• คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป

    การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน

    นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน

    ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline

    โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี

    อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    Like
    Love
    Angry
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 619 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ

    วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ

    นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน

    รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566

    อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง

    สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น.

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น. #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 578 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 574 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถเมล์แอร์สาย 49 (2-43) เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 ทับสาวแบงก์คนขี่และคนซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ตาย2ราย

    26 กันยายน 2567 จากการสอบสวนเบื้องต้น ขณะเกิดเหตุ น.ส.มนัสสนันท์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาพร้อมกับ น.ส.พิมพ์นิภา บนถนนรัชดาขาเข้า เพื่อที่จะไปทำงานที่ธนาคารแห่งหนึ่ง สาขาวงศ์สว่าง

    ระหว่างที่กำลังยูเทิร์นกลับรถที่บริเวณใต้สะพานข้ามแยกประชานุกูล ได้ถูกรถเมล์สาย 49 ที่วิ่งอยู่เลนขวาเบียดที่ด้านท้ายจนล้มและถูกรถเมล์คันดังกล่าวทับจนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    พ.ต.ท.จตุรพิทย์ กล่าวว่า นายจำนงค์ ให้การว่า ขณะขับรถมาตามเส้นทางบนถนนรัชดาขาเข้ามุ่งหน้า แยกประชานุกูล ถึงที่เกิดเหตุได้วิ่งเลนขวาเพื่อที่จะรอเลี้ยวขวาเข้าถนนประชาชื่น

    จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังที่บริเวณล้อหน้าด้านขวา ลักษณะเหยียบเข้ากับวัตถุอะไรบางอย่าง จากนั้นจึงได้จอดรถลงมาดู ก็พบว่าได้ขับรถชนเข้ากับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจนมีผู้เสียชีวิต

    อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ต้องสอบปากคำคนขับและตรวจกล้องวงจรปิดหน้ารถและบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ เพื่อสรุปสาเหตุดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนศพทั้งสองได้ให้ทางมูลนิธิดำเนินการส่งนิติเวชโรงบาลตำรวจ เพื่อรอญาติประสานรับศพ ไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป

    ต่อมา มีแถลงการณ์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
    เรื่อง ขอแสดงความเสียใจและขออภัยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ระบุว่าจากกรณีรถโดยสารปรับอากาศ สาย 49 (2 – 43) หมายเลข 8 - 55073 เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 08.25 น. เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

    องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ภายหลังเกิดเหตุ ขสมก. ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อุบัติเหตุเขตการเดินรถที่ 8 ไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และได้ติดต่อญาติผู้เสียชีวิต พร้อมทั้ง ประสานบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย และเยียวยาแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งในส่วนของความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยที่ ขสมก. ได้จัดทำไว้ และเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว ขสมก. จะร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพให้กับผู้เสียชีวิตต่อไป

    ทั้งนี้ ขสมก. จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตได้รับการชดเชยและการเยียวยาอย่างครบถ้วน โดย ขสมก. จะปรับปรุงระบบการทำงานและการให้บริการที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ และจะเข้มงวดกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของการเดินรถ ให้มีความระมัดระวังต่อการปฏิบัติงานให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ลงชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
    วันที่ 26 กันยายน 2567

    #Thaitimes
    รถเมล์แอร์สาย 49 (2-43) เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 ทับสาวแบงก์คนขี่และคนซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ตาย2ราย 26 กันยายน 2567 จากการสอบสวนเบื้องต้น ขณะเกิดเหตุ น.ส.มนัสสนันท์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมาพร้อมกับ น.ส.พิมพ์นิภา บนถนนรัชดาขาเข้า เพื่อที่จะไปทำงานที่ธนาคารแห่งหนึ่ง สาขาวงศ์สว่าง ระหว่างที่กำลังยูเทิร์นกลับรถที่บริเวณใต้สะพานข้ามแยกประชานุกูล ได้ถูกรถเมล์สาย 49 ที่วิ่งอยู่เลนขวาเบียดที่ด้านท้ายจนล้มและถูกรถเมล์คันดังกล่าวทับจนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ พ.ต.ท.จตุรพิทย์ กล่าวว่า นายจำนงค์ ให้การว่า ขณะขับรถมาตามเส้นทางบนถนนรัชดาขาเข้ามุ่งหน้า แยกประชานุกูล ถึงที่เกิดเหตุได้วิ่งเลนขวาเพื่อที่จะรอเลี้ยวขวาเข้าถนนประชาชื่น จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงดังที่บริเวณล้อหน้าด้านขวา ลักษณะเหยียบเข้ากับวัตถุอะไรบางอย่าง จากนั้นจึงได้จอดรถลงมาดู ก็พบว่าได้ขับรถชนเข้ากับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจนมีผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ต้องสอบปากคำคนขับและตรวจกล้องวงจรปิดหน้ารถและบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ เพื่อสรุปสาเหตุดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนศพทั้งสองได้ให้ทางมูลนิธิดำเนินการส่งนิติเวชโรงบาลตำรวจ เพื่อรอญาติประสานรับศพ ไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป ต่อมา มีแถลงการณ์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง ขอแสดงความเสียใจและขออภัยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต ระบุว่าจากกรณีรถโดยสารปรับอากาศ สาย 49 (2 – 43) หมายเลข 8 - 55073 เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ บริเวณจุดกลับรถแยกประชานุกูล ปากซอยรัชดาภิเษก 62 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 08.25 น. เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ซ้อนท้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และขออภัยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ภายหลังเกิดเหตุ ขสมก. ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อุบัติเหตุเขตการเดินรถที่ 8 ไปตรวจสอบจุดเกิดเหตุ และได้ติดต่อญาติผู้เสียชีวิต พร้อมทั้ง ประสานบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย และเยียวยาแก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งในส่วนของความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยที่ ขสมก. ได้จัดทำไว้ และเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและครอบครัว ขสมก. จะร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพให้กับผู้เสียชีวิตต่อไป ทั้งนี้ ขสมก. จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตได้รับการชดเชยและการเยียวยาอย่างครบถ้วน โดย ขสมก. จะปรับปรุงระบบการทำงานและการให้บริการที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ และจะเข้มงวดกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของการเดินรถ ให้มีความระมัดระวังต่อการปฏิบัติงานให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ลงชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ วันที่ 26 กันยายน 2567 #Thaitimes
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1038 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี

    ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย

    แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน

    ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม

    นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ

    นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น

    คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี

    #กรมการขนส่ง
    #ขสมก
    #thaitimes
    #บทความ
    #รถเมล์
    #เส้นทางเดินรถ
    #รถประจำทาง
    #ขนส่งสาธารณะ
    #คนจน


    ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา การนั่งรถประจำทางของ ขสมก. เพื่อเดินทางไปทำงาน กลับบ้าน ทำธุระ เป็นเรื่องยากลำบากและเดือดร้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเข้าไปอีก คนที่ยังต้องขึ้นรถประจำทางทุกวันน่าจะเข้าใจ รู้ซึ้ง และเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมอันบัดซบของเพื่อนร่วมทุกข์เป็นอย่างดี ผลจากความคิดอุตริพิเรนทร์ของกรมการขนส่ง ที่หาเรื่องให้ประชาชนด่า เดิมคนที่เขามีรายได้น้อยก็มีความทุกข์กับการใช้บริการที่ รถน้อยคอยนานคนแน่นอยู่แล้ว กลับมาทับถมให้หนักหนาสาหัส กลายเป็นว่าเส้นทางที่เขานั่งประจำหายไป หรือย้ายไปวิ่งทางอื่น ทางเลือกที่แทบไม่มีทีนี้ก็ไม่เหลือเลย จากที่นั่งสายเดียวถึงจุดหมายปลายทาง เขาต้องลำบากเพื่อต่อรถหลายต่อ เพราะรถที่เคยนั่งไม่ผ่านบ้าง ไปไม่ถึงจุดหมายบ้าง ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้นในขณะที่เงินในมือแทบไม่พอ ไหนจะคอยนานมากเพราะรถน้อยลง แล้วที่มันน่าเจ็บใจ และชีช้ำสำหรับชาวบ้านคือเวลารอรถสายไหน สายนั้นจะอาถรรพ์แทบไม่โผล่มาเลย แต่เวลามาทีนะ วิ่งตามกันมาเลย 2-3 คัน ที่ปวดใจสุดคือ คันที่ว่างโล่งไม่ค่อยมีคน แทนที่จะจอดรับก็เปล่า คนขับดันทะลึ่งวิ่งเลนนอก ห้อตะบึงไม่สนว่าคนเขาจะโบกให้จอดหรือไม่ ส่วนคันหลังที่มาแล้วยอมจอดน่ะเหรอ ก็ดันเป็นคันที่คนแน่นเบียดกันจนแทบจะสิงร่าง ที่ยืนแทบไม่มีแต่อยากจอดรับ ให้มันได้อย่างนี้สิ สุดท้ายก็ไม่สามารถขึ้นได้ ต้องรอต่อไปซึ่งไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน อาจเป็นชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แทนที่เขาจะถึงจุดหมายในเวลาตามปกติ ก็ต้องล่าช้าออกไป ถึงที่ทำงานสาย กลับถึงบ้านดึกมาก ทั้งเหนื่อยทั้งเมื่อยกว่าเดิม นี่คือบริการของ ขสมก. ของแท้ ผ่านไปกี่สิบปียังยืนพื้นแน่วแน่ในการรักษามาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานได้อย่างคงเส้นคงวา.. น่าเศร้าใจ นอกจากไม่ช่วยประชาชนคนยากจนแล้วยังทำเหมือนกลั่นแกล้งกันซะอย่างนั้น คิดได้ยังไง ทุเรศทุรังสิ้นดี #กรมการขนส่ง #ขสมก #thaitimes #บทความ #รถเมล์ #เส้นทางเดินรถ #รถประจำทาง #ขนส่งสาธารณะ #คนจน
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1668 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้

    เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา

    ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี

    สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน

    เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน

    เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน

    ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ

    #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    มาแล้วลูกจ๋า รถเมล์บอนลัคที่หนูอยากได้ เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ยี่ห้อบอนลัค (BLK) มาให้บริการล็อตแรก 100 คัน หลังจากกลุ่มร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี.ชนะการประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมรถรุ่นดังกล่าว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 7 ปี เสนอราคาเป็นเงิน 963.35 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2570 และได้ดำเนินการซ่อมแซมรถให้พร้อมใช้งาน หลังจากหยุดใช้รถ (ตัดจอด) ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 ที่ผ่านมา ตามแผนงานลำดับถัดไป จะต้องซ่อมแซมรถพร้อมให้บริการรวม 380 คันภายใน 90 วัน และกลับมาให้บริการได้ครบจำนวน 486 คันภายใน 120 วัน พร้อมดูแลซ่อมบำรุงเป็นเวลา 3 ปี สำหรับการให้บริการรถโดยสารปรับอากาศ NGV ล็อตแรก 100 คัน แบ่งเป็นเขตการเดินรถละ 25 คัน ได้แก่ เขตการเดินรถที่ 1 สาย 510 (1-19) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 13 คัน สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 5 คัน สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-หมอชิต 2 (ทางด่วน) สาย 522 (1-22E) รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน) 2 คัน และสาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี 1 คัน เขตการเดินรถที่ 2 สาย 168 (1-50) เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 15 คัน สาย 60 (1-38) สวนสยาม-สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย 8 คัน และสาย 26 (1-36) มีนบุรี-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2 คัน เขตการเดินรถที่ 3 สาย 142 (3-17E) ปากน้ำ-แสมดำ (ทางด่วน) 9 คัน สาย 511 (3-22E) ปากน้ำ-สายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน (ทางด่วน) 8 คัน สาย 23E (3-4E) ปากน้ำ-เทเวศร์ (ทางด่วน) 3 คัน สาย 102 (3-12E) แพรกษา-เซ็นทรัลพระราม 3 (ทางด่วน) 3 คัน และสาย 145 (3-18) แพรกษา-หมอชิต 2 2 คัน เขตการเดินรถที่ 5 สาย 105 (4-18) สมุทรสาคร-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี 5 คัน สาย 138 (4-22E) พระประแดง (อู่ราชประชา)-หมอชิต 2 5 คัน สาย 21E (4-7E) วัดคู่สร้าง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คัน สาย 76 (4-14) แสมดำ-ประตูน้ำ 3 คัน สาย 141 (4-24E) แสมดำ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 คัน สาย 20 (4-4) ป้อมพระจุลจอมเกล้า-ท่าเรือท่าดินแดง 2 คัน สาย 37 (4-9) ท่าน้ำพระประแดง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คัน และสาย 21 (4-6) วัดคู่สร้าง-มหานาค 1 คัน ค่าโดยสารคิดตามระยะทาง เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 25 บาท (รถขึ้นทางด่วนเพิ่ม 2 บาท) รับชำระทั้งเงินสด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรเครดิต บัตรเดบิต สแกนคิวอาร์โค้ด ตรวจสอบพิกัดรถเมล์ได้ที่แอปพลิเคชัน VIABUS สังเกตที่สัญลักษณ์วีลแชร์ หมายถึงรถโดยสารแบบชานต่ำรองรับผู้พิการ #Newskit #ขสมก #บอนลัค
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 939 มุมมอง 0 รีวิว
  • โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือน ส.ค.2567 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

    2 สิงหาคม 2567-นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งในเดือนส.ค.2567 จะได้รับสิทธิ ดังนี้

    วันที่ 1 ส.ค. 2567
    (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
    - วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน
    (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 ส.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)
    - วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 67)
    - วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน (ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ)

    วันที่ 20 ส.ค. 2567
    - เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน
    สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท)

    กรมบัญชีกลางขอรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ก.ค. 2567 ดังนี้
    1. สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงิน (บัตรประจำตัวประชาชน)
    1.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวนเงิน 3,950.87 ล้านบาท
    1.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 221.13 ล้านบาท
    1.3 วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวนเงิน137.45 ล้านบาท
    รวม จำนวนเงิน4,309.45 ล้านบาท
    2. สวัสดิการที่ให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (บัตรประจำตัวประชาชน)
    2.1 มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 จำนวนเงิน 262.30 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 262.30 ล้านบาท
    3. สวัสดิการที่จ่ายตรงผู้ให้บริการ
    3.1 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า จำนวนเงิน 183.99 ล้านบาท
    3.2 มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา จำนวนเงิน 23.80 ล้านบาท
    รวมจำนวนเงิน จำนวนเงิน 207.79 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 4,779.54 ล้านบาท

    #Thaitimes
    โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด เดือน ส.ค.2567 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง 2 สิงหาคม 2567-นางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งในเดือนส.ค.2567 จะได้รับสิทธิ ดังนี้ วันที่ 1 ส.ค. 2567 (เป็นวงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป) - วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อคนต่อเดือน (สำหรับผู้มีสิทธิที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 และเริ่มใช้สิทธิได้ 1 ส.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง) - วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 67) - วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน (ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า และรถโดยสารเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ) วันที่ 20 ส.ค. 2567 - เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นคนพิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือนที่ยืนยันตัวตน 27 มิ.ย. - 26 ก.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง (โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิหรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท) กรมบัญชีกลางขอรายงานผลการจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 31 ก.ค. 2567 ดังนี้ 1. สวัสดิการที่ให้เป็นวงเงิน (บัตรประจำตัวประชาชน) 1.1 วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวนเงิน 3,950.87 ล้านบาท 1.2 วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 221.13 ล้านบาท 1.3 วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวนเงิน137.45 ล้านบาท รวม จำนวนเงิน4,309.45 ล้านบาท 2. สวัสดิการที่ให้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (บัตรประจำตัวประชาชน) 2.1 มาตรการเงินเพิ่มเบี้ยความพิการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 จำนวนเงิน 262.30 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 262.30 ล้านบาท 3. สวัสดิการที่จ่ายตรงผู้ให้บริการ 3.1 มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า จำนวนเงิน 183.99 ล้านบาท 3.2 มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา จำนวนเงิน 23.80 ล้านบาท รวมจำนวนเงิน จำนวนเงิน 207.79 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 4,779.54 ล้านบาท #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 480 มุมมอง 0 รีวิว
  • “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 999 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🚌ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

    📌ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    🚌ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ขสมก. จัดการเดินรถเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เต็มรูปแบบครบ 107 เส้นทาง ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 📌ขสมก. ยังคงเดินรถเส้นทาง (เดิม) ควบคู่กับเส้นทางปฏิรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และจะหยุดวิ่งเส้นทาง (เดิม) ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป #ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสาร : เงินสด / บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก. ทุกประเภท / บัตรเครดิต - เดบิต ที่มีสัญลักษณ์คอนแทคเลสทุกธนาคาร / สแกนจ่ายผ่านโมบายแบงค์กิ้ง / สิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1348 / Facebook ขสมก. พร้อมบวก / www.bmta.co.th
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 370 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน

    25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง

    ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก.

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น

    หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน

    มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง

    ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้

    ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท

    ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง

    #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    ในวันที่ ขสมก. เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดการเดินรถเส้นทางปฎิรูปรถเมล์ 107 เส้นทาง ควบคู่เส้นทางเดิมถึง 30 ส.ค. 2567 พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ 10 เส้นทาง และยกเลิกเส้นทางเก่า 14 เส้นทางเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการเอกชน คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส หลังจาก ขสมก.แพ้การประมูลและสูญเสียเส้นทางในมือถึง 28 เส้นทาง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ ขสมก. นับตั้งแต่ ขสมก. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2519 กระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2526 ให้ ขสมก. เดินรถแต่เพียงรายเดียว โดยมีรถเอกชนร่วมบริการทำสัญญากับ ขสมก. ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบยกเลิกมติ ครม. เดิมเมื่อปี 2526 เปลี่ยนเป็น ให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แต่เพียงผู้เดียว ลดสถานะ ขสมก. เป็นเพียงผู้ประกอบการเดินรถ (Operator) รายหนึ่งร่วมกับเอกชนเท่านั้น หลังจากนั้น กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ ทั้งกำหนดโครงข่ายเส้นทางใหม่ จัดสรรเส้นทางการเดินรถตามโครงข่ายใหม่ กำหนดเงื่อนไขขอรับใบอนุญาต การคัดเลืกอกผู้ประกอบการ และออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ โดยมีนโยบาย "1 เส้นทาง 1 ผู้ประกอบการ" เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการแข่งขันแย่งชิงผู้โดยสารในเส้นทางเดียวกัน มาถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 กรมการขนส่งทางบกเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประกอบการเดินรถ 77 เส้นทาง ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการ 90 คะแนน และเกณฑ์การเยียวยา 10 คะแนน ปรากฎว่า กลุ่มไทยสมายล์บัสได้ไป 71 เส้นทาง เอกชนรายอื่น 6 เส้นทาง ภายหลังมารวมกัน และผนวกกับซื้อกิจการสมาร์ทบัส ทำให้มีเส้นทางในมือรวม 123 เส้นทาง ส่วน ขสมก. ประมูลไม่ได้แม้แต่เส้นทางเดียว เพราะไม่มีรถใหม่ และต้องสูญเสียเส้นทางในมือไปอีก 28 เส้นทาง กระทั่ง ขสมก. ทยอยยุติการเดินรถเพื่อให้เอกชนเดินรถอย่างเต็มตัว เริ่มจากสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 แต่ถึงกระนั้น กรมการขนส่งทางบกสำรองสัมปทานให้ ขสมก. จำนวน 107 เส้นทาง และได้ทยอยเปิดการเดินรถมาถึงวันนี้ ปัญหาที่ ขสมก. ประสบ นอกจากการสูญเสียเส้นทางเดินรถ ซึ่งบางเส้นทางทำเงินให้กับ ขสมก. ตลอดมา แถมต้องบุกเบิกเส้นทางใหม่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดแล้ว ยังประสบปัญหารถเมล์เอ็นจีวีสีฟ้า อายุกว่า 7 ปีถูกตัดจอด และยังไม่มีการจัดหารถเมล์ใหม่เข้ามา เพราะที่ผ่านมาแผนฟื้นฟู ขสมก. ยังไม่มีความชัดเจน แถมยังขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ขณะที่ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ขสมก. ไม่มีอำนาจเต็มอีกแล้ว เวลาพูดถึงปัญหารถเมล์มักจะโทษ ขสมก. เอาไว้ก่อน ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลตัวจริง อย่างกรมการขนส่งทางบก กลับลอยตัวเหนือปัญหาทั้งปวง #Newskit #ขสมก #ปฎิรูปรถเมล์
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 762 มุมมอง 0 รีวิว
  • สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน

    ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน

    โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว

    จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ)

    สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต

    ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก

    #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    สาย A2 จอดที่เกาะดินแดง ไม่เข้าพหลโยธิน ผลกระทบจากการปฎิรูปรถเมล์ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป นอกจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะยกเลิกเดินรถ 14 เส้นทาง เปิดเดินรถเส้นทางใหม่ 10 เส้นทางแล้ว ยังกระทบไปถึงรถเมล์เชื่อมสนามบินดอนเมืองเช่นกัน โดยรถเมล์สาย A2 ท่าอากาศยานดอนเมือง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเช่นกัน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง โดยได้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์บนรถเมล์สาย A2 ไปแล้ว จากเดิม สาย A2 ออกจากป้ายหยุดรถประจำทาง สนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ชั้น 1 ผู้โดยสารขาเข้า ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านหลักสี่ ลงด่านลาดพร้าว เปลี่ยนเป็น ลงด่านดินแดง เลี้ยวขวาที่สามแยกดินแดง สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เกาะดินแดง (ฝั่งศูนย์การค้าวิคตอรี่ฮับ) สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยรถจะไม่ผ่านโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต (ซอยเฉยพ่วง) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต สะพานควาย อารีย์ และสนามเป้าอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถใช้บริการรถเมล์สาย A1 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต 2) ทดแทนกันได้ ซึ่งรถจะลงด่านลาดพร้าว ผ่านป้ายโรงเรียนหอวัง ธนาคารทหารไทยธนชาต และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ส่วนขาเข้าสนามบิน เปลี่ยนจุดขึ้นรถจากเดิมเกาะพหลโยธิน มาเป็นเกาะดินแดง ไปตามถนนราชวิถี สำนักงาน ป.ป.ส. สามแยกดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด่านดินแดง ลงสนามบินดอนเมือง อาคาร 1 ประตู 6 ผู้โดยสารขาออก โดยรถจะไม่ผ่านป้ายสนามเป้า อารีย์ สะพานควาย สวนจตุจักร และสวนรถไฟอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องรอลุ้นว่า รถเมล์สาย A3 ท่าอากาศยานดอนเมือง-สวนลุมพินี และสาย A4 ท่าอากาศยานดอนเมือง-ถนนข้าวสาร-สนามหลวง จะยังคงให้บริการต่อ หรือหยุดให้บริการ เนื่องจากสองเส้นทางนี้ไม่ได้ถูกบรรจุในแผนปฎิรูปรถเมล์มาก่อน ซึ่งมีเจ้าภาพหลักคือ กรมการขนส่งทางบก #Newskit #ขสมก #สนามบินดอนเมือง
    Like
    6
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 890 มุมมอง 0 รีวิว
  • 25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก.

    ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้

    เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ

    ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

    ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน

    #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    25 กรกฎาคมนี้ จุดเปลี่ยน ขสมก. ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยุติการให้บริการรถโดยสารประจำทาง 14 เส้นทาง ตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ กลุ่มไทยสมายล์บัส ทำการเดินรถแทน นับเป็นการยุติการเดินรถล็อตใหญ่ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนรถเมล์ไทยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งเส้นทาง ขสมก.ให้บริการมาแล้วหลายปี เช่น สาย 1 ถนนตก-ท่าเตียน รวมไปถึงหลายเส้นทางที่เป็นสายยอดนิยม ก็ยุติการเดินรถไปด้วย เช่น สาย 71 สวนสยาม-วัดธาตุทอง สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) สาย 84 วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี สาย 515 เซ็นทรัลศาลายา-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฯลฯ ขณะนี้รถประจำทาง ขสมก. ทั้ง 14 เส้นทาง ได้ติดแผ่นกระดาษประชาสัมพันธ์บนรถโดยสารประจำทางไปแล้ว โดยหลังจากวันที่ 25 กรกฎาคม จะไม่มีรถให้บริการอีก ส่วนรถโดยสารเดิมจะนำไปจัดสรรให้กับเส้นทางอื่นที่ขาดแคลน รวมทั้งเตรียมพร้อมเปิดเส้นทางใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบกอนุมัติเส้นทางปฎิรูป ทั้งเส้นทางเดิมที่ปรับปรุง และเส้นทางใหม่ รวม 107 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยุติการเดินรถเพื่อส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเอกชน มาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเดิมด้วยสาย 7 คลองขวาง-หัวลำโพง ก่อนที่จะมีสายอื่นตามมา โดยเฉพาะเส้นทางทำเงินอย่างสาย 140 อู่แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ได้เตรียมรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มอีกกว่า 389 คัน และจะทยอยเพิ่มจำนวนต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ 4 เส้นทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ สาย 4 ท่าน้ำภาษีเจริญ - ท่าเรือคลองเตย สาย 25 ท่าช้างวังหลวง - อู่สายลวด สาย 82 พระประแดง - บางลำพู และสาย 84 สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ - สามพราน #Newskit #ขสมก #ไทยสมายล์บัส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 696 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก.

    เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน

    นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี

    ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

    (อ่านต่อในคอมเมนต์)

    #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    ฟื้นรถเมล์ NGV งานเร่งด่วน ขสมก. เมื่อไม่นานมานี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่งลงนามสัญญาจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 486 คัน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน วินสตาร์ และ ดี.ที.ซี. ระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 963 ล้านบาท โดยกำหนดให้ซ่อมบำรุงชุดแรก 100 คัน ให้กลับมาให้บริการได้ภายใน 45 วัน นับจากวันลงนามสัญญา 1 กรกฎาคม 2567 คาดว่ารถโดยสาร NGV ที่มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี จะกลับมาให้บริการอีกครั้งภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 จากนั้นภายใน 90 วัน รถโดยสารจะกลับมาให้บริการได้อีก 380 คัน และภายใน 120 วัน หรือประมาณวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จะกลับมาให้บริการได้ครบ 486 คัน ระหว่างนั้นก็ดูแลซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาสัญญา 3 ปี ก่อนหน้านี้ ขสมก. ยกเลิกสัญญาจ้างกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี และ สแกน อินเตอร์ ซ่อมแซมบำรุงรักษารถโดยสาร NGV พร้อมริบหลักประกันสัญญา 426 ล้านบาท พร้อมเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกต่างหาก หลังจากที่ผ่านมาประสบปัญหาตัดจอดเพราะรถเสียจำนวนมาก กระทั่ง ขสมก. ตัดสินใจตัดจอดรถทั้งหมดเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา (อ่านต่อในคอมเมนต์) #Newskit #รถเมล์NGV #ขสมก
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 477 มุมมอง 0 รีวิว