• ปมร้อนข่าวลึก : ศาลสั่งไต่สวน'ทักษิณ' พลิกข้อกฎหมาย ศึกนี้ 'รอด' หรือ 'ร่วง'

    เวลานี้บ้านจันทร์ส่องหล้าน่าจะเกิดอาการสั่นคลอนพอสมควร ภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้หยิบยกเอากรณีคำร้องของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในเรื่องที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 8 ปี แต่ได้รับการลดโทษเหลือ 1 ปี ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล มาพิจารณาด้วยตัวเอง แม้จะมีความเห็นว่านายชาญชัย ผู้ร้องไม่ได้เป็นคู่ความในคดีของนายทักษิณมาก่อนก็ตาม

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000040615

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ปมร้อนข่าวลึก : ศาลสั่งไต่สวน'ทักษิณ' พลิกข้อกฎหมาย ศึกนี้ 'รอด' หรือ 'ร่วง' เวลานี้บ้านจันทร์ส่องหล้าน่าจะเกิดอาการสั่นคลอนพอสมควร ภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้หยิบยกเอากรณีคำร้องของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในเรื่องที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 8 ปี แต่ได้รับการลดโทษเหลือ 1 ปี ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล มาพิจารณาด้วยตัวเอง แม้จะมีความเห็นว่านายชาญชัย ผู้ร้องไม่ได้เป็นคู่ความในคดีของนายทักษิณมาก่อนก็ตาม อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000040615 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    4
    0 Comments 0 Shares 705 Views 0 Reviews
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกคำร้อง “ชาญชัย” ให้ไต่สวนกรณีส่ง “ทักษิณ” ไปรักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ ผิดขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ ชี้ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง อย่างไรก็ตาม เมื่อความปรากฏว่าการบังคับโทษอาจไม่ถูกต้อง ศาลฯ จึงแจ้งให้จำเลยและราชทัณฑ์ชี้แจงใน 30 วัน และนัดโจทก์-จำเลยไต่สวนวันที่ 13 มิ.ย.นี้

    วันนี้(30 เม.ย.) เวลา 13.00 น.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อฟังคำสั่งตามคำร้องที่นายชาญชัยได้ยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 เพื่อขอให้ไต่สวนกรณีที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องคำพิพากษาจำคุก 8 ปีในคดีทุจริต ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษเหลือ 1 ปี ได้ออกจากเรือนจำไปเข้ารับการรักษาตัวที่ห้องวีไอพี ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ซึ่งนายชาญชัยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89, 89/2(1) (2) และมาตรา 246 และไม่อาจอ้างกฎกระทรวงเรื่องการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ.2563 ลงวันที่ 25 ก.ย.2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 55 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    ล่าสุดมีรายงานว่า ศาลฯ ได้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่านายชาญชัย ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง

    อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย เปิดเผยหลังจากฟังคำสั่งศาลฯ ว่า ศาลฯ เห็นว่าตนไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจรับไว้เป็นคดีได้ แต่ได้สั่งให้เรือนจำและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ให้ชี้แจงว่าการลงโทษจำคุกจำเลย เป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่ โดยให้ชี้แจงภายใน 30 วัน นอกจากนี้ได้นัดพร้อมโจทก์และจำเลยคือนายทักษิณ ทำการไต่สวนในวันที่ 13 มิ.ย.นี้

    จึงเท่ากับว่าคดีนี้แม้ศาลฯ จะไม่รับคำร้องของนายชาญชัย แต่เมื่อมีความปรากฏต่อศาลว่า การบังคับโทษอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลฎีกาฯ จึงจะดำเนินการเรื่องนี้เอง

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/politics/detail/9680000040492

    #MGROnline #ทักษิณ
    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกคำร้อง “ชาญชัย” ให้ไต่สวนกรณีส่ง “ทักษิณ” ไปรักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ ผิดขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ ชี้ผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง อย่างไรก็ตาม เมื่อความปรากฏว่าการบังคับโทษอาจไม่ถูกต้อง ศาลฯ จึงแจ้งให้จำเลยและราชทัณฑ์ชี้แจงใน 30 วัน และนัดโจทก์-จำเลยไต่สวนวันที่ 13 มิ.ย.นี้ • วันนี้(30 เม.ย.) เวลา 13.00 น.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนัดนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อฟังคำสั่งตามคำร้องที่นายชาญชัยได้ยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 เพื่อขอให้ไต่สวนกรณีที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องคำพิพากษาจำคุก 8 ปีในคดีทุจริต ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษเหลือ 1 ปี ได้ออกจากเรือนจำไปเข้ารับการรักษาตัวที่ห้องวีไอพี ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ซึ่งนายชาญชัยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89, 89/2(1) (2) และมาตรา 246 และไม่อาจอ้างกฎกระทรวงเรื่องการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ พ.ศ.2563 ลงวันที่ 25 ก.ย.2563 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 55 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา • ล่าสุดมีรายงานว่า ศาลฯ ได้ยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่านายชาญชัย ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง • อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย เปิดเผยหลังจากฟังคำสั่งศาลฯ ว่า ศาลฯ เห็นว่าตนไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจรับไว้เป็นคดีได้ แต่ได้สั่งให้เรือนจำและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ให้ชี้แจงว่าการลงโทษจำคุกจำเลย เป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่ โดยให้ชี้แจงภายใน 30 วัน นอกจากนี้ได้นัดพร้อมโจทก์และจำเลยคือนายทักษิณ ทำการไต่สวนในวันที่ 13 มิ.ย.นี้ • จึงเท่ากับว่าคดีนี้แม้ศาลฯ จะไม่รับคำร้องของนายชาญชัย แต่เมื่อมีความปรากฏต่อศาลว่า การบังคับโทษอาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลฎีกาฯ จึงจะดำเนินการเรื่องนี้เอง • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/politics/detail/9680000040492 • #MGROnline #ทักษิณ
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 216 Views 0 Reviews
  • 29 เมษายน 2568 - นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความในรูปแบบถาม-ตอบ เรื่อง อำนาจศาลยุติธรรม ใน "คดีไต่สวนชั้น 14" มีเนื้อหาดังนี้ถาม วันที่ ๓๐ เมษายน นี้ ศาลยุติธรรมจะทำอะไรกับคดีชั้น ๑๔ ของทักษิณตอบ กรมราชทัณฑ์ ได้รับหมายจากศาลให้จำคุกทักษิณ ๑ ปี วันที่ ๓๐ นั้นเป็นวันที่ศาลจะสั่งคำร้องของคุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องต่อศาลว่าทักษิณไม่ได้ติดคุกจริงตามหมายศาล แม้คำร้องนี้จะไม่มีกฎหมายรองรับสิทธิคุณชาญชัยก็ตาม แต่ถ้าศาลเห็นด้วยว่ามีมูล ศาลก็เห็นสมควรสั่งไต่สวนได้เองตามอำนาจที่มีอยู่แล้วถาม ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาผมไม่เห็นมีบทบัญญัติรองรับอำนาจไต่สวนนี้ของศาลเลยครับตอบ นี่คือปัญหากฎหมายข้อแรก ที่ศาลจะต้องอธิบาย ซึ่งผมเห็นว่าเมื่อการจำคุกทำโดยอำนาจศาล ศาลย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่าได้มีการทำตามหมายของศาลหรือไม่ หากผิดพลาดศาลก็มีอำนาจสั่งราชทัณฑ์ให้ทำให้ถูกต้องได้เสมอถาม ในการตรวจสอบครั้งนี้ศาลจะยึดกฎหมายฉบับใดเป็นฐาน จะยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ( ป.วิอาญา ) หรือตามกฎหมายราชทัณฑ์ครับตอบ ศาลต้องยึดทุกอย่างที่เป็นกฎหมาย ถ้ากฎหมายทั้งสองขัดแย้งกันในเรื่องใด ศาลก็ต้องวินิจฉัยเองว่ากฎหมายใดใช้บังคับได้ ดังปรากฏข้อพิจารณาไปโดยลำดับ ดังนี้ปัญหาการนับระยะเวลาคุมขังถาม นักโทษเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลนอกเรือนจำ อย่างกรณีทักษิณนอนชั้น ๑๔ รพ.ตำรวจนี้ ถ้าศาลออกหมายขัง ๑ ปี แล้วทักษิณนอนมาหกเดือนแล้ว ขอถามว่าเวลานอนป่วย ๖ เดือนนี้ เราจะนับเป็นเวลาคุมขังหรือไม่ครับคำตอบจากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตอบ ปี ๒๕๕๐ รัฐสภาตรากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๖ ระบุไว้ว่ามาตรา ๒๔๖ เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงาานอัยการผู้บัญชําการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้(๑) เมื่อจำเลยวิกลจริต(๒) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก(๓) ถ้ําจำเลยมีครรภ์(๔) ถ้ําจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้นในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความควบคุมในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกก็ได้ และให้ศาลกำหนดให้เจ้ําพนักงานผู้มีหน้าที่ จัดการตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่งลักษณะของสถานที่อันควรตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและบำบัดรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของจำเลย และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วยเมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการตามวรรคสาม หรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้ ให้หักจำนวนวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมตามมาตรานี้ ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาด้วยความตามมาตราข้างต้น การนำนักโทษไปรักษาตัวนอกเรือนจำต้องทำโดยคำสั่งศาล และจะถือระยะเวลานี้เป็นเวลาที่ถูกคุมขังไม่ได้ เพราะเป็นเพียงการทุเลาไม่บังคับตามหมายด้วยเหตุเจ็บป่วยเท่านั้นถาม หมายความว่า หาก ผบ.เรือนจำกับ รพ.ตำรวจ เห็นว่าต้องรับตัวทักษิณไว้รักษา ด้วยเหตุจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ก็ต้องรับไว้ให้นอนโรงพยาบาลก่อน แล้วรีบขอคำสั่งศาลให้อนุมัติและทุเลาการลงโทษใช่ไหมครับตอบ ครับ พอศาลสั่งแล้ว ทักษิณก็นอนต่อไปตามเดิม แต่การนับโทษจะหยุดนับทันที หายดีเมื่อไหร่ก็กลับเข้าเรือนจำแล้วเริ่มนับโทษที่เหลือต่อไปถาม หากถือหลักว่านักโทษติดคุก “ต้องติดจริงๆและติดให้ครบ”อย่างนี้แล้ว ในเมื่อวันนี้ทักษิณยังไม่ติดคุกเลย ศาลก็ต้องจัดการให้กลับไปติดให้ครบ ๑ ปี ใช่ไหมครับ ส่วนเรื่องป่วยจริงหรือไม่นั้น ก็ไม่ใช่ประเด็นในคดีอีกต่อไปตอบ ยังไม่แน่ครับ เพราะวันนี้ยังมี พรบ.ราชทัณฑ์ ให้คำตอบไว้อีกอย่างคำตอบจาก พรบ.ราชทัณฑ์ ๒๕๖๐มาตรา ๕๕ พรบ.ราชทัณฑ์ ๒๕๖๐ในกรณีที่ผู้ต้องขังป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นโรคติดต่อ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการให้ผู้ต้องขังได้รับการตรวจจากแพทยโดยเร็ว หากผู้ต้องขังนั้นต้องได้รับการบำบัดรักษาเฉพาะด้าน หรือถ้าคงรักษาพยาบาลอยู่ในเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ส่งตัวผู้ต้องขังดังกล่าวไปยังสถานบำบัดรักษาสำหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต นอกเรือนจำต่อไป ทั้งนี้หลักเกณฑและวิธีการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ระยะเวลาการรักษาตัว รวมทั้งผู้มีอำนาจอนุญาต ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการในกรณีที่ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำตามวรรคสอง มิให้ถือว่าผู้ต้องขังนั้นพ้นจากการคุมขัง และถ้าผู้ต้องขังไปเสียจากสถานที่ที่รับผู้ต้องขังไว้รักษาตัว ให้ถือว่ามีความผิดฐานหลบหนี ที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญาถาม แสดงว่า กฎหมายราชทัณฑ์ มาตรา ๕๕ วรรคสอง ถือว่าการรักษาตัวของทักษิณที่ชั้น ๑๔ นั้นมีฐานะเป็นการคุมขัง ดังนั้นเวลา ๖ เดือนที่นอนชั้น ๑๔ จึงนับว่าทักษิณได้ต้องโทษมา ๖ เดือนแล้ว อย่างนั้นหรือตอบ เป็นเช่นนั้นครับ เห็นได้เลยครับว่า เรื่องนับเวลานี้ทั้ง ป.วิอาญา และ พรบ.ราชทัณฑ์บัญญัติขัดกันชัดเจน และต่างก็เป็นกฎหมายระดับ พรบ.เหมือนกัน มีศักดิ์เท่ากัน เสียด้วย กรณีจึงเกิดปัญหาว่าเราจะต้องใช้กฎหมายใดเป็นฐานในคดีนี้สำหรับผมเองเห็นว่า พรบ.ราชทัณฑ์ บัญญัติขึ้นมาภายหลัง ดังนั้นต้องถือว่ารัฐสภาได้ยกเลิก มาตรา ๒๔๖ แห่ง ป.วิอาญาไปแล้ว ถ้ามองอย่างนี้ ศาลอาจถือมาตรา ๕๕ นี้เป็นฐานกฎหมายในคดีก็ได้ถาม ถ้าคิดจะเอามาตรา ๕๕ เป็นหลัก องค์คณะผู้ไต่สวนอาจต้องขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตัดสินปัญหานี้ก่อนหรือไม่ตอบ เป็นไปได้อย่างยิ่งถาม ถ้าในที่สุดก็ลงเอยกันที่มาตรา ๕๕ อย่างนี้ ศาลก็ต้องไต่สวนต่อไปว่าป่วยจริงหรือไม่ ใช่ไหมครับตอบ ครับ ต้องตรวจสอบหมด ว่ากระบวนการอนุญาตผ่านขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งการตรวจและให้ความเห็นของหมอราชทัณฑ์ในชั้นส่งตัว ทั้งการตรวจและให้ความเห็นของหมอโรงพยาบาลตำรวจว่าจำเป็นต้องรับไว้รักษา จนมาถึงคำสั่งอนุญาตของ ผบ.เรือนจำในที่สุดถาม ถ้าพบว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีการตรวจและให้ความเห็นเช่นที่ควร คือหน้าด้านส่งไปนอนดู NETFIX บนชั้น ๑๔ กันดื้อๆเลย เช่นนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรตอบ ก็หมายความว่า เวลา ๖ เดือนที่อยู่ชั้น ๑๔ นั้น จะนับเป็นเวลารักษาตัวนอกเรือนจำตามมาตรา ๕๕ วรรคแรกไม่ได้ เมื่อเข้าวรรคแรกไม่ได้ก็ถือเป็นเวลาคุมขังตามวรรคสองไม่ได้ กรณีจึงสรุปได้ว่าทักษิณไม่เคยติดคุกตามหมายศาลเลย ศาลต้องสั่งให้จับตัวไปคุมขังจริงๆต่อไป ส่วนเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีหน้าที่ทำตามหมายศาล ก็โดนละเมิดอำนาจศาลตามไปด้วยอีกคำสั่งหนึ่งถาม แล้วความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ล่ะครับตอบ ทางอาญาก็เป็นเรื่องของ ปปช. ทางจรรยาแพทย์ก็เป็นเรื่องของแพทยสภา ว่ากันตามช่องทางต่างๆของกฎหมายต่อไปถาม ถ้าจบลงอย่างนี้ ภายหน้าควรมีการแก้ไขกฎหมายอย่างไรหรือไม่ครับตอบ สภาควรยกเลิก ป.วิอาญา มาตรา ๒๔๖ ให้ชัดเจนไปเลยว่าใช้บังคับไม่ได้แล้ว แล้วเพิ่มเติมลงไปในกฏกระทรวงด้วยว่า ทุกครั้งที่มีการรักษานักโทษนอกเรือนจำแบบนี้ ให้กรมราชทัณฑ์รายงานพร้อมหลักฐาน ให้ศาลผู้ออกหมายจำคุกได้ทราบและมีอำนาจสอบถามไต่สวนได้ทุกครั้งด้วย ราษฎรธรรมดาจะได้ไม่ต้องสวมบทพลเมืองดี มาดิ้นรนกระเสือกกระสนร้องศาลกันเองแบบนี้อีก
    29 เมษายน 2568 - นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความในรูปแบบถาม-ตอบ เรื่อง อำนาจศาลยุติธรรม ใน "คดีไต่สวนชั้น 14" มีเนื้อหาดังนี้ถาม วันที่ ๓๐ เมษายน นี้ ศาลยุติธรรมจะทำอะไรกับคดีชั้น ๑๔ ของทักษิณตอบ กรมราชทัณฑ์ ได้รับหมายจากศาลให้จำคุกทักษิณ ๑ ปี วันที่ ๓๐ นั้นเป็นวันที่ศาลจะสั่งคำร้องของคุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องต่อศาลว่าทักษิณไม่ได้ติดคุกจริงตามหมายศาล แม้คำร้องนี้จะไม่มีกฎหมายรองรับสิทธิคุณชาญชัยก็ตาม แต่ถ้าศาลเห็นด้วยว่ามีมูล ศาลก็เห็นสมควรสั่งไต่สวนได้เองตามอำนาจที่มีอยู่แล้วถาม ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาผมไม่เห็นมีบทบัญญัติรองรับอำนาจไต่สวนนี้ของศาลเลยครับตอบ นี่คือปัญหากฎหมายข้อแรก ที่ศาลจะต้องอธิบาย ซึ่งผมเห็นว่าเมื่อการจำคุกทำโดยอำนาจศาล ศาลย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่าได้มีการทำตามหมายของศาลหรือไม่ หากผิดพลาดศาลก็มีอำนาจสั่งราชทัณฑ์ให้ทำให้ถูกต้องได้เสมอถาม ในการตรวจสอบครั้งนี้ศาลจะยึดกฎหมายฉบับใดเป็นฐาน จะยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ( ป.วิอาญา ) หรือตามกฎหมายราชทัณฑ์ครับตอบ ศาลต้องยึดทุกอย่างที่เป็นกฎหมาย ถ้ากฎหมายทั้งสองขัดแย้งกันในเรื่องใด ศาลก็ต้องวินิจฉัยเองว่ากฎหมายใดใช้บังคับได้ ดังปรากฏข้อพิจารณาไปโดยลำดับ ดังนี้ปัญหาการนับระยะเวลาคุมขังถาม นักโทษเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลนอกเรือนจำ อย่างกรณีทักษิณนอนชั้น ๑๔ รพ.ตำรวจนี้ ถ้าศาลออกหมายขัง ๑ ปี แล้วทักษิณนอนมาหกเดือนแล้ว ขอถามว่าเวลานอนป่วย ๖ เดือนนี้ เราจะนับเป็นเวลาคุมขังหรือไม่ครับคำตอบจากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตอบ ปี ๒๕๕๐ รัฐสภาตรากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๖ ระบุไว้ว่ามาตรา ๒๔๖ เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงาานอัยการผู้บัญชําการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป ในกรณีต่อไปนี้(๑) เมื่อจำเลยวิกลจริต(๒) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก(๓) ถ้ําจำเลยมีครรภ์(๔) ถ้ําจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้นในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความควบคุมในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกก็ได้ และให้ศาลกำหนดให้เจ้ําพนักงานผู้มีหน้าที่ จัดการตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่งลักษณะของสถานที่อันควรตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องกำหนดวิธีการควบคุมและบำบัดรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของจำเลย และมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นด้วยเมื่อศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว หากภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการตามวรรคสาม หรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้ ให้หักจำนวนวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมตามมาตรานี้ ออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาด้วยความตามมาตราข้างต้น การนำนักโทษไปรักษาตัวนอกเรือนจำต้องทำโดยคำสั่งศาล และจะถือระยะเวลานี้เป็นเวลาที่ถูกคุมขังไม่ได้ เพราะเป็นเพียงการทุเลาไม่บังคับตามหมายด้วยเหตุเจ็บป่วยเท่านั้นถาม หมายความว่า หาก ผบ.เรือนจำกับ รพ.ตำรวจ เห็นว่าต้องรับตัวทักษิณไว้รักษา ด้วยเหตุจะเป็นอันตรายถึงชีวิต ก็ต้องรับไว้ให้นอนโรงพยาบาลก่อน แล้วรีบขอคำสั่งศาลให้อนุมัติและทุเลาการลงโทษใช่ไหมครับตอบ ครับ พอศาลสั่งแล้ว ทักษิณก็นอนต่อไปตามเดิม แต่การนับโทษจะหยุดนับทันที หายดีเมื่อไหร่ก็กลับเข้าเรือนจำแล้วเริ่มนับโทษที่เหลือต่อไปถาม หากถือหลักว่านักโทษติดคุก “ต้องติดจริงๆและติดให้ครบ”อย่างนี้แล้ว ในเมื่อวันนี้ทักษิณยังไม่ติดคุกเลย ศาลก็ต้องจัดการให้กลับไปติดให้ครบ ๑ ปี ใช่ไหมครับ ส่วนเรื่องป่วยจริงหรือไม่นั้น ก็ไม่ใช่ประเด็นในคดีอีกต่อไปตอบ ยังไม่แน่ครับ เพราะวันนี้ยังมี พรบ.ราชทัณฑ์ ให้คำตอบไว้อีกอย่างคำตอบจาก พรบ.ราชทัณฑ์ ๒๕๖๐มาตรา ๕๕ พรบ.ราชทัณฑ์ ๒๕๖๐ในกรณีที่ผู้ต้องขังป่วย มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือเป็นโรคติดต่อ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการให้ผู้ต้องขังได้รับการตรวจจากแพทยโดยเร็ว หากผู้ต้องขังนั้นต้องได้รับการบำบัดรักษาเฉพาะด้าน หรือถ้าคงรักษาพยาบาลอยู่ในเรือนจำจะไม่ทุเลาดีขึ้น ให้ส่งตัวผู้ต้องขังดังกล่าวไปยังสถานบำบัดรักษาสำหรับโรคชนิดนั้นโดยเฉพาะ โรงพยาบาล หรือสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิต นอกเรือนจำต่อไป ทั้งนี้หลักเกณฑและวิธีการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำ ระยะเวลาการรักษาตัว รวมทั้งผู้มีอำนาจอนุญาต ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการในกรณีที่ส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำตามวรรคสอง มิให้ถือว่าผู้ต้องขังนั้นพ้นจากการคุมขัง และถ้าผู้ต้องขังไปเสียจากสถานที่ที่รับผู้ต้องขังไว้รักษาตัว ให้ถือว่ามีความผิดฐานหลบหนี ที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญาถาม แสดงว่า กฎหมายราชทัณฑ์ มาตรา ๕๕ วรรคสอง ถือว่าการรักษาตัวของทักษิณที่ชั้น ๑๔ นั้นมีฐานะเป็นการคุมขัง ดังนั้นเวลา ๖ เดือนที่นอนชั้น ๑๔ จึงนับว่าทักษิณได้ต้องโทษมา ๖ เดือนแล้ว อย่างนั้นหรือตอบ เป็นเช่นนั้นครับ เห็นได้เลยครับว่า เรื่องนับเวลานี้ทั้ง ป.วิอาญา และ พรบ.ราชทัณฑ์บัญญัติขัดกันชัดเจน และต่างก็เป็นกฎหมายระดับ พรบ.เหมือนกัน มีศักดิ์เท่ากัน เสียด้วย กรณีจึงเกิดปัญหาว่าเราจะต้องใช้กฎหมายใดเป็นฐานในคดีนี้สำหรับผมเองเห็นว่า พรบ.ราชทัณฑ์ บัญญัติขึ้นมาภายหลัง ดังนั้นต้องถือว่ารัฐสภาได้ยกเลิก มาตรา ๒๔๖ แห่ง ป.วิอาญาไปแล้ว ถ้ามองอย่างนี้ ศาลอาจถือมาตรา ๕๕ นี้เป็นฐานกฎหมายในคดีก็ได้ถาม ถ้าคิดจะเอามาตรา ๕๕ เป็นหลัก องค์คณะผู้ไต่สวนอาจต้องขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตัดสินปัญหานี้ก่อนหรือไม่ตอบ เป็นไปได้อย่างยิ่งถาม ถ้าในที่สุดก็ลงเอยกันที่มาตรา ๕๕ อย่างนี้ ศาลก็ต้องไต่สวนต่อไปว่าป่วยจริงหรือไม่ ใช่ไหมครับตอบ ครับ ต้องตรวจสอบหมด ว่ากระบวนการอนุญาตผ่านขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ทั้งการตรวจและให้ความเห็นของหมอราชทัณฑ์ในชั้นส่งตัว ทั้งการตรวจและให้ความเห็นของหมอโรงพยาบาลตำรวจว่าจำเป็นต้องรับไว้รักษา จนมาถึงคำสั่งอนุญาตของ ผบ.เรือนจำในที่สุดถาม ถ้าพบว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีการตรวจและให้ความเห็นเช่นที่ควร คือหน้าด้านส่งไปนอนดู NETFIX บนชั้น ๑๔ กันดื้อๆเลย เช่นนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรตอบ ก็หมายความว่า เวลา ๖ เดือนที่อยู่ชั้น ๑๔ นั้น จะนับเป็นเวลารักษาตัวนอกเรือนจำตามมาตรา ๕๕ วรรคแรกไม่ได้ เมื่อเข้าวรรคแรกไม่ได้ก็ถือเป็นเวลาคุมขังตามวรรคสองไม่ได้ กรณีจึงสรุปได้ว่าทักษิณไม่เคยติดคุกตามหมายศาลเลย ศาลต้องสั่งให้จับตัวไปคุมขังจริงๆต่อไป ส่วนเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีหน้าที่ทำตามหมายศาล ก็โดนละเมิดอำนาจศาลตามไปด้วยอีกคำสั่งหนึ่งถาม แล้วความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ล่ะครับตอบ ทางอาญาก็เป็นเรื่องของ ปปช. ทางจรรยาแพทย์ก็เป็นเรื่องของแพทยสภา ว่ากันตามช่องทางต่างๆของกฎหมายต่อไปถาม ถ้าจบลงอย่างนี้ ภายหน้าควรมีการแก้ไขกฎหมายอย่างไรหรือไม่ครับตอบ สภาควรยกเลิก ป.วิอาญา มาตรา ๒๔๖ ให้ชัดเจนไปเลยว่าใช้บังคับไม่ได้แล้ว แล้วเพิ่มเติมลงไปในกฏกระทรวงด้วยว่า ทุกครั้งที่มีการรักษานักโทษนอกเรือนจำแบบนี้ ให้กรมราชทัณฑ์รายงานพร้อมหลักฐาน ให้ศาลผู้ออกหมายจำคุกได้ทราบและมีอำนาจสอบถามไต่สวนได้ทุกครั้งด้วย ราษฎรธรรมดาจะได้ไม่ต้องสวมบทพลเมืองดี มาดิ้นรนกระเสือกกระสนร้องศาลกันเองแบบนี้อีก
    0 Comments 0 Shares 242 Views 0 Reviews
  • "เสรีพิศุทธ์"ลั่นจะเอา"ทักษิณ"เข้าคุกให้ได้ เชื่อ 30 เม.ย.ไม่รอดแน่! 26/04/68 #เสรีพิศุทธ์ #ทักษิณ #คดีชั้น 14 #โรงพยาบาลตำรวจ
    "เสรีพิศุทธ์"ลั่นจะเอา"ทักษิณ"เข้าคุกให้ได้ เชื่อ 30 เม.ย.ไม่รอดแน่! 26/04/68 #เสรีพิศุทธ์ #ทักษิณ #คดีชั้น 14 #โรงพยาบาลตำรวจ
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 527 Views 23 0 Reviews
  • เจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายร่างของตำรวจทั้ง 6 นาย ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในทะเล ไปยังวัดตรีทศเทพฯ เตรียมส่งกลับประกอบพิธีศสาสนาตามภูมิลำเนาพรุ่งนี้

    วันนี้ (26 เม.ย.) ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่นิติเวชนำร่างของตำรวจทั้ง 6 นาย สังกัดกองบินตำรวจ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในทะเลบรรจุใส่โลงศพและนำขึ้นรถศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจจำนวน 6 คัน โดยมีพระสงฆ์ 6 รูป ประจำรถศูนย์ส่งกลับฯคันละ 1 รูป รวมถึงญาติ พร้อมทั้งมีรถจักรยานยนต์ตำรวจของกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.)

    นำโดย พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์ รอง ผบก.จร. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น นรต.54 กับ พ.ต.อ.ประธาน เขียวขำ นักบิน (สบ 4) กองบินตำรวจ หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นผู้ขับรถนำขบวนด้วยตนเอง ในการเคลื่อนย้ายร่าง ไปประกอบพิธีทางศาสนา ที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร ถนนประชาธิปไตย แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/crime/detail/9680000039179

    #MGROnline #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ #ตำรวจกล้า #อาลัยตำรวจกล้า #กองบินตำรวจ
    #เครื่องบินตก
    เจ้าหน้าที่เคลื่อนย้ายร่างของตำรวจทั้ง 6 นาย ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในทะเล ไปยังวัดตรีทศเทพฯ เตรียมส่งกลับประกอบพิธีศสาสนาตามภูมิลำเนาพรุ่งนี้ • วันนี้ (26 เม.ย.) ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่นิติเวชนำร่างของตำรวจทั้ง 6 นาย สังกัดกองบินตำรวจ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในทะเลบรรจุใส่โลงศพและนำขึ้นรถศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจจำนวน 6 คัน โดยมีพระสงฆ์ 6 รูป ประจำรถศูนย์ส่งกลับฯคันละ 1 รูป รวมถึงญาติ พร้อมทั้งมีรถจักรยานยนต์ตำรวจของกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) • นำโดย พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์ รอง ผบก.จร. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น นรต.54 กับ พ.ต.อ.ประธาน เขียวขำ นักบิน (สบ 4) กองบินตำรวจ หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นผู้ขับรถนำขบวนด้วยตนเอง ในการเคลื่อนย้ายร่าง ไปประกอบพิธีทางศาสนา ที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร ถนนประชาธิปไตย แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/crime/detail/9680000039179 • #MGROnline #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ #ตำรวจกล้า #อาลัยตำรวจกล้า #กองบินตำรวจ #เครื่องบินตก
    0 Comments 0 Shares 253 Views 0 Reviews
  • ลุ้น ! 30 เม.ย.ศาลฎีกานักการเมืองนัดฟังคำสั่งรับคดีนำ “ทักษิณ” รับโทษ?ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ฟังคำสั่งในคำร้องที่นายชาญชัยยื่นขอให้ไต่สวนกรณีที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล เข้าข่ายขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89, 89/2(1) (2) และมาตรา 246 และไม่อาจอ้างกฎกระทรวง เรื่องการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำหรือไม่ หลังจาก 2 ครั้งแรกคือวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน โดยให้เหตุว่าศาลออกหมายจำคุก การบังคับโทษ อนุญาตส่งตัว เป็นอำนาจของกรมราชทัณฑ์ ไม่อยู่ในอำนาจศาล คำร้องครั้งที่ 3 นี้นายชาญชัยยื่นขอให้รับคำร้องไว้ไต่สวนและมีคำสั่งบังคับโทษจำคุกให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุด เเละศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งต้องรอดูว่าศาลจะยกคำร้องเป็นครั้งที่ 3 หรือไม่ หรือรับที่จะดำเนินการต่อไป#ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #แพทยสภา #ชั้น14 #นักโทษเทวดา #ทักษิณ #ทักษิณชินวัตร #กระบวนการยุติธรรม #ศาลปกครอง- - - - - - - - - - - - - - - - - -ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่https://thepublisherth.com/
    ลุ้น ! 30 เม.ย.ศาลฎีกานักการเมืองนัดฟังคำสั่งรับคดีนำ “ทักษิณ” รับโทษ?ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ฟังคำสั่งในคำร้องที่นายชาญชัยยื่นขอให้ไต่สวนกรณีที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล เข้าข่ายขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89, 89/2(1) (2) และมาตรา 246 และไม่อาจอ้างกฎกระทรวง เรื่องการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษาตัวนอกเรือนจำหรือไม่ หลังจาก 2 ครั้งแรกคือวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน โดยให้เหตุว่าศาลออกหมายจำคุก การบังคับโทษ อนุญาตส่งตัว เป็นอำนาจของกรมราชทัณฑ์ ไม่อยู่ในอำนาจศาล คำร้องครั้งที่ 3 นี้นายชาญชัยยื่นขอให้รับคำร้องไว้ไต่สวนและมีคำสั่งบังคับโทษจำคุกให้เป็นไปตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุด เเละศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งต้องรอดูว่าศาลจะยกคำร้องเป็นครั้งที่ 3 หรือไม่ หรือรับที่จะดำเนินการต่อไป#ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #แพทยสภา #ชั้น14 #นักโทษเทวดา #ทักษิณ #ทักษิณชินวัตร #กระบวนการยุติธรรม #ศาลปกครอง- - - - - - - - - - - - - - - - - -ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่https://thepublisherth.com/
    0 Comments 0 Shares 257 Views 0 Reviews
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลุยเดินสายซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ - เยียวยาผู้ประสบภัยอัคคีภัย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และ มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่อง
    .
    วันนี้ (วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ.2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย นำทีม แผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ซอยโรงธูป อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมจำนวน 49 คน โดยมอบเงินสดคนละ 3,500 บาท พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค รวมจำนวน 17 ชุด รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยทั้งสิ้น 214,000 บาท โดยมี นายนรสิงห์ อรุณบรรเจิดกุล ปลัดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองบ้านโป่ง พร้อมด้วย คณะมูลนิธิรวมใจการกุศลราชบุรี และ คณะอาสาสมัครเฉพาะกิจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ เทศบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หลังจากนั้น นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยัง สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 7 รายๆ ละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 140,000 บาท
    .
    รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยทั้งสองเหตุเป็นเงินทั้งสิ้น 354,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้
    .
    เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ดำเนินการเชิงรุกอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งด้านงานบรรเทาสาธารณภัย และงานสังคมสงเคราะห์ ดังเช่น เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ได้จัดส่งทีมสาธารณภัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลที่ทำการอพยพและเปิดรับบริจาคสิ่งของ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ทั้งชาวไทยและเมียนมา รวมมูลค่าการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและมอบเงินค่าฌาปนกิจศพแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวจนถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท โดยปัจจุบันมูลนิธิฯ ยังคงติดตามและเข้ามอบเงินช่วยเหลือแก่ญาติผู้ประสบเหตุดังกล่าวต่อไป
    .
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป ท่านสามารถติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    กว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลุยเดินสายซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ - เยียวยาผู้ประสบภัยอัคคีภัย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และ มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่อง . วันนี้ (วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ.2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย นำทีม แผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ซอยโรงธูป อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมจำนวน 49 คน โดยมอบเงินสดคนละ 3,500 บาท พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค รวมจำนวน 17 ชุด รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยทั้งสิ้น 214,000 บาท โดยมี นายนรสิงห์ อรุณบรรเจิดกุล ปลัดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองบ้านโป่ง พร้อมด้วย คณะมูลนิธิรวมใจการกุศลราชบุรี และ คณะอาสาสมัครเฉพาะกิจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ เทศบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หลังจากนั้น นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยัง สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 7 รายๆ ละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 140,000 บาท . รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยทั้งสองเหตุเป็นเงินทั้งสิ้น 354,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้ . เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ดำเนินการเชิงรุกอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งด้านงานบรรเทาสาธารณภัย และงานสังคมสงเคราะห์ ดังเช่น เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ได้จัดส่งทีมสาธารณภัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลที่ทำการอพยพและเปิดรับบริจาคสิ่งของ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ทั้งชาวไทยและเมียนมา รวมมูลค่าการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและมอบเงินค่าฌาปนกิจศพแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวจนถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท โดยปัจจุบันมูลนิธิฯ ยังคงติดตามและเข้ามอบเงินช่วยเหลือแก่ญาติผู้ประสบเหตุดังกล่าวต่อไป . มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป ท่านสามารถติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . กว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • ด้วยอานิสงส์แผ่นดินไหว ทำให้คนทั้งประเทศ ได้เห็นกันชัดๆ ว่า ห้องพักนักโทษเทวดา ชั้น 14 มีหน้าตาเป็นเช่นไร

    #เปิดลับภาพห้องพักชั้น14 #ทักษิณป่วยทิพย์ #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณชินวัตร #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    ด้วยอานิสงส์แผ่นดินไหว ทำให้คนทั้งประเทศ ได้เห็นกันชัดๆ ว่า ห้องพักนักโทษเทวดา ชั้น 14 มีหน้าตาเป็นเช่นไร #เปิดลับภาพห้องพักชั้น14 #ทักษิณป่วยทิพย์ #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณชินวัตร #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    Haha
    12
    1 Comments 0 Shares 1869 Views 42 0 Reviews
  • รพ.ตำรวจ-สตช. อพยพคนลงจากตัวอาคาร หลังพบว่ามีการสั่นไหว ล่าสุดสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ด้านพล.ต.อ.ไกรบุญ ยืนยันส่งทีมวิศกรสำรวจทุกตึก ทุกอาคารรากฐานมั่นคงปลอดภัย

    วันนี้ (31 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. โรงพยาบาลตำรวจ ได้อพยพคนลงจากอาคาร เนื่องจากได้รับแจ้งว่า อาคารมีการสั่นไหว โดยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ ได้ทำการอพยพผู้ป่วยออกจากตึกสูงอย่างเร่งด่วน เป็นการชั่วคราว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030543

    #MGROnline #อพยพ #โรงพยาบาลตำรวจ
    รพ.ตำรวจ-สตช. อพยพคนลงจากตัวอาคาร หลังพบว่ามีการสั่นไหว ล่าสุดสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ด้านพล.ต.อ.ไกรบุญ ยืนยันส่งทีมวิศกรสำรวจทุกตึก ทุกอาคารรากฐานมั่นคงปลอดภัย • วันนี้ (31 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. โรงพยาบาลตำรวจ ได้อพยพคนลงจากอาคาร เนื่องจากได้รับแจ้งว่า อาคารมีการสั่นไหว โดยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ ได้ทำการอพยพผู้ป่วยออกจากตึกสูงอย่างเร่งด่วน เป็นการชั่วคราว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000030543 • #MGROnline #อพยพ #โรงพยาบาลตำรวจ
    0 Comments 0 Shares 340 Views 0 Reviews
  • ผกก.ลั่นเอาเรื่อง กลุ่มสมาชิกเพจดังไลฟ์สด กดดันลูกน้องจนเครียด เส้นเลือดในสมองแตก ประชาสัมพันธ์เลี่ยงเส้นทาง เจ้าหน้าที่ นำตัว ในดาบส่งโรงพยาบาลตำรวจ

    วันนี้( 20 มี.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์เพจดังไลฟ์สด เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจจับความเร็ว บริเวณ เกาะกลาง ต.บ้านหม้อ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยนายตำรวจที่ประจำจุดตั้งกล้องวัดความเร็ว คือ ด.ต.ศุภมิตร พวงประเสริฐ ผบ.หมู่งาน จราจร สภ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เกิดอาการวูบชักเกร็งถึง 12 ครั้ง ก่อนจะหมดสติ เพื่อนๆเจ้าหน้าที่ตำรวจในด่านดังกล่าว จึงได้เรียกรถพยาบาลบ เพื่อนำส่งรักษาตัว จากการตรวจของแพทย์พยาบาล เบื้องต้น พบมีอาการเส้นเลือดในสมองแตก เพราะเกิดจากความเครียด

    ต่อมา พ.ต.อ.สุเมธ โภชนา ผกก.สภ.พรหมบุรี ได้เข้าเยี่ยมอาการของ ด.ต.ศุภมิตร และสอบถามอาการจากภรรยาของ ด.ต.ศุภมิตร พบแขนขาอ่อนแรง มีอาการสมองบวมเนื่องจากเลือดออกในสมอง แต่หยุดแล้ว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000026627

    #MGROnline #เส้นเลือดในสมองแตก #โรงพยาบาลตำรวจ #เจ้าหน้าที่ตำรวจ #ด่านตรวจจับความเร็ว #สิงห์บุรี
    ผกก.ลั่นเอาเรื่อง กลุ่มสมาชิกเพจดังไลฟ์สด กดดันลูกน้องจนเครียด เส้นเลือดในสมองแตก ประชาสัมพันธ์เลี่ยงเส้นทาง เจ้าหน้าที่ นำตัว ในดาบส่งโรงพยาบาลตำรวจ • วันนี้( 20 มี.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์เพจดังไลฟ์สด เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจจับความเร็ว บริเวณ เกาะกลาง ต.บ้านหม้อ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยนายตำรวจที่ประจำจุดตั้งกล้องวัดความเร็ว คือ ด.ต.ศุภมิตร พวงประเสริฐ ผบ.หมู่งาน จราจร สภ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เกิดอาการวูบชักเกร็งถึง 12 ครั้ง ก่อนจะหมดสติ เพื่อนๆเจ้าหน้าที่ตำรวจในด่านดังกล่าว จึงได้เรียกรถพยาบาลบ เพื่อนำส่งรักษาตัว จากการตรวจของแพทย์พยาบาล เบื้องต้น พบมีอาการเส้นเลือดในสมองแตก เพราะเกิดจากความเครียด • ต่อมา พ.ต.อ.สุเมธ โภชนา ผกก.สภ.พรหมบุรี ได้เข้าเยี่ยมอาการของ ด.ต.ศุภมิตร และสอบถามอาการจากภรรยาของ ด.ต.ศุภมิตร พบแขนขาอ่อนแรง มีอาการสมองบวมเนื่องจากเลือดออกในสมอง แต่หยุดแล้ว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000026627 • #MGROnline #เส้นเลือดในสมองแตก #โรงพยาบาลตำรวจ #เจ้าหน้าที่ตำรวจ #ด่านตรวจจับความเร็ว #สิงห์บุรี
    0 Comments 0 Shares 506 Views 0 Reviews
  • หมวกกันน็อกใบเดียว ใช้ทำร้ายผู้อื่นถึงตายได้

    เหตุอุกอาจทำร้ายร่างกายใจกลางเมือง ขณะที่ นพ.ชเนษฎ์ ศรีสุโข เจ้าของมาลิคลินิกเวชกรรม สาขาสีลม 3 กำลังเดินออกจากคลีนิกหลังเลิกงาน มีคนร้ายเป็นชาย 2 คน บุกเข้ามารุมทำร้ายด้วยการใช้หมวกกันน็อกรุมตีหลายครั้งจนเลือดอาบ เจ้าตัวพยายามวิ่งหลบหนีหกล้มกลางถนน ก่อนที่จะมีรถยนต์ของชาวบ้านขับผ่านมา คนร้ายจึงขับขี่รถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่นพีซีเอ็กซ์ สีแสด ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนหลบหนีไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.28 น. ของวันที่ 25 ม.ค. 2568 นพ.ชเนษฎ์ ได้รับบาดเจ็บ ศีรษะถูกตีด้วยของแข็งจนเลือดอาบ ก่อนแจ้งความกับ ว่าที่ พ.ต.ท.สถิต สะดีวงศ์ พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ และตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ

    เมื่อมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชน ผู้ก่อเหตุพร้อมด้วยทนายความจึงเข้ามอบตัวสู้คดีและประกันตัวออกไป อ้างว่าหูแว่ว ติดยา ในวันที่ไปศาลแขวงพระนครใต้ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2568 จำเลยพาภรรยา ญาติ และลูกน้อยไปศาลพร้อมทนายความด้วย ตอนแรกจำเลยกล่าวหาว่า นพ.ชเนษฎ์ ไปด่าพ่อ แต่ต่อมาก็อ้างว่าพนักงานคลีนิกไปด่าพ่อ ซึ่ง นพ.ชเนษฎ์ ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมา มีความพยายามใช้ชื่อปลอมร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามาสอบสวนคลินิก แต่ไม่พบความผิดปกติใดๆ ก่อนจะเกิดเรื่องขึ้น ถึงกระนั้นเหตุการณ์นี้เปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล ทุกวันนี้ต้องว่าจ้างทีมอารักขามืออาชีพช่วยดูแลความปลอดภัย

    สิ่งที่น่าคิดจากคดีนี้ก็คือ คนร้ายเลือกใช้หมวกกันน็อกเป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย นพ.ชเนษฎ์ เปิดเผยว่า บริษัทรักษาความปลอดภัยในไทยหลายแห่งได้แจ้งมาว่า จากคดีดังกล่าวพบว่าหมวกกันน็อกเป็นที่นิยมในหมู่คนร้าย เพราะมีโทษเบาไปถึงศาลแขวง ไม่ใช่ศาลอาญา รวมทั้งหามาเป็นอาวุธได้ง่าย มีการแนะนำให้ตนหาหมวกกันน็อกมาลองทุบแตงโมดู จึงทดลองทุบเอง ที่กลุ่มสืบเสาะและพินิจ กรมคุมประพฤติ กรุงเทพมหานคร 5 ซึ่งเฟซบุ๊กส่วนตัวของ นพ.ชเนษฎ์ นำมาเผยแพร่ พบว่าแตงโมแตก ซึ่งหากทุบจุดสำคัญของศีรษะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

    ถึงกระนั้น ตามกฎหมายแล้วหมวกกันน็อกไม่ถือว่าเป็นอาวุธ และในทางคดีพบว่าเป็นการทำร้ายร่างกายธรรมดาไม่สาหัส ทำให้คดีทำร้ายร่างกายครั้งนี้ไปถึงแค่ศาลแขวง ไปไม่ถึงศาลอาญา แม้เหตุการณ์นี้จะทำให้ นพ.ชเนษฎ์ บาดเจ็บถึงขั้นเลือดอาบก็ตาม ปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2568 ประเทศไทยมีรถจักรยานยนต์มากกว่า 22.85 ล้านคัน รถจักรยายยนต์รับจ้างกว่า 1.17 แสนคัน และมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์รวมกันกว่า 13.10 ล้านใบ การใช้หมวกกันน็อกเป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย ถือเป็นอีกช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่พลเมืองดีและสุจริตชนทั้งหลายพึงระวัง

    #Newskit
    หมวกกันน็อกใบเดียว ใช้ทำร้ายผู้อื่นถึงตายได้ เหตุอุกอาจทำร้ายร่างกายใจกลางเมือง ขณะที่ นพ.ชเนษฎ์ ศรีสุโข เจ้าของมาลิคลินิกเวชกรรม สาขาสีลม 3 กำลังเดินออกจากคลีนิกหลังเลิกงาน มีคนร้ายเป็นชาย 2 คน บุกเข้ามารุมทำร้ายด้วยการใช้หมวกกันน็อกรุมตีหลายครั้งจนเลือดอาบ เจ้าตัวพยายามวิ่งหลบหนีหกล้มกลางถนน ก่อนที่จะมีรถยนต์ของชาวบ้านขับผ่านมา คนร้ายจึงขับขี่รถจักรยานยนต์ฮอนด้า รุ่นพีซีเอ็กซ์ สีแสด ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนหลบหนีไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 18.28 น. ของวันที่ 25 ม.ค. 2568 นพ.ชเนษฎ์ ได้รับบาดเจ็บ ศีรษะถูกตีด้วยของแข็งจนเลือดอาบ ก่อนแจ้งความกับ ว่าที่ พ.ต.ท.สถิต สะดีวงศ์ พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ และตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชน ผู้ก่อเหตุพร้อมด้วยทนายความจึงเข้ามอบตัวสู้คดีและประกันตัวออกไป อ้างว่าหูแว่ว ติดยา ในวันที่ไปศาลแขวงพระนครใต้ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2568 จำเลยพาภรรยา ญาติ และลูกน้อยไปศาลพร้อมทนายความด้วย ตอนแรกจำเลยกล่าวหาว่า นพ.ชเนษฎ์ ไปด่าพ่อ แต่ต่อมาก็อ้างว่าพนักงานคลีนิกไปด่าพ่อ ซึ่ง นพ.ชเนษฎ์ ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมา มีความพยายามใช้ชื่อปลอมร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามาสอบสวนคลินิก แต่ไม่พบความผิดปกติใดๆ ก่อนจะเกิดเรื่องขึ้น ถึงกระนั้นเหตุการณ์นี้เปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล ทุกวันนี้ต้องว่าจ้างทีมอารักขามืออาชีพช่วยดูแลความปลอดภัย สิ่งที่น่าคิดจากคดีนี้ก็คือ คนร้ายเลือกใช้หมวกกันน็อกเป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย นพ.ชเนษฎ์ เปิดเผยว่า บริษัทรักษาความปลอดภัยในไทยหลายแห่งได้แจ้งมาว่า จากคดีดังกล่าวพบว่าหมวกกันน็อกเป็นที่นิยมในหมู่คนร้าย เพราะมีโทษเบาไปถึงศาลแขวง ไม่ใช่ศาลอาญา รวมทั้งหามาเป็นอาวุธได้ง่าย มีการแนะนำให้ตนหาหมวกกันน็อกมาลองทุบแตงโมดู จึงทดลองทุบเอง ที่กลุ่มสืบเสาะและพินิจ กรมคุมประพฤติ กรุงเทพมหานคร 5 ซึ่งเฟซบุ๊กส่วนตัวของ นพ.ชเนษฎ์ นำมาเผยแพร่ พบว่าแตงโมแตก ซึ่งหากทุบจุดสำคัญของศีรษะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงกระนั้น ตามกฎหมายแล้วหมวกกันน็อกไม่ถือว่าเป็นอาวุธ และในทางคดีพบว่าเป็นการทำร้ายร่างกายธรรมดาไม่สาหัส ทำให้คดีทำร้ายร่างกายครั้งนี้ไปถึงแค่ศาลแขวง ไปไม่ถึงศาลอาญา แม้เหตุการณ์นี้จะทำให้ นพ.ชเนษฎ์ บาดเจ็บถึงขั้นเลือดอาบก็ตาม ปัจจุบัน ณ เดือนมกราคม 2568 ประเทศไทยมีรถจักรยานยนต์มากกว่า 22.85 ล้านคัน รถจักรยายยนต์รับจ้างกว่า 1.17 แสนคัน และมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์รวมกันกว่า 13.10 ล้านใบ การใช้หมวกกันน็อกเป็นอาวุธทำร้ายร่างกาย ถือเป็นอีกช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่พลเมืองดีและสุจริตชนทั้งหลายพึงระวัง #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 675 Views 0 Reviews
  • “อังคณา” ฟาด รพ.ตำรวจ หยุดอ้างสิทธิส่วนบุคคล ปมเผยข้อมูล ‘ทักษิณ’ 29/01/68 #อังคณา #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณ
    “อังคณา” ฟาด รพ.ตำรวจ หยุดอ้างสิทธิส่วนบุคคล ปมเผยข้อมูล ‘ทักษิณ’ 29/01/68 #อังคณา #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณ
    Like
    Haha
    6
    0 Comments 0 Shares 893 Views 29 0 Reviews
  • ศาล ยังไม่ไต่สวนทักษิณ 'เพื่อไทย' ล็อคคอ 'วิษณุ' ยันป่วยทิพย์ชั้น14 ไร้มลทิน
    .
    ปมประเด็นชั้น 14 ป่วยทิพย์ของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานอนุกรรมาธิการ ด้านกลไกการปราบปรามการทุจริต คณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ไต่สวนกรณี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ไม่จัดการให้เป็นไปตามหมายจำคุกคดีถึงที่สุดของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    .
    ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนฟังคำสั่งคำร้องของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องขอให้ไต่สวน นำตัวนักโทษเทวดากลับเข้าคุก โดยจะแจ้งคำสั่งให้ทราบในภายหลัง และห้ามเผยแพร่คำร้องต่อสาธารณชน เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
    .
    ขณะที่ แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีโดยยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯมาแล้ว
    .
    นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่มีนักร้องที่จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งทราบว่ามีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพิสูจน์เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน การพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่เกิดในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายวิษณุ เครืองาม ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกฯขณะนั้น ทำหน้าที่ส่งไป และเป็นไปตามขั้นตอน ไม่น่าหนักใจอะไร
    .
    “นายวิษณุ ในฐานะมือกฎหมายคงจะพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างดี การตรวจสอบตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้นเป็นไปตามกระบวนการการพิสูจน์ของกระบวนการยุติธรรม เรื่องนี้สบายใจได้ ไม่มีเขย่าขวัญรัฐบาล เพราะนายทักษิณไม่ได้เป็นนายกฯ” นายวิสุทธิ์ กล่าว
    .............
    Sondhi X
    ศาล ยังไม่ไต่สวนทักษิณ 'เพื่อไทย' ล็อคคอ 'วิษณุ' ยันป่วยทิพย์ชั้น14 ไร้มลทิน . ปมประเด็นชั้น 14 ป่วยทิพย์ของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานอนุกรรมาธิการ ด้านกลไกการปราบปรามการทุจริต คณะกรรมาธิการวิสามัญป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ไต่สวนกรณี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ไม่จัดการให้เป็นไปตามหมายจำคุกคดีถึงที่สุดของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง . ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนฟังคำสั่งคำร้องของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ที่ร้องขอให้ไต่สวน นำตัวนักโทษเทวดากลับเข้าคุก โดยจะแจ้งคำสั่งให้ทราบในภายหลัง และห้ามเผยแพร่คำร้องต่อสาธารณชน เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน . ขณะที่ แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีโดยยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย เพราะผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯมาแล้ว . นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่มีนักร้องที่จะตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งทราบว่ามีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพิสูจน์เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน การพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่เกิดในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายวิษณุ เครืองาม ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกฯขณะนั้น ทำหน้าที่ส่งไป และเป็นไปตามขั้นตอน ไม่น่าหนักใจอะไร . “นายวิษณุ ในฐานะมือกฎหมายคงจะพิจารณารายละเอียดเป็นอย่างดี การตรวจสอบตามที่มีผู้ร้องเรียนนั้นเป็นไปตามกระบวนการการพิสูจน์ของกระบวนการยุติธรรม เรื่องนี้สบายใจได้ ไม่มีเขย่าขวัญรัฐบาล เพราะนายทักษิณไม่ได้เป็นนายกฯ” นายวิสุทธิ์ กล่าว ............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    11
    1 Comments 0 Shares 1775 Views 0 Reviews
  • แพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ เผยอยู่ระหว่างพิจารณาส่งเอกสารการรักษาตัว ”ทักษิณ” ให้แพทยสภาเพิ่มเติม หลังจากได้ส่งเอกสารการรักษาไปแล้วบางส่วน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000007721

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    แพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ เผยอยู่ระหว่างพิจารณาส่งเอกสารการรักษาตัว ”ทักษิณ” ให้แพทยสภาเพิ่มเติม หลังจากได้ส่งเอกสารการรักษาไปแล้วบางส่วน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000007721 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Wow
    Love
    Angry
    20
    2 Comments 1 Shares 1407 Views 0 Reviews
  • 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง

    ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ

    แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที

    แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก

    สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน
    หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ

    1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ
    รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด
    เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ
    การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง

    2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ
    ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน

    3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร

    รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน

    ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง

    เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน

    เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง
    หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น

    2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย
    ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต

    ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น

    แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท

    ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น

    เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน

    1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน
    การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน

    2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
    พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

    3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ
    การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ

    การรับมือในอนาคต
    ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ
    เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน
    สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ

    เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น

    การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568

    #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ 1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง 2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน 3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย 1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น 2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน 1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน 2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ การรับมือในอนาคต ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568 #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    0 Comments 0 Shares 1104 Views 0 Reviews
  • 14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

    จรรยาบรรณแพทย์

    ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ
    ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม

    ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ
    ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง

    ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น
    ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน
    ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

    ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม
    ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

    ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง
    ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย

    ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ
    ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ

    ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ
    ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ

    ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม
    ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ
    ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ
    ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ
    อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่

    ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ
    ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง
    ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้

    ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล
    ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่

    ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้
    ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้

    ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย
    ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้
    เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ

    ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ
    ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ

    ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย
    ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้
    แก้วสรร อติโพธิ
    14 ม.ค. 2568 – นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง “ความรับผิดชอบ”ในคดีชั้น ๑๔ โดยมีเนื้อหา ดังนี้ จรรยาบรรณแพทย์ ถาม ๑๕ มกราคม นี้ ถึงกำหนดที่ฝ่ายแพทย์ ทั้ง รพ.ราชทัณฑ์ และ รพ.ตำรวจ ต้องส่งเวชระเบียน ให้อนุกรรมการสอบสวนของ แพทยสภาแล้ว ขอทราบว่า แพทยสภาเขาจะไปเอาทำอะไรครับ ตอบ ไปตรวจว่ามีหมอคนไหน ทำผิดจรรยาบรรณ ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่หรือไม่ เช่นรายงานเท็จ ปั้นแต่งให้ความเห็นโดยไม่ใช้วิชาชีพ อย่างนี้ถ้าพบว่ามีจริงก็ลงโทษผิดจรรยาบรรณ คือ พักใช้หรือยึดใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งนี้ไม่ว่าหมอคนนั้นจะอยู่ในราชการหรือไม่ก็ตาม ถาม แล้วหมอคนที่ผิดจรรยาบรรณนั้น ไม่ติดคุกหรือครับ ตอบ ถ้าอยู่ในราชการ ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องไปติดคุกเพราะกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง ถาม ถ้า รพ.ตำรวจ รับทักษิณไว้ โดยไม่มีการตรวจโรคเลย แล้วหมอก็ผ่าไหล่ให้ตามคำสั่ง ผอ.เท่านั้น ตอบ หมอที่ผ่าก็ไม่ผิดอะไรในทางจรรยาบรรณ จะผิดก็ตรง ผอ.โรงพยาบาลที่รับนักโทษ ให้ มาอยู่อาศัยราวกับเป็นโรงแรมเท่านั้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ เช่นกัน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ถาม ถ้าเขาบอกแพทยสภาว่าไม่ให้เวชระเบียน เพราะผู้ป่วยไม่ยินยอม จะได้ไหม ตอบ ไม่ได้ครับ นี่เป็นคำสั่งเพื่อทำการตามหน้าที่ใ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายวิชาชีพเวชกรรม จะอ้างสิทธิคนป่วยมาหวงกันเวชระเบียนไว้ไม่ได้ กฎหมายสุขภาพชัดเจนว่า ให้ปฏิเสธได้แต่เฉพาะการขอทราบโดยอ้างสิทธิสาธารณะชน ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารเท่านั้น ถาม เห็น พ.ต.อ.ทวี รัฐมนตรียุติธรรม บอกว่า รพ.ตำรวจ น่าจะส่งเวชระเบียนจากหมอสิงค์โปร์ ให้แพทยสภาเขาไปซะ จะได้หมดเรื่อง ตอบ อย่ามั่วครับท่าน…แพทยสภาไทย เขาตรวจหมอไทยครับ ว่าตรวจสุขภาพ นช.ทักษิณ และให้ความเห็นถูกต้องไหมในกระบวนการส่งตัวและรับตัวทั้งหมดระหว่างเรือนจำ และ รพ.ตำรวจ ส่วนรายงานแพทย์จากสิงค์โปร์นั้นไม่เกี่ยวอะไรเลย ถาม พ.ต.อ.ทวี ยังพูดในสภาว่า ได้เคยเห็นรายงานผ่าไหล่และ ผล MRI ของ นักโทษ ในรายงานของเรือนจำด้วยตาตนเองเลยนะครับ ตอบ ประเด็นในคดี มันอยู่ตรงที่ว่า ป่วยหนักจน รพ.ราชทัณฑ์ รักษาไม่ได้จริงหรือไม่ เรื่องผ่าไหล่นั่นไม่เกี่ยวเลย ส่งไปนอนเล่นอยู่โรงพยาบาลตำรวจ แล้วมีผ่าไหล่แถมให้ก็ได้ ผ่าแบบนี้อยู่โรงพยาบาลวันสองวันก็กลับเรือนจำได้แล้ว มิหนำซ้ำพวกหมอเขาบอกว่า ถ้าป่วยวิกฤตแล้ว ทำMRI ก็ไม่ได้ ดมยาสลบก็ไม่ได้นะครับ ถาม รัฐมนตรีอาจพูดเพื่อให้ตัวเองดูสุจริตก็ได้นะครับ ตอบ ถ้าในรายงานจากเรือนจำ ชัดเจนว่าไม่มีการตรวจร่างกาย และไม่มีคำสั่งส่งตัวรับตัว ด้วยเหตุป่วยวิกฤตอยู่เลย ตรงนี้ก็แสดงว่า ระดับล่างทำงานบกพร่อง ละเว้นหน้าที่ชัดเจนแล้ว รายงานบกพร่องอย่างนี้ทำไมระดับบน ทั้ง อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีไม่เห็น ไม่ท้วงติง เพียงแค่นี้ผมก็ว่ามีมูลให้ ปปช.ตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่ระดับบน เพิ่มได้แล้วครับ ถาม ถ้า รพ.ตำรวจและเรือนจำ ทำนิ่งเฉยไม่ส่งเวชระเบียน หรือตอบว่าไม่มี จะได้ไหม ตอบ ถ้าเป็นอย่างนั้น ความตามปากคำพยานบุคคล คือ พลตำรวจเอกเสรี ที่เห็นด้วยตาว่า ทักษิณไม่ป่วยจริง ก็จะมีน้ำหนักฟังเป็นที่ยุติขึ้นมาทันที จะโดน ๑๕๗ กันหมดทั้ง ผบ.เรือนจำและ ผอ.โรงพยาบาลตำรวจ ถาม ในมติ ปปช.เห็นว่า เจ้าหน้าที่มีมูลความผิด ถึง ๑๒ คน ครับ ตอบ ๑๒ คน นั้นเป็นคนที่มีชื่อเกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าได้เวชระเบียนมาตรวจสอบ หรือได้ปากคำจนความจริงครบถ้วน ใน ๑๒ คนนี้ก็น่าจะมีคนพ้นข้อสงสัยไปได้ ที่วันนี้โดนสงสัยกันหมดเพราะไม่ยอมให้ปากคำและเวชระเบียนใดๆเลย จริงๆนั้น มาถึงชั้นนี้ มันต้องตัวใครตัวมันกันแล้วครับ อำนาจศาลยุติธรรม ออกหมายจำคุกใหม่ ถาม คำพืพากษาจำคุกมีแล้ว ออกหมายจำคุกแล้ว แล้วนักโทษถูกปล่อยไปนอนเล่นโรงพยาบาล อย่างนี้จะเอาตัวมาขังใหม่ได้ไหมครับ ตอบ เรื่องการบังคับตามคำพิพากษษคดีอาญานี้ มีมาตรา ๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่า ถ้านักโทษป่วยและอยู่ในคุกแล้วจะมีอันตรายถึงชีวิต ก็ให้ศาลสั่งทุเลาโทษ คือไปรักษาตัวนอกเรือนจำโดยหยุดไม่นับเวลาคุมขังได้ แต่กระทรวงยุติธรรมกลับมาออกกฎกระทรวงให้อำนาจราชทัณฑ์ส่งนักโทษไปรักษานอกเรือนจำได้เองจนยาวไปเลย โดยมีการตรวจสอบของผู้บังคับบัญชาจากรายงานเป็นระยะเท่านั้นเอง ตรงนี้ ก็นับเป็นปัญหาทางนิติบัญญัติที่ต้องทบทวนกันให้ชัดเจนต่อไปว่าจะเอายังไงกันแน่ ที่จริงนั้นก็ควรจะให้ราชทัณฑ์ส่งตัวโดยไม่ผ่านศาลได้ เฉพาะที่เป็นการฉุกเฉินเท่านั้น แล้วค่อยให้มาขอศาลอีกทีเมื่อเกิน ๓๐ วัน ไปแล้วก็ได้ ถาม แล้วคดี นช.ทักษิณจะทำอย่างไร เมื่อได้ส่งตัวไปแล้วโดยไม่ผ่านศาล ตอบ ก็ต้องถือตามกฎกระทรวงครับ แต่เงื่อนไขว่าต้องเจ็บป่วยวิกฤตถึงชีวิต ยังคงดำรงอยู่ ถาม แล้วศาลจะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไรครับ ในเมื่อนักโทษเขาออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ้นโทษไปแล้วอย่างนี้ ตอบ อำนาจตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามหมายจำคุกนั้นยังมีอยู่เสมอไป มาตรา ๒๔๖ เป็นมาตราที่ยืนยันความมีอยู๋ของอำนาจนี้ว่า ราชทัณฑ์จะเห็นหมายศาลที่ให้จำคุกเป็นกระดาษเช็ดก้นไม่ได้ ถาม แล้วเรื่องจะไปสู่ศาล ให้ศาลตรวจสอบว่านักโทษป่วยวิกฤตจริงไหม ได้อย่างไร ใครจะร้องได้บ้างว่า นักโทษไม่ได้ติดคุกเลย ตอบ ก็ต้องเอานิติวิธีที่ใช้กฎหมายเทียบเคียงมาช่วยครับ โดยเทียบกับ มาตรา ๒๔๖ ดูสิครับว่ามาตรานี้ใครร้องได้บ้าง มาคดีนี้ก็น่าจะร้องได้อย่างนั้นเหมือนกัน ดูซึ่งผมว่าต้องร้องได้ทั้งราชทัณฑ์เอง หรือศาลเห็นเอง ก็ได้ เริ่มจากรัฐมนตรียุติธรรม ถ้าพึ่งรู้ว่าผิดพลาด จะสั่งราชทัณฑ์ให้ร้องศาลก็ได้ หรือศาลจะเห็นเองก็ได้ ซึ่งวันนี้คดีนี้ก็มีข้อสงสัยถึงขั้น ปปช.สั่งมีมูลแล้ว แพทยสภาขอเวชระเบียนแล้วก็ยังเบี้ยวไม่ยอมให้ เพียงเท่านี้ก็พอให้ศาลสั่งไต่สวนได้แล้วครับ ถาม ศาลลงมือไต่สวนได้โดยไม่ต้องรอ ผล ปปช. หรือ แพทยสภา ใช่ไหมครับ ตอบ ไม่ต้องรอแน่นอนครับ โดยหลักกฎหมายนั้น เรามีแต่ห้ามองค์กรใดพิจารณาแข่งกับศาลไม่มีเลยที่ให้ศาลรอผลองค์กรอื่น และยิ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาว่าเบี้ยวคำพิพากษาศาลหรือไม่ด้วยแล้ว ศาลจะมานั่งรอเห็นตามคนอื่นไม่ได้หรอกครับ ถาม เห็นมีข่าวว่า ศาลส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ตนจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยว กลายเป็น “คู่กรณี” ด้วย ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องความยุติธรรมในบ้านเมือง ที่ประชาชนได้ยอมรับเห็นศาลเป็นเสาหลักมาสี่ชั่วคนแล้ว ถ้าวันนี้คนในสถาบันไม่รู้สำนึกในหน้าที่นี้ บ้านเมืองก็ต้องชิบหายต่อไปอีก จนในที่สุดก็หายไปหมดทั้งศาลและประชาชนบนแผ่นดินนี้ แก้วสรร อติโพธิ
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 907 Views 0 Reviews
  • นับถอยหลัง เทวดาชั้น14 ขีดเส้นตาย 15 ม.ค.นี้ ป่วยทิพย์หรือไม่ได้รู้กัน

    #ทักษิณ #ชั้น14 #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณหนีคุก #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    นับถอยหลัง เทวดาชั้น14 ขีดเส้นตาย 15 ม.ค.นี้ ป่วยทิพย์หรือไม่ได้รู้กัน #ทักษิณ #ชั้น14 #โรงพยาบาลตำรวจ #ทักษิณหนีคุก #Sondhix #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิฯ
    Like
    14
    2 Comments 0 Shares 1977 Views 56 0 Reviews
  • 11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ
    นิติธรรม

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย

    ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล

    นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ

    นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน

    “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว

    ที่มา : แนวหน้า
    https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ นิติธรรม นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว ที่มา : แนวหน้า https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 2062 Views 0 Reviews
  • พล.ต.อ.กรไชย รุดเยี่ยมตำรวจ 2 นายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหายิงภรรยาเสียชีวิต กำชับดูแลสิทธิประโยชน์เต็มที่

    วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ จากเหตุการณ์ปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา จำนวน 2 นาย ได้แก่ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย ฉวีเวช และ ด.ต.กิตติศักดิ์ สุขประเสริฐ ผบ.หมู่ กก.ปพ.บก.สส.ภ.1

    จากกรณีนางจิตรา อายุ 46 ปี ถูกนายวสันต์ อายุ 51 ปี สามี ใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิตภายในบ้าน ต.โคกข้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา สาเหตุมาจากความหึงหวง หลังก่อเหตุนายวสันต์ได้หลบหนีไป ต่อมาพนักงานสอบสวนสอบสวน สภ.บางไทร ได้ขอศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกหมายจับนายวสันต์ ในข้อกล่าวหาฆ่าคนตายโดยเจตนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเบาะแสที่คาดว่านายวสันต์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง หมู่ 3 ต.โคกช้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุ 600 เมตร พล.ต.ต.โชติวัตน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. บางไทร , สภ.ช้าง และชุดสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว่า 50 นาย ปิดล้อมบ้านหลังดังกล่าว ปรากฏว่านายวสันต์ ได้ชักปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเกิดการยิงโต้ตอบ สุดท้ายนายวสันต์ ถูกยิงเสียชีวิต และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย คือ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย และ ด.ต.กิตติศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลบางไทร และส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/crime/detail/9670000123863

