• ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน
    ความมีอยู่ว่า

    ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ...

    - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน
    (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร?

    ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม

    แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล

    ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇)

    และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน

    เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html
    http://www.bgushi.com/archives/2236
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html
    http://www.3yan.cn/question/982793

    #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    ผ่านวีคเอนด์แห่งความรักมาแล้ว วันนี้คุยกันเรื่องประเพณีงานแต่งงาน ความมีอยู่ว่า ... ครั้นกู้ถิงเยี่ยยกน้ำชาให้เสิ้งหงและฮูหยินจนเสร็จสิ้นพิธีการแล้ว เจ้าสาวที่แต่งกายแต่งหน้าอย่างเต็มที่พร้อมผ้าคลุมหน้าก็ถูกแม่เฒ่าป๋าวพาก้าวเนิบๆ เข้าโถงใหญ่มา กู้ถิงเยี่ยไม่กระพริบตา เขาพาหมิงหลันค้อมกายลงคำนับอำลาเสิ้งหงและฮูหยิน ... - จากเรื่อง <หมิงหลัน บุปผาเคียงใจ> ผู้แต่ง กวนซินเจ๋อล่วน (หมายเหตุ ชื่อตามหนังสือฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่องตำนานหมิงหลันดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ในหนังสือ (ตามความข้างบน) หมิงหลันมีผ้าคลุมหน้าตอนแต่งงาน แต่ในละครกลับใช้เป็นพัดกลมบังหน้า (ดูจากรูปของละคร เปรียบเทียบกับรูปเจ้าสาวคลุมหน้าทั่วไป) มีเพื่อนเพจสงสัยกันบ้างไหมว่า ต่างกันอย่างไร? และประเพณีที่ถูกต้องควรเป็นเช่นไร? ไม่ว่าจะเป็นพัดหรือผ้าคลุมหน้า ล้วนเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นกุลสตรีของเจ้าสาว เพราะสมัยโบราณถือว่าการเผยหน้าต่อสาธารณะชนเป็นการประพฤติตนไม่งาม แต่ประเพณีแต่โบราณดั้งเดิมคือการถือพัด ว่ากันว่า เป็นไปตามตำนานปรำปราเรื่องของหนี่ว์วาและพี่ชายฝูซี สองพี่น้องเทพยดาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเขาคุนลุ้น ต่อมาแต่งงานกันและสร้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จากดินเหนียว โดยตามตำนานนางรู้สึกเขินอายเมื่อต้องแต่งงานกับพี่ชาย จึงใช้พัดที่ถักจากหญ้ามาบังใบหน้าไว้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขึ้น ต่อมาเพิ่มเติมเป็นเคล็ดใช้บังเจ้าสาวจากสิ่งอัปมงคล ประวัติศาสตร์มีจารึกไว้เรื่องประเพณีเจ้าสาวถือพัดมาแต่ราชวงศ์เหนือใต้ (ปีค.ศ. 420-589) โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจ้าสาวต้องถือพัดไว้ตลอดจนกว่าจะถูกส่งเข้าห้องหอ โดยพัดที่ใช้เป็นพัดรูปทรงกลมหรือทรงผีเสื้อ พออยู่ในห้องหอจึงวางพัดลงได้ ขั้นตอนวางพัดนี้มีชื่อเรียกว่า “เชวี่ยซ่าน” (却扇) และในยุคสมัยราชวงศ์ซ่งนี้เอง ได้เริ่มมีการใช้ผ้าคลุมหน้า ซึ่งเดิมเพียงพาดไว้บนศีรษะเพื่อบังความหนาว ต่อมากลายเป็นการคลุมทั้งหน้าลงมาและทดแทนการถือพัด และภายหลังจากราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ก็เลิกใช้พัดปิดหน้า เปลี่ยนมาใช้ผ้าคลุมหน้าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแทน เนื่องจากเรื่อง หมิงหลันฯ นี้เป็นเรื่องราวในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการถือพัดแบบในละคร หรือการคลุมผ้าปิดหน้าแบบในหนังสือ ล้วนถูกต้องตามประเพณีของสมัยนั้นทั้งคู่ค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2019/01/the-story-of-minglan-wedding-between.html http://www.bgushi.com/archives/2236 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://k.sina.cn/article_6482315882_182604a6a00100heft.html http://www.3yan.cn/question/982793 #หมิงหลัน #ราชวงศ์ซ่ง #ประเพณีจินโบราณ #ชุดเจ้าสาวจีน #พัดบังหน้า #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    The Story of Minglan wedding between Minglan and Gu Tingye - DramaPanda
    The latest developments in The Story of Minglan 知否知否应是绿肥红瘦 have been pure bliss and a stark contrast to the tragedy dealt in past episodes. With their separate storylines finally converging, Gu Tingye succeeds in pursuing Minglan and they get married (this happens on episode 40)! Truth be told, I started the show mainly for Zhao Liying, more so because it’s her drama with real-life hubby Feng Shaofeng though it didn’t take long before I was completely hooked to everything else about it. Despite complaints about the slow pace, I wouldn’t have it any other way because even as the characters go about dealing with the most
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา

    สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น

    และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง

    เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้

    ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย

    จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ

    นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ

    มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓)

    มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง

    ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา

    ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน

    ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้

    เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย

    เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร

    แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ

    สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด

    ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346
    https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166
    https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html
    https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html
    https://www.gugong.net/wenhua/39062.html
    https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    ว่าด้วยเรื่องตีกลองร้องฎีกา สวัสดีค่ะ ขออภัยที่หายเงียบไปสองสัปดาห์เพราะ Storyฯ งานเข้าและไม่สบายไปหลายวัน วันนี้ยังคงมีเกร็ดเรื่องเล่าจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> มาคุยกัน เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้คงจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่มู่ปา น้องสาวของนางเอกเข้าเมืองหลวงมาตีกลองร้องฎีกาและต้องถูกโบยสามสิบพลองเพราะตีกลองนั้น และหากเพื่อนเพจได้ดูละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> ก็จะเคยเห็นฉากที่นางเอกตีกลองร้องฎีกาแล้วต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเช่นกัน แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกก็เคยตีกลองร้องฎีกาแต่ไม่ต้องถูกโบย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นราชวงศ์สมมุติที่อิงจากสมัยถัง เรื่องการถูกโบยก่อนได้ร้องทุกข์จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ในวันนี้ ในสมัยโบราณ ชาวบ้านต้องการร้องทุกข์ก็จะไปดักรอขบวนเสด็จ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน และเพื่อแสดงความห่วงใยในประชาชนของกษัตริย์ จึงมีการกำหนดจุดร้องฎีกาขึ้นเพื่อให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อให้ประชาชนร้องทุกข์ แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนออกความเห็นในเรื่องต่างๆ ได้อีกด้วย จากบันทึกโจวหลี่ การตีกลองร้องทุกข์มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว (1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีการวางกลองไว้ข้างถนน มีทหารเวรยามดูแล เมื่อมีคนมาตีกลอง ทหารต้องรายงานเบื้องบนจนถึงพระกรรณ นอกจากนี้ ยังมีการร้องทุกข์ด้วยการไปยืนอย่างเงียบๆ ข้างหินสีแดงสูงประมาณ 8-9 ฟุต เรียกว่า ‘หินเฟ่ยสือ’ (肺石 แปลตรงตัวว่า ปอดที่ทำจากหิน) สำหรับคนที่ต้องการร้องทุกข์แบบไม่โพนทะนา ยืนสามวัน ทหารที่เฝ้าอยู่ก็จะพาตัวไปรับเรื่องอย่างเงียบๆ มีการใช้ระบบร้องทุกข์ทั้งสองแบบนี้ต่อเนื่องกันมาโดยกำหนดสถานที่และหน่วยงานผู้ดูแลแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และในสมัยถังได้มีการพัฒนาระบบการร้องทุกข์อย่างเข้มข้น มีการแยกกลองร้องทุกข์ออกมาเป็นสองแบบ กลองร้องฎีกาต่อฮ่องเต้เรียกว่ากลอง ‘เติงเหวินกู่’ (登闻鼓 แปลตรงตัวได้ประมาณว่ากลองที่เสียงดังไปถึงราชบัลลังก์ในท้องพระโรง) แตกต่างจากกลองร้องทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านในตีหน้าศาลหรือหน้าสถานที่ว่าการท้องถิ่นที่เรียกว่า ‘หมิงเยวียนกู่’ (鸣冤鼓) มีการบันทึกว่าในสมัยถังนั้น มีการตั้งกลองเติงเหวินกู่และหินเฟ่ยสือที่หน้าประตูอาคารนอกท้องพระโรง และมีทหารยามเฝ้าเพื่อคอยรับเรื่อง (แต่ไม่ได้บอกว่ายังต้องยืนข้างหินเฟ่ยสือนานถึงสามวันหรือไม่) ต่อมาในสมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนยกเลิกการเฝ้าโดยทหาร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัว และให้มีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบขุนนางหรือที่เรียกว่า ‘อวี้สื่อไถ’ (御史台) มารับคำร้องโดยตรง ในยุคสมัยต่อมายังคงมีการใช้กลองเติงเหวินกู่ แต่นานวันเข้า เรื่องที่ได้รับการร้องทุกข์ผ่านการตีกลองเติงเหวินกู่ดูจะพร่ำเพรื่อขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นเรื่องร้องเรียนขุนนางระดับสูงหรือเรื่องระดับชาติบ้านเมือง จนทำให้ฮ่องเต้ต้องทรงหมดเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ในสมัยซ่งมีคดีร้องทุกข์ที่โด่งดังจนถูกจารึกไว้ในสมัยองค์ซ่งไท่จงว่า มีชาวบ้านมาตีกลองร้องฎีกาตามหาหมูที่หายไป จึงทรงพระราชทานเงินให้เป็นการชดเชย เป็นเรื่องเล่าที่แสดงถึงความ ‘เข้าถึง’ และความใส่พระทัยองค์ฮ่องเต้ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยิบย่อยของเรื่องที่มีการร้องฏีกา ในรัชสมัยต่อมาในราชวงศ์ซ่งจึงมีการพัฒนาระบบการร้องฎีกายิ่งขึ้น โดยกำหนดที่ตั้งกลองเติงเหวินกู่ไว้สามจุด ต่อมายุบเหลือสองจุด โดยมีหน่วยงานที่ดูแลแต่ละจุดและกลั่นกรองเรื่องต่างกัน ต่อมาในยุคหมิงและชิงยิ่งมีข้อกำหนดที่เข้มข้นมากขึ้นเกี่ยวกับการตีกลองเติงเหวินกู่ โดยกำหนดให้ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารและการบริหารบ้านเมืองที่สำคัญ การทุจริตในระดับสูง หรือเรื่องที่ได้รับความไม่เป็นธรรมอย่างผิดแปลกมากเท่านั้น และในสมัยชิงนี่เองที่มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ตีกลองเติงเหวินกู่นั้น ต้องถูกโบยสามสิบพลองก่อน จึงจะยื่นฎีกาได้ เมื่อกลองเติงเหวินกู่ดัง องค์ราชันมิอาจเพิกเฉย เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่รู้ถึงพระเนตรพระกรรณ องค์ฮ่องเต้จึงทรงสามารถเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนของหน่วยงานต่างๆ หรือทรงไต่สวนด้วยองค์เองก็ย่อมได้ และท้ายสุดจะทรงเป็นผู้ตัดสินคดีเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นกระบวนการร้องฎีกานี้มีการรับเรื่องและตรวจสอบผ่านหน่วยงานต่างๆ ตามขั้นตอน ดังนั้น หนทางสู่การได้รับความยุติธรรมของผู้ที่ร้องทุกข์ก็ไม่ได้ง่ายหรือตรงไปตรงมาอย่างที่เราเห็นในละคร แต่ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ชาวบ้านยังสามารถตีกลองร้องทุกข์ปกติหน้าที่ว่าการอำเภอหรือหน้าศาลได้ โดยมีบทกำหนดขั้นตอนและเนื้อหาของเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและชนชั้นของผู้ที่ต้องการร้องทุกข์อีกด้วย อีกทั้งยังมีบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ที่ร้องเรียนด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ สรุปได้ว่า ในบริบทของสมัยถังนั้น Stoyฯ ไม่พบข้อมูลว่ามีการโบยผู้ตีกลองร้องฏีกาแต่อย่างใด ส่วนในสมัยซ่งซึ่งเป็นฉากหลังของละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> และ <ตำนานหมิงหลัน> นั้น Storyฯ อ่านพบบทวิเคราะห์ว่า ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> นั้น นางเอกตีกลองร้องทุกข์ว่าถูกผู้ชายหลอกว่าจะแต่งงานด้วยและพยายามหลอกเงิน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน (คือยังไม่ได้แต่งงานและเงินก็ไม่ได้ถูกเอาไป) อีกทั้งนางเป็นบุตรีของขุนนางที่เคยต้องโทษ จึงต้องถูกโบยยี่สิบพลองก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้กล่าวหาเท็จ แต่ในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นั้น นางเอกไม่ต้องถูกโบยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชสำนักโดยตรงและเป็นการร้องเรียนโดยตัวนางเอกซึ่งมียศสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Storyฯ หาไม่พบข้อมูลอื่นที่มายืนยันว่าในสมัยซ่งมีการโบยผู้ตีกลองร้องฎีกาจริงๆ หากท่านใดเคยผ่านตาผ่านหูมาก็บอกกล่าวกันได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.wpzysq.com/thread-137854.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/登闻鼓/9859346 https://baike.baidu.com/item/肺石/5742166 https://www.bj148.org/wh/bl/zh/201907/t20190718_1521655.html https://www.163.com/dy/article/GB17LQI20543L1MM.html https://www.gugong.net/wenhua/39062.html https://www.youtube.com/watch?v=O06IQj2yGKk #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #ตำนานหมิงหลัน #สามบุปผาลิขิตฝัน #กระบวนการร้องทุกข์ #ตีกลองร้องทุกข์
    WWW.WPZYSQ.COM
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023-4K专区-网盘资源社
    灼灼风流4K[全40集]古装/爱情/2023的网盘资源剧集简介该剧改编自随宇而安的小说《曾风流》。反抗传统婚姻制度、一心考取功名的事业脑女官慕灼华(景甜饰)与沙场沐血折戟、背负国仇家恨的美强惨战神刘衍(冯绍峰饰)彼此救赎、相知相爱,携手攘外安内、守卫国家,终成一代风流人物的故事。[ttreply]2023.灼灼风流4K
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 291 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
    .
    บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550)
    .
    แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง
    .
    ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
    .
    เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด!
    .
    ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว
    .
    งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน”
    .
    งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย
    .
    อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม
     งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม
    .
    กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก
    .
    เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519)
    .
    ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ
    .
    ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง . บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550) . แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง . ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI . กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561 . กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง . เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด! . ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว . งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน” . งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย . อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม  งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม . กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก . เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519) . ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ . ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    Like
    Love
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทีเซอร์ฉบับไทย “มังกรหยก จอมยุทธ์ผู้ยิ่งใหญ่"
    LENGENDS OF THE CONDOR HEROES: THE GALLANTS
    Action / Fantasy / Drama
    เข้าฉาย 20 กุมภาพันธ์ 2025

    ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากนิยายกาลังภายในอมตะฝีมือกิมย้งเรื่อง “มังกรหยก” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของความแค้นเคืองและความเกลียดชังในยุคสงคราม ที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ

    ก๊วยเจ๋ง (รับบทโดย เซียวจ้าน) จากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และได้ฝึกวิชาจนมีพลังยุทธมหาศาล ในการเปลี่ยนแปลงโชคชะตา แม้ว่าเขาจะได้รับการเชิดชูจากปรมาจารย์ ผู้ถ่ายทอด "คัมภีร์เก้าอิม” และ “18 ฝ่ามือพิชิตมังกร” ที่ไร้เทียมทานให้ ผู้คนทุกฝ่ายกลับต่างริษยาในตัวเขา จนทำให้เขาตกเป็นที่ครหาของชาวยุทธ ก๊วยเจ๋ง และ อึ้งย้ง (รับบทโดย จวงต๋าเฟย) จึงต้องพลิกสถานการณ์และป้องกันพรมแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ ท่ามกลางลูกธนูที่ระดมยิงมาราวกับห่าฝนให้ได้ ด้วยจิตวิญญาณของวีรบุรุษ

    มหากาพย์ภาพยนตร์กาลังภายในฟอร์มยักษ์จากผู้กากับ ฉีเคอะ
    ตำนาน ‘มังกรหยก’ ที่ยิ่งใหญ่จะกลับมาอีกครั้ง
    20 กุมภาพันธ์ 2025 ในโรงภาพยนตร์
    ทีเซอร์ฉบับไทย “มังกรหยก จอมยุทธ์ผู้ยิ่งใหญ่" LENGENDS OF THE CONDOR HEROES: THE GALLANTS Action / Fantasy / Drama เข้าฉาย 20 กุมภาพันธ์ 2025 ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากนิยายกาลังภายในอมตะฝีมือกิมย้งเรื่อง “มังกรหยก” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของความแค้นเคืองและความเกลียดชังในยุคสงคราม ที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ ก๊วยเจ๋ง (รับบทโดย เซียวจ้าน) จากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และได้ฝึกวิชาจนมีพลังยุทธมหาศาล ในการเปลี่ยนแปลงโชคชะตา แม้ว่าเขาจะได้รับการเชิดชูจากปรมาจารย์ ผู้ถ่ายทอด "คัมภีร์เก้าอิม” และ “18 ฝ่ามือพิชิตมังกร” ที่ไร้เทียมทานให้ ผู้คนทุกฝ่ายกลับต่างริษยาในตัวเขา จนทำให้เขาตกเป็นที่ครหาของชาวยุทธ ก๊วยเจ๋ง และ อึ้งย้ง (รับบทโดย จวงต๋าเฟย) จึงต้องพลิกสถานการณ์และป้องกันพรมแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ ท่ามกลางลูกธนูที่ระดมยิงมาราวกับห่าฝนให้ได้ ด้วยจิตวิญญาณของวีรบุรุษ มหากาพย์ภาพยนตร์กาลังภายในฟอร์มยักษ์จากผู้กากับ ฉีเคอะ ตำนาน ‘มังกรหยก’ ที่ยิ่งใหญ่จะกลับมาอีกครั้ง 20 กุมภาพันธ์ 2025 ในโรงภาพยนตร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • โยวโจวคือสถานที่ใด?

    สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน

    เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง

    ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县)

    สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน

    <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง)

    แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1)

    หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน

    แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง

    โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/
    https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html
    https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370
    https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史
    https://www.sohu.com/a/674479826_121180648
    https://www.sohu.com/a/277568460_628936

    #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    โยวโจวคือสถานที่ใด? สวัสดีค่ะ Storyฯ เพิ่งอ่านนวนิยายเรื่อง <สยบรักจอมเสเพล> จบไป (ชอบมาก คุณธรรมน้ำมิตรดี แนะนำ!) แต่ยังไม่มีเวลาดูซีรีส์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการดัดแปลงเนื้อหาไปจากนิยายต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีหลายเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ ‘โยวโจว’ (幽州) จึงเกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่ามันคือสถานที่ใด เพราะชื่อนี้ปรากฏบ่อยมากในนิยายและซีรีส์จีนโบราณหลายเรื่องที่มีฉากสู้รบ (ใครคุ้นหูคุ้นตาจากเรื่องอะไรมาเม้นท์บอกกันได้) Storyฯ เลยไปทำการบ้านมาเล่าสู่กันฟัง ‘โจว’ ปัจจุบันใช้เรียกทวีป เช่น ย่าโจว คือทวีปเอเชีย แต่ในสมัยจีนโบราณ โจวเป็นการเรียกเขตพื้นที่ แต่ขนาดและอำนาจการปกครองของมันแตกต่างกันไป แรกเริ่มเลยมันเป็นเพียงการแบ่งพื้นที่ ไม่ได้มีอำนาจการปกครอง ในสมัยฉินมีการกล่าวถึงเก้าโจว แต่จากบันทึกโบราณพบว่าชื่อเรียกของเก้าโจวนี้แตกต่างกันไป ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพิ่มเป็นสิบสามโจว มีอำนาจการปกครองท้องถิ่น นับเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด หากต้องใช้คำไทย Storyฯ คิดว่า ‘มณฑล’ น่าจะเป็นคำที่ใกล้เคียงที่สุด ถัดจากโจวคือจวิ้น (郡) แล้วก็เป็นเซี่ยน (县) สิบสามมณฑลนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ดูได้ในรูปประกอบ 2 (ขวา) โยวโจวคือเขตพื้นที่สีเหลืองและหยางโจว (บ้านเดิมของพระเอกและนางเอกในเรื่อง) คือพื้นที่สีม่วง เห็นแล้วเพื่อนเพจคงได้อรรถรสของความยากลำบากและระยะทางของการเดินทางที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย/ละครเรื่องนี้กัน <สยบรักจอมเสเพล> ไม่ได้เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยฮั่น มันเป็นยุคสมัยสมมุติและราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากเหตุการณ์ต่างๆ และสไตล์การแต่งกายในละครแล้ว เทียบใกล้เคียงกับช่วงปลายสมัยห้าราชวงศ์สิบรัฐที่แม่ทัพใหญ่ระดับเจี๋ยตู้สื่อมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครองและการทหารในพื้นที่ของตนและช่วงชิงดินแดนกัน (เริ่มมีตำแหน่งนี้ในสมัยถัง) และเลียนแบบเหตุการณ์สวมอาภรณ์สีเหลืองตั้งตนเป็นฮ่องเต้อันเป็นตำนานของจ้าวควงอิ้นเมื่อครั้งสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงแม่น้ำฮวงโห เขตเปี้ยนเหลียงและเมืองหลวงที่ชื่อว่าตงตู ซึ่งอาจเป็นชื่อสมมุติของเมืองตงจิง (เปี้ยนเหลียงหรือไคเฟิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ) หรืออาจหมายถึงเมืองลั่วหยางซึ่งเป็นตงตูหรือนครตะวันออกสมัยถัง (หมายเหตุ ‘จิง’ ‘ตู’ และ ‘เฉิง’ ล้วนแปลว่านครหรือเมือง) แต่... แม้ว่าเหตุการณ์ในละคร/นิยายจะใกล้เคียงกับช่วงต้นราชวงศ์ซ่ง ทว่าการเรียกเขตพื้นที่การปกครองต่างๆ ยังอิงตามสิบสามมณฑลสมัยฮั่น เพราะในสมัยซ่งเหนือ โยวโจวไม่ได้อยู่ในอาณาเขตของซ่ง แต่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์เหลียว และมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไป (ดูแผนที่โดยคร่าวในรูปประกอบ 1) หน้าตาแผนที่ของจีนเปลี่ยนไปในแต่ละสมัย การแบ่งเขตปกครองและชื่อเรียกก็ย่อมแตกต่างกันไป โยวโจวในสมัยฮั่นนั้น ต่อมาถูกเรียกเป็นเยียนเป่ยในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจัวจวิ้นในสมัยสุย กลับมาเป็นโยวโจวในสมัยถัง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่ออีกเป็นฟ่านหยางจวิ้นในสมัยถังกลาง หลังจากนั้นกลับมาเป็นโยวโจวแล้วจัวโจว ในสมัยเหลียว/ซ่งกลายเป็นเขตปกครองสิบหกเขตย่อยเรียกว่าโยวอวิ๋นหรือเยียนอวิ๋น หลังจากนั้นเขตการปกครองก็เปลี่ยนไปอีก และชื่อ ‘โยวโจว’ ก็หายไปจากแผนที่จีน แต่มันไม่ได้หายไปไหน ศูนย์การปกครองของโยวโจวในสมัยโบราณคือเมืองโยวตู (หรือในสมัยสุยคือจัวตู) ซึ่งก็คือกรุงปักกิ่งในปัจจุบันนั่นเอง โยวตูในสมัยก่อนเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เพราะมันเป็นศูนย์กลางการปกครองของมณฑลโยวโจว ซึ่งเป็นฐานกำลังทหารรักษาชายแดนที่สำคัญ ในสมัยถังนั้น เจี๋ยตู้สื่อแห่งโยวโจวมีอำนาจการปกครองและจำนวนกองทัพในมือมากที่สุดในบรรดาเจี๋ยตู้สื่อทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีนิยายเกี่ยวกับการรบและการแย่งชิงกำลังทหารกันที่โยวโจว นอกจากนี้ โยวตูยังเป็นเมืองปลายทางเมืองหนึ่งของคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุย จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมและการค้าขายในภาคเหนือของจีน พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์การเกษตรธัญพืชที่สำคัญ ไม่เพียงมีปริมาณผลผลิตเพียงพอสำหรับประชากรในโยวโจวเอง หากแต่ยังส่งออกโดยผ่านต้าอวิ้นเหอไปขายเป็นเสบียงยังพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย ดังเช่นที่ถูกกล่าวถึงในนิยาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g44250708/destined/ https://kknews.cc/history/l8r6qvg.html https://www.artsmia.org/art-of-asia/history/maps.cfm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/幽州/1049370 https://zh.wikipedia.org/wiki/北京历史 https://www.sohu.com/a/674479826_121180648 https://www.sohu.com/a/277568460_628936 #สยบรักจอมเสเพล #โยวโจว #โยวตู #สิบสามมณฑล #ปักกิ่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 481 มุมมอง 0 รีวิว
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 450 มุมมอง 0 รีวิว