• คนจีนเล่นพระอะไร?
    _ ก่อนอื่นคำนิยามของคนจีน (ตอนนี้) ที่นิยมพระเครื่องไทย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง...และจีนแผ่นดินใหญ่ (ยังน้อยอยู่เพราะประเทศเขาปิดกั้น facebook )
    _ พระที่นิยม คือ แนว โชคลาภ เมตตา การพนันดี ส่วนด้านอื่น คงกระพันหนังเหนียว..ไม่ค่อยสนใจ...
    _ ช่วงก่อนเป็นพระเก่า ...แต่โดนทั้งเซียนไทย เซียนจีนด้วยกัน ต้มพระเก๊ไปเยอะ...เลยหันมาเล่นพระใหม่....
    สมัยก่อน ไปอิงกับวัด ...ล่าสุดสร้างเอง จัดพิธีเสกเองเลย....🧑
    คนจีนเล่นพระอะไร? _ ก่อนอื่นคำนิยามของคนจีน (ตอนนี้) ที่นิยมพระเครื่องไทย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง...และจีนแผ่นดินใหญ่ (ยังน้อยอยู่เพราะประเทศเขาปิดกั้น facebook ) _ พระที่นิยม คือ แนว โชคลาภ เมตตา การพนันดี ส่วนด้านอื่น คงกระพันหนังเหนียว..ไม่ค่อยสนใจ... _ ช่วงก่อนเป็นพระเก่า ...แต่โดนทั้งเซียนไทย เซียนจีนด้วยกัน ต้มพระเก๊ไปเยอะ...เลยหันมาเล่นพระใหม่.... สมัยก่อน ไปอิงกับวัด ...ล่าสุดสร้างเอง จัดพิธีเสกเองเลย....🧑
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 7 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์

    ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร

    แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์

    ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย

    อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC)

    ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว

    เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    #Newskit #AlorSetar #Kedah
    เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์ ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ #Newskit #AlorSetar #Kedah
    Like
    Love
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 175 มุมมอง 0 รีวิว
  • ครบรอบ 24 ปี อัลบั้ม เปิดตัวราชา Mandopop 🎆🎆🎆
    06/11/2000 - 06/11/2024

    [ เพื่อนๆชอบเพลงไหนที่สุดในอัลบั้มนี้? ]
    ตอนนั้นรู้จักเจย์แล้วหรือยังน้าา😁

    Jay เป็นอัลบั้มเปิดตัวของJay Chou เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนปี 2000 โดยค่าย BMG Taiwan

    โดยมีเนื้อเพลงที่เขียนโดยเจย์ ร่วมกับ Vincent Fang และ Vivian Hsu ในทางดนตรี อัลบั้มนี้รวมแนวเพลงยอดนิยม เช่น ป๊อป ฮิปฮอป อาร์แอนด์บี และร่วมสมัยไว้ในอัลบั้มเดียว

    เจย์ ได้รับคําวิจารณ์เชิงบวกอย่างมากจากนักวิจารณ์ดนตรี ได้รับเครดิตย้อนหลังสําหรับการเริ่มต้นยุคใหม่ของเพลง C-Pop และถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีผลกระทบมากที่สุดจาก Greater China ในศตวรรษที่ 21

    ในเชิงพาณิชย์ อัลบั้มนี้ประสบความสําเร็จ โดยขายได้มากกว่า 250,000 อัลบั้มในไต้หวัน และกลายเป็นอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดติดกันเป็นเวลา 4 เดือน และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในปี 2001 ในประเทศ และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในไต้หวันในศตวรรษที่ 21

    อัลบั้มนี้ยังได้รับรางวัล IFPI Hong Kong Top Sales Music Award สําหรับ 10 อันดับอัลบั้มภาษาจีนกลางที่ขายดีที่สุดแห่งปีในปี 2001

    1. "Adorable Woman" (可愛女人)
    2. "Perfectionism" (完美主義)
    3. "Starry Mood" (星晴)
    4. "Wife" (娘子)
    5. "Basketball Match" (鬥牛)
    6. "Black Humor" (黑色幽默)
    7. "Istanbul" (伊斯坦堡)
    8. "Ancient Indian Turtledove" (印地安老斑鳩)
    9. "Tornado" (龍捲風)
    10. "Counter-Clockwise Clock" (反方向的鐘)

    Track ที่ 3 และ 6 แต่งเนื้อโดยเจย์

    เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2002 "Starry Mood" ได้รับรางวัล "Outstanding Mandarin Song Award" ในงาน Top Ten Chinese Gold Songs Awards

    "Black Humor" ได้รับรางวัลหนึ่งใน 10 เพลงของจีนในพิธีมอบรางวัล Golden Melody ของมาเลเซียครั้งที่ 1 ซึ่งเจย์ยังได้รับรางวัลนักแต่งเพลงยอดเยี่ยมอีกด้วย

    Cr : รูปชัดๆจาก Jay ms

    #jaychou #周杰伦 #周杰倫
    #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน
    #jaychouthailand
    ครบรอบ 24 ปี อัลบั้ม เปิดตัวราชา Mandopop 🎆🎆🎆 06/11/2000 - 06/11/2024 [ เพื่อนๆชอบเพลงไหนที่สุดในอัลบั้มนี้? ] ตอนนั้นรู้จักเจย์แล้วหรือยังน้าา😁 Jay เป็นอัลบั้มเปิดตัวของJay Chou เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนปี 2000 โดยค่าย BMG Taiwan โดยมีเนื้อเพลงที่เขียนโดยเจย์ ร่วมกับ Vincent Fang และ Vivian Hsu ในทางดนตรี อัลบั้มนี้รวมแนวเพลงยอดนิยม เช่น ป๊อป ฮิปฮอป อาร์แอนด์บี และร่วมสมัยไว้ในอัลบั้มเดียว เจย์ ได้รับคําวิจารณ์เชิงบวกอย่างมากจากนักวิจารณ์ดนตรี ได้รับเครดิตย้อนหลังสําหรับการเริ่มต้นยุคใหม่ของเพลง C-Pop และถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีผลกระทบมากที่สุดจาก Greater China ในศตวรรษที่ 21 ในเชิงพาณิชย์ อัลบั้มนี้ประสบความสําเร็จ โดยขายได้มากกว่า 250,000 อัลบั้มในไต้หวัน และกลายเป็นอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดติดกันเป็นเวลา 4 เดือน และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในปี 2001 ในประเทศ และเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในไต้หวันในศตวรรษที่ 21 อัลบั้มนี้ยังได้รับรางวัล IFPI Hong Kong Top Sales Music Award สําหรับ 10 อันดับอัลบั้มภาษาจีนกลางที่ขายดีที่สุดแห่งปีในปี 2001 1. "Adorable Woman" (可愛女人) 2. "Perfectionism" (完美主義) 3. "Starry Mood" (星晴) 4. "Wife" (娘子) 5. "Basketball Match" (鬥牛) 6. "Black Humor" (黑色幽默) 7. "Istanbul" (伊斯坦堡) 8. "Ancient Indian Turtledove" (印地安老斑鳩) 9. "Tornado" (龍捲風) 10. "Counter-Clockwise Clock" (反方向的鐘) Track ที่ 3 และ 6 แต่งเนื้อโดยเจย์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2002 "Starry Mood" ได้รับรางวัล "Outstanding Mandarin Song Award" ในงาน Top Ten Chinese Gold Songs Awards "Black Humor" ได้รับรางวัลหนึ่งใน 10 เพลงของจีนในพิธีมอบรางวัล Golden Melody ของมาเลเซียครั้งที่ 1 ซึ่งเจย์ยังได้รับรางวัลนักแต่งเพลงยอดเยี่ยมอีกด้วย Cr : รูปชัดๆจาก Jay ms #jaychou #周杰伦 #周杰倫 #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน #jaychouthailand
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 45 มุมมอง 0 รีวิว
  • เราจะทรัมป์ตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน

    แม้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2024 ยังไม่เสร็จสิ้น แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกันประกาศชัยชนะ หลังคะแนนคณะผู้เลือกตั้งมีมากกว่า 270 เสียง เกินกึ่งหนึ่้งจากทั้งหมด 538 คน ทิ้งห่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนายทรัมป์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 แพ้ให้กับนายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต 306 ต่อ 232 เสียง

    นายทรัมป์ขึ้นเวทีครั้งแรกที่เมืองเวสต์ปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ระบุว่า การได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองจะนำไปสู่ยุคทองของอเมริกา (Golden Age of America) โดยย้ำนโยบายหาเสียงเน้นไปที่การกวาดล้างผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะล้มเหลว ภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งนายทรัมป์สัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาพรมแดน และแก้ไขทุกอย่างที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ

    “หากร่วมมือกัน เราจะสามารถทำให้สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง สำหรับชาวอเมริกันทุกคน ผมจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง อนาคตของอเมริกาจะยิ่งใหญ่ขึ้น ดีขึ้น กล้าหาญขึ้น ร่ำรวยขึ้น ปลอดภัยขึ้น และแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” นายทรัมป์กล่าวกับผู้สนับสนุน

    น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีต่อนายทรัมป์ พร้อมทำงานร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธมิตรระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า พร้อมดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่ แต่ได้วางเป้าหมายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการทำธุรกิจแล้ว

    ประเทศในอาเซียน นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะเติบโตเป็นผู้นำในระดับโลกต่อไป และยกระดับความร่วมมือกับสิงคโปร์ให้สูงขึ้นไปอีก ส่วนนายอันวาร์ อิบราฮิม ประธานาธิบดีมาเลเซีย แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ของมาเลเซีย พร้อมก้าวไปข้างหน้าและทำงานร่วมกัน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นชาติที่มีนักลงทุนใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยยุติความรุนแรงในปาเลสไตน์และยูเครน

    ด้านธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) พร้อมรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ หลังเกิดความกังวลว่าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลให้มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว

    #Newskit #USElection2024 #DonaldTrump
    เราจะทรัมป์ตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แม้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปี 2024 ยังไม่เสร็จสิ้น แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกันประกาศชัยชนะ หลังคะแนนคณะผู้เลือกตั้งมีมากกว่า 270 เสียง เกินกึ่งหนึ่้งจากทั้งหมด 538 คน ทิ้งห่างนางกมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนายทรัมป์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 แพ้ให้กับนายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต 306 ต่อ 232 เสียง นายทรัมป์ขึ้นเวทีครั้งแรกที่เมืองเวสต์ปาล์มบีช รัฐฟลอริดา ระบุว่า การได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองจะนำไปสู่ยุคทองของอเมริกา (Golden Age of America) โดยย้ำนโยบายหาเสียงเน้นไปที่การกวาดล้างผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะล้มเหลว ภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ซึ่งนายทรัมป์สัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาพรมแดน และแก้ไขทุกอย่างที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ “หากร่วมมือกัน เราจะสามารถทำให้สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง สำหรับชาวอเมริกันทุกคน ผมจะไม่ทำให้คุณผิดหวัง อนาคตของอเมริกาจะยิ่งใหญ่ขึ้น ดีขึ้น กล้าหาญขึ้น ร่ำรวยขึ้น ปลอดภัยขึ้น และแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” นายทรัมป์กล่าวกับผู้สนับสนุน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีต่อนายทรัมป์ พร้อมทำงานร่วมกันส่งเสริมความสัมพันธมิตรระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า พร้อมดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์นั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลใหม่ แต่ได้วางเป้าหมายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการทำธุรกิจแล้ว ประเทศในอาเซียน นายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะเติบโตเป็นผู้นำในระดับโลกต่อไป และยกระดับความร่วมมือกับสิงคโปร์ให้สูงขึ้นไปอีก ส่วนนายอันวาร์ อิบราฮิม ประธานาธิบดีมาเลเซีย แสดงความยินดีกับนายทรัมป์ จะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ของมาเลเซีย พร้อมก้าวไปข้างหน้าและทำงานร่วมกัน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นชาติที่มีนักลงทุนใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยยุติความรุนแรงในปาเลสไตน์และยูเครน ด้านธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) พร้อมรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ หลังเกิดความกังวลว่าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง จะหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อาจส่งผลให้มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้น และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว #Newskit #USElection2024 #DonaldTrump
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖
    🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน

    📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย
    💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67

    💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800
    ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง)
    ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ)
    ⭕️ ภาษีท่าเรือ

    ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53

    ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    ☎️: 0 2116 9696 (Auto)
    #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain
    ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖 🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน 📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย 💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67 💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800 ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง) ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ) ⭕️ ภาษีท่าเรือ ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุไหงโก-ลกเละเทะ มาเลย์ฯ ลอบเข้าไทย

    การจับกุมผู้ต้องหาชาวมาเลเซีย 6 คน หนึ่งในนั้นคือ น.ส.วัน โนรชาฮีดา อัซลิน บินตี วัน อิสมาอีล นักร้องเพลงลิเกบารัตวัย 28 ปี ที่มีผลงานเพลง Cinta Setandan Pisang เพลงฮิตที่มีผู้ฟังในยูทูบมากถึง 23 ล้านวิว พร้อมของกลางยาบ้า 6,000 เม็ด ภายในห้องพักโรงแรมเก็นติ้ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อเวลา 03.30 น. วันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของชาวมาเลเซีย เพื่อไปหาความสำราญในประเทศไทย เพราะมีผู้ต้องหา 2 คน ถูกดำเนินคดีเพิ่มในข้อหาเข้าประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังไม่พบตราประทับบนหนังสือเดินทาง

    ดาโต๊ะ โมฮัมหมัด ยูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งรัฐกลันตัน ยอมรับว่าคนในพื้นที่จำนวนมากข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อแสวงหาความบันเทิงที่ไนต์คลับ แม้ตำรวจรัฐกลันตันจะระงับยับยั้งเรื่องนี้ แต่โดยหน้าที่จำกัดแค่การจับกุมชาวต่างชาติลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเท่านั้น วัยรุ่นเหล่านี้เดินทางมายังประเทศไทยช่วงเย็นวันพฤหัสบดี (31 ต.ค.) แล้วกลับรัฐกลันตันในวันเสาร์ (2 พ.ย.) โดยจอดรถที่ด่านรันเตาปันจัง ข้ามแม่น้ำโกลกเพื่อเข้าประเทศไทย แทนการเข้าด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) รันเตาปันจัง

    ด้านนายโมฮัมเหม็ด ฟาดซิล ฮัสซัน รองมุขมนตรีรัฐกลันตัน จะเสนอรัฐบาลกลางมาเลเซียก่อสร้างกำแพงตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ความยาวเกือบ 100 กิโลเมตร เพื่อปราบปรามการลักลอบขนสิ่งผิดกฎหมายและป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากการใช้กองกำลังความมั่นคงป้องกันชายแดนทั้งหมดทำได้ยาก แม้ทางการจะควบคุมอย่างเข้มงวดที่ชายแดน แต่ช่องทางผิดกฎหมายมีหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ทำให้การเฝ้าระวังเป็นไปได้ยาก ซึ่งการลักลอบเข้า-ออกโดยผิดกฎหมายจะใช้เส้นทางที่ไม่ได้รับการควบคุม หรือควบคุมได้ยาก ทำให้เจ้าหน้าที่ยากลำบากในการปราบปราม

    ส่วนนายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการควบคุมดูแล และป้องกันยาเสพติดในฝั่งประเทศไทย ที่ปล่อยปะละเลยให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตามแหล่งท่องเที่ยวและสถานบันเทิง ทั้งดิสโก้เทค ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยากต่อการควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝั่งมาเลเซีย และอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทย ดูแลป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง เพราะตลอดระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงสุไหงโก-ลก กว่า 1,200 กิโลเมตร ไม่มีการตรวจค้นอย่างเข้มงวดและจริงจัง ทำให้มีการลำเลียงยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่สุไหงโก-ลกได้

    #Newskit #สุไหงโกลก #Kelantan
    สุไหงโก-ลกเละเทะ มาเลย์ฯ ลอบเข้าไทย การจับกุมผู้ต้องหาชาวมาเลเซีย 6 คน หนึ่งในนั้นคือ น.ส.วัน โนรชาฮีดา อัซลิน บินตี วัน อิสมาอีล นักร้องเพลงลิเกบารัตวัย 28 ปี ที่มีผลงานเพลง Cinta Setandan Pisang เพลงฮิตที่มีผู้ฟังในยูทูบมากถึง 23 ล้านวิว พร้อมของกลางยาบ้า 6,000 เม็ด ภายในห้องพักโรงแรมเก็นติ้ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อเวลา 03.30 น. วันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของชาวมาเลเซีย เพื่อไปหาความสำราญในประเทศไทย เพราะมีผู้ต้องหา 2 คน ถูกดำเนินคดีเพิ่มในข้อหาเข้าประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังไม่พบตราประทับบนหนังสือเดินทาง ดาโต๊ะ โมฮัมหมัด ยูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งรัฐกลันตัน ยอมรับว่าคนในพื้นที่จำนวนมากข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อแสวงหาความบันเทิงที่ไนต์คลับ แม้ตำรวจรัฐกลันตันจะระงับยับยั้งเรื่องนี้ แต่โดยหน้าที่จำกัดแค่การจับกุมชาวต่างชาติลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเท่านั้น วัยรุ่นเหล่านี้เดินทางมายังประเทศไทยช่วงเย็นวันพฤหัสบดี (31 ต.ค.) แล้วกลับรัฐกลันตันในวันเสาร์ (2 พ.ย.) โดยจอดรถที่ด่านรันเตาปันจัง ข้ามแม่น้ำโกลกเพื่อเข้าประเทศไทย แทนการเข้าด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) รันเตาปันจัง ด้านนายโมฮัมเหม็ด ฟาดซิล ฮัสซัน รองมุขมนตรีรัฐกลันตัน จะเสนอรัฐบาลกลางมาเลเซียก่อสร้างกำแพงตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ความยาวเกือบ 100 กิโลเมตร เพื่อปราบปรามการลักลอบขนสิ่งผิดกฎหมายและป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากการใช้กองกำลังความมั่นคงป้องกันชายแดนทั้งหมดทำได้ยาก แม้ทางการจะควบคุมอย่างเข้มงวดที่ชายแดน แต่ช่องทางผิดกฎหมายมีหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ทำให้การเฝ้าระวังเป็นไปได้ยาก ซึ่งการลักลอบเข้า-ออกโดยผิดกฎหมายจะใช้เส้นทางที่ไม่ได้รับการควบคุม หรือควบคุมได้ยาก ทำให้เจ้าหน้าที่ยากลำบากในการปราบปราม ส่วนนายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สส.นราธิวาส เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการควบคุมดูแล และป้องกันยาเสพติดในฝั่งประเทศไทย ที่ปล่อยปะละเลยให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตามแหล่งท่องเที่ยวและสถานบันเทิง ทั้งดิสโก้เทค ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยากต่อการควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝั่งมาเลเซีย และอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทย ดูแลป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง เพราะตลอดระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงสุไหงโก-ลก กว่า 1,200 กิโลเมตร ไม่มีการตรวจค้นอย่างเข้มงวดและจริงจัง ทำให้มีการลำเลียงยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่สุไหงโก-ลกได้ #Newskit #สุไหงโกลก #Kelantan
    Like
    Love
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 169 มุมมอง 0 รีวิว
  • ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖

    🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน

    📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย

    💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67

    💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800

    ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง)
    ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ)
    ⭕️ ภาษีท่าเรือ

    ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53

    ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/
    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    ☎️: 0 2116 9696 (Auto)

    #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    ☑️ เส้นทางภูเก็ต - ภูเก็ต เดินทางง่าย ขึ้น-ลง ประเทศไทย เรือ Costa Serena ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เดินทางทุกเพศทุกวัย และทุกคนในครอบครัว 💖 🛳 แพ็คเกจเรือสำราญ Costa Serena, Cruise Only (ขึ้น-ลง ภูเก็ต) 4 วัน 3 คืน 📍 เส้นทาง : ภูเก็ต, ไทย - พอร์ตคลัง, มาเลเซีย - ภูเก็ต, ไทย 💬 วันที่ 5 - 8 / 8 - 11 ธ.ค. 67 💸 ราคาเริ่มต้น : ฿17,800 ⭕️ ห้องพักบนเรือ ห้องพักคู่ รวม 3 คืน (พักสองท่านต่อห้อง) ⭕️ อาหารทุกมื้อบนเรือ (ยกเว้นห้องอาหารพิเศษ) ⭕️ ภาษีท่าเรือ ➡️ รหัสแพคเกจทัวร์ : COSP-4D3N-HKT-HKT-2412081 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/e0fa53 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #CostaSerena #ResortWorld #ภูเก็ต #ปีนัง #แพ็คเกจล่องเรือสำราญ #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1458 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 290 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา

    4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน

    ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป
    อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ

    หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

    ที่มา NBT CONNEXT

    #Thaitimes
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 334 มุมมอง 0 รีวิว
  • ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย

    ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน

    รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย

    ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว

    ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น

    ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น

    #Newskit #PetronasNGV
    ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น #Newskit #PetronasNGV
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปฏิญญา BRICS นับหนึ่งระเบียบโลกหลายขั้ว
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ขึ้น โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นเจ้าภาพ กลุ่ม BRICS กำลังสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่งที่มีขั้วอำนาจหลายขั้ว ที่นำโดย 5 ประเทศก่อตั้ง คือ จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล และ อินเดีย กับสมาชิกถาวรอีก 4 ประเทศ คือ อิหร่าน อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เอธิโอเปีย ได้จับมือรวมกลุ่มกับประเทศซีกโลกใต้ ที่เขาเรียกว่า Global South ที่เป็นประเทศพันธมิตรหุ้นส่วนอีก 13 ประเทศ มีแอลจีเรีย เบราลุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกินสถาน เวียดนาม และ ประเทศไทย
    .
    ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล ทอดด์ ได้เรียกการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 16 นี้ว่าเป็นชัยชนะของรัสเซีย และเป็นความพ่ายแพ้ย่อยยับของตะวันตก ซึ่งขณะนี้ก็ยังดื้อด้าน ไม่ยอมรับ และแสดงอำนาจบาตรใหญ่ คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของประเทศที่แสดงความปรารถนาจะใกล้ชิดกับรัสเซีย
    .
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน พูดถึงระเบียบโลกใหม่ที่BRICS สร้างเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือที่หลากหลายในหลายมิติ ไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์หรือบูรณาการเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ ให้ความสำคัญ Global South โลกใต้ที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน,BRICS Peaceใช้กลไกสันติภาพยุติสงครามความขัดแย้ง,นวัตกรรมของBRICS Innovationเพื่ออนาคตเปิดพรมแดนใหม่ๆเพื่อมนุษยชาติ,Green BRICS ซึ่งจีนเป็นเจ้าโลกเทคโนโลยีสีเขียวและรถไฟฟ้าตอบโจทย์แก้โลกร้อน Climate Change และประเด็น Justices&Humanity BRICSที่ผู้นำจีนเสนอควรต้องให้แต้มต่อประเทศยากจนถึงจะเป็นธรรม
    .
    การประชุมสุดยอดของผู้นำ BRICS ปิดฉากลงด้วยการรับรองปฏิญญาคาซาน 2024 ซึ่งเป็นคำประกาศแถลงการณ์ร่วมของสมาชิก BRICS โดยมีแผนที่จะยื่นเอกสารดังกล่าวต่อสหประชาชาติด้วย เนื้อหาระบุไว้4หัวข้อหลัก
    .
    หนึ่ง-ความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันระดับโลกเช่นองค์การการค้าโลก คัดค้านมาตรการฝ่ายเดียวที่เลือกปฏิบัติและการคุ้มครองทางการค้า รวมทั้งเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้เป็นตัวแทนประเทศทั่วโลกมากขึ้น
    .
    สอง-โครงการของ BRICS ริเริ่มใหม่ (BRICS Initiative) ด้านศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลและเปลี่ยนแปลงเพิ่มบทบาทธนาคารพัฒนาแห่งใหม่ (NDB)ของBRICS แทนธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟที่ล้มเหลวต่อการพัฒนาประเทศ Global South รวมถึงการทำแพลตฟอร์มใหม่ๆพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ BRICS ClearแทนระบบSWIFTของตะวันตก และร่วมมือการพัฒนายารักษาโรครวมทั้งวัคซีนและโครงการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    .
    สาม-การขยายความร่วมมือของ BRICS โดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นประจำชาติในการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิก BRICS+ และพันธมิตรทางการค้า ดำเนินยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
    .
    สี่-วิกฤตการณ์โลกที่ BRICS ต่อต้าน ประณามการใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เลือกปฏิบัติ คัดค้านการนำอาวุธไปใช้ในอวกาศ และสนับสนุนการเสริมสร้างระบอบการไม่แพร่ขยายอาวุธ รวมถึงปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติและข้อเสนอในการไกล่เกลี่ยยุติความขัดแย้งโดยผ่านการเจรจาเท่านั้น
    .
    ทั้งหมดนี้ จีน รัสเซีย ในฐานะแกนนำมหาอำนาจขั้วโลกใหม่ จะเป็นผู้นำวางกฎระเบียบโลกใหม่ และได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงยุทธศาสตร์เชิงภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงสภาพการขับเคี่ยวกันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างเศรษฐกิจกลุ่ม Global North และ Global South สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการนับหนึ่งที่กำลังจะสั่นสะเทือนอนาคตของระเบียบโลกเก่า
    ปฏิญญา BRICS นับหนึ่งระเบียบโลกหลายขั้ว . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ขึ้น โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นเจ้าภาพ กลุ่ม BRICS กำลังสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้นอีกระบบหนึ่งที่มีขั้วอำนาจหลายขั้ว ที่นำโดย 5 ประเทศก่อตั้ง คือ จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ บราซิล และ อินเดีย กับสมาชิกถาวรอีก 4 ประเทศ คือ อิหร่าน อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เอธิโอเปีย ได้จับมือรวมกลุ่มกับประเทศซีกโลกใต้ ที่เขาเรียกว่า Global South ที่เป็นประเทศพันธมิตรหุ้นส่วนอีก 13 ประเทศ มีแอลจีเรีย เบราลุส โบลิเวีย คิวบา อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกินสถาน เวียดนาม และ ประเทศไทย . ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล ทอดด์ ได้เรียกการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 16 นี้ว่าเป็นชัยชนะของรัสเซีย และเป็นความพ่ายแพ้ย่อยยับของตะวันตก ซึ่งขณะนี้ก็ยังดื้อด้าน ไม่ยอมรับ และแสดงอำนาจบาตรใหญ่ คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของประเทศที่แสดงความปรารถนาจะใกล้ชิดกับรัสเซีย . ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน พูดถึงระเบียบโลกใหม่ที่BRICS สร้างเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มความร่วมมือที่หลากหลายในหลายมิติ ไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์หรือบูรณาการเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ ให้ความสำคัญ Global South โลกใต้ที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน,BRICS Peaceใช้กลไกสันติภาพยุติสงครามความขัดแย้ง,นวัตกรรมของBRICS Innovationเพื่ออนาคตเปิดพรมแดนใหม่ๆเพื่อมนุษยชาติ,Green BRICS ซึ่งจีนเป็นเจ้าโลกเทคโนโลยีสีเขียวและรถไฟฟ้าตอบโจทย์แก้โลกร้อน Climate Change และประเด็น Justices&Humanity BRICSที่ผู้นำจีนเสนอควรต้องให้แต้มต่อประเทศยากจนถึงจะเป็นธรรม . การประชุมสุดยอดของผู้นำ BRICS ปิดฉากลงด้วยการรับรองปฏิญญาคาซาน 2024 ซึ่งเป็นคำประกาศแถลงการณ์ร่วมของสมาชิก BRICS โดยมีแผนที่จะยื่นเอกสารดังกล่าวต่อสหประชาชาติด้วย เนื้อหาระบุไว้4หัวข้อหลัก . หนึ่ง-ความจำเป็นในการปฏิรูปสถาบันระดับโลกเช่นองค์การการค้าโลก คัดค้านมาตรการฝ่ายเดียวที่เลือกปฏิบัติและการคุ้มครองทางการค้า รวมทั้งเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้เป็นตัวแทนประเทศทั่วโลกมากขึ้น . สอง-โครงการของ BRICS ริเริ่มใหม่ (BRICS Initiative) ด้านศักยภาพเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลและเปลี่ยนแปลงเพิ่มบทบาทธนาคารพัฒนาแห่งใหม่ (NDB)ของBRICS แทนธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟที่ล้มเหลวต่อการพัฒนาประเทศ Global South รวมถึงการทำแพลตฟอร์มใหม่ๆพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบชำระเงินระหว่างประเทศ BRICS ClearแทนระบบSWIFTของตะวันตก และร่วมมือการพัฒนายารักษาโรครวมทั้งวัคซีนและโครงการ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ . สาม-การขยายความร่วมมือของ BRICS โดยการใช้สกุลเงินท้องถิ่นประจำชาติในการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิก BRICS+ และพันธมิตรทางการค้า ดำเนินยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ . สี่-วิกฤตการณ์โลกที่ BRICS ต่อต้าน ประณามการใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เลือกปฏิบัติ คัดค้านการนำอาวุธไปใช้ในอวกาศ และสนับสนุนการเสริมสร้างระบอบการไม่แพร่ขยายอาวุธ รวมถึงปฏิบัติตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเต็มตัวของปาเลสไตน์ในสหประชาชาติและข้อเสนอในการไกล่เกลี่ยยุติความขัดแย้งโดยผ่านการเจรจาเท่านั้น . ทั้งหมดนี้ จีน รัสเซีย ในฐานะแกนนำมหาอำนาจขั้วโลกใหม่ จะเป็นผู้นำวางกฎระเบียบโลกใหม่ และได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงยุทธศาสตร์เชิงภูมิเศรษฐศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงสภาพการขับเคี่ยวกันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างเศรษฐกิจกลุ่ม Global North และ Global South สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการนับหนึ่งที่กำลังจะสั่นสะเทือนอนาคตของระเบียบโลกเก่า
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3 พฤศจิกายน 2567-ชายเดี่ยว วิว กุลวุฒิ ชนะ Lee Cheuk Yiu จากฮ่องกง 3-0 เก็บแต้ม Blitzers นำ 4-2 , ตัดสินคู่สุดท้าย แบด3คน ที่มีสามแต้มเป็นเดิมพันชนะ Blitzers เฉือนแต้ม Sudden Death คว้าแชมป์​ลีคอินโด BDMNTN-XL รับทรัพย์คนละ 2 ล้านบาท

    ทั้งนี้การแข่งขันแบดมินตันรายการพิเศษในรายการ "บีเอ็กซ์แอล แบดมินตัน" ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย.67 ที่อิสโตร่า เสนายัน ในกรุงจาร์การ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

    โดยจะมี 3 นักแบดมินตันไทยลงแข่งขัน อาทิ "วิว" กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ชายเดี่ยว ดีกรีเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 2024 , "เมย์" รัชนก อินทนนท์ หญิงเดี่ยว เจ้าของแชมป์โลก ปี 2013 และ "หมิว" พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ โดยจะลงเล่นแทน โนโซมิ โอกูฮาระ จากญี่ปุ่น โดยรูปแบบการแข่งขันจะเป็นในรูปแบบ แบ่งเป็น 4 ทีม แต่ละทีมส่งตัวแทนลงแข่ง 5 แมตช์ ได้แก่ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ และแบด 3 คน ทีมไหนถึง 5 ก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ไม่มีคะแนนต่ำสุดหรือสูงสุดสำหรับแต่ละเซ็ต - ผู้เล่น/คู่/ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดหลังจากแต่ละ 10 นาทีจะชนะ 1 เซ็ต

    สำหรับ "เมย์" รัชนก อินทนนท์ จะอยู่ในกลุ่ม Lighting ร่วมกับ วิคเตอร์ อเซลเซ่น (เดนมาร์ก) , อัชวานี่ พอนนัพพา (อินเดีย) , เกรเซี่ย โพลี่ (อินโดนเซีย) , ยูตะ วาตานาเบ้ (ญี่ปุ่น) , ตัง ชุนมาน (ฮ่องกง) และ โซว วุยอิค (มาเลเซีย)

    ส่วน "วิว" กุลวุฒิ วิทิตศานต์ และ "หมิว" พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ จะอยู่ในกลุ่ม Bltizers ร่วมกับ อเล็กซานดร้า โบเจ้ จากเดนมาร์ก , ออง ยิวซิน กับ เตียว อี้เว่ย จากมาเลเซีย , ซาบาร์ คาร์ยามาน กุตมา จากอินโดนีเซีย ,

    https://youtu.be/WeuDCPVG1Yc?si=048h60IuBSTlXRzR

    #Thaitimes
    3 พฤศจิกายน 2567-ชายเดี่ยว วิว กุลวุฒิ ชนะ Lee Cheuk Yiu จากฮ่องกง 3-0 เก็บแต้ม Blitzers นำ 4-2 , ตัดสินคู่สุดท้าย แบด3คน ที่มีสามแต้มเป็นเดิมพันชนะ Blitzers เฉือนแต้ม Sudden Death คว้าแชมป์​ลีคอินโด BDMNTN-XL รับทรัพย์คนละ 2 ล้านบาท ทั้งนี้การแข่งขันแบดมินตันรายการพิเศษในรายการ "บีเอ็กซ์แอล แบดมินตัน" ที่ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 3 พ.ย.67 ที่อิสโตร่า เสนายัน ในกรุงจาร์การ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยจะมี 3 นักแบดมินตันไทยลงแข่งขัน อาทิ "วิว" กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ชายเดี่ยว ดีกรีเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ 2024 , "เมย์" รัชนก อินทนนท์ หญิงเดี่ยว เจ้าของแชมป์โลก ปี 2013 และ "หมิว" พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ โดยจะลงเล่นแทน โนโซมิ โอกูฮาระ จากญี่ปุ่น โดยรูปแบบการแข่งขันจะเป็นในรูปแบบ แบ่งเป็น 4 ทีม แต่ละทีมส่งตัวแทนลงแข่ง 5 แมตช์ ได้แก่ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ และแบด 3 คน ทีมไหนถึง 5 ก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ไม่มีคะแนนต่ำสุดหรือสูงสุดสำหรับแต่ละเซ็ต - ผู้เล่น/คู่/ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดหลังจากแต่ละ 10 นาทีจะชนะ 1 เซ็ต สำหรับ "เมย์" รัชนก อินทนนท์ จะอยู่ในกลุ่ม Lighting ร่วมกับ วิคเตอร์ อเซลเซ่น (เดนมาร์ก) , อัชวานี่ พอนนัพพา (อินเดีย) , เกรเซี่ย โพลี่ (อินโดนเซีย) , ยูตะ วาตานาเบ้ (ญี่ปุ่น) , ตัง ชุนมาน (ฮ่องกง) และ โซว วุยอิค (มาเลเซีย) ส่วน "วิว" กุลวุฒิ วิทิตศานต์ และ "หมิว" พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ จะอยู่ในกลุ่ม Bltizers ร่วมกับ อเล็กซานดร้า โบเจ้ จากเดนมาร์ก , ออง ยิวซิน กับ เตียว อี้เว่ย จากมาเลเซีย , ซาบาร์ คาร์ยามาน กุตมา จากอินโดนีเซีย , https://youtu.be/WeuDCPVG1Yc?si=048h60IuBSTlXRzR #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 316 มุมมอง 0 รีวิว
  • หม่อมโจ้
    สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส
    เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร
    ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้
    เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด
    ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน
    แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง
    อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง
    'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น
    ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล
    ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
    ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา
    ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :
    (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist'
    ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist'
    เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น
    การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา
    ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น
    ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน
    ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย
    (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ
    การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง
    วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542)
    ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank
    Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ
    แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO
    โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่
    (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ
    เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ
    ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น
    หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร)
    ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย
    ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก
    ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร
    จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่
    ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น
    ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น
    ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้
    ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด
    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
    ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    หม่อมโจ้ สิ่งที่ควรรู้เรื่องอิสราเอลหม่อมโจ้ โต้ทูตอิสราเอล ยันต้องเปิดความจริง ช่วยคนไทยพ้นภาวะทาส เพื่อนๆคงจะรู้จัก คุณปุ๊ก อาภัสรา หงสกุล อดีตนางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก ที่เรียกว่ามิสยูนิเวอร์ส คุณอาภัสราจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.3) ปี 2506 จาก ร.ร.ศึกษาวิทยา ถนนสีลม แล้วไปเรียนอาชีวศึกษาที่ ร.ร.เลขานุการที่นครรัฐปีนัง ในมาเลเซีย จบชั้นปีที่ 2 เธอมาประกวดนางสาวไทย ได้ตำแหน่งปี 2507 จากนั้นไปเรียนต่อแล้วกลับมาปี 2508 เดินทางไปประกวดมิสยูนิเวอร์สที่นครไมอามี่ รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ได้ตำแหน่งขณะมีอายุ18ปี คุณปุ๊กเกิดวันที่16 มกราคม 2490 ปีกุนปีเดียวกับผม ปี 2510 ขณะมีอายุ 20ปีได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร มีบุตรชายคนแรกคือหม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร ปัจจุบัน หม่อมโจ้ บุตรชายคนแรกของคุณปุ๊ก อายุได้ 53 ปีแล้ว หม่อมโจ้เรียนจบจากต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเคยทำงานบริษัทต่างประเทศจนได้ลาออกไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสายวัดป่าอยู่หลายปีได้มาซื้อที่ดินที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 45 ไร่ ปลูกพืชและผลไม้สายพันธุ์ของต่างประเทศที่ไม่มีใครทำมาก่อนจนผลไม้ขายได้ในราคาสูง หม่อมหลวงรุ่งคุณได้ศึกษาและวิเคราะห์เขียนหนังสือหลายเรื่องเกี่ยวกับอิสราเอล ไว้มากจนเป็นข่าวตอบโต้กับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยดังนี้ เรียน ท่านเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย นายไซม่อน โรดเด็ด ข้าพเจ้ารับทราบถึงความไม่พอใจของท่านกับบทความของข้าพเจ้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าได้เขียน เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ อันเป็นสิทธิที่ข้าพเจ้าจะแสดงได้ โดยความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นไปตามข้อมูลหลักฐานอันมีจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีความพยายามในการกลบและบิดเบือน แม้กระนั้น ท่านอาจแปลกใจคิดว่า แล้วไฉนทั้งที่ข้าพเจ้าและประเทศไทยที่ไม่ได้มีส่วนได้เสีย ข้าพเจ้าจึงต้องไปเขียนในเรื่องราวสร้างความบาดหมางให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะชี้แจงตรงนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนเพื่อที่จะก่อความบาดหมางให้แก่ท่านหรือแก่ผู้ใด และ เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง อย่างแรก 'กลุ่มทุนธนาคารยิว Zionist' ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวถึงคนเพียงกลุ่มหนึ่ง มิใช่ชาวยิวทั้งหมด โดยคำว่า 'Zionist' แม้แต่ชาวยิวแท้ Orthodox Jews ที่ยึดมั่นใน Torah จำนวนมากก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย ดังที่พวกเขาได้ออกมาประท้วง ประกาศว่า 'Zionism' ไม่ใช่ 'Judaism' เอง ท่านทูตน่าจะพอทราบอยู่ เพราะใน Israel ก็มีการจับชาวยิวแท้ ที่มีอัธยาศัยดีเหล่านี้ ไปจำคุกอยู่จำนวนหนึ่ง 'ทุนธนาคาร Zionist' ที่ข้าพเจ้าพูดถึง หมายถึงกลุ่มทุนธนาคารที่เป็นผู้มีอำนาจที่สุดในโลก มีอำนาจเหนือรัฐหลายรัฐ รวมถึงมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา เขาคุมการเงินโดยกลุ่มของเขาเอง เป็นเจ้าของ Federal Reserve Bank ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์เงินให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องกู้ มิใช่ของประชาชนชาวอเมริกันตามที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด กลุ่มทุนธนาคารของเขาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั้งสิ้นทั่วโลก รวมถึง 6 บริษัทที่คุม 90% ของสื่อในสหรัฐอเมริกา เขาคุมแหล่งนํ้ามันและก๊าซหลัก ๆ ทั่วโลก และกำลังรุกเพื่อควบคุมผูกขาดอาหารของโลกโดยการผลิต GMO แม้แต่องค์กรโลก เช่น UN ที่ให้กำเนิด World Bank และ IMF ล้วนเป็นองค์กรที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น และควบคุมทั้งสิ้น ชื่อตระกูลที่โดดเด่นมีอิทธิพลสูงสุดใน 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ ได้แก่ 'Rothschild' และ 'Rockefeller' ชื่อ 'Rothschild' ท่านทูตย่อมรู้จักเป็นอย่างดี โดยใน 'Independence Hall' ที่ Tel Aviv เมืองหลวงของท่านเอง ก็มีนิทรรศการเอกสารชิ้นสำคัญมากชิ้นหนึ่งเรียกว่า 'The Balfour Declaration' เป็นจดหมายจากรัฐบาลอังกฤษ จ่าหัวถึง 'Lord Rothschild' ใน 1917 แสดงถึงการที่รัฐบาลอังกฤษสนับสนุนให้เกิด บ้านอยู่ (national home) ของชาวยิว ที่ Palestine แก่ 'Lord Rothschild' Baron Edmond (Abraham Benjamin) Rothschild จึงมีสถานะเป็น "the Father of the Settlements" (Avi ha-Yishuv) หรือบิดาแห่งอิสราเอล ใน4บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก หรือ 'The Four Horsemen of Oil' ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายการครอบครองน้ำมันของสหรัฐฯ 2 บริษัท คือ BP Amoco และ Royal Dutch/Shell อยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูล Rothschild ที่ถือหุ้นใหญ่ ส่วน อีกสอง Exxon Mobil และ Chevron คือ บริษัทที่มาจาก Standard Oil ของ John D. Rockefeller โดยกรรมการของบริษัทน้ำมันเหล่านี้จำนวนหนึ่ง ไขว้กันเองเป็นใย และไขว้เป็นกรรมการของธนาคารยักษ์ใหญ่ เช่น JP Morgan Chase ของ Rockefeller และ Citigroup, Bank of America, Wells Fargo, N. M. Rothschild & Sons โดยตระกูล Rothschild ควบคุม และมีการเชื่อมโยงถือหุ้นไขว้กันกับกลุ่มทุนนอมินียักษ์ เช่น BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ที่ถือหุ้นใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ แทบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในการสร้างอำนาจเหนือรัฐต่าง ๆ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้จัดตั้งองค์กร Front ของเขา เช่น The Bilderberg Group, Council on Foreign Relations (CFR) และ The Trilateral Commission (TC) โดยองค์กรเหล่านี้จะรวมกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และบรรดาผู้มีอิทธิผล เช่น อดีตประธานาธิบดี บริวารมือขวาของเขา Henry Kissinger นักการเมืองทุกขั้ว ทหาร หัวหน้าหน่วยงานลับ ของประเทศสำคัญในยุโรป และสหรัฐฯ โดยใน Trilateral Commission จะมีสมาชิกเป็นบุคคลสำคัญของประเทศในทวีปเอเชียต่าง ๆ ที่รับใช้พวกเขา 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐ เช่นมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ด้วยความละโมบของพวกเขา ในการล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยกำลังก็ดี โดยวิธีแห่งการให้สินบนแก่ผู้ขายชาติตนเองก็ดี โดยการบีบบังคับด้วยหนี้สินก็ดี โดยการแทรกแซงการเมืองภายในก็ดี 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้ ได้เข้ายึดครองทรัพยากร พลังงาน เศรษฐกิจ และการเงิน ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ตกเป็นทาสของพวกเขา โดยในประเทศไทยเอง ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' พร้อมการร่วมมือของ 'คนไทย' ที่ได้ขายตัวขายจิตวิญญาณให้พวกเขา ได้ร่วมกระทำ ดังต่อไปนี้ (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงิน (3) การชักใยอยู่เบื้องหลังทุกฝ่าย ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' เพื่อการยึดครองประเทศเป็นเมืองขึ้นยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ : (1) การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ จากประชาชนคนไทย โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งที่ประเทศไทย มีอธิปไตยของตนเอง โดยอธิปไตย นั้นเป็นของปวงชนชาวไทย อันหมายความว่าทรัพยากรของชาตินั้นเป็นของประชาชนคนไทย แต่ปรากฏว่า กฎหมายว่าด้วยน้ำมันและก๊าซ (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514) มิได้มีการเขียนขึ้นไม่ว่าจะ 'โดย' ประชาชน หรือ 'เพื่อ' ประชาชน แต่อย่างใด แต่ได้ถูกเขียนขึ้นโดย Walter James Levi สมาชิกทั้ง CFR และ The Trilateral Commission ผู้ทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ ขั้นขึ้นชื่อว่าเป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์พลังงานของสหรัฐอเมริกา (the dean of United States oil economists) และ ได้เป็นผู้บริหารบริษัทของตระกูล Rockefeller เองคือ Standard Oil Company of New York หรือ Socony (ปัจจุบันคือ Exxon) คนที่เขียนกฎหมายนี้ของประเทศไทย ไม่ใช่คนไทย แต่คือคนของ 'ทุนธนาคาร Zionist' เนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเอง ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยมีลักษณะของกฎหมายสำหรับเมืองขึ้นอันไม่เป็นธรรม คือ น้ำมันและก๊าซทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน การได้สัมปทานเป็นไปโดยไม่มีการประมูลอย่างโปร่งใส ค่าตอบแทนเป็นไปอย่างต่ำ และ ประชาชนคนไทยที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง ไม่สามารถตรวจสอบรับทราบความจริงได้เลย โดยวิธีที่สามารถจะเรียกว่าโปร่งใสได้ ว่าปริมาณทรัพยากรที่มีการขุดไปนั้นมีปริมาณที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด ประเทศไทยมีพลังงานมากน้อยแค่ไหนโดยต้องยอมรับตามตัวเลข ที่บริษัทพลังงานต่าง ๆ แจ้งเท่านั้น การปล้นอธิปไตยโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นไปได้ด้วยการข่มขู่ไม่ให้ความร่วมมือ พร้อมการให้สินบนแก่ 'คนไทยที่ขายชาติตัวเอง' ซึ่งจากนั้นมา การรุกครอบครองน้ำมันและก๊าซของประชาชนคนไทย โดยวิธีการดังกล่าวได้ขยายไปเรื่อย ๆ มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ให้เอื้ออำนวยแก่ผู้รับสัมปทานอย่างล้นพ้นโดยภายหลังจะเห็นได้ชัดเจนถึงผู้เข้ามามีอำนาจในไทย ไม่ว่าขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ได้สานต่อไปในทาง 'ขายชาติตัวเอง' ให้แก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' เหล่านี้เพื่อค่าคอมมิสชั่น ถึงขั้นร่วมกันชง ส่งลูกกันข้ามรัฐบาล ยกดินแดนไทยให้กัมพูชา อันส่งผลให้พื้นที่ไทยในทะเลอ่าวไทย 27,000 ตารางกิโลเมตรอันอุดมด้วยน้ำมันและก๊าซที่สุดแห่งหนึ่ง ต้องตกกลายเป็นพื้นที่พิพาท ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งในพื้นที่นี้ บริษัท Chevron คือบริษัทที่จ่อล็อกจะถือสัมปทานจากทั้ง 2 ประเทศ ในกรณีนี้ที่มีการพิพาทเรื่องพื้นที่ในอ่าวไทย หากไทยและกัมพูชา ให้สัมปทานในพื้นที่นี้ ผู้ที่จะมีอิทธิพลสูงสุดในการครอบครอง ย่อมมิใช่ไทยหรือกัมพูชาอีกทั้งนั้น แต่จะเป็นสหรัฐอเมริกาภายใต้กลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เพราะสัมปทานจะเป็นของ Chevron โดยเอกฉันท์ ฝ่ายใดที่ให้ประโยชน์แก่สหรัฐฯ สูงสุด สหรัฐฯ ย่อมสนับสนุนฝ่ายนั้น ในปัจจุบัน การถูกปล้นอธิปไตย การตกเป็นอาณานิคมของ 'ทุนธนาคาร Zionist' อย่างเต็มรูปแบบในเรื่องพลังงาน ก็ประจักษ์ชัดเจนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยในปัจจุบัน นาย ณรงค์ชัย อัครเศรณี ผู้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง ได้เป็นสมาชิก The Trilateral Commission (TC) องค์กรของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ยาวนานถึง 30 ปี โดยเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่รีรอที่จะประกาศผลักดันเปิดสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจ และไม่มีการชี้แจงอันใดเกี่ยวกับการเสียดินแดนของประเทศไทย ทั้งที่มีการคัดค้าน ด้วยประการฉะนี้ การปล้นโกงน้ำมันและก๊าซ โดย 'ทุนธนาคาร Zionist' จึงมิได้ครอบคลุมเพียงแค่น้ำมันและก๊าซอีกต่อไป แต่ได้ขยายไปเป็นการปล้นดินแดนไทย จากประชาชนคนไทย ไปโดยเรียบร้อย (2) การทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ ตามด้วยการยึดครองเศรษฐกิจการเงินของประเทศ การที่เถ้าแก่สามานย์รายใดจะต้องการยึดที่ดินสวย ๆ ของชาวนา วิธีที่เขาจะกระทำคือ ให้ชาวนากู้เงิน ทำให้จ่ายหนี้ไม่ได้ เมื่อจ่ายช้าก็อายัดที่ดินนั้น บังคับขายในราคาต่ำกว่าจริงสิบเท่า แล้วเข้าซื้อเอง วิธีการของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ก็เป็นเช่นนั้น ทำให้ประเทศเป็นหนี้ หลังการปล่อยกู้เงินให้แก่ประเทศไทยจำนวนมากให้คน น้อยกว่า 1% อย่างฟุ่มเฟือย George Soros สมาชิกอาวุโส CFR ได้นำกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' มาโจมตีค่าเงินบาท จาก 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ กลายเป็น 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ เพราะกู้เงินจากต่างชาติมามาก เศรษฐกิจไทยได้เข้าสู่วิกฤต มีการล่มสลายของธุรกิจจำนวนมาก(ในปี 2540 – 2542) ต่อมาก็เป็นไปตามแบบแผนวิธีการของ IMF และ World Bank ที่ 51% เป็นของ US Treasury ควบคุมโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' ของ Rothschild ตามขั้นตอนที่ Joseph Stiglitz ผู้เป็นอดีตประธานที่ปรึกษาทีมเศรษฐกิจของ President Bill Clinton อดีตรองประธาน และ Chief Economist ของ World Bank ได้เปิดโปงให้แก่หนังสือ The Observer และ Newsweek หลังมีเอกสารลับหลุดออกมาจาก World Bank คือในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน จำต้องเซ็นสัญญา โดยในสัญญาจะตกลงใน (a) Privatization การแปรรูป โดยรัฐจะต้องยินยอมขายสมบัติของชาติเกี่ยวเนื่องกับสิ่งจำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ (b) Capital Market Liberalization การเปิดให้ทุนไหลเข้าออก โดยส่วนใหญ่มักจะไหลออก (c) Market-based pricing การขึ้นราคา อาหาร ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ โดยอ้างว่าเป็นราคาตลาดโลก (d) Free Trade การค้าเสรี ตามกฎของ WTO และ World Bank Stiglitz ได้ระบุในการสัมภาษณ์อย่างชัดเจนว่า การยินยอมในการตกลงนั้นเกิดขึ้นไม่ยากโดย (ก) World Bank IMF สามารถสั่ง Financial Blockage การกีดกันทางการเงินหากไม่ร่วมมือ และ (ข) นักการเมืองในประเทศนั้น ๆ ยินดีที่จะยกบริษัท น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ ให้โดย 'เขาจะตาโตกันเลย เมือเขานึกถึงค่าคอมมิสชั่นที่เขาจะได้กัน จากการลดราคาเป็นพัน ๆ ล้านในการแปรรูป' โดยเขาจะสามารถใช้ข้ออ้างว่า ถูก World Bank IMF บังคับ แล้วการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ก็ได้ตามมา พร้อมการขายสมบัติชาติแบบล็อกสเปคในราคาที่ต่ำกว่าทุนถึง 5 เท่า ตามด้วยการแปรรูปบริษัทน้ำมัน-ก๊าซของชาติ โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าจะในกรณี การยกดินแดนให้ต่างชาติ หรือ การแปรรูป จะเกิดขึ้นโดยการร่วมมือของมากกว่าหนึ่งรัฐบาล โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปเพื่อการสามารถโยนความผิดกันไปมาได้ โดยไม่มีใครผิดเต็ม ๆ โดยในกรณีนี้ แม้ขั้วนักการเมืองกลุ่มที่รับข้อตกลงรับรายละเอียดในการออกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับจาก 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้พยายามจะโยนความผิดให้ผู้ริเริ่มการตกลง แต่ก็ปรากฏให้เห็นได้ถึงการตอบแทน เมื่อคนของเขาได้ไปนั่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO โดยการโจมตีค่าเงิน การบีบข่มขู่ การให้สินบนแก่ผู้เข้ามามีอำนาจทุกขั้ว ที่ร่วมกันขายชาติตนเอง 'ทุนธนาคาร Zionist' เช่น JP Morgan Chase, BlackRock, State Street, Vanguard และ Fidelity ได้เข้ามายึดครองควบคุม บริษัทน้ำมันก๊าซ ธนาคาร และ เศรษฐกิจการเงินของประเทศไทย ไปจากคนไทย และยังรุกคืบยิ่ง ณ ปัจจุบัน ตามข่าวการแปรรูปที่ปรากฏอยู่ (3) การชักใยอยู่เบื้องหลัง ในการสร้างความแตกแยก ตามยุทธศาสตร์ 'แบ่งแยกแล้วปกครอง' (Divide and Conquer) เพื่อการยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ที่เข้ามามีอำนาจ ล้วนให้ความร่วมมือกับ 'ทุนธนาคาร Zionist' ในการขายทำลายชาติ โดยมีค่าคอมมิสชั่น ทั้งในทรัพยากรและในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม สามารถควบคุม ชักใยได้ทุกฝ่าย ยุทธศาสตร์ แบ่งแยกแล้วปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่มีตัวอย่างเห็นได้ในโลกปัจจุบันมากมายในการเข้ายึดครองประเทศต่าง ๆ ของ 'ทุนธนาคาร Zionist' โดยการยุยงให้เหยื่อตีกันเอง บางกรณีให้อาวุธทั้ง 2 ฝ่าย ทำลายภูมิคุ้มกันความสามัคคีของชนชาตินั้น ๆ สร้างความแตกแยก โดยเมื่อมีรอยแตก ก็สามารถจะแทรกเข้าไป ยึดครองประเทศนั้น ๆ ความแตกแยก ปัญหาความขัดแย้งเสื้อสี ที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ล้วนมีการชักใย มีการสนับสนุน ทั้ง 2 ฝ่ายการเมือง โดยมีกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักการเมืองทั้ง 2 ขั้ว โดยทั้ง 2 ขั้ว นั้นล้วนมีผลประโยชน์ในเรื่องคอมมิสชั่น จากกลุ่ม 'ทุนธนาคาร Zionist' และถูกชักใยให้ปลุกปั่นประชาชน ให้มาตีกันเองโดยการรู้ไม่เท่าทันของประชาชน ว่าโดยแท้จริงแล้ว นักการเมืองและผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะขั้วไหน เข้ามาด้วยวิธีใด ล้วนให้ความร่วมมือ ขายชาติตนเองแก่ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งสิ้น หลักฐานปรากฏชัดเจนว่าสมาชิก CFR ของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' อาทิ (a) Robert Blackville สมาชิก CFR มือขวาการต่างประเทศของ Henry Kissinger จาก Barbour Griffif & Rogers (CFR) (b) Keneth Adelman สมาชิก CFR อดีตทูต UN ของสหรัฐ จาก Baker & Botts Robert (CFR) (c) Robert Amsterdam จาก Amsterdam & Peroff (Chatham House) ได้ทำหน้าที่เป็น lobbyist ให้อดีตนักการเมืองที่หลบอยู่ที่ Dubai และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังขบวนการเสื้อแดง และองค์กร NED ได้ให้เงินสนับสนุน Website ของเสื้อแดงจำนวนมาก โดยต้องเป็นที่กล่าวว่า นักการเมืองไทยที่หลบหนีอยู่ที่ Dubai นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงหุ่นเชิด ที่ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ชักใยอยู่เบื้องหลัง ซึ่งโดยลำพังเขาไม่สามารถที่จะทำเองได้เลย (นั่นคือทักษิณ ชินวัตร) ส่วนนักการเมืองผู้เข้ามามีอำนาจ ฝ่ายอื่น ๆ ที่โหน อ้าง ปกป้อง สถาบันสำคัญ ๆ ฝ่ายนี้ โดยการขายตัวขายชาติ การปรารถนาได้ค่าคอมมิสชั่น ทั้งในน้ำมันก๊าซ และในการแปรรูป เป็นตัวเชื่อม ก็ไม่พ้นการอยู่ภายใต้อำนาจการชักใยของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' ที่เป็นผู้กำกับการแสดง จูงทั้งสองสามฝ่าย ให้ชงและส่งลูกให้กัน เสี้ยมให้ชาติ ล่มสลาย เพื่อการปล้นยึดครองอย่างเบ็ดเสร็จ ในระหว่างที่สหรัฐ แขนขวาของ 'กลุ่มทุนธนาคาร Zionist' สนับสนุนฝ่ายหนึ่ง แขนซ้าย ก็ทำตัวเข้าสนับสนุนอีกฝ่าย ข้าพเจ้าจึงจะประกาศ ณ ที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิได้รังเกียจประชาชนของชนชาติใด จะเป็นชาวอเมริกันหรือชาวยิวหรือชาติใด ๆ ทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารังเกียจ คือพฤติกรรม เอาเปรียบ เบียดเบียน แทรกแซง ปล้นทั้งทรัพยากรและดินแดน ทำลายชาติอื่น ที่ 'ทุนธนาคาร Zionist' นี้ได้กระทำทั่วโลก ดังนั้น กับคำกล่าวของท่านว่าข้าพเจ้าเหยียดชนชาติ เมื่อความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เดือดร้อนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ว่าในโลกปัจจุบัน เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีค่ายนักโทษอันใดที่กระทำความทารุณโหดร้ายเท่ากับที่สถานที่ชื่อ Gaza และในเมื่อประเทศของท่านเองยังกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Palestine อย่างที่กระทำอยู่ ท่านยังจะกล้าบังอาจเรียกผู้ใดว่าเหยียดชนชาติได้เสียอย่างไร จะเรียกใครว่าอย่างไรท่านจงมองตัวเองบ้างเสียเถิด ท่านจงสำเหนียกเสียบ้างเถิดว่า พฤติกรรมร้องทำจะเป็นจะตายว่าพวกตนถูกทำร้าย ทั้งที่พวกตนนั่นแหละคือผู้ที่กระทำชำเราเขาไปทั่ว ท่านคิดว่าอย่างไร พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่น่าสมเพชหรือไม่ ไม่ว่าจะประชาชนชนชาติใด เขาก็ย่อมปรารถนาความสงบสุข เขาย่อมปรารถนาอธิปไตยในชาติของเขาเอง เขาย่อมปรารถนาที่จะตัดสินอนาคตเขาเอง เขาย่อมปรารถนาว่าทรัพยากรของเขาจะถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเขาด้วยความเป็นธรรม เขาย่อมไม่ต้องการให้ใครมาเอาดินแดนของเขาไป แต่ในประเทศไทย ด้วยการชักใย การซื้อคนไทยที่ขายชาติตนเองทุกขั้ว การซื้อสื่อ การปลุกปั้นโดย 'ทุนธนาคาร Zionist' เป็นอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ผลคือ คนไทย แทนที่จะรักใครสามัคคีกัน แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากสมบัติอันมีค่าของเขา แทนที่จะมีรัฐสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่มีคุณภาพ แทนที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพความสุขที่พวกเขาควรได้รับ เขากลับต้องมาเกลียดชังกันเอง ทะเลาะสู้กันเอง เขากลับต้องมาเป็นทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' ต้องมาเป็นทาสที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสู้กันเอง แทนที่จะสามัคคีกันเพื่อปลดปล่อยพวกตนจากความเป็นทาส เพราะความไม่รู้เท่าทัน เพราะการหลอกลวงโดยนักการเมือง ผู้เข้ามามีอำนาจที่หิวโหย ที่ล้วนทำเพื่อตนเอง โดยรับใช้ ถูกชักใยจากนายคนเดียวกันคือ 'ทุนธนาคาร Zionist' ทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะเปิดเผยความจริง ความจริงโดยรอบด้าน และความจริงที่จริงที่สุด โดย เมื่อประชาชนชาวไทยตื่นรู้กับความจริง การเป็นทาสที่ถูกหลอกให้สู้กันเองย่อมหมดไป ความสามัคคีย่อมกลับมา โดยสิ่งนี้สิ่งเดียว คือ การตื่นรู้เท่านั้น ที่จะทำให้ชนชาติไทยรอดพ้นภัยไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น มิใช่ว่าประชาชนชาวไทยจะต้องไปเป็นศัตรูกับใคร การตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดังฉันใด และ เมื่อคนไทยตื่นรู้เลิกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันปราบปรามเหล่าคนไทยที่ขายชาติตนเองทั้งหลายแล้ว ประเทศและประชาชนชาวไทยย่อมพ้นจากการเป็นอาณานิคม พ้นจากการเป็นเป็นทาส ไม่ว่าจะเป็น ทาสของ 'ทุนธนาคาร Zionist' หรือ กลุ่มทุนอื่นใด จึงเรียนมาเพื่อทราบ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 103 มุมมอง 0 รีวิว
  • นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า

    “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44

    ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า

    หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ

    ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป

    รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป

    รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน

    รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต

    ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้

    **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว

    ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์

    ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ

    ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์"

    ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว

    **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ

    ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้

    ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ

    การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ **

    **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน

    ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ

    ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ

    แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง

    ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์

    ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป

    ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน

    การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต

    ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ”

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

    https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44 ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้ **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์" ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ ** **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ” วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 462 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 0 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้จุดพึงระวัง MOU 2544 ไทยเปลี่ยนจุดยืนไม่รักษาสิทธิเขตแดนทางทะเลตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 และหันไปยอมรับเส้นเขตแดนกัมพูชาที่ประกาศไม่มีกฎหมายสากลรองรับ จนเกิดพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ทำใหเไทยเสียเปรียบและเสี่ยงเสียดินแดนซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้พิรุธเจรจารวบรัดแค่ 44 วันก็ลงนาม ขณะที่เขตทับซ้อนไทย-เวียดนาม ใช้เวลา 6 ปี ไทย-มาเลเซียใช้เวลา 7 ปี เพราะเจรจาอย่างรอบคอบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000105028 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    Love
    35
    4 ความคิดเห็น 3 การแบ่งปัน 2896 มุมมอง 1 รีวิว
  • ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 267 มุมมอง 0 รีวิว
  • UPDATE: เริ่ม 1 ธ.ค. นี้ เดินทางผ่าน 6 สนามบินใช้ระบบ Biometric สแกนหน้าเช็กอิน คาดประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้น
    .
    วันนี้ (29 ตุลาคม) ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า AOT นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated Biometric Identification System: Biometric) ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition มาใช้ในการระบุตัวตนของผู้โดยสาร โดยพัฒนาและทดสอบระบบให้มีความพร้อมในการใช้งาน เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    .
    รวมทั้งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวของแต่ละจุดบริการภายในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.)
    .
    ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้โดยสารภายในประเทศสามารถใช้งานได้ก่อน และในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้โดยสารจำเป็นต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
    .
    สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้งานระบบ Biometric สามารถลงทะเบียนใช้งานเมื่อมาเช็กอินที่สนามบิน โดยมี 2 วิธี ได้แก่
    .
    1. เช็กอินที่เคาน์เตอร์เช็กอิน ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินให้ลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric ผ่านเครื่องตรวจบัตรโดยสาร (เครื่อง CUTE) โดยระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบ
    .
    2. เช็กอินที่เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (เครื่อง CUSS) โดยหลังจากเช็กอินเสร็จแล้วให้ผู้โดยสารเลือกสายการบินที่เดินทาง ต่อด้วยเลือก Enrollment จากนั้นสแกน Barcode จากบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) เสียบหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการเสร็จสิ้นการลงทะเบียน ซึ่งระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบเช่นเดียวกัน
    .
    ซึ่งเมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ถือว่าผู้โดยสารให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้โดยสารจะโหลดกระเป๋าสัมภาระผ่านเครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (เครื่อง CUBD) ตลอดจนผ่านจุดตรวจค้น รวมทั้งขั้นตอนขึ้นเครื่อง ไม่ต้องแสดง Passport และ Boarding Pass อีกต่อไป ทั้งนี้ เป็นการยินยอมให้ใช้ข้อมูล Biometric สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    .
    ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT มั่นใจว่าระบบ Biometric มีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ จะได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ใช้เวลาน้อยในแต่ละจุดบริการ ทำให้ผู้โดยสารมีเวลาเพียงพอที่จะเดินเล่น เลือกซื้อสินค้าปลอดอากรและของฝาก รับประทานอาหาร หรือพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากที่ผ่านมา AOT มีการติดตั้งระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง หรือ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) ที่สนับสนุนการให้บริการทั้งหมด 5 ระบบ
    .
    ได้แก่ 1. เครื่อง CUTE (เครื่องตรวจบัตรโดยสารซึ่งใช้งานโดยเจ้าหน้าที่สายการบิน) 2. เครื่อง CUSS (เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ) 3. เครื่อง CUBD เครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ 4. ระบบ PVS (Passenger Validation System) สำหรับตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร และ 5. ระบบ SBG (Self-Boarding Gate) หรือระบบประตูทางออกขึ้นเครื่อง
    .
    โดยทั้ง 5 ระบบดังกล่าวติดตั้งเพื่อรองรับระบบ Biometric ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อระบบทั้งหมด 6 ระบบมีการใช้งานและเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุม จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายอย่างสมบูรณ์
    .
    ดร.กีรติ กล่าวว่า ในส่วนของปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 119.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 72.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 34.82% และผู้โดยสารภายในประเทศ 46.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.01% ขณะที่มีเที่ยวบินรวม 732,690 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 416,190 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 29.63% และเที่ยวบินภายในประเทศ 316,500 เที่ยวบิน ลดลง 0.73%
    .
    โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 24.04% และมีเที่ยวบิน 346,680 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 17.88% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง มีผู้โดยสาร 29.15 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.25% และมีเที่ยวบิน 197,250 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 11.47% ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสาร 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.14% และมีเที่ยวบิน 57,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.68% สำหรับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้โดยสาร 1.9 ล้านคน ลดลง 1.96% และมีเที่ยวบิน 12,260 เที่ยวบิน ลดลง 3.37%
    .
    ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต มีผู้โดยสาร 16.40 ล้านคน เพิ่มขึ้น 25.94% และมีเที่ยวบิน 98,710 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 19.97% และท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีผู้โดยสาร 3.03 ล้านคน ลดลง 5.14% และมีเที่ยวบิน 19,730 เที่ยวบิน ลดลง 5.84% ทั้งนี้ มีผู้โดยสารแยกตามสัญชาติ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, อินเดีย, เกาหลีใต้, รัสเซีย และญี่ปุ่น
    .
    ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการจัดสรรตารางบินฤดูหนาว 2024/2025 (W2024/2025) ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT มีเที่ยวบินได้รับการจัดสรรเวลารวม 370,239 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา (W2023/2024) 22.1% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 222,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 33.1% เที่ยวบินภายในประเทศ 147,459 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.5% ทั้งนี้ มีแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งระหว่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 23% และเส้นทางระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารเดินทางเข้าประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, มาเลเซีย, อินเดีย, สิงคโปร์ และฮ่องกง
    .
    สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568) AOT คาดว่าจะผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 129.97 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศประมาณ 78.61 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.17% และผู้โดยสารภายในประเทศประมาณ 51.36 คน เพิ่มขึ้น 10.18% ขณะที่คาดว่าจะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 808,280 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.32% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศประมาณ 453,750 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.02% และเที่ยวบินภายในประเทศประมาณ 354,530 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 12.02%
    .
    โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 64.44 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.40% และมีเที่ยวบินประมาณ 376,820 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.69% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารประมาณ 33.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.91% และมีเที่ยวบินประมาณ 223,200 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 13.00%
    .
    #สนามบิน
    #TheStandardNews
    UPDATE: เริ่ม 1 ธ.ค. นี้ เดินทางผ่าน 6 สนามบินใช้ระบบ Biometric สแกนหน้าเช็กอิน คาดประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วขึ้น . วันนี้ (29 ตุลาคม) ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า AOT นำระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล (Automated Biometric Identification System: Biometric) ด้วยเทคโนโลยี Facial Recognition มาใช้ในการระบุตัวตนของผู้โดยสาร โดยพัฒนาและทดสอบระบบให้มีความพร้อมในการใช้งาน เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น . รวมทั้งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวของแต่ละจุดบริการภายในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.), ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.), ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.), ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) และท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) . ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้โดยสารภายในประเทศสามารถใช้งานได้ก่อน และในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 พร้อมใช้งานสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้โดยสารจำเป็นต้องยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล . สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้งานระบบ Biometric สามารถลงทะเบียนใช้งานเมื่อมาเช็กอินที่สนามบิน โดยมี 2 วิธี ได้แก่ . 1. เช็กอินที่เคาน์เตอร์เช็กอิน ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินให้ลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric ผ่านเครื่องตรวจบัตรโดยสาร (เครื่อง CUTE) โดยระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบ . 2. เช็กอินที่เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (เครื่อง CUSS) โดยหลังจากเช็กอินเสร็จแล้วให้ผู้โดยสารเลือกสายการบินที่เดินทาง ต่อด้วยเลือก Enrollment จากนั้นสแกน Barcode จากบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) เสียบหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการเสร็จสิ้นการลงทะเบียน ซึ่งระบบจะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสารในรูปแบบของ Token ไว้ในระบบเช่นเดียวกัน . ซึ่งเมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ถือว่าผู้โดยสารให้ความยินยอมให้ใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้โดยสารจะโหลดกระเป๋าสัมภาระผ่านเครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (เครื่อง CUBD) ตลอดจนผ่านจุดตรวจค้น รวมทั้งขั้นตอนขึ้นเครื่อง ไม่ต้องแสดง Passport และ Boarding Pass อีกต่อไป ทั้งนี้ เป็นการยินยอมให้ใช้ข้อมูล Biometric สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียวเท่านั้น . ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า AOT มั่นใจว่าระบบ Biometric มีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ทั้งผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ จะได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ใช้เวลาน้อยในแต่ละจุดบริการ ทำให้ผู้โดยสารมีเวลาเพียงพอที่จะเดินเล่น เลือกซื้อสินค้าปลอดอากรและของฝาก รับประทานอาหาร หรือพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากที่ผ่านมา AOT มีการติดตั้งระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง หรือ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) ที่สนับสนุนการให้บริการทั้งหมด 5 ระบบ . ได้แก่ 1. เครื่อง CUTE (เครื่องตรวจบัตรโดยสารซึ่งใช้งานโดยเจ้าหน้าที่สายการบิน) 2. เครื่อง CUSS (เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ) 3. เครื่อง CUBD เครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ 4. ระบบ PVS (Passenger Validation System) สำหรับตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร และ 5. ระบบ SBG (Self-Boarding Gate) หรือระบบประตูทางออกขึ้นเครื่อง . โดยทั้ง 5 ระบบดังกล่าวติดตั้งเพื่อรองรับระบบ Biometric ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อระบบทั้งหมด 6 ระบบมีการใช้งานและเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุม จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายอย่างสมบูรณ์ . ดร.กีรติ กล่าวว่า ในส่วนของปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) มีผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 119.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 72.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 34.82% และผู้โดยสารภายในประเทศ 46.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.01% ขณะที่มีเที่ยวบินรวม 732,690 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 416,190 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 29.63% และเที่ยวบินภายในประเทศ 316,500 เที่ยวบิน ลดลง 0.73% . โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 24.04% และมีเที่ยวบิน 346,680 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 17.88% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมือง มีผู้โดยสาร 29.15 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.25% และมีเที่ยวบิน 197,250 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 11.47% ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสาร 8.82 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.14% และมีเที่ยวบิน 57,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.68% สำหรับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีผู้โดยสาร 1.9 ล้านคน ลดลง 1.96% และมีเที่ยวบิน 12,260 เที่ยวบิน ลดลง 3.37% . ขณะที่ท่าอากาศยานภูเก็ต มีผู้โดยสาร 16.40 ล้านคน เพิ่มขึ้น 25.94% และมีเที่ยวบิน 98,710 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 19.97% และท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีผู้โดยสาร 3.03 ล้านคน ลดลง 5.14% และมีเที่ยวบิน 19,730 เที่ยวบิน ลดลง 5.84% ทั้งนี้ มีผู้โดยสารแยกตามสัญชาติ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, อินเดีย, เกาหลีใต้, รัสเซีย และญี่ปุ่น . ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลการจัดสรรตารางบินฤดูหนาว 2024/2025 (W2024/2025) ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT มีเที่ยวบินได้รับการจัดสรรเวลารวม 370,239 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา (W2023/2024) 22.1% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 222,780 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 33.1% เที่ยวบินภายในประเทศ 147,459 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.5% ทั้งนี้ มีแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งระหว่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 23% และเส้นทางระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารเดินทางเข้าประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน, มาเลเซีย, อินเดีย, สิงคโปร์ และฮ่องกง . สำหรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ AOT ในปีงบประมาณ 2568 (ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568) AOT คาดว่าจะผู้โดยสารมาใช้บริการรวมกว่า 129.97 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.95% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศประมาณ 78.61 ล้านคน เพิ่มขึ้น 8.17% และผู้โดยสารภายในประเทศประมาณ 51.36 คน เพิ่มขึ้น 10.18% ขณะที่คาดว่าจะมีเที่ยวบินรวมประมาณ 808,280 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 10.32% แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศประมาณ 453,750 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 9.02% และเที่ยวบินภายในประเทศประมาณ 354,530 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 12.02% . โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 64.44 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.40% และมีเที่ยวบินประมาณ 376,820 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 8.69% ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองมีผู้โดยสารประมาณ 33.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 13.91% และมีเที่ยวบินประมาณ 223,200 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 13.00% . #สนามบิน #TheStandardNews
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16

    ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้

    ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง

    กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์

    ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม

    ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน

    #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    อินโดฯ:ไม่มีการลงทุน ก็ไม่ต้องมี iPhone16 ชัดเจนแล้วว่าทางการอินโดนีเซียไม่ให้บริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc.) ของสหรัฐอเมริกา จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 (iPhone 16) ในประเทศ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ต.ค.) หลังบริษัทท้องถิ่น พีที แอปเปิ้ล อินโดนีเซีย (PT Apple Indonesia) ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ให้ได้ 40% แต่ผลิตภัณฑ์รุ่นเก่าของแอปเปิ้ลยังคงจำหน่ายในอินโดนีเซียได้ ทั้งนี้ มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน 16 นำเข้ามาในประเทศอินโดนีเซียแล้ว 9,000 เครื่อง ผ่านการซื้อจากต่างประเทศของผู้โดยสาร และลูกเรือบนเครื่องบิน หรือการส่งพัสดุระหว่างประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานส่วนบุคคล (Personal Use) เท่านั้น ไม่สามารถซื้อขายแก่ผู้อื่นได้ และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้กำหนดให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ซื้อจากต่างประเทศต้องลงทะเบียนกับรัฐบาล และเสียภาษีในอัตราที่สูง กรณีนี้กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้แอปเปิ้ล ไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แก่ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ประมาณ 350 ล้านเครื่อง มากกว่าจำนวนประชากรราว 270 ล้านคน ทั้งที่แอปเปิ้ลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนวางจำหน่ายแล้วที่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ ตามข้อบังคับของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย ปี 2017 กำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศ เรียกว่า TKDN (Tingkat Komponen Domestik Negeri) หนึ่งในนั้นคือการกำหนด Local Content ในรูปแบบการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ การผลิตและการจ้างแรงงานในประเทศ การพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือนวัตกรรมในประเทศ ที่ผ่านมาแอปเปิ้ลเลือกใช้โครงการพัฒนานวัตกรรม ก่อตั้งสถาบัน Apple Academies ที่เมืองทังเกอรัง เมืองซิโดอาร์โจ และเมืองบาตัม ปัญหาก็คือ เม็ดเงินลงทุนของแอปเปิ้ลในอินโดนีเซียอยู่ที่ 1.48 ล้านล้านรูเปียห์ ต่ำกว่ายอดการลงทุนทั้งหมดที่กำหนดไว้ 1.71 ล้านล้านรูเปียห์ ทำให้อินโดนีเซียขาดดุลทางการค้าคิดเป็นเงินไทยเกือบ 500 ล้านบาท แม้มองผิวเผินดูเหมือนว่าเป็นการกีดกันทางการค้า จำกัดเสรีภาพในการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ แต่อีกมุมหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ไม่ให้เกิดการขาดดุลทางการค้า ซึ่งที่ผ่านมา ซัมซุงและเสียวมี่ เลือกที่จะตั้งโรงงานในอินโดนีเซียเช่นกัน #Newskit #iPhone16 #Indonesia
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 434 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 286 มุมมอง 0 รีวิว
  • “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “หม่อมกร” ชี้พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย และไทย-เวียดนาม เกิดขึ้นจากทุกประเทศปฏิบัติตามกฎหมายสากลโดยสุจริตใจ และมีพื้นที่ทับซ้อนไม่มากนัก แต่กรณีไทย-กัมพูชาเกิดขึ้นโดยไทยปฏิบัติตามกฎหมายสากลฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายกัมพูชาลากเส้นโดยไม่มีกฎหมายใดรับรอง ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของไทยเกินสมควร เหตุใดรัฐบาลในปี 2544 ไม่ให้กัมพูชาลากเส้นใหม่ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศ ก่อนลงนาม MOU44 อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000103306 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    Sad
    Haha
    56
    1 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 3027 มุมมอง 4 รีวิว
  • 🤝รัสเซียกำลังถูกโดดเดี่ยว?

    ๓๖ ประเทศร่วมโต๊ะเจรจาที่เมืองคาซานของรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Outreach/BRICS Plus:

    🇷🇺รัสเซีย
    🇧🇷บราซิล
    🇨🇳จีน
    🇪🇬อียิปต์
    🇪🇹เอธิโอเปีย
    🇮🇳อินเดีย
    🇮🇷อิหร่าน
    🇸🇦ซาอุดีอาระเบีย
    🇿🇦แอฟริกาใต้
    🇦🇪ยูเออี
    🇦🇲อาร์เมเนีย
    🇦🇿อาเซอร์ไบจาน
    🇧🇭บาห์เรน
    🇧🇩บังกลาเทศ
    🇧🇾เบลารุส
    🇧🇴โบลิเวีย
    🇨🇬คองโก
    🇨🇺คิวบา
    🇮🇩อินโดนีเซีย
    🇰🇿คาซัคสถาน
    🇰🇬คีร์กีซสถาน
    🇱🇦ลาว
    🇲🇾มาเลเซีย
    🇲🇷มอริเตเนีย
    🇲🇳มองโกเลีย
    🇳🇮นิการากัว
    🇵🇸ปาเลสไตน์
    🇷🇸เซอร์เบีย
    🇱🇰ศรีลังกา
    🇹🇯ทาจิกิสถาน
    🇹🇭ไทย
    🇹🇷ตุรกี
    🇹🇲เติร์กเมนิสถาน
    🇺🇿อุซเบกิสถาน
    🇻🇪เวเนซุเอลา
    🇻🇳เวียดนาม

    #BRICS2024
    .
    🤝RUSSIA'S ISOLATION?

    36 countries united around the table in Russia's Kazan attending the Outreach/BRICS Plus meeting:

    🇷🇺Russia
    🇧🇷Brazil
    🇨🇳China
    🇪🇬Egypt
    🇪🇹Ethiopia
    🇮🇳India
    🇮🇷Iran
    🇸🇦Saudi Arabia
    🇿🇦South Africa
    🇦🇪UAE
    🇦🇲Armenia
    🇦🇿Azerbaijan
    🇧🇭Bahrain
    🇧🇩Bangladesh
    🇧🇾Belarus
    🇧🇴Bolivia
    🇨🇬Congo
    🇨🇺Cuba
    🇮🇩Indonesia
    🇰🇿Kazakhstan
    🇰🇬Kyrgyzstan
    🇱🇦Laos
    🇲🇾Malaysia
    🇲🇷Mauritania
    🇲🇳Mongolia
    🇳🇮Nicaragua
    🇵🇸Palestine
    🇷🇸Serbia
    🇱🇰Sri Lanka
    🇹🇯Tajikistan
    🇹🇭Thailand
    🇹🇷Turkiye
    🇹🇲Turkmenistan
    🇺🇿Uzbekistan
    🇻🇪Venezuela
    🇻🇳Vietnam

    #BRICS2024
    .
    4:36 PM · Oct 24, 2024 · 6,827 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1849384466851983750
    🤝รัสเซียกำลังถูกโดดเดี่ยว? ๓๖ ประเทศร่วมโต๊ะเจรจาที่เมืองคาซานของรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Outreach/BRICS Plus: 🇷🇺รัสเซีย 🇧🇷บราซิล 🇨🇳จีน 🇪🇬อียิปต์ 🇪🇹เอธิโอเปีย 🇮🇳อินเดีย 🇮🇷อิหร่าน 🇸🇦ซาอุดีอาระเบีย 🇿🇦แอฟริกาใต้ 🇦🇪ยูเออี 🇦🇲อาร์เมเนีย 🇦🇿อาเซอร์ไบจาน 🇧🇭บาห์เรน 🇧🇩บังกลาเทศ 🇧🇾เบลารุส 🇧🇴โบลิเวีย 🇨🇬คองโก 🇨🇺คิวบา 🇮🇩อินโดนีเซีย 🇰🇿คาซัคสถาน 🇰🇬คีร์กีซสถาน 🇱🇦ลาว 🇲🇾มาเลเซีย 🇲🇷มอริเตเนีย 🇲🇳มองโกเลีย 🇳🇮นิการากัว 🇵🇸ปาเลสไตน์ 🇷🇸เซอร์เบีย 🇱🇰ศรีลังกา 🇹🇯ทาจิกิสถาน 🇹🇭ไทย 🇹🇷ตุรกี 🇹🇲เติร์กเมนิสถาน 🇺🇿อุซเบกิสถาน 🇻🇪เวเนซุเอลา 🇻🇳เวียดนาม #BRICS2024 . 🤝RUSSIA'S ISOLATION? 36 countries united around the table in Russia's Kazan attending the Outreach/BRICS Plus meeting: 🇷🇺Russia 🇧🇷Brazil 🇨🇳China 🇪🇬Egypt 🇪🇹Ethiopia 🇮🇳India 🇮🇷Iran 🇸🇦Saudi Arabia 🇿🇦South Africa 🇦🇪UAE 🇦🇲Armenia 🇦🇿Azerbaijan 🇧🇭Bahrain 🇧🇩Bangladesh 🇧🇾Belarus 🇧🇴Bolivia 🇨🇬Congo 🇨🇺Cuba 🇮🇩Indonesia 🇰🇿Kazakhstan 🇰🇬Kyrgyzstan 🇱🇦Laos 🇲🇾Malaysia 🇲🇷Mauritania 🇲🇳Mongolia 🇳🇮Nicaragua 🇵🇸Palestine 🇷🇸Serbia 🇱🇰Sri Lanka 🇹🇯Tajikistan 🇹🇭Thailand 🇹🇷Turkiye 🇹🇲Turkmenistan 🇺🇿Uzbekistan 🇻🇪Venezuela 🇻🇳Vietnam #BRICS2024 . 4:36 PM · Oct 24, 2024 · 6,827 Views https://x.com/SputnikInt/status/1849384466851983750
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 0 รีวิว
  • คอนเสิร์ต เจย์ โจว วันเสาร์นี้ 🎡🎡🎡🎡🎡

    Jay Chou Carnival Concert (มาเลเซีย) 2024 โปรดทราบสิ่งต่อไปนี้ :

    ประตูเปิดเวลา 16.30 น. และเริ่มการแสดงเวลา 19.30 น.

    คาดว่าจะมีการจราจรหนาแน่นเนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ดังนั้นแฟนๆ ควรใช้บริการขนส่งสาธารณะและมาก่อนเวลา2-3 ชั่วโมง!

    *จำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการบริเวณ Pintu B ตั้งแต่เวลา 15.30 น.* (สินค้าเหมือนที่สิงคโปร์ทุกอย่าง)

    *หลังการแสดงจบ*
    - เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่ารีบเร่งเพื่อออกและค่อยๆทยอยออกไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

    น้องๆราชมังสนามนี้ ✌️

    #jaychou #周杰伦 #周杰倫
    #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน
    #jaychouthailand
    #jaychouconcert
    #jaychouCarnival
    คอนเสิร์ต เจย์ โจว วันเสาร์นี้ 🎡🎡🎡🎡🎡 Jay Chou Carnival Concert (มาเลเซีย) 2024 โปรดทราบสิ่งต่อไปนี้ : ประตูเปิดเวลา 16.30 น. และเริ่มการแสดงเวลา 19.30 น. คาดว่าจะมีการจราจรหนาแน่นเนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ดังนั้นแฟนๆ ควรใช้บริการขนส่งสาธารณะและมาก่อนเวลา2-3 ชั่วโมง! *จำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการบริเวณ Pintu B ตั้งแต่เวลา 15.30 น.* (สินค้าเหมือนที่สิงคโปร์ทุกอย่าง) *หลังการแสดงจบ* - เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่ารีบเร่งเพื่อออกและค่อยๆทยอยออกไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย น้องๆราชมังสนามนี้ ✌️ #jaychou #周杰伦 #周杰倫 #เจย์โจว #โจวเจี๋ยหลุน #jaychouthailand #jaychouconcert #jaychouCarnival
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 16 มุมมอง 0 รีวิว
  • BRICS ประกาศเพิ่มประเทศพันธมิตรใหม่ ๑๓ ประเทศอย่างเป็นทางการ (ไม่ใช่สมาชิกเต็มตัว)

    🇩🇿 แอลจีเรีย
    🇧🇾 เบลารุส
    🇧🇴 โบลิเวีย
    🇨🇺 คิวบา
    🇮🇩 อินโดนีเซีย
    🇰🇿 คาซัคสถาน
    🇲🇾 มาเลเซีย
    🇳🇬 ไนจีเรีย
    🇹🇭 ไทย
    🇹🇷 ตุรกี
    🇺🇬 ยูกันดา
    🇺🇿 อุซเบกิสถาน
    .
    JUST IN: BRICS officially adds 13 new nations to the alliance as partner countries (not full members).

    🇩🇿 Algeria
    🇧🇾 Belarus
    🇧🇴 Bolivia
    🇨🇺 Cuba
    🇮🇩 Indonesia
    🇰🇿 Kazakhstan
    🇲🇾 Malaysia
    🇳🇬 Nigeria
    🇹🇭 Thailand
    🇹🇷 Turkey
    🇺🇬 Uganda
    🇺🇿 Uzbekistan
    🇻🇳 Vietnam
    .
    3:39 AM · Oct 24, 2024 · 655.3K Views
    https://x.com/BRICSinfo/status/1849188857620918642
    BRICS ประกาศเพิ่มประเทศพันธมิตรใหม่ ๑๓ ประเทศอย่างเป็นทางการ (ไม่ใช่สมาชิกเต็มตัว) 🇩🇿 แอลจีเรีย 🇧🇾 เบลารุส 🇧🇴 โบลิเวีย 🇨🇺 คิวบา 🇮🇩 อินโดนีเซีย 🇰🇿 คาซัคสถาน 🇲🇾 มาเลเซีย 🇳🇬 ไนจีเรีย 🇹🇭 ไทย 🇹🇷 ตุรกี 🇺🇬 ยูกันดา 🇺🇿 อุซเบกิสถาน . JUST IN: BRICS officially adds 13 new nations to the alliance as partner countries (not full members). 🇩🇿 Algeria 🇧🇾 Belarus 🇧🇴 Bolivia 🇨🇺 Cuba 🇮🇩 Indonesia 🇰🇿 Kazakhstan 🇲🇾 Malaysia 🇳🇬 Nigeria 🇹🇭 Thailand 🇹🇷 Turkey 🇺🇬 Uganda 🇺🇿 Uzbekistan 🇻🇳 Vietnam . 3:39 AM · Oct 24, 2024 · 655.3K Views https://x.com/BRICSinfo/status/1849188857620918642
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 38 มุมมอง 0 รีวิว
  • หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้

    หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น

    ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้

    โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย

    ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

    ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“

    การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว

    การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า

    “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“

    ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า

    “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“

    นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน

    เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด

    ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง

    การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย

    ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73

    ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

    เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว

    ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย

    ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ

    พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้”

    แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย

    แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย

    หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น

    ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้

    และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 ตุลาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/?

    #Thaitimes
    หยุดฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ หยุดละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกำลัง “เร่งรัด” เจรจาด้านผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ค.ศ. 2001 หรือที่เรียกว่า “MOU 2544” นั้น อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศไทย ฝ่าฝืนพระบรมราชโองการ และอาจทำให้ประเทศชาติและประชาชนอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น ได้ทำให้เห็นว่า พื้นที่ทางทะเลซึ่งกำลังมีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2544 อยู่ในขณะนี้มี จำนวน 26,000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวตามกฎหมายสากลทั้งสิ้น ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาดังที่พยายามเจรจากันอยู่ในขณะนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้ ประการแรก พระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ไม่สามารถลบล้างด้วยข้อตกลงหรือการเจรจากันเองของนักการเมืองหรือข้าราชการได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องเป็นไปโดยเงื่อนไขที่กำหนดโดย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น ประการที่สอง พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้น ได้ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าเพื่อใช้ “สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย” จึงต้องตระหนักว่าพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้มี 3 คำสำคัญประกอบกัน คือ “สิทธิ” , “อธิปไตย” ตลอดจนคำว่า ”ของประเทศไทย“ ดังนั้นพระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ไม่ใช่เรื่อง “อธิปไตย“ของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง “สิทธิ”ของประเทศไทย ไม่ใช่ “อธิปไตย” ของชาติอื่นและไม่ใช่“สิทธิ”ของชาติอื่นมาผสมปะปนได้ โดยมีข้อความระบุเฉพาะถึงขอบเขตอย่างชัดเจนด้วยว่า “การใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทย”นั้นเพื่อใช้ “ในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ“ ในอ่าวไทย ภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีสาระสำคัญในเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย“ ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยย่อมต้องเป็นของราชอาณาจักรไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้สำรวจ ผู้รับสัมปทาน หรือมีผู้แสวงหาผลประโยชน์ในทรัพยากรในอ่าวไทยจะต้องทำสัญญากับอธิปไตยได้เพียงรัฐเดียวเท่านั้นคือ ”ประเทศไทย“ การบิดเบือนให้ “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย” ที่เดิมต้องลงนามโดยรัฐบาลประเทศไทยเพียงรัฐเดียว ให้กลายเป็นสิทธิในการสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานที่ต้องลงนามโดยรัฐบาล 2 ประเทศ คือประเทศไทยร่วมกับประเทศกัมพูชานั้น ย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้สละ “สิทธิ” และ “อธิปไตย” ในการอนุญาตสำรวจและแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว การกระทำดังที่กล่าวมานี้อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ประการที่สาม พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศตามกฎหมายสากลเท่านั้น ปรากฏเป็นข้อความเป็นหลักการว่า “ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป ตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511“ ทั้งนี้ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 นั้น ต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ประกอบกับจุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการแบ่งแยกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 2 นั้น ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่า “เกาะกูดเป็นของสยาม” อย่างแน่นอนความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไป จนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว“ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเป็น “แผนที่” แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ได้กำหนดแผนที่แสดง “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งได้ประกาศกำหนดแผนที่แสดง “เส้นทะเลอาณาเขต”ของกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 โดยมีข้อความด้านซ้ายแผนที่ภาพเกาะกูดเป็นภาษาอังกฤษคำว่า “Koh Kut” โดยมีวงเล็บอยู่ด้านล่างกำกับด้วยคำว่า “สยาม” เป็นภาษาอังกฤษว่า ”(SIAM)“ ทั้ง 2 ฉบับ ย่อมเป็นการยืนยันโดยราชอาณาจักรกัมพูชาว่า “เกาะกูด” เป็นของสยามประเทศอย่างแน่นอน เมื่อเกาะกูดเป็นของสยามประเทศ สยามประเทศจึงย่อมต้องมี ”ทะเลอาณาเขต“ จากเส้นฐานของเกาะกูดไปอีก 12 ไมล์ทะเล และมี ”เขตทะเลต่อเนื่อง“จากเส้นฐานของเกาะกูด 24 ไมล์ทะเล “รอบเกาะกูด” ตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาหลักการนี้ได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย อย่างไรก็ตาม “เกาะกูด” ของสยาม และ “เกาะกง” ของกัมพูชา คือเกาะที่มีดินแดนยื่นออกมาในทะเลใกล้ที่สุดจากหลักเขตที่ 73 บนแผ่นดิน ซึ่งเป็นหลักเขตสุดท้ายทางทิศใต้ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ดังนั้นพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงปรากฏแผนที่การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตาม ”กฎหมายสากล“ คือ เริ่มลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง การลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกงนั้น ก็เป็นการดำเนินไปตามกฎหมายสากลด้วยทั้งสิ้น คือบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งต่อมาได้ถูกรับรองโดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ด้วย ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันตก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันออกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียวซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วยเพราะมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 ดังนั้นหากราชอาณาจักรไทยยินยอมหรือรับรู้ โดยไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด ไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่องรอบเกาะกูด และไม่ปฏิเสธการลากเส้นที่ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางพื้นที่ด้านทิศทะวันตกเส้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงที่ราชอาณาจักรไทยจะสูญเสียสิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขตรอบเกาะกูด สุ่มเสี่ยงสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเขตทะเลต่อเนื่อง สุ่่มเสี่ยงสูญเสียพื้นที่ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อสละกฎหมายทะเลสากลรอบเกาะกูดทั้งหมด ก็จะส่งผลทำให้เกิดความสุ่่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ดินแดนเกาะกูด” ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย “นิ่งเฉย” ต่อการละเมิดพื้นที่ทะเลอาณาเขต ละเมิดพื้นที่ทะเลต่อเนื่อง และการละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบเกาะกูด มีความสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลกัมพูชาอาจอ้างกฎหมายปิดปากให้เกาะกูดตกเป็นของกัมพูชาในอนาคตได้ ดังที่ราชอาณาจักรไทยได้เคยสูญเสียปราสาทพระวิหารและสูญเสียพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 มาแล้ว ดังนั้นหากยังฝ่าฝืนดำเนินการ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการตกลงใดๆที่อยู่นอกเหนือแผนที่ตามประกาศภายใต้พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อาจสุ่มเสี่ยงว่าเป็นการดำเนินที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่เป็นการยึดถือตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ด้วย ประการที่สี่ พื้นที่ทับซ้อนสามารถเจรจาแบ่งผลประโยชน์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายสากลเท่านั้น ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นั้นได้ “เปิดช่องให้มีการเจรจาตกลงกันได้” แต่จะต้องยึดถือมูลฐานจาก บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น และต้องไม่ใช้เงื่อนไขอื่นในการตกลงกันความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ เพราะตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 สามารถเกิดพื้นที่ทับซ้อนกันได้ จึงอาจเกิดพื้นที่ลักษณะอ้างสิทธิทับซ้อนกันได้จริงดังที่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่การพัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย แต่เมื่อ MOU 2544 ไทย-กัมพูชา แตกต่างจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะ MOU 2544 ระหว่างไทย-กัมพูชา ได้เกิดพื้นที่โดยรับรู้เส้นไหล่ทวีปอ้างสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาที่กำหนดเขตไหล่ทวีปที่ลากเส้น ”ละเมิด“ สิทธิและอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด และละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาจึงย่อมไม่มีทางเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ได้เลย หากจะมีพื้นที่ทับซ้อนในทางเทคนิกก็ต้องเป็นไปตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เท่านั้น จึงจะสามารถเริ่มเจรจาได้ ซึ่งแปลว่าก็ต้องมีความใกล้เคียงกับแผนที่แนบท้ายพระบรมราชโองการทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น ดังนั้นการเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลากเส้นโดยไม่ยึดถือตามมูลฐานของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 หรือทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียสิทธิและอธิปไตยเกินกว่าพระบรมราชโองการย่อมกระทำไม่ได้ และหากรัฐบาลยังฝ่าฝืนดำเนินต่อไป ก็ย่อมมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ยินยอมให้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาเขตทะเลไทย ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 ตุลาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1079446800215686/? #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 730 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts