• ไทยเล็งใช้ระบบ ETA คัดกรองต่างชาติ

    สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนัก จากสิงคโปร์และอินเดีย รายงานข่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 ประเทศไทยจะเริ่มใช้ระบบใบอนุญาตเดินทางผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับชาวต่างชาติจากประเทศที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราสามารถพำนักในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน (ผ.60) เพื่อการท่องเที่ยว การติดต่อธุรกิจ และการทำงานระยะสั้น รวม 93 ประเทศและดินแดน ยกเว้นนักท่องเที่ยวจากประเทศลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ได้รับการยกเว้น

    ตามรายงานข่าวระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองให้คล่องตัว พร้อมกับการติดตามชาวต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความมั่นคงและปรับปรุงการจัดการนักท่องเที่ยว โดยไม่กระทบต่อสถานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยขยายการยกเว้นวีซ่าไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้นักเดินทางชาวต่างชาติมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

    โดยชาวต่างชาติจาก 93 ประเทศและดินแดน ที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องทำ ETA แต่ละครั้งจะอนุญาตให้เข้าประเทศได้ครั้งเดียว มีอายุไม่เกิน 60 วันต่อการเข้าประเทศแต่ละครั้ง และยังสามารถขยายระยเวลาเดินทางออกไปอีก 30 วัน โดยขั้นตอนการลงทะเบียน ETA จะใช้ระบบออนไลน์ทั้งหมด โดยกรอกรายละเอียดผ่านแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีค่าธรรมเนียม และสามารถนำ QR Code ไปใช้กับประตูตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ ทำให้ผ่านกระบวนการเข้าเมืองเร็วขึ้น

    ตามรายงานระบุว่า ระบบนี้จะนำร่องมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป และจะใช้เต็มรูปแบบในเดือน มิ.ย. 2568 พร้อมกับแพลตฟอร์ม e-Visa ของประเทศไทย

    เรื่องนี้ยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศ มีแต่การเปิดเผยจากนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ให้การต้อนรับนายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคประชาชน (ปชน.) ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 ที่ระบุเพียงว่า "กระทรวงฯ ยังเร่งผลักดันการใช้ระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการคัดกรอง และติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคลชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย"

    อนึ่ง ประเทศในอาเซียนมีการใช้ระบบ ETA ได้แก่ สิงคโปร์ แบบฟอร์ม SG Arrival Card (SGAC) และมาเลเซีย แบบฟอร์ม Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) นอกจากนี้ ยังมีบางประเทศที่นำระบบคล้ายคลึงกันมาใช้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเกาหลีใต้ เป็นต้น

    #Newskit #ThailandETA
    ไทยเล็งใช้ระบบ ETA คัดกรองต่างชาติ สำนักข่าวต่างประเทศบางสำนัก จากสิงคโปร์และอินเดีย รายงานข่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 ประเทศไทยจะเริ่มใช้ระบบใบอนุญาตเดินทางผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับชาวต่างชาติจากประเทศที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราสามารถพำนักในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน (ผ.60) เพื่อการท่องเที่ยว การติดต่อธุรกิจ และการทำงานระยะสั้น รวม 93 ประเทศและดินแดน ยกเว้นนักท่องเที่ยวจากประเทศลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ได้รับการยกเว้น ตามรายงานข่าวระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองให้คล่องตัว พร้อมกับการติดตามชาวต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความมั่นคงและปรับปรุงการจัดการนักท่องเที่ยว โดยไม่กระทบต่อสถานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยขยายการยกเว้นวีซ่าไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้นักเดินทางชาวต่างชาติมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยชาวต่างชาติจาก 93 ประเทศและดินแดน ที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องทำ ETA แต่ละครั้งจะอนุญาตให้เข้าประเทศได้ครั้งเดียว มีอายุไม่เกิน 60 วันต่อการเข้าประเทศแต่ละครั้ง และยังสามารถขยายระยเวลาเดินทางออกไปอีก 30 วัน โดยขั้นตอนการลงทะเบียน ETA จะใช้ระบบออนไลน์ทั้งหมด โดยกรอกรายละเอียดผ่านแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีค่าธรรมเนียม และสามารถนำ QR Code ไปใช้กับประตูตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ ทำให้ผ่านกระบวนการเข้าเมืองเร็วขึ้น ตามรายงานระบุว่า ระบบนี้จะนำร่องมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป และจะใช้เต็มรูปแบบในเดือน มิ.ย. 2568 พร้อมกับแพลตฟอร์ม e-Visa ของประเทศไทย เรื่องนี้ยังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการต่างประเทศ มีแต่การเปิดเผยจากนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ให้การต้อนรับนายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคประชาชน (ปชน.) ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 ที่ระบุเพียงว่า "กระทรวงฯ ยังเร่งผลักดันการใช้ระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการคัดกรอง และติดตามการเคลื่อนไหวของบุคคลชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย" อนึ่ง ประเทศในอาเซียนมีการใช้ระบบ ETA ได้แก่ สิงคโปร์ แบบฟอร์ม SG Arrival Card (SGAC) และมาเลเซีย แบบฟอร์ม Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) นอกจากนี้ ยังมีบางประเทศที่นำระบบคล้ายคลึงกันมาใช้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเกาหลีใต้ เป็นต้น #Newskit #ThailandETA
    Like
    6
    1 Comments 0 Shares 115 Views 0 Reviews
  • ส่องไวรัลมาเลเซีย 2024

    เฟซบุ๊กเพจ MGAG ในมาเลเซียเปิดเผยอินโฟกราฟิกที่ชื่อว่า "2024 Malaysia Meme Calender" รวบรวมประเด็นไวรัลเด่นที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนของประเทศมาเลเซีย จากการสืบค้นของ Newskit พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจดังนี้

    ม.ค. 2567 - Derrick Gan แฟนบอลทีมชาติมาเลเซีย ประกาศขายรถจักรยานยนต์ 4,500 ริงกิต (ประมาณ 34,000 บาท) เพื่อใช้เดินทางไปเชียร์ฟุตบอลเอเชียนคัพ ที่ประเทศกาตาร์ หลังกลับมา ค่าย Modenas มอบรถจักรยานยนต์คันใหม่ให้เขา

    ก.พ. 2567 - คลิปหญิงวัย 23 ปีจากอัมปัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ให้สัมภาษณ์ว่าไปเที่ยวไนต์คลับตั้งแต่อายุ 18 ปี กลับบ้านกับผู้ชายถึงสองครั้ง ถูกวิจารณ์ถึงความเหมาะสม ภายหลังอ้างว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น คลิปดังกล่าวมีจุดประสงค์ทางการตลาดเท่านั้น

    มี.ค. 2567 - ชายชาวจีนที่อาศัยในมาเลเซีย เจ้าของร้านอาหารหมี่โกโล แต่งงานพร้อมกันกับภรรยา 2 คน ที่ทำงานในร้านเดียวกัน ที่เมืองกุชิง รัฐซาราวัก รัฐมนตรีวิจารณ์ว่าผู้ที่มิใช่ชาวมุสลิม ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่สามารถมีคู่สมรสหลายคนได้

    เม.ย. 2567 - Aliff Aziz นักร้องและนักแสดงชาวสิงคโปร์ ถูกกรมกิจการอิสลาม (JAWI) จับกุมพร้อมกับ Ruhainies Farehah นักแสดงสาว ขณะที่อดีตภรรยา Bella Astillah ชี้ว่า Aliff โกหกเรื่องเมียน้อยถึง 11 ครั้ง ยื่นฟ้องหย่าเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

    พ.ค. 2567 - แอดมินเพจร้านอาหารฟาสฟู้ด DarSA Fried Chicken (DFC) ในเมืองราวัง รัฐสลังงอร์ ตอบกลับลูกค้าใช้คำว่า "พวก Type C" ถูกมองว่าเหยียดเชื้อชาติจีนในมาเลเซีย ทางร้านขอโทษและยืนยันว่ายินดีต้อนรับลูกค้าทุกเชื้อชาติและศาสนา

    มิ.ย. 2567 - เจ้าของร้านขายของชำย่านเซเบอรัง จายา รัฐปีนัง กำราบลูกค้าขี้เมาด้วยคำว่า "One by One Gentleman" ภายหลังพบว่าเจ้าของร้านเคยเป็นครูสอนเทควันโดสายดำมาก่อน ส่วนลูกค้าขี้เมาก็กล่าวว่าตนเองเคยเป็นนักคาราเต้สายดำ

    ก.ค. 2567 - เครื่องแต่งกายนักกีฬาทีมชาติมาเลเซีย ที่จะไปแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 ถูกวิจารณ์ว่าดีไซน์น่าเกลียด ดูราคาถูก ล้าสมัย และไร้แรงบันดาลใจ ทำให้สภาโอลิมปิกมาเลเซีย ตัดสินใจทำเสื้อแจ็กเก็ตลายใหม่เพื่อลดเสียงวิจารณ์

    ส.ค. 2567 - ขบวนพาเหรดเนื่องในวันชาติมาเลเซีย 2024 ผู้คนให้ความสนใจผู้ชายในเครื่องแบบที่เรียกว่า Abang ปีนี้แข่งกันระหว่าง Abang Bomba ของดับเพลิงและกู้ภัย Abang JPJ ของกรมขนส่งทางบก และ Abang Askar จากกองทัพมาเลเซีย

    #Newskit #Viral #Malaysia
    ส่องไวรัลมาเลเซีย 2024 เฟซบุ๊กเพจ MGAG ในมาเลเซียเปิดเผยอินโฟกราฟิกที่ชื่อว่า "2024 Malaysia Meme Calender" รวบรวมประเด็นไวรัลเด่นที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนของประเทศมาเลเซีย จากการสืบค้นของ Newskit พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจดังนี้ ม.ค. 2567 - Derrick Gan แฟนบอลทีมชาติมาเลเซีย ประกาศขายรถจักรยานยนต์ 4,500 ริงกิต (ประมาณ 34,000 บาท) เพื่อใช้เดินทางไปเชียร์ฟุตบอลเอเชียนคัพ ที่ประเทศกาตาร์ หลังกลับมา ค่าย Modenas มอบรถจักรยานยนต์คันใหม่ให้เขา ก.พ. 2567 - คลิปหญิงวัย 23 ปีจากอัมปัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ให้สัมภาษณ์ว่าไปเที่ยวไนต์คลับตั้งแต่อายุ 18 ปี กลับบ้านกับผู้ชายถึงสองครั้ง ถูกวิจารณ์ถึงความเหมาะสม ภายหลังอ้างว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น คลิปดังกล่าวมีจุดประสงค์ทางการตลาดเท่านั้น มี.ค. 2567 - ชายชาวจีนที่อาศัยในมาเลเซีย เจ้าของร้านอาหารหมี่โกโล แต่งงานพร้อมกันกับภรรยา 2 คน ที่ทำงานในร้านเดียวกัน ที่เมืองกุชิง รัฐซาราวัก รัฐมนตรีวิจารณ์ว่าผู้ที่มิใช่ชาวมุสลิม ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว ไม่สามารถมีคู่สมรสหลายคนได้ เม.ย. 2567 - Aliff Aziz นักร้องและนักแสดงชาวสิงคโปร์ ถูกกรมกิจการอิสลาม (JAWI) จับกุมพร้อมกับ Ruhainies Farehah นักแสดงสาว ขณะที่อดีตภรรยา Bella Astillah ชี้ว่า Aliff โกหกเรื่องเมียน้อยถึง 11 ครั้ง ยื่นฟ้องหย่าเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา พ.ค. 2567 - แอดมินเพจร้านอาหารฟาสฟู้ด DarSA Fried Chicken (DFC) ในเมืองราวัง รัฐสลังงอร์ ตอบกลับลูกค้าใช้คำว่า "พวก Type C" ถูกมองว่าเหยียดเชื้อชาติจีนในมาเลเซีย ทางร้านขอโทษและยืนยันว่ายินดีต้อนรับลูกค้าทุกเชื้อชาติและศาสนา มิ.ย. 2567 - เจ้าของร้านขายของชำย่านเซเบอรัง จายา รัฐปีนัง กำราบลูกค้าขี้เมาด้วยคำว่า "One by One Gentleman" ภายหลังพบว่าเจ้าของร้านเคยเป็นครูสอนเทควันโดสายดำมาก่อน ส่วนลูกค้าขี้เมาก็กล่าวว่าตนเองเคยเป็นนักคาราเต้สายดำ ก.ค. 2567 - เครื่องแต่งกายนักกีฬาทีมชาติมาเลเซีย ที่จะไปแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 ถูกวิจารณ์ว่าดีไซน์น่าเกลียด ดูราคาถูก ล้าสมัย และไร้แรงบันดาลใจ ทำให้สภาโอลิมปิกมาเลเซีย ตัดสินใจทำเสื้อแจ็กเก็ตลายใหม่เพื่อลดเสียงวิจารณ์ ส.ค. 2567 - ขบวนพาเหรดเนื่องในวันชาติมาเลเซีย 2024 ผู้คนให้ความสนใจผู้ชายในเครื่องแบบที่เรียกว่า Abang ปีนี้แข่งกันระหว่าง Abang Bomba ของดับเพลิงและกู้ภัย Abang JPJ ของกรมขนส่งทางบก และ Abang Askar จากกองทัพมาเลเซีย #Newskit #Viral #Malaysia
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 324 Views 0 Reviews
  • คนไทยนับร้อยสนใจ เรียนต่อที่มาเลเซีย

    มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่นักเรียนและนักศึกษาไทย ให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ด้วยความที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพที่เหมาะสม ขอวีซ่าง่าย สามารถพาครอบครัวไปด้วยขณะศึกษาระดับปริญญาโทได้ และมีโอกาสในการขอทุนการศึกษา รวมทั้งเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเป็นมิตร

    ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ Education Malaysia Global Services (EMGS) หน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา ประเทศมาเลเซีย จึงได้จัดงานมหกรรมการศึกษาต่อประเทศมาเลเซีย หรือ Study in Malaysia Education Fair Bangkok 2024 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในมาเลเซีย แนะนำหลักสูตรและรับสมัครนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งงานนี้จัดพร้อมกันที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    นายโนวี ทาจุดดิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EMGS ระบุว่า ที่ผ่านมามีนักศึกษาต่างชาติ ให้ความสนใจศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซียมากขึ้น โดยในปี 2566 ประเทศมาเลเซียมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติมากกว่า 114,765 คน ซึ่งมีนักศึกษาไทยที่สนใจศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซีย ยื่นใบสมัครมากถึง 372 ใบ ขณะที่ในปีนี้นับถึงเดือน พ.ค. 2567 EMGS ได้รับใบสมัครใหม่จากประเทศไทยแล้ว 117 ใบ อยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซียเป็นที่โดดเด่นในเวทีวิชาการระดับโลก โดยมี 8 สาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับในการจัดอันดับของ QS World University Rangkings และมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ 8 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐ 20 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 207 แห่ง วิทยาลัย และวิทยาเขตสาขาของมหาวิทยาลัยต่างประเทศระดับโลก 10 แห่ง ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย และหลักสูตรส่วนใหญ่ยังสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในข้อกำหนดหลักสำหรับการรับเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อสมัครเข้าสถาบันอุดมศึกษา (HEIs)

    ขณะเดียวกัน มาเลเซียมีทำเลที่ตั้งเหมาะสำหรับนักศึกษาไทย เนื่องจากอยู่ใกล้ประเทศไทย ระยะทางในการเดินทางที่สั้น ด้วยเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ กับกัวลาลัมเปอร์มากกว่า 22 เที่ยวบินต่อวัน นอกจากนี้ มาเลเซียเป็นจุดหมายปลายทางการศึกษาที่ได้รับความนิยม โดยจัดการศึกษาระดับโลก ด้วยค่าเล่าเรียนที่เหมาะสม กัวลาลัมเปอร์ถูกยกให้เป็นอันดับ 1 ของเอเชียในตัวบ่งชี้ความสามารถในการซื้ออาหาร ตามการจัดอันดับเมืองนักเรียนที่ดีที่สุดของ QS ประจำปี 2023 โดยอาหารริมทางมีราคาตั้งแต่ 5 ถึง 15 ริงกิตมาเลเซีย รวมถึงอาหารมาเลเซียยอดนิยม เช่น นาซีเลอมัก โรตีจาไน ลักซา และอื่นๆ

    ภายในงานมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 1. Asia Pacific University of Technology & Innovation (APU) 2. Malaysian Maritime Academy (ALAM) 3. Management and Science University (MSU) 4. Universiti Utara Malaysia (UUM) 5. University Malaya (UM) 6. German-Malaysian Institute (GMI) 7. MAHSA University 8. UCSI University 9. Sunway Le Cordon Bleu และ 10. Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) เป็นต้น

    สำหรับ EMGS มีหน้าที่หลักคือ อำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าสำหรับนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด และส่งเสริมให้ประเทศมาเลเซียเป็นศูนย์กลางความรู้และความสามารถระดับโลก โดยทำหน้าที่ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย เพื่อออกหนังสืออนุมัติการออกวีซ่า และออก Student Pass ให้นักศึกษา รวมทั้งยังจัดทำประกันสุขภาพให้นักศึกษาอีกด้วย แม้การจัดงานจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่สามารถติดตามข่าวสารการศึกษาต่อประเทศมาเลเซีย ทาง Instagram @education.Malaysia.official และเฟซบุ๊ก Education Malaysia

    #Newskit #StudyinMalaysia #EMGS
    คนไทยนับร้อยสนใจ เรียนต่อที่มาเลเซีย มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่นักเรียนและนักศึกษาไทย ให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ด้วยความที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพที่เหมาะสม ขอวีซ่าง่าย สามารถพาครอบครัวไปด้วยขณะศึกษาระดับปริญญาโทได้ และมีโอกาสในการขอทุนการศึกษา รวมทั้งเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเป็นมิตร ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ Education Malaysia Global Services (EMGS) หน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา ประเทศมาเลเซีย จึงได้จัดงานมหกรรมการศึกษาต่อประเทศมาเลเซีย หรือ Study in Malaysia Education Fair Bangkok 2024 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในมาเลเซีย แนะนำหลักสูตรและรับสมัครนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งงานนี้จัดพร้อมกันที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายโนวี ทาจุดดิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EMGS ระบุว่า ที่ผ่านมามีนักศึกษาต่างชาติ ให้ความสนใจศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซียมากขึ้น โดยในปี 2566 ประเทศมาเลเซียมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติมากกว่า 114,765 คน ซึ่งมีนักศึกษาไทยที่สนใจศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซีย ยื่นใบสมัครมากถึง 372 ใบ ขณะที่ในปีนี้นับถึงเดือน พ.ค. 2567 EMGS ได้รับใบสมัครใหม่จากประเทศไทยแล้ว 117 ใบ อยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซียเป็นที่โดดเด่นในเวทีวิชาการระดับโลก โดยมี 8 สาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับในการจัดอันดับของ QS World University Rangkings และมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ 8 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐ 20 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 207 แห่ง วิทยาลัย และวิทยาเขตสาขาของมหาวิทยาลัยต่างประเทศระดับโลก 10 แห่ง ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในมาเลเซีย และหลักสูตรส่วนใหญ่ยังสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในข้อกำหนดหลักสำหรับการรับเข้าเรียนของนักเรียนเพื่อสมัครเข้าสถาบันอุดมศึกษา (HEIs) ขณะเดียวกัน มาเลเซียมีทำเลที่ตั้งเหมาะสำหรับนักศึกษาไทย เนื่องจากอยู่ใกล้ประเทศไทย ระยะทางในการเดินทางที่สั้น ด้วยเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ กับกัวลาลัมเปอร์มากกว่า 22 เที่ยวบินต่อวัน นอกจากนี้ มาเลเซียเป็นจุดหมายปลายทางการศึกษาที่ได้รับความนิยม โดยจัดการศึกษาระดับโลก ด้วยค่าเล่าเรียนที่เหมาะสม กัวลาลัมเปอร์ถูกยกให้เป็นอันดับ 1 ของเอเชียในตัวบ่งชี้ความสามารถในการซื้ออาหาร ตามการจัดอันดับเมืองนักเรียนที่ดีที่สุดของ QS ประจำปี 2023 โดยอาหารริมทางมีราคาตั้งแต่ 5 ถึง 15 ริงกิตมาเลเซีย รวมถึงอาหารมาเลเซียยอดนิยม เช่น นาซีเลอมัก โรตีจาไน ลักซา และอื่นๆ ภายในงานมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 1. Asia Pacific University of Technology & Innovation (APU) 2. Malaysian Maritime Academy (ALAM) 3. Management and Science University (MSU) 4. Universiti Utara Malaysia (UUM) 5. University Malaya (UM) 6. German-Malaysian Institute (GMI) 7. MAHSA University 8. UCSI University 9. Sunway Le Cordon Bleu และ 10. Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) เป็นต้น สำหรับ EMGS มีหน้าที่หลักคือ อำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าสำหรับนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด และส่งเสริมให้ประเทศมาเลเซียเป็นศูนย์กลางความรู้และความสามารถระดับโลก โดยทำหน้าที่ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย เพื่อออกหนังสืออนุมัติการออกวีซ่า และออก Student Pass ให้นักศึกษา รวมทั้งยังจัดทำประกันสุขภาพให้นักศึกษาอีกด้วย แม้การจัดงานจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่สามารถติดตามข่าวสารการศึกษาต่อประเทศมาเลเซีย ทาง Instagram @education.Malaysia.official และเฟซบุ๊ก Education Malaysia #Newskit #StudyinMalaysia #EMGS
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 562 Views 0 Reviews
  • จะเลือกชาตินิยมหรือน้ำใจนักกีฬา?

    กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬามาเลเซีย ฮันนาห์ โหยว (Hannah Yeoh) โพสต์ภาพคู่กับ วิว กุลวุฒิ วิทิตสาร นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก ปารีส 2024 ประเทศฝรั่งเศส ลงในอินสตาแกรมส่วนตัว @hannahyeoh กำลังเป็นที่วิจารณ์อย่างดุเดือดของชาวเน็ตมาเลเซีย

    เพราะจากอินสตาแกรมของเธอ ไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับ วิว กุลวุฒิ อย่างเดียว แต่โพสต์ก่อนหน้านี้ก็ถ่ายรูปคู่กับนักแบดมินตันชาติของตนที่ได้เหรียญทองแดง อย่าง อารอน เจี่ย (Aaron Chia) กับ โซห์ วุย ยิค (Soh Wooi Yik) ประเภทชายคู่ และ หลี่ จื่อเจีย (Lee Zii Jia) ประเภทชายเดี่ยว ที่แพ้ให้กับ วิว กุลวุฒิ รอบรองชนะเลิศ พร้อมข้อความให้กำลังใจ

    แต่ที่เป็นประเด็น คือประโยคห้อยท้ายที่กล่าวถึงวิว กุลวุฒิ ว่า "He has a new fan in me!" หรือ "ฉันเป็นแฟนคลับคนใหม่ของเขาไปแล้ว" คนไทยอาจชื่นใจ แต่ชาวมาเลย์ไซร้เป็นได้เดือดดาล ทัวร์ลงไม่แพ้ชาติใดในโลก โพสต์ข้อความโจมตี อาทิ

    "น้ำใจนักกีฬาและความรักชาติควรเริ่มต้นจากผู้นำ เวลานี้ทำไม่ถูก รูปนี้ควรเอาออกไป หรือคุณควรเก็บไว้ดูเอง ในความรู้สึกเห็นว่าไม่ถูกต้อง"

    "ถ้าอยากเป็นแฟนคลับอย่าใช้ตำแหน่งรัฐมนตรี ควรสวมเสื้อผ้าของตัวเอง ซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยเงินตัวเอง ชำระค่าโรงแรมและอาหารด้วยเงินตัวเอง"

    "คุณอยู่ในฐานะรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของมาเลเซีย ไม่ใช่ในฐานะผู้ชมทั่วไป แม้ว่าจะมีสิทธิ์ถ่ายรูปกับนักกีฬาคนใดก็ได้ แม้ไม่ใช่ชาวมาเลเซียก็ตาม แต่วิธีที่ดีที่สุดคือเก็บภาพนี้ไว้เป็นส่วนตัว แทนที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะ สิ่งที่คุณทำเป็นเรื่องน่าสะอิดสะเอียน ทำลายชื่อเสียงของคุณอย่างราบคาบ ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของรัฐบาลและพรรค DAP อย่าลืมว่ายังมีคนจำนวนมากกำลังจับผิดพรรค DAP และตอนนี้คุณได้ให้กระสุนแก่พวกเขาแบบฟรีๆ แล้ว อย่างไรก็ตาม ฉันยังคงเป็นแฟนคลับของคุณ แต่หวังว่าจะไม่ทำผิดแบบนี้ซ้ำในครั้งต่อไป เราเพียงต้องการแนะนำแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณ"

    ด้านเว็บไซต์ข่าว Malaysia Now ได้ตีพิมพ์บทความของ "ลี บุน เชียน" (Lee Boon Shian) ประธานกลุ่มเยาวชนเกอรากัน วิจารณ์ว่า ฮันนาห์ทำให้ชาวมาเลเซียผิดหวัง เพราะการเป็นรัฐมนตรีด้านกีฬาต้องรู้จักกาละเทศะ รัฐมนตรีที่เข้าร่วมมหกรรมกีฬาโอลิมปิกโดยใช้ภาษีประชาชน ควรจะเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของมาเลเซีย และสนับสนุนส่งเสริมนักกีฬาของชาติ

    "รัฐมนตรีของเรา (ฮันนาห์) ตั้งใจทำให้ประชาชนผิดหวังอีกครั้ง เธอได้เบี่ยงเบนความรับผิดชอบหลัก และกระทำการในฐานะส่วนตัวหลงใหลนักกีฬาต่างชาติคนหนึ่ง ที่เพิ่งเอาชนะนักกีฬาของเราไปได้ การมีความชอบส่วนตัวไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรเข้าใจแนวคิดง่ายๆ อย่างการมีกาละเทศะ ก่อนแสดงพฤติกรรมที่น่าหดหู่ใจ ซึ่งอาจสูญเสียขวัญและกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์"

    "ประชาชนจ่ายเงินให้คุณเพื่อให้ไปปฎิบัติหน้าที่ในโอลิมปิกปารีส แต่กลับไปถ่ายรูปกับนักกีฬาต่างชาติ ผลประโยชน์ส่วนตนควรถูกเก็บเป็นความลับเสมอเมื่อปฎิบัติหน้าที่ทางราชการ ควรเป็นแรงบันดาลใจทางศีลธรรมให้กับนักกีฬาและกองเชียร์ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักกีฬา เพื่อหาทางที่จะให้กระทรวงได้สนับสนุนวงการกีฬาที่ดีขึ้นในอนาคต"

    "จะให้ดีกว่านี้ ให้วางกลยุทธ์ว่าจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าโค้ชของเราจะไปร่วมกับนักกีฬาของเราในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคต แทนที่จะสงวนไว้สำหรับแขกวีไอพี" ลี บุน เชียน ระบุ

    อย่างไรก็ตาม​ มีชาวเน็ตที่มีน้ำใจนักกีฬา​หลายคน​ ต่างกล่าวว่า กรณีแบบนี้ไม่ควรแห่ทัวร์​ลง​ หรือคิดเล็กคิดน้อย และการแสดงความยินดีกับหนึ่งในประเทศอาเซียน ที่คว้าเหรียญโอลิมปิกมาได้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

    ด้าน​ ฮันนาห์ โหย่ว ได้โพสต์สตอรี่ในอินสตาแกรม ชี้แจงถึงค่านิยมของกีฬาโอลิมปิก 3 ประการ นั่นคือความเป็นเลิศ ความเป็นมิตร และความเคารพ พร้อมตอบคำถามชาวเน็ตฯ​ ชัดเจนว่า​ "เธอไปในฐานะรัฐมนตรีเยาวชนและการกีฬาของมาเลเซีย เป็นตัวแทนของมาเลเซีย และร่วมแสดงความยินดีกับเพื่อนบ้านอาเซียน อย่างประเทศไทย​"

    สำหรับฮันนาห์ โหยว ปัจจุบันอายุ 45 ปี ชาวสุบังจายา รัฐสลังงอร์ เป็นนักการเมืองสังกัดพรรค DAP ซึ่งอยู่ในกลุ่มปากาตันฮาราปัน (Pakatan Harapan) เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสลังงอร์ ปี 2551-2561 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสลังงอร์ ปี 2556-2561 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสตรี ครอบครัวและการพัฒนาชุมชนมาเลเซีย ปี 2561-2563

    สมรสกับ รามจันทรัน มูเนียนดี (Ramachandran Muniandy) ผู้ก่อตั้งบริษัท เอเชีย โมบิลิตี้ (Asia Mobility) ที่ผ่านมาเธอถูกโจมตีกรณีที่รัฐบาลกลาง และรัฐบาลรัฐสลังงอร์อนุมัติโครงการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง (Demand Responsive Transit หรือ DRT) รัฐสลังงอร์ ให้กับเอเชีย โมบิลิตี้ ของสามี โดยไม่ผ่านการประกวดราคา

    กระทั่งมาเจอ "ตำบลกระสุนตก" จากกรณีถ่ายภาพคู่กับชาติคู่แข่งอย่าง "วิว กุลวุฒิ" ที่เอาชนะนักกีฬาชาติตนเอง

    สมมติว่าหากวันหนึ่งเรื่องลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับรัฐมนตรีของไทย โดยที่ยังไม่รู้ว่าเกิดขึ้นกับใคร พรรคอะไร สีเสื้อไหน ลองถามใจคุณผู้อ่านระหว่าง "ชาตินิยม" หรือ "น้ำใจนักกีฬา"?

    #Newskit #hannahyeoh #ViewKunlavut
    จะเลือกชาตินิยมหรือน้ำใจนักกีฬา? กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬามาเลเซีย ฮันนาห์ โหยว (Hannah Yeoh) โพสต์ภาพคู่กับ วิว กุลวุฒิ วิทิตสาร นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิก ปารีส 2024 ประเทศฝรั่งเศส ลงในอินสตาแกรมส่วนตัว @hannahyeoh กำลังเป็นที่วิจารณ์อย่างดุเดือดของชาวเน็ตมาเลเซีย เพราะจากอินสตาแกรมของเธอ ไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับ วิว กุลวุฒิ อย่างเดียว แต่โพสต์ก่อนหน้านี้ก็ถ่ายรูปคู่กับนักแบดมินตันชาติของตนที่ได้เหรียญทองแดง อย่าง อารอน เจี่ย (Aaron Chia) กับ โซห์ วุย ยิค (Soh Wooi Yik) ประเภทชายคู่ และ หลี่ จื่อเจีย (Lee Zii Jia) ประเภทชายเดี่ยว ที่แพ้ให้กับ วิว กุลวุฒิ รอบรองชนะเลิศ พร้อมข้อความให้กำลังใจ แต่ที่เป็นประเด็น คือประโยคห้อยท้ายที่กล่าวถึงวิว กุลวุฒิ ว่า "He has a new fan in me!" หรือ "ฉันเป็นแฟนคลับคนใหม่ของเขาไปแล้ว" คนไทยอาจชื่นใจ แต่ชาวมาเลย์ไซร้เป็นได้เดือดดาล ทัวร์ลงไม่แพ้ชาติใดในโลก โพสต์ข้อความโจมตี อาทิ "น้ำใจนักกีฬาและความรักชาติควรเริ่มต้นจากผู้นำ เวลานี้ทำไม่ถูก รูปนี้ควรเอาออกไป หรือคุณควรเก็บไว้ดูเอง ในความรู้สึกเห็นว่าไม่ถูกต้อง" "ถ้าอยากเป็นแฟนคลับอย่าใช้ตำแหน่งรัฐมนตรี ควรสวมเสื้อผ้าของตัวเอง ซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยเงินตัวเอง ชำระค่าโรงแรมและอาหารด้วยเงินตัวเอง" "คุณอยู่ในฐานะรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของมาเลเซีย ไม่ใช่ในฐานะผู้ชมทั่วไป แม้ว่าจะมีสิทธิ์ถ่ายรูปกับนักกีฬาคนใดก็ได้ แม้ไม่ใช่ชาวมาเลเซียก็ตาม แต่วิธีที่ดีที่สุดคือเก็บภาพนี้ไว้เป็นส่วนตัว แทนที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะ สิ่งที่คุณทำเป็นเรื่องน่าสะอิดสะเอียน ทำลายชื่อเสียงของคุณอย่างราบคาบ ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของรัฐบาลและพรรค DAP อย่าลืมว่ายังมีคนจำนวนมากกำลังจับผิดพรรค DAP และตอนนี้คุณได้ให้กระสุนแก่พวกเขาแบบฟรีๆ แล้ว อย่างไรก็ตาม ฉันยังคงเป็นแฟนคลับของคุณ แต่หวังว่าจะไม่ทำผิดแบบนี้ซ้ำในครั้งต่อไป เราเพียงต้องการแนะนำแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณ" ด้านเว็บไซต์ข่าว Malaysia Now ได้ตีพิมพ์บทความของ "ลี บุน เชียน" (Lee Boon Shian) ประธานกลุ่มเยาวชนเกอรากัน วิจารณ์ว่า ฮันนาห์ทำให้ชาวมาเลเซียผิดหวัง เพราะการเป็นรัฐมนตรีด้านกีฬาต้องรู้จักกาละเทศะ รัฐมนตรีที่เข้าร่วมมหกรรมกีฬาโอลิมปิกโดยใช้ภาษีประชาชน ควรจะเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของมาเลเซีย และสนับสนุนส่งเสริมนักกีฬาของชาติ "รัฐมนตรีของเรา (ฮันนาห์) ตั้งใจทำให้ประชาชนผิดหวังอีกครั้ง เธอได้เบี่ยงเบนความรับผิดชอบหลัก และกระทำการในฐานะส่วนตัวหลงใหลนักกีฬาต่างชาติคนหนึ่ง ที่เพิ่งเอาชนะนักกีฬาของเราไปได้ การมีความชอบส่วนตัวไม่ใช่เรื่องผิด แต่ควรเข้าใจแนวคิดง่ายๆ อย่างการมีกาละเทศะ ก่อนแสดงพฤติกรรมที่น่าหดหู่ใจ ซึ่งอาจสูญเสียขวัญและกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์" "ประชาชนจ่ายเงินให้คุณเพื่อให้ไปปฎิบัติหน้าที่ในโอลิมปิกปารีส แต่กลับไปถ่ายรูปกับนักกีฬาต่างชาติ ผลประโยชน์ส่วนตนควรถูกเก็บเป็นความลับเสมอเมื่อปฎิบัติหน้าที่ทางราชการ ควรเป็นแรงบันดาลใจทางศีลธรรมให้กับนักกีฬาและกองเชียร์ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักกีฬา เพื่อหาทางที่จะให้กระทรวงได้สนับสนุนวงการกีฬาที่ดีขึ้นในอนาคต" "จะให้ดีกว่านี้ ให้วางกลยุทธ์ว่าจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าโค้ชของเราจะไปร่วมกับนักกีฬาของเราในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคต แทนที่จะสงวนไว้สำหรับแขกวีไอพี" ลี บุน เชียน ระบุ อย่างไรก็ตาม​ มีชาวเน็ตที่มีน้ำใจนักกีฬา​หลายคน​ ต่างกล่าวว่า กรณีแบบนี้ไม่ควรแห่ทัวร์​ลง​ หรือคิดเล็กคิดน้อย และการแสดงความยินดีกับหนึ่งในประเทศอาเซียน ที่คว้าเหรียญโอลิมปิกมาได้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ด้าน​ ฮันนาห์ โหย่ว ได้โพสต์สตอรี่ในอินสตาแกรม ชี้แจงถึงค่านิยมของกีฬาโอลิมปิก 3 ประการ นั่นคือความเป็นเลิศ ความเป็นมิตร และความเคารพ พร้อมตอบคำถามชาวเน็ตฯ​ ชัดเจนว่า​ "เธอไปในฐานะรัฐมนตรีเยาวชนและการกีฬาของมาเลเซีย เป็นตัวแทนของมาเลเซีย และร่วมแสดงความยินดีกับเพื่อนบ้านอาเซียน อย่างประเทศไทย​" สำหรับฮันนาห์ โหยว ปัจจุบันอายุ 45 ปี ชาวสุบังจายา รัฐสลังงอร์ เป็นนักการเมืองสังกัดพรรค DAP ซึ่งอยู่ในกลุ่มปากาตันฮาราปัน (Pakatan Harapan) เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสลังงอร์ ปี 2551-2561 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสลังงอร์ ปี 2556-2561 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสตรี ครอบครัวและการพัฒนาชุมชนมาเลเซีย ปี 2561-2563 สมรสกับ รามจันทรัน มูเนียนดี (Ramachandran Muniandy) ผู้ก่อตั้งบริษัท เอเชีย โมบิลิตี้ (Asia Mobility) ที่ผ่านมาเธอถูกโจมตีกรณีที่รัฐบาลกลาง และรัฐบาลรัฐสลังงอร์อนุมัติโครงการขนส่งสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการเดินทาง (Demand Responsive Transit หรือ DRT) รัฐสลังงอร์ ให้กับเอเชีย โมบิลิตี้ ของสามี โดยไม่ผ่านการประกวดราคา กระทั่งมาเจอ "ตำบลกระสุนตก" จากกรณีถ่ายภาพคู่กับชาติคู่แข่งอย่าง "วิว กุลวุฒิ" ที่เอาชนะนักกีฬาชาติตนเอง สมมติว่าหากวันหนึ่งเรื่องลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นกับรัฐมนตรีของไทย โดยที่ยังไม่รู้ว่าเกิดขึ้นกับใคร พรรคอะไร สีเสื้อไหน ลองถามใจคุณผู้อ่านระหว่าง "ชาตินิยม" หรือ "น้ำใจนักกีฬา"? #Newskit #hannahyeoh #ViewKunlavut
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 721 Views 0 Reviews