มาเลย์ถกไทย ทำรถไฟแพนเอเชีย
หลังจากการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ล่าสุด นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย มีกำหนดพบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ในวันที่ 2 พ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย (PARN) และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาคการขนส่ง
โดยโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานสุไหงโก-ลกแห่งที่ 2 ระหว่างด่าน ICQS รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่าน ICQS บูกิตกายูฮีตัม รัฐเคดะห์ กับด่านพรมแดนสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านปะลิสกับจังหวัดสตูล ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นในการพัฒนาทางรถไฟทั่วโลก โดยตระหนักถึงโอกาสสำคัญของทางรถไฟในแต่ละประเทศ และบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค
การประชุมครั้งถัดไปจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความร่วมมือในภาคส่วนรถไฟระหว่างสองประเทศ ซึ่งขณะนี้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น แม้จะมีความร่วมมือระหว่างการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การยกระดับความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟเชิงยุทธศาสตร์เกิดขึ้นได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟระหว่างมาเลเซียและไทย จะสามารถเปิดเส้นทางข้ามอาเซียนและจีนได้ นำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลให้กับภูมิภาคอาเซียน
มีรายงานว่า มาเลเซียกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าฮาลาลระหว่างมาเลเซียและจีน ระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ ยังสนับสนุนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปิดตลาดในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในภูมิภาคมองโกเลียใน ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียร่วมกับไทยและพันธมิตรจากจีน เปิดตัวโครงการ Asean Express นำร่องขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังเมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ผ่านประเทศไทยและลาว โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน
สำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย มีจุดเริ่มต้นจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ 1. คุนหมิง–ต้าหลี่-รุ่ยลี่-ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ 2. คุนหมิง–ยวี่ซี-โม่หาน-เวียงจันทน์–กรุงเทพฯ 3. คุนหมิง–ยวี่ซี–เหอโขว่-ฮานอย-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ จากนั้นลงสู่ทางใต้ ผ่านประเทศมาเลเซีย ปลายทางประเทศสิงคโปร์
#Newskit
หลังจากการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ล่าสุด นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย มีกำหนดพบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ในวันที่ 2 พ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย (PARN) และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาคการขนส่ง
โดยโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานสุไหงโก-ลกแห่งที่ 2 ระหว่างด่าน ICQS รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่าน ICQS บูกิตกายูฮีตัม รัฐเคดะห์ กับด่านพรมแดนสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านปะลิสกับจังหวัดสตูล ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นในการพัฒนาทางรถไฟทั่วโลก โดยตระหนักถึงโอกาสสำคัญของทางรถไฟในแต่ละประเทศ และบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค
การประชุมครั้งถัดไปจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความร่วมมือในภาคส่วนรถไฟระหว่างสองประเทศ ซึ่งขณะนี้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น แม้จะมีความร่วมมือระหว่างการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การยกระดับความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟเชิงยุทธศาสตร์เกิดขึ้นได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟระหว่างมาเลเซียและไทย จะสามารถเปิดเส้นทางข้ามอาเซียนและจีนได้ นำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลให้กับภูมิภาคอาเซียน
มีรายงานว่า มาเลเซียกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าฮาลาลระหว่างมาเลเซียและจีน ระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ ยังสนับสนุนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปิดตลาดในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในภูมิภาคมองโกเลียใน ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียร่วมกับไทยและพันธมิตรจากจีน เปิดตัวโครงการ Asean Express นำร่องขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังเมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ผ่านประเทศไทยและลาว โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน
สำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย มีจุดเริ่มต้นจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ 1. คุนหมิง–ต้าหลี่-รุ่ยลี่-ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ 2. คุนหมิง–ยวี่ซี-โม่หาน-เวียงจันทน์–กรุงเทพฯ 3. คุนหมิง–ยวี่ซี–เหอโขว่-ฮานอย-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ จากนั้นลงสู่ทางใต้ ผ่านประเทศมาเลเซีย ปลายทางประเทศสิงคโปร์
#Newskit
มาเลย์ถกไทย ทำรถไฟแพนเอเชีย
หลังจากการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ล่าสุด นายแอนโทนี่ โลค รมว.คมนาคมมาเลเซีย มีกำหนดพบกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม ในวันที่ 2 พ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับการสร้างโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย (PARN) และเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีในภาคการขนส่ง
โดยโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานสุไหงโก-ลกแห่งที่ 2 ระหว่างด่าน ICQS รันเตาปันยัง รัฐกลันตัน กับด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่าน ICQS บูกิตกายูฮีตัม รัฐเคดะห์ กับด่านพรมแดนสะเดาแห่งใหม่ จ.สงขลา ถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านปะลิสกับจังหวัดสตูล ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นในการพัฒนาทางรถไฟทั่วโลก โดยตระหนักถึงโอกาสสำคัญของทางรถไฟในแต่ละประเทศ และบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค
การประชุมครั้งถัดไปจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความร่วมมือในภาคส่วนรถไฟระหว่างสองประเทศ ซึ่งขณะนี้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น แม้จะมีความร่วมมือระหว่างการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กับการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่แล้ว แต่การยกระดับความร่วมมือนี้จะนำไปสู่ระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล เพื่อให้การพัฒนาระบบรถไฟเชิงยุทธศาสตร์เกิดขึ้นได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายรถไฟระหว่างมาเลเซียและไทย จะสามารถเปิดเส้นทางข้ามอาเซียนและจีนได้ นำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลให้กับภูมิภาคอาเซียน
มีรายงานว่า มาเลเซียกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าฮาลาลระหว่างมาเลเซียและจีน ระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้ ยังสนับสนุนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปิดตลาดในจีนตะวันตก โดยเฉพาะในภูมิภาคมองโกเลียใน ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว มาเลเซียร่วมกับไทยและพันธมิตรจากจีน เปิดตัวโครงการ Asean Express นำร่องขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังเมืองฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ผ่านประเทศไทยและลาว โดยใช้เวลาเพียง 9 วัน
สำหรับโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชีย มีจุดเริ่มต้นจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งเป็น 3 สาย ได้แก่ 1. คุนหมิง–ต้าหลี่-รุ่ยลี่-ย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ 2. คุนหมิง–ยวี่ซี-โม่หาน-เวียงจันทน์–กรุงเทพฯ 3. คุนหมิง–ยวี่ซี–เหอโขว่-ฮานอย-โฮจิมินห์-พนมเปญ-กรุงเทพฯ จากนั้นลงสู่ทางใต้ ผ่านประเทศมาเลเซีย ปลายทางประเทศสิงคโปร์
#Newskit
0 Comments
0 Shares
34 Views
0 Reviews