขเกษม
    📜 บทสัมภาษณ์เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้ร่วมสมัยที่กล่าวถึงเหตุการณ์ เรียกตัวเจ้าน้อยศุขเกษมกลับเชียงใหม่

    🔍 วิเคราะห์และตีความใหม่ เรื่องราวความรักที่เล่าขานระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ"
    ✅ มีเค้าโครงจากเรื่องจริงบางส่วน ในราชสำนักเชียงใหม่
    ✅ ถูกเติมแต่งให้มีความโรแมนติกและดราม่า เพื่อให้ชาวบ้านและคนรุ่นหลังเข้าถึง และจดจำได้ง่าย
    ✅ สะท้อนภาพชีวิตในยุคล้านนา ที่ยังคงเคร่งครัดในระบบชนชั้น และการสมรสตามขนบธรรมเนียม
    ✅ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักต้องห้าม และการต่อสู้กับกรอบประเพณีเก่าก่อน

    ❤️ "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ตำนานที่ยังคงมีชีวิต แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ความรักครั้งนี้เป็นจริง แต่เรื่องราว "เจ้าน้อยศุขเกษม" และ "มะเมียะ" ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้ที่ไม่มีวันสมหวัง"

    🌸 ถูกถ่ายทอดเป็นนิยาย เพลง บทละคร และศิลปวัฒนธรรมในล้านนา
    🌸 กลายเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงข้อจำกัดทางชนชั้น และการเมืองในอดีต
    🌸 ยังเป็นตำนานที่คนรุ่นใหม่ศึกษา ซาบซึ้งในแง่มุมของความรัก และความเสียสละ

    📌 สรุปข้อเท็จจริง
    📝 ตำนานรัก "เจ้าน้อยศุขเกษม กับ มะเมียะ" คือ นิยายประวัติศาสตร์ ที่แต่งเติมจากเรื่องจริงบางส่วน
    📝 ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์ยืนยันว่า "เจ้าวงษ์ตวัน" มีชีวิตที่คล้ายกับตำนานดังกล่าวมากกว่า
    📝 การเล่าขานที่ต่อเติมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความจริงและเรื่องแต่ง ผสมปนเปกันอย่างลงตัว
    📝 ตำนานนี้ยังคงมีเสน่ห์และคุณค่า ในฐานะเรื่องเล่าแห่งความรักของชาวล้านนา

    🌟 ความรักอาจไม่มีพรมแดน... แต่ขนบธรรมเนียมและประเพณีในอดีตต่างหาก ที่เป็นกำแพงยากจะข้ามได้ 🌟

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200807 มี.ค. 2568

    📚 🏷️ #ตำนานรักมะเมียะ #เจ้าน้อยศุขเกษม #ล้านนาประวัติศาสตร์ #เชียงใหม่ในอดีต #เพลงมะเมี้ยะ #เรื่องจริงหรือนิยาย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #เชียงใหม่เมืองโบราณ #ตำนานล้านนา #รักข้ามพรมแดน
    111 ปี สิ้น “เจ้าน้อยศุขเกษม” ปิดตำนานรักสาวชาวพม่า “มะเมียะ” เรื่องจริง หรือแค่…อิงนิยาย? 🕰️ ตำนานรักข้ามชาติ ที่คนรุ่นหลังยังคงกล่าวขาน 🕰️ 📝 111 ปีที่ผ่านไป…เรื่องราวความรักระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" แห่งนครเชียงใหม่ และ "มะเมียะ" สาวงามจากเมืองมะละแหม่ง ยังคงเป็นเรื่องเล่าที่อบอวล ด้วยกลิ่นอายของความโรแมนติก และโศกเศร้า แต่คำถามที่หลายคนยังสงสัยคือ... เรื่องนี้มีมูลความจริงแค่ไหน? หรือเป็นเพียงตำนาน ที่แต่งเติมเสริมสีสันให้ดูหวานซึ้งเท่านั้น? ย้อนรอยตำนานรักข้ามพรมแดน พร้อมเปิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าความจริงในตำนานรักอมตะนี้ เป็นเรื่องจริง...หรือเป็นเพียงนิยายที่แต่งขึ้นมา ให้คนล้านนาหลงใหล 💔✨ 💡 "เจ้าน้อยศุขเกษม" หรือในบรรดาศักดิ์ที่รู้จักกันในนาม "เจ้าอุตรการโกศล" เป็นโอรสองค์โตของ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่คนสุดท้าย กับเจ้าจามรีวงศ์ เป็นผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ทิพย์จักรแห่งล้านนา เจ้าน้อยเกิดปี พ.ศ. 2423 ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ถูกส่งไปศึกษา ที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งได้พบ "มะเมียะ" หญิงสาวแม่ค้าชาวพม่า ผู้เปลี่ยนชะตาชีวิตเจ้าน้อยศุขเกษม ไปตลอดกาล ได้รับแต่งตั้งเป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600 แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหลวง เนื่องจากอุปนิสัยรักสนุก ไม่เอาการเอางาน กระทั่งถึงแก่กรรม ในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2457 สิริอายุ 32 ปี (หากนับแบบโบราณ ตรงกับ พ.ศ. 2456 อายุ 33 ปี) 🌸 ตำนานรักที่กล่าวขาน “มะเมียะ” หญิงงามจากแดนพม่า ถูกขนานนามว่า เป็นแม่ค้าสาวงามชาวพม่าจากเมืองมะละแหม่ง ทั้งสองพบรักกันขณะเจ้าน้อยไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริค โดยคำบอกเล่าต่างๆ ระบุว่า ❤️ เจ้าน้อยศุขเกษมใช้ชีวิตร่วมกับมะเมียะฉันสามีภรรยา ด้วยการสนับสนุนจากทางบ้านของฝ่ายหญิง ❤️ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่ถึงเชียงใหม่ เจ้าน้อยถูกเรียกกลับคุ้ม พร้อมคำสั่งให้เลิกคบหากับมะเมียะ อย่างเด็ดขาด ❤️ มะเมียะจำต้องปลอมตัวเป็นชาย เพื่อตามขบวนเจ้าน้อยกลับเชียงใหม่ แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหลีกพ้นคำสั่ง ของผู้มีอำนาจในคุ้มเชียงใหม่ได้ ❤️ เรื่องราวจบลงด้วยการที่มะเมียะ ถูกบีบให้เดินทางกลับบ้านเกิด น้ำตารินไหลพรากจากชายคนรักตลอดกาล…😢 📚 ข้อเท็จจริงในหน้าประวัติศาสตร์ จากเอกสาร และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ พบว่า 📌 ไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่า "เจ้าน้อยศุขเกษม" มีความสัมพันธ์กับ "มะเมียะ" จริงในประวัติศาสตร์ 📌 เรื่องราวที่ "ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง" นำไปเผยแพร่ในหนังสือ "เพ็ชร์ลานนา" และ ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ อาจมีโครงเรื่องบางส่วน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ของ "เจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นน้องชายต่างพระมารดาของเจ้าน้อย 📌 หลักฐานต่างๆ ชี้ชัดว่า เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ได้มีบทบาทสำคัญ ในการสืบราชสันตติวงศ์ของเชียงใหม่ และมีนิสัยไม่รับผิดชอบ จึงได้รับแต่งตั้งเพียงตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" 📌 เจ้าศุขเกษมสิ้นชีพ ด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง ไม่ใช่เพราะตรอมใจ จากการพลัดพรากกับคนรัก 🧐 ตำนานที่สร้างจากเรื่องจริง…หรือเพียงจินตนาการ? การบอกเล่าต่อๆ กันในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือและประชาชนล้านนาในยุคหลัง ได้ขยายความ และเติมแต่งจนเรื่องราวความรักนี้ กลายเป็นนิยายโศกนาฏกรรม ที่ชวนให้คนฟังหลงใหล 🌿 "จรัล มโนเพ็ชร" นำเรื่องนี้ไปประพันธ์เป็นบทเพลง "มะเมี้ยะ" และขับร้องด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อย ทำให้ตำนานนี้ กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 🌿 เมื่อเรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านเพลง และสื่อหนังสือพิมพ์มากขึ้น ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า นี่คือเรื่องจริงของ "เจ้าน้อยศุขเกษม" 🌿 แท้จริงแล้ว ตำนานดังกล่าว น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ "เจ้าวงษ์ตวัน" ซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องพาผู้หญิงหลบหนี และถูกส่งตัวกลับเชียงใหม่ ตามจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 📖 หลักฐานสนับสนุนจากประวัติศาสตร์ล้านนา 📜 จดหมายเหตุรายวัน ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 📜 รายงานการศึกษาของเจ้าวงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ที่เล่าเรียนในโรงเรียนราชวิทยาลัย 📜 บันทึกการแต่งตั้งตำแหน่ง "เจ้าอุตรการโกศล" ของเจ้าน้อยศุขเกษม 📜 บทสัมภาษณ์เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ผู้ร่วมสมัยที่กล่าวถึงเหตุการณ์ เรียกตัวเจ้าน้อยศุขเกษมกลับเชียงใหม่ 🔍 วิเคราะห์และตีความใหม่ เรื่องราวความรักที่เล่าขานระหว่าง "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ✅ มีเค้าโครงจากเรื่องจริงบางส่วน ในราชสำนักเชียงใหม่ ✅ ถูกเติมแต่งให้มีความโรแมนติกและดราม่า เพื่อให้ชาวบ้านและคนรุ่นหลังเข้าถึง และจดจำได้ง่าย ✅ สะท้อนภาพชีวิตในยุคล้านนา ที่ยังคงเคร่งครัดในระบบชนชั้น และการสมรสตามขนบธรรมเนียม ✅ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักต้องห้าม และการต่อสู้กับกรอบประเพณีเก่าก่อน ❤️ "เจ้าน้อยศุขเกษม" กับ "มะเมียะ" ตำนานที่ยังคงมีชีวิต แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ความรักครั้งนี้เป็นจริง แต่เรื่องราว "เจ้าน้อยศุขเกษม" และ "มะเมียะ" ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้ที่ไม่มีวันสมหวัง" 🌸 ถูกถ่ายทอดเป็นนิยาย เพลง บทละคร และศิลปวัฒนธรรมในล้านนา 🌸 กลายเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงข้อจำกัดทางชนชั้น และการเมืองในอดีต 🌸 ยังเป็นตำนานที่คนรุ่นใหม่ศึกษา ซาบซึ้งในแง่มุมของความรัก และความเสียสละ 📌 สรุปข้อเท็จจริง 📝 ตำนานรัก "เจ้าน้อยศุขเกษม กับ มะเมียะ" คือ นิยายประวัติศาสตร์ ที่แต่งเติมจากเรื่องจริงบางส่วน 📝 ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์ยืนยันว่า "เจ้าวงษ์ตวัน" มีชีวิตที่คล้ายกับตำนานดังกล่าวมากกว่า 📝 การเล่าขานที่ต่อเติมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความจริงและเรื่องแต่ง ผสมปนเปกันอย่างลงตัว 📝 ตำนานนี้ยังคงมีเสน่ห์และคุณค่า ในฐานะเรื่องเล่าแห่งความรักของชาวล้านนา 🌟 ความรักอาจไม่มีพรมแดน... แต่ขนบธรรมเนียมและประเพณีในอดีตต่างหาก ที่เป็นกำแพงยากจะข้ามได้ 🌟 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200807 มี.ค. 2568 📚 🏷️ #ตำนานรักมะเมียะ #เจ้าน้อยศุขเกษม #ล้านนาประวัติศาสตร์ #เชียงใหม่ในอดีต #เพลงมะเมี้ยะ #เรื่องจริงหรือนิยาย #ประวัติศาสตร์ล้านนา #เชียงใหม่เมืองโบราณ #ตำนานล้านนา #รักข้ามพรมแดน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 407 มุมมอง 0 รีวิว
  • "อริสรา ทองบริสุทธิ์" นักแสดงสาววัย 34 ปี ยอมรับยืมทรัพย์สินจากนักธุรกิจสาว เมย์ วาสนา จริง หลังประกาศตามหาทรัพย์สินเพราะดาราสาวยืมแล้วไม่คืน ยอมรับทำธุรกิจล้มเหลว เป็นตัวอย่างไม่ดีแก่สังคม ที่ใช้เงินเกินตัว ไม่ประมาณตัวเอง อีกทั้งไม่ได้ปรึกษาสามี ขอฝากดูแลลูกให้ดี

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000026344
    "อริสรา ทองบริสุทธิ์" นักแสดงสาววัย 34 ปี ยอมรับยืมทรัพย์สินจากนักธุรกิจสาว เมย์ วาสนา จริง หลังประกาศตามหาทรัพย์สินเพราะดาราสาวยืมแล้วไม่คืน ยอมรับทำธุรกิจล้มเหลว เป็นตัวอย่างไม่ดีแก่สังคม ที่ใช้เงินเกินตัว ไม่ประมาณตัวเอง อีกทั้งไม่ได้ปรึกษาสามี ขอฝากดูแลลูกให้ดี อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000026344
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 810 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เมย์ วาสนา” ร่ำไห้แค้นใจ “ดิว อริสรา” ทำกันได้ยังไง ให้ยืมของหรูมูลค่า 62 ล้าน เพราะดิวไม่มีเงินไปใช้หนี้คนอื่น บอกเรื่องนี้สามี ”เซบาสเตียน ลี“ รู้ไม่ได้เลย เห็นว่าเป็นน้อง ตั้งใจช่วยให้หลุดพ้น เคยอยู่ในจุดที่ยืนหน้าโรงรับจำนำมาก่อน ก่อนหลุดฟางเส้นสุดท้ายเห็นแชตที่ดิวใส่ร้ายกับคนอื่น

    เป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับ “ดิว อริสรา ทองบริสุทธิ์” ที่เป็นดาราที่มีภาพลักษณ์ดี ต้นทุนชีวิตสูงมาก สามีเป็นชาวต่างชาติร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี มีครอบครัวอบอุ่น อยู่ๆ มามีเรื่องแบบนี้ได้ยังไง กับกรณีที่ “มาดามเมนี่” หรือ “ดร.วาสนา อินทะแสง” ตามของคืนมูลค่า 62 ล้าน และคนที่เอาไปคือ ดิว ซึ่งที่ผ่านมา เมย์ ให้โอกาส ดิว ได้มีเวลาในการเคลียร์เรื่องราวทั้งหมด แต่สุดท้ายก็ยังได้ของคืนกลับมา

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000026280

    #MGROnline #ดิวอริสรา #ซุงศตาวิน #ไฮโซเมย์ #โหนกระแส

    “เมย์ วาสนา” ร่ำไห้แค้นใจ “ดิว อริสรา” ทำกันได้ยังไง ให้ยืมของหรูมูลค่า 62 ล้าน เพราะดิวไม่มีเงินไปใช้หนี้คนอื่น บอกเรื่องนี้สามี ”เซบาสเตียน ลี“ รู้ไม่ได้เลย เห็นว่าเป็นน้อง ตั้งใจช่วยให้หลุดพ้น เคยอยู่ในจุดที่ยืนหน้าโรงรับจำนำมาก่อน ก่อนหลุดฟางเส้นสุดท้ายเห็นแชตที่ดิวใส่ร้ายกับคนอื่น • เป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับ “ดิว อริสรา ทองบริสุทธิ์” ที่เป็นดาราที่มีภาพลักษณ์ดี ต้นทุนชีวิตสูงมาก สามีเป็นชาวต่างชาติร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี มีครอบครัวอบอุ่น อยู่ๆ มามีเรื่องแบบนี้ได้ยังไง กับกรณีที่ “มาดามเมนี่” หรือ “ดร.วาสนา อินทะแสง” ตามของคืนมูลค่า 62 ล้าน และคนที่เอาไปคือ ดิว ซึ่งที่ผ่านมา เมย์ ให้โอกาส ดิว ได้มีเวลาในการเคลียร์เรื่องราวทั้งหมด แต่สุดท้ายก็ยังได้ของคืนกลับมา • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000026280 • #MGROnline #ดิวอริสรา #ซุงศตาวิน #ไฮโซเมย์ #โหนกระแส
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 268 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ 🚢⚖️

    🔵 อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน ✨

    🔵 จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย

    ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี 🧘‍♂️

    "วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น
    ✅ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี
    ✅ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย
    ✅ วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง ✨

    🔵 คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย 📂

    ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง
    🚢 เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์

    🏡 กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด

    🚐 เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

    📞 บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง

    👧 ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา

    💳 หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

    🔵 มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย ❌

    แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า

    🦎 "จิ้งเขียว"
    🦹‍♂️ "สมียันดะ"
    🧘‍♂️ "ยันดะ"

    🔵 ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง

    📜 ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย

    ⏳ ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง

    🔵 กลับมาเยือนเมืองไทย
    🗓️ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก

    🏠 ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง

    📍 จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์

    บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา 🕊️

    🔵 เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ

    🧎‍♂️ หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ 👉 แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ 💬

    🔵 สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร"
    1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่
    2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก
    3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน
    4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย
    5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ
    6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    🔵 ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย 💔✨

    👉 เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568

    🔵 #ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
    ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ 🚢⚖️ 🔵 อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน ✨ 🔵 จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี 🧘‍♂️ "วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น ✅ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี ✅ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย ✅ วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง ✨ 🔵 คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย 📂 ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง 🚢 เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์ 🏡 กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด 🚐 เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 📞 บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง 👧 ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา 💳 หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 🔵 มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย ❌ แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า 🦎 "จิ้งเขียว" 🦹‍♂️ "สมียันดะ" 🧘‍♂️ "ยันดะ" 🔵 ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง 📜 ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย ⏳ ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง 🔵 กลับมาเยือนเมืองไทย 🗓️ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก 🏠 ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง 📍 จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์ บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา 🕊️ 🔵 เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ 🧎‍♂️ หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ 👉 แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ 💬 🔵 สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร" 1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่ 2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก 3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน 4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย 5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ 6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 🔵 ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย 💔✨ 👉 เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568 🔵 #ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 771 มุมมอง 0 รีวิว
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 689 มุมมอง 0 รีวิว
  • “แม่สู้ชีวิต” สู้เพื่อลูกและสามี แม้ต้องเจอสารพัดวิกฤต!!
    #สู้ชีวิต #สู้เพื่อลูก #พิการ #ออทิสติก #นักสู้ #หัวใจแกร่ง #แรงบันดาลใจ #ฅนจริงใจไม่ท้อ
    “แม่สู้ชีวิต” สู้เพื่อลูกและสามี แม้ต้องเจอสารพัดวิกฤต!! #สู้ชีวิต #สู้เพื่อลูก #พิการ #ออทิสติก #นักสู้ #หัวใจแกร่ง #แรงบันดาลใจ #ฅนจริงใจไม่ท้อ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 328 มุมมอง 12 1 รีวิว
  • และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี

    ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น

    เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง

    เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162)

    ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน

    จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ

    1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878)
    2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875)
    3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708)
    4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838)
    5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801)
    6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077)
    7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้
    8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973)
    9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778)
    10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169)
    11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245)
    12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553)

    สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
    (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00
    Metropolitan Museum of Arts
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm
    https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    และแล้วเราก็คุยกันมาถึงภาพสุดท้ายของสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี ภาพที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นภาพที่ถูกพระราชทานไปยังพระตำหนักจิ่งเหรินกง ดูจากไทม์ไลน์แล้วน่าจะเป็นที่ประทับของฉุนเฟย แต่ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฉุนเฟยประทับที่พระตำหนักจงชุ่ยกง ภาพนี้มีชื่อว่า ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰图) หน้าตาแท้จริงเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ เพราะว่าสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพวาดโดยจิตรกรญี่ปุ่น เรื่องราวของภาพคือเรื่องของเยี่ยนจี๋ อนุภรรยาของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งในยุคสมัยชุนชิว (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความ) นางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป และวลี ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ ต่อมาถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักที่ออกดอกออกผลเป็นลูกหลาน และสะท้อนความนัยว่า ฝันที่ดีนำมาซึ่งเรื่องราวดีๆ และภาพนี้ถูกตีความว่า หมายถึงการทำสิ่งที่ฝันให้เป็นจริง เรื่องนี้คุ้นหูกันบ้างไหม? Storyฯ เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้วตอนที่คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ลองกลับไปอ่านดูกันนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/731814662280162) ป้ายที่พระราชทานคู่กับภาพนี้คือ ‘จ้านเต๋อกงเหวย’ (赞德宫闱) แปลได้ประมาณว่า ศีลธรรมดีงามได้รับการยกย่องไปทั่วพระราชฐานนางใน จบแล้วกับสิบสองภาพวาด Storyฯ นำมาเรียบเรียงอีกครั้ง โดยเรียงลำดับจากพระตำหนักที่อยู่ใกล้พระที่นั่งหยั่งซินเตี้ยน (ที่ประทับฮ่องเต้) ตามนี้ค่ะ 1. ตำหนักฉี่เสียงกง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไท่จี๋เตี้ยน (Hall of Supreme Principle) ภาพ ‘เจียงโฮ่วทัวจาน’ (姜后脱簪 / มเหสีเจียงปลดปิ่น) ความหมายคือคล้อยตามสามี ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/791887496272878) 2. ตำหนักฉางชุนกง (Palace of Eternal Spring) ภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ความหมายคือ สั่งสอนบุตร ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/746257530835875) 3. ตำหนักหย่งโซ่วกง (Palace of Eternal Longevity) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 / ปันจีผู้งามมารยาท) ความหมายคือ รู้มารยาทและพิธีการ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/750792533715708) 4. ตำหนักอี้คุนกง (Palace of Earthly Honor) ภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图 / จาวหรงตัดสินบทกวี) ความหมายคือ การศึกษา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/764297899031838) 5. ตำหนักเสียนฝูกง (Palace of Universal Happiness) ภาพ ‘เจี๋ยอวี๋ตั่งสยง’ (婕妤当熊图 / เจี๋ยอวี๋ขวางหมี) ความหมายคือ กล้าหาญ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/768864935241801) 6. ตำหนักฉู่ซิ่วกง (Palace of Gathered Elegance) ภาพ ‘ซีหลิงเจียวฉาน’ (西陵教蚕图 /ซีหลิงสอนเลี้ยงไหม) ความหมายคือ นวัตกรรม ภาพจริงสูญหายไปแล้ว(https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/754042176724077) 7. ตำหนักจิ่งเหรินกง (Palace of Great Benevolence) ภาพ ‘เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน’ (燕姞梦兰 / เยี่ยนจี๋ฝันถึงหลันฮวา) ความหมายคือ วิสัยทัศน์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ก็คือบทความที่เล่าถึงข้างต้นในวันนี้ 8. ตำหนักเฉินเฉียนกง (Palace of Celestial Favor) ภาพ ‘สวีเฟยจื๋อเจี้ยน’ (徐妃直谏 / สวีเฟยวิพากษ์) ความหมายคือ จงรักภักดีตรงไปตรงมา ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/759313216196973) 9. ตำหนักจงชุ่ยกง (Palace of Accumulated Purity) ภาพ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ (许后奉案/ สวี่ฮองเฮาถวายพระกระยาหาร) ความหมายคือ เคารพผู้อาวุโส ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้พระราชวังต้องห้าม (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/773395164788778) 10. ตำหนักจิ่งหยางกง (Palace of Great Brilliance) ภาพ ‘หม่าโฮ่วเลี่ยนอี’ (马后练衣图 / หม่าฮองเฮาสวมผ้า) ความหมายคือ มัธยัสถ์ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://web.facebook.com/StoryfromStory/posts/797174585744169) 11. ตำหนักหย่งเหอกง (Palace of Eternal Harmony) ภาพ ‘ฝานจีเจี้ยนเลี่ย’ (樊姬谏猎 / ฝานจีเตือนสติให้หยุดล่าสัตว์) ความหมายคือเตือนสติ ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/786677160127245) 12. ตำหนักเหยียนสี่กง (Palace of Prolonging Happiness) ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) ความหมายคือ ขยันขันแข็ง ภาพจริงสูญหายไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/777707414357553) สรุปว่าในบรรดาสิบสองภาพวาดนี้ เหลือของจริงอยู่เพียงภาพเดียวคือ ‘สวี่โฮ่วเฟิ่งอ้าน’ ภาพจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กู้กง Storyฯ อาจเล่าสะเปะสะปะไปหน่อยและใช้เวลาเล่านานกว่าจะจบครบสิบสองภาพ หวังว่าเรื่องราวในภาพวาดกงซวิ่นถูจะเป็นที่เพลิดเพลินของเพื่อนเพจไม่มากก็น้อย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) (ป.ล. 2 ชื่อพระตำหนัก Storyฯ แปลเป็นไทยแล้วรู้สึกว่าจั๊กจี้ เลยเอาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษมาฝากแทน) Credit รูปภาพจาก: https://www.baike.com/wikiid/2576687878101900972?view_id=y3t51nqv02o00 Metropolitan Museum of Arts Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_eastern.htm https://www.travelchinaguide.com/attraction/beijing/forbidden/six_western.htm #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เยี่ยนจี๋ #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋เมิ่งหลัน #หลันอินซวี่กั่ว #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 651 มุมมอง 0 รีวิว
  • หุ้นตกยุคอุ๊งอิ๊ง อ้างคนฉลาดเห็นโอกาส

    "เป็นจังหวะเข้าซื้อเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปลี่ยน คนที่ฉลาดจะมองเห็นโอกาสจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีกับราคาตลาดตอนนี้ ส่วนคนที่ไม่ฉลาดก็จะตื่นเต้นและไม่เห็นโอกาสในสิ่งนี้" เป็นคำกล่าวของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ระบุถึงตลาดหุ้นไทยลดลงต่ำกว่า 1,200 จุด ในวันที่ต่างชาติเทขายต่อเนื่อง และไม่มีแผนกระตุ้นนักลงทุนอย่างชัดเจน เรียกเสียงวิจารณ์จากผู้คนทั่วทุกสารทิศ

    ไม่ต่างจากก่อนหน้านี้ น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรีวัย 38 ปี กล่าวตอบโต้ฝ่ายค้านที่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องภาวะผู้นำว่า "ไม่ได้อยากชี้นิ้วว่าใครเป็นผู้นำ หรือเป็นผู้นำในแบบของเรา จะว่าใครก็ต้องเป็นผู้นำให้ได้ก่อน แล้วค่อยพูดถึงคนอื่นได้" และว่า "การอภิปรายไม่ใว้วางใจของสภาฯ เป็นเวทีที่ดีที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจในข้อมูลที่แท้จริง และเข้าใจความเป็นนายกรัฐมนตรีเจนวาย (Gen Y) ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะยังไม่เคยมีมาก่อน"

    ประโยคนี้ทำเอาคนทุกเจนถึงกับอึ้ง เพราะทราบดีว่า น.ส.แพทองธาร ไม่ได้เข้ามาเป็นนายกฯ ด้วยความสามารถ แต่เข้ามาเพราะบารมีพ่ออย่างนายทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมามีข้ออ้างว่า "เป็นนายกฯ ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์" เมื่อถูกถามถึงข้อครหาว่าครอบครัวครอบงำ หรือ "สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีก็คนใต้ ถ้าละเลยคนใต้หรือไม่รักคนใต้ แต่งงานกับคนใต้ไม่ได้" เมื่อถูกถามถึงคำว่าละเลยภาคใต้ในสถานการณ์น้ำท่วม กลายเป็นวาทะแห่งปีของสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล

    วันที่ 16 ส.ค.2567 น.ส.แพทองธารได้รับการโหวตด้วยเสียงข้างมากในสภา ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1,303.00 จุด กระทั่งนายทักษิณกล่าววิสัยทัศน์หลังได้รับการพักโทษคดีทุจริต และมีการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น สูงสุดที่ระดับ 1,506.82 จุด เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2567 แต่เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และมีเรื่องที่กระทบกับธรรมาภิบาลต่อตลาดหุ้นไทยหลายเรื่อง รวมทั้งระยะหลังนายทักษิณไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่า ทำอย่างไรตลาดหุ้นไทยจะฟื้น และมีมาตรการอย่างไรเพื่อเรียกนักลงทุนกลับมา จากสิ้นปี 2567 อยู่ที่ 1,400.21 จุด ล่าสุดวันที่ 4 มี.ค.2568 เหลือ 1,177.64 จุด และมีแนวโน้มทรุดหนักต่อไป

    ในวันที่เศรษฐกิจไม่ฟื้น นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่นายกฯ แพทองธารและพรรคเพื่อไทย ยังคงขยันผลิตวาทกรรมเอาตัวรอดไปวันๆ บริหารประเทศแบบถูลู่ถูกัง จนกว่าจะครบเทอมในปี 2570 ไม่ได้มรรคผลอะไรเลย คำว่า "โอกาส" ที่ น.ส.แพทองธารและรัฐบาลกล่าวบ่อยครั้ง ก็ไม่มีทางออกว่าจะไปทางไหน สิ่งเดียวที่ประชาชนทำได้ในยามนี้ คือ เอาตัวเองให้รอดก่อน

    #Newskit
    หุ้นตกยุคอุ๊งอิ๊ง อ้างคนฉลาดเห็นโอกาส "เป็นจังหวะเข้าซื้อเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยไม่ได้เปลี่ยน คนที่ฉลาดจะมองเห็นโอกาสจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีกับราคาตลาดตอนนี้ ส่วนคนที่ไม่ฉลาดก็จะตื่นเต้นและไม่เห็นโอกาสในสิ่งนี้" เป็นคำกล่าวของนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ระบุถึงตลาดหุ้นไทยลดลงต่ำกว่า 1,200 จุด ในวันที่ต่างชาติเทขายต่อเนื่อง และไม่มีแผนกระตุ้นนักลงทุนอย่างชัดเจน เรียกเสียงวิจารณ์จากผู้คนทั่วทุกสารทิศ ไม่ต่างจากก่อนหน้านี้ น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรีวัย 38 ปี กล่าวตอบโต้ฝ่ายค้านที่ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องภาวะผู้นำว่า "ไม่ได้อยากชี้นิ้วว่าใครเป็นผู้นำ หรือเป็นผู้นำในแบบของเรา จะว่าใครก็ต้องเป็นผู้นำให้ได้ก่อน แล้วค่อยพูดถึงคนอื่นได้" และว่า "การอภิปรายไม่ใว้วางใจของสภาฯ เป็นเวทีที่ดีที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจในข้อมูลที่แท้จริง และเข้าใจความเป็นนายกรัฐมนตรีเจนวาย (Gen Y) ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะยังไม่เคยมีมาก่อน" ประโยคนี้ทำเอาคนทุกเจนถึงกับอึ้ง เพราะทราบดีว่า น.ส.แพทองธาร ไม่ได้เข้ามาเป็นนายกฯ ด้วยความสามารถ แต่เข้ามาเพราะบารมีพ่ออย่างนายทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมามีข้ออ้างว่า "เป็นนายกฯ ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์" เมื่อถูกถามถึงข้อครหาว่าครอบครัวครอบงำ หรือ "สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีก็คนใต้ ถ้าละเลยคนใต้หรือไม่รักคนใต้ แต่งงานกับคนใต้ไม่ได้" เมื่อถูกถามถึงคำว่าละเลยภาคใต้ในสถานการณ์น้ำท่วม กลายเป็นวาทะแห่งปีของสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล วันที่ 16 ส.ค.2567 น.ส.แพทองธารได้รับการโหวตด้วยเสียงข้างมากในสภา ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1,303.00 จุด กระทั่งนายทักษิณกล่าววิสัยทัศน์หลังได้รับการพักโทษคดีทุจริต และมีการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น สูงสุดที่ระดับ 1,506.82 จุด เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2567 แต่เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และมีเรื่องที่กระทบกับธรรมาภิบาลต่อตลาดหุ้นไทยหลายเรื่อง รวมทั้งระยะหลังนายทักษิณไม่มีคำตอบอย่างชัดเจนว่า ทำอย่างไรตลาดหุ้นไทยจะฟื้น และมีมาตรการอย่างไรเพื่อเรียกนักลงทุนกลับมา จากสิ้นปี 2567 อยู่ที่ 1,400.21 จุด ล่าสุดวันที่ 4 มี.ค.2568 เหลือ 1,177.64 จุด และมีแนวโน้มทรุดหนักต่อไป ในวันที่เศรษฐกิจไม่ฟื้น นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่นายกฯ แพทองธารและพรรคเพื่อไทย ยังคงขยันผลิตวาทกรรมเอาตัวรอดไปวันๆ บริหารประเทศแบบถูลู่ถูกัง จนกว่าจะครบเทอมในปี 2570 ไม่ได้มรรคผลอะไรเลย คำว่า "โอกาส" ที่ น.ส.แพทองธารและรัฐบาลกล่าวบ่อยครั้ง ก็ไม่มีทางออกว่าจะไปทางไหน สิ่งเดียวที่ประชาชนทำได้ในยามนี้ คือ เอาตัวเองให้รอดก่อน #Newskit
    Like
    Haha
    Angry
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 638 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ ตรวจสอบบ้านไฟไหม้เงินหาย 10 ล้านบาท จ่อออกหมายจับ 2 สามีภรรยา พิสูจน์หลักฐานส่งผลตรวจ ชี้สาเหตุไฟไหม้ไม่ได้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร เร่งสอบเส้นเงิน 6.5 ล้านที่ยึดมาพัวพันบัญชีม้าหรือฟอกเงิน

    จากกรณีเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 68 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตนาธิเบศร์ รับแจ้งเหตุเพลิงลุกไหม้บ้านพัก 2 ชั้น ภายในบ้านพักกรมชลประทาน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเพลิงลุกไหม้ห้องนอนชั้นล่างได้รับความเสียหาย ภายหลังจากเหตุเพลิงไหม้สงบลง เจ้าของบ้านได้เข้าไปตรวจสอบภายในบ้าน อ้างว่าได้นำเงินสด จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินของเจ้านาย เก็บไว้ในห้องนอน ถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ต่อมา เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.รัตนาธิเบศร์ ได้ตรวจสอบรถยนต์ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ ปาเจโร หมายเลขทะเบียน ฆฐ 2492 กทม. ภายในรถพบเงินสด จำนวน 6.5 ล้านบาท บรรจุอยู่ในซองกระดาษสีน้ำตาล จึงได้ทำการตรวจยึดเพื่อนำมาตรวจสอบ

    ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 4 มี.ค. 68 พ.ต.อ.พิสุทธิ์ จันทรสุวรรณ ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ พร้อมด้วยพนักงานสอบสวน สภ.รัตนาธิเบศร์ ได้ลงพื้นที่บริเวณจุดเกิดเหตุบ้านพักที่เกิดเพลิงไหม้ ภายในบ้านพักกรมชลประทาน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อตรวจสอบสภาพที่เกิดเหตุในจุดที่มีข้อสงสัย และสรุปคดี โดยพบว่าประตูบ้านถูกล็อคกุญแจ มีรถจยย. และกล่องพัสดุวางอยู่บริเวณหน้าบ้าน สอบถามชาวบ้านยังไม่มีใครพบเห็นทางครอบครัวน.ส.นิตยา กลับมาที่บ้านหลังจากเกิดเหตุ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/crime/detail/9680000021019

    #MGROnline #ไฟไหม้ #เงินหาย #10ล้านบาท
    #ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ ตรวจสอบบ้านไฟไหม้เงินหาย 10 ล้านบาท จ่อออกหมายจับ 2 สามีภรรยา พิสูจน์หลักฐานส่งผลตรวจ ชี้สาเหตุไฟไหม้ไม่ได้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร เร่งสอบเส้นเงิน 6.5 ล้านที่ยึดมาพัวพันบัญชีม้าหรือฟอกเงิน • จากกรณีเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 68 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.รัตนาธิเบศร์ รับแจ้งเหตุเพลิงลุกไหม้บ้านพัก 2 ชั้น ภายในบ้านพักกรมชลประทาน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งเพลิงลุกไหม้ห้องนอนชั้นล่างได้รับความเสียหาย ภายหลังจากเหตุเพลิงไหม้สงบลง เจ้าของบ้านได้เข้าไปตรวจสอบภายในบ้าน อ้างว่าได้นำเงินสด จำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินของเจ้านาย เก็บไว้ในห้องนอน ถูกไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ต่อมา เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน สภ.รัตนาธิเบศร์ ได้ตรวจสอบรถยนต์ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ ปาเจโร หมายเลขทะเบียน ฆฐ 2492 กทม. ภายในรถพบเงินสด จำนวน 6.5 ล้านบาท บรรจุอยู่ในซองกระดาษสีน้ำตาล จึงได้ทำการตรวจยึดเพื่อนำมาตรวจสอบ • ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 4 มี.ค. 68 พ.ต.อ.พิสุทธิ์ จันทรสุวรรณ ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ พร้อมด้วยพนักงานสอบสวน สภ.รัตนาธิเบศร์ ได้ลงพื้นที่บริเวณจุดเกิดเหตุบ้านพักที่เกิดเพลิงไหม้ ภายในบ้านพักกรมชลประทาน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อตรวจสอบสภาพที่เกิดเหตุในจุดที่มีข้อสงสัย และสรุปคดี โดยพบว่าประตูบ้านถูกล็อคกุญแจ มีรถจยย. และกล่องพัสดุวางอยู่บริเวณหน้าบ้าน สอบถามชาวบ้านยังไม่มีใครพบเห็นทางครอบครัวน.ส.นิตยา กลับมาที่บ้านหลังจากเกิดเหตุ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/crime/detail/9680000021019 • #MGROnline #ไฟไหม้ #เงินหาย #10ล้านบาท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 413 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวยูเครนที่ใช้ชีวิตในนิวยอร์ก เรียกร้องให้มีการส่งอาวุธให้อยู่เครนมากขึ้นเพื่อทำสงครามต่อไป

    ในขณะที่ครอบครัวชาวยูเครนในภูมิภาคไมโคไลฟ (Mykolaiv) เรียกร้องให้กองทัพปล่อยตัวลูกๆและสามีของพวกเขาที่ถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า
    ชาวยูเครนที่ใช้ชีวิตในนิวยอร์ก เรียกร้องให้มีการส่งอาวุธให้อยู่เครนมากขึ้นเพื่อทำสงครามต่อไป ในขณะที่ครอบครัวชาวยูเครนในภูมิภาคไมโคไลฟ (Mykolaiv) เรียกร้องให้กองทัพปล่อยตัวลูกๆและสามีของพวกเขาที่ถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 739 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังจากรอมานานๆๆๆจนเกือบจะสิ้นปี วันนี้มาแล้วค่ะๆๆๆไข่หลุมแรกของปีจากคุณแม่มั่งมีของเรา โดยมีคุณพ่อพารวยสามีของคุณแม่มั่งมี น้องปันคุณณ์และแม่รอลุ้นให้กำลังใจคุณแม่มั่งมีอยู่หน้าห้องคลอด🤣🤣
    #คลอดวันเลขสวยพอดี เวลา 11:59 น.👏🏻👏🏻
    หลังจากรอมานานๆๆๆจนเกือบจะสิ้นปี วันนี้มาแล้วค่ะๆๆๆไข่หลุมแรกของปีจากคุณแม่มั่งมีของเรา โดยมีคุณพ่อพารวยสามีของคุณแม่มั่งมี น้องปันคุณณ์และแม่รอลุ้นให้กำลังใจคุณแม่มั่งมีอยู่หน้าห้องคลอด🤣🤣 #คลอดวันเลขสวยพอดี เวลา 11:59 น.👏🏻👏🏻
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรณีของ บ่อนคาสิโน ไม่ว่าจะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ยากที่จะบอกได้ว่าประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงประโยชน์และโทษอย่างถ่องแท้หรือไม่ หากอายุเราพอๆกัน จะจำได้ว่า “เอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์” (แปลง่ายๆว่าจะให้คนมาประมูลเปิดบ่อนดึงเงินเข้าประเทศ) นั้นถูกเสนอมาตั้งแต่รัฐบาล ทักษิณ ในปี พ.ศ. 2544-2545 แต่กระแสก็แผ่ว ตอนนั้น มีพ่อของ รัฐมนตรีท่องเที่ยว บอกว่าจะให้เอาโรงแรมแอมบาสเดอร์พัทยานั่นแหละเป็นพื้นที่นำร่องเพราะตรงตามความต้องการดี และ ไม่นานกระแสก็แผ่วเพราะภาคประชาสังคมต่อต้านอย่างมาก ปีนี้ปี พ.ศ. 2568 พ่อนายก ก็ยังขุดของเก่ามาขายอีกมั้งๆที่น่าจะมีกรณีศึกษามาแล้วพอสมควรแก่การละ และ วาง

    การที่ประเทศไทย ไม่มีคาสิโนถูกกฎหมายในทุกวันนี้ กอรป กับการที่ ตำรวจกลายเป็นหน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชั่นสูงสุด ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ในตอนที่เขียนไว้ข้างต้น ตัรายงานการสำรวจจาก รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะทำงาน ระบุว่าส่วยตำรวจจากบ่อนการพนันทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2544 น่าจะอยู่ระหว่าง 6 พัน 6 ร้อยล้าน ถึง 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับการคอรัปชั่นในรูปแบบอื่นๆอีก ก็เพราะเงินจำนวนมหาศาล นี้เอง ที่ทำให้การฉ้อราษฏร์บังหลวง มันหอมหวานมาก คำถามในเวลานั้นคือถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหานี้จะแก้ได้หรือไม่? นี่ยังคงเป็นคำถามเดียวกันที่เราต้องถามในปัจจุบัน ไม่ใช่ ว่าจะลดบ่อนเถื่อนได้หรือไม่ !

    และก็มีไอ้ประเภทชอบอ้างถึง มาเก๊า สิงค์โปร์ ลาสเวกัส (แต่ไม่ยักอ้างถึงฟิลิปปินส์หรือญี่ปุ่น) …ในเรื่องการเปิดเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์ (บ่อน) - ฟิลิปปินส์ปีที่ผ่านมานี้รัฐบาลบอกว่าภาคอุตสาหกรรมเกมมิ่ง (การพนัน) ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำดีมาก แต่ ..ประชาชนติดการพนันทั้งประเทศ .. ญี่ปุ่นมีกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังมองจากการศึกษาถอดบทเรียนว่าได้ไม่คุ้มเสีย …จีน บอกแล้วประชาชนออกไปเล่นนอกประเทศ มีความเสี่ยง มีค่าใช้จ่าย เป็นกำแพง แต่กลับมาในประเทศห้ามมีเด็ดขาดเพราะการที่ประชาชนติดการพนันสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ …สิงค์โปร์ กฏหมายต่อต้านคอรัปชั่นรุนแรง กำแพงการเข้าถึงสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐและครอบครัวใกล้ชิดห้ามข้องแวะโดยเด็ดขาด…มาเก๊าประเทศมีอะไรนอกจากเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์? …ลาสเวกัสและการพนันเสรีในสหรัฐ..ดูประเทศเขาตอนนี้สิ รัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของลาสเวกัส เมืองบ่อนการพนันที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าอัตราการฆ่า ตัวตายของรัฐฯ สูงที่สุดในอเมริกา อัตราการล้มละลายสูงถึงร้อยละ 50 หรือที่เมืองเดดวูด รัฐดาโกตา หลังจากให้เปิดคาสิโนเพียง 2 ปี พบการทารุณกรรมเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 อัตราการฆ่าตัวตายของสามี-ภรรยาที่เล่นพนันสม่ำยิ่งน่าตกใจ มันมากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศถึง 150 เท่า!!

    ถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ของประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ มีแต่ข่าว ลูกฆ่าพ่อ พ่อฆ่าลูก ผัวฆ่าเมีย แม่ฆ่ายกครัว เจ้าหนี้โหดทวงหนี้ฆ่ายกบ้าน จะเพิ่มขึ้นหรือไม่? (หรือทุกวันนี้ มันก็มีแฝงกับบ่อนเถื่อนต่างๆ อยู่แล้ว?)

    ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาลแบบนี้ เรามีฝ่ายค้านแบบนี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้ว่าไหม?
    กรณีของ บ่อนคาสิโน ไม่ว่าจะแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ยากที่จะบอกได้ว่าประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงประโยชน์และโทษอย่างถ่องแท้หรือไม่ หากอายุเราพอๆกัน จะจำได้ว่า “เอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์” (แปลง่ายๆว่าจะให้คนมาประมูลเปิดบ่อนดึงเงินเข้าประเทศ) นั้นถูกเสนอมาตั้งแต่รัฐบาล ทักษิณ ในปี พ.ศ. 2544-2545 แต่กระแสก็แผ่ว ตอนนั้น มีพ่อของ รัฐมนตรีท่องเที่ยว บอกว่าจะให้เอาโรงแรมแอมบาสเดอร์พัทยานั่นแหละเป็นพื้นที่นำร่องเพราะตรงตามความต้องการดี และ ไม่นานกระแสก็แผ่วเพราะภาคประชาสังคมต่อต้านอย่างมาก ปีนี้ปี พ.ศ. 2568 พ่อนายก ก็ยังขุดของเก่ามาขายอีกมั้งๆที่น่าจะมีกรณีศึกษามาแล้วพอสมควรแก่การละ และ วาง การที่ประเทศไทย ไม่มีคาสิโนถูกกฎหมายในทุกวันนี้ กอรป กับการที่ ตำรวจกลายเป็นหน่วยงานที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชั่นสูงสุด ยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา ในตอนที่เขียนไว้ข้างต้น ตัรายงานการสำรวจจาก รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะทำงาน ระบุว่าส่วยตำรวจจากบ่อนการพนันทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2544 น่าจะอยู่ระหว่าง 6 พัน 6 ร้อยล้าน ถึง 1 หมื่น 3 พันล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับการคอรัปชั่นในรูปแบบอื่นๆอีก ก็เพราะเงินจำนวนมหาศาล นี้เอง ที่ทำให้การฉ้อราษฏร์บังหลวง มันหอมหวานมาก คำถามในเวลานั้นคือถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหานี้จะแก้ได้หรือไม่? นี่ยังคงเป็นคำถามเดียวกันที่เราต้องถามในปัจจุบัน ไม่ใช่ ว่าจะลดบ่อนเถื่อนได้หรือไม่ ! และก็มีไอ้ประเภทชอบอ้างถึง มาเก๊า สิงค์โปร์ ลาสเวกัส (แต่ไม่ยักอ้างถึงฟิลิปปินส์หรือญี่ปุ่น) …ในเรื่องการเปิดเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์ (บ่อน) - ฟิลิปปินส์ปีที่ผ่านมานี้รัฐบาลบอกว่าภาคอุตสาหกรรมเกมมิ่ง (การพนัน) ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำดีมาก แต่ ..ประชาชนติดการพนันทั้งประเทศ .. ญี่ปุ่นมีกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังมองจากการศึกษาถอดบทเรียนว่าได้ไม่คุ้มเสีย …จีน บอกแล้วประชาชนออกไปเล่นนอกประเทศ มีความเสี่ยง มีค่าใช้จ่าย เป็นกำแพง แต่กลับมาในประเทศห้ามมีเด็ดขาดเพราะการที่ประชาชนติดการพนันสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ …สิงค์โปร์ กฏหมายต่อต้านคอรัปชั่นรุนแรง กำแพงการเข้าถึงสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐและครอบครัวใกล้ชิดห้ามข้องแวะโดยเด็ดขาด…มาเก๊าประเทศมีอะไรนอกจากเอ็นเตอเทนเม็นท์คอมเพล็กซ์? …ลาสเวกัสและการพนันเสรีในสหรัฐ..ดูประเทศเขาตอนนี้สิ รัฐเนวาดาของสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของลาสเวกัส เมืองบ่อนการพนันที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบว่าอัตราการฆ่า ตัวตายของรัฐฯ สูงที่สุดในอเมริกา อัตราการล้มละลายสูงถึงร้อยละ 50 หรือที่เมืองเดดวูด รัฐดาโกตา หลังจากให้เปิดคาสิโนเพียง 2 ปี พบการทารุณกรรมเด็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 การใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 อัตราการฆ่าตัวตายของสามี-ภรรยาที่เล่นพนันสม่ำยิ่งน่าตกใจ มันมากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศถึง 150 เท่า!! ถ้ามีบ่อนคาสิโนถูกกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ของประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ มีแต่ข่าว ลูกฆ่าพ่อ พ่อฆ่าลูก ผัวฆ่าเมีย แม่ฆ่ายกครัว เจ้าหนี้โหดทวงหนี้ฆ่ายกบ้าน จะเพิ่มขึ้นหรือไม่? (หรือทุกวันนี้ มันก็มีแฝงกับบ่อนเถื่อนต่างๆ อยู่แล้ว?) ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาลแบบนี้ เรามีฝ่ายค้านแบบนี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้ว่าไหม?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 519 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 ปี "โคบอลต์-60" รั่วไหล สมุทรปราการผวา รังสีที่คร่าชีวิต 3 ศพ เจ็บ 7 ราย หายนะร้านรับซื้อของเก่า

    📅 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นวันที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสีรั่วไหล จากสารโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย หลายคนได้รับผลกระทบ จากรังสีแกมมาที่ร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ

    แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 25 ปี แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บ และกำจัดสารกัมมันตรังสี 🛑

    🔥 จุดเริ่มต้นของหายนะ สารรังสีหลุดจากการควบคุม
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด ได้รับซื้อเครื่องฉายรังสี "โคบอลต์-60" ที่หมดอายุ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2537 โดยเก็บไว้ที่โกดังของบริษัท

    ต่อมาในปี 2542 บริษัทได้เคลื่อนย้ายเครื่องฉายรังสี ไปยังลานจอดรถร้าง ย่านซอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ โดยไม่มีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 😱

    นี่กลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ทำให้มีคนลักลอบ นำเครื่องฉายรังสีไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยไม่รู้ว่าภายในนั้นมี "โคบอลต์-60" ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ในระดับอันตราย 🚨

    🚨 เส้นทางของสารกัมมันตรังสี จากซาเล้งสู่ร้านรับซื้อของเก่า
    🛒 24 มกราคม 2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา ซึ่งมีอาชีพเก็บของเก่า ได้รับซื้อเศษเหล็กปริศนา มาจากกลุ่มที่ลักลอบนำไปขาย

    📍 1 กุมภาพันธ์ 2543 นายจิตรเสนนำชิ้นส่วนโลหะ ไปขายให้ ร้านรับซื้อของเก่า "สมจิตร" ในซอยวัดมหาวงษ์ ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ

    🔧 ขณะที่พยายามตัดแยกชิ้นส่วน ลูกจ้าง 2 คนของร้านรับซื้อของเก่า ใช้เครื่องตัดเหล็กแบบแก๊ส ผ่าออก พบแท่งโลหะ 2 ชิ้น และมีควันสีเหลือง ที่มีกลิ่นเหม็นออกมา โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือ สารกัมมันตรังสี ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต! ☢️

    ☢️ ผลกระทบจากรังสี โรครังสีเฉียบพลัน
    🔬 15-17 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ที่สัมผัสรังสีเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น
    ✅ อ่อนเพลีย
    ✅ มือบวมพอง
    ✅ แผลไหม้พุพอง
    ✅ เม็ดเลือดขาวต่ำ
    ✅ ผมร่วง

    18 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อแพทย์พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการได้รับรังสีรุนแรง และแจ้งไปยัง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.)

