• คนเชียงใหม่หัวใจรักชาติรวมตัวชุมนุมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้อง“แพทองธาร” ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกรณีคลิปหลุดการสนทนากับสมเด็จฮุนเซน เจรจาปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ส่อชัดเกรงใจลุงมากกว่าผลประโยชน์ประเทศชาติ ลั่นเตรียมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมทบชุมนุมใหญ่วันที่ 28 มิ.ย.68

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000060311

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    คนเชียงใหม่หัวใจรักชาติรวมตัวชุมนุมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เรียกร้อง“แพทองธาร” ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบกรณีคลิปหลุดการสนทนากับสมเด็จฮุนเซน เจรจาปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ส่อชัดเกรงใจลุงมากกว่าผลประโยชน์ประเทศชาติ ลั่นเตรียมเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมทบชุมนุมใหญ่วันที่ 28 มิ.ย.68 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000060311 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 652 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยายชาวลำปางวัย 73 แฟนคลับเสื้อแดงมากกว่าทศวรรษ สุดทน..ระเบิดอารมณ์ถล่มไม่ยั้ง เขียนข้อความด่าทั้ง “ฮุนเซน-ฮุนมาเนต-อุ๊งอิ๊งค์-ทักษิณ” แบบไม่มียั้งติดเต็มประตูรั้วหน้าบ้าน หลังดูข่าวความขัดแย้งชายแดนไทยเขมร

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000058258

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    ยายชาวลำปางวัย 73 แฟนคลับเสื้อแดงมากกว่าทศวรรษ สุดทน..ระเบิดอารมณ์ถล่มไม่ยั้ง เขียนข้อความด่าทั้ง “ฮุนเซน-ฮุนมาเนต-อุ๊งอิ๊งค์-ทักษิณ” แบบไม่มียั้งติดเต็มประตูรั้วหน้าบ้าน หลังดูข่าวความขัดแย้งชายแดนไทยเขมร อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000058258 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    12
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 645 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยจุดยืนรัฐบาลไทยต่อความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ยืนยันใช้กลไก 3 ฝ่าย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองทัพบก และกระทรวงการต่างประเทศ หลีกเลี่ยงความรุนแรง รักษาอธิปไตยของชาติเต็มที่ ส่วนความพยายามดึงเรื่องขึ้นศาลโลก รัฐบาลไม่ตกหลุมพราง ต้องใช้กรอบเอ็มโอยู 2543 หาข้อยุติร่วมกัน โดยจะประชุม JBC ไทย-กัมพูชา วันที่ 14 มิ.ย. นี้ ที่กรุงพนมเปญ ยืนยันไม่ปลดแม่ทัพภาคที่ 2 อย่าเชื่อข่าวปลุกปั่น ความสัมพันธ์กับทหารไม่ขัดแย้ง ทุกอย่างคุยกันได้หมด ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน แม้ทหารกัมพูชาล้ำเขตแดนไทยถึง 200 เมตร ต้องพิจารณาจากแผนที่ ยอมรับ ทหารอึดอัดต่อสถานการณ์ แต่ทุกฝ่ายเข้าใจดีว่านี่คือยุทธศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจกระทบเอกราชชาติไทย

    -ฉุนถูกจี้ถามกัมพูชาล้ำแดน
    -ไล่กวดภาพ AI
    -แก๊งศูนย์เหรียญตั้งฟรีโซน
    -สารพัดปัญหาเศรษฐกิจไทย
    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยจุดยืนรัฐบาลไทยต่อความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ยืนยันใช้กลไก 3 ฝ่าย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองทัพบก และกระทรวงการต่างประเทศ หลีกเลี่ยงความรุนแรง รักษาอธิปไตยของชาติเต็มที่ ส่วนความพยายามดึงเรื่องขึ้นศาลโลก รัฐบาลไม่ตกหลุมพราง ต้องใช้กรอบเอ็มโอยู 2543 หาข้อยุติร่วมกัน โดยจะประชุม JBC ไทย-กัมพูชา วันที่ 14 มิ.ย. นี้ ที่กรุงพนมเปญ ยืนยันไม่ปลดแม่ทัพภาคที่ 2 อย่าเชื่อข่าวปลุกปั่น ความสัมพันธ์กับทหารไม่ขัดแย้ง ทุกอย่างคุยกันได้หมด ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน แม้ทหารกัมพูชาล้ำเขตแดนไทยถึง 200 เมตร ต้องพิจารณาจากแผนที่ ยอมรับ ทหารอึดอัดต่อสถานการณ์ แต่ทุกฝ่ายเข้าใจดีว่านี่คือยุทธศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจกระทบเอกราชชาติไทย -ฉุนถูกจี้ถามกัมพูชาล้ำแดน -ไล่กวดภาพ AI -แก๊งศูนย์เหรียญตั้งฟรีโซน -สารพัดปัญหาเศรษฐกิจไทย
    Like
    Haha
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 612 มุมมอง 38 0 รีวิว
  • ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน รอหลักฐานกัมพูชาล้ำแดน : [THE MESSAGE]

    นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยจุดยืนรัฐบาลไทยต่อความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ยืนยันใช้กลไก 3 ฝ่าย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองทัพบก และกระทรวงการต่างประเทศ หลีกเลี่ยงความรุนแรง รักษาอธิปไตยของชาติเต็มที่ ส่วนความพยายามดึงเรื่องขึ้นศาลโลก รัฐบาลไม่ตกหลุมพรางใช้กรอบเอ็มโอยู 2543 หาข้อยุติร่วมกัน โดยจะประชุม JBC ไทย-กัมพูชา วันที่ 14 มิ.ย.นี้ ที่กรุงพนมเปญ ยืนยันไม่ปลดแม่ทัพภาคที่ 2 อย่าหลงเชื่อข่าวปลุกปั่น ความสัมพันธ์กับทหารไม่มีความขัดแย้ง ทุกอย่างคุยกันได้หมด ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน แม้ทหารกัมพูชาเคลื่อนกำลังล้ำเขตแดนไทยถึง 200 เมตร ต้องใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก ประเมินสถานการณ์รายวันรอบด้าน
    ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน รอหลักฐานกัมพูชาล้ำแดน : [THE MESSAGE] นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เผยจุดยืนรัฐบาลไทยต่อความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ยืนยันใช้กลไก 3 ฝ่าย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองทัพบก และกระทรวงการต่างประเทศ หลีกเลี่ยงความรุนแรง รักษาอธิปไตยของชาติเต็มที่ ส่วนความพยายามดึงเรื่องขึ้นศาลโลก รัฐบาลไม่ตกหลุมพรางใช้กรอบเอ็มโอยู 2543 หาข้อยุติร่วมกัน โดยจะประชุม JBC ไทย-กัมพูชา วันที่ 14 มิ.ย.นี้ ที่กรุงพนมเปญ ยืนยันไม่ปลดแม่ทัพภาคที่ 2 อย่าหลงเชื่อข่าวปลุกปั่น ความสัมพันธ์กับทหารไม่มีความขัดแย้ง ทุกอย่างคุยกันได้หมด ยังไม่ถึงเวลาปิดด่าน แม้ทหารกัมพูชาเคลื่อนกำลังล้ำเขตแดนไทยถึง 200 เมตร ต้องใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก ประเมินสถานการณ์รายวันรอบด้าน
    Haha
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 492 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน

    สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา

    แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี

    และล่าสุด...

    เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ

    นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น?

    พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้

    ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด

    5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา

    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!"

    บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม

    วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย

    ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง

    แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา?

    ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

    เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่
    1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด
    2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ
    3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง

    ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ

    นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม

    เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง"

    เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา

    เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง

    หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย?

    กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา

    วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา
    - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน
    - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ
    - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป

    ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร?
    รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง
    เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด
    ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม

    นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด!

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568

    #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    เขมรไม่ยอมหยุด! ยั่วยุเยาะเย้ย “ผู้การเนี๊ยะ” จากร้องเพลงปลุกใจ ในปราสาทตาเมือนธม สู่ยกพล 3 กองร้อย ประชิดพรมแดน 🔥 สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประเทศไทย เริ่มปราบปราม "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ในกัมพูชา 🇰🇭 แม้ว่าทางการกัมพูชา จะออกมาสนับสนุนไทยอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีเหตุการณ์ไม่สงบ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสุรินทร์ และอุบลราชธานี และล่าสุด... 💥 เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2568 กองกำลังติดอาวุธทหารกัมพูชา จำนวน 3 กองร้อย รวม 528 นาย ได้เคลื่อนกำลังเข้าใกล้ชายแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อ้างว่า “พากำลังทหารมากราบไหว้ สักการะปราสาทตาเมือนธม” แต่กลับไม่มีการเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือสิ่งของบูชาใด ๆ 🔴 นี่คือการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือเป็นมากกว่านั้น? 👤 พล.ต.เนี๊ยะ วงษ์ (Neak Vong) หรือผู้การเยี๊ยะ ผู้บังคับการกองพลน้อยทหารราบที่ 42 ของกัมพูชา เป็นตัวละครสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้ 📌 ย้อนรอยเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด 5 ตุลาคม 2567 ผู้การเนี๊ยะนำพระสงฆ์ และเด็กนักเรียนกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม พร้อมร้องเพลงชาติกัมพูชา ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ผู้การเนี๊ยะนำคณะแม่บ้าน 25 คน มาร้องเพลงปลุกใจ ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม สร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายไทย ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 กรมทหารราบที่ 23 กองทัพภาคที่ 2 ที่ประจำการรักษาอธิปไตยไทยในบริเวณนั้น ต้องกล่าวแจ้งเตือนไม่ให้ผู้การเนี้ยะ ทำกิจกรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างความไม่พอใจให้ผู้การเนี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง หลุดปากกล่าวท้าทายทหารไทย "ให้มายิงกัน!" บ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00 น. นายเนียม จันญาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ได้นำคณะทหารกัมพูชา รวมถึงผู้การเนี๊ยะ เดินทางมาเจรจากับ พันโท จักรกฤษ ปิยะศุภฤกษ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 (ผบ.ร.23 พัน.4) ที่ปราสาทตาเมือนธม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองทัพภูมิภาคที่ 4 กัมพูชา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 กองกำลังติดอาวุธ ทหารกัมพูชา 3 กองร้อย 528 นาย เคลื่อนพลมาประชิดพรมแดน ด้านอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แล้วปลดอาวุธเดินข้ามพรมแดน อ้างว่ามากราบไหว้สักการะปราสาทตาเหมือนธม โดยที่ไม่มีการเตรียมธูปเทียนดอกไม้ หรือสิ่งของเซ่นไหว้มาด้วย จนคล้ายกับเป็นการยั่วยุเยาะเย้ยทหารไทย 🇹🇭 ฝ่ายไทยพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง โดยการเจรจาผ่านทางการทูต แต่กัมพูชากลับใช้วิธี ปลุกกระแสรักชาติในประเทศตนเอง 🔴 แล้วอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของ “ผู้การเนี้ยะ” และรัฐบาลกัมพูชา? 📍 ปราสาทตาเมือนธม จุดยุทธศาสตร์และประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขต อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 🏛️ เป็นหนึ่งในปราสาทสำคัญ ของกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วย 3 ปราสาทหลัก ได้แก่ 1️⃣ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทหลักและใหญ่ที่สุด 2️⃣ ปราสาทตาเมือนโต๊ด เชื่อว่าเคยเป็นโรงพยาบาลโบราณ 3️⃣ ปราสาทตาเมือน หรือบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือสถานที่พักของนักเดินทาง 🔎 ปราสาทแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางโบราณ จากกัมพูชาสู่ภาคอีสานของไทย มีความสำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดน ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ 👉 นี่อาจเป็นเหตุผลที่กัมพูชา พยายามเข้ามาสร้างอิทธิพล ในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม 🎭 เบื้องหลังความขัดแย้ง การเมืองหรือศักดิ์ศรีชาติ? การเคลื่อนไหวของกัมพูชา ไม่ใช่แค่เรื่องประวัติศาสตร์หรือพรมแดน แต่นี่คือ "เกมการเมือง" 📌 เชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชา ปัจจุบันรัฐบาล "ฮุน มาเนต" ลูกชายของฮุน เซน กำลังเผชิญแรงกดดันจากฝ่ายค้าน ที่ผ่านมา "ฮุน เซน" เคยใช้ประเด็นความขัดแย้งชายแดน ปลุกกระแสรักชาติ เพื่อรักษาอำนาจของตระกูลตนเอง การกระทำของผู้การเนี๊ยะ อาจเป็นแผนสร้างแรงสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา 📌 เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา? ไทยและกัมพูชามีแผนขุดเจาะทรัพยากรน้ำมัน ในเขตทับซ้อนทางทะเล ข้อพิพาทชายแดน อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทางเศรษฐกิจและการเมือง 🇰🇭 หรือแท้จริงแล้ว นี่คือแผนของกัมพูชา ในการกดดันไทย? 🔴 กัมพูชากำลังเล่นเกมอะไร? การกระทำของผู้การเนี๊ยะ และทหารกัมพูชา อาจเป็นเพียงแค่ หมากตัวหนึ่งของรัฐบาลกัมพูชา 📌 วิเคราะห์แนวทางที่เป็นไปได้ของกัมพูชา - สร้างกระแสรักชาติเพื่อดึงความสนใจ จากปัญหาการเมืองภายใน - กดดันไทยในประเด็นพรมแดน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเจรจาทางเศรษฐกิจ - ทดสอบปฏิกิริยาของรัฐบาลไทย ก่อนเดินเกมต่อไป 🇹🇭 ทางออกของไทยควรเป็นอย่างไร? ✅ รักษาความสัมพันธ์ทางการทูต หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง ✅ เฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชา อย่างใกล้ชิด ✅ ใช้การเจรจาในระดับสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม 🔥 นี่คือเกมการเมือง หรือสงครามชายแดนรอบใหม่? ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด! ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090905 มี.ค. 2568 #เขมรไม่หยุด #ตาเมือนธม #ชายแดนไทยกัมพูชา #สงครามชายแดน #ผู้การเนี้ยะ #กัมพูชา #ข่าวด่วน #ความขัดแย้งชายแดน #ไทยกัมพูชา #ปราสาทตาเมือน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1437 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร
    .
    ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ
    .
    “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว
    .
    ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น
    .
    “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว
    .
    นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด
    .
    “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ
    .
    รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล
    .
    “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร
    .
    เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง
    .
    ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป
    .
    ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ
    .
    ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา
    .
    “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว
    .
    ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ
    .
    “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว
    .
    นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
    .
    อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด
    .
    “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว.
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176
    ..............
    Sondhi X
    สำนักข่าวกัมพูชาหลายแห่งรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดนเกาะกูดกับไทย โดยระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ประนีประนอมบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร . ผู้นำเขมรได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. โดยระบุว่าการเจรจาประเด็นเรื่องชายแดนต้องใช้เวลาและการเตรียมการอย่างรอบคอบ . “สิ่งนี้คือความรับผิดชอบของเรา และเราจะไม่สูญเสียดินแดนหรืออธิปไตย โปรดไว้ใจเราในเรื่องนี้” ผู้นำกัมพูชา กล่าว . ฮุน มาเนต กล่าวเสริมว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้วิถีทางที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ ไม่ตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่น . “ปัญหาเกาะกูดต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีวุฒิภาวะทางการเมืองและความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตยของชาติเป็นอย่างแรก” ฮุน มาเนต กล่าว . นายกรัฐมนตรีกัมพูชาชี้แจงว่า การเจรจาระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงดำเนินต่อไป และยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการอ้างว่าเสียเกาะกูดให้ไทยนั้นไม่มีมูลความจริง และย้ำว่าการตอบสนองอย่างใจเย็นของรัฐบาลนั้นเป็นความตั้งใจ ด้วยมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาผ่านช่องทางทางการทูต มากกว่าที่จะเพิ่มความตึงเครียด . “การคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราต้องเข้าใจว่าเมื่อใดควรดำเนินการและดำเนินการอย่างไร” ฮุน มาเนต ระบุ . รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการแก้ไขปัญหาชายแดนด้วยการใช้กลไกอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก หรือกลไกสื่อ ฮุน มาเนต กล่าวเสริม และว่ากลไกการแก้ไขอย่างเป็นทางการคือกลไกที่ตกลงกันโดยรัฐบาลกัมพูชาและไทย คือคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) และคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำหน้าที่เจรจาเรื่องการกำหนดเขตแดนทางบกและกำหนดเขตแดนทางทะเล . “ขณะนี้ชายแดนกัมพูชา-ไทย บรรลุข้อตกลงเพียงพรมแดนทางบก ที่ครอบคลุมระยะทาง 805 กิโลเมตร และหลักเขต 73 หลัก รัฐบาลของทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงไปแล้ว 42 หลัก” ฮุน มาเนต กล่าว และว่าประเด็นเรื่องเกาะกูดยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ดังนั้น เกาะนี้จึงยังไม่ถูกยกให้ใคร . เขายอมรับว่ามีความคิดเห็นและคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูดจากไทย แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลจะไม่นำไฟเข้ามาในบ้านของตัวเอง . ฮุน มาเนต เสริมว่ากัมพูชาและไทยได้เจรจากันมาตั้งแต่ปี 2549 เกี่ยวกับการกำหนดเขตแดน แต่การหารือเกี่ยวกับดินแดนทางบกและทางทะเลยังไม่เสร็จสิ้นและยังคงดำเนินต่อไป . ขณะเดียวกัน ฮุนเซน ประธานสภาสูงของกัมพูชา ได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองฝ่ายค้านในต่างประเทศที่พยายามเปลี่ยนประเด็นเกาะกูดให้กลายเป็นความขัดแย้งชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยผ่านการยุยงปลุกปั่นประชาชน แม้ว่าสองรัฐบาลจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยสันติ . ทั้งนี้ อดีตผู้นำเขมรยังได้กล่าวย้อนถึงเรื่องการเจรจาร่วมกันกับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เรื่องการเจาะน้ำมันที่เกาะกูด แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในแผนนี้ และในปี 2544 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ แต่ไม่มีการหารืออย่างละเอียดในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา . “รัฐบาลทั้งสองประเทศกำลังเจรจากันอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาะกูด แต่ในไทย กลุ่มหัวรุนแรงเรียกร้องให้รัฐบาลอ้างสิทธิเกาะกูดจากกัมพูชา ขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านหัวรุนแรงของกัมพูชาในต่างประเทศเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาเข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟ้องศาลระหว่างประเทศเพื่อเรียกร้องเกาะกูดคืน” ฮุนเซน กล่าว . ฮุนเซนกล่าวว่า ความพยายามของฝ่ายค้านในต่างประเทศครั้งนี้อาจส่งผลร้ายแรงต่อประเทศ . “ครั้งแล้วครั้งเล่าที่กลุ่มฝ่ายค้านกดดันประชาชนและขัดขวางไม่ให้พวกเขาอยู่กันอย่างสันติ ด้วยการปลุกระดมให้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องตราพวกเขาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เพราะพวกเขากำลังยุยงให้เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างกัมพูชาและไทย” อดีตผู้นำเขมร กล่าว . นอกจากนี้ ฮุนเซนยังเรียกร้องให้ชาวกัมพูชาและชาวไทยเชื่อมั่นในรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเกาะกูดด้วยสันติวิธี และขอให้กองทัพบกและกองทัพเรือกัมพูชาไม่ระดมกำลังเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว . อดีตผู้นำเขมรเตือนว่าบาดแผลจากสงครามที่ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน และปราสาทตากระบัย และความทุกข์ทรมานของประชาชนกัมพูชาและไทยจากการสูญเสียคนรักหรือได้รับบาดเจ็บจากสงครามเหล่านั้นยังคงไม่สิ้นสุด . “การยุติข้อพิพาทจะดำเนินต่อไป แต่ด้วยการเจรจา เรายังไม่ได้ใช้ความเป็นไปได้ทั้งหมดของการเจรจาทวิภาคี” ฮุนเซน กล่าว. . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000119176 .............. Sondhi X
    Angry
    Like
    Yay
    Haha
    Sad
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1581 มุมมอง 0 รีวิว