• เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子)

    จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว

    กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน

    ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด

    ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก:
    https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html
    https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html
    http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html

    #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องเคยเห็นอุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่งในละครจีนหลายเรื่อง หน้าตาเป็นกระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เปิดฝามาใช้มือโบกพัดหรือปากเป่าไม่กี่ทีก็มีไฟติด ใช้แทนเทียนได้ ซึ่ง Storyฯ คิดว่ามันน่าทึ่งมากเพราะไม่ต้องใช้หินเหล็กตีให้เกิดประกายไฟและไม่ต้องมีการชักสูบเหมือนตะบันไฟ Storyฯ ขอเรียกมันว่า ‘กระบอกจุดไฟ’ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ‘หั่วเจ๋อจื่อ’ (火折子) จากบันทึกโบราณ เทคโนโลยีนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ประมาณช่วงปีค.ศ. 577) เป็นวิธีการเก็บไฟไว้ใช้ของนางกำนัลในวังโดยใช้กระดาษเนื้อหยาบมาม้วนอัดลงไปในถังไม้แล้วจุดไฟ จากนั้นก็ดับไฟลงจนไม่เหลือเปลวไฟแต่ยังมีสะเก็ดไฟคุกรุ่นไว้แล้วก็ปิดฝาไว้ พอจะใช้ก็เปิดฝาออกมาเป่าจนไฟติด ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พกพาได้ แต่แรกเริ่มนั้น จุดติดได้เพียงครั้งเดียว กระบอกจุดไฟแบบนี้เป็นที่นิยมเพราะสะดวกต่อการพกพา และเมื่อเป็นที่นิยมมากขึ้นกรรมวิธีการทำก็ซับซ้อนขึ้น วิธีทำกระบอกไฟที่ดีคือใช้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ (เช่น กระดาษเนื้อหยาบ หญ้าบางชนิด มูลสัตว์ หรืออย่างดีคือเถามันเทศและปุยนุ่น) มาหมักน้ำแล้วบีบทุบและเค้นจนเป็นใย ทำอย่างนี้หลายครั้งก่อนจะนำไปตากแห้ง จากนั้นก็นำไปผสมกับขี้ไต้ (ส่วนผสมเท่าที่หาข้อมูลได้ก็มี ดีเกลือ ผงกำมะถัน ยางสน และการบูร) แล้วอัดเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ ก่อนใช้ต้องจุดไฟจนติดแรง แล้วค่อยดับไฟลงจนเหลือเพียงสะเก็ดไฟคุกรุ่นอยู่ข้างในแต่ไม่เหลือเปลวไฟ แล้วจึงปิดกระบอกด้วยฝาที่มีรูเล็ก พอจะใช้ก็เปิดออกแล้วเป่าจนไฟติด สามารถใช้ได้หลายครั้งจนเชื้อเพลิงหมดกระบอก และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายวัน ฟังดูเหมือนง่าย แต่ความยากของมันอยู่ที่ความพอดีของวัสดุเชื้อเพลิงและขี้ไต้ และความหนาแน่นที่พอดีในกระบอกที่ใส่ แน่นอนว่ากระบอกจุดไฟหั่วเจ๋อจื่อมีหลายเกรดแตกต่างกัน ในกลุ่มผู้มีอันจะกินจะใช้เชื้อเพลิงจากใยมันเทศและนุ่นผสมขี้ไต้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งกรรมวิธีทำจะซับซ้อน แต่จุดง่ายกว่า เพียงใช้มือโบกพัดไม่กี่ทีก็จุดติด ส่วนชาวบ้านธรรมดานิยมใช้เยื่อกระดาษหยาบ จะติดไฟยากกว่า เวลาเป่าให้ไฟติดจึงต้องมีเทคนิคมากหน่อย เพราะต้องเป็นลมที่เกิดอย่างกะทันหัน สั้นและแรง จึงจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นที่ดี เพราะฉะนั้นอย่างที่เราเห็นในละคร... ถ้าเราเป็นจอมยุทธ์ก็เพียงสะบัดมือวืดเดียวค่ะ แต่ถ้าไร้วรยุทธ์ก็ต้องใช้ปากเป่าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากละคร <ปริศนาลับราชวงศ์ถัง> และจาก: https://k.sina.cn/article_5100008885_12ffbf5b500100ysyy.html?from=ent&subch=film https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FO6T9F2R05437E9K.html https://kknews.cc/history/x4q6ojr.html http://m.qulishi.com/article/202009/438462.html #ปริศนาลับราชวงศ์ถัง #กระบอกไฟ #แท่งไฟโบราณ #แท่งจุดไฟ #หั่วเจ๋อจื่อ #กระบอกจุดไฟโบราณ
    该文章已不存在_手机新浪网
    手机新浪网是新浪网的手机门户网站,为亿万用户打造一个手机联通世界的超级平台,提供24小时全面及时的中文资讯,内容覆盖国内外突发新闻事件、体坛赛事、娱乐时尚、产业资讯、实用信息等。手机新浪网触屏版 - sina.cn
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 74 มุมมอง 0 รีวิว
  • [พากย์ไทย] จีบแล้วจาก คุณนิ่งไม่อยากรับผิดชอบ❌🙅🏻‍♀️#ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    [พากย์ไทย] จีบแล้วจาก คุณนิ่งไม่อยากรับผิดชอบ❌🙅🏻‍♀️#ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 8 0 รีวิว
  • [พากย์ไทย] ภรรยาประธานเซิ่งกลับมาล้างแค้น😡🔪 #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    [พากย์ไทย] ภรรยาประธานเซิ่งกลับมาล้างแค้น😡🔪 #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 40 มุมมอง 7 0 รีวิว
  • [พากย์ไทย] ภรรยาสุดที่รักของคุณชายฟู่เปลี่ยนไป #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    [พากย์ไทย] ภรรยาสุดที่รักของคุณชายฟู่เปลี่ยนไป #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 47 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • [พากย์ไทย] ออกเดทสิบครั้ง พลั้งใจไปรักเธอ🥰💓 #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    [พากย์ไทย] ออกเดทสิบครั้ง พลั้งใจไปรักเธอ🥰💓 #ละครจีน #ละครสั้น #พากย์ไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 50 มุมมอง 6 0 รีวิว
  • [พากย์ไทย] 💥เขาช่วยเธอที่โดนรังแก จากนั้นมาเธอก็ได้รับการดูแลปกป้องอย่างดีและตกหลุมรักเขา💞#ละครจีน
    [พากย์ไทย] 💥เขาช่วยเธอที่โดนรังแก จากนั้นมาเธอก็ได้รับการดูแลปกป้องอย่างดีและตกหลุมรักเขา💞#ละครจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 42 มุมมอง 3 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ

    เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ

    แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ?

    จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่?

    จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ”

    นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย

    คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว

    นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล

    ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา

    Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868
    https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm
    https://www.sohu.com/a/508658629_322551
    https://baike.baidu.com/item/如意/254746
    https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    เชื่อว่าเพื่อนเพจต้องคุ้นหูคุ้นตากับ ‘คทาหรูอี้’ (หรูอี้/如意 แปลตรงตัวได้ว่า สมดังปรารถนา) บริบทที่เรามักเห็นในนิยาย/ละครจีนบ่อยๆ คือ ฮ่องเต้พระราชทานคทาหรูอี้หยกให้เป็นรางวัลต่อขุนนาง หรือบุรุษสูงศักดิ์มอบคทาหรูอี้ให้สตรีที่ถูกเลือกเป็นภรรยา อย่างเช่นตัวอย่างภาพประกอบยกมาจากละคร <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ตอนที่องค์ชายหงอี้ทรงเลือกชิงอิงเป็นพระชายา (รูปประกอบ1 ซ้าย) หรือเป็นวัตถุมงคลเหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญ เคยมีคนเขียนถึงคทาหรูอี้มาแล้วบ้าง ด้วยความหมายที่กล่าวถึงข้างต้น และเพื่อนเพจอาจเคยคุ้นกับการที่มีคทาหรูอี้ปรากฏในรูปภาพและรูปปั้นเทพเจ้าจีน และนักบวชนิยมถือคทาหรูอี้ยามสวดมนต์ ว่ากันว่าการใช้คทาหรูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ แต่วันนี้ Storyฯ มาคุยเกี่ยวกับคทาหรูอี้ในอีกแง่มุมหนึ่ง... เพื่อนเพจเคยสงสัยเหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า เข้าใจล่ะว่าชื่อเป็นมงคล แต่คทาหรูอี้ออกจะเทอะทะ... มันไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากตั้งโชว์หรือถือไว้เท่ๆ เลยหรือ? จากภาพวาดโบราณ (รูปประกอบ 1 ขวา) จะเห็นว่าคทาหรูอี้เป็นของใช้ติดมือของชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้แก่ผู้เฒ่า... แสดงว่ามันต้องมีประโยชน์สิน่ะ เพื่อนเพจพอจะเดากันออกหรือไม่? จากข้อมูลที่ทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามรวบรวมได้ คทาหรูอี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 206 ก่อนคริสตศักราช - ปีค.ศ. 220) เดิมถูกใช้เป็นไม้เกาหลัง เรียกว่า ‘หรูอี้’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘ไม่ง้อใคร’ (不求人/ปู้ฉิวเหริน) แรกเริ่มมีรูปทรงคล้ายมือ โดยในบันทึกสมัยราชวงศ์ชิง (事物异名录/ซื่ออู้อี้หมิงลู่) ได้เขียนไว้ว่า “หรูอี้นั้นไซร้ เป็นไม้กรงเล็บ” นอกจากนี้ ยังมีบทความสมัยราชวงศ์เหนือใต้ว่ามีการใช้คทาหรูอี้เป็นไม้ส่งสัญญาณเคลื่อนทัพในยามศึก นัยว่าเพื่อให้ชนะศึกได้ดังใจหมาย คทาหรูอี้กลายเป็นวัตถุประจำตัวที่คนนิยมพกพาเพราะชื่อเป็นมงคลและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวก็ได้ จึงพัฒนารูปแบบให้สวยงามมากขึ้น ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์เหนือใต้นั้นใช้กันแพร่หลายในหลายแคว้นทั้งในวังและนอกวัง โดยสมัยนั้นนิยมให้ด้ามจับโค้งเป็นทรงกลุ่มดาวจระเข้ ตัวด้ามกลมมนเพื่อให้จับถนัดมือ ทำจากไม้ ไม้ไผ่หรือโลหะ มีใช้กันตั้งแต่ในวังยันชาวบ้านธรรมดานอกวัง ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังจึงทำด้ามจับให้แบนลงและเป็นเส้นตรง โค้งที่ปลายหัว นานวันเข้า เมื่อถึงสมัยหมิงและชิง คทาหรูอี้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในฐานะวัตถุมงคลที่ใช้ประดับบ้านเรือนหรือของขวัญ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรมีในสินสอดของหมั้นของแต่งงาน จึงมีรูปแบบที่วิจิตรขึ้น รูปทรงที่เราคุ้นตาคือหัวเป็นทรงเห็ดหลินจือ โดยเฉพาะในยุคสมัยชิงนั้น คทาหรูอี้เป็นที่นิยมมากในวัง ไม่ว่าจะในงานราชประเพณี การแต่งตั้งขุนนาง การรับทูตจากต่างแดน ฯลฯ ล้วนต้องมีการถือคทาหรูอี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์มงคล ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามมีการเก็บรักษาคทาหรูอี้โบราณไว้กว่าสองพันชิ้นโดยส่วนใหญ่เป็นของสมัยชิง วัสดุที่ใช้ทำคทาหรูอี้นั้นหลากหลาย มีทั้งหยกชนิดต่างๆ ปะการัง ทองคำ เงิน ทองเหลือง งาช้าง ไม้ไผ่และไม้ชนิดต่างๆ และมีการแกะสลักลวดลายมากมายลงบนคทา Storyฯ เคยไปเที่ยวเมื่อนานมากแล้ว จำไม่ได้เลยว่าได้เคยเห็นอะไรในพิพิธภัณฑ์นี้บ้าง เพื่อนเพจท่านใดเคยผ่านตาก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.jianshu.com/p/faa99f5d9868 https://new.qq.com/rain/a/20211210A027EU00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.mct.gov.cn/whzx/zsdw/ggbwy/202102/t20210210_921534.htm https://www.sohu.com/a/508658629_322551 https://baike.baidu.com/item/如意/254746 https://new.qq.com/rain/a/20220728A054CG00 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #คทาหรูอี้ #วัตถุมงคลจีน #ไม้เกาหลัง
    WWW.JIANSHU.COM
    【如懿传|如懿】年少情深,也可以走到相看两厌
    一出墙头马上,两心相许。山河依旧,唯人兰因絮果。 如懿的一生都把真心付给了自己的少年郎,年少时的扶持,无人之巅的陪伴,病榻前的守护,相比于甄嬛,她更加令人心疼。 执着勇敢是她...
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้

    จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน

    เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น

    แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์

    เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

    ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html
    https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802
    https://www.sohu.com/a/251057863_100011360
    https://www.sohu.com/a/249476484_242776
    https://www.sohu.com/a/525891685_121119111
    https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน
    https://baike.baidu.com/item/红花/16556131
    https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香

    #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    วันนี้มาคุยในเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งเคยถามมา สืบเนื่องจากเราเห็นละครจีนโบราณหลายเรื่องมีการกินน้ำแกงคุมกำเนิดหรือแม้แต่น้ำแกงที่ทำให้แท้งลูก อย่างตัวอย่างในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่หนึ่งในตัวละครหลักคืออนุฉินถูกบังคับให้กินน้ำแกงคุมกำเนิดมาตลอดจนภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็แท้งลูกและไม่สามารถมีลูกได้อีก คำถามคือ มียาอย่างนี้จริงๆ หรือ? คำตอบคือ ‘น่าจะมี’ เพราะมีสูตรยาจีนโบราณหลายฉบับที่สืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน เพียงแต่ว่าไม่มีใครออกมายืนยันว่าได้ทดลองและได้ผลจริง สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันมีวิธีและยาคุมกำเนิดหลากหลาย และยาสูตรโบราณเหล่านี้อาจมีผลร้ายในระยะยาวต่อร่างกายได้ ดังเช่นที่ตำรายาจีนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ (是药三分毒) อันหมายความว่า ยาอาจให้คุณและให้โทษได้ จีนโบราณมีวิธีคุมกำเนิดหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการกินน้ำแกงป้องกันการมีบุตร (ปี้จื่อทั้ง / 避子汤) หรือสูตรยาที่หยุดครรภ์ (ต้วนฉ่านฟ้าง / 断产方) อย่างเช่นใน ‘ตำราครรภ์’ ของเต๋อเจิ๊นฉางในสมัยสุย-ถัง หรือ ‘สูตรยาสำคัญของสตรี’ ของซุ้นซื้อเหมี่ยว แพทย์สมัยถังที่เลื่องชื่อในประวัติศาสตร์จีน เท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลได้ พบว่ามีสูตรหลากหลาย แต่พอจะสรุปจากตัวยาหลักได้ว่าสรรพคุณโดยรวมของยาคุมกำเนิดและยาหยุดครรภ์เหล่านี้ก็คือ การเพิ่มฤทธิ์ธาตุหยิน (หรือฤทธิ์เย็น) ภายในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับลม ขับเลือดเสีย ซึ่งมียาสมุนไพรจีนหลายตัวที่ให้สรรพคุณเหล่านี้ และหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายจะใช้เป็นยารักษาหรือยาบำรุงได้ เช่นว่า โบราณใช้เป็นยาก่อนตั้งครรภ์เพื่อล้างมดลูกให้สะอาดและบำรุงชี่ปรับสภาพร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และยาหลังคลอดบุตรหรือหลังประจำเดือนหมดเพื่อขับเลือดเสียที่เกาะอยู่บนผนังมดลูกออกมา ตัวอย่างของยาที่อยู่ในกลุ่มประเภทนี้ก็มีหลายชนิด (ดูรูปตัวอย่าง) เช่น ต่อมหางกวางชะมด ดอกคำฝอย ชวนเกียง น้ำมันที่สกัดจากผักกาดก้านขาว (canola oil) เป็นต้น แน่นอนว่าสูตรยาแต่ละขนานจะประกอบด้วยตัวยาหลากชนิด จึงอาจมีสรรพคุณในด้านอื่นด้วย เช่น ขับลม ลดสภาวะอักเสบในร่างกาย ลดการจับตัวของไขมัน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น เป็นต้น แต่ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ หากรับประทานต่อเนื่องระยะยาวอาจทำให้มีภาวะโลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลียง่าย มดลูกทำงานไม่ปกติและประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และหากรับประทานในช่วงตั้งครรภ์จะขับลิ่มเลือดและทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งลูกได้ ยกตัวอย่างคือดอกคำฝอย เพื่อนเพจที่ดื่มชาดอกคำฝอยจะทราบดีถึงคำเตือนว่าห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับยาสมุนไพรและยาจีนจะทราบว่า ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลดังที่ต้องการ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารอย่างอื่นที่เรารับประทานว่ามีฤทธิค้านกัน หรือมีฤทธิเสริมกันแรงเกินไปหรือไม่ และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นยาสูตร ‘ปี้จื่อทั้ง’ หรือ ‘ต้วนฉ่านฟ้าง’ ที่สืบทอดมาแต่โบราณเหล่านี้ จะออกฤทธิ์ทันควันเหมือนที่เราเห็นในละครหรือไม่? หรือว่าออกฤทธิ์ได้จริงแบบที่เห็นในละครหรือไม่? Storyฯ ก็ไม่ทราบได้ และไม่มีความรู้ลึกซึ้งถึงการรักษาแบบแผนจีนพอที่จะให้ความเห็น แต่ด้วยหลักการ ‘เป็นยานั้นไซร้สามส่วนคือพิษ’ เราจึงมักเห็นพล็อตละคร/นิยายที่มีการปรับสัดส่วนของสมุนไพรในสูตรยาหรือเพิ่มยาตัวอื่นเข้าไปให้กลายเป็นพิษนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://inf.news/entertainment/b6ddc93cc4f9a720bf5c3fd752c4e1b9.html https://www.popdaily.com.tw/forum/entertainment/935802 https://www.sohu.com/a/251057863_100011360 https://www.sohu.com/a/249476484_242776 https://www.sohu.com/a/525891685_121119111 https://www.huachiewtcm.com/content/8036/ชวนซฺยง-川芎-ข้อมูลสมุนไพรจีน https://baike.baidu.com/item/红花/16556131 https://zh.wikipedia.org/zh-hant/麝香 #ร้อยรักปักดวงใจ #ปี้จื่อทัง #น้ำแกงห้ามลูก #สมุนไพรในละครจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 422 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 599 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มาคุยกันต่ออีกสักนิดกับเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรมจีนจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร>

    Storyฯ ขอถอดบทสนทนาจากในละครมาคุยกัน เป็นฉากที่พระเอกลู่อี้กับนางเอกจินเซี่ยไปเดินเที่ยวกันแล้วจินเซี่ยเห็นจี้หยกรูปปลา ก็ซื้อให้ลู่อี้เป็นของขวัญ เป็นฉากที่ใต้เท้าลู่สาดน้ำตาลมากมายด้วยสายตา ในฉากนี้จินเซี่ยอธิบายว่า “ทะเลเหนือมีปลา เรียกว่า ‘คุ้น’ ความใหญ่ของคุ้นนั้นมิทราบว่ากี่พันหลี่ เมื่อแปลงร่างเป็นนก เรียกว่า ‘เผิง’ ... ใต้เท้า นี่เป็นปลาที่เหินฟ้าและดำน้ำได้” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    นอกจากเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> แล้ว ยังมีในละครจีนมีอีกไม่น้อยที่มีการกล่าวถึงปลาคุนนี้ อย่างเช่นในเรื่อง <อวลกลิ่นละอองรัก> ก็เช่นกัน

    ‘คุ้น’ (鲲) แรกปรากฏอยู่ในหนังสือ ‘เลี่ยจื่อทังเวิ่น’ (列子·汤问) ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องเล่าตำนานปรัมปราในยุคสมัยชุนชิว ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มหาศาล และปรากฏอีกครั้งในบทประพันธ์ ‘เซียวเหยาโหยว’ (ทัศนาจรไร้กังวล / 逍遥游) ของจวงจื่อ (庄子 ปี 369-286 ก่อนคริสตกาล) ผู้นำด้านความคิดและปรัชญาเต๋าในยุคสมัยรณรัฐ

    ‘เซียวเหยาโหยว’ เป็นหนึ่งในบทความที่รวมเล่มอยู่ในหนังสือปรัชญาของจวงจื่อโดยหนังสือนี้มีชื่อว่า ‘จวงจื่อ’ ตามผู้แต่ง (ต่อมาภายหลังถูกเรียกขานว่าคัมภีร์ ‘หนานหัวเจินจิง’) โดยเป็นการเล่าถึงปลาคุ้นที่กลายร่างเป็นนกเผิงขนาดมหึมาบินจากทะเลเหนือลงใต้ กระพือปีกทีหนึ่งก็เกิดคลื่นลม ระหว่างการเดินทางนี้เล่าถึงการกระทำของนกเล็กต่างๆ รวมถึงกล่าวถึงผู้คนในเมืองที่เป็นทางผ่าน เป็นการเปรียบเทียบเชิงปรัชญาว่า สิ่งที่ใหญ่มีผลกระทบได้กว้างไกล สิ่งที่เล็กมีผลกระทบได้น้อย ไม่เพียงแต่สัตว์ มนุษย์ก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสรรพสิ่งไม่ว่าเล็กใหญ่ล้วนมีขีดจำกัดของมันและถูกจองจำด้วยวิถีชีวิตและหน้าที่ของมัน เมื่อใดที่เราสามารถปล่อยวางทุกสิ่งได้จึงจะสามารถท่องโลกกว้างนี้ได้ไร้กังวลอย่างแท้จริง และ ‘คุ้น’ จึงเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณที่ไร้พันธนาการ

    ในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> จินเซี่ยเปรียบใต้เท้าลู่เป็นปลายักษ์ที่เรียกว่า ‘คุ้น’ หลายครั้ง ทั้งตอนตัดกระดาษเป็นรูปปลา ทั้งตอนเลือกไม้เสียบผม ‘เน่าร้างร้าง’ (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว) และในฉากที่กล่าวถึงข้างต้น ปลาคุ้นยักษ์ที่บินได้นี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงชุดมัจฉาบินอันเป็นสัญลักษณ์ขององครักษ์เสื้อแพร แต่ยังเปรียบถึงความเก่งกาจของลู่อี้ที่เป็นดังปลาที่เหินฟ้าได้และดำน้ำได้ และเป็นคนที่ไม่ยอมให้ใครหรืออะไรมาตีกรอบให้ตนเองได้

    เพื่อนเพจผ่านตาเรื่อง ‘คุ้น’ ในละครเรื่องใดกันอีกบ้าง พอจำกันได้ไหม?
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/372005451_120549941
    https://aiko933227.pixnet.net/blog/post/355134478
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.zdic.net/hans/%E9%80%8D%E9%81%A5%E6%B8%B8
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5bfecbe60620.aspx
    https://baike.baidu.com/item/逍遥游/1506
    https://baike.baidu.com/item/列子·汤问/6023097

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #อวลกลิ่นละอองรัก #ปลาคุ้น #นกเผิง #เลี่ยจื่อทังเวิ่น #เซียวเหยาโหยว
    วันนี้มาคุยกันต่ออีกสักนิดกับเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรมจีนจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> Storyฯ ขอถอดบทสนทนาจากในละครมาคุยกัน เป็นฉากที่พระเอกลู่อี้กับนางเอกจินเซี่ยไปเดินเที่ยวกันแล้วจินเซี่ยเห็นจี้หยกรูปปลา ก็ซื้อให้ลู่อี้เป็นของขวัญ เป็นฉากที่ใต้เท้าลู่สาดน้ำตาลมากมายด้วยสายตา ในฉากนี้จินเซี่ยอธิบายว่า “ทะเลเหนือมีปลา เรียกว่า ‘คุ้น’ ความใหญ่ของคุ้นนั้นมิทราบว่ากี่พันหลี่ เมื่อแปลงร่างเป็นนก เรียกว่า ‘เผิง’ ... ใต้เท้า นี่เป็นปลาที่เหินฟ้าและดำน้ำได้” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) นอกจากเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> แล้ว ยังมีในละครจีนมีอีกไม่น้อยที่มีการกล่าวถึงปลาคุนนี้ อย่างเช่นในเรื่อง <อวลกลิ่นละอองรัก> ก็เช่นกัน ‘คุ้น’ (鲲) แรกปรากฏอยู่ในหนังสือ ‘เลี่ยจื่อทังเวิ่น’ (列子·汤问) ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องเล่าตำนานปรัมปราในยุคสมัยชุนชิว ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มหาศาล และปรากฏอีกครั้งในบทประพันธ์ ‘เซียวเหยาโหยว’ (ทัศนาจรไร้กังวล / 逍遥游) ของจวงจื่อ (庄子 ปี 369-286 ก่อนคริสตกาล) ผู้นำด้านความคิดและปรัชญาเต๋าในยุคสมัยรณรัฐ ‘เซียวเหยาโหยว’ เป็นหนึ่งในบทความที่รวมเล่มอยู่ในหนังสือปรัชญาของจวงจื่อโดยหนังสือนี้มีชื่อว่า ‘จวงจื่อ’ ตามผู้แต่ง (ต่อมาภายหลังถูกเรียกขานว่าคัมภีร์ ‘หนานหัวเจินจิง’) โดยเป็นการเล่าถึงปลาคุ้นที่กลายร่างเป็นนกเผิงขนาดมหึมาบินจากทะเลเหนือลงใต้ กระพือปีกทีหนึ่งก็เกิดคลื่นลม ระหว่างการเดินทางนี้เล่าถึงการกระทำของนกเล็กต่างๆ รวมถึงกล่าวถึงผู้คนในเมืองที่เป็นทางผ่าน เป็นการเปรียบเทียบเชิงปรัชญาว่า สิ่งที่ใหญ่มีผลกระทบได้กว้างไกล สิ่งที่เล็กมีผลกระทบได้น้อย ไม่เพียงแต่สัตว์ มนุษย์ก็เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสรรพสิ่งไม่ว่าเล็กใหญ่ล้วนมีขีดจำกัดของมันและถูกจองจำด้วยวิถีชีวิตและหน้าที่ของมัน เมื่อใดที่เราสามารถปล่อยวางทุกสิ่งได้จึงจะสามารถท่องโลกกว้างนี้ได้ไร้กังวลอย่างแท้จริง และ ‘คุ้น’ จึงเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณที่ไร้พันธนาการ ในเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> จินเซี่ยเปรียบใต้เท้าลู่เป็นปลายักษ์ที่เรียกว่า ‘คุ้น’ หลายครั้ง ทั้งตอนตัดกระดาษเป็นรูปปลา ทั้งตอนเลือกไม้เสียบผม ‘เน่าร้างร้าง’ (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อนานมาแล้ว) และในฉากที่กล่าวถึงข้างต้น ปลาคุ้นยักษ์ที่บินได้นี้ ไม่เพียงสะท้อนถึงชุดมัจฉาบินอันเป็นสัญลักษณ์ขององครักษ์เสื้อแพร แต่ยังเปรียบถึงความเก่งกาจของลู่อี้ที่เป็นดังปลาที่เหินฟ้าได้และดำน้ำได้ และเป็นคนที่ไม่ยอมให้ใครหรืออะไรมาตีกรอบให้ตนเองได้ เพื่อนเพจผ่านตาเรื่อง ‘คุ้น’ ในละครเรื่องใดกันอีกบ้าง พอจำกันได้ไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/372005451_120549941 https://aiko933227.pixnet.net/blog/post/355134478 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.zdic.net/hans/%E9%80%8D%E9%81%A5%E6%B8%B8 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5bfecbe60620.aspx https://baike.baidu.com/item/逍遥游/1506 https://baike.baidu.com/item/列子·汤问/6023097 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #อวลกลิ่นละอองรัก #ปลาคุ้น #นกเผิง #เลี่ยจื่อทังเวิ่น #เซียวเหยาโหยว
    WWW.SOHU.COM
    锦衣之下:袁今夏身世显贵,小蓝真实身份更是显赫_严世蕃
    陆绎替袁今夏挡毒镖之后,袁今夏身上的正义感爆棚,就算下大雨被追杀,也从没有放开过陆绎的手。 袁今夏的真实身份是前首辅夏然的后人,如果不是当年夏家被陷害,袁今夏的身份应该和现在的严世蕃一样高高在上…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 668 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原)

    เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ

    ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้

    เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น

    เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ

    อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่

    ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

    บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต

    Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29
    https://www.sohu.com/a/390828068_120445432
    https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html
    https://www.shicile.com/detail/6070192050078
    https://www.sohu.com/a/680570874_121124391

    #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ซึ่งมีชื่อภาษาจีนคือ ‘เล่อโหยวหยวน’ (乐游原) เล่อโหยวหยวน (แปลตรงตัวว่า สุข+ทัศนาจร+ดินแดน/ทุ่ง) จริงแล้วมีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่เดิมชื่อว่า ‘เล่อโหยวย่วน’ (乐游苑 / สุข+ทัศนาจร+สวน/อุทยาน) เป็นสถานที่เสด็จประพาสต้นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นเซวียนตี้ (ปี 51-48 ก่อนคริสตกาล) และฮองเฮาสวี่ ต่อมาฮั่นเซวียนตี้ทรงโปรดให้ฝังฮองเฮาสวี่ที่นั่น ครั้นกาลเวลาผ่านไปอักษรท้ายถูกเรียกเพี้ยนจาก ‘ย่วน’ เป็น ‘หยวน’ จนกลายมาเป็นชื่อของอุทยานเล่อโหยวหยวนตราบจนปัจจุบัน และบางครั้งถูกใช้เป็นคำกริยาที่บรรยายถึงการท่องเที่ยวอย่างเบิกบานใจ ในตอนต้นๆ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> มีฉากหนึ่งที่พระเอกนางเอกนั่งเรือชมดาวในเทศกาลชีซี (ปัจจุบันเรามักเรียกเป็นวันวาเลนไทน์จีน) พระเอกเล่าถึงว่า ตอนเด็กตนเองอยู่แต่ในเมืองหลวง มักขี่ม้าขึ้นไปเที่ยวเล่อโหยวหยวน ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในเมืองหลวง มีภูมิประเทศสูง มองลงมาเห็นทั้งเมืองหลวงได้ เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> นี้เล่าถึงรัชสมัยสมมุติ แต่ฉากหลังนั้นใกล้เคียงกับสมัยถังตอนปลาย และเล่อโหยวหยวนนี้เป็นสถานที่ฮอตฮิตในสมัยถังสำหรับการท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของเหล่ากวี มีบทกวีไม่น้อยที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อบรรยายถึงความงดงามของทัศนียภาพบนนั้น เล่อโหยวหยวนเป็นอุทยานบนเขาตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครฉางอัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองซีอาน (คือจุดที่วงสีเขียวไว้ในภาพประกอบ) รูปแผนที่ที่แปะมาให้ดูอาจจะละลานตาสักนิด เพราะเป็นแผนที่ภูมิประเทศที่มีระบุเส้นชั้นความสูง เพื่อให้เห็นว่าบริเวณนั้นของนครฉางอันเป็นเนินเขา ที่นี่เป็นจุดที่สูงที่สุดของนครฉางอัน มองลงมาสามารถมองเห็นทั่วนครฉางอันได้ ในสมัยราชวงศ์สุยมีการสร้างวัดขึ้นที่นี่ชื่อวัดหลินก่าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชิงหลง ปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวดังของเมืองซีอัน และเป็นวัดที่ถูกกล่าวถึงบ่อยในละครจีนโบราณ อนึ่ง เล่อโหยวหยวนเคยถูกกล่าวถึงในเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> แต่ Storyฯ จำเรื่องราวไม่ได้แล้ว เพื่อนเพจท่านใดจำได้มาเม้นท์บอกกันหน่อยว่าในเรื่องนี้มีเล่ารายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเล่อโหยวหยวนหรือไม่ ในฉากเดียวกันของเรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ที่กล่าวถึงนี้ นางเอกได้ยินพระเอกเล่าเรื่องเล่อโหยวหยวนก็เกิดแรงบันดาลใจ ร่ายกลอนออกมาบทหนึ่ง มีใจความว่า บนเขาเล่อโหยวหยวนมีลมตะวันตกพัดผ่าน มีธรรมชาติงดงามทั้งหมู่ไม้เสียงจักจั่นและแสงรุ้ง องค์สุริยเทพทรงขี่รถม้าไปเรื่อยๆ ไม่ยอมให้ตะวันตกดินและไม่ยอมให้ตะวันหันกลับไปทางทิศตะวันออก บทกวีนี้บรรยายความงามของวิวบนเล่อโหยวหยวนประหนึ่งว่าความงามนั้นสามารถสะกดให้เวลาหยุดอยู่กับที่ กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เล่อโหยวหยวน’ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับชื่อภาษาจีนของซีรีส์เรื่องนี้ เป็นกลอนเจ็ด (กล่าวคือมีเจ็ดอักษรในหนึ่งวรรค) มีทั้งหมดสี่วรรค มันเป็นผลงานของหลี่ซังอิ่น (ปีค.ศ. 813-858) หนึ่งในกวีที่เลื่องชื่อของสมัยถังตอนปลาย มีผลงานที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่า 600 บทกวี เขาเข้ารับราชการเมื่ออายุยี่สิบห้า ต่อมาสังกัดเจี๋ยตู้สื่อหวางเม่าหยวน และได้รับการโปรดปรานจากหวางเม่าหยวนถึงขนาดยกลูกสาวให้ จึงถูกลากเข้าไปพัวพันกับการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง บทกวีนี้มักถูกเข้าใจสลับกับบทกวีอีกบทที่โด่งดังมากกว่าของเขา มีชื่อว่า ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ (登乐游原 / ขึ้นเขาเล่อโหยวหยวน) ซึ่งต่อมาถูกเรียกเป็น ‘เล่อโหยวหยวน’ เช่นกัน โดย ‘เติงเล่อโหยวหยวน’ เป็นกลอนห้า (อักษรห้าตัวในหนึ่งวรรค) มีสี่วรรคเช่นกัน กลอนบทนี้บรรยายถึงความงามของอาทิตย์อัสดงบนเล่อโหยวหยวนและพรรณนาความเสียดายที่ไม่อาจหยุดยั้งแสงอาทิตย์ไว้ได้ ถูกตีความกันต่อมาว่าความนัยแฝงคือความอาลัยและความอาดูรในสถานการณ์ของราชวงศ์ถังที่เสื่อมอำนาจลง โดยมีวรรคที่ฮอตฮิตคือ ‘ตะวันยอแสงงามไร้ขอบเขต แต่เสียดายใกล้อาทิตย์อัสดง’ (夕阳无限好,只是近黄昏 / ซีหยางอู๋เซี่ยนห่าว จื่อซื่อจิ้นหวงฮุน) เป็นการเปรียบเปรยถึงความไม่จีรังของชีวิต Storyฯ ยังดูซีรีส์เรื่อง <พสุธารักเคียงใจ> ไม่จบ ไม่อาจกล่าวได้ว่ากลอนบทใดข้างต้น (หรือทั้งสองบท) มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมากน้อยเพียงใด เพื่อนเพจท่านใดที่ดูจบแล้วมีความเห็นความรู้สึกอย่างใดก็เชิญมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.dianyingbaodian.com/wiki/乐游原_%282023%29 https://www.sohu.com/a/390828068_120445432 https://www.sgss8.net/tpdq/21096094/2.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shici.yw11.com/shici_fanyi_2987_250.html https://www.shicile.com/detail/6070192050078 https://www.sohu.com/a/680570874_121124391 #พสุธารักเคียงใจ #ทุ่งเล่อโหยว #เล่อโหยวหยวน #กวีถัง #หลีซังอิ่น #วัดชิงหลง #นครฉางอัน #ซีอัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 963 มุมมอง 0 รีวิว