รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2)
.
1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ
.
3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้
.
กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก
.
(2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป
.
4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี
.
อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้
.
LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย
.
6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด
.
7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
.
1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ
.
3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้
.
กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก
.
(2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป
.
4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี
.
อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้
.
LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย
.
6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด
.
7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 9 ทางเลือกในการลงทุนและความเสี่ยง (2)
.
1.ฝากเงินกับธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
2.ซื้อตราสารหนี้ ซางหมายถึงสัญญาที่ออกโดยกิจการหนึ่งเพื่อกู้เงินจากผู้อื่น ถ้ารัฐบาลเป็นผู้กู้ ตราสารหรือสัญญานี้เรียกว่าตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรรัฐบาล แต่ถ้าเป็นเอกชน จะเรียกว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหุ้นกู้ การลงทุนซื้อตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่า โดยเปรียบเทียบ เพราะผลตอบแทนอยู่ในรูปของดอกเบี้ยที่จ่ายให้เงินกู้ซึ่งแตกต่างจากผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจากหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการประกอบการ
.
3.ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม หมายถึงการร่วมทุนกับนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตลาดตราสารหนี้ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนตามกฏหมายเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีความรอบรู้เป็นพิเศษในเรื่องการลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้
.
กองทุนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) กองทุนปิด ซึ่งมีมูลค่ากองทุน (เงินลงทุนร่วมกันครั้งแรก) แน่นอน มีอายุเวลาไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดเวลาลงทุนชัดเจน หากผู้บริหารกองทุนมีความสามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมีเงินปันผลดี หน่วยลงทุนนั้นก็จะมีราคาสูงกว่าตอนซื้อครั้งแรก
.
(2) กองทุนเปิด ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน หากผู้ซื้อหน่วยลงทุนต้องการถอนการลงทุนเมื่อใดก็สามารถขายคืนให้บริษัทผู้จัดการกองทุนได้ โดยจะคำนวนราคาซื้อคืนตามมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนในขณะนั้น ทางการกำหนดให้บริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานตัวเลขแสดงสินทรัพย์สุทธิของกองทุนที่เรียกว่า NAV ( Net Asset Value ) เป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานว่ามูลค่าสุทธิของแต่ละหน่วยลงทุนนั้นมัมูลค่าเท่าใด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือหุ้นกองทุนรวมกองหนึ่งกองใด สามารถตัดสินใจได้ว่าจะขายหรือถือไว้ต่อไป
.
4.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ( Retirement Mutual Fund ) เป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษ เพื่อส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ เงินที่ซื้อกองทุนนี้สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ซื้อต้องซื้อติดต่อจนถึงอายุ 55 ปี หรือซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีที่มีอายุ 55 ปี ขึ่นไปจึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
5.ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เรียกว่า LTF ( Long Term Equity Fund ) หรือกองทุนหุ้นระยะยาว ซึ่งเป็นกองทุนรวมชนิดพิเศษอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการลงทุนตลาดหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขคล้ายกับ RMF กล่าวคือ ซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 300,000 บาท เงินที่ซื้อกองทุนสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนต้องซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะสามารถถอนเงินที่ซื้อกองทุนรวมนี้ไว้ทั้งหมดออกไปได้โดยไม่เสียภาษี
.
ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิทางภาษีในการลดหย่อนภาษีของทั้ง RMF และ LMF กล่าวคือ ลดหย่อนได้สูงสุดด้วยการซื้อกองทุน RMF และ LMF อย่างละร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี โดยไม่เกินกองทุนละ 300,000 บาท รวมแล้วเป็นค่าลดหย่อนสูงสุด 600,000 บาทต่อปี
.
อนึ่ง ยอดเงินลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ของ RMF ต้องรวมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างและนายจ้างจ่ายรวมกันในแต่ละปีด้วย ผู้ซื้อกองทุน RMF สามารถเลือกกองทุนรวมประเภทซื้อหุ้นอย่างเดียว (เสี่ยงที่สุด) หรือซื้อตราสารหนี้อย่างเดียว (เสี่ยงน้อยที่สุด) หรือซื้อปนกันทั้งหั้นและตราสารหนี้ (ความเสี่ยงอยู่ระหว่างสองประเภทกองทุนข้างต้น) ก็ได้
.
LTF โดยทั่วไปมีความเสี่ยงสูงกว่า RMF (ยกเว้นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว) เนื่องจากเป็นกองทุนที่ซื้อหุ้นอย่างเดียว การลงทุนใน RMF และ LTF น่าสนใจเพราะเงินที่ซื้อกองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษี และยอดเงินนี้ก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ผู้รู้ช่วยเลือกลงทุนให้ นอกจากนี้เมื่อครบกำหนด ก็ยังสามารถถอนออกมาได้โดยไม่เสียภาษีอีกด้วย
.
6.ซื้อหุ้นโดยตรง ซึงหมายถึงการเข้าร่วมลงทุนหรือร่วมเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ หากบริษัทประสบผลสำเร็จก็ได้ส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล และมีโอกาสได้ส่วนต่างของราคาหุ้น ทั้งจากหุ้นที่ซื้อไปและหุ้นออกใหม่ที่ขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาต่ำกว่าตลาด
.
7.ซื้อที่อยู่อาศัยไว้สำหรับเช่า ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อพาร์ตเมนต์ หรือหอพักที่ตั้งอยู่ในทำเลดี มีผู้เช่าแน่นอน โดยใช้เงินออมเป็นเงินดาวน์ และใช้ค่าเช่าและบางส่วนของรายได้ประจำเป็นเงินผ่อนชำระเงินกู้นั้น การให้เช่าข้ามช่วงเวลาที่ยาวจนครบกำหนดเวลากู้ ก็จะได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นสมบัติของครอบครัว ในอนาคตลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากค่าเช่าและมูลค่าของที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้
0 Comments
0 Shares
93 Views
0 Reviews