    #MGROnline #จับกุมผู้ต้องหา #ยิงภรรยา #เสียชีวิต
    พล.ต.อ.กรไชย รุดเยี่ยมตำรวจ 2 นายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหายิงภรรยาเสียชีวิต กำชับดูแลสิทธิประโยชน์เต็มที่ • วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.อ.กรไชย คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เดินทางไปเยี่ยมข้าราชการตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ จากเหตุการณ์ปิดล้อมจับกุมผู้ต้องหาที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา จำนวน 2 นาย ได้แก่ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย ฉวีเวช และ ด.ต.กิตติศักดิ์ สุขประเสริฐ ผบ.หมู่ กก.ปพ.บก.สส.ภ.1 • จากกรณีนางจิตรา อายุ 46 ปี ถูกนายวสันต์ อายุ 51 ปี สามี ใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิตภายในบ้าน ต.โคกข้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา สาเหตุมาจากความหึงหวง หลังก่อเหตุนายวสันต์ได้หลบหนีไป ต่อมาพนักงานสอบสวนสอบสวน สภ.บางไทร ได้ขอศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกหมายจับนายวสันต์ ในข้อกล่าวหาฆ่าคนตายโดยเจตนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเบาะแสที่คาดว่านายวสันต์หลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง หมู่ 3 ต.โคกช้าง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุ 600 เมตร พล.ต.ต.โชติวัตน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. บางไทร , สภ.ช้าง และชุดสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กว่า 50 นาย ปิดล้อมบ้านหลังดังกล่าว ปรากฏว่านายวสันต์ ได้ชักปืนยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเกิดการยิงโต้ตอบ สุดท้ายนายวสันต์ ถูกยิงเสียชีวิต และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย คือ ด.ต.วิสุทธิ์ชัย และ ด.ต.กิตติศักดิ์ ได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลบางไทร และส่งต่อมารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9670000123863 • #MGROnline #จับกุมผู้ต้องหา #ยิงภรรยา #เสียชีวิต
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 730 Views 0 Reviews
  • สัประยุทธ์ “ธรรมะ-อธรรม” #เปลวสีเงินplewเปลว สีเงิน“กฎหมาย” มีไว้สร้างสมดุลทาง “สังคมเป็นธรรม”แต่ทุกวันนี้คนใน “๓ สถาบันอำนาจ” คือ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ “บางคน”ใช้กฎหมายสร้าง “สังคมอยุติธรรม” ทำลายสมดุลความเป็นคนที่เท่าเทียมทางกฎหมาย จนเกิดคำว่า “ป่วยทิพย์-คุกทิพย์”บ่งบอกถึง “เลือกปฎิบัติ-สองมาตรฐาน” ซึ่งชาวบ้านทั่วไป ไม่มีสิทธิได้รับโอกาสนั้น (เว้นแต่มีเงิน)คนใน ๓ สถาบันอำนาจเท่านั้น….ที่จะทำให้ “สังคมเป็นธรรม” กลายเป็น “สังคมระยำ” เช่นนั้นได้!มันก็แปลก คนกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนที่เรียกเรียก “เจ้าหน้าที่รัฐ” กลับมีอำนาจ “เหนือชีวิตประชาชน”นายจ้าง คือคนเสียภาษีแท้ๆ กลับถูก “ส้นตีนอำนาจ” ยัดปากตลอดกาลแค่จะคุกเข่า ยกสองมืออ่อนล้า วอนเมตตาและความเป็นธรรม ก็ยังถูกตราหน้า “พวกทำให้บ้านเมืองเสียโอกาส”โอกาสโกงบ้าน-กินเมืองละก็ใช่แต่ไมใช่โอกาสคืนความชอบธรรมให้กับบ้านเมือง!สังคมชาติที่ผู้คน “ตัวใคร-ตัวมัน” เห็นประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ประโยชน์กู แล้วต่างทอดธุระและชาวบ้านก็เอาแต่ “ชะแง้รอแจก”ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ สยบยอมโจร ใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่เป็นกุญแจไข เปิดทางให้มัน “ปล้นบ้าน-ชำเราเมือง” จนย่ามใจ กร่างใหญ่คับประเทศผมก็ได้แต่ทอดถอนใจ ทำได้เพียง “รักบ้าน-รักเมือง” ด้วยปากไปวันๆเมื่อสัปดาห์ก่อน เห็นคนที่ไม่เอาแต่นั่งทอดถอนใจอย่างผม เขาเห็นการประทำย่ำยีบ้านเมืองจากไอ้ตัวกาลีเมืองแล้ว พวกเขาร้อนใจนัดกันไปคุยตามประสาคนห่วงบ้าน-ห่วงเมือง ผมอ่านข่าว ก็มีท่านเหล่านี้แก้วสรร อติโพธิ, ดร.เจิม ศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอมจตุพร พรหมพันธุ์, ทนายนกเขา, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม, พิชิต ไชยมงคล,สาวิทย์ แก้วหวาน, ประสาร มฤคพิทักษ์, ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว), แซมดิน เลิศบุศย์สมชาย แสวงการ, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ชาญชัย อิสระเสนารักษ์, ปรีดา เตียสุวรรณ์ และฯลฯหลายท่าน รู้จักมักคุ้น หลายท่านได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยพบสรุป ท่านเหล่านั้น มีที่มาเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดและทำเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างแต่ที่สุดแล้ว หนีหลักธรรมชาติไม่พ้นธรรมะ คือธรรมชาติ สิ่งจัดสรรมนุษย์คือธรรมชาติ รวงข้าว เมื่อแก่ ย่อมค้อมรวงบัว เกิดจากโคลนตม เมื่อพ้นน้ำ ย่อมปลดเปลื้องจากโคลนตม พิสุทธิ์แทนใจ บูชาธรรมคณะบุคคลเหล่านั้น ก็ประมาณนี้ …..ในความต่างที่มา ที่คิด ที่ทำ ในความเป็นบัณฑิตแห่งธาตุคน ที่สุดแล้ว คนธาตุบัณฑิตย่อมไหลรวมในหมู่บัณฑิตด้วยกันจะเรียกเขาเหล่านั้นว่าอะไรดีล่ะ?เพราะมีทั้ง พันธมิตรฯ ทั้ง กปปส. ทั้งกลุ่มหลอมรวม ทั้งเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ทั้งกลุ่มสันติอโศกเรียกคณะ “ปชพช.” ดีมั้ย ….เป็นอักษรรวมความเพื่อให้ “เรียกง่าย-จำง่าย”ปชพช. “คณะปัญญาชนพิทักษ์ชาติ” ดูเหมาะสมกับสิ่งที่พวกเขาทำเมื่อวาน (๑๘ ธค.๖๗)คือ คณะปัญญาชนพากันเดินไปที่ “สำนักงานคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ “​(ป.ป.ช.​)ไม่ได้ไปก่อกวน ก้าวร้าว เยี่ยงอันธพาลเมือง แต่ไปเยี่ยงบัณฑิต กระทำเยี่ยงบัณฑิตเพื่อยื่นหนังสือให้ป.ป.ช.ตระหนักคิด กรณี ป.ป.ช.​ รับพิจารณาข้อกล่าวหา….“นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์” อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่เรือนจำ แพทย์รพ.ราชทัณฑ์ และรพ.ตำรวจ รวม ๑๒ คนส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ​ให้ป.ป.ช.เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ ในหนังสือ มี ๔ ข้อ๑.คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่า มีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าวและยังไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาตให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจซึ่งพิธีการทั้งหมดนี้ ขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวงทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไร ก็ไม่ได้รับจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตช่วยเหลือกันโดยมิชอบส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน๒.คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้าง นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่ง เดินขึ้นบันได อาบน้ำ แต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้แต่ปรากฏว่า หลังการพักโทษ นักโทษกลับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่าง จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าการพักโทษมาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ดังนั้น จึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย๓.เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายไทยพยายามปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชันเป็นพิเศษแต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบเกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่งครัดปล่อยให้กระบวนการทุจริต ตัดทอนโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสานเป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา๔.เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ ๒ ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และหัวหน้าขบวนการ ก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้ แทนที่จะยอมรับโทษกลับหลีกเลี่ยง แสดงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุดยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วยถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ“นี่คือหายนะที่เห็นได้ชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝาก ป.ป.ช.ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง”ขณะเดียวกัน ​”คณะปชพช.” ยังบอกว่า….จะยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ทั้ง ​”พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง” ​รมว.ยุติธรรม และ “​นางพงษ์สวาท นีละโยธิน” ปลัดฯ ยุติธรรม เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​อาจารย์ “แก้วสรร อติโพธิ” อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์และรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อหน้าเลขาฯ ป.ป.ช.ว่า“มั่นใจในการทำงาน ป.ป.ช.และคิดว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูก-ที่ควร​ จึงขอให้เดินหน้าเต็มที่​และคิดว่าจะใช้เวลาไม่นานพร้อมขอให้แพทย์ที่รักษานายทักษิณออกมาพูด โดยขอให้เอาตัวการจริงๆ มาลงโทษ​หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับนายทักษิณ คำตอบในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังและหากไม่มีการขังตามหมายต้องออกหมายใหม่ กลับไปเข้าคุกเป็นอำนาจ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง” ที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กำลังจะไปร้อง ซึ่งศาลสามารถเรียกสำนวนจากป.ป.ช.ไปดูและวินิจฉัยได้“จุดสำคัญ ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยของป.ป.ช.เพราะคดีนี้ เป็นคดีเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นายทักษิณ​ เตรียมตัวได้​”อาจารย์แก้วสรร ยังสัมโมทนียกถาว่า “หากป.ป.ช.ทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง จะยอมกราบเลย”“จตุพร พรหมพันธุ์” อดีตแกนนำนปช.ผู้พ้นขอบเหวคืนสู่ฟากฝั่ง กล่าวว่า“มาให้กำลังใจป.ป.ช.ทั้งมีความไม่สบายใจในอนาคต เพราะคดีของนายทักษิณ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้มูลเองวันนี้มาด้วยความหวังในการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.อย่างตรงไปตรงมา ในจำนวนผู้ที่ถูกตั้งองค์คณะไต่สวน ๑๒ คนนี้ ใครไม่ผิด คือไม่ผิด ไม่ได้ต้องการมาทำให้ “ดำเป็นขาว- ขาวเป็นดำ” แต่ต้องการมาให้ “ถูกเป็นถูก-ผิดเป็นผิด, ดีเป็นดี- ชั่วเป็นชั่ว”ยอมรับว่าเรื่องการไต่สวน วันนี้ “ยังไม่ไว้ใจป.ป.ช.” จนกว่าจะได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้ว และได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตถึงวันนั้น ผมและคณะจะมาขอบคุณอีกครั้งขณะนี้ เป็นที่ประจักษ์ นายทักษิณไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช.ไม่ต้องการเห็นขนมจีน….”ครับ….ผมก็เกรงว่า คุณจตุพรจะเห็นแต่ “ขนมจีน” เท่านั้นแหละ ตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา ๕๑ ให้กรอบเวลาไว้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนเองทั้งคณะ ต้องทำให้เสร็จภายใน ๒ ปี ถ้าไม่เสร็จ ขยายเวลาได้อีก ๑ ปีสรุป “รอไปอีก ๓ ปี” กว่าจะเสร็จขั้นไต่สวน!ตอนนี้ ป.ป.ช.ครบวาระ ๓ ท่าน อยู่ช่วงกรรมการสรรหากำลังพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัคร กว่าจะได้ครบ ก็คงกลางปีหน้าโน่นและถ้าถึงขั้นชี้มูลความผิด ต้องเรียก ๑๒ ผู้ถูกกล่าวหามาให้ปากคำ กี่ปีถึงครบ ๑๒ ปากล่ะ ?เอาว่า “๕ ปี” เร็วสุด!ที่อาจารย์แก้วสรรบอก “คิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน” นั้นรออีก ๕-๘ ปี นานมั้ย?เห็นที คณะปชพช.คงต้องทำหน้าที่ “ไม้แยงก้น” ป.ป.ช.เป็นรายการ “ทวงถามรายเดือน” แล้วหละไม่งั้น “กราบป.ป.ช.” ของอาจารย์แก้วสรรสู้ “กราบแผ่นดิน” ของ “พระเจ้ามูลเมือง” ผู้กลับชาติมาเกิดไม่ได้หรอก!เปลว สีเงิน๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    สัประยุทธ์ “ธรรมะ-อธรรม” #เปลวสีเงินplewเปลว สีเงิน“กฎหมาย” มีไว้สร้างสมดุลทาง “สังคมเป็นธรรม”แต่ทุกวันนี้คนใน “๓ สถาบันอำนาจ” คือ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ “บางคน”ใช้กฎหมายสร้าง “สังคมอยุติธรรม” ทำลายสมดุลความเป็นคนที่เท่าเทียมทางกฎหมาย จนเกิดคำว่า “ป่วยทิพย์-คุกทิพย์”บ่งบอกถึง “เลือกปฎิบัติ-สองมาตรฐาน” ซึ่งชาวบ้านทั่วไป ไม่มีสิทธิได้รับโอกาสนั้น (เว้นแต่มีเงิน)คนใน ๓ สถาบันอำนาจเท่านั้น….ที่จะทำให้ “สังคมเป็นธรรม” กลายเป็น “สังคมระยำ” เช่นนั้นได้!มันก็แปลก คนกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนที่เรียกเรียก “เจ้าหน้าที่รัฐ” กลับมีอำนาจ “เหนือชีวิตประชาชน”นายจ้าง คือคนเสียภาษีแท้ๆ กลับถูก “ส้นตีนอำนาจ” ยัดปากตลอดกาลแค่จะคุกเข่า ยกสองมืออ่อนล้า วอนเมตตาและความเป็นธรรม ก็ยังถูกตราหน้า “พวกทำให้บ้านเมืองเสียโอกาส”โอกาสโกงบ้าน-กินเมืองละก็ใช่แต่ไมใช่โอกาสคืนความชอบธรรมให้กับบ้านเมือง!สังคมชาติที่ผู้คน “ตัวใคร-ตัวมัน” เห็นประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ประโยชน์กู แล้วต่างทอดธุระและชาวบ้านก็เอาแต่ “ชะแง้รอแจก”ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ สยบยอมโจร ใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่เป็นกุญแจไข เปิดทางให้มัน “ปล้นบ้าน-ชำเราเมือง” จนย่ามใจ กร่างใหญ่คับประเทศผมก็ได้แต่ทอดถอนใจ ทำได้เพียง “รักบ้าน-รักเมือง” ด้วยปากไปวันๆเมื่อสัปดาห์ก่อน เห็นคนที่ไม่เอาแต่นั่งทอดถอนใจอย่างผม เขาเห็นการประทำย่ำยีบ้านเมืองจากไอ้ตัวกาลีเมืองแล้ว พวกเขาร้อนใจนัดกันไปคุยตามประสาคนห่วงบ้าน-ห่วงเมือง ผมอ่านข่าว ก็มีท่านเหล่านี้แก้วสรร อติโพธิ, ดร.เจิม ศักดิ์ ปิ่นทอง, ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ, ขวัญสรวง อติโพธิ, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอมจตุพร พรหมพันธุ์, ทนายนกเขา, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์,สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม, พิชิต ไชยมงคล,สาวิทย์ แก้วหวาน, ประสาร มฤคพิทักษ์, ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว), แซมดิน เลิศบุศย์สมชาย แสวงการ, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม, นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ชาญชัย อิสระเสนารักษ์, ปรีดา เตียสุวรรณ์ และฯลฯหลายท่าน รู้จักมักคุ้น หลายท่านได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยพบสรุป ท่านเหล่านั้น มีที่มาเดียวกันบ้าง ต่างกันบ้าง คิดและทำเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้างแต่ที่สุดแล้ว หนีหลักธรรมชาติไม่พ้นธรรมะ คือธรรมชาติ สิ่งจัดสรรมนุษย์คือธรรมชาติ รวงข้าว เมื่อแก่ ย่อมค้อมรวงบัว เกิดจากโคลนตม เมื่อพ้นน้ำ ย่อมปลดเปลื้องจากโคลนตม พิสุทธิ์แทนใจ บูชาธรรมคณะบุคคลเหล่านั้น ก็ประมาณนี้ …..ในความต่างที่มา ที่คิด ที่ทำ ในความเป็นบัณฑิตแห่งธาตุคน ที่สุดแล้ว คนธาตุบัณฑิตย่อมไหลรวมในหมู่บัณฑิตด้วยกันจะเรียกเขาเหล่านั้นว่าอะไรดีล่ะ?เพราะมีทั้ง พันธมิตรฯ ทั้ง กปปส. ทั้งกลุ่มหลอมรวม ทั้งเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ทั้งกลุ่มสันติอโศกเรียกคณะ “ปชพช.” ดีมั้ย ….เป็นอักษรรวมความเพื่อให้ “เรียกง่าย-จำง่าย”ปชพช. “คณะปัญญาชนพิทักษ์ชาติ” ดูเหมาะสมกับสิ่งที่พวกเขาทำเมื่อวาน (๑๘ ธค.๖๗)คือ คณะปัญญาชนพากันเดินไปที่ “สำนักงานคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ “​(ป.ป.ช.​)ไม่ได้ไปก่อกวน ก้าวร้าว เยี่ยงอันธพาลเมือง แต่ไปเยี่ยงบัณฑิต กระทำเยี่ยงบัณฑิตเพื่อยื่นหนังสือให้ป.ป.ช.ตระหนักคิด กรณี ป.ป.ช.​ รับพิจารณาข้อกล่าวหา….“นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์” อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รวมถึงเจ้าหน้าที่เรือนจำ แพทย์รพ.ราชทัณฑ์ และรพ.ตำรวจ รวม ๑๒ คนส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ​ให้ป.ป.ช.เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ ในหนังสือ มี ๔ ข้อ๑.คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่า มีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าวและยังไม่ปรากฏหลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาตให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจซึ่งพิธีการทั้งหมดนี้ ขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวงทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไร ก็ไม่ได้รับจึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่า พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายทุจริตช่วยเหลือกันโดยมิชอบส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน๒.คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้าง นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่ง เดินขึ้นบันได อาบน้ำ แต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้แต่ปรากฏว่า หลังการพักโทษ นักโทษกลับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่าง จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าการพักโทษมาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ดังนั้น จึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย๓.เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายไทยพยายามปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชันเป็นพิเศษแต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบเกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่งครัดปล่อยให้กระบวนการทุจริต ตัดทอนโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสานเป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา๔.เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ ๒ ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และหัวหน้าขบวนการ ก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้ แทนที่จะยอมรับโทษกลับหลีกเลี่ยง แสดงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุดยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วยถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ“นี่คือหายนะที่เห็นได้ชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝาก ป.ป.ช.ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง”ขณะเดียวกัน ​”คณะปชพช.” ยังบอกว่า….จะยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ทั้ง ​”พ.ต.อ.ทวี​ สอดส่อง” ​รมว.ยุติธรรม และ “​นางพงษ์สวาท นีละโยธิน” ปลัดฯ ยุติธรรม เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​อาจารย์ “แก้วสรร อติโพธิ” อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์และรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวต่อหน้าเลขาฯ ป.ป.ช.ว่า“มั่นใจในการทำงาน ป.ป.ช.และคิดว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูก-ที่ควร​ จึงขอให้เดินหน้าเต็มที่​และคิดว่าจะใช้เวลาไม่นานพร้อมขอให้แพทย์ที่รักษานายทักษิณออกมาพูด โดยขอให้เอาตัวการจริงๆ มาลงโทษ​หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับนายทักษิณ คำตอบในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังและหากไม่มีการขังตามหมายต้องออกหมายใหม่ กลับไปเข้าคุกเป็นอำนาจ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง” ที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ กำลังจะไปร้อง ซึ่งศาลสามารถเรียกสำนวนจากป.ป.ช.ไปดูและวินิจฉัยได้“จุดสำคัญ ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยของป.ป.ช.เพราะคดีนี้ เป็นคดีเจ้าหน้าที่ ดังนั้น นายทักษิณ​ เตรียมตัวได้​”อาจารย์แก้วสรร ยังสัมโมทนียกถาว่า “หากป.ป.ช.ทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง จะยอมกราบเลย”“จตุพร พรหมพันธุ์” อดีตแกนนำนปช.ผู้พ้นขอบเหวคืนสู่ฟากฝั่ง กล่าวว่า“มาให้กำลังใจป.ป.ช.ทั้งมีความไม่สบายใจในอนาคต เพราะคดีของนายทักษิณ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้มูลเองวันนี้มาด้วยความหวังในการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.อย่างตรงไปตรงมา ในจำนวนผู้ที่ถูกตั้งองค์คณะไต่สวน ๑๒ คนนี้ ใครไม่ผิด คือไม่ผิด ไม่ได้ต้องการมาทำให้ “ดำเป็นขาว- ขาวเป็นดำ” แต่ต้องการมาให้ “ถูกเป็นถูก-ผิดเป็นผิด, ดีเป็นดี- ชั่วเป็นชั่ว”ยอมรับว่าเรื่องการไต่สวน วันนี้ “ยังไม่ไว้ใจป.ป.ช.” จนกว่าจะได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้ว และได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตถึงวันนั้น ผมและคณะจะมาขอบคุณอีกครั้งขณะนี้ เป็นที่ประจักษ์ นายทักษิณไม่ได้ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช.ไม่ต้องการเห็นขนมจีน….”ครับ….ผมก็เกรงว่า คุณจตุพรจะเห็นแต่ “ขนมจีน” เท่านั้นแหละ ตามกฎหมายป.ป.ช.มาตรา ๕๑ ให้กรอบเวลาไว้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนเองทั้งคณะ ต้องทำให้เสร็จภายใน ๒ ปี ถ้าไม่เสร็จ ขยายเวลาได้อีก ๑ ปีสรุป “รอไปอีก ๓ ปี” กว่าจะเสร็จขั้นไต่สวน!ตอนนี้ ป.ป.ช.ครบวาระ ๓ ท่าน อยู่ช่วงกรรมการสรรหากำลังพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัคร กว่าจะได้ครบ ก็คงกลางปีหน้าโน่นและถ้าถึงขั้นชี้มูลความผิด ต้องเรียก ๑๒ ผู้ถูกกล่าวหามาให้ปากคำ กี่ปีถึงครบ ๑๒ ปากล่ะ ?เอาว่า “๕ ปี” เร็วสุด!ที่อาจารย์แก้วสรรบอก “คิดว่าจะใช้เวลาไม่นาน” นั้นรออีก ๕-๘ ปี นานมั้ย?เห็นที คณะปชพช.คงต้องทำหน้าที่ “ไม้แยงก้น” ป.ป.ช.เป็นรายการ “ทวงถามรายเดือน” แล้วหละไม่งั้น “กราบป.ป.ช.” ของอาจารย์แก้วสรรสู้ “กราบแผ่นดิน” ของ “พระเจ้ามูลเมือง” ผู้กลับชาติมาเกิดไม่ได้หรอก!เปลว สีเงิน๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    Love
    Like
    Yay
    4
    0 Comments 1 Shares 1785 Views 0 Reviews
  • วันที่ 18 ธ.ค. 67 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สนามบินน้ำ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตแกนนำเสื้อเหลือง และอดีตแกนนำเสื้อแดงประกอบด้วย นายแก้วสรร อติโพธิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายประพันธ์ คูณมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายแซมดิน เลิศบุศย์ นายเสน่ห์ หงษ์ทอง น.ส.นีรนุช จิตต์สม นายมานพ เกื้อรัตน์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา นายอานนท์ กลิ่นแก้ว นายใจเพชร กล้าจน นายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ คอนเทนต์แนะนำพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางมาทำกิจกรรม พร้อมอ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือให้กำลังใจป.ป.ช. ภายหลังมีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ปมนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ารับการรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้ และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ โดยมีนายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ โดยนายพิชิต​ ได้อ่านแถลงการณ์ ดังนี้​ ข้อ​ 1 คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่ามีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าว และยังไม่ปรากฏ หลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาต ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพิธีการทั้งหมดขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวง ทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไรก็ไม่ได้รับ จึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าขทุจริตช่วยเหลือกัน โดยมิชอบ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน ข้อ​ 2 คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้างว่า​ นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่งเดินขึ้นบันไดอาบน้ำแต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้ แต่ปรากฏว่าหลังการพักโทษ นักโทษกับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่างจึงไม่อาจเชื่อได้ว่า การพักโทษ มาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ ดังนั้นจึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย ข้อ 3 เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายไทยพยายาม ปราบปรามคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นพิเศษ แต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบ เกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่ง ปล่อยให้กระบวนการทุจริตตัดทอน โทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสาน เป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา ข้อ 4 เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​ สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ 2 ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และ หัวหน้ากระบวนการก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้แทนที่จะยอมรับโทษ กับหลีกเลี่ยงแสงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุด ยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วย ถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ พร้อมกับย้ำว่านี่คือหายนะ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝากปปช ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง​ขณะเดียวกัน​ ยังจะมีการยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ ทั้ง​พันตำรวจเอกทวี​ สอดส่อง​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม และ​ นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม​ เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​ จากนั้นนายแก้วสรร กล่าวว่า ตนก็รู้สึกดีใจที่ ป.ป.ช.มีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้นก็จะหาว่าพวกเรามาบีบบังคับแล้วท่านก็คล้อยตามพวกเรา โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น ในฐานะนักกฎหมาย และเคยตรวจสอบยึดทรัพย์นายทักษิณมาแล้ว ก็อยากจะบอกว่างานนี้ทั้งหลักฐานและข้อกฎหมายมันชัดเจนเห็นตรงกันว่ามีมูล และ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่มาแล้ว ในฐานะที่ตนเคยตรวจสอบมาพออ่านเกมออก งานนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจมีหลักฐานว่าป่วยจริงก็แค่เอามาให้ ป.ป.ช. ซึ่งก็จะไม่มามาถึงวันนี้แน่นอน แต่การที่กลบหลักฐาน ไม่ยอมให้หลักฐานอะไรเลย รวมถึง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เสรีพิศุทธ์ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย บอกว่าเห็นนายทักษิณนั่งยิ้มกินข้าวเหนียวมะม่วง แถมออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ใส่ปลอกคอแค่พักเดียว ก็เดินไปทั่วประเทศ เพียงเท่านี้ก็มีมูลชัดเจนแล้วว่าคุณไม่ยอมให้ความร่วมมือ นายแก้วสรร กล่าวว่า ดังนั้นวันนี้ตนมั่นใจใน ป.ป.ช. ว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูกที่ควร งานนี้ไม่ใช่งานการเมือง แต่เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สร้างขึ้นมา วันนี้ ป.ป.ช.กำลังเจอกับกระบวนการทุจริตแห่งชาติ เพราะฉะนั้นกำลังใจจึงสำคัญ ตนและประชาชนขอให้ท่านเดินหน้าเต็มที่ ใครไม่ผิดก็ปล่อยเขาไป แต่ใครที่เป็นตัวการจริงๆ และให้ความเห็นว่าหากนายทักษิณอยู่เรือนจำต้องต้องตายแน่ ถามว่ามีหรือไม่ และหมอคนนั้นคือใคร ขอให้นำหลักฐานมา เพราะฉะนั้นนับแต่นี้ต่อไปเมื่อไต่สวนคดี สิ่งที่เราจะเห็นคืออำนาจเด็ดขาด หากไม่ให้เอกสาร ไม่ให้ปากคำจะต้องติดคุก แค่ถามว่าป่วยจริงไหม ใครเกี่ยวข้อง ใครให้ความเห็นเท่านั้น เรื่องจะไม่ช้าแน่นอน เมื่อตรวจสอบเพียงพอแล้วต้องสรุปข้อกล่าวหาส่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ใครเห็นว่าไม่ทุจริตก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา แต่ใครที่นั่งเงียบๆ แล้วหลักฐานไปถึง ขอให้เรียกเข้ามาตั้งข้อหาเพิ่ม จากนั้นแจ้งข้อหาให้มีการต่อสู้ เชื่อว่างานนี้จะไม่นาน นายแก้วสรร กล่าวว่า ส่วนที่หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรกับนายทักษิณ ในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังแล้วไม่มีการขังตามหมาย ก็ต้องออกหมายใหม่ เพื่อให้กลับไปเข้าคุก เป็นอำนาจ ของศาลคดีอาญาทางการเมือง ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอผลคดีนี้ ที่เป็นคดีของเจ้าหน้าที่ว่าปล่อยตัวให้ไปรักษาถูกต้องหรือไม่ และมีใครทุจริตหรือไม่ ส่วนการขังที่ไม่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะมีคนทุจริตกี่คนหรือทุจริตหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยว ดังนั้นนายทักษิณเตรียมตัวได้ ด้านนายจตุพร กล่าวว่า วันนี้มาให้กำลังใจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบ เพราะนายทักษิณไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช. ส่วนเรื่องเวชระเบียน หากโรงพยาบาลตำรวจไม่ให้ ป.ป.ช.ต้องดำเนินคดีตั้งแต่ ผบ.ตร. โรงพยาบาลตำรวจ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้การทำการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ทำให้แผ่นดินนี้สูงขึ้นเยอะ ณ วันนี้เรามาด้วยความหวัง และให้กำลังใจ ป.ป.ช.ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เจ้าหน้าที่ในจำนวน 12 คนนี้ ถ้าใครไม่ผิดก็คือไม่ผิด แต่ถ้าใครผิดก็ว่าตามผิด วันนี้ไม่ได้ต้องการมาทำให้ดำเป็นขาว หรือขาวเป็นดำ แต่ต้องการมาทำให้ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด ดีเป็นดี ชั่วเป็นชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะมีความหวังได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตนฝากไปถึงเลขา ป.ป.ช.ตนวาดหวังว่า ป.ป.ช.จะทำหน้าที่ แต่ก็ยังไม่ไว้ใจการไต่สวน จนกว่าจะมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยแล้วว่าได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ส่วน นพ.วรงค์ กล่าวว่า การพักโทษกรณีพิเศษในช่วง 6 เดือนหลัง ถือว่านักโทษอายุเกิน 70 ปีต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และนักโทษคนนี้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสังคม หรือโอกาสที่จะทำผิดซ้ำนั้นมีน้อยมาก ถามว่าแล้ววันนี้เป็นอย่างไร ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสังคม สังคมจะกลียุคและฆ่ากันตาย ดังนั้น ป.ป.ช.ต้องรีบดำเนินการ และยืนยันว่าการพักโทษกรณีนี้ไม่ได้ไปใช้บั้นปลายชีวิตกับครอบครัว ทั้งนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่อิสระอย่างแท้จริง ต้องตรวจสอบและถ่วงดุล เพราะสภาฯทำหน้าที่ไม่ได้ จึงต้องมาอาศัย ป.ป.ช. เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน เพื่อให้ประเทศอยู่ได้และประชาธิปไตยอยู่รอด ถ้า ป.ป.ช.ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ และ ป.ป.ช.ก็จะไม่มีอีกต่อไป ขณะที่เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจในวันนี้ ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งองค์คณะได้ตั้งไต่สวนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ในการดำเนินการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มีมติค่อนข้างชัดเจนว่า หากไต่สวนพบบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ก็ให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปด้วย ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าเราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามความคาดหวังของประชาชน และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าในส่วนของ ป.ป.ช. เราทำหน้าที่ไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานตามพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นในบางเรื่องอาจจะไม่ตรงตามใจที่ประชาชนรับทราบข้อมูลจากสื่อโซเชียลต่างๆ เพราะการพิจารณาต้องดูพยานหลักฐานเป็นหลัก และพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเป็นเสาหลักในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองต่อไป
    วันที่ 18 ธ.ค. 67 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สนามบินน้ำ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อดีตแกนนำเสื้อเหลือง และอดีตแกนนำเสื้อแดงประกอบด้วย นายแก้วสรร อติโพธิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายคมสัน โพธิ์คง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ นายประพันธ์ คูณมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายแซมดิน เลิศบุศย์ นายเสน่ห์ หงษ์ทอง น.ส.นีรนุช จิตต์สม นายมานพ เกื้อรัตน์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายนิติธร ล้ำเหลือ หรือ ทนายนกเขา นายอานนท์ กลิ่นแก้ว นายใจเพชร กล้าจน นายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ คอนเทนต์แนะนำพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่ง เดินทางมาทำกิจกรรม พร้อมอ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือให้กำลังใจป.ป.ช. ภายหลังมีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ปมนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ารับการรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เร่งรัดพิจารณาเรื่องนี้ และดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลโดยเร็ว​ โดยมีนายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นตัวแทนรับหนังสือ โดยนายพิชิต​ ได้อ่านแถลงการณ์ ดังนี้​ ข้อ​ 1 คดีส่งตัวไปรักษานอกเรือนจำพบว่ามีพยานเป็นบุคคลชัดเจน ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่าไม่มีอาการเจ็บป่วย อีกทั้งยังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ควบคุม หรือประจำอยู่ห้องพิเศษดังกล่าว และยังไม่ปรากฏ หลักฐานการตรวจ หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่อนุญาต ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพิธีการทั้งหมดขัดต่อขั้นตอนกฎกระทรวง ทั้งสิ้น และไม่ว่าป.ป.ช.จะขอความร่วมมือไปเท่าไรก็ไม่ได้รับ จึงเป็นหลักฐานที่เพียงพอว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเข้าขทุจริตช่วยเหลือกัน โดยมิชอบ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช.จึงต้องเร่งไต่สวน ข้อ​ 2 คดีให้อยู่บ้านพักโทษ โดยมติการให้พักโทษ โดยอ้างว่า​ นักโทษมีสภาพร่างกายที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งการนั่งเดินขึ้นบันไดอาบน้ำแต่งตัวรับประทานอาหาร จึงจำเป็นต้องพักโทษให้ แต่ปรากฏว่าหลังการพักโทษ นักโทษกับแข็งแรงขึ้นมาโดยพลัน เดินทางไปทั่วประเทศ ขึ้นปราศรัย ร่วมงานเลี้ยง ใช้ชีวิตปกติได้ทุกอย่างจึงไม่อาจเชื่อได้ว่า การพักโทษ มาจากการประเมินสภาพร่างกายโดยสุจริตและถูกต้อง​ ดังนั้นจึงอยากให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคดีในชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ด้วย ข้อ 3 เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายไทยพยายาม ปราบปรามคดีทุจริตคอรัปชั่นเป็นพิเศษ แต่ปรากฏว่า หลังดำเนินคดีไปแล้วไม่มีกรอบ เกณฑ์​การตรวจสอบที่เคร่ง ปล่อยให้กระบวนการทุจริตตัดทอน โทษทัณฑ์ตามคำพิพากษา กำเริบเสิบสาน เป็นผลให้ความยุติธรรมเสื่อมสลาย จนประชาชนสิ้นศรัทธา ข้อ 4 เข้าข่ายเป็นกระบวนการทุจริตระดับชาติ ใช้เงินสร้างอำนาจ แล้วใช้อำนาจมา​ สร้างเงิน​ สร้างพวก​ สร้างสื่อ สร้างผลงานทุจริตไว้ 2 ทศวรรษ​ จนเสียหายไปกว่าแสนล้าน และ หัวหน้ากระบวนการก็ยังยอมรับคำขออภัยโทษ ว่าได้ทำผิดไปแล้วจริงๆ แต่มาบัดนี้แทนที่จะยอมรับโทษ กับหลีกเลี่ยงแสงตน เข้าครอบงำพรรค​ ผลักดันนโยบายทุจริต สร้างประชานิยมไม่หยุดยั้งและล่าสุด ยังประกาศจะพาน้องสาวที่เป็นจำเลยหนีคดีทุจริตรับจำนำข้าวกลับมาด้วย ถือเป็นพฤติการณ์ทุจริตฉ้อฉลรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมหยุดบทบาทการเมือง และพาประเทศไปในทางต่ำ พร้อมกับย้ำว่านี่คือหายนะ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และอนาคตที่มืดมิดเช่นนี้ จึงฝากปปช ตระหนักและทุ่มเท รับผิดชอบ กู้อนาคตบ้านเมืองอย่างเต็มสติกำลัง​ขณะเดียวกัน​ ยังจะมีการยื่นให้สอบบุคคลเพิ่มเติม​ ทั้ง​พันตำรวจเอกทวี​ สอดส่อง​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม และ​ นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม​ เพราะมองว่าอยู่ในกระบวนการที่ช่วยนายทักษิณ​ จากนั้นนายแก้วสรร กล่าวว่า ตนก็รู้สึกดีใจที่ ป.ป.ช.มีมติสั่งสอบ 12 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจดังกล่าว เพราะไม่เช่นนั้นก็จะหาว่าพวกเรามาบีบบังคับแล้วท่านก็คล้อยตามพวกเรา โดยไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น ในฐานะนักกฎหมาย และเคยตรวจสอบยึดทรัพย์นายทักษิณมาแล้ว ก็อยากจะบอกว่างานนี้ทั้งหลักฐานและข้อกฎหมายมันชัดเจนเห็นตรงกันว่ามีมูล และ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่มาแล้ว ในฐานะที่ตนเคยตรวจสอบมาพออ่านเกมออก งานนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจมีหลักฐานว่าป่วยจริงก็แค่เอามาให้ ป.ป.ช. ซึ่งก็จะไม่มามาถึงวันนี้แน่นอน แต่การที่กลบหลักฐาน ไม่ยอมให้หลักฐานอะไรเลย รวมถึง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เสรีพิศุทธ์ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย บอกว่าเห็นนายทักษิณนั่งยิ้มกินข้าวเหนียวมะม่วง แถมออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ใส่ปลอกคอแค่พักเดียว ก็เดินไปทั่วประเทศ เพียงเท่านี้ก็มีมูลชัดเจนแล้วว่าคุณไม่ยอมให้ความร่วมมือ นายแก้วสรร กล่าวว่า ดังนั้นวันนี้ตนมั่นใจใน ป.ป.ช. ว่ากฎหมายกำลังเดินไปตามทางที่ถูกที่ควร งานนี้ไม่ใช่งานการเมือง แต่เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สร้างขึ้นมา วันนี้ ป.ป.ช.กำลังเจอกับกระบวนการทุจริตแห่งชาติ เพราะฉะนั้นกำลังใจจึงสำคัญ ตนและประชาชนขอให้ท่านเดินหน้าเต็มที่ ใครไม่ผิดก็ปล่อยเขาไป แต่ใครที่เป็นตัวการจริงๆ และให้ความเห็นว่าหากนายทักษิณอยู่เรือนจำต้องต้องตายแน่ ถามว่ามีหรือไม่ และหมอคนนั้นคือใคร ขอให้นำหลักฐานมา เพราะฉะนั้นนับแต่นี้ต่อไปเมื่อไต่สวนคดี สิ่งที่เราจะเห็นคืออำนาจเด็ดขาด หากไม่ให้เอกสาร ไม่ให้ปากคำจะต้องติดคุก แค่ถามว่าป่วยจริงไหม ใครเกี่ยวข้อง ใครให้ความเห็นเท่านั้น เรื่องจะไม่ช้าแน่นอน เมื่อตรวจสอบเพียงพอแล้วต้องสรุปข้อกล่าวหาส่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ใครเห็นว่าไม่ทุจริตก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา แต่ใครที่นั่งเงียบๆ แล้วหลักฐานไปถึง ขอให้เรียกเข้ามาตั้งข้อหาเพิ่ม จากนั้นแจ้งข้อหาให้มีการต่อสู้ เชื่อว่างานนี้จะไม่นาน นายแก้วสรร กล่าวว่า ส่วนที่หลายคนถามว่าจะเกิดอะไรกับนายทักษิณ ในทางกฎหมาย ถ้าหมายศาลให้ขังแล้วไม่มีการขังตามหมาย ก็ต้องออกหมายใหม่ เพื่อให้กลับไปเข้าคุก เป็นอำนาจ ของศาลคดีอาญาทางการเมือง ศาลสั่งกลับเข้าคุกได้ ถ้าหลักฐานชัดเจน โดยไม่ต้องรอผลคดีนี้ ที่เป็นคดีของเจ้าหน้าที่ว่าปล่อยตัวให้ไปรักษาถูกต้องหรือไม่ และมีใครทุจริตหรือไม่ ส่วนการขังที่ไม่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะมีคนทุจริตกี่คนหรือทุจริตหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยว ดังนั้นนายทักษิณเตรียมตัวได้ ด้านนายจตุพร กล่าวว่า วันนี้มาให้กำลังใจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบ เพราะนายทักษิณไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว เราต้องการเห็นน้ำยาของ ป.ป.ช. ส่วนเรื่องเวชระเบียน หากโรงพยาบาลตำรวจไม่ให้ ป.ป.ช.ต้องดำเนินคดีตั้งแต่ ผบ.ตร. โรงพยาบาลตำรวจ แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้การทำการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ทำให้แผ่นดินนี้สูงขึ้นเยอะ ณ วันนี้เรามาด้วยความหวัง และให้กำลังใจ ป.ป.ช.ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา เจ้าหน้าที่ในจำนวน 12 คนนี้ ถ้าใครไม่ผิดก็คือไม่ผิด แต่ถ้าใครผิดก็ว่าตามผิด วันนี้ไม่ได้ต้องการมาทำให้ดำเป็นขาว หรือขาวเป็นดำ แต่ต้องการมาทำให้ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด ดีเป็นดี ชั่วเป็นชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะมีความหวังได้อย่างไร เพราะฉะนั้นตนฝากไปถึงเลขา ป.ป.ช.ตนวาดหวังว่า ป.ป.ช.จะทำหน้าที่ แต่ก็ยังไม่ไว้ใจการไต่สวน จนกว่าจะมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยแล้วว่าได้ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ส่วน นพ.วรงค์ กล่าวว่า การพักโทษกรณีพิเศษในช่วง 6 เดือนหลัง ถือว่านักโทษอายุเกิน 70 ปีต้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และนักโทษคนนี้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสังคม หรือโอกาสที่จะทำผิดซ้ำนั้นมีน้อยมาก ถามว่าแล้ววันนี้เป็นอย่างไร ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อสังคม สังคมจะกลียุคและฆ่ากันตาย ดังนั้น ป.ป.ช.ต้องรีบดำเนินการ และยืนยันว่าการพักโทษกรณีนี้ไม่ได้ไปใช้บั้นปลายชีวิตกับครอบครัว ทั้งนี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่อิสระอย่างแท้จริง ต้องตรวจสอบและถ่วงดุล เพราะสภาฯทำหน้าที่ไม่ได้ จึงต้องมาอาศัย ป.ป.ช. เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน เพื่อให้ประเทศอยู่ได้และประชาธิปไตยอยู่รอด ถ้า ป.ป.ช.ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ และ ป.ป.ช.ก็จะไม่มีอีกต่อไป ขณะที่เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ขอขอบคุณที่มาให้กำลังใจในวันนี้ ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งองค์คณะได้ตั้งไต่สวนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ในการดำเนินการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็มีมติค่อนข้างชัดเจนว่า หากไต่สวนพบบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ก็ให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปด้วย ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าเราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามความคาดหวังของประชาชน และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าในส่วนของ ป.ป.ช. เราทำหน้าที่ไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานตามพยานหลักฐาน และข้อเท็จจริงเป็นหลัก ดังนั้นในบางเรื่องอาจจะไม่ตรงตามใจที่ประชาชนรับทราบข้อมูลจากสื่อโซเชียลต่างๆ เพราะการพิจารณาต้องดูพยานหลักฐานเป็นหลัก และพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเป็นเสาหลักในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองต่อไป
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1302 Views 0 Reviews
  • เปิดชื่อ 12 ข้าราชการ-จนท.รัฐ
    เอื้อ "ทักษิณ" ป่วยทิพย์ที่ชั้น 14
    .
    วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหานายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้น แล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป
    .
    สำหรับ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 12 ราย ที่จะถูกดำเนินไต่สวนกรณีนี้ ประกอบด้วย
    .
    1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
    2. นายสิทธิ สุธีวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
    3. นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
    4. นายนัสที ทองปลาด ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ
    6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ
    7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์
    8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์
    9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์ แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่
    11. นายสัญญา วงค์หินกอง พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
    .
    Cr : MGR Infographics
    .
    .
    #ข้าราชการ #เจ้าหน้าที่รัฐ #เรือนจำพิเศษ #ทักษิณชินวัตร #ป่วยทิพย์ #ชั้น14
    เปิดชื่อ 12 ข้าราชการ-จนท.รัฐ เอื้อ "ทักษิณ" ป่วยทิพย์ที่ชั้น 14 . วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหานายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังรายนายทักษิณ ชินวัตร จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษา ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้น แล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป . สำหรับ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 12 ราย ที่จะถูกดำเนินไต่สวนกรณีนี้ ประกอบด้วย . 1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 2. นายสิทธิ สุธีวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 3. นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 4. นายนัสที ทองปลาด ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์ แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่ 11. นายสัญญา วงค์หินกอง พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร . Cr : MGR Infographics . . #ข้าราชการ #เจ้าหน้าที่รัฐ #เรือนจำพิเศษ #ทักษิณชินวัตร #ป่วยทิพย์ #ชั้น14
    Like
    5
    0 Comments 1 Shares 1225 Views 0 Reviews
  • INFO สำนักข่าวอิศรา “:สรุปมติ ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวน ขรก.-จนท.รัฐ 12 ราย คดีเอื้อ'ทักษิณ' ชั้น 14”.ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ขรก.-เจ้าหน้าที่รัฐ 12 ราย กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกทม. โรงพยาบาลตำรวจ กรณีเอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ ชินวัตร' เข้ารักษาตัวห้องพิเศษชั้น 14 เผยชื่อ 'อธิบดี - รองฯ -ผู้บัญชาการเรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล' โดนหมด สำนักข่าวอิศรา จึงนำข้อมูล มานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟิก ดังนี้.อ่านเพิ่มเติมhttps://www.isranews.org/article/infographic/134270-SSSS.htmlhttps://www.isranews.org/.../isra.../134268-investwooas.html
    INFO สำนักข่าวอิศรา “:สรุปมติ ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวน ขรก.-จนท.รัฐ 12 ราย คดีเอื้อ'ทักษิณ' ชั้น 14”.ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ ขรก.-เจ้าหน้าที่รัฐ 12 ราย กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกทม. โรงพยาบาลตำรวจ กรณีเอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ ชินวัตร' เข้ารักษาตัวห้องพิเศษชั้น 14 เผยชื่อ 'อธิบดี - รองฯ -ผู้บัญชาการเรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล' โดนหมด สำนักข่าวอิศรา จึงนำข้อมูล มานำเสนอผ่านภาพอินโฟกราฟิก ดังนี้.อ่านเพิ่มเติมhttps://www.isranews.org/article/infographic/134270-SSSS.htmlhttps://www.isranews.org/.../isra.../134268-investwooas.html
    Love
    1
    0 Comments 1 Shares 621 Views 0 Reviews
  • ป.ป.ช.รับเรื่องคดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ไม่ติดคุก เปิดชื่อ 12 จนท.กรมคุก-รพ.ตำรวจ ไต่สวนชุดใหญ่

    ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติรับเรื่องกรณีอธิบดีราชทัณฑ์-แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ เอื้อประโยชน์นักโทษชายทักษิณ นอนวีไอพีชั้น 14 ไม่ติดคุกจริง เปิด 12 รายชื่ออธิบดี-รองอธิบดี-ผบ.เรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล โดนไต่สวนชุดใหญ่

    วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังราย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบิดาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ

    โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป

    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้กรรมการ ป.ป.ช. ทุกคนเป็นองค์คณะไต่สวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 ราย กรณีเอื้อประโยชน์ นายทักษิณ เข้าพักรักษาตัวที่ ห้องพิเศษชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ประกอบด้วย 

    1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์   อธิบดีกรมราชทัณฑ์

    2. นายสิทธิ สุธีวงศ์  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์

    3. นายชาญ วชิรเดช  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 

    4. นายนัสที ทองปลาด  ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

    5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ  เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

    6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์  นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

    7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี  นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์

    8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ  แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์

    9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข  ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

    10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์  แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่

    11. นายสัญญา วงค์หินกอง  พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

    12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน  พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 

    ทั้งนี้ การตั้งองค์คณะไต่สวนคดีชั้น 14 ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นการไต่สวนคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย ยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน ถ้าพบว่ามีมูลจึงจะมีการแจ้งข้อกล่าวหา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง จากนั้นจึงจะสรุปสำนวน ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอีกครั้ง เพราะฉะนั้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 12 ราย ตามรายชื่อข้างต้น ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

    สำหรับกรณีนี้ ปรากฏเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ป.ป.ช.ได้ทำการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบที่ชี้ว่า นายทักษิณ ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น มาให้ ป.ป.ช. พิจารณาประกอบในช่วงเดือน ส.ค.2567 ที่ผ่านมาด้วย

    ขณะที่การตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นมาไต่สวนคดีของ ป.ป.ช. เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ที่ระบุว่า ในการไต่สวนเรื่องใดที่เป็นเรื่องสำคัญมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง หรือเป็นกรณีมีการไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเอง หรือจะแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่าสองคนและบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวนก็ได้
    คณะกรรมการไต่สวนตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพนักงานไต่สวนหรือพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือคณะกรรมการไต่สวนในการดำเนินการตามหน้าที่ได้ตามที่เห็นสมควร
    ............
    Sondhi X
    ป.ป.ช.รับเรื่องคดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ไม่ติดคุก เปิดชื่อ 12 จนท.กรมคุก-รพ.ตำรวจ ไต่สวนชุดใหญ่ ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติรับเรื่องกรณีอธิบดีราชทัณฑ์-แพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ เอื้อประโยชน์นักโทษชายทักษิณ นอนวีไอพีชั้น 14 ไม่ติดคุกจริง เปิด 12 รายชื่ออธิบดี-รองอธิบดี-ผบ.เรือนจำ-แพทย์ -พัศดี- พยาบาล โดนไต่สวนชุดใหญ่ วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า วันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรณีส่งตัวผู้ต้องขังราย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และบิดาของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจโดยมิชอบ และให้นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ จนกระทั่งครบ 180 วัน ทั้งที่ไม่เจ็บป่วยจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องถูกคุมขังในเรือนจำ โดยพิจารณารายงานการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ จึงมีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 โดยให้ดำเนินการไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวม 12 คน ทั้งนี้ หากในชั้นไต่สวนพบว่ามีบุคคลอื่น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ดำเนินการไต่สวนกับบุคคลดังกล่าวต่อไป รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้กรรมการ ป.ป.ช. ทุกคนเป็นองค์คณะไต่สวนข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรมราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 12 ราย กรณีเอื้อประโยชน์ นายทักษิณ เข้าพักรักษาตัวที่ ห้องพิเศษชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ประกอบด้วย  1. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์   อธิบดีกรมราชทัณฑ์ 2. นายสิทธิ สุธีวงศ์  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 3. นายชาญ วชิรเดช  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์  4. นายนัสที ทองปลาด  ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 5. พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ  เมื่อครั้งนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 6. พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์  นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ 7. พันตำรวจเอก ชนะ จงโชคดี  นายแพทย์ (สบ 5) โรงพยาบาลตำรวจ แพทย์เจ้าของไข้ และผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 8. พลตำรวจตรี สามารถ ม่วงศิริ  แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ ผู้ออกใบความเห็นแพทย์ 9. นายแพทย์ วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข  ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ 10. แพทย์หญิง รวมทิพย์ สุภานันท์  แพทย์ผู้ตรวจร่างกายขณะรับตัวผู้ต้องขังใหม่ 11. นายสัญญา วงค์หินกอง  พัศดีเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 12. นายธัญพิสิษฐ์ ขบวน  พยาบาลเวร เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร  ทั้งนี้ การตั้งองค์คณะไต่สวนคดีชั้น 14 ของ ป.ป.ช. ครั้งนี้ เป็นการไต่สวนคดีตามขั้นตอนทางกฎหมาย ยังต้องผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน ถ้าพบว่ามีมูลจึงจะมีการแจ้งข้อกล่าวหา และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง จากนั้นจึงจะสรุปสำนวน ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอีกครั้ง เพราะฉะนั้นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 12 ราย ตามรายชื่อข้างต้น ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่  สำหรับกรณีนี้ ปรากฏเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ป.ป.ช.ได้ทำการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบที่ชี้ว่า นายทักษิณ ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น มาให้ ป.ป.ช. พิจารณาประกอบในช่วงเดือน ส.ค.2567 ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่การตั้งองค์คณะไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นมาไต่สวนคดีของ ป.ป.ช. เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 51 ที่ระบุว่า ในการไต่สวนเรื่องใดที่เป็นเรื่องสำคัญมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง หรือเป็นกรณีมีการไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนเอง หรือจะแต่งตั้งกรรมการไม่น้อยกว่าสองคนและบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวนก็ได้ คณะกรรมการไต่สวนตามวรรคหนึ่งมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพนักงานไต่สวนหรือพนักงานไต่สวน และพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือคณะกรรมการไต่สวนในการดำเนินการตามหน้าที่ได้ตามที่เห็นสมควร ............ Sondhi X
    Like
    Haha
    10
    0 Comments 0 Shares 1342 Views 0 Reviews
  • ป.ป.ช.มีมติรับพิจารณาปม 12 เจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นคณะกรรมการไต่สวน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120744

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ป.ป.ช.มีมติรับพิจารณาปม 12 เจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 ที่โรงพยาบาลตำรวจจนกระทั่งครบ 180 วัน ป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นคณะกรรมการไต่สวน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000120744 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    Like
    Wow
    4
    0 Comments 0 Shares 1057 Views 0 Reviews
More Results