• ล่องเรือสุดฮิต Genting Dream เที่ยว 3 เมืองไฮไลต์ ในราคาสุดพิเศษ!

    เส้นทาง: สิงคโปร์ – มะละกา – ปีนัง – สิงคโปร์

    🗓 เดินทางสะดวกทุกวันอังคาร | ตั้งแต่ ก.ค. 68 – เม.ย. 69

    โปรโมชั่นพิเศษ!
    จองภายใน 30 ส.ค. 2568 เริ่มต้นเพียง 24,840 บาท/ห้อง
    (เฉลี่ยเพียง 12,420 บาท/ท่าน สำหรับห้องไม่มีหน้าต่าง)

    ห้องพักสุดหรู 3 คืน บนเรือ Genting Dream
    อาหารบุฟเฟต์หลากหลาย สไตล์อินเตอร์
    สิทธิ์ใช้เครื่องเล่น Zipline, สวนน้ำ, Rope Course และชมโชว์บนเรือฟรี
    สำรวจเมืองมะละกาและปีนังตามสไตล์ของคุณ

    ⭕️ รหัสแพคเกจทัวร์ : DREP-4D3N-SIN-SIN-2602101
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e6dba5

    ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    : 0 2116 9696

    #GentingDream #DreamCruises #Singapore #Malaysia #Penang #เที่ยวสิงคโปร์ #เที่ยวมาเลเซีย #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    🚢 ล่องเรือสุดฮิต Genting Dream เที่ยว 3 เมืองไฮไลต์ ในราคาสุดพิเศษ! 📍 เส้นทาง: สิงคโปร์ – มะละกา – ปีนัง – สิงคโปร์ 🗓 เดินทางสะดวกทุกวันอังคาร | ตั้งแต่ ก.ค. 68 – เม.ย. 69 💥 โปรโมชั่นพิเศษ! 📌 จองภายใน 30 ส.ค. 2568 💸 เริ่มต้นเพียง 24,840 บาท/ห้อง (เฉลี่ยเพียง 12,420 บาท/ท่าน สำหรับห้องไม่มีหน้าต่าง) ✅ ห้องพักสุดหรู 3 คืน บนเรือ Genting Dream ✅ อาหารบุฟเฟต์หลากหลาย สไตล์อินเตอร์ ✅ สิทธิ์ใช้เครื่องเล่น Zipline, สวนน้ำ, Rope Course และชมโชว์บนเรือฟรี ✅ สำรวจเมืองมะละกาและปีนังตามสไตล์ของคุณ ⭕️ รหัสแพคเกจทัวร์ : DREP-4D3N-SIN-SIN-2602101 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e6dba5 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 #GentingDream #DreamCruises #Singapore #Malaysia #Penang #เที่ยวสิงคโปร์ #เที่ยวมาเลเซีย #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว

    ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ

    KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา

    MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026

    ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน

    อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย

    #Newskit
    KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026 ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 409 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง

    สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป

    จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย

    ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา

    การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

    #Newskit
    กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 453 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย

    การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568

    ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย

    การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว

    นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท

    #Newskit
    ถึงเวลาปลดล็อก รถทัวร์ไทย-มาเลเซีย การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ไทยและมาเลเซียกำลังพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTG) และ ร่างเอ็มโอยูว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย (CBTP) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้า อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ และเกิดสิทธิในการขนส่งทางถนนที่เท่าเทียมกัน คาดว่าจะได้ข้อยุติและลงนามเอ็มโอยูทั้ง 2 ฉบับภายในเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมารถโดยสารจากมาเลเซีย เดินรถเข้ามาในจังหวัดสงขลาได้ เพราะมีประกาศจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 ส.ค. 2557 อนุญาตนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาใน จ.สงขลา สามารถเข้าถึงทุกอำเภอได้ จากเดิมเฉพาะ อ.หาดใหญ่ แต่ถ้าจะไปจังหวัดอื่นต้องขออนุญาตต่อกรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมามีรถทัวร์ให้บริการจากหาดใหญ่ไปยังประเทศมาเลเซียหลายบริษัท ได้แก่ ปีนัง มีทั้งรถตู้และรถทัวร์ ราคาประมาณ 600-800 บาท กัวลาลัมเปอร์ ราคาประมาณ 500-1,000 บาท และยะโฮร์บาห์รู ราคาประมาณ 1,300-1,500 บาท ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ปี 2522 มาตรา 26 แต่รถโดยสารของฝ่ายไทยวิ่งเข้าไปในประเทศมาเลเซียไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบมาเลเซีย ทำลายธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย การลงนามเอ็มโอยูดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถประกอบธุรกิจเดินรถไปยังประเทศมาเลเซียได้ หนึ่งในนั้นคือ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ที่มีประสบการณ์เดินรถโดยสารระหว่างประเทศกับลาวและกัมพูชา 12 เส้นทาง รวม 61 เที่ยววิ่งต่อวัน สามารถร่วมกับผู้ประกอบการจากมาเลเซีย ให้บริการเดินรถโดยสารจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยมในมาเลเซีย เช่น ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ หรือยะโฮร์บาห์รู โดยไม่ปล่อยให้ผูกขาดเฉพาะรถโดยสารจากมาเลเซียแต่เพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเที่ยวหาดใหญ่ หรือคนไทยมาเที่ยวมาเลเซีย นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) ชาวไทย สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินไปยังหาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารไปยังประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังอุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ช่วยให้ประหยัดค่าเดินทาง จากเดิมต้องจ่ายภาษีสนามบินระหว่างประเทศ 730 บาท เหลือแค่ภาษีสนามบินในประเทศ 130 บาท #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 665 มุมมอง 0 รีวิว
  • GRANDZ MALAYSIA 4วัน 3คืน
    #วันแรงงานเที่ยวไหนดี #เที่ยวมาเลเซียสุดคุ้ม

    เดินทาง 1-4 พ.ค. 68
    ลดทันที 1,000 บาท
    เหลือเพียง 14,999 บาท

    เส้นทางสุดปัง:
    - เที่ยวคาเมร่อน เยือนน้ำตกอีสกานด้า
    - ขึ้นกระเช้า CABLE CAR สู่ GENTING HIGHLAND
    - ขอพรที่วัด CHINSWEE
    - ชมวัดถ้ำบาตู BATU CAVE
    - แวะถ่ายรูปมัสยิดสีชมพู PUTRAJAYA
    - ตะลุยเมืองมะละกาและกัวลาลัมเปอร์
    - ถ่ายรูปคู่ตึกแฝด PETRONAS TOWER

    #GrandzMalaysia #มาเลเซีย4วัน3คืน #แรงงาน #GentingHighland #คาเมร่อนมะละกา #เที่ยวมาเลย์สุดฟิน

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e9d99c

    ดูทัวร์มาเลเซียทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/5077d6

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    : etravelway 78s.me/05e8da
    : 0 2116 6395

    #ทัวร์มาเลเซีย #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway
    🇲🇾 GRANDZ MALAYSIA 4วัน 3คืน 🌄 #วันแรงงานเที่ยวไหนดี #เที่ยวมาเลเซียสุดคุ้ม 📅 เดินทาง 1-4 พ.ค. 68 🔥 ลดทันที 1,000 บาท 💸 เหลือเพียง 14,999 บาท 📍 เส้นทางสุดปัง: - เที่ยวคาเมร่อน เยือนน้ำตกอีสกานด้า - ขึ้นกระเช้า CABLE CAR สู่ GENTING HIGHLAND 🎡 - ขอพรที่วัด CHINSWEE 🙏 - ชมวัดถ้ำบาตู BATU CAVE - แวะถ่ายรูปมัสยิดสีชมพู PUTRAJAYA 🕌 - ตะลุยเมืองมะละกาและกัวลาลัมเปอร์ - ถ่ายรูปคู่ตึกแฝด PETRONAS TOWER 🏙️ #GrandzMalaysia #มาเลเซีย4วัน3คืน #แรงงาน #GentingHighland #คาเมร่อนมะละกา #เที่ยวมาเลย์สุดฟิน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e9d99c ดูทัวร์มาเลเซียทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/5077d6 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395 #ทัวร์มาเลเซีย #แพ็คเกจทัวร์ #จัดกรุ๊ปส่วนตัว #eTravelway
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 788 มุมมอง 0 รีวิว
  • ความท้าทายใหม่พร้อมเพย์ ต่างชาติตีตลาด e-Payment

    นับตั้งแต่ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2559 โดยใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือผูกกับบัญชีธนาคาร เริ่มจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐเมื่อเดือน ธ.ค.2559 ให้โอนเงินระหว่างรายย่อยเมื่อเดือน ม.ค.2560 ก่อนพัฒนาหลากหลายบริการ โดยเฉพาะ Thai QR Payment ที่ทำให้คนไทยรู้จักสแกนจ่ายมากขึ้น และขยายบริการไปยังต่างประเทศ

    บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด หรือ ITMX เปิดเผยสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 พบว่ามีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ 79.45 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 79.09 ล้านเลขหมาย และนิติบุคคลประมาณ 360,000 เลขหมาย ปัจจุบันระบบพร้อมเพย์รองรับธุรกรรมได้สูงสุด 10,000 รายการต่อวินาที ช่วงเวลาปกติเฉลี่ยที่ 2,000 รายการต่อวินาที และเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 รายการต่อวินาทีในช่วงที่มีธุรกรรมหนาแน่น

    ที่น่าสนใจก็คือ เดือน ธ.ค.2567 เดือนเดียว มีธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สูงถึง 2,096 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4,515 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% แต่วันที่มีธุรกรรมต่อวันสูงสุดของปี (Peak Day) คือ วันศุกร์ที่ 1 พ.ย. 2567 สูงสุด 86,781,490 รายการ ที่ผ่านมาวัน Peak Day มักเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์โดยเฉพาะต้นเดือน มักเป็นช่วงเวลาจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือโบนัส การโอนเงินให้ครอบครัว การชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการอื่นๆ

    ด้านบริการ Cross-Border QR Payment ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถใช้แอปฯ ธนาคารประเทศตนเองสแกน QR Code ผ่านร้านค้าในไทยเพื่อชำระเงินได้สะดวก พบว่าในเดือน ธ.ค.2567 มียอดใช้จ่ายรวม 333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 176% เมื่อเทียบกับปีก่อน นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย 178.54 ล้านบาท รองลงมาคืออินโดนีเซีย 39.96 ล้านบาท และสิงคโปร์ 29.65 ล้านบาท

    ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า นักท่องเที่ยวมาเลเซีย 4 สัปดาห์ในเดือน ธ.ค.2567 รวม 422,557 ราย หากเทียบกับปริมาณธุรกรรมผ่านสแกน QR Code เท่ากับว่าชาวมาเลเซียสแกนจ่ายในไทยโดยเฉลี่ย 422.52 บาทต่อคน และเมื่อมีอาลีเพย์พลัส (Alipay+) จากจีนเข้ามาช่วงชิงบริการอีเพย์เมนต์ตามร้านค้าชั้นนำในไทย จึงเป็นอีกความท้าทายของ ITMX ในการผลักดันบริการ เพื่อยกระดับธุรกิจและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ความท้าทายใหม่พร้อมเพย์ ต่างชาติตีตลาด e-Payment นับตั้งแต่ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2559 โดยใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือผูกกับบัญชีธนาคาร เริ่มจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐเมื่อเดือน ธ.ค.2559 ให้โอนเงินระหว่างรายย่อยเมื่อเดือน ม.ค.2560 ก่อนพัฒนาหลากหลายบริการ โดยเฉพาะ Thai QR Payment ที่ทำให้คนไทยรู้จักสแกนจ่ายมากขึ้น และขยายบริการไปยังต่างประเทศ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จำกัด หรือ ITMX เปิดเผยสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 พบว่ามีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ 79.45 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นบุคคลธรรมดา 79.09 ล้านเลขหมาย และนิติบุคคลประมาณ 360,000 เลขหมาย ปัจจุบันระบบพร้อมเพย์รองรับธุรกรรมได้สูงสุด 10,000 รายการต่อวินาที ช่วงเวลาปกติเฉลี่ยที่ 2,000 รายการต่อวินาที และเพิ่มขึ้นเป็น 2,600 รายการต่อวินาทีในช่วงที่มีธุรกรรมหนาแน่น ที่น่าสนใจก็คือ เดือน ธ.ค.2567 เดือนเดียว มีธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สูงถึง 2,096 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4,515 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% แต่วันที่มีธุรกรรมต่อวันสูงสุดของปี (Peak Day) คือ วันศุกร์ที่ 1 พ.ย. 2567 สูงสุด 86,781,490 รายการ ที่ผ่านมาวัน Peak Day มักเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์โดยเฉพาะต้นเดือน มักเป็นช่วงเวลาจ่ายเงินเดือนพนักงานหรือโบนัส การโอนเงินให้ครอบครัว การชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการอื่นๆ ด้านบริการ Cross-Border QR Payment ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถใช้แอปฯ ธนาคารประเทศตนเองสแกน QR Code ผ่านร้านค้าในไทยเพื่อชำระเงินได้สะดวก พบว่าในเดือน ธ.ค.2567 มียอดใช้จ่ายรวม 333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 176% เมื่อเทียบกับปีก่อน นักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย 178.54 ล้านบาท รองลงมาคืออินโดนีเซีย 39.96 ล้านบาท และสิงคโปร์ 29.65 ล้านบาท ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า นักท่องเที่ยวมาเลเซีย 4 สัปดาห์ในเดือน ธ.ค.2567 รวม 422,557 ราย หากเทียบกับปริมาณธุรกรรมผ่านสแกน QR Code เท่ากับว่าชาวมาเลเซียสแกนจ่ายในไทยโดยเฉลี่ย 422.52 บาทต่อคน และเมื่อมีอาลีเพย์พลัส (Alipay+) จากจีนเข้ามาช่วงชิงบริการอีเพย์เมนต์ตามร้านค้าชั้นนำในไทย จึงเป็นอีกความท้าทายของ ITMX ในการผลักดันบริการ เพื่อยกระดับธุรกิจและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 849 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1610 มุมมอง 0 รีวิว
  • ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน

    ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน

    มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน

    ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย

    ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน

    ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4%

    ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน

    ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน

    #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4% ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1701 มุมมอง 0 รีวิว