    🏥 การเสียชีวิตจากรังสีแกมมา
    📅 9 มีนาคม 2543 นายนิพนธ์ พันธุ์ขันธ์ ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายแรก จากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจากรังสี

    📅 18 มีนาคม 2543 นายสุดใจ ใจเร็ว ลูกจ้างอีกคน เสียชีวิตจากภาวะเดียวกัน

    📅 24 มีนาคม 2543 สามีของนางสมจิตร เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายที่ 3

    📌 แม้นายจิตรเสน จะรอดชีวิตมาได้ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในไอซียู และถูกตัดนิ้วมือ ที่ได้รับรังสีสูง

    นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งที่ได้รับรังสี ต้องทำแท้ง เนื่องจากความเสี่ยงที่รังสี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

    ⚖️ คดีความ
    ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐและเอกชน

    📌 คดีศาลปกครอง ศาลสูงสุดพิพากษา ให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) จ่ายค่าสินไหมทดแทน 5.2 ล้านบาท

    📌 คดีศาลแพ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด จ่ายค่าเสียหาย 529,276 บาท

    แต่ท้ายที่สุด บริษัทไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง

    ❗ บทเรียนจากโศกนาฏกรรม
    🔹 การขาดมาตรการจัดเก็บที่ปลอดภัย ทำให้สารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกจากการควบคุม

    🔹 การขาดความรู้ของประชาชน ทำให้มีคนสัมผัสสารรังสีโดยไม่รู้ตัว

    🔹 ความล่าช้าในการจัดการของรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง

    แม้ว่าประเทศไทยจะมี สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่การขาดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

    📌 เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก
    25 ปีผ่านไป เหตุการณ์ โคบอลต์-60 รั่วไหล ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความประมาท และการละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ด้านกัมมันตรังสี อาจนำไปสู่หายนะร้ายแรง

    📢 มาตรการป้องกันที่ควรมี
    ✅ การจัดเก็บสารกัมมันตรังสี ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
    ✅ การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ ที่เคร่งครัด
    ✅ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อันตรายของสารรังสีแก่ประชาชน
    ✅ การจัดการกากกัมมันตรังสีที่ถูกต้อง

    หากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ อุบัติเหตุจากรังสี อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเมื่อ ☢️

    📢 คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. โคบอลต์-60 คืออะไร?
    โคบอลต์-60 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม แต่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

    2. รังสีแกมมา ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร?
    รังสีแกมมา สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดมะเร็ง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังไหม้ และอวัยวะล้มเหลว

    3. เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยอย่างไร?
    เหตุการณ์นี้ นำไปสู่การปรับปรุง มาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยังมีข้อบกพร่อง ในการบังคับใช้

    4. ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน อุบัติเหตุรังสีหรือไม่?
    มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กำกับดูแล แต่การบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความเข้มงวด

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181220 ก.พ. 2568

    #️⃣ #โคบอลต์60 #สมุทรปราการ #รังสีรั่วไหล #ภัยรังสี #ความปลอดภัย #พลังงานปรมาณู #อันตรายจากรังสี #รังสีแกมมา #ข่าวดัง #บทเรียนจากอดีต 🚨
    25 ปี "โคบอลต์-60" รั่วไหล สมุทรปราการผวา รังสีที่คร่าชีวิต 3 ศพ เจ็บ 7 ราย หายนะร้านรับซื้อของเก่า 📅 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เป็นวันที่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับประเทศไทย เมื่อเกิดอุบัติเหตุรังสีรั่วไหล จากสารโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย หลายคนได้รับผลกระทบ จากรังสีแกมมาที่ร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ แม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 25 ปี แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการจัดเก็บ และกำจัดสารกัมมันตรังสี 🛑 🔥 จุดเริ่มต้นของหายนะ สารรังสีหลุดจากการควบคุม เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด ได้รับซื้อเครื่องฉายรังสี "โคบอลต์-60" ที่หมดอายุ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อปี 2537 โดยเก็บไว้ที่โกดังของบริษัท ต่อมาในปี 2542 บริษัทได้เคลื่อนย้ายเครื่องฉายรังสี ไปยังลานจอดรถร้าง ย่านซอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ โดยไม่มีมาตรการ รักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 😱 นี่กลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ที่ทำให้มีคนลักลอบ นำเครื่องฉายรังสีไปขายเป็นเศษเหล็ก โดยไม่รู้ว่าภายในนั้นมี "โคบอลต์-60" ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ในระดับอันตราย 🚨 🚨 เส้นทางของสารกัมมันตรังสี จากซาเล้งสู่ร้านรับซื้อของเก่า 🛒 24 มกราคม 2543 นายจิตรเสน จันทร์สาขา ซึ่งมีอาชีพเก็บของเก่า ได้รับซื้อเศษเหล็กปริศนา มาจากกลุ่มที่ลักลอบนำไปขาย 📍 1 กุมภาพันธ์ 2543 นายจิตรเสนนำชิ้นส่วนโลหะ ไปขายให้ ร้านรับซื้อของเก่า "สมจิตร" ในซอยวัดมหาวงษ์ ตำบลสำโรง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ 🔧 ขณะที่พยายามตัดแยกชิ้นส่วน ลูกจ้าง 2 คนของร้านรับซื้อของเก่า ใช้เครื่องตัดเหล็กแบบแก๊ส ผ่าออก พบแท่งโลหะ 2 ชิ้น และมีควันสีเหลือง ที่มีกลิ่นเหม็นออกมา โดยไม่รู้เลยว่านั่นคือ สารกัมมันตรังสี ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต! ☢️ ☢️ ผลกระทบจากรังสี โรครังสีเฉียบพลัน 🔬 15-17 กุมภาพันธ์ 2543 ผู้ที่สัมผัสรังสีเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น ✅ อ่อนเพลีย ✅ มือบวมพอง ✅ แผลไหม้พุพอง ✅ เม็ดเลือดขาวต่ำ ✅ ผมร่วง 18 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อแพทย์พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการคล้ายกัน จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการได้รับรังสีรุนแรง และแจ้งไปยัง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) 🏥 การเสียชีวิตจากรังสีแกมมา 📅 9 มีนาคม 2543 นายนิพนธ์ พันธุ์ขันธ์ ลูกจ้างร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายแรก จากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเม็ดเลือดขาว ถูกทำลายจากรังสี 📅 18 มีนาคม 2543 นายสุดใจ ใจเร็ว ลูกจ้างอีกคน เสียชีวิตจากภาวะเดียวกัน 📅 24 มีนาคม 2543 สามีของนางสมจิตร เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตเป็นรายที่ 3 📌 แม้นายจิตรเสน จะรอดชีวิตมาได้ แต่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในไอซียู และถูกตัดนิ้วมือ ที่ได้รับรังสีสูง นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์รายหนึ่งที่ได้รับรังสี ต้องทำแท้ง เนื่องจากความเสี่ยงที่รังสี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ⚖️ คดีความ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐและเอกชน 📌 คดีศาลปกครอง ศาลสูงสุดพิพากษา ให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) จ่ายค่าสินไหมทดแทน 5.2 ล้านบาท 📌 คดีศาลแพ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้ บริษัทกมลสุโกศล อิเล็คทริค จำกัด จ่ายค่าเสียหาย 529,276 บาท แต่ท้ายที่สุด บริษัทไม่ได้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่กล่าวอ้าง ❗ บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 🔹 การขาดมาตรการจัดเก็บที่ปลอดภัย ทำให้สารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกจากการควบคุม 🔹 การขาดความรู้ของประชาชน ทำให้มีคนสัมผัสสารรังสีโดยไม่รู้ตัว 🔹 ความล่าช้าในการจัดการของรัฐ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง แม้ว่าประเทศไทยจะมี สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกำกับดูแล แต่การขาดการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น 📌 เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นอีก 25 ปีผ่านไป เหตุการณ์ โคบอลต์-60 รั่วไหล ยังคงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความประมาท และการละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ด้านกัมมันตรังสี อาจนำไปสู่หายนะร้ายแรง 📢 มาตรการป้องกันที่ควรมี ✅ การจัดเก็บสารกัมมันตรังสี ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ✅ การตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ ที่เคร่งครัด ✅ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อันตรายของสารรังสีแก่ประชาชน ✅ การจัดการกากกัมมันตรังสีที่ถูกต้อง หากไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ อุบัติเหตุจากรังสี อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ทุกเมื่อ ☢️ 📢 คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. โคบอลต์-60 คืออะไร? โคบอลต์-60 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม แต่สามารถปล่อยรังสีแกมมา ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 2. รังสีแกมมา ทำอันตรายต่อร่างกายอย่างไร? รังสีแกมมา สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลให้เกิดมะเร็ง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ผิวหนังไหม้ และอวัยวะล้มเหลว 3. เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบ ต่อกฎหมายไทยอย่างไร? เหตุการณ์นี้ นำไปสู่การปรับปรุง มาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ให้เข้มงวดมากขึ้น แต่ยังมีข้อบกพร่อง ในการบังคับใช้ 4. ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน อุบัติเหตุรังสีหรือไม่? มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) กำกับดูแล แต่การบังคับใช้กฎหมาย ยังขาดความเข้มงวด ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181220 ก.พ. 2568 #️⃣ #โคบอลต์60 #สมุทรปราการ #รังสีรั่วไหล #ภัยรังสี #ความปลอดภัย #พลังงานปรมาณู #อันตรายจากรังสี #รังสีแกมมา #ข่าวดัง #บทเรียนจากอดีต 🚨
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว
  • BIG Story | ฆาตกรเสื้อกาวน์: ฝัง - ซ่อน - ตาย

    เมื่อการหายตัวไปของสองสามีภรรยา นำไปสู่การค้นพบ คดีฆาตกรรมฝังดิน 3 ศพ ในพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลที่ไม่น่าจะเป็นฆาตกร!

    📌 โศกนาฏกรรมที่ซ่อนอยู่ เบื้องหลังภาพลักษณ์อันน่าเชื่อถือ
    📌 ปริศนาแห่งการสังหาร กับแรงจูงใจที่ซับซ้อน
    📌 หลักฐานที่ถูกซุกซ่อน นำไปสู่การเปิดโปงเรื่องราวอันน่าสะพรึง

    🔍 ติดตามคดีสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนจากเรื่องราวคนหาย... สู่การไขปริศนาฆาตกรรมโหดใน BIG Story บน Thaitimes App

    #BigStory #ฆาตกรเสื้อกาวน์ #คดีสะเทือนขวัญ #อาชญากรรม #ปริศนาฆาตกรรม #ความจริงที่ถูกฝัง #เปิดโปงความลับ #ThaiTimes
    BIG Story | ฆาตกรเสื้อกาวน์: ฝัง - ซ่อน - ตาย เมื่อการหายตัวไปของสองสามีภรรยา นำไปสู่การค้นพบ คดีฆาตกรรมฝังดิน 3 ศพ ในพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลที่ไม่น่าจะเป็นฆาตกร! 📌 โศกนาฏกรรมที่ซ่อนอยู่ เบื้องหลังภาพลักษณ์อันน่าเชื่อถือ 📌 ปริศนาแห่งการสังหาร กับแรงจูงใจที่ซับซ้อน 📌 หลักฐานที่ถูกซุกซ่อน นำไปสู่การเปิดโปงเรื่องราวอันน่าสะพรึง 🔍 ติดตามคดีสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนจากเรื่องราวคนหาย... สู่การไขปริศนาฆาตกรรมโหดใน BIG Story บน Thaitimes App #BigStory #ฆาตกรเสื้อกาวน์ #คดีสะเทือนขวัญ #อาชญากรรม #ปริศนาฆาตกรรม #ความจริงที่ถูกฝัง #เปิดโปงความลับ #ThaiTimes
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 709 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 818 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมืองนิโคลาเยฟ ในยูเครน

    หญิงสูงอายุรายหนึ่งจุดชนวนระเบิดในถุงที่ข้างในใส่ระเบิดแสวงเครื่องไว้ต่อหน้ากลุ่มเจ้าหน้าที่ยูเครนที่ทำหน้าที่บังคับชายชาวยูเครนเข้าสู่แนวหน้า

    ต่อมาทราบว่าหญิงรายนี้ต้องสูญเสียลูกชายและสามีของเธอไปในสงคราม หลังจากถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า

    มีรายงานเจ้าหน้าที่ 1 รายเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอีก 6 ราย บางคนมีอาการสาหัส
    เมืองนิโคลาเยฟ ในยูเครน หญิงสูงอายุรายหนึ่งจุดชนวนระเบิดในถุงที่ข้างในใส่ระเบิดแสวงเครื่องไว้ต่อหน้ากลุ่มเจ้าหน้าที่ยูเครนที่ทำหน้าที่บังคับชายชาวยูเครนเข้าสู่แนวหน้า ต่อมาทราบว่าหญิงรายนี้ต้องสูญเสียลูกชายและสามีของเธอไปในสงคราม หลังจากถูกบังคับเข้าสู่แนวหน้า มีรายงานเจ้าหน้าที่ 1 รายเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอีก 6 ราย บางคนมีอาการสาหัส
    Sad
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 365 มุมมอง 30 0 รีวิว
  • 🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭

    สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน”
    (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย)

    เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง

    ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก

    ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน

    จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด

    คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้?

    ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน

    แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง

    เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด

    เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว

    และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

    นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ

    กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้
    - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว

    ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ

    กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้

    และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml
    https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm
    https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html
    https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx
    https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm

    #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    🪭สามหนังสือหกพิธีการ 🪭 สวัสดีค่ะ Storyฯ ขอต้อนรับวันแห่งความรักด้วยบทความเกี่ยวกับการแต่งงาน เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงได้ผ่านตาฉากที่ว่าหลิ่วเหมียนถางได้รับการสู่ขอจากบุตรชายตระกูลซู ที่หอบสินสอดมาไว้ให้ที่เรือนสกุลเฉียวพร้อมเจรจาสู่ขอ และหลิ่วเหมียนถางบอกให้ตาของนางรีบคืนสินสอดนั้นไป โดยบอกว่า “ตามกฎหมายของต้าฉี ต้องมีการเขียนหนังสือก่อนแล้วจึงให้สินสอด การหมั้นหมายจำเป็นต้องให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในหนังสือสมรส ไม่เช่นนั้นก็ถือเป็นการบังคับแต่งงาน” (หมายเหตุ คำแปลจากซับไทย) เพื่อนเพจหลายท่านน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) มาบ้าง เพราะมีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึง แต่อาจไม่ค่อยกระจ่างว่าสามหนังสือที่ว่านี้มันอยู่ในขั้นตอนใดของหกพิธีการ จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่าต้องมีการเขียนหนังสือก่อนให้สินสอดตามที่กล่าวมาในเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> นี้อย่างไร วันนี้เลยมาลงรายละเอียดให้ฟัง ก่อนอื่นขออธิบายโดยย่อว่า ขั้นตอนการแต่งงานในจีนโบราณแบ่งได้เป็นสามช่วง ช่วงแรกคือก่อนพิธีมงคลสมรส ช่วงสองคือพิธีมงคลสมรสและเข้าหอและช่วงสามคือหลังเข้าหอ เรื่อง ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ เป็นขั้นตอนปฏิบัติในช่วงแรก ครอบคลุมขั้นตอนการทาบทามสู่ขอ การหมั้นหมายและการรับตัวเจ้าสาว โดยถูกกำหนดไว้แต่โบราณในบันทึกหลี่จี้ ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ขั้นตอนตามสามหนังสือหกพิธีการก็คือ เริ่มจากให้แม่สื่อไปทาบทาม (พิธีการสู่ขอ ‘น่าไฉ่’/纳采) ถ้าฝ่ายหญิงเห็นดีเห็นงามด้วย ก็แลกเปลี่ยนเวลาตกฟากวันเดือนปีเกิดของว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวโดยบันทึกอย่างละเอียดลงในเอกสารเรียกว่า ‘เกิงเถี่ย’ (庚帖) หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ‘เฉาเถี่ยจือ’ (草帖子) นี่คือพิธีการที่สอง (พิธีการสอบถาม ‘เวิ่นหมิง’/问名) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้ ในทางปฏิบัติจะมีโอกาสให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายฝ่ายหญิงได้เจอหน้าค่าตาพูดคุยกัน สอบถามประวัติตระกูลเพราะในสมัยโบราณการแต่งงานถือเป็นการผูกสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัวไม่ใช่เรื่องระหว่างเจ้าบ่าวเจ้าสาวเพียงสองคน รวมถึงสอบถามชัดเจนว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นลูกภรรยาเอกหรืออนุภรรยา และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้พบเห็นว่าที่คู่สมรสของอีกฝ่ายได้ (เช่น บุรุษมาเยือนทำความเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือสตรีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาเจอหน้าว่าที่เจ้าสาว) อันนี้แล้วแต่จะจัดนัดหมายกัน ถ้าไม่แฮปปี้กันก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยนวันเวลาเกิดกัน จากนั้นฝ่ายชายก็นำวันเวลาเกิดดังกล่าวไปดูดวงสมพงษ์ นับเป็นพิธีการที่สาม (พีธีการดูดวงสมพงษ์ ‘น่าจี๋’/纳吉) แล้วแจ้งผลไปยังฝ่ายหญิง ถ้าคู่บ่าวสาวดวงสมพงษ์กันก็จะเริ่มเจรจาเตรียมการหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ จนนำมาถึงพิธีการที่สี่ซึ่งก็คือฝ่ายชายนำสินสอดมามอบให้ฝ่ายหญิง (พิธีการมอบสินสอดและหมั้นหมาย ‘น่าเจิง’/纳征) ซึ่งในช่วงสองพิธีการนี้มีสอง ‘หนังสือ’ ที่เกี่ยวข้อง คือ ‘หนังสือหมั้น’ (พิ่นซู/聘书หรือในสมัยซ่งเรียกว่า ซี่เถี่ยจือ/细帖子) และ ‘หนังสือสินสอด’ (หลี่ซู/礼书) โดยหนังสือหมั้นคือเอกสารที่บุรุษระบุคำมั่นสัญญาที่จะแต่งสตรี และหนังสือสินสอดคือเอกสารแจกแจงรายการสินทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นสินสอดทั้งหมด คำถาม ณ จุดนี้คือ หนังสือฉบับไหนให้เมื่อไหร่และใครเป็นคนให้? ธรรมเนียมปฏิบัติจริงแตกต่างไปตามยุคสมัย และ ‘น่าเจิง’ จริงแล้วหมายรวมว่าได้ดำเนินการสองเรื่องแล้วเสร็จ คือการส่งมอบสินสอด (น่า) และการยืนยันความประสงค์ที่จะแต่งงาน (เจิง) ดังนั้น ขั้นตอนที่รวบยอดที่สุดคือคุยกันนอกรอบแล้วฝ่ายชายเดินทางมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำการส่งมอบสินสอดและหลักฐานการหมั้นพร้อมด้วยสองหนังสือดังกล่าวในคราวเดียวกัน แต่ในหลายครั้งก็จัดทำสองเรื่องนี้แยกกัน โดยส่งมอบหนังสือหมั้นทันทีที่ตกลงหมั้นซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจดวงสมพงษ์แล้วเสร็จได้ผลเป็นที่พอใจ ในบางยุคสมัยแบ่งออกเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงจากฝ่ายชายที่จะแต่งงาน ตามด้วยหนังสือตอบรับยินดีที่จะแต่งงานจากฝ่ายหญิง ใช้รวมกันเป็นหนังสือหมั้น ตัวอย่างเอกสารโบราณจากสมัยถังเป็นเช่นนี้ จากนั้นค่อยมีการนำส่งสินสอดและหนังสือสินสอดในภายหลัง เมื่อได้รับสินสอดจากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็ต้องมีของขวัญตอบแทน ซึ่งแน่นอนว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น (ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของตอบแทนหรือสินสอด) ควรประกอบด้วยของอะไรบ้างแต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด เมื่อผ่านทั้งสี่ขั้นตอนข้างต้นแล้ว ก็เป็นขั้นตอนที่ห้า คือฝ่ายชายหาฤกษ์แต่งและหารือ/แจ้งกับฝ่ายหญิง (พิธีการแจ้งฤกษ์ ‘ฉิ่งชี’/请期) เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างฝ่ายต่างเตรียมการงานแต่ง และสุดท้ายคือฝ่ายชายมารับตัวเจ้าสาวไปบ้านฝ่ายชายเพื่อกราบไหว้ฟ้าดิน (พิธีการรับตัวเจ้าสาว ‘ชินอิ๋ง’/ 亲迎) โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะมอบ ‘หนังสือรับตัวเจ้าสาว’ (อิ๋งซู/迎书) ให้แก่ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวเมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาวเพื่อรับตัวเจ้าสาว และนี่คือสามหนังสือหกพิธีการ แน่นอนว่าพิธีการเหล่านี้ถูกย่อลงไปตามการเวลา ในสมัยซ่งลดเหลือเพียงสามพิธีการคือ สู่ขอ (‘น่าไฉ่’ มอบหนังสือ เฉ๋าเถี่ยจือ) หมั้นหมาย (‘น่าเจิง’ มอบหนังสือซี่เถี่ยจือ) และรับตัว (‘อิ๋งชิน’ มอบหนังสืออิ๋งซู) แต่ในทางปฏิบัติยังคงรวมกิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ ในหลายนิยายและซีรีส์มักกล่าวถึงหนังสือที่เป็นหลักฐานการสมรสหรือที่เรียกว่า ‘หนังสือสมรส’ (ฮุนซู/婚书) แต่... ในสมัยโบราณไม่มีทะเบียนสมรสที่ออกโดยทางการแม้ว่าจะมีการไปรายงานและลงทะเบียนกับที่ว่าการท้องถิ่นเพื่อยืนยันการแต่งงานระหว่างชายหญิง จึงเป็นที่ข้องใจอีกว่า แล้วหนังสือฮุนซูที่ว่านี้คืออะไร? เรามาทำความเข้าใจมันจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการยกเลิกการแต่งงานในสมัยถังกันค่ะ กฎหมายสมัยถังระบุว่า ผู้ที่ได้รายงานและขึ้นทะเบียนหนังสือสมรส (ฮุนซู) ต่อทางการแล้วและฝ่ายหนึ่งยกเลิกการแต่งงานโดยอีกฝ่ายไม่ยินยอมหรือรับรู้ก็จะมีบทลงโทษ ทั้งนี้ หากไม่มีหนังสือยืนยันความประสงค์แต่งงานแต่มีการรับสินสอดให้ถือเสมือนว่ามีการให้คำมั่นที่จะแต่งงานแล้วด้วยเช่นกัน สรุปบทลงโทษได้ดังนี้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกการแต่งงาน ให้โบยหกสิบครั้งและยังต้องแต่งงานตามเดิม - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นแต่ยังแต่งไม่สำเร็จ ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง และยังต้องแต่งงานกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะไปแต่งงานกับผู้อื่นได้ - ฝ่ายหญิงยกเลิกเพื่อไปแต่งงานกับคนอื่นและได้แต่งไปเรียบร้อยแล้ว ให้โบยหนึ่งร้อยครั้ง ทำงานหนักหนึ่งปีครึ่ง การแต่งงานเป็นโมฆะและฝ่ายหญิงต้องกลับมาแต่งกับคู่หมั้นเดิม แต่ถ้าคู่หมั้นเดิมไม่ต้องการแต่งด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนสินสอดให้กับคู่หมั้นเดิมจึงจะอยู่กับสามีที่แต่งงานกันไปแล้วได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย - ฝ่ายชายยกเลิกการแต่งงาน ไม่มีการลงทัณฑ์แต่ให้สละสิทธิ์ในสินสอดที่มอบให้ฝ่ายหญิงไปแล้ว ฟังดูเหมือนบทลงทัณฑ์เอนเอียงและให้โทษกับฝ่ายหญิงมากกว่า แต่นั่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโกหกปอกลอกทรัพย์สินสอด ทั้งนี้ บทลงทัณฑ์ข้างต้นไม่เพียงใช้กับคู่บ่าวสาว หากแต่หมายรวมถึงผู้ใหญ่ฝ่ายนั้นด้วยเพราะถือว่าพิธีการต่างๆ ของการแต่งงานต้องดำเนินการผ่านผู้ใหญ่ และมีเหตุการณ์ที่อนุโลมให้ยกเลิกการแต่งงานได้เช่นในกรณีอีกฝ่ายถูกพิพากษาเป็นนักโทษ ฯลฯ กฎหมายว่าด้วยเรื่องยกเลิกการแต่งงานและบทลงโทษเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแต่ยังอยู่ภายใต้กรอบแนวทางคล้ายคลึงกัน และจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าหนังสือสมรสก็คือหนังสือที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานโดยยังไม่ได้มีการรับส่งตัวเจ้าสาว เปรียบได้เป็นหนังสือหมั้นนั่นเอง ซึ่งในบางยุคสมัยจะหมายรวมการตอบรับโดยฝ่ายเจ้าสาวด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเคยผ่านตาว่าบุรุษอาจเรียกคู่หมั้นว่า ‘ภรรยาที่ยังไม่แต่งข้ามเรือนมา’ ทั้งนี้ เป็นเพราะการหมั้นในสมัยโบราณมีความหนักแน่นเสมือนแต่งงานกันแล้ว และเมื่อผ่านการหมั้นแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายสามารถเรียกซึ่งกันและกันว่า ‘ชิ่นเจีย’ (亲家) ได้เลย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพ่อแม่ของเขย-สะใภ้ และบทความที่กล่าวมาข้างต้นจึงอธิบายบริบทของสังคมใน <ซ่อนรักชายาลับ> ที่ระบุว่าต้องมีการทำหนังสือสมรสร่วมกันก่อนแล้วค่อยมอบสินสอดได้จึงจะถูกต้อง และหากรับสินสอดโดยไม่มีการทำหนังสือหมั้นก็ถือได้ว่าต้องแต่งงานเหมือนกัน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/12/id/5676081.shtml https://www.gmw.cn/guoxue/2018-04/11/content_28279045.htm https://www.gz.gov.cn/zlgz/whgz/content/post_8071815.html https://www.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F126BD3881FD42A2C.aspx https://newspaper.jcrb.com/2023/20230607/20230607_007/20230607_007_3.htm #ซ่อนรักชายาลับ #สามหนังสือหกพิธีการ #ซานซูลิ่วหลี่ #หนังสือแต่งงาน #การถอนหมั้น #สาระจีน
    WWW.COSMOPOLITAN.COM
    陸劇《柳舟記》結局!崔眠夫婦歸隱江湖,張晚意願當王楚然的小嬌夫!帝后CP先婚後愛好嗑,敲碗番外篇
    《柳舟記》劇情從頭到尾都在線!而且除了崔眠夫婦好嗑,帝后CP也很讓人愛啊~
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 833 มุมมอง 0 รีวิว
  • เงียบกริบจนผิดวิสัย สำหรับ “ดิว อริสรา ทองบริสุทธิ์”หลังจากถูกโยงเป็นดาราสาวถูกทวงเงินจากอดีตผู้จัดการ ที่เอาไปปล่อยกู้คนดังเกือบ 10 ล้าน รวมไปถึงประเด็นที่ “มดดำ คชาภา ตันเจริญ” ออกมาเล่าเรื่องของเพื่อนสาวนักธุรกิจที่ถูกดาราสาวยืมของหรูมูลค่า 62 ล้านไป แต่ยังไม่ยอมคืน ให้โอกาสถึงสิ้นเดือน ก.พ. นี้หากไม่เอาของทั้งหมดมาคืนจะไปแจ้งความแล้ว

    ที่ผ่านมามีวงในคนสนิทมาเล่าว่าที่ ดิว อริสรา เงียบจนผิดสังเกต เป็นเพราะผู้ใหญ่แนะนำให้เงียบ ซึ่งหากเข้าไปส่องโซเชียล ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของดิว ช่วง 1 ก.พ. ได้มีการแชร์โพสต์ประเด็นบริจาคเลือด มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นกันมากมาย หวังให้ดิวออกมาชี้แจง

    ล่าสุด วันวาเลนไทน์ ปี 68 ดิวได้แชร์คลิปลงไอจีสตอรี่โดยได้โพสต์คลิปเล่าเกี่ยวกับความรักในวันวาเลนไทน์ พร้อมเขียนข้อความว่า "Will you be my Valentine" พร้อมกับใส่อีโมจิรูปหัวใจสีแดง ต่างจากทุกปีที่ดิวจะต้องอวดดอกไม้ช่อใหญ่ และเซอร์ไพรส์สุดอลังการจากสามี “เซบาสเตียน ลี” แต่ ณ ตอนนี้มีแค่รีสตอรี่ และข้อความหวาน แม้แต่รูปสามีก็ยังไม่เห็น แต่ก็ยังไม่หมดวัน รอลุ้นเซอร์ไพรส์จากดิวต่อไป

    #MGROnline #ดิวอริสรา
    เงียบกริบจนผิดวิสัย สำหรับ “ดิว อริสรา ทองบริสุทธิ์”หลังจากถูกโยงเป็นดาราสาวถูกทวงเงินจากอดีตผู้จัดการ ที่เอาไปปล่อยกู้คนดังเกือบ 10 ล้าน รวมไปถึงประเด็นที่ “มดดำ คชาภา ตันเจริญ” ออกมาเล่าเรื่องของเพื่อนสาวนักธุรกิจที่ถูกดาราสาวยืมของหรูมูลค่า 62 ล้านไป แต่ยังไม่ยอมคืน ให้โอกาสถึงสิ้นเดือน ก.พ. นี้หากไม่เอาของทั้งหมดมาคืนจะไปแจ้งความแล้ว • ที่ผ่านมามีวงในคนสนิทมาเล่าว่าที่ ดิว อริสรา เงียบจนผิดสังเกต เป็นเพราะผู้ใหญ่แนะนำให้เงียบ ซึ่งหากเข้าไปส่องโซเชียล ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของดิว ช่วง 1 ก.พ. ได้มีการแชร์โพสต์ประเด็นบริจาคเลือด มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นกันมากมาย หวังให้ดิวออกมาชี้แจง • ล่าสุด วันวาเลนไทน์ ปี 68 ดิวได้แชร์คลิปลงไอจีสตอรี่โดยได้โพสต์คลิปเล่าเกี่ยวกับความรักในวันวาเลนไทน์ พร้อมเขียนข้อความว่า "Will you be my Valentine" พร้อมกับใส่อีโมจิรูปหัวใจสีแดง ต่างจากทุกปีที่ดิวจะต้องอวดดอกไม้ช่อใหญ่ และเซอร์ไพรส์สุดอลังการจากสามี “เซบาสเตียน ลี” แต่ ณ ตอนนี้มีแค่รีสตอรี่ และข้อความหวาน แม้แต่รูปสามีก็ยังไม่เห็น แต่ก็ยังไม่หมดวัน รอลุ้นเซอร์ไพรส์จากดิวต่อไป • #MGROnline #ดิวอริสรา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 545 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts