• ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • พ่อเมืองน่านเปิดงาน “น่าน นันทบุรี สุขสะหรีปี๋ใหม่เมือง 2568” สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ยกระดับสู่เวทีโลก

    วันที่ 15 เมษายน 2568 เวลา 12.30 น. ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อ.เมืองน่าน จ.น่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานประเพณีสงกรานต์ “น่าน นันทบุรี สุขสะหรีปี๋ใหม่เมือง 2568” โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรม ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก
    งานนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของจังหวัดน่านและกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ผลักดันให้น่านเป็นหนึ่งใน 12 จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวสงกรานต์ สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบสานวิถีไทย พร้อมต่อยอดเทศกาลสงกรานต์ไทยสู่ระดับโลก ภายใต้แนวคิด “Festival Hub of Asia” เพื่อสร้างสังคมแห่งความผูกพัน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัว ชุมชน และสังคม
    พระวชิราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ได้เมตตาเอื้อเฟื้อสถานที่จัด

    @@@@@@@@

    กัลยา สองเมืองแก่น น่าน
    พ่อเมืองน่านเปิดงาน “น่าน นันทบุรี สุขสะหรีปี๋ใหม่เมือง 2568” สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ยกระดับสู่เวทีโลก วันที่ 15 เมษายน 2568 เวลา 12.30 น. ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อ.เมืองน่าน จ.น่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานประเพณีสงกรานต์ “น่าน นันทบุรี สุขสะหรีปี๋ใหม่เมือง 2568” โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรม ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก งานนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของจังหวัดน่านและกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่ผลักดันให้น่านเป็นหนึ่งใน 12 จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวสงกรานต์ สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบสานวิถีไทย พร้อมต่อยอดเทศกาลสงกรานต์ไทยสู่ระดับโลก ภายใต้แนวคิด “Festival Hub of Asia” เพื่อสร้างสังคมแห่งความผูกพัน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัว ชุมชน และสังคม พระวชิราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ได้เมตตาเอื้อเฟื้อสถานที่จัด @@@@@@@@ กัลยา สองเมืองแก่น น่าน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 83 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    .
    ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade
    .
    “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม”
    .
    ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค
    .
    อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/
    .
    “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ”
    .
    “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995”
    .
    “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย”
    .
    “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น”
    .
    “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่”
    .
    “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย”
    .
    ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา . ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade . “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม” . ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค . อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/ . “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ” . “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995” . “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย” . “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น” . “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่” . “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย” . ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    WWW.THE101.WORLD
    Amidst the Two Oceans ตอนที่ 3: ประชาคมอาเซียนในระเบียบโลกใหม่
    ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 322 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไม่เกิน 2025 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ(อย่างถาวร)

    ไม่ใช่ท่วมตามฤดูกาลแล้วแห้ง ไม่เหมือน น้ำท่วมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

    แต่..เป็น การเพิ่มมวลน้ำทะเล ทำให้มีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าปกติ รุกล้ำที่ลุ่มทั้งหมดในภาคกลาง 14 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างหนัก..จะจมหายไป ซึ่งเป็นการขยายอาณาเขตของทะเลตามปรับตัวของธรรมชาติ



    อ้างอิง :
    1. Report: Flooded Future: Global vulnerability to sea level rise worse than previously understood
    2. Rising Seas Will Erase More Cities by 2050, New Research Shows
    3. The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030
    ไม่เกิน 2025 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ(อย่างถาวร) ไม่ใช่ท่วมตามฤดูกาลแล้วแห้ง ไม่เหมือน น้ำท่วมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่..เป็น การเพิ่มมวลน้ำทะเล ทำให้มีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าปกติ รุกล้ำที่ลุ่มทั้งหมดในภาคกลาง 14 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างหนัก..จะจมหายไป ซึ่งเป็นการขยายอาณาเขตของทะเลตามปรับตัวของธรรมชาติ อ้างอิง : 1. Report: Flooded Future: Global vulnerability to sea level rise worse than previously understood 2. Rising Seas Will Erase More Cities by 2050, New Research Shows 3. The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 208 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว

    ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน

    สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว

    ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย

    #Newskit
    แอปฯ ViaBus สยายปีกสู่ลาว ติดตามรถเมล์เวียงจันทน์ได้แล้ว ในงานสัปดาห์ดิจิทัลลาว 2025 (Laos Digital Week 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เม.ย.2568 ที่หอประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจ คือ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ (VCSBE) ได้ร่วมกับ บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเวียบัส (ViaBus) เปิดบริการแจ้งติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ แก่รถโดยสารในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อพัฒนาการบริการ โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย สามารถติดตามรถเมล์ และจุดจอดรถเมล์ได้เหมือนที่ประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2568 นายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับท่านแก้ววันพร วอนทีวงสี ผู้อำนวยการใหญ่ รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่โรงแรมลาวพลาซ่า เพื่อพัฒนาระบบติดตามและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางผ่านแอปพลิเคชัน ViaBus โดยมีนายมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางกับภูมิภาคอาเซียนในมิติที่ทันสมัยและยั่งยืน สำหรับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 16 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งตลาดเช้า (Central Bus Station หรือ CBS) ไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ เช่น สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก, สนามบินสากลวัดไต, สถานีรถสายเหนือ, สถานีรถสายใต้, ศูนย์ประชุมลาวไอเต็ก (ITECC) รวมทั้งสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ (รถไฟลาว-จีน) และสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (รถไฟไทย-ลาว) เดิมมีเว็บไซต์ติดตามรถเมล์ https://lao.busnavi.asia อยู่แล้ว ความร่วมมือกับ ViaBus ที่มีผู้ใช้งาน 5 ล้านคน จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1.2 ล้านคนเดินทางในนครหลวงเวียงจันทน์สะดวกขึ้น รวมทั้งจูงใจชาวนครหลวงเวียงจันทน์กว่า 7 แสนคนหันมาใช้รถเมล์แทนรถส่วนตัว ก่อนหน้านี้ ViaBus ได้ทดลองติดตามรถเมล์แบบเรียลไทม์ที่ประเทศมาเลเซียใน 3 เมือง ได้แก่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เกาะปีนัง และเมืองยะโฮร์บาห์รู นับเป็นประเทศที่สองที่ ViaBus ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาได้ประกาศให้ผู้ประกอบการเดินรถทุกรายนำข้อมูล GPS รถเมล์มาเชื่อมระบบได้ฟรี โดยไม่ต้องพัฒนาระบบใหม่ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้ผู้โดยสารติดตามและใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง

    เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา

    ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว

    ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 320 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดินไม่ปรกติ ที่เมียนมาร์ น้ำเกือบไม่ปรกติที่หมู่เกาะทางใต้ ของอินโดฯ ใต้ภูเก็ต ลงไป วันนี้ ไฟไม่ปรกติ ท่อก๊าซที่มาเลเซีย เกิดไฟลุกความร้อน ไกลเป็นร้อยเมตร

    https://www.reuters.com/world/asia-pacific/huge-fire-petronas-gas-pipeline-malaysia-injures-33-2025-04-01/
    ดินไม่ปรกติ ที่เมียนมาร์ น้ำเกือบไม่ปรกติที่หมู่เกาะทางใต้ ของอินโดฯ ใต้ภูเก็ต ลงไป วันนี้ ไฟไม่ปรกติ ท่อก๊าซที่มาเลเซีย เกิดไฟลุกความร้อน ไกลเป็นร้อยเมตร https://www.reuters.com/world/asia-pacific/huge-fire-petronas-gas-pipeline-malaysia-injures-33-2025-04-01/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 167 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇻🇳 ทัวร์เวียดนามสุดฮิต! ดานัง - ฮอยอัน - พักบนบานาฮิลล์ 3 วัน 2 คืน 🌤️
    เดินทางช่วงสงกรานต์ เที่ยวแบบฟีลดี ไม่มีเปียกน้ำ 💦

    📅 เดินทาง 2 รอบ
    12-14 เม.ย. 68
    14-16 เม.ย. 68

    ✈️ สายการบิน AirAsia (FD)
    🏨 โรงแรมระดับ 4 ดาว
    ⛰️ พักบนบานาฮิลล์ 1 คืน สุดพรีเมียม

    🔥 ลดพิเศษ 3,000 บาท
    💰 เหลือเพียง 17,899 บาท เท่านั้น!

    📸 เที่ยวครบจบในทริปเดียว
    เดินเล่นเมืองโบราณฮอยอัน
    ถ่ายรูปสะพานมือสุดปัง
    นั่งกระเช้าชมวิวบานาฮิลล์
    จิบกาแฟสวยๆ ชิลๆ ที่ดานัง

    #เวียดนามกลาง #ดานัง #ฮอยอัน #บานาฮิลล์ #สะพานมือ #เที่ยวเวียดนาม #สงกรานต์ไม่เปียกน้ำ #เที่ยวช่วงหยุดยาว #eTravelway #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ราคาถูก

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    https://78s.me/e92f7d

    ดูทัวร์เวียดนามทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/8d0826

    LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307
    Facebook: etravelway 78s.me/8a4061
    Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5
    Tiktok : https://78s.me/543eb9
    📷: etravelway 78s.me/05e8da
    ☎️: 0 2116 6395
    🇻🇳 ทัวร์เวียดนามสุดฮิต! ดานัง - ฮอยอัน - พักบนบานาฮิลล์ 3 วัน 2 คืน 🌤️ เดินทางช่วงสงกรานต์ เที่ยวแบบฟีลดี ไม่มีเปียกน้ำ 💦 📅 เดินทาง 2 รอบ 12-14 เม.ย. 68 14-16 เม.ย. 68 ✈️ สายการบิน AirAsia (FD) 🏨 โรงแรมระดับ 4 ดาว ⛰️ พักบนบานาฮิลล์ 1 คืน สุดพรีเมียม 🔥 ลดพิเศษ 3,000 บาท 💰 เหลือเพียง 17,899 บาท เท่านั้น! 📸 เที่ยวครบจบในทริปเดียว เดินเล่นเมืองโบราณฮอยอัน ถ่ายรูปสะพานมือสุดปัง นั่งกระเช้าชมวิวบานาฮิลล์ จิบกาแฟสวยๆ ชิลๆ ที่ดานัง #เวียดนามกลาง #ดานัง #ฮอยอัน #บานาฮิลล์ #สะพานมือ #เที่ยวเวียดนาม #สงกรานต์ไม่เปียกน้ำ #เที่ยวช่วงหยุดยาว #eTravelway #ทัวร์ลดราคา #ทัวร์ไฟไหม้ #ทัวร์ราคาถูก ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://78s.me/e92f7d ดูทัวร์เวียดนามทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/8d0826 LINE ID: @etravelway 78s.me/d0c307 Facebook: etravelway 78s.me/8a4061 Twitter: @eTravelWay 78s.me/e603f5 Tiktok : https://78s.me/543eb9 📷: etravelway 78s.me/05e8da ☎️: 0 2116 6395
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
  • รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
    ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป

    เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว

    จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้

    วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ?
    แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540

    สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ

    ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง

    โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

    เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน

    จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต
    ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล

    พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น

    - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6%

    - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี

    - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น

    แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้

    ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567

    แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ?

    สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย

    แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567

    ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น

    ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท
    ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท
    ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท

    เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น

    ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี

    นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท

    Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน
    ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ
    ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

    รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น
    - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ
    - PLN บริษัทไฟฟ้า
    - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม

    แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล

    เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73%

    เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย
    ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ

    จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย

    ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%)

    ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5%

    โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง

    ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)

    อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย

    แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว
    ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน

    สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้..

    ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

    รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara
    ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
    ╔═══════════╗
    ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    TikTok - tiktok.com/@longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com
    -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played
    -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators
    -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html
    -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ? แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6% - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้ ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567 แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ? สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567 ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ - PLN บริษัทไฟฟ้า - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73% เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%) ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5% โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้.. ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย ╔═══════════╗ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download ╚═══════════╝ ติดตามลงทุนแมนได้ที่ Website - longtunman.com Blockdit - blockdit.com/longtunman Facebook - facebook.com/longtunman Twitter - twitter.com/longtunman Instagram - instagram.com/longtunman YouTube - youtube.com/longtunman TikTok - tiktok.com/@longtunman Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829 Soundcloud - soundcloud.com/longtunman References -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 816 มุมมอง 0 รีวิว
  • Map showing the current distribution of Siamese crocodiles in Southeast Asia as a years-long effort has brought the endangered animal back from the brink of extinction, with 10 of the reptiles being released by Fauna and Flora into the wild in Cambodia's Virachey national park.
    Read more: https://u.afp.com/Sw4E
    Map showing the current distribution of Siamese crocodiles in Southeast Asia as a years-long effort has brought the endangered animal back from the brink of extinction, with 10 of the reptiles being released by Fauna and Flora into the wild in Cambodia's Virachey national park. Read more: https://u.afp.com/Sw4E
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทุนมาเลย์สนใจรถไฟทางคู่ ชุมพร-ปาดังเบซาร์

    ในช่วงที่ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพอาเซียนในปี 2025 และรัฐบาลอันวาร์ อิบราฮิม มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ของประเทศไทย อาจจะได้เห็นข่าวความร่วมมือระหว่างมาเลเซียและไทยเป็นระยะ ล่าสุด พลเอกอาวุโส โมห์ด อาซูมิ โมฮัมเหม็ด (Mohd Azumi Mohamed) ประธานบริษัท ดายะ มาจู อินฟาสตรัคเจอร์ เอเชีย (Dhaya Maju Infrastructure Asia) หรือ DMIA บริษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากประเทศมาเลเซีย ได้เข้าพบกับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม และคณะ ที่กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา

    โดยบริษัท DMIA ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมการลงทุนในรูปแบบระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership) โครงการรถไฟทางคู่ ชุมพร-ปาดังเบซาร์ เชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีความยินดีที่ DMIA ให้ความสนใจ และหวังว่าจะได้มีความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทั้งสองประเทศร่วมกันในอนาคต ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ในด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบรางข้ามพรมแดนอย่างยั่งยืน รวมถึงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทยและมาเลเซียอีกด้วย

    ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กิโลเมตร และช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ระยะทาง 44 กิโลเมตร งานออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและงานโยธา ส่วนช่วงหาดใหญ่-สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระยะทาง 216 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้

    สำหรับบริษัท DMIA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 มีประสบการณ์งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง อสังหาริมทรัพย์ การฟื้นฟูเมือง การก่อสร้างและปรับปรุงทางรถไฟ ทั้งในประเทศมาเลเซียและต่างประเทศ นับเฉพาะโครงการทางรถไฟ เป็นผู้รับเหมาหลักโครงการปรับปรุงรถไฟทางคู่ติดระบบไฟฟ้าบนหุบเขาแคลง (KVDT) ตั้งแต่ราวังถึงซาลักเซาต์ (Rawang-Salak South) และโครงการระยะที่ 2 (KVDT2) จากซาลักเซาต์ถึงเซเรมบัน (Salak South-Seremban) และจากเคแอลเซ็นทรัลถึงพอร์ตแคลง (KL Sentral-Port Klang) เป็นต้น

    #Newskit
    ทุนมาเลย์สนใจรถไฟทางคู่ ชุมพร-ปาดังเบซาร์ ในช่วงที่ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพอาเซียนในปี 2025 และรัฐบาลอันวาร์ อิบราฮิม มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ของประเทศไทย อาจจะได้เห็นข่าวความร่วมมือระหว่างมาเลเซียและไทยเป็นระยะ ล่าสุด พลเอกอาวุโส โมห์ด อาซูมิ โมฮัมเหม็ด (Mohd Azumi Mohamed) ประธานบริษัท ดายะ มาจู อินฟาสตรัคเจอร์ เอเชีย (Dhaya Maju Infrastructure Asia) หรือ DMIA บริษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากประเทศมาเลเซีย ได้เข้าพบกับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม และคณะ ที่กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยบริษัท DMIA ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมการลงทุนในรูปแบบระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership) โครงการรถไฟทางคู่ ชุมพร-ปาดังเบซาร์ เชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีความยินดีที่ DMIA ให้ความสนใจ และหวังว่าจะได้มีความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทั้งสองประเทศร่วมกันในอนาคต ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ในด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบรางข้ามพรมแดนอย่างยั่งยืน รวมถึงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทยและมาเลเซียอีกด้วย ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กิโลเมตร และช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ระยะทาง 44 กิโลเมตร งานออกแบบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและงานโยธา ส่วนช่วงหาดใหญ่-สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ระยะทาง 216 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ สำหรับบริษัท DMIA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 มีประสบการณ์งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง อสังหาริมทรัพย์ การฟื้นฟูเมือง การก่อสร้างและปรับปรุงทางรถไฟ ทั้งในประเทศมาเลเซียและต่างประเทศ นับเฉพาะโครงการทางรถไฟ เป็นผู้รับเหมาหลักโครงการปรับปรุงรถไฟทางคู่ติดระบบไฟฟ้าบนหุบเขาแคลง (KVDT) ตั้งแต่ราวังถึงซาลักเซาต์ (Rawang-Salak South) และโครงการระยะที่ 2 (KVDT2) จากซาลักเซาต์ถึงเซเรมบัน (Salak South-Seremban) และจากเคแอลเซ็นทรัลถึงพอร์ตแคลง (KL Sentral-Port Klang) เป็นต้น #Newskit
    Like
    Love
    5
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 737 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ถึงคราวดับสิ้น VOA เสียงแห่งคนสารเลว บ่อนทำลายคนอื่นมานาน กลับโดนซะเอง หลังโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้าฟันงบแบบไม่เหลือซาก Voice of America (VOA), Radio Free Asia, Radio Free Europe ส่งผลนักข่าวซ้ายจัด พร้อมโปรดิวเซอร์ และเจ้าหน้าที่กว่า 1,300 คน ตกงานกระทันหัน
    #7ดอกจิก
    ♣ ถึงคราวดับสิ้น VOA เสียงแห่งคนสารเลว บ่อนทำลายคนอื่นมานาน กลับโดนซะเอง หลังโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้าฟันงบแบบไม่เหลือซาก Voice of America (VOA), Radio Free Asia, Radio Free Europe ส่งผลนักข่าวซ้ายจัด พร้อมโปรดิวเซอร์ และเจ้าหน้าที่กว่า 1,300 คน ตกงานกระทันหัน #7ดอกจิก
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 334 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งให้มีการลดจำนวนพนักงานของ Voice of America (VOA) และองค์กรสื่ออื่นๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาสหรัฐ ซึ่งรวมถึง U.S. Agency for Global Media ซึ่งเป็นสำนักงานของ Voice of America, Radio Free Europe and Asia และ Radio Marti ซึ่งส่งข่าวภาษาสเปนไปยังคิวบาทางการได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ขององค์กรสื่อเหล่านี้ในวันที่ 15 มีนาคม โดยผู้อำนวยการของ VOA กล่าวว่า พนักงานทั้งหมดถูกพักงาน หลังจากที่รัฐสภาได้ผ่านร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณฉบับล่าสุด ทรัมป์ได้สั่งให้มีการลดการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ลงเหลือเพียงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไมเคิล อับรามอวิซ ผู้อำนวยการ VOA ระบุในแถลงการณ์ว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 83 ปีที่ VOA ซึ่งเป็นองค์กรอันทรงเกียรต์กำลังถูกทำให้เงียบเสียง พนักงานเกือบทั้งหมดจากพนักงานของเรา 1,300 คนถูกสั่งพักงาน ที่มา : https://www.matichon.co.th/foreign/news_5094149
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ได้ลงนามในคำสั่งให้มีการลดจำนวนพนักงานของ Voice of America (VOA) และองค์กรสื่ออื่นๆ ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาสหรัฐ ซึ่งรวมถึง U.S. Agency for Global Media ซึ่งเป็นสำนักงานของ Voice of America, Radio Free Europe and Asia และ Radio Marti ซึ่งส่งข่าวภาษาสเปนไปยังคิวบาทางการได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ขององค์กรสื่อเหล่านี้ในวันที่ 15 มีนาคม โดยผู้อำนวยการของ VOA กล่าวว่า พนักงานทั้งหมดถูกพักงาน หลังจากที่รัฐสภาได้ผ่านร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณฉบับล่าสุด ทรัมป์ได้สั่งให้มีการลดการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ลงเหลือเพียงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไมเคิล อับรามอวิซ ผู้อำนวยการ VOA ระบุในแถลงการณ์ว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 83 ปีที่ VOA ซึ่งเป็นองค์กรอันทรงเกียรต์กำลังถูกทำให้เงียบเสียง พนักงานเกือบทั้งหมดจากพนักงานของเรา 1,300 คนถูกสั่งพักงาน ที่มา : https://www.matichon.co.th/foreign/news_5094149
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 355 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อขอให้ยุบหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีก 7 แห่ง รวมถึงหน่วยงานที่ดูแล Voice of America (VOA) และสื่ออื่นๆ ที่ได้รับทุนจากรัฐบาลทั่วโลก

    นอกจาก Voice of America แล้ว ยังรวมถึง Global Media ที่ถูกสั่งยุบ ซึ่งสำนักงานแห่งนี้ให้เงินสนับสนุน Radio Free Europe/Radio Liberty และ Radio Free Asia โดยรวมแล้วองค์กรเหล่านี้นี้มีงบประมาณประมาณ 270 ล้านดอลลาร์และมีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ทำการเผยแพร่ข่าวสารใน 49 ภาษา โดยมีผู้ฟังประมาณ 361 ล้านคนต่อสัปดาห์

    มีรายงานว่า ช่วงเช้าวันเสาร์ นักข่าวและพนักงานตำแหน่งอื่นจำนวนมากของ Voice of America ได้รับแจ้งว่าจะถูกพักงานผ่านทางอีเมล์
    ทรัมป์ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อขอให้ยุบหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีก 7 แห่ง รวมถึงหน่วยงานที่ดูแล Voice of America (VOA) และสื่ออื่นๆ ที่ได้รับทุนจากรัฐบาลทั่วโลก นอกจาก Voice of America แล้ว ยังรวมถึง Global Media ที่ถูกสั่งยุบ ซึ่งสำนักงานแห่งนี้ให้เงินสนับสนุน Radio Free Europe/Radio Liberty และ Radio Free Asia โดยรวมแล้วองค์กรเหล่านี้นี้มีงบประมาณประมาณ 270 ล้านดอลลาร์และมีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ทำการเผยแพร่ข่าวสารใน 49 ภาษา โดยมีผู้ฟังประมาณ 361 ล้านคนต่อสัปดาห์ มีรายงานว่า ช่วงเช้าวันเสาร์ นักข่าวและพนักงานตำแหน่งอื่นจำนวนมากของ Voice of America ได้รับแจ้งว่าจะถูกพักงานผ่านทางอีเมล์
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 485 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก

    แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.

    โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น

    อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่

    เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว

    ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น

    ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน

    #Newskit
    แอร์เอเชียจากแม่สู่ลูก แคปิตอล เอ (Capital A) หรือกลุ่มแอร์เอเชียเดิม ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ หลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และถูกตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia) จัดให้หุ้น CAPI อยู่ในสถานะ "PN17" หรือมีปัญหาทางการเงิน มาตั้งแต่ปี 2565 ล่าสุดได้รับอนุมัติแผนการปรับปรุงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. โทนี่ เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปิตอล เอ เปิดเผยว่า จะเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งพิเศษ (EGM) ในเดือน เม.ย. เพื่อขออนุมัติแผน ก่อนยื่นเรื่องไปที่ศาลสูงเพื่อขออนุมัติแผนลดทุนจดทะเบียน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการขายหุ้น แอร์เอเชีย เอวิเอชั่น กรุ๊ป (AAAGL) และมุ่งเน้นทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบิน หากปลดล็อกสถานะ PN17 ได้ จะสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ และเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง โทนี่ยังได้เสนอขายหุ้นแบบส่วนตัว มูลค่า 1,000 ล้านริงกิต (7,700 ล้านบาท) เพื่อระดมทุนในกลุ่มบริษัทฯ ล่าสุดถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว แต่ปฎิเสธข่าวกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดิอาระเบีย (PIF) มีแผนที่ลงทุนในกลุ่มบริษัทฯ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไม่ระบุว่าได้จองซื้อหุ้นจากการเสนอขายแบบส่วนตัวหรือไม่ เมื่อปีที่แล้ว แคปิตอล เอ ประกาศว่าจะขายธุรกิจการบินแอร์เอเชียให้กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ (Airasia X หรือหุ้น AIRX) ซึ่งแยกบริษัทออกมาทำธุรกิจการบินระยะไกล (มากกว่า 4 ชั่วโมง) ก่อนหน้านี้ ด้วยมูลค่า 6,800 ล้านริงกิต (52,000 ล้านบาท) และจะรวมแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ กับแอร์เอเชีย ภายใต้ชื่อ AirAsia เพียงแบรนด์เดียว ส่วนแคปิตอล เอ จะลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสม และปรับโครงสร้างธุรกิจเหลือเพียง 6 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจซ่อมบํารุงเครื่องบิน Asia Digital Engineering (ADE) สัดส่วนรายได้ 23% 2. ธุรกิจขนส่งสินค้า Teleport สัดส่วนรายได้ 40% 3. ธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล AirAsia MOVE สัดส่วนรายได้ 19% 4. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน Santan 5. ธุรกิจฟินเทค BigPay 6. ธุรกิจบริหารจัดการแบรนด์แอร์เอเชีย Abc. International เป็นต้น ก่อนหน้านี้สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคปิตอล เอ เปิดเผยผลประกอบการปี 2567 พบว่าขาดทุนสุทธิ 475.1 ล้านริงกิต (3,632 ล้านบาท) จากปี 2566 มีกำไร 255.3 ล้านริงกิต (1,952 ล้านบาท) ส่วนใหญ่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,400 ล้านริงกิต (10,700 ล้านบาท) โดยเฉพาะธุรกิจการบิน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ล้านริงกิต (12,000 ล้านบาท) จาก 345.3 ล้านริงกิต (2,640 ล้านบาท) เมื่อปีก่อน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 658 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง

    หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน

    แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ

    ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก

    การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู

    ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น

    #Newskit
    แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 596 มุมมอง 0 รีวิว
  • นี่อาจจะเป็นที่มาของกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก

    ในยุคของไบเดน สหรัฐอเมริกาใช้แรงกดดันทางการทูตอย่างหนัก เพื่อบังคับให้ไทย กรีซ ลิคเทนสไตน์ และประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมสิทธิพิเศษให้กับบุคคลที่ระบุตัวตนว่าเป็น LGBTQIA+ โดยใช้ USAID ทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อในการ "สนับสนุน" อย่างแข็งขัน

    ฝ่ายเสรีนิยมของอเมริกามีการวางแผนสนับสนุนคนข้ามเพศมาอย่างยาวนาน เช่น โครงการ "Being LGBT in Asia" ของ USAID ที่นำเงินไปลงทุนในองค์กรพัฒนาเอกชน "LGBT" ในเอเชีย ซึ่งมุ่งเน้นส่งเสริมสิทธิพื้นฐานของกลุ่ม LGBT ทั่วทั้งทวีปและในประเทศเป้าหมายเฉพาะ เช่น ไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

    นอกจากนี้ในปี 2014 สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนในกรุงเทพฯ ร่วมมือกับ USAID เพื่อยกระดับองค์กรในการแก้ไขปัญหาสิทธิของกลุ่ม LGBT
    นี่อาจจะเป็นที่มาของกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอก ในยุคของไบเดน สหรัฐอเมริกาใช้แรงกดดันทางการทูตอย่างหนัก เพื่อบังคับให้ไทย กรีซ ลิคเทนสไตน์ และประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมสิทธิพิเศษให้กับบุคคลที่ระบุตัวตนว่าเป็น LGBTQIA+ โดยใช้ USAID ทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อในการ "สนับสนุน" อย่างแข็งขัน ฝ่ายเสรีนิยมของอเมริกามีการวางแผนสนับสนุนคนข้ามเพศมาอย่างยาวนาน เช่น โครงการ "Being LGBT in Asia" ของ USAID ที่นำเงินไปลงทุนในองค์กรพัฒนาเอกชน "LGBT" ในเอเชีย ซึ่งมุ่งเน้นส่งเสริมสิทธิพื้นฐานของกลุ่ม LGBT ทั่วทั้งทวีปและในประเทศเป้าหมายเฉพาะ เช่น ไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ในปี 2014 สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนในกรุงเทพฯ ร่วมมือกับ USAID เพื่อยกระดับองค์กรในการแก้ไขปัญหาสิทธิของกลุ่ม LGBT
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 495 มุมมอง 0 รีวิว
  • DeepSeek ซึ่งเป็นบริษัท AI ชื่อดังของจีนวางแผนที่จะเผยแพร่โค้ดและข้อมูลสำคัญต่อสาธารณชนตั้งแต่สัปดาห์หน้า ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ไม่ธรรมดาในการแบ่งปันเทคโนโลยีหลักมากกว่าคู่แข่งอย่าง OpenAIสตาร์ทอัพอายุ 20 เดือนรายนี้ ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับซิลิคอนวัลเลย์ด้วยความซับซ้อนของโมเดล AI เมื่อเดือนที่แล้ว วางแผนที่จะเผยแพร่คลังโค้ดของตนให้กับนักพัฒนาและนักวิจัยทุกคน ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดและสร้างหรือปรับปรุงโค้ดเบื้องหลัง R1 หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับได้ โดยบริษัทได้ระบุไว้ในโพสต์บน Xhttps://www.bloomberg.com/news/articles/2025-02-21/deepseek-promises-to-share-even-more-ai-code-in-a-rare-step?srnd=homepage-asia
    DeepSeek ซึ่งเป็นบริษัท AI ชื่อดังของจีนวางแผนที่จะเผยแพร่โค้ดและข้อมูลสำคัญต่อสาธารณชนตั้งแต่สัปดาห์หน้า ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ไม่ธรรมดาในการแบ่งปันเทคโนโลยีหลักมากกว่าคู่แข่งอย่าง OpenAIสตาร์ทอัพอายุ 20 เดือนรายนี้ ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับซิลิคอนวัลเลย์ด้วยความซับซ้อนของโมเดล AI เมื่อเดือนที่แล้ว วางแผนที่จะเผยแพร่คลังโค้ดของตนให้กับนักพัฒนาและนักวิจัยทุกคน ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดและสร้างหรือปรับปรุงโค้ดเบื้องหลัง R1 หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับได้ โดยบริษัทได้ระบุไว้ในโพสต์บน Xhttps://www.bloomberg.com/news/articles/2025-02-21/deepseek-promises-to-share-even-more-ai-code-in-a-rare-step?srnd=homepage-asia
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 502 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทยมี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นราว 45% ของ GDP ไทย: รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ ข้อมูลจาก KKP Research บอกว่า ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ของไทยมีขนาดใหญ่ประมาณ 45% ของ GDP ประเทศ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก

    ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายด้วย ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีการเสียภาษี ไม่ต้องมีการบันทึกบัญชี ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ทำให้แรงงานมักไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และมีความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะสามารถช่วยสร้างงาน-สร้างรายได้ ช่วยให้การเริ่มธุรกิจง่ายและยืดหยุ่นกว่า ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจนอกระบบใกล้ตัวก็อย่างเช่นการทำเกษตร หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กๆ ในครอบครัวหรือมีจำนวนลูกจ้างไม่กี่คน

    แต่ปัญหาที่เกิดจาก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ก็มีมากมาย ทั้งเพิ่มโอกาสให้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ธุรกิจที่อยู่ในระบบถูกเอาเปรียบ รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือหนักๆ อาจกลายเป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชัน และในบางกรณีที่เป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจจะนำไปสู่การฟอกเงินหรืออาชญากรรมอื่นๆ ขึ้นมาอีก

    ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับขนาดของ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ในแต่ละประเทศด้วยว่าเหมาะสมไหม

    ถ้าดูจากสถิติจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเศรษฐกิจนอกระบบในสัดส่วนที่ต่ำมาก เพราะสามารถเคลื่อนย้ายเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาไว้ในระบบได้สำเร็จ ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของคนในชาติโดยรวม

    แต่อย่างประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจนอกระบบมากราวๆ 45% ของ GDP เป็นอันดับ 8 ของโลกนั้น ถือว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่มาก สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย

    โดยเมื่อคำนวณจาก GDP ไทยที่มีมูลค่าราวๆ 18 ล้านล้านบาทแล้ว จะพบว่าเศรษฐกิจนอกระบบไทยน่าจะมีมูลค่ามากถึง 8.1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

    ขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่เกินไป นำมาสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากแรงงานนอกระบบที่มีมากถึง 50% ของแรงงานทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้จน นำไปสู่การกู้นอกระบบสร้างวรจรหนี้ไม่รู้จบ ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

    หรือปัญหาหลีกเลี่ยงภาษีของธุรกิจมากกว่า 2.4 ล้านรายในไทย ที่ทำให้รัฐเสียรายได้ภาษีจำนวนมหาศาล ขณะที่ธุรกิจเองก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้เช่นกัน ข้อเสนอของภาคธุรกิจในระยะหลังจึงอยากให้รัฐบาลไทยนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาในระบบด้วยนโยบายที่เหมาะสมโดยเร็ว

    โดย Sirarom Techasriamornrat

    Source: Brandinside
    https://brandinside.asia/thailand-informal-economy-rank-8-in-the-world/
    ไทยมี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก คิดเป็นราว 45% ของ GDP ไทย: รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ ข้อมูลจาก KKP Research บอกว่า ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ของไทยมีขนาดใหญ่ประมาณ 45% ของ GDP ประเทศ ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมไปถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผิดกฎหมายด้วย ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีการเสียภาษี ไม่ต้องมีการบันทึกบัญชี ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ทำให้แรงงานมักไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย จริงๆ แล้ว ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และมีความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะสามารถช่วยสร้างงาน-สร้างรายได้ ช่วยให้การเริ่มธุรกิจง่ายและยืดหยุ่นกว่า ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจนอกระบบใกล้ตัวก็อย่างเช่นการทำเกษตร หาบเร่ แผงลอย ไปจนถึงการทำธุรกิจขนาดเล็กๆ ในครอบครัวหรือมีจำนวนลูกจ้างไม่กี่คน แต่ปัญหาที่เกิดจาก ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ก็มีมากมาย ทั้งเพิ่มโอกาสให้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ธุรกิจที่อยู่ในระบบถูกเอาเปรียบ รัฐบาลเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือหนักๆ อาจกลายเป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชัน และในบางกรณีที่เป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจจะนำไปสู่การฟอกเงินหรืออาชญากรรมอื่นๆ ขึ้นมาอีก ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับขนาดของ ‘เศรษฐกิจนอกระบบ’ ในแต่ละประเทศด้วยว่าเหมาะสมไหม ถ้าดูจากสถิติจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีเศรษฐกิจนอกระบบในสัดส่วนที่ต่ำมาก เพราะสามารถเคลื่อนย้ายเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาไว้ในระบบได้สำเร็จ ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของคนในชาติโดยรวม แต่อย่างประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจนอกระบบมากราวๆ 45% ของ GDP เป็นอันดับ 8 ของโลกนั้น ถือว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่มาก สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย โดยเมื่อคำนวณจาก GDP ไทยที่มีมูลค่าราวๆ 18 ล้านล้านบาทแล้ว จะพบว่าเศรษฐกิจนอกระบบไทยน่าจะมีมูลค่ามากถึง 8.1 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว ขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่เกินไป นำมาสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากแรงงานนอกระบบที่มีมากถึง 50% ของแรงงานทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้จน นำไปสู่การกู้นอกระบบสร้างวรจรหนี้ไม่รู้จบ ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาหลีกเลี่ยงภาษีของธุรกิจมากกว่า 2.4 ล้านรายในไทย ที่ทำให้รัฐเสียรายได้ภาษีจำนวนมหาศาล ขณะที่ธุรกิจเองก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่ได้เช่นกัน ข้อเสนอของภาคธุรกิจในระยะหลังจึงอยากให้รัฐบาลไทยนำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาในระบบด้วยนโยบายที่เหมาะสมโดยเร็ว โดย Sirarom Techasriamornrat Source: Brandinside https://brandinside.asia/thailand-informal-economy-rank-8-in-the-world/
    BRANDINSIDE.ASIA
    ไทยมี 'เศรษฐกิจนอกระบบ' ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก
    รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มี 'เศรษฐกิจนอกระบบ' ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเศรษฐกิจกับ GDP ประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 480 มุมมอง 0 รีวิว
  • จะยอมให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสองหรือไม่?

    มหันตภัยเกิดจากการนำไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าออกมาและมีการตัดต่อพันธุกรรม

    การสืบสวนสอบสวนของ คณะกรรมาธิการ สภาคองเกรส สหรัฐ ซึ่งแถลงรายงานในวันที่ 5 ธันวาคม 2024
    ได้สรุปถึงกำเนิดไวรัสโควิดเกิดจากมนุษย์ประดิษฐ์ จากข้อมูลตัวไวรัสเอง และ ที่เป็นไปไม่ได้จากธรรมชาติ ลักษณะการระบาด การไม่พบไวรัสโควิดในสัตว์ใด และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โดยไม่มีหลักฐานใดที่ชี้บ่งว่าเป็นวิวัฒนาการตามปกติของไวรัสในสัตว์สู่คน จุดรั่วระบาดที่ลามไปทั่วโลกนั้นไม่ได้เกิดที่ตลาดสดอู่ฮั่น แต่ ชี้บ่งไปที่ สถาบันวิจัยไวรัสอู๋ฮั่น (WIV) จากความบกพร่องของห้องชีวะนิรภัยระดับสี่
    นอกจากนั้นเป็นความร่วมมือขององค์กรสหรัฐ ฟาวซี และพวก ทั้งนี้ องค์กร พื้นฐานคือ เกตส์ gates foundation ในการ พัฒนาการสร้างไวรัสใหม่ที่ร้ายแรงกว่าเก่า ติดง่ายขึ้น แพร่ง่ายขึ้น ป่วยและตายมากขึ้น จนถึงติดคนสู่คนและให้แพร่ทางอากาศได้ โดยความรู้ในการสร้างไวรัสโคโรนามาจาก บาริค North Carolina ให้ ดร Shi
    และให้ทุนหลายประเทศทั่วทุกทวีปรวมประเทศไทย ในการเก็บรวบรวมไวรัสจากค้างคาว และสัตว์ป่า โดยประกาศบังหน้าว่าเพื่อให้ถอดรหัสพันธุกรรมว่ามีความโน้มเอียงที่จะเกิดการระบาดหรือไม่ (predict) รวมทั้งเพื่อการพัฒนาวัคซีน และการรับมือ (preparedness and response) ในชื่อรวม one health และหาไวัสทั้งโลก global virome project
    ทั้งนี้ทุนผ่านจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ DARPA DTRA USAID CDC เป็นต้น และ มีองค์กรผ่านเงิน EcoHealth alliance peter Daszak ไปยังประเทศไทยและอื่นๆ

    รัฐบาลใหม่สหรัฐที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 ไปแล้ว ทำตามที่ประกาศ และเริ่ม รื้อองค์กรเหล่านี้ และจัดการผู้ต้องรับผิดชอบ และรวมถึงการสมคบร่วมมือให้สินบนระหว่างบริษัทยายักษ์ใหญ่กับองค์กรรัฐ รวม NIH NIAID FDA CDC เป็นต้น สถาบันวิชาการ วารสาร การแพทย์ นักวิจัย เครือข่ายที่จัดการเซ็นเซอร์ข้อมูลที่เป็นจริงป้ายสีให้เป็นเท็จ เช่น ชัวร์ก่อนค่อยแชร์ fact check และเครือของสำนักข่าว และ ตระหนักถึงผลกระทบมหาศาลต่อชีวิตและความพิการเนื่องจากวัคซีน ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริง อย่างที่ประกาศและไม่ได้ปลอดภัยจริง

    หน่วยงาน ในประเทศไทยทั้งหมด ที่ยังคงหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า จนถึง ปัจจุบัน 2025 ต้องยุติกิจกรรมดังกล่าวโดย สิ้นเชิง ไม่ว่าเงินทุนจากต่างประเทศจะมากมายเพียงใดก็ตามหรือจะให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสอง
    และ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังมีการตั้งบุคคลต่างชาติ ที่มีการเปิดเผยว่ามีส่วนในการร่วมมือตัดต่อพันธุกรรมและกำเนิดโควิด ฝังตัวทำงานอยู่ในหน่วยงานองค์กรที่สำคัญของประเทศไทย

    ศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย ยุติการศึกษาวิจัยและยุติความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ

    ศูนย์ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าอบรมไวรัสสัตว์สู่คน ด้วยได้ทำการค้นหาไวรัสในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2000 จาก องค์กรให้ทุนประเทศไทย คือ สกว แลเ สวทช และตั้งแต่ปี 2011 ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยงานของเพนตากอน
    ศูนย์ได้ประกาศยุติการทำงานดังกล่าวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2018 และเด็ดขาดในปี 2020 โดยแจ้งให้หน่วยงานสหรัฐรวมกระทั่งถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากประเมินอันตรายที่ร้ายแรงอันอาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การลงพื้นที่จนกระทั่งถึงในห้องปฏิบัติการและนำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ไปยังชุมชนจนเป็นโรคระบาดทั่วประเทศ ประกอบกับเงื่อนงำของการเกิดโควิด
    อีกประการที่สำคัญก็คือในปี 2018 ก่อนเกิดโควิด และ 2019 เรื่อยมาจนถึง ตุลาคม2020 มีการประชุมจัดโดยองค์กร EcoHealth alliance และให้ศูนย์เป็นหน่วยงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EID SE Asia research collaboration hub (EID Search) ภายใต้ สถาบันสหรัฐ NIAID และ EcoHealth alliance ชื่อว่า CREID (Centre for Research in EID) ในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าโดยเฉพาะไวรัสในตระกูลโควิด ไวรัสในตระกูลอีโบล่าและไวรัสในตระกูลนิปาห์ สมองอักเสบและปอดบวมและอื่นๆจาก ไทย ลาว มาเลเซีย ซาราวัค เป็นต้น โดยให้มีการส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศและระบุว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้จากหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ปรับแต่งพันธุกรรมเหมือนมนุษย์ และมีรายละเอียดความสำเร็จของการสร้างไวรัสตัวใหม่ที่สามารถเข้ามามนุษย์ได้ดีขึ้นและก่อโรคได้แล้ว และเป็นที่มาที่ศูนย์ยุติความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง
    ไวรัสที่จะนำมาทดลองปรับแต่งนอกจากจะทำให้เข้ามามนุษย์และเกิดโรคแล้ว ประการสำคัญก็คือทำให้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ และเป็นที่น่าสังเกตไวรัสหลายตัวนั้นสามารถแพร่ทางอากาศได้ รายละเอียดเหล่านี้ปรากฏขึ้นก่อนการระบาดของโควิดในปลายปี 2019

    เหตุการณ์และหลักฐาน ยังปรากฏ ในบทความหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ โดยนักข่าว สืบสวน David Willman (investigative journalist รางวัลพูลิตเซอร์ ) ในวันที่ 10 เมษายน 2023 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน หลายประเทศ รวมทั้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคโรคอุบัติใหม่ ที่ยุติการรวบรวมตัวอย่างจากสัตว์ป่าและค้างคาว ถือว่าการหาเชื้อในคนถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดมากกว่าการหาไวรัสที่ไม่รู้จัก ที่จะมาคาดคะเนว่าจะเข้ามามนุษย์และจะเกิดโรคระบาดหรือไม่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอันตรายสูงสุดในการนำเชื้อจากสัตว์เข้ามามนุษย์ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง และการปฎิบัติในห้องแลป รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับไวรัสทั้งๆที่อุปกรณ์ป้องกันตัวอาจไม่ครบถ้วนและในประวัติที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทั้งห้องปฏิบัติการของศูนย์และของหน่วยงานสัตว์ป่าถูกค้างคาวกัด

    จากการประกาศจุดยืนชัดเจน และยุติกิจกรรม
    ใน วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) ที่ไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองใดๆ และทำหน้าที่ ในการตรวจสอบ การทำงานของหน่วยงานของสหรัฐในเรื่องการใช้งบประมาณรวมทั้งงบที่ให้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวได้ติดต่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ ในฐานะ program leader ที่ได้ทุนจาก สหรัฐ และ เพนตากอนในประเด็นว่าได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ ได้ประโยชน์หรือไม่ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงมีการการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ในการค้นหาไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวในการที่จะได้รับเชื้อเข้ามาในมนุษย์ เข้ามาในห้องปฏิบัติการและกระจายออกสู่ชุมชนหรือไม่ และมีความพร้อมเพียงใดในการป้องกันทางชีวภาพในระดับบุคคลและห้องปฏิบัติการและการบริหารเมื่อเกิดมีบุคลากรเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

    ทางศูนย์ สามารถสรุปได้ว่าการค้นหาไวรัสใหม่นั้นไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนการเกิดโรคอุบัติใหม่และไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติ และมาตรการในการรับมือกับการหลุดเล็ดรอดของเชื้อจะเป็นด้วยความยากมากในสถานภาพปัจจุบัน และ เป็นเหตุผลสำคัญ ในการต้องทำหลายตัวอย่างไวรัสทั้งหมด
    นอกจากนั้นข้อที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ปี 2558 กรณีที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น นั่นก็คือ การรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการหรือจากห้องเก็บตัวอย่างและเกิดความเสียหายมีการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบซึ่งก็คือผู้รับผิดชอบโครงการหรือหัวหน้าศูนย์จะต้องได้รับโทษตามหมวดเก้าและหมวด 10 ของพระราชบัญญัติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีตั้งแต่ การจำคุก สองปีถึง 10 ปีและปรับ จากหลักแสนเป็นหลักหลายล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น

    • หน่วยงานในประเทศไทย คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาหน่วยงานกาชาดรวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ยังได้รับทุนต่อเนื่องตั้งแต่ที่ศูนย์ยุติบทบาทและทำลายไวรัสทั้งหมด แม้กระทั่งในปัจจุบันเริ่มจากในปี 2024 มีการผ่านให้ทุนจาก CDC มาไทย หลายหน่วยงาน โดยยังมีการเก็บไวรัสจากค้างคาวโดยเน้น โคโรนา นิปาห์ อีโบลา และอ้างว่าจะไม่มีการส่งตัวอย่างออกนอกประเทศ แต่ทั้งนี้ด้วยการพัฒนาการสร้างไวรัสสามารถทำได้โดยเลือกไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมตรงกับแบบที่มีในดาต้าเบสและทำการตัดต่อได้ให้ห้องทดลอง ดังที่ประสบความสำเร็จในการสร้างไวรัสโควิด มาแล้ว

    ที่หาย ไปจากห้องชีวะนิรภัยระดับสี่ของออสเตรเลียนั้น อาจไม่ต้องตกใจมากเท่ากับ สิ่งที่ยังทำในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อกันเองระหว่างปฏิบัติการแพร่ไปให้ครอบครัวและชุมชนและต่อเนื่องไประดับประเทศและระดับโลก.

    ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ประธาน
    ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข
    และ
    ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
    มหาวิทยาลัยรังสิต

    เพิ่มเติม
    ประชาชาติธุรกิจ
    30 ตค 2566
    เหตุผลที่ถูกสั่งสอบสวนเพราะยุติ การเอาไวรัสจากค้างคาวมาศึกษาและการทำลายตัวอย่าง
    ย้อนกลับไปที่หมอธีระวัฒน์เตือน
    https://www.prachachat.net/general/news-1426137
    จะยอมให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสองหรือไม่? มหันตภัยเกิดจากการนำไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าออกมาและมีการตัดต่อพันธุกรรม การสืบสวนสอบสวนของ คณะกรรมาธิการ สภาคองเกรส สหรัฐ ซึ่งแถลงรายงานในวันที่ 5 ธันวาคม 2024 ได้สรุปถึงกำเนิดไวรัสโควิดเกิดจากมนุษย์ประดิษฐ์ จากข้อมูลตัวไวรัสเอง และ ที่เป็นไปไม่ได้จากธรรมชาติ ลักษณะการระบาด การไม่พบไวรัสโควิดในสัตว์ใด และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้โดยไม่มีหลักฐานใดที่ชี้บ่งว่าเป็นวิวัฒนาการตามปกติของไวรัสในสัตว์สู่คน จุดรั่วระบาดที่ลามไปทั่วโลกนั้นไม่ได้เกิดที่ตลาดสดอู่ฮั่น แต่ ชี้บ่งไปที่ สถาบันวิจัยไวรัสอู๋ฮั่น (WIV) จากความบกพร่องของห้องชีวะนิรภัยระดับสี่ นอกจากนั้นเป็นความร่วมมือขององค์กรสหรัฐ ฟาวซี และพวก ทั้งนี้ องค์กร พื้นฐานคือ เกตส์ gates foundation ในการ พัฒนาการสร้างไวรัสใหม่ที่ร้ายแรงกว่าเก่า ติดง่ายขึ้น แพร่ง่ายขึ้น ป่วยและตายมากขึ้น จนถึงติดคนสู่คนและให้แพร่ทางอากาศได้ โดยความรู้ในการสร้างไวรัสโคโรนามาจาก บาริค North Carolina ให้ ดร Shi และให้ทุนหลายประเทศทั่วทุกทวีปรวมประเทศไทย ในการเก็บรวบรวมไวรัสจากค้างคาว และสัตว์ป่า โดยประกาศบังหน้าว่าเพื่อให้ถอดรหัสพันธุกรรมว่ามีความโน้มเอียงที่จะเกิดการระบาดหรือไม่ (predict) รวมทั้งเพื่อการพัฒนาวัคซีน และการรับมือ (preparedness and response) ในชื่อรวม one health และหาไวัสทั้งโลก global virome project ทั้งนี้ทุนผ่านจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ DARPA DTRA USAID CDC เป็นต้น และ มีองค์กรผ่านเงิน EcoHealth alliance peter Daszak ไปยังประเทศไทยและอื่นๆ รัฐบาลใหม่สหรัฐที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 ไปแล้ว ทำตามที่ประกาศ และเริ่ม รื้อองค์กรเหล่านี้ และจัดการผู้ต้องรับผิดชอบ และรวมถึงการสมคบร่วมมือให้สินบนระหว่างบริษัทยายักษ์ใหญ่กับองค์กรรัฐ รวม NIH NIAID FDA CDC เป็นต้น สถาบันวิชาการ วารสาร การแพทย์ นักวิจัย เครือข่ายที่จัดการเซ็นเซอร์ข้อมูลที่เป็นจริงป้ายสีให้เป็นเท็จ เช่น ชัวร์ก่อนค่อยแชร์ fact check และเครือของสำนักข่าว และ ตระหนักถึงผลกระทบมหาศาลต่อชีวิตและความพิการเนื่องจากวัคซีน ที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริง อย่างที่ประกาศและไม่ได้ปลอดภัยจริง หน่วยงาน ในประเทศไทยทั้งหมด ที่ยังคงหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า จนถึง ปัจจุบัน 2025 ต้องยุติกิจกรรมดังกล่าวโดย สิ้นเชิง ไม่ว่าเงินทุนจากต่างประเทศจะมากมายเพียงใดก็ตามหรือจะให้ประเทศไทยเป็นอู่ฮั่นสอง และ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ยังมีการตั้งบุคคลต่างชาติ ที่มีการเปิดเผยว่ามีส่วนในการร่วมมือตัดต่อพันธุกรรมและกำเนิดโควิด ฝังตัวทำงานอยู่ในหน่วยงานองค์กรที่สำคัญของประเทศไทย ศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย ยุติการศึกษาวิจัยและยุติความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ ศูนย์ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าอบรมไวรัสสัตว์สู่คน ด้วยได้ทำการค้นหาไวรัสในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2000 จาก องค์กรให้ทุนประเทศไทย คือ สกว แลเ สวทช และตั้งแต่ปี 2011 ได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐและหน่วยงานของเพนตากอน ศูนย์ได้ประกาศยุติการทำงานดังกล่าวดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ปี 2018 และเด็ดขาดในปี 2020 โดยแจ้งให้หน่วยงานสหรัฐรวมกระทั่งถึงองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากประเมินอันตรายที่ร้ายแรงอันอาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การลงพื้นที่จนกระทั่งถึงในห้องปฏิบัติการและนำมาสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ไปยังชุมชนจนเป็นโรคระบาดทั่วประเทศ ประกอบกับเงื่อนงำของการเกิดโควิด อีกประการที่สำคัญก็คือในปี 2018 ก่อนเกิดโควิด และ 2019 เรื่อยมาจนถึง ตุลาคม2020 มีการประชุมจัดโดยองค์กร EcoHealth alliance และให้ศูนย์เป็นหน่วยงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EID SE Asia research collaboration hub (EID Search) ภายใต้ สถาบันสหรัฐ NIAID และ EcoHealth alliance ชื่อว่า CREID (Centre for Research in EID) ในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าโดยเฉพาะไวรัสในตระกูลโควิด ไวรัสในตระกูลอีโบล่าและไวรัสในตระกูลนิปาห์ สมองอักเสบและปอดบวมและอื่นๆจาก ไทย ลาว มาเลเซีย ซาราวัค เป็นต้น โดยให้มีการส่งตัวอย่างไปยังต่างประเทศและระบุว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์และก่อโรคได้จากหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ปรับแต่งพันธุกรรมเหมือนมนุษย์ และมีรายละเอียดความสำเร็จของการสร้างไวรัสตัวใหม่ที่สามารถเข้ามามนุษย์ได้ดีขึ้นและก่อโรคได้แล้ว และเป็นที่มาที่ศูนย์ยุติความร่วมมืออย่างสิ้นเชิง ไวรัสที่จะนำมาทดลองปรับแต่งนอกจากจะทำให้เข้ามามนุษย์และเกิดโรคแล้ว ประการสำคัญก็คือทำให้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ และเป็นที่น่าสังเกตไวรัสหลายตัวนั้นสามารถแพร่ทางอากาศได้ รายละเอียดเหล่านี้ปรากฏขึ้นก่อนการระบาดของโควิดในปลายปี 2019 เหตุการณ์และหลักฐาน ยังปรากฏ ในบทความหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ โดยนักข่าว สืบสวน David Willman (investigative journalist รางวัลพูลิตเซอร์ ) ในวันที่ 10 เมษายน 2023 เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน หลายประเทศ รวมทั้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคโรคอุบัติใหม่ ที่ยุติการรวบรวมตัวอย่างจากสัตว์ป่าและค้างคาว ถือว่าการหาเชื้อในคนถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดมากกว่าการหาไวรัสที่ไม่รู้จัก ที่จะมาคาดคะเนว่าจะเข้ามามนุษย์และจะเกิดโรคระบาดหรือไม่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอันตรายสูงสุดในการนำเชื้อจากสัตว์เข้ามามนุษย์ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง การขนส่งตัวอย่าง และการปฎิบัติในห้องแลป รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับไวรัสทั้งๆที่อุปกรณ์ป้องกันตัวอาจไม่ครบถ้วนและในประวัติที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ทั้งห้องปฏิบัติการของศูนย์และของหน่วยงานสัตว์ป่าถูกค้างคาวกัด จากการประกาศจุดยืนชัดเจน และยุติกิจกรรม ใน วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐ U.S. government accountability office (GAO) ที่ไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองใดๆ และทำหน้าที่ ในการตรวจสอบ การทำงานของหน่วยงานของสหรัฐในเรื่องการใช้งบประมาณรวมทั้งงบที่ให้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวได้ติดต่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ ในฐานะ program leader ที่ได้ทุนจาก สหรัฐ และ เพนตากอนในประเด็นว่าได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ ได้ประโยชน์หรือไม่ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงมีการการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ในการค้นหาไวรัสจากสัตว์ป่าดังกล่าวในการที่จะได้รับเชื้อเข้ามาในมนุษย์ เข้ามาในห้องปฏิบัติการและกระจายออกสู่ชุมชนหรือไม่ และมีความพร้อมเพียงใดในการป้องกันทางชีวภาพในระดับบุคคลและห้องปฏิบัติการและการบริหารเมื่อเกิดมีบุคลากรเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ทางศูนย์ สามารถสรุปได้ว่าการค้นหาไวรัสใหม่นั้นไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนการเกิดโรคอุบัติใหม่และไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้รวมทั้งเปิดเผยความเสี่ยงสูงสุดในขั้นตอนต่างๆในการปฏิบัติ และมาตรการในการรับมือกับการหลุดเล็ดรอดของเชื้อจะเป็นด้วยความยากมากในสถานภาพปัจจุบัน และ เป็นเหตุผลสำคัญ ในการต้องทำหลายตัวอย่างไวรัสทั้งหมด นอกจากนั้นข้อที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ปี 2558 กรณีที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น นั่นก็คือ การรั่วไหลจากห้องปฏิบัติการหรือจากห้องเก็บตัวอย่างและเกิดความเสียหายมีการติดเชื้อ ผู้รับผิดชอบซึ่งก็คือผู้รับผิดชอบโครงการหรือหัวหน้าศูนย์จะต้องได้รับโทษตามหมวดเก้าและหมวด 10 ของพระราชบัญญัติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีตั้งแต่ การจำคุก สองปีถึง 10 ปีและปรับ จากหลักแสนเป็นหลักหลายล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามลักษณะของความเสียหายที่เกิดขึ้น • หน่วยงานในประเทศไทย คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาหน่วยงานกาชาดรวมทั้งมหาวิทยาลัยอื่น ยังได้รับทุนต่อเนื่องตั้งแต่ที่ศูนย์ยุติบทบาทและทำลายไวรัสทั้งหมด แม้กระทั่งในปัจจุบันเริ่มจากในปี 2024 มีการผ่านให้ทุนจาก CDC มาไทย หลายหน่วยงาน โดยยังมีการเก็บไวรัสจากค้างคาวโดยเน้น โคโรนา นิปาห์ อีโบลา และอ้างว่าจะไม่มีการส่งตัวอย่างออกนอกประเทศ แต่ทั้งนี้ด้วยการพัฒนาการสร้างไวรัสสามารถทำได้โดยเลือกไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมตรงกับแบบที่มีในดาต้าเบสและทำการตัดต่อได้ให้ห้องทดลอง ดังที่ประสบความสำเร็จในการสร้างไวรัสโควิด มาแล้ว ที่หาย ไปจากห้องชีวะนิรภัยระดับสี่ของออสเตรเลียนั้น อาจไม่ต้องตกใจมากเท่ากับ สิ่งที่ยังทำในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อกันเองระหว่างปฏิบัติการแพร่ไปให้ครอบครัวและชุมชนและต่อเนื่องไประดับประเทศและระดับโลก. ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประธาน ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และ ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เพิ่มเติม ประชาชาติธุรกิจ 30 ตค 2566 เหตุผลที่ถูกสั่งสอบสวนเพราะยุติ การเอาไวรัสจากค้างคาวมาศึกษาและการทำลายตัวอย่าง ย้อนกลับไปที่หมอธีระวัฒน์เตือน https://www.prachachat.net/general/news-1426137
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1050 มุมมอง 0 รีวิว
  • EP 6 นี้ขอแลกเปลี่ยนและนำเสนอมุมมองปรากฏการณ์การรวมตัวกันขององค์กรและสมาคมทางการบินระหว่างประเทศจากทั่วโลกที่ได้ออกประกาศเป็นหนังสือเรียกร้องให้รัฐภาคีประเทศต่าง ๆ ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( International Civil Aviation Organization: ICAO) ปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดตามภาคผนวกที่ 13 แห่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Annex 13 - Aircraft Accident and Incident Investigation) โดยขอให้รัฐหรือประเทศต่าง ๆ เร่งดำเนินการสอบสวนและนำเสนอรายงานผลการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานที่เกิดขึ้นในความรับผิดชอบของตนที่ยังค้างคาหรือยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนฉบับสุดท้าย (Final Investigation Report) ออกมาหรือมีเพียงแค่รายงานเบื้องต้น (Preliminary Report) หรือรายงานฉบับบกลาง (Interim Report) เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินตามหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยทางการบินที่เกิดขึ้นรวมทั้งแนวทางหรือมาตรการป้องกันไม่ให้มีเหตุการณ์ทำนองเดิมเกิดซ้ำอีก

    สำหรับองค์กรและสมาคมทางการบินระหว่างประเทศที่รวมตัวกันออกแถลงการณ์ร่วมกันในครั้งนี้ได้แก่
    1. Airport Council International, Europe (ACI Europe),
    2. European Cockpit Association (ECA),
    3. Flight Safety Foundation (FSF),
    4. International Air Transport Association (IATA),
    5. The International Coordinating Council of Aerospace Industries Association (ICCAIA),
    6. International Federation of Air Line Pilots’ Associations (IFALPA) และ
    7. International Federation of Air Traffic Controllers’ Associations (IFATCA)
    โดยก่อนหน้านี้ทาง IATA เองได้ออกหนังสือประกาศเรื่องทำนองเดียวกันนี้เรียกร้องให้รัฐภาคีสมาชิกของ ICAO เร่งรัดให้มีการดำเนินการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุหรืออากาศยานอุบัติการณรุนแรงและให้รีบเผยแพร่รายงานออกมาครั้งหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 2566 (ดูภาพเอกสารตามที่แนบมา) แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีความคืบหน้าอะไรที่ชัดเจนนัก

    ทั้งนี้คงไม่น่าแปลกใจเท่าไรนักสำหรับการออกแถลงการณ์ร่วมในครั้งนี้เพราะถ้าเราสังเกตุดูดีดีจะเห็นว่าตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันมีเหตุการณ์อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานจากทั่วโลกเกิดขึ้นซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนที่ถี่มาก ทั้งนี้เมื่อเทียบข้อมูลสถิติที่ระบุอยู่ในเอกสารฉบับนี้จะพบว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานกับจำนวนรายงานผลการสอบสวนฯที่จะรายงานมาพร้อมกับข้อมูลปัจจัยที่เป็นสาเหตุและมาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดซ้ำอีกเพื่อไว้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินได้มีแนวทางป้องกันนั้นมีน้อยมาก ยกตัวอย่างบางส่วนของตัวเลขสถิติตามข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัยประจำปี ระหว่างปี 2018 ถึง 2023 จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.67 ข้อมูลอุบัติเหตุที่ IATA บันทึกไว้ในจำนวนอุบัติเหตุ 268 รายการมีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุฉบับสุดท้าย 140 รายการ (52%) ในขณะที่อีก 128 รายการยังไม่มีผลรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุอากาศยานฉบับสุดท้ายออกมา คิดเป็น 48%

    เนื้อหาในเอกสารแถลงการณ์ฉบับนี้ยังได้ระบุรายละเอียดถึงขนาดที่ว่ารัฐบางรัฐไม่ได้มีการสอบสวนเหตุการณ์อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงเลยตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา บางรัฐออกเพียงรายงานเบื้องต้นหรือรายงานฉบับกลางเพียงเท่านั้นซึ่งน่าจะไม่มีประโยชน์เท่าใดนักที่ผู้ที่มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมการบินจะนำไปใช้ หนำซ้ำรัฐบางรัฐออกรายงานฉบับกลางเพื่อจะให้เป็นข้อมูลเสมือนหนึ่งเป็นรายงานฉบับสุดท้ายและจะไม่ดำเนินการอะไรต่อเลย เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงในรูปแบบเดิมก็สามารถเกิดขึ้นได้อีก ทั้งนี้ในมาตรฐานตาม ICAO Annex 13 นั้นรายงานผลการสอบสวนฉบับสุดท้ายควรออกมาโดยเร็วที่สุดหรือภายใน 12 เดือนนับจากวันที่เกิดเหตุการณ์ ซึ่งตามข้อมูลใน พรบ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ผู้เขียนยังไม่เห็นถ้อยคำกฎหมายที่ชัดเจนที่ระบุรายละเอียดตามข้อความตามที่ ICAO Annex 13 กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดรูปแบบรายงานเบื้องต้นผลการสอบสวนอุบัติเหตุของอากากาศยานหรืออุบัติการณ์รุนแรง รายงานฉบับกลางฯ และรายงานฉบับสุดท้ายฯหรือข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาที่ควรต้องระบุไว้สำหรับการออกรายงานว่าจะต้องออกภายในระยะเวลาเท่าใดหรือกี่เดือน เท่าที่ทราบจะมีก็เพียงข้อกำหนดที่ระบุอยู่ในมาตรฐานคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้นซึ่งรัฐควรต้องระบุอยู่ในกฎหมายของตนตามวัตถุประสงค์ของการออกข้อกำหนดมาตรฐานใน Annex ต่าง ๆ ของ ICAO (อันนี้ถ้าข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงไปแล้วต้องขออภัยเป็นอย่างสูงหรือใครมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสามารถแชร์ได้นะครับ)

    สำหรับประกาศหรือหนังสือแถลงการณ์ฉบับนี้ นัยสำคัญในเรื่องนี้คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นการสื่อสารโดยตรงหรือโดยอ้อมไปยังองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ว่าองค์กรแห่งนี้ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหนด้านการกำกับดูแลด้านมาตรฐานและความปลอดภัยการบินพลเรือนระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆที่เป็นรัฐภาคีเพราะเมื่อกลางปี 2566 IATA เองก็ได้ออกประกาศเรียกร้องมาแล้วตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มาครั้งนี้มีการรวมตัวกันของสมาคมหรือองค์กรทางการบินระหว่างประเทศหลายองค์กร ทาง ICAO จะสามารถนิ่งเฉยเสียงเรียกร้องอยู่ได้โดยจะไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมที่เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินได้หรือไม่ สำหรับมุมมองของผู้เขียนเองมองว่าการดำเนินงานของ ICAO ระยะหลังรู้สึกกังวลความมีประสิทธิภาพขององค์กรแห่งนี้เป็นอย่างมากโดยดูจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งรายงานการจัดการข้อบกพร่องทางกายภาพของสนามบินหรือการจัดการด้านอื่น ๆ และการดำเนินการตามมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ที่บางรายการมีลำดับความเร่งด่วนที่มีผลต่อความปลอดภัยสูงแต่ก็สามารถคงอยู่มาได้มากว่า 15 ปีแล้วโดยที่ไม่มีอะไรที่การันตีได้เลยว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยกับข้อบกพร่องนั้นที่อยู่ในรายงานของ ICAO ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ICAO Asia and Pacific: ICAO APAC) นี้เลย

    ในส่วนของการดำเนินการของประเทศเราตามที่สมาคมหรือองค์กรทางการบินระหว่างประเทศต่าง ๆ เรียกร้องมานั้น ถ้าเข้าไปดูข้อมูลในเวปไซต์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบก็มีลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกับแถลงการณ์ฉบับบนี้ ถ้าดูให้ลึกต่อไปถึงโครงสร้างองค์กรหรือความเป็นอิสระของการดำเนินการด้านการสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินของประเทศ จากมุมมองส่วนตัวแล้วน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเข้าไปดูรายงานการสอบสวนฯฉบับบกลางของอุบัติการณ์รุนแรงทางการบินบางรายงานที่จะยังรอผลสอบสวนฉบับสุดท้ายถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันแล้ว จะเกิดความรู้สึกโชคดีมากที่เราไม่ค่อยเดินทางทางอากาศเท่าใดนัก นี้ยังไม่นับรวมถึงโครงการตรวจสอบด้านมาตรฐานการบินพลเรือนประเทศไทยของ ICAO ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ (ซึ่งถูกเลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว) ว่าผลการตรวจสอบคงเดาไม่ยากว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เราจะต้องเตรียมตัวถึง Significant Safety Concerns (SSC) หรือธงแดงอีกหรือไม่เพราะเท่าที่ทราบในหัวข้ออื่น ๆ อีกหลายเรื่องที่ ICAO ตรวจสอบก็มีข้อที่น่ากังวลด้านมาตรฐานและความปลอดภัยหลายหัวข้อ ยิ่งก่อนหน้านี้มีอุบัติเหตุเครื่องบินตกและมีผู้เสียชีวิตยกลำในประเทศเรามาแล้วยิ่งน่ากังวลใหญ่ เรื่องบางเรื่อง ICAO เขามีข้อมูลแล้วไม่ใช่เขาจะไม่รู้ อยู่ที่ว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลจะจัดการแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ที่กังวลว่า ICAO จะสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือมีข้อจำกัดบางประการหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นผลกระทบด้านความน่าเชื่อถือขององค์กรแห่งนี้ก็จะมีไม่น้อยและจะเสื่อมถอยไปในที่สุด ตามหลักอธิปจยตา "เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น"

    ข้อมูลอ้างอิง
    1. https://www.ifalpa.org/publications/library/publication-of-final-reports--4144
    2. https://www.iata.org/en/pressroom/2023-releases/2023-06-05-07/
    EP 6 นี้ขอแลกเปลี่ยนและนำเสนอมุมมองปรากฏการณ์การรวมตัวกันขององค์กรและสมาคมทางการบินระหว่างประเทศจากทั่วโลกที่ได้ออกประกาศเป็นหนังสือเรียกร้องให้รัฐภาคีประเทศต่าง ๆ ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( International Civil Aviation Organization: ICAO) ปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดตามภาคผนวกที่ 13 แห่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Annex 13 - Aircraft Accident and Incident Investigation) โดยขอให้รัฐหรือประเทศต่าง ๆ เร่งดำเนินการสอบสวนและนำเสนอรายงานผลการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานที่เกิดขึ้นในความรับผิดชอบของตนที่ยังค้างคาหรือยังไม่มีรายงานผลการสอบสวนฉบับสุดท้าย (Final Investigation Report) ออกมาหรือมีเพียงแค่รายงานเบื้องต้น (Preliminary Report) หรือรายงานฉบับบกลาง (Interim Report) เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินตามหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยทางการบินที่เกิดขึ้นรวมทั้งแนวทางหรือมาตรการป้องกันไม่ให้มีเหตุการณ์ทำนองเดิมเกิดซ้ำอีก สำหรับองค์กรและสมาคมทางการบินระหว่างประเทศที่รวมตัวกันออกแถลงการณ์ร่วมกันในครั้งนี้ได้แก่ 1. Airport Council International, Europe (ACI Europe), 2. European Cockpit Association (ECA), 3. Flight Safety Foundation (FSF), 4. International Air Transport Association (IATA), 5. The International Coordinating Council of Aerospace Industries Association (ICCAIA), 6. International Federation of Air Line Pilots’ Associations (IFALPA) และ 7. International Federation of Air Traffic Controllers’ Associations (IFATCA) โดยก่อนหน้านี้ทาง IATA เองได้ออกหนังสือประกาศเรื่องทำนองเดียวกันนี้เรียกร้องให้รัฐภาคีสมาชิกของ ICAO เร่งรัดให้มีการดำเนินการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุหรืออากาศยานอุบัติการณรุนแรงและให้รีบเผยแพร่รายงานออกมาครั้งหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ 5 มิ.ย. 2566 (ดูภาพเอกสารตามที่แนบมา) แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีความคืบหน้าอะไรที่ชัดเจนนัก ทั้งนี้คงไม่น่าแปลกใจเท่าไรนักสำหรับการออกแถลงการณ์ร่วมในครั้งนี้เพราะถ้าเราสังเกตุดูดีดีจะเห็นว่าตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันมีเหตุการณ์อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานจากทั่วโลกเกิดขึ้นซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนที่ถี่มาก ทั้งนี้เมื่อเทียบข้อมูลสถิติที่ระบุอยู่ในเอกสารฉบับนี้จะพบว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงของอากาศยานกับจำนวนรายงานผลการสอบสวนฯที่จะรายงานมาพร้อมกับข้อมูลปัจจัยที่เป็นสาเหตุและมาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดซ้ำอีกเพื่อไว้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินได้มีแนวทางป้องกันนั้นมีน้อยมาก ยกตัวอย่างบางส่วนของตัวเลขสถิติตามข้อมูลรายงานด้านความปลอดภัยประจำปี ระหว่างปี 2018 ถึง 2023 จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.67 ข้อมูลอุบัติเหตุที่ IATA บันทึกไว้ในจำนวนอุบัติเหตุ 268 รายการมีรายงานผลการสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุฉบับสุดท้าย 140 รายการ (52%) ในขณะที่อีก 128 รายการยังไม่มีผลรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุอากาศยานฉบับสุดท้ายออกมา คิดเป็น 48% เนื้อหาในเอกสารแถลงการณ์ฉบับนี้ยังได้ระบุรายละเอียดถึงขนาดที่ว่ารัฐบางรัฐไม่ได้มีการสอบสวนเหตุการณ์อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงเลยตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา บางรัฐออกเพียงรายงานเบื้องต้นหรือรายงานฉบับกลางเพียงเท่านั้นซึ่งน่าจะไม่มีประโยชน์เท่าใดนักที่ผู้ที่มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมการบินจะนำไปใช้ หนำซ้ำรัฐบางรัฐออกรายงานฉบับกลางเพื่อจะให้เป็นข้อมูลเสมือนหนึ่งเป็นรายงานฉบับสุดท้ายและจะไม่ดำเนินการอะไรต่อเลย เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นนี้อุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์รุนแรงในรูปแบบเดิมก็สามารถเกิดขึ้นได้อีก ทั้งนี้ในมาตรฐานตาม ICAO Annex 13 นั้นรายงานผลการสอบสวนฉบับสุดท้ายควรออกมาโดยเร็วที่สุดหรือภายใน 12 เดือนนับจากวันที่เกิดเหตุการณ์ ซึ่งตามข้อมูลใน พรบ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ผู้เขียนยังไม่เห็นถ้อยคำกฎหมายที่ชัดเจนที่ระบุรายละเอียดตามข้อความตามที่ ICAO Annex 13 กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดรูปแบบรายงานเบื้องต้นผลการสอบสวนอุบัติเหตุของอากากาศยานหรืออุบัติการณ์รุนแรง รายงานฉบับกลางฯ และรายงานฉบับสุดท้ายฯหรือข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาที่ควรต้องระบุไว้สำหรับการออกรายงานว่าจะต้องออกภายในระยะเวลาเท่าใดหรือกี่เดือน เท่าที่ทราบจะมีก็เพียงข้อกำหนดที่ระบุอยู่ในมาตรฐานคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้นซึ่งรัฐควรต้องระบุอยู่ในกฎหมายของตนตามวัตถุประสงค์ของการออกข้อกำหนดมาตรฐานใน Annex ต่าง ๆ ของ ICAO (อันนี้ถ้าข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงไปแล้วต้องขออภัยเป็นอย่างสูงหรือใครมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสามารถแชร์ได้นะครับ) สำหรับประกาศหรือหนังสือแถลงการณ์ฉบับนี้ นัยสำคัญในเรื่องนี้คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นการสื่อสารโดยตรงหรือโดยอ้อมไปยังองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ว่าองค์กรแห่งนี้ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหนด้านการกำกับดูแลด้านมาตรฐานและความปลอดภัยการบินพลเรือนระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆที่เป็นรัฐภาคีเพราะเมื่อกลางปี 2566 IATA เองก็ได้ออกประกาศเรียกร้องมาแล้วตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มาครั้งนี้มีการรวมตัวกันของสมาคมหรือองค์กรทางการบินระหว่างประเทศหลายองค์กร ทาง ICAO จะสามารถนิ่งเฉยเสียงเรียกร้องอยู่ได้โดยจะไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมที่เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการบินได้หรือไม่ สำหรับมุมมองของผู้เขียนเองมองว่าการดำเนินงานของ ICAO ระยะหลังรู้สึกกังวลความมีประสิทธิภาพขององค์กรแห่งนี้เป็นอย่างมากโดยดูจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งรายงานการจัดการข้อบกพร่องทางกายภาพของสนามบินหรือการจัดการด้านอื่น ๆ และการดำเนินการตามมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ที่บางรายการมีลำดับความเร่งด่วนที่มีผลต่อความปลอดภัยสูงแต่ก็สามารถคงอยู่มาได้มากว่า 15 ปีแล้วโดยที่ไม่มีอะไรที่การันตีได้เลยว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยกับข้อบกพร่องนั้นที่อยู่ในรายงานของ ICAO ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ICAO Asia and Pacific: ICAO APAC) นี้เลย ในส่วนของการดำเนินการของประเทศเราตามที่สมาคมหรือองค์กรทางการบินระหว่างประเทศต่าง ๆ เรียกร้องมานั้น ถ้าเข้าไปดูข้อมูลในเวปไซต์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบก็มีลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกับแถลงการณ์ฉบับบนี้ ถ้าดูให้ลึกต่อไปถึงโครงสร้างองค์กรหรือความเป็นอิสระของการดำเนินการด้านการสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินของประเทศ จากมุมมองส่วนตัวแล้วน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเข้าไปดูรายงานการสอบสวนฯฉบับบกลางของอุบัติการณ์รุนแรงทางการบินบางรายงานที่จะยังรอผลสอบสวนฉบับสุดท้ายถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันแล้ว จะเกิดความรู้สึกโชคดีมากที่เราไม่ค่อยเดินทางทางอากาศเท่าใดนัก นี้ยังไม่นับรวมถึงโครงการตรวจสอบด้านมาตรฐานการบินพลเรือนประเทศไทยของ ICAO ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ (ซึ่งถูกเลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว) ว่าผลการตรวจสอบคงเดาไม่ยากว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เราจะต้องเตรียมตัวถึง Significant Safety Concerns (SSC) หรือธงแดงอีกหรือไม่เพราะเท่าที่ทราบในหัวข้ออื่น ๆ อีกหลายเรื่องที่ ICAO ตรวจสอบก็มีข้อที่น่ากังวลด้านมาตรฐานและความปลอดภัยหลายหัวข้อ ยิ่งก่อนหน้านี้มีอุบัติเหตุเครื่องบินตกและมีผู้เสียชีวิตยกลำในประเทศเรามาแล้วยิ่งน่ากังวลใหญ่ เรื่องบางเรื่อง ICAO เขามีข้อมูลแล้วไม่ใช่เขาจะไม่รู้ อยู่ที่ว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลจะจัดการแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ที่กังวลว่า ICAO จะสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือมีข้อจำกัดบางประการหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นผลกระทบด้านความน่าเชื่อถือขององค์กรแห่งนี้ก็จะมีไม่น้อยและจะเสื่อมถอยไปในที่สุด ตามหลักอธิปจยตา "เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น" ข้อมูลอ้างอิง 1. https://www.ifalpa.org/publications/library/publication-of-final-reports--4144 2. https://www.iata.org/en/pressroom/2023-releases/2023-06-05-07/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 643 มุมมอง 0 รีวิว
  • " แต่ตามบันทึกรายงานการประชุมกลับมีการระบุว่าที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2566 และเห็นควรมีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงการ ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 4/2566 ไม่ได้มีมติดังกล่าวแต่อย่างใด อันเป็นการทําเอกสารรายงาน การประชุมอันเป็นเท็จ "

    https://shorturl.asia/RZ6m9
    " แต่ตามบันทึกรายงานการประชุมกลับมีการระบุว่าที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2566 และเห็นควรมีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงการ ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 4/2566 ไม่ได้มีมติดังกล่าวแต่อย่างใด อันเป็นการทําเอกสารรายงาน การประชุมอันเป็นเท็จ " https://shorturl.asia/RZ6m9
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์

    'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก

    ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้

    สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป

    ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ

    ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่

    - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร

    - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา

    - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา

    - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา

    - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา

    ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World

    ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป

    ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว

    ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์ 'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้ สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่ - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 823 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผมถือคติว่าจะไม่เก็บไพ่ที่สร้างจาก Fandom ที่ตัวเองไม่คุ้นเคย เว้นแต่มันจะสวยตาแตกหรือมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดใจผม และ 'World of Warcraft Tarot' (2024) ก็สวยจนเข้าข่ายข้อยกเว้นในแบบแรก

    ไพ่ชุดนี้ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. Titan Books โดยได้ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Blizzard Entertainment หนึ่งในค่ายเกมยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมในซีรีส์ World of Warcraft รวมถึงเกมชื่อดังอีกหลายเกม เช่น Overwatch, StarCraft และ Diablo (อันหลังนี่ถูก Titan Books นำไปสร้างเป็นไพ่ทาโรต์ด้วย)

    World of Warcraft เป็นเกม MMORPG (RPG แบบที่ต้องต่อเน็ตเล่นกับชาวบ้าน) ในแฟรนไชส์เกม Warcraft ต่อมาแตกแขนงออกไปเป็นเกมแนววางแผนการรบชื่อ DotA (อ่านว่า โดต้า แต่คนไทยชอบเรียก ด็อตเอ) ซึ่งเคยเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นชาย gen Y และ gen X ตอนปลาย นอกจากนั้นตัว Warcraft ที่เป็นเกมหลัก ยังเคยถูกนำไปสร้างดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายในปี 2016 ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไร

    ก่อนจะเข้าเรื่องไพ่ ผมขอเกริ่นถึงจักรวาล Warcraft ที่เป็นฉากท้องเรื่องเดียวกับไพ่ชุดที่กำลังรีวิวนี้คร่าว ๆ นะครับ Warcraft จัดว่าเป็นสื่อแนวแฟนตาซีประเภทเล่นใหญ่ มีเวทมนตร์และเผ่าพันธุ์อมนุษย์จำพวกที่พบเจอบ่อย ๆ ได้นิยายและหนังแฟนตาซี เช่น เอลฟ์ คนแคระ ออร์ก ฯลฯ แต่ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่พอจะแยก Warcraft จากเรื่องแฟนตาซีอื่น ๆ อยู่บ้างก็คือ เผ่าพันธุ์ออร์กซึ่งรับบทตัวร้ายหลัก อพยพมาจากดาวเคราะห์บ้านเกิดชื่อ Draenor ซึ่งกำลังจะล่มสลาย ข้ามประตูเวทมายังดาว Azeroth ที่มีมนุษย์ เอลฟ์ คนแคระ และเผ่าพันธุ์อื่น ๆ อาศัยอยู่ และเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาจากนั้นก็กลายเป็นสงครามการรุกรานและแย่งชิงดินแดนโดยพวกออร์กอีกมากมายหลายครั้งในซีรีส์นี้ เอาละ รู้แค่นี้พอ กลับมาเรื่องไพ่

    ไพ่ World of Warcraft Tarot สร้างขึ้นโดยอ้างอิงเนื้อเรื่องในจักรวาล Warcraft แต่ถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรู้เนื้อเรื่องของตัวละครหรือฉากบนหน้าไพ่ ตอบเลยว่าไม่จำเป็นครับ ไพ่ในสำรับ 78 ใบ เกือบทุกใบมีโครงสร้างหน้าไพ่ที่ใกล้เคียงกับชุดมาตรฐานอย่าง RWS โดยเฉพาะในไพ่ชุดรองทั้ง 4 ตระกูล

    ส่วนในไพ่ชุดหลัก 22 ใบ บางใบถ้าดูแค่หน้าไพ่อย่างเดียวก็จะงง ๆ หน่อย หาความเชื่อมโยงกับไพ่ในระบบมาตรฐานไม่ได้ เช่น ไพ่ The Fool และ Temperance มีรูปมังกรยืนจังก้าอยู่ ไพ่ Tower มีรูปดาบ ถ้าปิดชื่อปิดหมายเลขก็อาจทำให้หลงนึกว่าเป็นไพ่ 1 ดาบได้

    ยังดีที่ในคู่มือที่แถมมากับไพ่มีการอธิบาย Lore หรือเกร็ดเรื่องราวของสิ่งที่อยู่บนหน้าไพ่ชุดหลักทั้ง 22 ใบเอาไว้พอสังเขป อ่านแล้วจะพอเข้าใจว่าตัวละครหรือสิ่งของบนหน้าไพ่นั้นมีความเป็นมาหรือบทบาทที่เชื่อมโยงกับความหมายไพ่ใบนั้น ๆ อย่างไร น่าเสียดายที่ในส่วนของไพ่ชุดเล็กจะไม่มีการอธิบาย Lore แบบเดียวกันนี้อยู่ แค่บอกความหมายของไพ่ตามปกติ ขอเสริมเล็กน้อยว่าผู้เขียนคู่มือของไพ่ชุดนี้คือ Ian Flynn ซึ่งเป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องในการ์ตูนคอมิกชื่อดังหลายเรื่องของอเมริกา

    ในแง่การผลิต ไพ่ชุดนี้ถือว่าเป็นไพ่ Fandom ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. เป็นทางการ (คือไม่ใช่ผู้ผลิตอิสระ) ที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเจอมา ภาพหน้าไพ่มีโทนสีหลักแค่ 1-2 สี ล้อมอยู่ในกรอบสีทองสะท้อนแสงบนพื้นหลังสีขาวนวล บรรจุในกล่องฝาครอบแข็งจั่วปังสีขาวลายหินอ่อนพร้อมริบบิ้นสีทองสำหรับใช้งัดไพ่ออกจากกล่อง

    ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตเคลือบด้านที่น่าจะหนา 360 - 400 gsm หน้าไพ่ปั๊มทองสะท้อนแสงตรงกรอบไพ่ หลังไพ่เคลือบ UV เฉพาะจุดบนรูปวงพลังธาตุทั้ง 6 ในจักรวาล Warcraft ทุกอย่างกรีดร้องออกมาเป็นคำว่า เรียบหรู ขัดกับภาพลักษณ์ความเป็นเกมสำหรับวัยรุ่นเกรียนแตกแบบ DotA ในความทรงจำของผมอย่างไรชอบกล (ซึ่งถือเป็นเรื่องดี)

    สำหรับคนที่ไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับ World of Warcraft แต่หลงใหลในความแฟนตาซีเรียบหรูของไพ่ชุดนี้ ส่วนตัวผมอยากฝากคำแนะนำว่า คุณไม่ต้องไปแคร์กับหน้าไพ่ แต่ใช้ไพ่ชุดนี้โดยยึดความหมายไพ่ตามขนบหรือตามแนวทางที่คุณเรียนมาไปเลย ไม่จำเป็นต้องอ่านเกร็ดเนื้อเรื่องในคู่มือหรือตามศึกษาเนื้อเรื่องจากจักรวาล Warcraft แต่ถ้ามีเวลาว่างทำ คุณก็อาจจะได้แง่มุมอะไรเพิ่มเติมจากเกร็ดเนื้อเรื่องไว้ไปใช้ประกอบการตีความไพ่ด้วยก็ได้ครับ การใช้ไพ่ Fandom ทุกชุดก็มีหลักไม่ต่างกันนี้

    ปัจจุบัน World of Warcraft Tarot มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้าน Asia Books ทุกสาขาครับ
    ผมถือคติว่าจะไม่เก็บไพ่ที่สร้างจาก Fandom ที่ตัวเองไม่คุ้นเคย เว้นแต่มันจะสวยตาแตกหรือมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดใจผม และ 'World of Warcraft Tarot' (2024) ก็สวยจนเข้าข่ายข้อยกเว้นในแบบแรก ไพ่ชุดนี้ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. Titan Books โดยได้ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Blizzard Entertainment หนึ่งในค่ายเกมยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมในซีรีส์ World of Warcraft รวมถึงเกมชื่อดังอีกหลายเกม เช่น Overwatch, StarCraft และ Diablo (อันหลังนี่ถูก Titan Books นำไปสร้างเป็นไพ่ทาโรต์ด้วย) World of Warcraft เป็นเกม MMORPG (RPG แบบที่ต้องต่อเน็ตเล่นกับชาวบ้าน) ในแฟรนไชส์เกม Warcraft ต่อมาแตกแขนงออกไปเป็นเกมแนววางแผนการรบชื่อ DotA (อ่านว่า โดต้า แต่คนไทยชอบเรียก ด็อตเอ) ซึ่งเคยเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นชาย gen Y และ gen X ตอนปลาย นอกจากนั้นตัว Warcraft ที่เป็นเกมหลัก ยังเคยถูกนำไปสร้างดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายในปี 2016 ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไร ก่อนจะเข้าเรื่องไพ่ ผมขอเกริ่นถึงจักรวาล Warcraft ที่เป็นฉากท้องเรื่องเดียวกับไพ่ชุดที่กำลังรีวิวนี้คร่าว ๆ นะครับ Warcraft จัดว่าเป็นสื่อแนวแฟนตาซีประเภทเล่นใหญ่ มีเวทมนตร์และเผ่าพันธุ์อมนุษย์จำพวกที่พบเจอบ่อย ๆ ได้นิยายและหนังแฟนตาซี เช่น เอลฟ์ คนแคระ ออร์ก ฯลฯ แต่ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่พอจะแยก Warcraft จากเรื่องแฟนตาซีอื่น ๆ อยู่บ้างก็คือ เผ่าพันธุ์ออร์กซึ่งรับบทตัวร้ายหลัก อพยพมาจากดาวเคราะห์บ้านเกิดชื่อ Draenor ซึ่งกำลังจะล่มสลาย ข้ามประตูเวทมายังดาว Azeroth ที่มีมนุษย์ เอลฟ์ คนแคระ และเผ่าพันธุ์อื่น ๆ อาศัยอยู่ และเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาจากนั้นก็กลายเป็นสงครามการรุกรานและแย่งชิงดินแดนโดยพวกออร์กอีกมากมายหลายครั้งในซีรีส์นี้ เอาละ รู้แค่นี้พอ กลับมาเรื่องไพ่ ไพ่ World of Warcraft Tarot สร้างขึ้นโดยอ้างอิงเนื้อเรื่องในจักรวาล Warcraft แต่ถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรู้เนื้อเรื่องของตัวละครหรือฉากบนหน้าไพ่ ตอบเลยว่าไม่จำเป็นครับ ไพ่ในสำรับ 78 ใบ เกือบทุกใบมีโครงสร้างหน้าไพ่ที่ใกล้เคียงกับชุดมาตรฐานอย่าง RWS โดยเฉพาะในไพ่ชุดรองทั้ง 4 ตระกูล ส่วนในไพ่ชุดหลัก 22 ใบ บางใบถ้าดูแค่หน้าไพ่อย่างเดียวก็จะงง ๆ หน่อย หาความเชื่อมโยงกับไพ่ในระบบมาตรฐานไม่ได้ เช่น ไพ่ The Fool และ Temperance มีรูปมังกรยืนจังก้าอยู่ ไพ่ Tower มีรูปดาบ ถ้าปิดชื่อปิดหมายเลขก็อาจทำให้หลงนึกว่าเป็นไพ่ 1 ดาบได้ ยังดีที่ในคู่มือที่แถมมากับไพ่มีการอธิบาย Lore หรือเกร็ดเรื่องราวของสิ่งที่อยู่บนหน้าไพ่ชุดหลักทั้ง 22 ใบเอาไว้พอสังเขป อ่านแล้วจะพอเข้าใจว่าตัวละครหรือสิ่งของบนหน้าไพ่นั้นมีความเป็นมาหรือบทบาทที่เชื่อมโยงกับความหมายไพ่ใบนั้น ๆ อย่างไร น่าเสียดายที่ในส่วนของไพ่ชุดเล็กจะไม่มีการอธิบาย Lore แบบเดียวกันนี้อยู่ แค่บอกความหมายของไพ่ตามปกติ ขอเสริมเล็กน้อยว่าผู้เขียนคู่มือของไพ่ชุดนี้คือ Ian Flynn ซึ่งเป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องในการ์ตูนคอมิกชื่อดังหลายเรื่องของอเมริกา ในแง่การผลิต ไพ่ชุดนี้ถือว่าเป็นไพ่ Fandom ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. เป็นทางการ (คือไม่ใช่ผู้ผลิตอิสระ) ที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเจอมา ภาพหน้าไพ่มีโทนสีหลักแค่ 1-2 สี ล้อมอยู่ในกรอบสีทองสะท้อนแสงบนพื้นหลังสีขาวนวล บรรจุในกล่องฝาครอบแข็งจั่วปังสีขาวลายหินอ่อนพร้อมริบบิ้นสีทองสำหรับใช้งัดไพ่ออกจากกล่อง ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตเคลือบด้านที่น่าจะหนา 360 - 400 gsm หน้าไพ่ปั๊มทองสะท้อนแสงตรงกรอบไพ่ หลังไพ่เคลือบ UV เฉพาะจุดบนรูปวงพลังธาตุทั้ง 6 ในจักรวาล Warcraft ทุกอย่างกรีดร้องออกมาเป็นคำว่า เรียบหรู ขัดกับภาพลักษณ์ความเป็นเกมสำหรับวัยรุ่นเกรียนแตกแบบ DotA ในความทรงจำของผมอย่างไรชอบกล (ซึ่งถือเป็นเรื่องดี) สำหรับคนที่ไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับ World of Warcraft แต่หลงใหลในความแฟนตาซีเรียบหรูของไพ่ชุดนี้ ส่วนตัวผมอยากฝากคำแนะนำว่า คุณไม่ต้องไปแคร์กับหน้าไพ่ แต่ใช้ไพ่ชุดนี้โดยยึดความหมายไพ่ตามขนบหรือตามแนวทางที่คุณเรียนมาไปเลย ไม่จำเป็นต้องอ่านเกร็ดเนื้อเรื่องในคู่มือหรือตามศึกษาเนื้อเรื่องจากจักรวาล Warcraft แต่ถ้ามีเวลาว่างทำ คุณก็อาจจะได้แง่มุมอะไรเพิ่มเติมจากเกร็ดเนื้อเรื่องไว้ไปใช้ประกอบการตีความไพ่ด้วยก็ได้ครับ การใช้ไพ่ Fandom ทุกชุดก็มีหลักไม่ต่างกันนี้ ปัจจุบัน World of Warcraft Tarot มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้าน Asia Books ทุกสาขาครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 700 มุมมอง 0 รีวิว
  • สั้น ๆ
    ... เป็นการเคลื่อนย้ายทองจากอังกฤษเข้าสหรัฐ จากเกรงนโยบาย tariff ของทรัมป์ (ทั้งที่ไม่มี mention ใด ๆ ของทรัมป์เกี่ยวกับทองคำเลย) กระทบสภาพคล่องทองคำของลอนดอน
    ... ระยะเวลาการส่งมอบทองคำของ BoE ถูกยืดจากไม่กี่วันเป็น 4 -8 สัปดาห์
    ... ปี 2024 จีนเก็บทองเข้าทุนสำรองเพิ่ม 600 ตัน
    ... ช่วง ~2 เดือนที่ผ่านมากทองคำจำนวน 12.2 ล้านทรอยออนซ์ถูกนำส่งเข้าคลัง COMEX ส่งผลจำนวนทองคำในสต็อกขึ้น 70% ไปแตะ 29.8 ล้านออนซ์ สูงสุดนับจาก สค. 2022
    ... มีคำถามว่า มูฟนี้กระทบอะไรมั้ย ทาง BoE ตอบว่า เราไม่ได้อยู่ใน gold standard แล้ว มูฟนี้ไม่มีผลกระทบอะไรที่มีความสำคัญ

    *ธนาคารกลางเพิ่มการซื้อทองคำเข้าพอร์ต + อีกกว่า 40 ประเทศที่ดึงทองคำ (ทองจริง ไม่ใช่สัญญากระดาษ) กลับเข้าคลังตัวเองจากสหรัฐและอังกฤษ
    ............................
    London gold market queues up to borrow central bank gold after big shipments to US, sources say
    By Polina Devitt
    Jan 30, 2025

    LONDON, Jan 29 (Reuters) - London bullion market players are racing to borrow gold from central banks, which store bullion in London, following a surge in gold deliveries to the United States on speculation of potential import tariffs there, two sources familiar with the matter said.
    The minimum waiting time to load gold out of the Bank of England, which stores gold for central banks, has reached four weeks, one of the sources said. In normal times, the release time is a few days or a week.
    Advertisement · Scroll to continue

    U.S. President Donald Trump has not mentioned precious metals in his tariff plans, but the risk has been enough to boost gold deliveries to New York as part of the market sought to hedge its positions on the U.S. COMEX (CME.O), opens new tab exchange and part sought to benefit from a jump in the price premium of COMEX futures over London spot prices .
    London is home to the world's largest over-the-counter gold trading hub, where market players trade directly with each other rather than via an exchange.
    Advertisement · Scroll to continue

    "The key with the BoE is that they are not a commercial vault so not prepared to handle the onslaught of gold borrowing banks are requesting from the central banks," said Robert Gottlieb, an industry expert and former head of precious metals at Koch Supply and Trading.
    The size of so-called Loco London free float, the amount of gold readily available to the London OTC market stored in London, has fallen after the jump in supplies to New York.

    Over the last two months, 12.2 million troy ounces of gold were delivered to COMEX-approved warehouses , raising stocks there by 70% to 29.8 million ounces, the highest since August 2022.

    Reports of the flow of gold to New York attracted the attention of the British parliament's Treasury Committee, one of whose members asked BoE Governor Andrew Bailey on Wednesday whether he saw any risks in this development.

    "We are not in the gold standard anymore, it doesn't have significance for policy in that sense," Bailey replied, referring to an extinct monetary system where gold backed the value of a currency.
    However, London remained a major gold market, and "if you want to be involved in that market and you want to trade and use your gold, you really need to have it in London," Bailey added.

    Deliveries to the U.S. left less free-float metal in London vaults, the metal that is not owned by central banks or holdings of physically-backed gold exchange-traded funds. This in turn boosted demand from players in London who are ready to lease their gold and make it available to the OTC market.

    Liquidity challenges in other large trading hubs are less pronounced than in London but are being felt globally, said Alexander Zumpfe, a precious metals trader at Heraeus Metals.

    "The logistical complexities of moving large quantities of gold, particularly from Europe to the U.S., are amplifying these stresses. Asia has also seen some knock-on effects, particularly in markets like Singapore and Hong Kong," Zumpfe added.

    ... CME gold stocks rose by 12.2 mln oz, or 70% over two months
    ... Deliveries to NY tightened London gold market free float
    ... London bullion market seeks to borrow gold from central banks
    ... Ripple effects felt in other gold hubs after CME deliveries

    Reporting by Polina Devitt, Additional reporting by Pratima Desai and David Milliken, Editing by Mark Potter and Chris Reese
    Summary

    https://www.reuters.com/world/uk/london-gold-market-queues-up-borrow-central-bank-gold-after-big-shipments-us-2025-01-29/
    สั้น ๆ ... เป็นการเคลื่อนย้ายทองจากอังกฤษเข้าสหรัฐ จากเกรงนโยบาย tariff ของทรัมป์ (ทั้งที่ไม่มี mention ใด ๆ ของทรัมป์เกี่ยวกับทองคำเลย) กระทบสภาพคล่องทองคำของลอนดอน ... ระยะเวลาการส่งมอบทองคำของ BoE ถูกยืดจากไม่กี่วันเป็น 4 -8 สัปดาห์ ... ปี 2024 จีนเก็บทองเข้าทุนสำรองเพิ่ม 600 ตัน ... ช่วง ~2 เดือนที่ผ่านมากทองคำจำนวน 12.2 ล้านทรอยออนซ์ถูกนำส่งเข้าคลัง COMEX ส่งผลจำนวนทองคำในสต็อกขึ้น 70% ไปแตะ 29.8 ล้านออนซ์ สูงสุดนับจาก สค. 2022 ... มีคำถามว่า มูฟนี้กระทบอะไรมั้ย ทาง BoE ตอบว่า เราไม่ได้อยู่ใน gold standard แล้ว มูฟนี้ไม่มีผลกระทบอะไรที่มีความสำคัญ *ธนาคารกลางเพิ่มการซื้อทองคำเข้าพอร์ต + อีกกว่า 40 ประเทศที่ดึงทองคำ (ทองจริง ไม่ใช่สัญญากระดาษ) กลับเข้าคลังตัวเองจากสหรัฐและอังกฤษ ............................ London gold market queues up to borrow central bank gold after big shipments to US, sources say By Polina Devitt Jan 30, 2025 LONDON, Jan 29 (Reuters) - London bullion market players are racing to borrow gold from central banks, which store bullion in London, following a surge in gold deliveries to the United States on speculation of potential import tariffs there, two sources familiar with the matter said. The minimum waiting time to load gold out of the Bank of England, which stores gold for central banks, has reached four weeks, one of the sources said. In normal times, the release time is a few days or a week. Advertisement · Scroll to continue U.S. President Donald Trump has not mentioned precious metals in his tariff plans, but the risk has been enough to boost gold deliveries to New York as part of the market sought to hedge its positions on the U.S. COMEX (CME.O), opens new tab exchange and part sought to benefit from a jump in the price premium of COMEX futures over London spot prices . London is home to the world's largest over-the-counter gold trading hub, where market players trade directly with each other rather than via an exchange. Advertisement · Scroll to continue "The key with the BoE is that they are not a commercial vault so not prepared to handle the onslaught of gold borrowing banks are requesting from the central banks," said Robert Gottlieb, an industry expert and former head of precious metals at Koch Supply and Trading. The size of so-called Loco London free float, the amount of gold readily available to the London OTC market stored in London, has fallen after the jump in supplies to New York. Over the last two months, 12.2 million troy ounces of gold were delivered to COMEX-approved warehouses , raising stocks there by 70% to 29.8 million ounces, the highest since August 2022. Reports of the flow of gold to New York attracted the attention of the British parliament's Treasury Committee, one of whose members asked BoE Governor Andrew Bailey on Wednesday whether he saw any risks in this development. "We are not in the gold standard anymore, it doesn't have significance for policy in that sense," Bailey replied, referring to an extinct monetary system where gold backed the value of a currency. However, London remained a major gold market, and "if you want to be involved in that market and you want to trade and use your gold, you really need to have it in London," Bailey added. Deliveries to the U.S. left less free-float metal in London vaults, the metal that is not owned by central banks or holdings of physically-backed gold exchange-traded funds. This in turn boosted demand from players in London who are ready to lease their gold and make it available to the OTC market. Liquidity challenges in other large trading hubs are less pronounced than in London but are being felt globally, said Alexander Zumpfe, a precious metals trader at Heraeus Metals. "The logistical complexities of moving large quantities of gold, particularly from Europe to the U.S., are amplifying these stresses. Asia has also seen some knock-on effects, particularly in markets like Singapore and Hong Kong," Zumpfe added. ... CME gold stocks rose by 12.2 mln oz, or 70% over two months ... Deliveries to NY tightened London gold market free float ... London bullion market seeks to borrow gold from central banks ... Ripple effects felt in other gold hubs after CME deliveries Reporting by Polina Devitt, Additional reporting by Pratima Desai and David Milliken, Editing by Mark Potter and Chris Reese Summary https://www.reuters.com/world/uk/london-gold-market-queues-up-borrow-central-bank-gold-after-big-shipments-us-2025-01-29/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 867 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts