รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 6 การสอนเรื่องเงินแก่ลูกในเยาว์วัย
.
เรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกาว่า จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไปพักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่าทำไมเล่า เวลาลูกท่านมาพักที่นี่ยังขอห้องที่ดีที่สุดเลย เขาตอบว่า มันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา
.
เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อ และลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึงเรื่องนี้เข้าลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเงินในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่องของบริโภคนิยม และการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่
.
การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่เห็นในโทรทัศน์และโทรศัพท์ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบายและสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัดที่ต้องใช้จ่ายในสิ่งต่างๆมากมายด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางสื่อต่างๆถือว่าเป็นการให้ข้อมูลของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูลและมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้น
.
การทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมากนับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณค่าที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่ง บริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความสมถะ ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้
.
พ่อแม่ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่าง โดยแสดงพฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น ( Needs ) และสำหรับสิ่งที่ต้องการ ( Wants ) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆอย่างไร้สาระจนทำให้ลูกสับสน หรือมองเห็นว่าทุกสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญานว่าอะไรเป็น needs อะไรเป็น wants ดดยเริ่มสอนไปทีละน้อย
.
ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงินและรู้จักอยู่กิน ไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นั้น พ่อแม่จัดหาให้ การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น
.
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้ การสอนลูกในยามเป็นเด็ก ที่ใจเปิดรับจะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสินให้ 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม และอีกใบสำหรับการบริจาค การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่ชัดเจน และช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้สะดวกขึ้น
.
พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน กล่าวคือ ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาสของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหาเงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่งคงในด้านการเงินตลอดชีวิต การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมีอำนาจเหนือเงินเท่านั้น
.
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย ไม่ดูถูกเงิน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด ลูกต้องรู้ว่า เงินได้มาจากการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลก จึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือ การศึกษา
.
เรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกาว่า จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไปพักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่าทำไมเล่า เวลาลูกท่านมาพักที่นี่ยังขอห้องที่ดีที่สุดเลย เขาตอบว่า มันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา
.
เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อ และลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึงเรื่องนี้เข้าลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเงินในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่องของบริโภคนิยม และการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่
.
การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่เห็นในโทรทัศน์และโทรศัพท์ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบายและสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัดที่ต้องใช้จ่ายในสิ่งต่างๆมากมายด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางสื่อต่างๆถือว่าเป็นการให้ข้อมูลของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูลและมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้น
.
การทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมากนับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณค่าที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่ง บริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความสมถะ ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้
.
พ่อแม่ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่าง โดยแสดงพฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น ( Needs ) และสำหรับสิ่งที่ต้องการ ( Wants ) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆอย่างไร้สาระจนทำให้ลูกสับสน หรือมองเห็นว่าทุกสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญานว่าอะไรเป็น needs อะไรเป็น wants ดดยเริ่มสอนไปทีละน้อย
.
ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงินและรู้จักอยู่กิน ไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นั้น พ่อแม่จัดหาให้ การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น
.
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้ การสอนลูกในยามเป็นเด็ก ที่ใจเปิดรับจะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสินให้ 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม และอีกใบสำหรับการบริจาค การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่ชัดเจน และช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้สะดวกขึ้น
.
พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน กล่าวคือ ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาสของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหาเงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่งคงในด้านการเงินตลอดชีวิต การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมีอำนาจเหนือเงินเท่านั้น
.
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย ไม่ดูถูกเงิน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด ลูกต้องรู้ว่า เงินได้มาจากการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลก จึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือ การศึกษา
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 6 การสอนเรื่องเงินแก่ลูกในเยาว์วัย
.
เรื่องเล่ามานานแล้วในสหรัฐอเมริกาว่า จอห์น ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีผู้พ่อเข้าไปพักในโรงแรม เขาขอห้องพักราคาถูกที่สุด ผู้จัดการโรงแรมก็ถามว่าทำไมเล่า เวลาลูกท่านมาพักที่นี่ยังขอห้องที่ดีที่สุดเลย เขาตอบว่า มันต่างกัน เขาเป็นลูกมหาเศรษฐี ส่วนฉันเป็นลูกชาวนา
.
เรื่องเล่านี้สะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการมองโลกของพ่อ และลูกผู้เติบโตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึงเรื่องนี้เข้าลักษณะเดียวกันกับคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนลูกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเงินในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเรื่องของบริโภคนิยม และการไม่ใส่ใจในจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งแตกต่างไปจากยุคของพ่อแม่
.
การสอนเรื่องการเงินให้แก่ลูกมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
เป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนอยากได้ทุกอย่างที่เห็นในโทรทัศน์และโทรศัพท์ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอธิบายและสอนให้ลูกเข้าใจว่า ไม่มีใครที่ได้หรือมีทุกอย่างในโลก ทุกคนมีเงินจำกัดที่ต้องใช้จ่ายในสิ่งต่างๆมากมายด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่คิดว่าจำเป็นและให้คุณค่า การโฆษณาทางสื่อต่างๆถือว่าเป็นการให้ข้อมูลของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องใคร่ครวญให้ดี เพราะผู้ขายเป็นผู้ให้ข้อมูลและมีวัตถุประสงค์ในการชักชวนให้ซื้อสินค้านั้น
.
การทำงานหาเงินอย่างหนักจนมีเงินมากนับเป็นของดี แต่การมุ่งหาเงินอย่างปราศจากคุณค่าที่เหมาะสมกำกับอยู่ด้วย เช่น หาเงินด้วยความเจ้าเล่ห์เจ้ากล บ้าคลั่ง บริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่ดี พ่อแม่จะต้องพยายามสร้างคุณค่าที่เหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความสมถะ ความศรัทธาในความดีงาม ใส่เข้าไปในสมองลูกด้วยการกระทำสิ่งต่อไปนี้
.
พ่อแม่ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่าง โดยแสดงพฤติกรรมที่มีความสมดุลในการใช้จ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น ( Needs ) และสำหรับสิ่งที่ต้องการ ( Wants ) เช่น ไม่บ้าคลั่งซื้อของต่างๆอย่างไร้สาระจนทำให้ลูกสับสน หรือมองเห็นว่าทุกสิ่งจำเป็นไปหมด นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ลูกคิดเป็น และมีวิจารณญานว่าอะไรเป็น needs อะไรเป็น wants ดดยเริ่มสอนไปทีละน้อย
.
ให้เงินลูกเป็นรายอาทิตย์หรือรายเดือนตั้งแต่ยังเล็กเมื่อเริ่มใช้เงินเป็น เพื่อสอนให้ลูกรู้จักวางแผนการใช้เงินและรู้จักอยู่กิน ไม่เกินรายได้ที่ตนเองได้รับ เงินที่ให้นี้บอกลูกให้ชัดเจนว่าเป็นเงินสำหรับสิ่งใด เช่น กินขนม ดูหนัง ซื้อหนังสืออ่านเล่น หรืออะไรอื่นๆ แต่สำหรับสิ่งของบางอย่างเช่น เสื้อผ้า หนังสือเรียน รองเท้า นั้น พ่อแม่จัดหาให้ การกำหนดชัดเจนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิมธิภาพมากขึ้น
.
ส่งเสริมให้ลูกรู้จักการให้ การสอนลูกในยามเป็นเด็ก ที่ใจเปิดรับจะทำให้เกิดความคิดในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคหรืองานอาสาสมัคร พ่อแม่อาจจัดหากระป๋องออมสินให้ 2 ใบ แต่ละใบใช้ใส่เงินสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ใบหนึ่งสำหรับการออม และอีกใบสำหรับการบริจาค การแบ่งเช่นนี้จะช่วยให้เด็กเห็นการออมและการให้ที่ชัดเจน และช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้สะดวกขึ้น
.
พ่อแม่ต้องสอนลูกให้ลูกมีอำนาจเหนือเงิน กล่าวคือ ให้เป็นคนที่มีความอดกลั้น สามารถบังคับความต้องการของตนเองได้ จนไม่เป็นทาสของบริโภคนิยมที่เห็นอะไรก็อยากซื้อไปหมด ซึ่งจะทำให้ตลอดชีวิตมีแต่การหาเงินมาใช้จ่ายอย่างไร้สาระ พ่อแม่ต้องเน้นเรื่องคุณค่าของการออม และการมีความมั่งคงในด้านการเงินตลอดชีวิต การออมจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอก็เพราะลูกมีความสามารถที่จะให้ตนมีอำนาจเหนือเงินเท่านั้น
.
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน โดยแสดงให้เห็นว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มีความหมาย ไม่ดูถูกเงิน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียงใด ลูกต้องรู้ว่า เงินได้มาจากการทำงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน เงินไม่ได้ลอยมาจากฟ้าหรืออยู่ๆก็มีใครให้ ทุกคนต้องใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองเข้าแลก จึงจะมีเงิน สิ่งที่จะทำให้ได้เงินมากกว่า ถึงแม้จะออกแรงทำงานเท่ากันก็คือ การศึกษา
0 Comments
0 Shares
52 Views
0 Reviews